ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> ตุรกี




แผนที่
สาธารณรัฐตุรกี
Republic of Turkey


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง
ส่วนหนึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป (ร้อยละ 3) อีกส่วนหนึ่งอยู่ในเอเชียตะวันตก ทิศเหนือติดทะเลดำ ทิศตะวันออกติดประเทศจอร์เจียและประเทศอาร์เมเนีย ทิศใต้ติดประเทศอิรัก ประเทศซีเรีย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือจดประเทศบัลแกเรียและประเทศกรีซ

พื้นที่
783,562 ตารางกิโลเมตร (รวมทะเลสาบและเกาะ)

ภูมิอากาศ
อากาศร้อนในภูมิภาคทะเลดำ อากาศแบบภาคพื้นทวีปในพื้นที่ตอนในและ แบบเมดิเตอร์เรเนียนตามชายฝั่งทะเลภาคใต้

ประชากร-เชื้อชาติ
71.3 ล้านคน (2546) โดยเป็นชาวเติร์ก ร้อยละ 90 ชาวเคิร์ด ร้อยละ 20

ภาษา
ภาษาเตอร์กิช ( ภาษาราชการ) ภาษาเคิร์ด ภาษาอาราบิค

ศาสนา
ร้อยละ 99 นับถือศาสนาอิสลาม ที่เหลือเป็นคริสเตียนและยิว

เมืองหลวง
กรุงอังการา

เมืองสำคัญ
Istanbul (9.2 ล้านคน), Ankara (3.7 ล้านคน), Izmir (3.2 ล้านคน), Adana (1.7 ล้านคน), Bursa (1.9 ล้านคน)

สกุลเงิน
ลิร่า (Lira - TRL) อัตราแลกเปลี่ยนธนาคารกลางตุรกี วันที่ 12 ตุลาคม 2547
1 ดอลลาร์สหรัฐ = 1,521,500 ลีร่า

เงินสกุลใหม่
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 สกุลเงินของตุรกีจะเปลี่ยนจากเงินลีร่าเดิม "Turkish Lira" (TRL) เป็นเงินลีร่าใหม่ New Turkish Lira (TRY) โดยตัดเลข 0 ออก 6 หลัก และมีสกุลเงินย่อยเป็น New Kurush (YKr) เช่น เงิน 123,625,000 TRL จะกลายเป็น 123.63 TRY เป็นต้น ทั้งนี้ เอกสารทางการเงินหรือการทำสัญญาธุรกิจทางการเงินทั้งหมดจะต้องเปลี่ยนจากการกำหนดใช้เงิน TRL เป็น TRY เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 อย่างไรก็ตาม ธนบัตรและเหรียญเงิน TRL จะยังได้รับการอนุโลมให้สามารถใช้ร่วมกับเงิน TRY ได้ในช่วงตลอดปี 2548

วันชาติ
29 ตุลาคม

เวลาต่างจากไทย
ฤดูร้อน ช้ากว่าไทย 4 ชั่วโมง ฤดูหนาว ช้ากว่าไทย 5 ชั่วโมง

รายละเอียดการตรวจลงตราสำหรับหนังสือเดินทางไทย (Visa)
หนังสือเดินทางทูตและราชการ-สามารถยกเว้นการตรวจลงตรา ระยะพำนัก 90 วัน
หนังสือเดินทางธรรมดา-ต้องผ่านการตรวจลงตรา ณ สถานเอกอัครราชทูตตุรกีประจำประเทศไทย

การเมืองการปกครอง
ระบบการเมือง
เป็นสาธารณรัฐ ที่แยกศาสนาออกจากการเมือง (secular state) มีการปกครองแบบรัฐสภา (republican parliamentary democracy) โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล

ประมุข
ประธานาธิบดีเป็นประมุข มาจากการเลือกตั้งของสภาแห่งชาติ (Grand National Assembly) ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือนาย Ahmet Necdet Sezer ประธานาธิบดีคนที่ 10 และประธานาธิบดี พลเรือนคนที่ 4 ของตุรกี มีวาระ 7 ปี รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2543

นายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือนาย Recep Tayyip Erdogan ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรค AKP ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2546

รัฐมนตรีต่างประเทศ
นาย Abdullah Gül ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศตุรกีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2546 นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีด้วย

สถาบันทางการเมือง
สภาแห่งชาติ (Grand National Assembly) เป็นสภาเดียว มีสมาชิกจำนวน 550 คน จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ ทุก 5 ปี การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2545 ประธานสภาแห่งชาติคนปัจจุบันคือ นายบูเล็นท์ อะรีนช์ (Bülent Arinç) ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกสภาฯ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2545

ข้อสังเกตเกี่ยวกับตุรกี
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศมุสลิมอื่นๆ ในตะวันออกกลาง ตุรกีเป็นประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือ หลักการแบ่งแยกศาสนาออกจากการเมืองอย่างเด็ดขาด “Secularism” ตุรกีมีนโยบายการเมืองใกล้ชิดกับตะวันตก เป็นสมาชิก NATO, OECD และสหภาพศุลกากร (Customs Union) ของยุโรป และยังได้เริ่มกระบวนการเจรจาเข้าเป็นสมาชิก EU แล้ว ในเดือนต.ค. 2548 ปัจจุบันมีชาวตุรกีที่ดำรงตำแหน่งสำคัญในองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ เลขาธิการ OIC และ UNDP Administrator
รัฐบาลตุรกีภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี Recep Tayyip Erdogan มีเสถียรภาพสูง พรรครัฐบาลได้รับความนิยมอย่างมากจากประชาชนเนื่องจากได้ฟื้นฟูการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ลดภาวะเงินเฟ้อ และเปิดให้ประชาชนมีเสรีภาพมากขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมบทบาทของประเทศในการเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงของรัฐบาลตุรกี ได้แก่ การดำเนินการตามแผนปฏิรูปด้านเศรษฐกิจของ IMF ปัญหาผู้ก่อการร้ายชาวเคิร์ด (PKK) ปัญหาไข้หวัดนก และปัญหาไซปรัส

เศรษฐกิจการค้า
ข้อมูลปี 2550
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)
392.42 พันล้าน USD

อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ร้อยละ 5.2

รายได้เฉลี่ยต่อหัว
ประมาณ 8,900 USD

อัตราเงินเฟ้อ
ร้อยละ 8.2

อัตราการว่างงาน
ร้อยละ 10

มูลค่าการส่งออก
72.49 พันล้าน USD

มูลค่าการนำเข้า
101.2 พันล้าน USD

สินค้าออกสำคัญ
สินค้าเกษตรแปรรูป แร่ธาตุ ผ้าฝ้ายและผ้าใยสังเคราะห์ อุปกรณ์ก่อสร้าง ยานพาหนะและส่วนประกอบ

สินค้าเข้าสำคัญ
เหล็ก พลาสติก ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เครื่องจักรอุตสาหกรรม

ประเทศคู่ค้าสำคัญ
สหภาพยุโรป ตะวันออกกลาง สหรัฐฯ CIS แอฟริกา รัสเซีย สวิตเซอร์แลนด์



ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐตุรกี
ความสัมพันธ์ทางการเมือง
ไทยและตุรกีสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม
2501 จะครบรอบ 50 ปีของความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปี 2551 ตุรกีเปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยในปี 2502 และไทยเปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา เมื่อปี 2517 ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศดำเนินมาด้วยความราบรื่นโดยไม่มีปัญหาใดๆ เป็นการเฉพาะระหว่างกัน ทั้งไทยและตุรกีต่างมีความใกล้ชิดกับฝ่ายตะวันตก ในทางการเมืองระหว่างประเทศโดยทั่วไปแล้ว ทั้งสองฝ่ายจึงมีบทบาทที่จะสนับสนุนพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากกว่าที่จะขัดแย้งต่อกัน และโดยที่ตุรกีมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับกลุ่มประเทศอิสลาม เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไนดารุสซาลามจึงให้การสนับสนุนกลุ่มอาเซียนมาโดยตลอด ล่าสุดพันตำรวจโท ดร. ทักษิน ชินวัตรได้เดินทางเยือนตุรกีอย่างเป็นทางการซึ่งถือเป็นการเยือนตุรกีครั้งแรกของนายกรัฐมนตรีไทย นับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน

กลไกความสัมพันธ์ทวิภาคี
ไทยและตุรกีมีการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐตุรกี เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2532 เป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานร่วมกัน ได้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ (JC) ไปแล้ว 3 ครั้ง
ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 25-29 มกราคม 2533 ณ กรุงเทพฯ
ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 22-24 ตุลาคม 2542 ณ กรุงอังการา ประเทศตุรกี
ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 22-23 ธันวาคม 2546 ณ กรุงเทพฯ โดยมีนายเตช บุนนาค ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานการประชุมร่วม และหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และมีนาย Tuncer Kayalar ปลัดทบวงการค้าต่างประเทศตุรกี เป็นประธานการประชุมร่วม และหัวหน้าคณะผู้แทนตุรกี

ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ (JC) ไทย-ตุรกี ครั้งที่ 3 มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ไทย-ตุรกี เห็นว่าการที่ตุรกีเป็นสมาชิกสหภาพศุลกากรยุโรป และมีความใกล้ชิดกับประเทศต่างๆ ในคาบสมุทรบอลข่าน ตะวันออกกลาง และภูมิภาคทะเลดำ ตลอดจนมีบทบาทสำคัญในองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคทะเลดำ (The Organization of Black Sea Economic Cooperation - BSEC) ประกอบกับไทยและตุรกีต่างมีบทบาททางเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาคของแต่ละฝ่าย ไทยจึงอาจใช้ตุรกีเป็นประตูการค้าไปสู่ภูมิภาคบอลข่าน ทะเลดำ ตะวันออกกลาง และเอเชียกลาง ในขณะที่ตุรกีอาจใช้ไทยเป็นช่องทางการค้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง รวมทั้งจีนตอนใต้
2. ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ไทย-ตุรกี เห็นพ้องกันว่าในขณะนี้มูลค่าการค้าระหว่างไทยและตุรกียังอยู่ในระดับต่ำกว่าศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ทั้งสองประเทศมีอยู่ ดังนั้น จึงเห็นควรส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนทางการค้า และการเข้าร่วมในงานแสดงสินค้าระหว่างกันมากขึ้น นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังได้เสนอให้ฝ่ายตุรกีพิจารณาใช้ Account Trade เป็นกลไกหนึ่งในการอำนวยความสะดวกทางการค้า และส่งเสริมการค้าระหว่างกัน
3. ในการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ไทย-ตุรกี ครั้งนี้ ได้มีผู้แทนจากภาคธุรกิจทั้งของไทยและตุรกีจากอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ และอุตสาหกรรมเหล็ก เข้าร่วมประชุม และได้มีการประชุมย่อยระหว่างผู้แทนจากภาคธุรกิจซึ่งได้เห็นชอบร่วมกันที่จะสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสภาธุรกิจไทย-ตุรกี ในเวลาที่เหมาะสม ในโอกาสนี้ ฝ่ายตุรกีได้เชิญนักธุรกิจไทยให้เดินทางไปเยือนนครอิสตันบูล เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกัน
4. ในเรื่องการลงทุน ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะส่งเสริมให้มีการลงทุนระหว่างกันให้มากขึ้น โดยทั้งสองฝ่ายมีมาตรการจูงใจ และสิทธิประโยชน์ที่จะให้แก่นักลงทุน เช่น สิทธิพิเศษสำหรับนักลงทุนในเขตการค้าเสรีตุรกี (Turkish Free Trade Zone) มาตรการส่งเสริมการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ของภูมิภาค (Regional Operating Headquarters -ROH) ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นต้น
ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายสนับสนุนการลงทุนร่วม (Joint Venture) ระหว่างกันในสาขาอุตสาหกรรมอาหาร วัสดุก่อสร้าง ยานยนต์และชิ้นส่วนประกอบ และอัญมณี และมีความยินดีที่การเจรจาความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและ
คุ้มครองการลงทุน ไทย-ตุรกี รอบที่สอง ระหว่างวันที่ 18-19 ธันวาคม 2546 ประสบความสำเร็จ โดยทั้งสองฝ่ายรับที่จะดำเนินการต่อไปตามขั้นตอนภายในของแต่ละประเทศ เพื่อให้สามารถลงนามในความตกลงฯ ดังกล่าวได้ในโอกาสแรก
5. ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ไทย-ตุรกีเห็นควรส่งเสริมให้มีความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยกับองค์การบริหารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของตุรกี (KOSGEB) ในเรื่องการจัดทำฐานข้อมูล การจับคู่บริษัท และการจัดสัมมนาร่วมกันในเรื่องเกี่ยวกับ SMEs ในโอกาสนี้ ฝ่ายตุรกีรับที่จะศึกษาความเป็นไปได้ที่จะจัดให้มีการสัมมนาเกี่ยวกับความร่วมมือ ไทย-ตุรกี ด้าน SMEs ที่กรุงอังการา
6. ฝ่ายไทยแสดงความสนใจที่จะมีความร่วมมือกับตุรกีในด้านพลังงาน โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในสาขาการค้าน้ำมันและการบริหารจัดการท่อขนส่งน้ำมันระหว่างประเทศซึ่งฝ่ายตุรกีมีความเชี่ยวชาญ และในด้านมาตรวิทยา ในขณะที่ฝ่ายตุรกีสนใจที่จะร่วมมือกับไทยในด้านมาตรฐานอุตสาหกรรม (standardization) โดยได้มอบร่างพิธีสารว่าด้วยความร่วมมือด้านมาตรฐานอุตสาหกรรมให้ฝ่ายไทยพิจารณา
7. ฝ่ายตุรกีแสดงความสนใจที่จะร่วมมือกับไทยในด้านการประมงและการแลกเปลี่ยน
ข้อมูลเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์พืช ในการนี้ ฝ่ายตุรกีแจ้งว่าพร้อมที่จะเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกันตามข้อเสนอของฝ่ายไทย เพื่อใช้เป็นกรอบสำหรับความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างไทยกับตุรกีต่อไปในอนาคต

ความสัมพันธ์ทวิภาคีด้านเศรษฐกิจไทย - ตุรกี

1. การค้า

การค้ารวม

การค้าทวิภาคีไทย-ตุรกี ในปี ๒๕๔๙ มีมูลค่ารวม ๘๙๓.๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๔๘ ร้อยละ ๓๙.๐๒ โดยไทยส่งออกไปตุรกีเป็นมูลค่า ๗๒๘.๓ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๙.๔๑ และนำเข้าจากตุรกีเป็นมูลค่า ๑๖๔.๙ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐๖.๖๔ ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า ๕๖๓.๓ ล้านดอลลาร์สหรัฐ
SSSรายงานการค้าไทย-ตุรกีไตรมาสแรก (มกราคม – มีนาคม ๒๕๕๐) ตุรกีนำเข้าจากไทยเป็นลำดับที่ ๒๒ ของโลก มีมูลค่า ๑๒๔.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๕๘.๒ สินค้าไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.62 เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนแล้ว ตุรกีนำเข้าในไทยเป็นอันดับ 3 รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เส้นใยประดิษฐ์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทออื่นๆ ผ้าผืน เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
สินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออก ได้แก่ เส้นใยประดิษฐ์ ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้า สารฟอกหนังและย้อมสี ตู้เย็น คอมเพรสเซอร์สำหรับเครื่องทำความเย็น เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น
สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ผ้าผืน เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ เส้นใยใช้ในการทอ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ กระดาษ กระดาษแข็งและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ
สินค้าที่มีศักยภาพในการนำเข้า ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง กระดาษแข็ง ผลิตภัณฑ์โลหะ


การส่งออก
การส่งออกของไทยไปตุรกี ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา (2543 - 2546) มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 165.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับในปี 2546 การส่งออกมีมูลค่า 207.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 30.19 สำหรับปี 2547 การส่งออกมีมูลค่า 333.1ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นปี 2546 สำหรับปี 2548 (มกราคม-สิงหาคม) การส่งออกมีมูลค่า 343.2 ล้านดอลลาร์หสรัฐ

สินค้าส่งออกที่สำคัญ ยางพารา ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เส้นใยประดิษฐ์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทออื่นๆ ผ้าผืน เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
สินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออก ได้แก่ เส้นใยประดิษฐ์ ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้า สารฟอกหนังและย้อมสี ตู้เย็น คอมเพรสเซอร์สำหรับเครื่องทำความเย็น เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น เป็นต้น

การนำเข้า
การนำเข้าของไทยจากตุรกี ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา (2543-2546) มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 53.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับในปี 2546 การนำเข้ามีมูลค่า 92.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 68.6 สำหรับปี 2547 การนำเข้ามีมูลค่า105.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2546 ร้อยละ สำหรับปี 2548 (มกราคม-สิงหาคม) มีมูลค่า 46.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ผ้าผืน เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ เส้นใยใช้ในการทอ เครื่องจักรไฟฟ้าและ ส่วนประกอบ กระดาษ กระดาษแข็งและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ เป็นต้น
สินค้าที่มีศักยภาพในการนำเข้า ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง กระดาษแข็ง ผลิตภัณฑ์โลหะ เป็นต้น

2. การลงทุน
ภาคการลงทุนระหว่างสองประเทศยังมีไม่มาก

การลงทุนของไทยในตุรกี
ตุรกีมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศและมีเขตการค้าเสรี 7 แห่ง แต่ไทยเข้าไปลงทุนในตุรกีน้อย ปัจจุบัน บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ลงทุนในด้านการเลี้ยงไก่ครบวงจร และมีเอกชนรายย่อยประกอบกิจการร้านอาหารไทยอีก 2-3 แห่ง อุตสาหกรรมที่มีลู่ทาง อาทิ การท่องเที่ยว การประมง เครื่องแก้วเจียระไน อุตสาหกรรมยางและยางพารา อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร (ซึ่งอาจตั้งในเขตเศรษฐกิจเสรีทางภาคใต้ของตุรกีเพื่อสะดวกในการส่งออกให้อิรัก ซีเรีย ฯลฯ ซึ่งมีประชากรเพิ่มขึ้นเร็วและมีความต้องการสินค้าประเภทอาหารมาก)

การลงทุนของตุรกีในไทย
ปัจจุบัน ตุรกีไม่ได้เข้ามาลงทุนในไทย อย่างไรก็ตาม ตุรกีเคยแสดงความสนใจลงทุนในอุตสาหกรรมการก่อสร้างในไทย โดยหวังจะใช้ไทยเป็น gateway เข้าไปทำธุรกิจด้านนี้ในอินโดจีน โดยเฉพาะในเวียดนามและลาว นอกจากนี้ ยังสนใจในการต่อเรือ การรถไฟ ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ และธุรกิจ consultancy ตลอดจนร่วมมือกับไทยในการค้าและการลงทุนด้านอื่นๆ ในภูมิภาคอินโดจีนและเอเชีย-แปซิฟิก

3. การท่องเที่ยวระหว่างไทย-ตุรกี
นับตั้งแต่ปี 2542 สายการบินตุรกีมีบริการเที่ยวบินตรงในเส้นทางกรุงเทพ-อิสตันบูล และต่อไปยังสิงคโปร์หรือฮ่องกง ทำให้บริการการบินจากตุรกีมาไทยขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่องดังจะพบว่า ปริมาณนักท่องเที่ยวจากตุรกีที่เดินทางมาไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด จะมีเพียงช่วงปี 2537 และปี 2544 ที่จำนวนนักท่องเที่ยวชาวตุรกีมาไทยลดลง
สถิติยอดรวมนักท่องเที่ยวจากตุรกีที่เดินทางมาไทยในปี 2542 มีจำนวน 15,789 คน ปี 2543 มีจำนวน 19,182 คน ปี 2544 มีจำนวน 12,886 คน ปี 2545 มีจำนวน 20,164 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 66.7 สำหรับปี 2546 มีจำนวน 14,003 คน ลดลงจากปี 2545 ร้อยละ 30.55 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.14 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด สำหรับปี 2547 มีชาวตุรกีเดินทางมาท่องเที่ยวที่เมืองไทยจำนวน 26,671 คนและมีชาวไทยไปท่องเที่ยวในตุรกีจำนวน 4,648 คน
นับตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ สายการบินตุรกี (Turkish Airlines) มีบริการเที่ยวบินตรงในเส้นทางกรุงเทพฯ - อิสตันบูล ปัจจุบัน สายการบินตรงดังกล่าวทุกวัน วันละ ๑ เที่ยวบิน และต่อไปยังสิงคโปร์หรือฮ่องกง ทำให้บริการการบินจากตุรกีมาไทยขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง ดังจะพบว่าปริมาณนักท่องเที่ยวจากตุรกีที่เดินทางมาไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด จะมีเพียงช่วงปี ๒๕๓๗ และปี ๒๕๔๔ ที่จำนวนนักท่องเที่ยวชาวตุรกีมาไทยลดลง แต่จากปี ๒๕๔๙ – ๒๕๕๐ นักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลาง รวมทั้ง ตุรกีมาไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้น
สถิติยอดรวมนักท่องเที่ยวจากตุรกีที่เดินทางมาไทยในปี ๒๕๔๘ จำนวน ๑๙,๑๙๓ คนและมีชาวไทยไปท่องเที่ยวในตุรกีจำนวน ๔,๙๘๒ คน


ความตกลงและความร่วมมือระหว่างไทย - ตุรกี
ความตกลงที่ลงนามแล้ว
- ความตกลงทางการค้าระหว่างไทย ตุรกี (Trade Agreement)
- ความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศระหว่างไทย-ตุรกี (Air Services Agreement)
- ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางราชการ และหนังสือเดินทางพิเศษ (Agreement on the Exemption of Visa Requirement for Holders of Diplomatic, Official/Service or Special Passport)
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการไทย-ตุรกี (Agreement on Economic and Technical Cooperation)
- ความตกลงทางวัฒนธรรมไทย-ตุรกี (Thai-Turco Cultural Agreement)
- ข้อตกลงระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยและกระทรวงการต่างประเทศตุรกี(Arrangement for the Establishment of a Consultation Mechanism)
- Turkish-Thai Parliamentary Friendship Group of the Turkish Grand National Assembly
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม (Agreement in the field of Environment)
- ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน (Agreement for the Avoidance of Double Taxation)
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Agreement on Scientific and Technological Cooperation)
- ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนต่างตอบแทน (Agreement on the Reciprocal Promotion and Protection of Investments)
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านมาตรฐานอุตสาหกรรม (MoU between the Thai Industrial Standards Institute and the Turkish Standards Institution)
- ความตกลงเพื่อความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว (Agreement on Tourism Cooperation)
-โครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม (Cultural Exchange Program betwen the Kingdom of Thailand and the Republic of Turkey 2006-2010) อันเป็นผลมาจากความตกลงทางวัฒนธรรมไทย-ตุรกี


นอกจากนี้ ภาคเอกชนของไทยและตุรกียังมีความสัมพันธ์และความตกลงระหว่างกันได้แก่
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้า อุตสาหกรรมและโภคภัณฑ์ของตุรกีกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (Agreement on Cooperation between the Union of Chamber of Commerce, Industry, Maritime Commerce and Commodity Exchanges of Turkey and The Board of Trade of Thailand)

ความตกลงที่กำลังอยู่ระหว่างการเจรจา/จัดทำ
- บันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการค้าเสื้อผ้าและสิ่งทอ (MOU Concerning Trade in Textiles and Clothing)
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือและความช่วยเหลือระหว่างกันทางด้านศุลกากร (Agreement on Co-operation and Mutual Assistance in Customs Matters)
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร (MoU on Cooperation in the field of Agriculture)
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านทหาร(Agreement on Military Cooperation, Personnel Training and Education)

นอกจากนี้ ไทยและตุรกีได้เคยแสดงความเห็นชอบที่จะมีความร่วมมือในด้านต่างๆ อาทิ ด้านอุตสาหกรรม ด้านการคมนาคม ด้านอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดย่อม และด้านวัฒนธรรม

ล่าสุด ไทยกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับตุรกี (Joint Plan of Action between the Kingdom of Thailand and the Republic of Turkey ) อันจะเป็นกรอบในการดำเนินความสัมพันธ์ที่เป็นรูปธรรมระหว่างทั้งสองประเทศในอนาคต

การแลกเปลี่ยนการเยือนไทย-ตุรกี
1 ฝ่ายไทยเยือนตุรกี

1.1 การเยือนของพระราชวงศ์ไทย
-สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนตุรกีอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 12-20 ธันวาคม 2535
-สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
เสด็จเยือนตุรกีอย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนกันยายน 2537
- สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เสด็จเยือนตุรกีอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 3-15 เมษายน 2533

1.2 การเยือนในระดับรัฐบาล
- นายพงส์ สารสิน รองนายกรัฐมนตรี เยือนตุรกีอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 23-25 เมษายน 2532
- พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี พร้อมคณะได้เยือนตุรกี ระหว่างวันที่ 26-31 พฤษภาคม 2541
- นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เยือนตุรกีอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 14-15 เมษายน 2542
- พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเยือนตุรกีอย่างเป็นทางการ(Official Visit) ระหว่างวันที่ 10 -11 พฤศจิกายน 2548 ในระหว่างการเยือนได้เข้าเยี่ยมคารวะประธานาธิบดี Ahmet Necdet Sezer ร่วมหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรี Recep Tayyip Erdogan และร่วมเป็นสักชีพยานการลงนามความตกลง 4 ฉบับ คือ ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว บันทึกความเข้าใจว่าด้วยมาตรฐานอุตสาหกรรม และโครงการแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรม นอกจากนี้พันตำรวจโท ดร.ทักษิณฯ ยังได้เข้าพบกับสมาชิกองค์กรภาคเอกชนที่สำคัญของตุรกี และนักธุรกิจชั้นนำ คือ สภาหอการค้า อุตสาหกรรม พาณิชยนาวีและการแลกเปลี่ยนโภคภัณฑ์ของตุรกี (TOBB - Union of Chamber of Commerce, Industry, Maritime Commerce and Commodity Exchanges of Turkey)

1.3 การเยือนตุรกีของรัฐสภาไทย
- นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานวุฒิสภา เยือนตุรกีอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐสภาตุรกี ระหว่างวันที่ 1-7 พฤศจิกายน 2536

1.4 การเยือนตุรกีในระดับรัฐมนตรีว่าการ/รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- ร.ต.ประพาส ลิมประพันธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและคณะเยือนตุรกีอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 7 -11 พฤศจิกายน 2530
- พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนตุรกี อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 7-11 มิถุนายน 2532
- นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนตุรกีอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 1-5 มิถุนายน 2537
- ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางไปร่วมงานเฉลิมฉลองการก่อตั้งสาธารณรัฐตุรกีครบ 75 ปี ในฐานะผู้แทนพิเศษของประเทศไทย ระหว่างวันที่ 28-31 ตุลาคม 2541
- ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศนำคณะผู้แทนไทยไปร่วมประชุมคณะกรรมการร่วม (JC) ว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ไทย-ตุรกี ครั้งที่ 2 ในวันที่ 23 มีนาคม 2542 ณ กรุงอังการา ประเทศตุรกี
- ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศพบปะและหารือกับนาย Mehmet Yildirim ประธานหอการค้าอิสตันบูล นักธุรกิจ สมาชิกหอการค้าอิสตันบูล ผู้แทนองค์การ DEIK ผู้แทนส่วนราชการตุรกี และกระทรวงการต่างประเทศตุรกี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2542 ณ นครอิสตันบูล
- ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนตุรกีอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน 2548 เพื่อไปเยือนตุรกีอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศตุรกี ตามคำเชิญของนาย อับดุลลาห์ กุล (Mr. Abdullah Gul) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตุรกี ระหว่างการเยือนดร. กันตธีร์ฯ ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายอาห์เหม็ด เน็จเด็ท เซแซร์ (Mr. Ahmet Necdet Sezer) ประธานาธิบดีตุรกี หารือทวิภาคีกับนายอับดุลลาห์ กุล และลงนามความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนต่างตอบแทนไทย - ตุรกี นอกจากนั้น ยังได้พบปะหารือกับองค์กรภาคเอกชนที่สำคัญของตุรกี และนักธุรกิจชั้นนำ คือ สภาหอการค้า อุตสาหกรรม พาณิชยนาวีและการแลกเปลี่ยนโภคภัณฑ์ของตุรกี (TOBB - Union of Chamber of Commerce, Industry, Maritime Commerce and Commodity Exchanges of Turkey) ที่กรุงอังการา และสภาความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจต่างประเทศของตุรกี (DEIK) ที่นครอิสตันบูล

2. ฝ่ายตุรกีเยือนไทย

2.1 การเยือนไทยในระดับรัฐบาล
- นาย Turgut Ozal ประธานาธิบดีพร้อมภริยาและคณะเดินทางแวะผ่านไทย ระหว่างการเดินทางไปเยือนจีน ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน 2528
- นาย Yilidirim Akbulut นายกรัฐมนตรีตุรกี และคณะ แวะผ่านไทย เมื่อวันที่ 16-17 พฤษภาคม 2534 และนาย Akbulut ได้เข้าเยี่ยมคารวะ นายอานันท์
ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี
- ดร. Ali Bozer รองนายกรัฐมนตรีตุรกี เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่าง วันที่ 25-29 มกราคม 2533
- นาย Bulent Ecevit รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีแห่งรัฐได้เดินทาง แวะผ่านประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2541
- นาย Recep Tayyip Erdogan นายกรัฐมนตรีตุรกีเดินทางเยือนไทย ในฐานะแขกของรัฐบาล (Working Visit) พร้อมคณะผู้ติดตามและสื่อมวลชนตุรกี เพื่อเยี่ยมชมบริเวณพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัยจากคลื่นยักษ์ (สึนามิ) ในจังหวัดพังงาและภูเก็ต และได้พบหารือทวิภาคีกับพันตำรวจโท ดร. ทักษิณฯ นายกรัฐมนตรี
- นาย Recep Tayyip Erdogan นายกรัฐมนตรีตุรกีเดินทางแวะผ่านประเทศไทยระหว่างเดินทางเยือนอสเตรเลียและนิวซีแลนด์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2548

2.2 การเยือนไทยของรัฐสภาตุรกี
- นาย Kamer Genc รองประธานรัฐสภาตุรกี พร้อมคณะสมาชิกรัฐสภา
ตุรกีเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 14-19 กันยายน 2541 ตามคำเชิญของ ฯพณฯ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา

2.3 การเยือนไทยของรัฐมนตรีว่าการ/รัฐมนตรีช่วยว่าการ/เจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการต่างประเทศตุรกี
- ดร. Ali Bozer รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตุรกี เยือนไทยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 เมษายน- 2 พฤษภาคม 2533
- นาย Hali Dag อธิบดีกรมความสัมพันธ์กับประเทศตะวันออกไกล กระทรวงการต่างประเทศ เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 8-11 กุมภาพันธ์ 2537
- นาย Mithat Balkan ตำแหน่ง Deputy Undersecretary กระทรวงการ
ต่างประเทศตุรกี เป็นหัวหน้าคณะนำผู้แทนของตุรกีจำนวน 8 คน เข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ครั้งที่ 10 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-19 กุมภาพันธ์ 2543 ที่กรุงเทพฯ
- นาย Tuncer Kayalar ปลัดทบวงการค้าต่างประเทศตุรกี เยือนไทยโดย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนตุรกี ในการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการเมื่อวันที่ 22-23 ธันวาคม 2546

หน่วยงานของไทยในตุรกี

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา ประเทศตุรกี
Royal Thai Embassy
Cankaya Cad. Kader Sok. 45/3-4
06700 Gaziosmanpasa,
Ankara, Republic of Turkey
Tel. (90 312) 467-3409, 467-3059
Fax (90 312) 427-7284
E-mail : thaiank@klabonet.com.tr

เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงอังการา (Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary)
นางสาวกันยา ใจมั่น (Miss Kanya Chaiman)


สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครอิสตันบูล
Thai Trade Centre
Ayanoglu Ishani,
Mete Cad. No. 20/3
Taksim 80090, Istanbul
Tel (90 212) 292-0910-11
Fax (90 212) 292-0912
E-mail: ttcist@turk.net

ผู้อำนวยการ (Director)
นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร

สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำนครอิสตันบูล
Royal Thai Consulate-General
Inönü Cad. No. 90 Dersan Han,
Gümüşsuyu, Taksim, Istanbul, Turkey
Tel. (90 212) 292 8651-52, 292 8366
Fax (90 212) 292 9770 249 4309
E-mail: mhayrie@escortnet.com

กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำนครอิสตันบูล (Honorary Consul-General)
Mr. Refik Gokcek


หน่วยงานของตุรกีในไทย

สถานเอกอัครราชทูตตุรกีประจำประเทศไทย
The Embassy of the Republic of Turkey
61/1 Soi Chatsan, Suthisarn Road
Bangkok 10310 Thailand
Office hour 09-17.00 (Mon-Fri)
Tel. 0-2274-7262-3
Fax 0-2274-7261
E-mail : tcturkbe@mail.cscoms.com

เอกอัครราชทูตตุรกีประจำประเทศไทย นาย Mumin Alanat

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตุรกี
www.mfa.gov.tr
www.turkishnews.com

19 ธันวาคม 2549

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองยุโรป 2 กรมยุโรป โทร. 0 2643 5100 ต่อ 3206 Fax. 0 2643 5132 E-mail : european03@mfa.go.th สถานะ ณ 19 ธันวาคม 2549



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์