ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> ซิมบับเว




แผนที่
สาธารณรัฐซิมบับเว
Republic of Zimbabwe


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ มีอาณาเขต
ทิศเหนือติดกับแซมเบีย
ทิศตะวันออกติดกับโมซัมบิก
ทิศตะวันตกติดกับบอตสวานา
ทิศใต้ติดกับแอฟริกาใต้
พื้นที่ 390,580 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง กรุงฮาราเร (Harare)
เมืองสำคัญอื่นๆ Bulawayo Chitungwiza Mutare และ Gweru
ภูมิอากาศ ร้อนชื้น แต่เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่บนที่สูงจึงค่อนข้างเย็น
จำนวนประชากร 12.24 ล้านคน (2549)
เชื้อชาติ เป็นชาวแอฟริกันร้อยละ 98 (ซึ่งประกอบด้วยชนเผ่า Shona 71% Ndebele 16% และอื่น ๆ 11%) ชาวผิวขาวร้อยละ 1 เอเชีย และ อื่น ๆ ร้อยละ 1
ภาษา ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ และมีภาษาพื้นเมืองอื่น ๆ คือ Shona Sindebele
ศาสนา ลัทธิผสม (ระหว่างศาสนาคริสต์และความเชื่อดั้งเดิม) 50% ศาสนาคริสต์ 25% ความเชื่อดั้งเดิม 24% ศาสนาอิสลามและอื่น ๆ 1%

สกุลเงิน ดอลลาร์ซิมบับเว (Zimbabwean dollar - ZWD)
อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 162.07 ดอลลาร์ซิมบับเว (2549)

การเมืองการปกครอง
รูปแบบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีพรรคการเมืองหลายพรรค ประธานาธิบดีมาจากการเลือก ตั้ง อยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี
สถาบันทางการเมือง
ฝ่ายนิติบัญญัติ- รัฐสภา (House of Assembly) แบบสภาเดียว(unicameral) ประกอบด้วยสมาชิก 150 คน ซึ่งในจำนวนนี้มาจากการเลือกตั้งทั่วไป 120 คน และอยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี 12 คน ได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี 10 คน ได้รับเลือกจากหัวหน้าเผ่าท้องถิ่น และอีก 8 คน ได้รับเลือกจากผู้ว่าราชการจังหวัด
ฝ่ายบริหาร - ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้าฝ่ายบริหาร รวมทั้งเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
ฝ่ายตุลาการ - ประกอบด้วย ศาลฎีกา ศาลสูง และศาลท้องถิ่น
ประมุขของรัฐ นาย Robert Gabriel MUGABE (ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 31 ธันวาคม 2530 ก่อนหน้านี้ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีระหว่าง 2523-2530)
รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Simbarashe Simbaneduku Mumbengegwi (ตั้งแต่เดือนเมษายน 2548)
วันชาติ 18 เมษายน (เป็นวันที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี 2523)

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
ยุคก่อนได้รับเอกราช
- ซิมบับเวเดิมชื่อโรดีเซียใต้ เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่ปี 2466 โดยมีการปกครองภายในตนเอง ส่วนอังกฤษควบคุมด้านต่างประเทศและการป้องกันประเทศ ในระหว่างเป็นเมืองอาณานิคมมีการปกครองโดยรัฐบาลผิวขาว ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยของประเทศ ทำให้มีการต่อสู้ โดยกลุ่มชนผิวดำเพื่อเรียกร้องให้ปกครองโดยชนส่วนใหญ่ และต่อมาได้รับเอกราชเมื่อ 18 เมษายน 2523 (1980)
ยุคหลังได้รับเอกราช
- ระยะแรกหลังจากได้รับเอกราช ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 1 เมื่อปี 2523 ผลการเลือกตั้ง คือ ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น นำโดยนาย Robert MUGABE หัวหน้าพรรค ZANU-PF (Zimbabwe African National Union - Patriotic Front) ซึ่งได้รับเสียงข้างมากจากการเลือกตั้งทั่วไปเป็นผู้จัดตั้งคณะรัฐบาลและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คณะรัฐบาลประกอบด้วยรัฐมนตรีผิวดำจากพรรค ZANU-PF (ของนาย MUGABE) และจากพรรค ZAPU (ของนาย NKOMO) รวมทั้งรัฐมนตรีผิวขาวจากพรรค Rhodesian Front ของนาย Ian SMITH
- ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 2 ในปี 2528 พรรค ZANU-PF ได้รับเสียงข้างมากเข้ามาจัดตั้งคณะรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง
- ตามรัฐธรรมนูญของซิมบับเวฉบับแรกในปี พ.ศ. 2523 (1980) ได้กำหนดรูปแบบการปกครองให้เป็นแบบรัฐสภาที่ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมีทั้งหมด 100 คน โดยจำนวน 20 คน เลือกตั้งโดยคนผิวขาว และอีก 80 คน เลือกตั้งโดยมีผู้มีสิทธิลงคะแนนทั่วไป ทั้งนี้ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีวาระละ 5 ปี วุฒิสภามีสิทธิเฉพาะการหน่วงเหนี่ยวร่างกฎหมาย ประธานาธิบดีซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยสมาชิกรัฐสภาเป็นประมุขของประเทศและอยู่ในตำแหน่งวาระละ 6 ปี ประธานาธิบดีมีอำนาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีที่จะทำหน้าที่เป็นหัวหน้ารัฐบาล
- ในปี พ.ศ. 2530 ได้มีการยกเลิกสิทธิพิเศษที่ให้คนผิวขาวเลือกผู้แทนเป็นการเฉพาะ
จำนวน 20 คน
- ในปี 2531 ได้มีการลงนามในความตกลงรวมพรรค ZAPU เข้ามาอยู่ภายใต้พรรค ZANU-PF และได้มีการยกเลิกตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยให้ประธานาธิบดีเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศ นาย MUGABE เข้ารับตำแหน่งเป็น Executive President คนแรกของซิมบับเว ในฐานะเป็นประมุขและเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลซึ่งมีอำนาจสูงสุดทางด้านบริหาร
- ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 3 เมื่อปี 2533 (1990) เป็นการเลือกตั้งระบบสภาเดียวคือสภาผู้แทนโดยยกเลิกวุฒิสภา พรรค ZANU-PF ของประธานาธิบดี MUGABE ได้รับชัยชนะในการจัดตั้งรัฐบาล และได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มจำนวนสภาผู้แทนเป็น 120 คน (เดิม 100 คน)
-การเลือกตั้งทั่วไปปี 2538 พรรคการเมืองฝ่ายค้านอย่างน้อย 5 พรรคได้คว่ำบาตรการเลือกตั้งครั้งนี้ มีเพียงพรรค ZANU (Ndonga) และพรรค Forum Party ที่ส่งผู้สมัครลงแข่งขันกับพรรค ZANU(PF) อย่างไรก็ตาม มีเขตเลือกตั้งจำนวน 52 เขตที่ผู้สมัครของพรรค ZANU(PF) ได้รับเลือกโดยไม่มีคู่แข่ง ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรค ZANU(PF) ได้รับเลือก 117 ที่นั่งจากทั้งหมด 120 ที่นั่ง โดยมีผู้มาใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียงร้อยละ 57
- การเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2539 มีขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 มีนาคม 2539 โดยมีผู้สมัครเพียงคนเดียว คือ ประธานาธิบดี Mugabe เนื่องจากผู้สมัครรายอื่นอีก 2 รายถอนตัวก่อนวันเลือกตั้ง โดยประธานาธิบดี Mugabe ได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 93 โดยมีผู้มาใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียงร้อยละ 32
- การเลือกตั้งทั่วไปปี 2543 มีขึ้นระหว่างวันที่ 25-26 มิถุนายน 2543 โดยก่อนการเลือกตั้ง ได้เกิดเหตุการณ์รุนแรง มีผู้เสียชีวิตกว่า 37 คน และพรรครัฐบาลถูกกล่าวหาว่ากระทำการทุจริตการเลือกตั้ง ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า จากจำนวนทั้งหมด 120 ที่นั่ง พรรค ZANU-PF ได้รับเลือกกลับมาเพียง 62 ที่นั่ง โดยสูญเสียที่นั่งให้พรรคฝ่ายค้านคือพรรค MDC 57 ที่นั่ง ส่วนพรรค ZANU (Ndonga) ได้รับเลือก 1 ที่นั่ง
- การเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อเดือนมีนาคมปี 2545 ผลปรากฏว่า นาย MUGABE ได้รับ
ชัยชนะ โดยได้รับคะแนนเสียงข้างมาก อย่างไรก็ดี ประเทศตะวันตกไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยกล่าวว่า เป็นการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม
นโยบายปฏิรูปที่ดินของรัฐบาลซิมบับเว
- นาย MUGABE ได้ดำเนินนโยบายปฏิรูปที่ดิน โดยการยึดที่ดินทำกินของชาวนาผิวขาว
(เชื้อสายอังกฤษ) ซึ่งครอบครองที่ดินถึงร้อยละ 75 ของที่ดินทั้งหมด และนำมาจัดสรรให้แก่คนท้องถิ่นผิวดำ เพื่อเรียกความศรัทธาและความนิยมของประชาชน การใช้นโยบายดังกล่าวทำให้เกิดความรุนแรงถึงขั้นส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต ประเทศตะวันตกส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงได้ดำเนินมาตรการคว่ำบาตรต่อซิมบับเว อย่างไรก็ดี แอฟริกาใต้ รวมถึงประเทศในภูมิภาคแอฟริกาส่วนใหญ่มีท่าทีไม่เห็นด้วยต่อมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก
- ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีซิมบับเวระหว่างวันที่ 9-10 มีนาคม 2545 ปรากฏว่า นาย
MUGABE ได้รับชัยชนะ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไป อย่างไรก็ดี พรรคฝ่ายค้าน และประเทศตะวันตกไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยกล่าวว่านาย MUGABE ดำเนินการเลือกตั้งอย่างไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม
- สหรัฐฯ แสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่าไม่ยอมรับชัยชนะของนาย MUGABE และมีแผนการ
กดดัน จะทำให้นาย MUGABE ออกจากตำแหน่ง โดยใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อซิมบับเว
- กลุ่มประเทศสมาชิกเครือจักรภพ ได้เพิกถอนสมาชิกภาพของซิมบับเวเป็นการชั่วคราวเป็นเวลา 12 เดือน และดำเนินมาตรการคว่ำบาตรต่อซิมบับเว
- จากนั้น การเลือกตั้งทั่วไปในซิมบับเวเมื่อ 31 มีนาคม 2548 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาจำนวน 120 ที่นั่ง จากทั้งหมด 150 ที่นั่ง (ประธานาธิบดีมีอำนาจแต่งตั้งอีก 30 ที่นั่ง) และเป็นการแข่งขันกันระหว่างพรรค Zimbabwe Africa National Union (ZANU – PF) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลภายใต้การนำของประธานาธิบดี Mugabe และพรรคฝ่ายค้าน Movement for Democratic Change (MDC) ภายใต้การนำของนาย Morgan Tsvangirai ผลปรากฏว่า พรรค ZANU-PF ได้รับเลือก 78 ที่นั่ง และเมื่อนำจำนวนที่นั่งที่พรรค ZANU-PF ได้รับเลือกในครั้งนี้ ไปรวมกับอีก 30 ที่นั่งซึ่งเป็นอำนาจแต่งตั้งของประธานาธิบดีจะทำให้พรรค ZANU-PF มีจำนวนที่นั่งในรัฐสภาเกินกว่า 2 ใน 3
- ชัยชนะของพรรค ZANU-PF ครั้งนี้ เป็นไปตามความคาดหมาย เพราะนอกจากพรรค ZANU-PF จะอาศัยความได้เปรียบจากกลไกของอำนาจรัฐและกฎเกณฑ์การเลือกตั้งที่เอื้อประโยชน์เฉพาะพรรครัฐบาลแล้ว พรรคฝ่ายค้านเองก็ไม่มีความพร้อมเท่าทีควร เนื่องจากได้ตัดสินใจเข้าร่วมการเลือกตั้งในโอกาสสุดท้าย อีกทั้ง กว่าหนึ่งในสี่ของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งชาวซิมบับเวซึ่งมีถิ่นพำนักในต่างประเทศและเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนสำคัญของพรรคฝ่ายค้านไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิออกเสียงในการเลือกตั้งครั้งนี้
- สำหรับท่าทีของประเทศต่าง ๆ นั้น โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้แถลงว่า สหรัฐฯ ยังคงคลางแคลงใจกับผลการเลือกตั้งครั้งนี้ เนื่องจากระเบียบกฎเกณฑ์การเลือกตั้งเอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายรัฐบาลแต่เพียงฝ่ายเดียว ในขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักรแถลงว่า ผลการเลือกครั้งนี้ไม่โปร่งใสและมีผลกระทบต่อความชอบธรรมของประธานาธิบดี Mugabe ทั้งนี้ สหราชอาณาจักรจะดำเนินมาตรการทางการทูตผ่านทาง EU และเครือจักรภพในการกดดันรัฐบาลซิมบับเวต่อไป อย่างไรก็ดี แอฟริกาใต้ (ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบโดยตรงต่อสถานะทางเศรษฐกิจจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองของซิมบับเว เนื่องจากซิมบับเวเป็นแหล่งลงทุนที่สำคัญ) และประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคแอฟริกาให้การรับรองรัฐบาลของนาย MUGABE ไม่เห็นด้วยต่อมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจของซิมบับเวกำลังตกต่ำ แต่กลับแสดงความเห็นใจรัฐบาลซิมบับเว และดำเนินนโยบาย Constructive Engagement ต่อซิมบับเว โดยต้องการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของซิมบับเว โดยเฉพาะการฟื้นฟูสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่แอฟริกาใต้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้สังเกตุการณ์เลือกตั้งของ SADC ได้ออกมาย้ำถึงความโปร่งใสของการจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นท่าทีที่ชัดเจนและมั่นคงของรัฐบาลแอฟริกาใต้ที่มีนโยบายให้การสนับสนุนประธานาธิบดี Mugabe ด้วยดีตลอดมา

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
- ภายหลังจากที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองสืบเนื่องจากนโยบายปฏิรูปที่ดิน อันส่งผลให้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ กอปรกับการถูกดำเนินมาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก ซิมบับเวจึงมีนโยบายกระชับความสัมพันธ์กับประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน รวมทั้งเอเชีย เพราะต้องการความช่วยเหลือด้านทุนและวิชาการต่าง ๆ เพื่อมาใช้ในการปรับปรุงเศรษฐกิจและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน
- ซิมบับเวได้รับตำแหน่งประธานกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) ในช่วงปี 2529 - 2532
- ซิมบับเวเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งแอฟริกา (African Development Bank) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund - IMF) และประชาคมด้านการพัฒนาแห่งภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ (Southern African Development Community - SADC
- วันที่ 7 ธันวาคม 2546 ประธานาธิบดี Mugabe ได้ประกาศถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศในเครือจักรภพ ภายหลังที่กลุ่มประเทศเครือจักรภพตัดสินใจเพิกถอนสมาชิกภาพของซิมบับเวเป็นการชั่วคราวอย่างไม่มีกำหนด

เศรษฐกิจการค้า
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ 4.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
อัตราการเจริญเติบโตทางทางเศรษฐกิจ -4.4% (2549)
รายได้ประชาชาติต่อหัวผลิตภัณฑ์มวลรวม 338 ดอลลาร์สหรัฐ (2548)
อัตราเงินเฟ้อ 1,050.8% (2549)
ทรัพยากรธรรมชาติ ทองคำ ถ่านหิน เงิน นิกเกิล อัสเบสโตส
ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สำคัญ ข้าวโพด ฝ้าย ยาสูบ ข้าวสาลี กาแฟ อ้อย ถั่วลิสง โคกระบือ แกะ แพะ สุกร
อุตสาหกรรมที่สำคัญ เหมืองแร่ ทองแดง เหล็ก นิกเกิล ดีบุก ผลิตภัณฑ์ไม้ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์เคมี ปุ๋ย เสื้อผ้าและรองเท้า อาหาร เครื่องดื่ม
หนี้สินต่างประเทศ 5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
ดุลการค้า มูลค่าการค้า 3,728.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งออก 1,688 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 2,040.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เสียเปรียบดุลการค้า 352.2 ล้านดอลาร์สหรัฐ (2549)
สินค้าเข้าที่สำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง เคมีภัณฑ์ เชื้อเพลิง
สินค้าออกที่สำคัญ ยาสูบ ทองคำ โลหะผสมเหล็ก สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มประเทศคู่ค้าที่สำคัญ นำเข้าจากแอฟริกาใต้ จีน สวิสเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร ส่งออกไปยังแอฟริกาใต้ จีน บอตสวานา แซมเบีย โมซัมบิก (2548)

การคมนาคม
ถนน ถนนทั้งหมดมีความยาวเกือบ 86,000 กิโลเมตร จำนวน ยานพาหนะ ในปี 2535 แบ่งออกเป็น รถยนต์โดยสารส่วนบุคคล 310,400 คัน ยานพาหนะที่ใช้ในการพาณิชย์ 30,200 คัน รถจักรยานยนต์ 29,100 คัน และแทรกเตอร์ 7,200 คัน
ทางรถไฟ ในปี 2538 การรถไฟแห่งชาติของซิมบับเวมีความยาว 2,759 กิโลเมตร ในปี 2538 มีผู้โดยสารรถไฟ 1.9 ล้านคน และมีการขนส่งสินค้า 12.2 ล้านตัน
การบินพลเรือน มีสนามบินนานาชาติ 3 แห่ง ที่เมือง Harare, Bulawayo และ Victoria Falls สายการบินแห่งชาติเป็นของรัฐชื่อ Air Zimbabwe นอกจากนี้ สายการบินอื่นที่บินผ่านได้แก่ British Airways, Kenya Airways, Ethiopian Airlines, Air Tanzania, Air Malawi, Zambian Airways, Balkan Bulgarian Airlines, Mozambique Airlines, South African Airways, Air Botswana, Royal Swazi Airlines, TAP Air Portugal, Qantas, Lesotho Airways และ Air India
การเดินเรือ ซิมบับเวมีทางออกทะเลที่เมือง Maputo และ Beira ในโมซัมบิก Dar-es-Salaam ในแทนซาเนียและเมืองท่าของ แอฟริกาใต้

โทรคมนาคม ในปี 2538 มีที่ทำการไปรษณีย์ 170 แห่ง มีโทรศัพท์ 251,344 เครื่อง สถานีวิทยุซิมบับเวออกอากาศเป็นภาษาอังกฤษ Shona Ndebele Nyanja Tonga และ Kalanga ในปี 2537 มีโทรทัศน์ 297,000 เครื่อง และวิทยุ 945,000 เครื่อง

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐซิมบับเว
ความสัมพันธ์ด้านการเมือง
ไทยและซิมบับเวได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2528 โดยไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย แอฟริกาใต้ มีเขตอาณาครอบคลุมซิมบับเว ส่วนซิมบับเวได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ซิมบับเว ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย
-- ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับซิมบับเว โดยทั่วไปดำเนินมาด้วยความราบรื่น ไม่มีปัญหาระหว่างกัน
-- สำหรับการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกัน ฯพณฯ นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ไปเยือนซิมบับเวระหว่างวันที่ 15 - 17 สิงหาคม 2537 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายความสัมพันธ์ด้านการเมือง และขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน รวมทั้งความช่วยเหลือทางวิชาการภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการของไทยและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการเยือนทั้งในภาครัฐและเอกชน ในระหว่างการเยือน ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ เข้าพบหารือกับนาย Simon Muzeda รองประธานาธิบดีคนที่ 1 นาย N.M. Shamuyarira รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศ และนาย S.K. Moya รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ นอกจากนี้ จากการพบปะกันระหว่างภาคเอกชน ทั้งสองฝ่ายเห็นควรให้ส่งเสริมและเพิ่มพูนการค้าระหว่างกัน ฝ่ายซิมบับเวสนใจจะนำเข้าข้าว (บรรจุถุงขนาดเล็ก) และสินค้าเกษตรอื่น เช่น น้ำตาล ส่วนสินค้าอื่น เช่น ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ อุปกรณ์และเครื่องไฟฟ้า เครื่องฟอกอากาศ ผลิตภัณฑ์ยางและผลิตภัณฑ์พลาสติก
-- คณะสำรวจข้อเท็จจริง (fact - finding) ของกระทรวงการต่างประเทศได้เดินทางไปเยือนซิมบับเว ระหว่างวันที่ 21 - 29 กันยายน 2539 เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวิชาการ
-- ประธานาธิบดี Robert Gabriel Mugabe แห่งสาธารณรัฐซิมบับเว ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยแบบเจรจาและทำงาน (Working Visit) ในฐานะแขกของรัฐบาลไทย ระหว่างวันที่ 1-5 ตุลาคม 2544 โดยได้พบปะหารือกับ ฯพณฯ พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และได้เดินทางไปพบปะกับผู้บริหารของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลอดจนเยี่ยมชมโรงงานอุตสาหกรรมของภาคเอกชนไทย
-- ประธานาธิบดี Robert Gabriel MUGABE เยือนไทยเป็นการส่วนตัว ระหว่าง 28 ธันวาคม 2544 - 5 มกราคม 2545
-- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าซิมบับเวเยือนไทยระหว่าง 25 มกราคม - 5 กุมภาพันธ์ 2545
-- ประธานาธิบดี Robert Gabriel Mugabe ได้เดินทางเยือนไทยเป็นการส่วนตัว วันที่ 29 ธันวาคม 2545 – 9 มกราคม 2546 และวันที่ 25-27 กุมภาพันธ์ 2546
-- นาง Grace Mugabe ภริยาประธานาธิบดีเดินทางเยือนไทยเป็นการส่วนตัวเมื่อวันที่ 8-12 ธันวาคม 2547 วันที่ 29-31 ธันวาคม 2547 วันที่ 8-14 เมษายน 2548 และวันที่ 9-14 สิงหาคม 2548

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
-- ปัจจุบันรัฐบาลซิมบับเวมีนโยบายในการส่งเสริมการค้าและการลงทุน และเชิญชวนชาวต่างชาติเข้าไปลงทุนรวมทั้งไทยด้วย ซึ่งเดิมซิมบับเวเน้นการค้ากับยุโรป แต่ปัจจุบันได้หันมาสนใจติดต่อกับภูมิภาคเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะการส่งเสริมการลงทุนร่วมระหว่างเอกชนทั้งสองฝ่ายไทยและซิมบับเวกำลังอยู่ระหว่างการทำความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างกัน
-- การค้าระหว่างไทยกับซิมบับเวยังมีมูลค่าไม่มากนัก โดยในปี 2549 มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน รวมทั้งสิ้น 1,670.7 ล้านบาท ซึ่งไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด ทั้งนี้ เนื่องจากไทยนำเข้าวัตถุดิบประเภทด้ายและเส้นใยจากซิมบับเวเพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีการนำเข้าแร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ และสินแร่โลหะ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์จากซิมบับเวอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ซิมบับเวนำเข้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบเพียงเล็กน้อยจากประเทศไทย เนื่องจากซิมบับเวมีตลาดนำเข้าสินค้าที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ และญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม แม้ว่า ซิมบับเวจะประสบปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทยมากนัก เห็นได้จากมูลค่าการค้ารวมตลอด 5 ปีที่ผ่านมาระหว่างสองประเทศนั้นมีความคงที่และต่อเนื่องมาโดยตลอด จากรายงานของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2550 ระบุว่า ปัจจุบันมีคนไทยในกลุ่มธุรกิจร้านอาหารและเป็นคู่สมรสกับชาวต่างชาติและชาวซิมบับเวอาศัยอยู่ซิมบับเวประมาณ 5 คนโดยส่วนใหญ่มีอาชีพแม่บ้านและค้าเครื่องประดับ

มูลค่าการค้าระหว่างไทยและซิมบับเว ดูเอกสารแนบ

สินค้าที่ซิมบับเวนำเข้าจากไทย ได้แก่
1. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
2. เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ
3. ผลิตภัณฑ์ยาง
4. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
5. ตาข่ายจับปลา
6. ของเบ็ดเตล็ดทำด้วยโลหะสามัญ
7. เคมีภัณฑ์
8. เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน
9. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล
10. อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากซิมบับเว ได้แก่
1. ด้ายและเส้นใย
2. แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่
3. สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์
4. สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์
5. ธุรกรรมพิเศษ
6. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
7. สิ่งพิมพ์
8. เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน
9. เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด
10. ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ

ผู้แทนทางการทูต
ฝ่ายไทย
เอกอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐซิมบับเว ถิ่นพำนัก ณ กรุงพริทอเรีย
คือ นายโดมเดช บุนนาค
ที่อยู่ของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย
Royal Thai Embassy
428 Pretorius/Hill Street
Arcadia, Pretoria 0083
P.O. Box 12080
Hatfield, Pretoria 0028
Tel. (27-12) 342-1600, 342-4516,
342-4600, 342-4506, 342-5470
Fax. (27-12) 342-4805, 342-3986
E-mail : info@thaiembassy.co.za
Consular Info : visa@thaiembassy.co.za
Trade Info : trade@thaiembassy.co.za
Technical : webmaster@thaiembassy.co.za
Website : http://www.thaiembassy.co.za

ฝ่ายซิมบับเว
เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐซิมบับเวประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ คือ H.E.Mr.Lucas Pande Tavaya
ที่อยู่ของสถานเอกอัครราชทูตสาธารณซิมบับเว ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
The High Commission of the Republic of Zimbabwe
Lot 124, Jalan Sembilan
Taman Ampang Utama
68000 Ampang
Selangor Darul Ehsan
Malaysia
Tel. (603) 4251-6779,4251-6782
Fax. (603) 4251-7252


สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-48 E-mail : southasian03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์