ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> กินี




แผนที่
สาธารณรัฐกินี
Republic of Guinea


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ประเทศกินีตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกของทวีปแอฟริกา
ทิศเหนือติดกับกินี-บิสเซา เซเนกัล และมาลี
ทิศตะวันออกติดกับมาลีและโกตดิวัวร์
ทิศใต้ติดกับไลบีเรียและเซียร์ราลีโอน
ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก
พื้นที่ 245,857 ตารางกิโลเมตร (94,925 ตารางไมล์)
เมืองหลวง กรุงโคนักรี (Conakry)
เมืองสำคัญ Kankan Siguiri Kindia และ Boke
ภูมิอากาศอากาศร้อนชื้นทางภาคใต้ของประเทศ ฤดูฝนจะเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – ตุลาคม อุณหภูมิประมาณ 22 – 30 องศาเซลเซียสและฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – เมษายน ส่วนทางภาคเหนือของประเทศอากาศมักจะเย็นและแห้ง
ประชากร 9,947,814 คน (กรกฎาคม 2550)
เชื้อชาติ Peuhl 40%, Malinke 30%, Soussou 20%, อื่น ๆ 10%
ศาสนา อิสลาม 85% คริสเตียน 8% ความเชื่อดั้งเดิม 7%
ภาษา ฝรั่งเศส เป็นภาษาราชการ

รูปแบบการปกครอง สาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข
สถาบันการเมือง
ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นประมุข และประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 7 ปี
ฝ่ายนิติบัญญัติ สภาแห่งชาติเป็นสภาเดียว มีสมาชิกจำนวน 114 ที่นั่ง สมาชิกสภาได้รับเลือกตั้งทุก 5 ปี
ฝ่ายตุลาการ ศาลฏีกา
ประมุขแห่งรัฐ/ผู้นำรัฐบาล ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือนาย Lansana Conte (ดำรงตำแหน่งแล้ว 3 สมัย คือในปี 2527 ปี 2541 และล่าสุดในปี 2546) นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือนาย Lansana Kouyate เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550
หัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรี นาย Lansana KOUYATE (ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550)
รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Mamady CONDE
วันชาติ 2 ตุลาคม 2533 (วันที่ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส)

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 3.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 332 ดอลลาร์สหรัฐ (2548)
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 2.2 (2549)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 30.0 (2549)
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ บ็อกไซต์ แร่เหล็ก เพชร ทองคำ ยูเรเนียม พลังงานน้ำ ปลา เกลือ
ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สำคัญ ข้าว กาแฟ สับปะรด มันสำปะหลัง กล้วย มันฝรั่ง ไม้ซุง ปศุสัตว์
อุตสาหกรรมที่สำคัญ บ็อกไซด์ ทองคำ เพชร แร่เหล็ก อลูมิเนียม อุตสาหกรรมเบา การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
หนี้สินต่างประเทศ n/a
เงินตราสำรอง 91.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
มูลค่าการค้า -171.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
สินค้าออกที่สำคัญ บอกไซด์ แร่อลูมิเนียมทองคำ เพชร กาแฟ ปลา ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
สินค้าเข้าที่สำคัญปิโตรเลียม เหล็ก เครื่องจักร สิ่งทอ เมล็ดพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์อาหาร
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
ส่งออก รัสเซีย(ร้อยละ 14.6) เกาหลีใต้(ร้อยละ 11.3) สเปน(ร้อยละ 10.2) ยูเครน(ร้อยละ 7.9) สหรัฐฯ(ร้อยละ 6.1) ไอแลนด์(ร้อยละ 6) ฝรั่งเศส(ร้อยละ 5.7) เยอรมัน(ร้อยละ 5) เบลเยี่ยม(ร้อยละ 4.5)(2548)
นำเข้า จีน(ร้อยละ 8.5) สหรัฐฯ(ร้อยละ 7.3) ฝรั่งเศส(ร้อยละ 7.2) โกตดิวัวร์(ร้อยละ 5.2) อิตาลี(ร้อยละ 4.7) เบลเยี่ยม (ร้อยละ 4.1)(2548)
หนี้สินต่างประเทศ n/a
หน่วยเงินตรา กินีฟรังค์ (Guinean francs)
อัตราแลกเปลี่ยน1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 5,350 กินีฟรังค์(2549)

การเมืองการปกครอง
ประวัติศาสตร์
ฝรั่งเศสเข้ายึดครองดินแดนกินีเป็นอาณานิคมโดยปกครองจากกรุงดาการ์ (ปัจจุบันเป็น
เมืองหลวงของเซเนกัล) จนถึงปี 2434 เมื่อกินีได้กลายเป็นอาณานิคมปกครองตนเอง ต่อมา ในปี 2500 พรรค Parti démocratique de Guinée (PDG) ซึ่งก่อตั้งโดยนาย Ahmed Séku Touré ได้รับเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมากในสภาแห่งดินแดนของกินี และปฏิเสธที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มประชาคมแอฟริกาของฝรั่งเศส ส่งผลให้ฝรั่งเศสถอนตัวออกจากกินี ซึ่งได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2501

นาย Ahmed Séku Touré ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรก ได้เอนเอียงเข้าหากลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก ตลอดจนจัดการปกครองประเทศตามแนวลัทธิมาร์กซิส และปกครองแบบเผด็จการจนกระทั่งเสียชีวิตอย่างกระทันหันในปี 2527 คณะทหารนำโดยนายพล Lansana Conté จึงเข้ายึดอำนาจ และเริ่มทำการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การเมืองยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของคณะทหาร

ในปี 2534 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งมีสาระให้เปิดเสรีทางการเมืองและอนุญาตให้มีระบบหลายพรรคการเมือง รวมทั้งแยกอำนาจบริหารนิติบัญญัติและตุลาการออกจากกันให้เด่นชัด และกำหนดให้ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจะต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด โดยจัดให้มีการลงคะแนนเสียง 2 รอบ สมาชิกรัฐสภามีจำนวน 114 คน โดย 3 ส่วนจะมาจากการเลือกตั้ง และ 1 ส่วนจะมาจากการแต่งตั้ง

นาย Lansana Conté ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นครั้งแรกในปี 2536 และได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งอย่างต่อเนื่องในปี 2541 และในปี 2546 ตามลำดับ โดยในปี 2546 ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ประธานาธิบดีอยู่ในตำแหน่งจากเดิม 5 ปี เพิ่มเป็น 7 ปีด้วย

ปัจจุบัน กินีมีพรรคการเมืองทั้งหมด 13 พรรค โดยพรรค Party for Unity and Progress (PUP) ของประธานาธิบดี Lansana Conté ได้รับเสียงข้างมากในการเลือกตั้งเมื่อปี 2545 โดยได้ที่นั่งทั้งหมด 85 ที่นั่ง การเลือกตั้งสภานิติบัญญัติครั้งต่อไปจะมีขึ้นในเดือนมิถุนายน 2550 และการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งต่อไปจะมีขึ้นในเดือนธันวาคม 2553

เมื่อเดือนมกราคม 2550 ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นในกินี ภายหลังสหพันธ์แรงงานใหญ่ในกินีได้เรียกร้องให้มีการชุมนุมประท้วงทั่วประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองฝ่ายค้าน เพื่อขับไล่ประธานาธิบดี และได้เกิดปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมประท้วงกับตำรวจ ส่งผลให้เกิดการจราจลต่อเนื่องโดยรัฐบาลไม่อาจควบคุมสถานการณ์ ซึ่งในที่สุดประธานาธิบดีต้องยินยอมตามคำเรียงร้องของผู้ชุมนุมให้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีเข้ามาทำหน้าที่บริหารแทนการรวบอำนาจไว้เอง อนึ่ง ประธานาธิบดี Lansana Conté ปัจจุบันมีอายุ 72 ปี และกำลังมีปัญหาด้านสุขภาพ

นโยบายต่างประเทศ
ภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดี Conté กินีเอนเอียงเข้าหาตะวันตก โดยเฉพาะฝรั่งเศสและ EU ซึ่งปัจจุบันมีความสำคัญต่อกินีทั้งในด้านการค้าและการให้ความช่วยเหลือ ความสัมพันธ์ระหว่างกินีและประเทศเพื่อนบ้านไม่ค่อยราบรื่น เนื่องจากรัฐบาลกินีมักเข้าแทรกแซงกิจการภายในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอยู่ในสภาวะสงครามกลางเมือง อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างไลบีเรียและเซียร์ราลีโอนได้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น เนื่องมาจากการคลี่คลายของปัญหาทางการเมืองของทั้งสองประเทศ

กินีและแอฟริกาใต้มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น หลังจากการเยือนกินีของประธานาธิบดี Thabo Mbeki ในเดือนกรกฎาคม 2548 โดยแอฟริกาใต้ได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตที่เมืองหลวงโคนักรีของกินี รวมทั้ง บริษัทเพชร De Beers ได้เข้าไปดำเนินกิจการในกินีอีกครั้ง

กินีประสบปัญหาการอพยพเข้ามาของประเทศเพื่อนบ้าน นับแต่ปี 2543 มีจำนวนผู้อพยพจากเซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย กินีบิสเซา เข้ามาในกินีประมาณ 750,000 คน โดยกินีได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เข้ามาแก้ปัญหานี้ ในปัจจุบันกินียังมีผู้อพยพอยู่ประมาณ 39,000 คน

เศรษฐกิจการค้า
ภูมิหลังทางเศรษฐกิจ
กินีเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ โดยเฉพาะบอกไซต์ ซึ่งมีปริมาณเกือบครึ่งหนึ่งของโลก นอกจากนี้ ยังมีทองคำและเพชรและแร่ธาตุอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ความผันผวนของราคา ส่งผลให้รายได้ของประเทศจากการทำเหมืองแร่ยังคงมีจำกัด โดยคิดเป็นเพียงร้อยละ 17 ของผลิตภัณฑ์ มวลรวมในประเทศ นับแต่ปี 2547 ความต้องการแร่ธาตุและราคาซื้อขายในตลาดโลกได้ส่งผลให้กินีมี การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และภาคเหมืองแร่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคิดเป็นร้อยละ 90 ของมูลค่าการส่งออก

ภาคเกษตรกรรมยังคงเป็นหัวใจหลักของกินี โดยประชากรกว่าร้อยละ 70 ของประเทศอยู่ในภาคเกษตรกรรม สินค้าเกษตรที่สำคัญได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าว และข้าวโพด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผลิตผลทางด้านเกษตรกรรมยังคงมีมูลค่าเพียงร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และคิดเป็นร้อยละ 10 ของมูลค่าการส่งออก

แม้ว่ากินีจะมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม กินียังคงประสบปัญหาการพัฒนาทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากความไม่มั่นคงทางการเมือง การคอรัปชั่นที่มีอยู่สูง ประกอบกับสถานการณ์การสู้รบในกินีบิสเซา เซียร์ราลีโอน และไลบีเรีย ซึ่งส่งผลให้มีการอพยพจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในกินี ทั้งนี้ กินียังถูกจัดไว้เป็นลำดับที่ 11 ในตารางประเทศล้มเหลว (failed state)

สหประชาชาติจัดให้กินีอยู่ในอันดับที่ 156 จาก 177 ประเทศ ที่มีดัชนีการพัฒนาคน
(Human development index-HDI) ต่ำที่สุด ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นมาตรฐานสุขภาพที่ย่ำแย่ของชาวกินีและสาธารณูปโภคที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในกลุ่มแรงงานเหมืองแร่

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐกินี
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
ความสัมพันธ์ด้านการทูต
ไทยและกินีสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2526 โดยไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์ มีเขตอาณาครอบคลุมกินี ในขณะที่กินีได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์มีเขตอาณาครอบคลุมไทย เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐกินีประจำไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ คนปัจจุบันคือ นาย Mohamed Sampil นอกจากนี้ สาธารณรัฐกินีได้แต่งตั้งนายสมาน ไกรคุ้ม เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์กินีประจำประเทศไทย

ความสัมพันธ์ทวิภาคีโดยทั่วไปราบรื่นแต่ไม่ใกล้ชิดกันนัก เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ที่ห่างไกลกัน อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในกินีเมื่อเดือนมกราคม ปี 2550 ทำให้ฝ่ายไทยมีความจำเป็นที่จะต้องอพยพคนงานไทยที่ประกอบอาชีพวิศวกรจำนวน 13 คน ที่ทำงานกับบริษัทก่อสร้าง
ของญี่ปุ่นในกินี กลับไทย

ความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ
มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับกินีมีไม่มากนัก ที่ผ่านมาไทยได้เปรียบดุลการค้ากับกินี ในปี 2549 มูลค่าการค้ามีปริมาณ 412.7 ล้านบาท ไทยส่งออกไปกินีมูลค่า 355.8 ล้านบาท และไทยนำเข้าจากกินีมูลค่า 57.9 ล้านบาท ไทยได้ดุลการค้ากับกินี 297.9 ล้านบาท สินค้าที่ไทยส่งออกไปกินี 10 อันดับแรก ได้แก่ 1. เม็ดพลาสติก 2.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล 3. ผลิตภัณฑ์พลาสติก 4.ผ้าผืน 5. ข้าว 6. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 7. เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน 8. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 9. เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน 10. หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ สำหรับสินค้าที่ไทยนำเข้าจากกินี ได้แก่ 1. ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ 2. สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป 3.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 4. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 5.เคมีภัณฑ์ 6.สัตว์มีชีวิตไม่ได้ทำพันธ์ 7.ผลิตภัณฑ์เซรามิก 8. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 9. แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ 10.สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์

ปริมาณการค้าไทย – กินี ดูเอกสารแนบ

ความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม
ยังไม่มีความสัมพันธ์ในด้านนี้

ความตกลงที่สำคัญ ๆ กับไทย
ยังไม่มีการจัดทำความตกลงระหว่างสองประเทศ

การเยือนที่สำคัญ
ยังไม่มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างสองฝ่าย

มิถุนายน 2550



เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-48 E-mail : southasian04@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์