ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> แอฟริกาใต้




แผนที่
สาธารณรัฐแอฟริกาใต้
The Republic of South Africa


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง อยู่ทางใต้สุดของทวีปแอฟริกา ทิศเหนือติดนามิเบีย บอตสวานา ซิมบับเว ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดโมซัมบิก และสวาซิแลนด์ ทิศตะวันออกติดมหาสมุทรอินเดีย
พื้นที 1,221,037 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2.5 เท่าของประเทศไทย
มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 2,954 กิโลเมตร
เมืองหลวง กรุงพริทอเรีย (Pretoria)
เมืองสำคัญ นครโจฮันเนสเบิร์ก (Johannesburg) ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางการบิน และอุตสาหกรรม เมืองเคปทาวน์ (Cape Town) เป็นที่ตั้งสภานิติบัญญัติและเมืองท่าฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก เมืองโบลมฟอนแตน (Bloemfontein) เป็นที่ตั้งศาลสูง
ภูมิอากาศ สภาพอากาศอบอุ่น มีแสงแดดตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคม 22.5 องศาเซลเซียส และกรกฎาคม 11.3 องศาเซลเซียส
ประชากร ประมาณ 44 ล้านคน (มิ.ย.2550) เป็นคนผิวดำร้อยละ 79 ผิวขาวร้อยละ 9.6 ผิวสีผสมร้อยละ 8.9 และคนเชื้อชาติอินเดียนร้อยละ 2.5
อัตราการแพร่ระบาดของเชื้อ HIV/AIDS ในประชากรช่วงอายุ 15-49 ปี ร้อยละ 18.8 (2548)
จำนวนผู้ติดเชื้อ HIV/AIDS ประมาณ 5.5 ล้านคน (2548)
ภาษาราชการ อังกฤษ และ Afrikaans ภาษาอื่นที่ใช้ คือ Ndebele, Sotho, Swazi, Tsonga, Venda, Tswana, Xhosa, Pedi และ Zulu
ศาสนา คริสต์ ร้อยละ 79.6 มุสลิม ร้อยละ 1.5 ความเชื่ออื่น ร้อยละ 18.8
หน่วยเงินตรา แรนด์ (Rand) 1 แรนด์ ประมาณ 6.76 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (GDP) 255,244 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
รายได้เฉลี่ยต่อหัว (GDP per head) 5,630 ดอลลาร์สหรัฐ (2548)
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 5 (2549)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 4.6 (2549)
วันชาติ 27 เมษายน (Freedom Day)

การเมืองการปกครอง
ระบอบการเมือง ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
ระบบการปกครอง สาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ
แบ่งการปกครองออกเป็น 9 มลรัฐ (Province) คือ KwaZulu-Natal,
Northern Cape, Northern Province, North-West, Eastern Cape,
Mpumalanga, Free State, Western Cape และ Gauteng
ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาล นาย Thabo Mvuyelwa Mbeki (ประธานาธิบดี)
รัฐมนตรีต่างประเทศ นาง Nkosazana Clarice Dlamini-Zuma
พรรคการเมืองที่สำคัญ มีพรรคการเมืองที่จดทะเบียนทั้งสิ้น 88 พรรค แต่มีพรรคการเมืองใหญ่ ที่สำคัญ 4 พรรค ได้แก่
1. African National Congress (ANC) พรรคแกนนำรัฐบาล
2. Democratic Alliance (DA) เป็นพรรคการเมืองใหญ่อันดับ 2 และเป็น พรรคฝ่ายค้านในปัจจุบัน สมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนผิวขาว (เกิดจากการรวมตัวของพรรค Democratic Party (DP) และ New National Party (NNP) แต่ต่อมาพรรค NNP แยกตัวออกมาเป็นพันธมิตรกับพรรค ANC)
3. Inkatha Freedom Party (IFP) พรรคการเมืองใหญ่อันดับ 3 สมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนผิวดำ เคยเป็นพรรคร่วมรัฐบาลกับพรรค ANC มาตั้งแต่ปี 2537 แต่ต่อมาเกิดความขัดแย้งกัน จึงหันมาเป็นพันธมิตรกับพรรค DA
4. New National Party (NNP) แยกตัวออกจากพรรค DA มาเป็นพันธมิตรกับพรรค ANC และเป็นพรรคร่วมรัฐบาลในปัจจุบัน

สถานการณ์ที่สำคัญ
การเลือกตั้งทั่วไปของแอฟริกาใต้ ครั้งที่ 3
แอฟริกาใต้ได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปตามระบอบประชาธิปไตย ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2547 ซึ่งการเลือกตั้งเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย มีประชาชนแอฟริกาใต้ ร้อยละ 77 ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจากจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมดประมาณ 21 ล้านคน ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรค ANC ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น ได้รับคะแนนเสียงมากกว่า 2 ใน 3 (และมากกว่าการเลือกตั้งทั่วไปที่ผ่านมาทั้ง 2 ครั้ง) โดยได้ที่นั่ง 279 ที่นั่งจากทั้งหมด 400 ที่นั่ง ในขณะที่พรรค Democratic Alliance (DA) พรรคฝ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุด ได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับสอง โดยได้ที่นั่งในรัฐสภาเพียง 50 ที่นั่ง พรรค Inkatha Freedom Party (IFP) ได้ที่นั่งในสภาจำนวน 28 ที่นั่ง พรรคอื่น ๆ ได้รับคะแนนเสียงรวมกันร้อยละ 10.8 นาย Thabo Mbeki ซึ่งได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี เข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแอฟริกาใต้เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2547 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 10 ปีของระบอบประชาธิปไตยในแอฟริกาใต้ และในโอกาสนี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เข้าร่วมพิธีเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ และพิธีเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปีของระบอบประชาธิปไตยในแอฟริกาใต้

ในการบริหารประเทศของพรรค ANC ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา แอฟริกาใต้มีเสถียรภาพทั้งในด้านการเมืองและด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจของแอฟริกาใต้มีความแข็งแกร่งและเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ (ประมาณร้อยละ 2-3) ทำให้ประชาชนโดยรวมมีความเชื่อมั่นในพรรครัฐบาล รัฐบาลมีนโยบายเน้นส่งเสริมการลงทุน โดยเฉพาะในการก่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน ขยายและเพิ่มโครงการด้านสาธารณูปโภค ส่งเสริมการลงทุน เพิ่มการจ้างงาน 1 ล้านคน ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ลดอัตราว่างงานลงครึ่งหนึ่งในช่วง 10 ปีข้างหน้า ปรับปรุงระบบอนามัย ปราบปรามปัญหาอาชญากรรมและปัญหาการทุจริต รวมถึงการต่อสู้กับปัญหา HIV/AIDS ในด้านนโยบายต่างประเทศนั้น แอฟริกาใต้มีพันธกรณีในการเสริมสร้างสันติภาพ ประชาธิปไตย และความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคแอฟริกา

แอฟริกาใต้มีบทบาทนำทางการเมืองในภูมิภาคแอฟริกาและเวทีการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศอื่นๆ และเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงสุดในภูมิภาคแอฟริกา แอฟริกาใต้มีระบบเศรษฐกิจแบบเสรี และมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า ที่สุดประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกา ลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว (First World) ควบคู่ไปกับโครงสร้างของเศรษฐกิจที่ด้อยพัฒนา (Third World)

แอฟริกาใต้ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2553 (ค.ศ. 2010)
เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2547 สหพันธ์ฟุตบอลโลก (FIFA)ได้ประกาศผลการลงคะแนนเสียงของคณะกรรมการบริหาร FIFA ซึ่งเลือกให้แอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพจัดฟุตบอลโลกในปี ค.ศ. 2010 ด้วยคะแนน 14 เสียง จาก 24 เสียง โดยโมร็อกโกได้ 10 เสียง อียิปต์และลิเบียไม่ได้คะแนน ส่วนตูนิเซียขอถอนตัวออกจากการลงสมัคร สำหรับแอฟริกาใต้เคยแพ้เยอรมนีในการคัดเลือกเจ้าภาพจัดฟุตบอลโลกปี ค.ศ. 2006 เพียง 1 เสียง ดังนั้น แอฟริกาใต้จึงคาดหวังในการได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดฟุตบอลโลกปี ค.ศ.2010 ค่อนข้างมาก และยังนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประเทศในทวีปแอฟริกาจะเป็นเจ้าภาพจัดฟุตบอลโลก ซึ่งจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อแอฟริกาใต้ที่กำลังประสบปัญหาการว่างงานสูง โดยคาดว่าการเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดฟุตบอลโลกในปี ค.ศ. 2010 จะช่วยสร้างงานในแอฟริกาใต้ได้ถึง 150,000 ตำแหน่ง ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2549 นาย Trevor Manuel รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของแอฟริกาใต้เปิดเผยว่า รัฐบาลแอฟริกาใต้วางโครงการงบประมาณในการสร้างสนามกีฬาใหม่เป็นเงิน 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และใช้งบประมาณในการพัฒนาระบบคมนาคม ทั้งรถไฟ รถ minibus และรถ taxi อีกประมาณ 1,640 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การยุบพรรค New National Party
พรรค the New National Party (NNP) หรือพรรค the National Party (NP) เดิม ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลในอดีตที่นำนโยบายแบ่งแยกสีผิวมาใช้ในแอฟริกาใต้ มีแผนจะยุบพรรคในเดือนกันยายน 2548 เพื่อไปรวมกับพรรค African National Congress (ANC) ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาลปัจจุบัน ที่ได้ต่อสู้เพื่อล้มล้างการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้จนสำเร็จ

นโยบายต่างประเทศ
ในด้านนโยบายต่างประเทศนั้น แอฟริกาใต้มีพันธกรณีในการเสริมสร้างสันติภาพ ประชาธิปไตย และความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคแอฟริกา ดังนี้
- ภายหลังจากที่ประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลา ก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ หลังได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งทั่วไปแบบไม่แบ่งแยกสีผิวเป็นครั้งแรกในปี 2537 นโยบายและรูปแบบการดำเนินความสัมพันธ์ด้านการต่างประเทศได้รับการปรับโครงสร้างให้มีความเป็นมิตรกับประชาคมระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการยกเลิกนโยบายการกีดกันสีผิว (Apartheid) ซึ่งแอฟริกาใต้ได้พยายามใช้นโยบายต่างประเทศในการสร้างสันติภาพและความเจริญรุ่งเรื่องให้เกิดขึ้นภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง
- แอฟริกาใต้มีฐานะเป็นผู้นำของกลุ่มประชาคมเพื่อการพัฒนาภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ (Southern African Development Community - SADC) เนื่องจากต้องการที่จะเป็นประเทศศูนย์กลางในการฟื้นฟูศักยภาพของทวีปแอฟริกาทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ และมีบทบาทสำคัญในการสนุบสนุนการรวมกลุ่มในระดับภูมิภาคและการพัฒนา แอฟริกาใต้มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและระงับข้อพิพาทในหลายพื้นที่ในทวีปแอฟริกา เช่น แองโกลา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก โมซัมบิก รวันดา บูรุนดี และซิมบับเว ทั้งนี้ แอฟริกาใต้เชื่อมั่นว่า การแก้ปัญหาความขัดแย้งในทวีปแอฟริกานั้น ควรให้ประเทศในแอฟริกามีบทบาทนำในการเจรจาแก้ปัญหากันเอง
- แอฟริกาใต้ได้แสดงให้ประชาคมระหว่างประเทศเห็นถึงความมุ่งมั่นในการสนับสนุนนโยบายการลดและไม่เผยแพร่อาวุธที่มีอำนาจการทำลายล้างสูง อย่างไรก็ดี แม้แอฟริกาใต้จะมิได้มีภัยคุกคามความมั่นคงจากภายนอกและภายในอย่างเด่นชัด แต่แอฟริกาใต้ยังคงเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางการทหารมากที่สุดในภูมิภาคแอฟริกา
- นโยบายต่างประเทศของแอฟริกาใต้มีลักษณะของการทูตเชิงเศรษฐกิจ โดยมุ่งหวังให้ประเทศต่างๆ มองแอฟริกาใต้เป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเสรีที่เอื้อต่อการค้าและการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งรัฐบาลของประธานาธิบดี Thabo Mbeki ได้พยายามให้ความสำคัญกับการค้าและการลงทุนจากต่างชาติเพื่อการปรับโครงสร้างภายในประเทศ นอกจากนั้น แอฟริกาใต้ซึ่งมีบทบาทนำในการสนุบสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้ให้การรับรองสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนแทนการรับรองไต้หวัน เนื่องจากมองถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
- แอฟริกาใต้ได้เข้าเป็นสมาชิกและมีบทบาทสำคัญในการรวมกลุ่มระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาคแอฟริกา เช่น การเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพแอฟริกา (African Union - AU) และมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำกองกำลังผสมร่วมกับโมซัมบิกเข้าไปสังเกตการณ์สงครามกลางเมืองในบูรุนดี เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มประชาคมเพื่อการพัฒนาภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ (Southern African Development Community - SADC) ในปี 2537 ซึ่งได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อองค์การ ทั้งนี้ ก่อนที่แอฟริกาใต้จะเข้าเป็นสมาชิก การค้าขายระหว่างกันของประเทศสมาชิกมีเพียง ร้อยละ 4 ของการค้าขายทั้งหมดของประเทศสมาชิกกับประเทศอื่น แต่เมื่อแอฟริกาใต้เข้าเป็นสมาชิก การค้าขายภายในกลุ่มได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25 อย่างไรก็ดี มูลค่าการค้าขายที่เพิ่มขึ้นนั้น มิได้มาจากการค้าขายระหว่างกันของประเทศสมาชิก หากแต่เป็นการค้าขายที่ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศมีกับแอฟริกาใต้ นอกจากนั้น แอฟริกาใต้ยังเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสำคัญๆ ในระดับภูมิภาค เช่น สหภาพศุลการกรแอฟริกาตอนใต้ (Southern African Customs Union - SACU) ข้อตกลงทางการเงินหลายฝ่าย (Multilateral Monetary Agreement - MMA) และ ตลาดร่วมสำหรับแอฟริกาตะวันออกและตอนใต้ (Common Market for Eastern and Southern Africa - COMESA)
- ในขณะนี้ แอฟริกาใต้เป็นหนึ่งในประเทศในภูมิภาคแอฟริกาที่ประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกถาวรของ UNSC และล่าสุดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2549 แอฟริกาใต้ได้รับเลือกจากที่ประชุมสมัชชาองค์การสหประชาชาติให้เป็นสมาชิกไม่ถาวรของ UNSC ในฐานะตัวแทนของกลุ่มแอฟริกาวาระปี 2550-2551

เศรษฐกิจการค้า
ลักษณะโดยทั่วไป
แอฟริกาใต้มีระบบเศรษฐกิจแบบเสรี และมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าที่สุดประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกา ลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งคือมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว (First World) ควบคู่ไปกับโครงสร้างของเศรษฐกิจที่ด้อยพัฒนา (Third World) ในชุมชนของคนผิวดำ พื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจ คือ อุตสาหกรรมการผลิตแร่และการเกษตร ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การเกษตรเป็นสาขาที่ทำรายได้มากที่สุด แต่ปัจจุบันสาขาอุตสาหกรรมได้ขยายตัวขึ้น และทำรายได้มากที่สุด แต่การผลิตแร่ก็ยังมีความสำคัญในการส่งออก และสินค้าอุตสาหกรรมหลายอย่างเป็นผลผลติที่ใช้วัตถุดิบจากแร่ธาตุ

รัฐบาลแอฟริกาใต้ภายใต้การนำของประธานาธิบดีแมนเดลาได้ประกาศนโยบายหลัก ซึ่งเน้นในแผนงาน Reconstruction and Development Programme (RDP) อันเป็นโครงการระยะ 5 ปี ในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (ระหว่างปี พ.ศ. 2537 –2542) โครงการสำคัญที่ได้ดำเนินการ ได้แก่ โครงการสาธารณูปโภคต่าง ๆ อาทิ การจัดหาประปา ไฟฟ้า ที่อยู่อาศัย การสาธารณสุขและสวัสดิการสำหรับคนพิการและคนสูงอายุ การให้การอุดหนุนการศึกษาในภาคบังคับและการสร้างงาน ฯลฯ

ทรัพยากร แอฟริกาใต้เป็นประเทศที่อุดมด้วยทรัพยากรแร่ธาตุต่าง ๆ และเป็นประเทศผู้ผลิตทางคำรายใหญ่ที่สุดของโลก แร่ธาตุหลายอย่างในแอฟริกาใต้ถือเป็นแหล่งแร่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้แก่ ทองคำ, Chromium, Flurospar, Manganese และ Vanadium ส่วนผลผลิตแร่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ เพชร, Platinum, Iron ore, Uranium, Asbestos, Alumino-Silicates, Antemone, Zirconium, Tritatium ส่วนพลังงาน แอฟริกาใต้ผลิตกระแสไฟฟ้า โดยใช้พลังงานจากถ่านหินและใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมและในการทำความร้อน แอฟริกาใต้นำเข้าน้ำมันบ้าง แต่สามารถผลิตน้ำมันจากถ่านหินได้เองด้วย และกำลังทำการสำรวจก๊าซธรรมชาติอยู่ในด้านทรัพยากรแรงงาน แอฟริกาใต้ขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือแรงงานส่วนใหญ่ที่มีเป็นแรงงานที่ไร้ฝีมือ

อุตสาหกรรม ผลผลิตด้านอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อุปกรณ์ด้านการขนส่ง และอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักร แก้ว กระดาษ และสิ่งพิมพ์ สิ่งทอ เสื้อผ้าและเครื่องหนัง อุตสาหกรรมไม้และผลผลิตจากไม้ นอกจากนี้ แอฟริกาใต้ยังมีอุตสาหกรรมผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ด้วย

การเกษตร แอฟริกาใต้มีพื้นที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกเพียงร้อยละ 15 ผลผลิตการเกษตรขึ้นกับดินฟ้าอากาศเป็นสำคัญ แอฟริกาใต้ประสบภาวะแห้งแล้งมาหลายปี เนื่องจากปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอทำให้ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ เพิ่งจะฟื้นตัวขึ้นในปี 2537 ผลผลิตการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวสาลี อ้อย ผลไม้ประเภทองุ่น ส้ม ผักสด ปศุสัตว์ และสัตว์ปีก เนื้อแกะ แพะ นม ไข่ ขนสัตว์

สถานการณ์เศรษฐกิจ
- แอฟริกาใต้มีบทบาทนำทางการเมืองในภูมิภาคแอฟริกาและเวทีการเมืองเศรษฐกิจระหว่างประเทศ แอฟริกาใต้มีระบบเศรษฐกิจแบบเสรี และมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าที่สุดประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกา โดยมีลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว (First World) ควบคู่ไปกับโครงสร้างของเศรษฐกิจที่ด้อยพัฒนา (Third World)
- แอฟริกาใต้มีรายได้หลักจากการค้า เพชรพลอย แร่โลหะ เครื่องจักรกล ชิ้นส่วน
เครื่องจักรกล สินค้าเหมืองแร่หลักของแอฟริกาใต้คือ แพลตินั่ม ทองคำ ถ่าน เพชร แร่เหล็ก และแมงกานีซ ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมและเหมืองแร่ยังคงเป็นภาคการผลิตที่เป็นแหล่งจ้างงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ สินค้าเกษตรที่สำคัญของแอฟริกาใต้คือ ข้าวโพดและอ้อย และสินค้าส่งออกที่สำคัญของแอฟริกาใต้คือ ไวน์ ผลไม้คุณภาพสูง และเนื้อนกกระจอกเทศ
- ค่าเงินแรนด์ ในปี 2547 เงินสกุลแรนด์เมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์แข็งตัวขึ้น ร้อยละ 18 โดยเพิ่มขึ้นจาก 6.9 แรนด์ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนมกราคม 2547 เป็น 5.61 แรนด์ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐในเดือนธันวาคม 2547 ซึ่งเป็นระดับที่เงินแรนด์แข็งตัวที่สุดในรอบ 6 ปี และเป็นเงินสกุลต่างประเทศที่แข็งตัวที่สุดเป็นลำดับที่สองของโลก รองจากเงิน Zloty ของโปแลนด์ เหตุผลหลักที่ทำให้เงินแรนด์แข็งตัวขึ้นคือ การอ่อนตัวลงของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับเงินยูโร และการที่สหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของแอฟริกาใต้ (คิดเป็นประมาณร้อยละ 40 ของปริมาณการค้าต่างประเทศทั้งหมดของแอฟริกาใต้) ดังนั้น เมื่อเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ก็ส่งผลให้ค่าเงินแรนด์แข็งค่าขึ้นตามไปด้วย ผู้บริหารของแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่ซึ่งรวมถึงประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ และผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติมีความเห็นว่า การที่ค่าเงินแรนด์แข็งตัวสะท้อนให้เห็นว่า นักลงทุนต่างชาติมีความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม ภาคธุรกิจแอฟริกาใต้มีความเห็นว่า เงินแรนด์ที่แข็งค่าขึ้นเป็นผลเสียต่อภาคอุตสาหกรรม การส่งออก และการจ้างงานในประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหมืองแร่และสิ่งทอ
นักเศรษฐศาสตร์แอฟริกาใต้บางท่านมีความเห็นว่า ค่าเงินแรนด์ที่แข็งค่าขึ้น เป็นผลจากเงินลงทุนต่างประเทศ (capital inflows) ซึ่งหากมีการถอนเงินลงทุนกลับประเทศเมื่อไร ก็อาจเกิดวิกฤตการณ์ค่าเงินแรนด์ได้ทุกเมื่อ เหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นในปี 2544 ซึ่งค่าเงินแรนด์ลดลงต่ำที่สุดถึงระดับ 14 แรนด์ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ นักเศรษฐศาสตร์
- การเติบโตทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจของแอฟริกาใต้มีความแข็งแกร่งและเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ (ประมาณร้อยละ 2-3) รัฐบาลมีนโยบายเน้นส่งเสริมการลงทุน โดยเฉพาะในการก่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน ขยายและเพิ่มโครงการด้านสาธารณูปโภค ส่งเสริมการลงทุน เพิ่มการจ้างงาน 1 ล้านคน ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ลดอัตราว่างงานและความยากจนลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2557 กระตุ้นเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตถึงร้อยละ 6 ในปี 2553 ปรับปรุงระบบอนามัย ปราบปรามปัญหาอาชญากรรมและปัญหาการทุจริต รวมถึงการต่อสู้กับปัญหา HIV/AIDS
- เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย ในปี 2547 ทางการแอฟริกาใต้ได้สามารถควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับเป้าหมาย คือ อยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 3-6 ปัจจัยที่ส่งผลให้เงินเฟ้อในปี 2547 อยู่ในระดับต่ำก็คือ การแข็งตัวของเงินแรนด์ สำหรับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 20 ปี โดยอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์ให้กู้แก่ประชาชน (prime rate) เท่ากับร้อยละ 11 และอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารแห่งชาติให้กู้แก่ธนาคารพาณิชย์ (repo rate) เท่ากับร้อยละ 7
- ดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลบัญชีเดินสะพัดได้ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2 ของ GDP ในช่วงไตรมาสที่ 1 เป็นร้อยละ 3.5 ของ GDP ในช่วงไตรมาสที่ 2 และลดลงเหลือร้อยละ 2.5 ของ GDP ในไตรมาสที่ 3 โดยแอฟริกาใต้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสที่ 3 คิดเป็น 35 พันล้านแรนด์ ปัจจัยหลักที่ทีทำให้แอฟริกาใต้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด คือ การแข็งตัวของค่าเงินแรนด์ ซึ่งส่งผลให้สินค้าส่งออกมีราคาสูงขึ้น และสินค้านำเข้ามีราคาลดลง
- การค้าต่างประเทศ มูลค่าการค้าปี 2549 ประมาณ 133,598 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ส่งออก 63,904 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 69,694 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เสียเปรียบดุลการค้า 5,790 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
- ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ส่งออกไป สหรัฐฯ 10.1% สหราชอาณาจักร 9.1% ญี่ปุ่น 8.8% เยอรมนี 7.5% นำเข้าจาก เยอรมนี 13.5% สหรัฐฯ 8.2% สหราชอาณาจักร 7.2% ญี่ปุ่น 6.5% (2549)


ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
1. ด้านการทูต
รัฐบาลไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการกงสุลกับแอฟริกาใต้เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2535 และต่อมาได้เปิดสถานกงสุลใหญ่อาชีพ ชั้น 1 ณ เมืองโจฮันเนสเบอร์ก เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2535 ในขณะที่ฝ่ายแอฟริกาใต้ได้เปิดสถานกงสุลใหญ่แอฟริกาใต้ประจำประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2535 ไทยและแอฟริกาใต้ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2536 และฝ่ายแอฟริกาใต้ได้ยกระดับสถานกงสุลของตนเป็นสถานเอกอัครราชทูตในวันนั้น ในขณะที่ ฝ่ายไทยได้ยกระดับสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองจฮันเนสเบอร์กขึ้นเป็นสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2537 และต่อมา ในปี 2545 ฝ่ายแอฟริกาใต้ได้แต่งตั้งให้นายแสวง เครือวัฒนสกุล ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ประจำจังหวัดเชียงใหม่ (โดยมีเขตอาณาครอบคลุมจังหวัดเชียงรายด้วย)

เอกอัครราชทูตไทยคนปัจจุบันคือ นายโดมเดช บุนนาค และนอกจากสถานเอกอัครราชทูตแล้ว ฝ่ายไทยยังมีสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงพริทอเรียด้วย

2. ด้านการเมือง
ที่ผ่านมาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับแอฟริกาใต้มีความราบรื่นและใกล้ชิด ไม่มีปัญหาระหว่างกัน รวมทั้งมีท่าทีระหว่างประเทศที่สอดคล้องกัน ทั้งนี้ แอฟริกาใต้ได้สนับสนุนให้ไทยเข้าเป็นสมาชิกสมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Rim Association for Regional Cooperation- IOR-ARC) ในขณะที่ไทยได้สนับสนุนประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ ในฐานะของประธานสหภาพแอฟริกา (African Union) เดินทางไปกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ในหัวข้อ The New Partnership for Africa’s Development (NEPAD)

แอฟริกาใต้มีนโยบายมุ่งกระชับความสัมพันธ์กับกลุ่ม ASEAN โดยใช้ไทยเป็น Gateway ในทำนองเดียวกัน ไทยก็ตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของแอฟริกาใต้ในฐานะผู้นำของกลุ่มประชาคมเพื่อการพัฒนาภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ (Southern African Development Community) และเป็นฐานสนับสนุนไทยในเวทีการเมืองระหว่างประเทศและกระชับความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศแอฟริกาโดยรวม

สำหรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 (2006) นั้น แอฟริกาใต้แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทย และมีท่าทีสอดคล้องกับประเทศตะวันตก อาทิ สหภาพยุโรปและสหรัฐฯ โดยเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2549 (2006) นาย Aziz Pahad รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของแอฟริกาใต้ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชนว่า รัฐบาลแอฟริกาใต้มีความเห็นร่วมกับ UNSG และประชาคมระหว่างประเทศในการประฌามไทยอย่างตรงไปตรงมาต่อการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และไม่ควรได้รับการสนับสนุนจากทั่วโลก

3. ด้านเศรษฐกิจการค้า
แอฟริกาใต้ถือว่าเป็นตลาดใหม่สำหรับไทย ซึ่งเพิ่งเปิดขึ้นหลังจากได้ระงับการติดต่อกันไปในช่วงที่มีการปฏิบัติตามมติสหประชาชาติให้คว่ำบาตรแอฟริกาใต้ หลังจากที่เริ่มค้าขายกันเป็นปกติแล้ว การค้าทวิภาคี ได้ค่อยๆ ขยายตัวมากขึ้นในแต่ละปี และยังมีลู่ทางขยายตัวอีกมาก ปัจจุบันแอฟริกาใต้เป็นประเทศคู่ค้าในภูมิภาคแอฟริกาที่สำคัญที่สุดของไทย โดยการค้ารวมระหว่างไทย-แอฟริกาใต้มีมูลค่ามากเป็นอันดับหนึ่งของการค้าของไทยในภูมิภาคแอฟริกา มูลค่าการค้าไทย–แอฟริกาใต้ ในปี 2549 เท่ากับ 55,783.3 ล้านบาท ไทยส่งออก 41,380.8 ล้านบาท นำเข้า 14,402.5 ล้านบาท ไทยได้เปรียบดุลการค้า 26,978.4 ล้านบาท

สินค้าที่ไทยส่งออกไปแอฟริกาใต้ที่สำคัญ ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล น้ำมันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป สำหรับสินค้าที่ไทยนำเข้าจากประเทศแอฟริกาใต้ ได้แก่ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เคมีภัณฑ์ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักและผลไม้

สถิติการค้าไทย - แอฟริกาใต้ ดูเอกสารแนบ

การลงทุน
ในด้านการลงทุน แม้ว่าปริมาณการลงทุนยังมีน้อย แต่ก็มีธุรกิจต่าง ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายอาจทำการลงทุนร่วมกัน อาทิ ในด้านธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรม การก่อสร้าง ธนาคาร อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เป็นต้น แอฟริกาใต้เป็นประเทศที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าที่สุดประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกา และมีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานรองรับ จึงเป็นอีกแหล่งที่นักลงทุนไทยควรให้ความสนใจ โดยในปี 2539 บริษัท Italian-Thai Development จากประเทศไทยได้เข้าไปลงทุนในแอฟริกาใต้เป็นมูลค่าประมาณ 350 ล้านแรนด์ เพื่อสร้างโรงแรมระดับ 5 ดาว รวมทั้งการสร้างสนามกอล์ฟในบริเวณที่เรียกว่า Knysna นอกจากนี้ กลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) ได้เปิดสำนักงานตัวแทนขึ้นที่นครโจฮันเนสเบิร์ก เพื่อศึกษาถึงลู่ทางในการทำการค้าและการลงทุนกับแอฟริกาใต้ และกลุ่มบริษัท G.Premjee Group ซึ่งเป็นบริษัทนานาชาติที่มีฐานอยู่ในประเทศไทยได้จัดตั้งศูนย์บรรจุหีบห่อและจำหน่ายถุงยางอนามัยมูลค่าประมาณ 6 ล้านแรนด์ในมลรัฐ Kwa Zulu-Natal เพื่อขยายกิจการเข้าไxในตลาดทวีปแอฟริกาต่อไปด้วย นอกจากนี้ มีร้านอาหารไทยที่แอฟริกาใต้อีกประมาณ 30 กว่าร้าน ในขณะที่ มีนักธุรกิจแอฟริกาใต้เข้ามาลงทุนในไทย ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ธุรกิจเคเบิลทีวี อุตสาหกรรมผลไม้กระป๋อง และกิจการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (website)

4. ด้านสังคมและวัฒนธรรม
การท่องเที่ยว
นับตั้งแต่แอฟริกาใต้เปิดประเทศ ได้มีนักท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศเดินทางไปมาหาสู่ซึ่งกันและกัน สถิตินักท่องเที่ยวจากแอฟริกาใต้มาประเทศไทย นับว่าค่อนข้างสูงและมีแนวโน้มที่ดีมาตลอด และแอฟริกาใต้ยังคงเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาไทยสูงสุด เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในทวีปแอฟริกา ตามสถิติของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในปี 2547 มีนักท่องเที่ยวแอฟริกาใต้เดินทางมาไทย 43,068 คน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2546 ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาไทย 35,560 คน อย่างไรก็ดี ในปี 2547 มีนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางไปแอฟริกาใต้เพียง 758 คน ลดลงจากปี 2546 ที่มีจำนวน 4,372 คน ทั้งนี้ ส่วนหนึ่ง น่าจะเป็นผลมาจาก ในปี 2546 สายการบินเซาท์แอฟริกันแอร์เวย์ได้หยุดทำการบินตรงในเส้นทางกรุงเทพฯ – เมืองโจฮันเนสเบอร์กชั่วคราว แต่ปัจจุบันได้กลับมาบินในเส้นทางดังกล่าวเช่นเดิมแล้ว และยิ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นภายหลังจากที่บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) เปิดเส้นทางการบินตรงกรุงเทพฯ-โจฮันเนสเบิร์ก เมื่อเดือนตุลาคม 2549 และเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2549 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย ได้ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และสำนักงานการค้าในต่างประเทศ จัดงาน “โครงการเมืองไทยในสวน” หรือ “Thailand in the Park” ครั้งที่ 1 ขึ้น ณ สวนสาธารณะแมกโนเลีย เดล ในกรุงพริทอเรีย โดยมุ่งหวังที่จะเพิ่มการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประเทศไทยออกไปสู่ชาวแอฟริกาใต้และส่งเสริมให้ชาวแอฟริกาใต้เดินทางมาท่องเที่ยวในไทยมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นช่องทางและโอกาสในการเผยแพร่สินค้าและภูมิปัญญาไทยในแอฟริกาใต้ เช่น สินค้า OTOP การนวดแผนไทย สปาและอาหารไทย และในปี 2550 นี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียได้กำหนดจะจัดงาน “เมืองไทยในสวน” ครั้งที่ 2 ขึ้นในวันที่ 31 สิงหาคม - 2 กันยายน ณ ศูนย์บันเทิงใจกลางนครโจฮันเนสเบอร์ก เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการเผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในแอฟริกาใต้

อนึ่ง ในเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยในภาคใต้ของไทย เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2547 มีนักท่องเที่ยวแอฟริกาใต้เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 14 คน และบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547 รัฐบาลแอฟริกาใต้ได้ส่งเครื่องบินเที่ยวบินพิเศษมารับนักท่องเที่ยวแอฟริกาใต้ที่ติดค้างในพื้นที่ จำนวน 65 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ได้รับบาดเจ็บ คนชรา และเด็ก รวมทั้งศพผู้เสียชีวิต 4 ศพ กลับประเทศ

ในปัจจุบันมีคนไทยอาศัยอยู่ในแอฟริกาใต้ประมาณ 2,500 คน โดยส่วนใหญ่มีอาชีพแรงงาน แม่บ้าน ค้าบริการ ทำกิจการร้านอาหาร และเป็นนักเรียนศาสนา และมีชมรมคนไทยในแอฟรากใต้ 1 แห่ง ได้แก่ ชมรมคนไทยในเมืองเคปทาวน์ และมีสมาคมที่อยู่ในระหว่างการก่อตั้งบ โดยที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพริทอเรีย ม่าวนร่วมในการก่อตั้ง คือ สมาคมคนไทยในเมืองเคปทาวน์

ในปี 2550 ไทยได้จัดสรรทุนฝึกอบรมให้แก่แอฟริกาใต้ จำนวน 1 ทุน คือ ทุนด้าน Managing a Market Economy in a Globalizing World

5. ความตกลงที่สำคัญกับประเทศไทย
- ความตกลงการบริการเดินอากาศไทย-แอฟริกาใต้ ลงนามเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2536
- อนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างไทย-แอฟริกาใต้ ลงนามเมื่อวันที่ 12
กุมภาพันธ์ 2539
- ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ มีผลบังคับใช้วันที่
1 เมษายน 2542
- ความตกลงทางการค้าไทย-แอฟริกาใต้ ลงนามเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2544
- ความตกลงจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-แอฟริกาใต้ ลงนามเมื่อวันที่
21 มิถุนายน 2546

6. การแลกเปลี่ยนการเยือนที่สำคัญ
ฝ่ายไทย
ระดับพระราชวงศ์
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเยือนแอฟริกาใต้ ระหว่างวันที่ 5 -16 กุมภาพันธ์ 2542 เพื่อทรงเป็นองค์ Keynote lecturer ในการประชุม TWOWS Second General Assembly & International Conference ในหัวข้อเรื่อง “Women, Science & Technology for Sustainable Human Development” ที่เมืองเคปทาวน์ ตามคำกราบทูลเชิญของ Third World Organization for Women in Science (TWOWS) ทั้งนี้ ได้ทรงเป็นอาคันตุกะของ
รัฐบาลแอฟริกาใต้ระหว่างวันที่ 9 -11 กุมภาพันธ์ 2542
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเยือนแอฟริกาใต้ในฐานะผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และองค์หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมระดับโลกว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (World Summit on Sustainable Development-WSSD) ระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม - 5 กันยายน 2545 ตามคำกราบทูลเชิญของประธานาธิบดี Thabo Mbeki แห่งแอฟริกาใต้ โดยมี ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตามเสด็จในครั้งนี้ด้วยในฐานะรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
- สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ ฯ แวะพักเพื่อเปลี่ยนเครื่องบินพระที่นั่งที่ท่าอากาศยานนานาชาตินครโจฮันเนสเบิร์ก เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2546 เป็นเวลา 6 ชั่วโมง ก่อนเสด็จนิวัติกลับประเทศไทย ภายหลังเสร็จสิ้นการเสด็จ ฯ เยือนเคนยาและแทนซาเนีย ทั้งนี้ ในวโรกาสดังกล่าวได้เสด็จ ฯ เยี่ยมชมสถานที่สำคัญของแอฟริกาใต้ในบริเวณใกล้เคียงด้วย

ระดับรัฐบาล
- นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเยือนแอฟริกาใต้อย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 1 - 5 มีนาคม 2536 ซึ่งนับเป็นการเยือนแอฟริกาใต้อย่างเป็นทางการครั้งแรกของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลไทย ภายหลังจากที่ไทยและแอฟริกาใต้เปิดความสัมพันธ์ทางการกงสุลระหว่างกันเมื่อปี 2536
- นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และผู้แทนรัฐบาลไทยได้เดินทางไปร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของนายเนลสัน แมนเดลาระหว่างวันที่ 8 -10 พฤษภาคม 2537
- นายประจวบ ไชยสาส์น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเยือนแอฟริกาใต้อย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 17- 21 สิงหาคม 2540
- ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศในฐานะผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และผู้แทนรัฐบาลเดินทางไปร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของนาย Thabo Mbeki ระหว่างวันที่ 14 -17 มิถุนายน 2542
- นายนิสสัย เวชชาชีวะ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะผู้แทนพิเศษรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนแอฟริกาใต้เพื่อร่วมงานฉลองครบรอบ 10 ปีความสัมพันธ์ไทย-แอฟริกาใต้ ระหว่างวันที่ 17- 23 พฤษภาคม 2545
- นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เดินทางไปร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของนายทาโบ อึมเบกิ (Thabo Mbeki) และพิธีเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปีของประชาธิปไตยและการยกเลิกการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 25-28 เมษายน 2547
- พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้หารือกับนาย Thabo Mbeki ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ ในระหว่างเข้าร่วมการประชุม NAM Summit ณ กรุงฮาวานา ประเทศคิวบา เมื่อเดือนกันยายน 2549

ฝ่ายแอฟริกาใต้
- นาย Alfred B. Nzo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแอฟริกาใต้เยือนไทยอย่างเป็นทางการ โดยเป็นแขกของกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 9 -10 เมษายน 2540 หลังจากเสร็จสิ้นการประชุมกลุ่มประเทศผู้ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) ที่กรุงนิวเดลี
- นายเนลสัน แมนเดลา ประธานาธิบดีแห่งแอฟริกาใต้เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล ระหว่างวันที่ 16 -17 กรกฎาคม 2540
- ศาสตราจารย์ S. M. Mayayula ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาของรัฐสภาแอฟริกาใต้และคณะเยือนไทยระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน - 7 กรกฎาคม 2545 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านการศึกษากับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยที่เกี่ยวข้อง โดยได้เข้าเยี่ยมคารวะประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร และปลัดกระทรวงศึกษาธิการด้วย
- นาง Zanele Mbeki ภริยาของประธานาธิบดีแอฟริกาใต้แวะพักที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ก่อนเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่กรุงพนมเปญ
- นาย V. Ngoulu ประธานคณะกรรมาธิการสาธารณสุข รัฐสภาแอฟริกาใต้และคณะเยือนไทยระหว่างวันที่ 23 - 30 พฤศจิกายน 2545 เพื่อศึกษาดูงานด้านระบบการสาธารณสุขของไทย โดยเฉพาะการป้องกันและบำบัดรักษาโรคเอดส์ และอุตสาหกรรมยา โดยได้เข้าเยี่ยมคารวะประธานคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎรด้วย
- Dr. F. N. Ginwala ประธานสภาผู้แทนราษฎรแอฟริกาใต้เดินทางเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุม Commission for Human Security ระหว่างวันที่ 8-10 ธันวาคม 2545
- นาย Linda Mti ตำแหน่ง National Commissioner of Correctional Services และคณะเยือนไทยเพื่อศึกษาดูงานด้านการราชทัณฑ์ของไทย เมื่อวันที่ 5-11 พฤศจิกายน 2546 และได้เข้าเยี่ยมคารวะปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2546
- นายเนลสัน แมนเดลา อดีตประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ และนางกราซา มาเชล ภริยา เข้าร่วมการประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 15 ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 11-16 กรกฎาคม 2547 โดยนางกราซา มาเชลรับเชิญเป็นผู้อุปถัมภ์โครงการ Leadership Programme ของการประชุม ฯ และเป็นแขกของรัฐบาลไทย ในโอกาสนี้ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และท่านผู้หญิง ดร. สุธาวัลย์ เสถียรไทย ได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับนายเนลสัน แมนเดลา และนางกราซา มาเชล เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2547 โดยได้หารือเกี่ยวกับการกระตุ้นความสำนึกในหมู่ผู้นำประเทศต่างๆ ทั่วโลก ในเรื่องความสำคัญของการที่จะป้องกันปัญหา HIV/AIDS และกระตุ้นให้ผู้นำทุ่มเททรัพยากรในประเทศของตนเพื่อจัดหายาให้แก่ผู้ติดเชื้อ และทำให้ผู้ติดเชื้อสามารถอยู่ในสังคมได้โดยไม่ถูกเลือกประติบัติ นอกจากนี้ ยังได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน อาทิ สถานการณ์ในอิรัก และความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียและแอฟริกาในลักษณะหุ้นส่วนด้านต่างๆ
- Dr. Ivy Matsepe-Casaburri รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารแอฟริกาใต้ และคณะเยือนไทย ระหว่างวันที่ 7-10 ธันวาคม 2547 เพื่อดูงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย และเข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในวันที่ 9 ธันวาคม 2547
- นางสาว Nomatyala Hangana รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการปกครองท้องถิ่นและภูมิภาคแอฟริกาใต้ (Deputy Minister: Department of Provincial and Local Government) เยือนไทยระหว่างวันที่ 29-30 มกราคม 2548 เพื่อเข้าร่วมการประชุม the Ministerial Meeting on Tsunami Early Warning System Arrangement ที่ จ. ภูเก็ต

ผู้แทนทางการทูต
ฝ่ายไทย
เอกอัครราชทูตประจำแอฟริกาใต้ คือ นายโดมเดช บุนนาค (H.E. Mr. Domedej Bunnag)
ที่อยู่ของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย
Royal Thai Embassy
428 Pretorius/Hill Street
Arcadia, Pretoria 0083
P.O. Box 12080
Hatfield, Pretoria 0028
Tel. (27-12) 342-1600, 342-4516,
342-4600, 342-4506, 342-5470
Fax. (27-12) 342-4805, 342-3986
E-mail : info@thaiembassy.co.za
Consular Info : visa@thaiembassy.co.za
Trade Info : trade@thaiembassy.co.za
Technical : webmaster@thaiembassy.co.za
Website : http://www.thaiembassy.co.za

ฝ่ายแอฟริกาใต้
เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ประจำประเทศไทย
คือ H.E.Ms.Pearl Nomvume Magaqa
ที่อยู่สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ประจำประเทศไทย
The Embassy of the Republic of South Africa
12 A Floor, M-Thai Tower
All Season Place
87 Wireless Road,
Lumphini, Pathum Wan,
Bangkok 10330
Tel. 0-2250-9012-4
Fax. 0-2685-3500
E-mail: saembbkk@loxinfo.co.th
Website: www.saembbangkok.com


สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-48 E-mail : southasian03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์