ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา






รัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา
The Sovereign Military Order of Malta


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ไม่มีอาณาเขตหรือดินแดน เนื่องจากเป็นองค์กรทางศาสนาที่มีสมาชิกเป็นฆราวาสจากนานาประเทศ สำนักงานใหญ่ (Villa Maltese) ตั้งอยู่บนเนินเขา Aventine ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี ไม่ไกลจาก Spanish Steps (เดินประมาณ 1 นาที)
ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ใช้ธง 3 แบบ อย่างแรกคือธงรัฐ (State Flag) ที่มีกางเขนสีขาว (รูปด้านบน)อย่างที่สองคือธงสำหรับองค์กรการกุศล จะมี Maltese Cross (กางเขนที่มีรอยหยัก) อยู่ตรงกลางธง
และอย่างสุดท้ายคือธงสำหรับประมุขรัฐ ซึ่งมีมงกุฎและสายประคำ (คล้ายสร้อย) ล้อมรอบ Maltese Cross อีกที
ประวัติศาสตร์และความเป็นมา
ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา มีชื่อเต็มว่า
The Sovereign Military Hospitaller Order of St. John of Jerusalem of Rhodes and of Malta เป็นทั้งนิกายโบราณที่เกี่ยวเนื่องกับอัศวินและเกี่ยวกับนิกายย่อยในคริสตจักรโรมันคาทอลิก เป็นรัฐอิสระที่ปกครองตนเองโดยใช้อำนาจอธิปไตยโดยอยู่ภายใต้กฏหมายระหว่างประเทศ

ขนาดและที่ตั้ง
ออร์เดอร์ ออฟ มอลตามีสมาชิกจากหลายประเทศทั่วโลก (กว่า 11,000 คน โดยอยู่ในสหรัฐอเมริกา 3,000 คน) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงโรม ออร์เดอร์ออฟมอลตาทำงานร่วมกับมูลนิธิในประเทศต่างๆ ทั่วโลกและมีบทบาทใน 130 ประเทศ รวมถึงในเหตุการณ์สึนามิในไทยด้วย

ออร์เดอร์ ออฟ มอลตาเป็นรัฐอธิปไตย โดยใน 900 ปีที่ผ่านมา ได้รับสถานะรัฐอธิปไตยและรับกฏหมายระหว่างประเทศภายใต้วินัยทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

รัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา มีสนธิสัญญากับรัฐอื่นๆ มีหนังสือเดินทางเป็นของตนเอง ผลิตเหรียญกษาปณ์ในสกุลเงินของตนเอง และพิมพ์แสตมป์เป็นของตนเอง โดยมีอนุสัญญาทางไปรษณีย์และสนธิสัญญาทางไปรษณีย์กับ 45 ประเทศ มีสถานเอกอัครราชทูตอยู่ใน 96 ประเทศ และมีคณะทูตถาวรประจำอยู่ที่องค์การสหประชาชาติและองค์กรย่อยขององค์การสหประชาชาติ

รัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ได้รับเลือกเป็นผู้สังเกตการณ์ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2537 โดยได้รับการอุปถัมป์จากประเทศสมาชิก 71 ประเทศ

ออร์เดอร์ออฟมอลตาเป็นสมาชิกขององค์กรย่อยของสหประชาชาติดังนี้
1. United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO)
2. The Council of Europe
3. The World Health Organization (WHO)
4. The Food and Agriculture Organization (FAO)
5. The Commission of the European Union

และมีคณะผู้แทนอยู่ที่คณะกรรมการสากลของ International Committee of the Red Cross (ICRC).

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
Order of Malta เป็นหนึ่งในสี่นิกายของ Roman Catholic ที่เก่าแก่ที่สุด (Basilians, Angustinians และ Benedictines) มีลักษณะคล้ายกับองค์กรศาสนา เช่นเดียวกับนิกาย (order) อื่น ๆ อีก 4 สาขา คือ Order of Teutonic, Order of Temple, Order of St. Lazare และ Order of St. Thomas A. Bucket of Acre

Order of Malta ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1099 โดยภราดา Gerard ซึ่งก่อตั้งสถานพยาบาลขึ้นที่กรุงเยรูซาเล็ม เพื่อรักษาพยาบาลกลุ่มผู้แสวงบุญ (Pilgrims) ที่เดินทางมาเยรูซาเล็ม และขยายสาขาออกไปตามเส้นทางการแสวงบุญ ต่อมา เมื่อมีสงครามครูเสด สมาชิกนิกายนี้ต้องติดอาวุธป้องกันตนเองและทำหน้าที่ช่วยสู้รบไปในตัวด้วย จึงเกิดตำแหน่งอัศวิน (Knight) ขึ้นในสมัยของผู้นำที่ชื่อ Fra Raymond du Puy ในปี ค.ศ.1126

ในที่สุดเมื่อฝ่ายมุสลิมมีชัยชนะเหนือคริสเตียนในเยรูซาเล็มและดินแดนปาเลสไตน์ ในช่วงปี ค.ศ. 1187-1291 ทำให้ฝ่ายคริสเตียนต้องถอยไปตั้งมั่นอยู่ที่ไซปรัสประมาณ 140 ปี และไปยึดเกาะ Rhodes ไว้เป็นที่มั่นแห่งใหม่ได้ในปี ค.ศ. 1310 และสร้างความรุ่งเรืองแข็งแกร่งเป็นปึกแผ่นอยู่ที่เกาะ Rhodes ได้อีก 214 ปี จึงพ่ายแพ้แก่กองทัพของออตโตมันภายใต้การนำของสุลต่านสุไลมานและย้ายไปตั้งมั่นอยู่ที่เกาะมอลตาในปี ค.ศ. 1532 และยังถูกกองทัพเรือเติร์กรุกรานต่อไป แต่ต้านทานไว้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี ค.ศ. 1571 ซึ่งมีสงครามทางทะเลครั้งใหญ่ (Battle of Lepanto) ซึ่ง Grand Master Fra Jean de la Valette สามารถนำทัพทำลายกองเรือตุรกีแตกพ่ายไป และอาณาจักรออตโตมันเริ่มอ่อนกำลังลง (ต่อมาเมืองหลวงของมอลตาได้ใช้ชื่อของ Grand Master ผู้นี้)

Order of Malta ที่เกาะมอลตามาถูกยึดครองโดยพลเอกนโปเลียน โบนาปาร์ต ในปี ค.ศ. 1798 และกองทัพของฝรั่งเศสทำลายทุกอย่างบนเกาะมอลตาจน Order of Malta ต้องละทิ้งเกาะมอลตา และย้ายไปตั้งอยู่ชั่วคราวที่รัสเซียก่อนจะกลับมาตั้งอยู่ที่โรมเมื่อปี ค.ศ.1834 จนปัจจุบัน

สถานะของรัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา
รัฐอธิปไตยทหาร ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา (The Sovereign Military Order of Malta - SMOM) หรือรู้จักกันในชื่อย่อว่า Order of Malta นั้น มีชื่อเต็มว่า The Sovereign Military Hospitaller Order of Saint John of Jerusalem of Rhodes and of Malta ถือว่าเป็นรัฐอธิปไตยที่มิได้มีคุณสมบัติตามหลักรัฐศาสตร์ตามนิยามที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ซึ่งประกอบด้วย ดินแดน ประชากร อำนาจอธิปไตย และรัฐบาลที่ปกครองตนเอง แต่เป็นองค์กรทางศาสนาซึ่งเป็นฆราวาส (lay religious order) ของนิกาย Roman Catholic ซึ่งรักษามรดกอธิปไตยสืบทอดมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบันมีสถานะคล้ายกับ Holy See

รัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา เป็นมิตรกับทุกประเทศ โดยมุ่งให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในประเทศต่าง ๆ จึงไม่มีปัญหาทางการเมืองกับประเทศใด ๆ และได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับกว่า 80 ประเทศ แม้รัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา จะไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติแต่ก็ได้รับสถานะเป็น Permanent Observer ในองค์การสหประชาชาติ เมื่อ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1994 ในฐานะ "Hospitaller Organization" และ SMOM แต่งตั้งผู้แทนเข้าร่วมประชุมและสังเกตการณ์ในองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ

ปัจจุบันรัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา มีองค์กรสาขาหลัก (Grand Priories) 6 แห่ง สาขารอง (Sub Priories) 3 แห่ง และสมาชิกในเครือประจำประเทศต่าง ๆ (National Associations) 41 แห่งใน 37 ประเทศ โดยมีที่ทำการใหญ่ (Headquaters) อยู่ที่กรุงโรมตั้งแต่ปี ค.ศ.1834 SMOM มีสมาชิกประมาณ 12,000 คนทั่วโลก
สมาชิกภาพของ SMOM มี 3 ประเภท คือ

1) Knights of Justice and Conventual Chaplains เป็นกลุ่มที่จะต้องผ่านการสาบานตน (solemn vows) ที่จะยึดมั่นต่อหลักการสำคัญ 3 ประการของนิกาย คือ poverty, charity และ obedience
2) Knights and Dames in Obedience หรือ Knights and Dames of Magistral Grace สมาชิกต้องตั้งมั่นว่าจะเป็นคริสตศาสนิกชนที่เคร่งครัดตามแนวทางของนิกาย (สมาชิกส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ เป็นกลุ่มนี้)
3) สมาชิกกลุ่มที่ 3 ประกอบด้วยหลายตำแหน่ง คือ
- Knights and Dames of Honor and Devotion
- Conventual Chaplains, ad honorem
- Knights and Dames of Grace and Devotion
- Magistral Chaplains
- Knights and Dames of Magistral Grace
- Donats of Devotion

ตัวอย่างแสตมป์ของออร์เดอร์ ออฟ มอลตา จากพิพิธภัณฑ์ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์

การเมืองการปกครอง
ระบบการปกครอง
รัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ปกครองโดยเจ้าผู้ครองนคร (The Grand Master) เป็นประมุขคนปัจจุบันคือ His Most Eminent Highness Fra' Andrew Bertie และคณะรัฐมนตรี (Sovereign Council) ซึ่งมี The Grand Master เป็นประธาน

Sovereign Council ประกอบด้วย
1) The Grand Commander (ปัจจุบันคือ Fra Ludwig Hoffmann von Rumerstein)
2) The Grand Chancellor (ปัจจุบัน Count Don Carlo Morullo di Condojanni, Prince of Casalnuovo ซึ่งดำรงตำแหน่ง The Keeper of the Common Treasure ด้วย
3) The Hopitaller (ปัจจุบันคือ Baron Albrecht Freiherr von Boeselager)
4) The Receiver of the Common Treasure
5) Councillors จำนวน 6 คน (ซึ่งเป็นผู้ช่วย 2 คน)

นอกจากนั้นรัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ยังมีสภาผู้แทนราษฎร เรียกว่า Chapter General และมี Full Council of State ซึ่งทำหน้าที่เลือกตั้งประมุขเพียงอย่างเดียว

รัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา มีองค์การศุลกากรและศาลชั้นต้นเป็นของตนเอง และออกหนังสือเดินทางของรัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ให้กับสมาชิก

เว็บไซต์หลักของรัฐอธิปไตยทหาร ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา

องค์กรมอลทีเซอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือกับนานาประเทศ ทั้งด้านความช่วยเหลือเร่งด่วนทางการแพทย์ และความช่วยเหลือในระยะยาวในการทำให้สถานการณ์กลับคืนสู่สภาพปกติและในการพัฒนาพื้นที่ที่ประสบภัย

เศรษฐกิจการค้า
เศรษฐกิจ
รัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา (SMOM) เป็นรัฐที่มีรายได้จากการบริจาคและการจำหน่ายดวงตราไปรษณียากรซึ่งนำไปใช้ในกิจการด้านสาธารณกุศลและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
การดำเนินการ

SMOM เน้นการให้บริการด้านโรงพยาบาล คลีนิก และรถพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล โรงเรียนอนุบาล สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า สถานดูแลผู้ป่วยพิเศษ ตลอดจน งานบรรเทาสาธารณภัย และมีการส่งยา อาหาร เครื่องใช้ที่จำเป็นไปให้ผู้ประสบทุกข์ยากทั่วโลก สัญลักษณ์ไม้กางเขนแบบ Maltese Cross จึงถือเป็นสัญลักษณ์ของการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

แหล่งรายได้หลักของรัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา มาจากการบริจาคของสมาชิก แต่ส่วนนี้นับว่ามีปริมาณน้อยมาก โดยแม้ว่า ในหลายประเทศ จะมีจำนวนผู้ศรัทธาบริจาคอยู่มาก เช่น ในเยอรมนีมีผู้บริจาคให้เป็นประจำประมาณ 400,000 คน แต่คนเหล่านี้บริจาคให้คนละเล็กน้อย การปฏิบัติงานโครงการใหญ่ๆ จะได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรปหรือสหประชาชาติ อาทิ โครงการป้องกันและกำจัดไข้มาเลเรียในกัมพูชาได้รับเงินสนับสนุนจาก UNHCR

รัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา มีส่วนช่วยเหลือผู้อพยพเชื้อสายแอลเบเนียที่ได้รับผลกระทบจากสงครามในโคโซโวซึ่งมีผู้อพยพกว่า 480,000 คน ออกไปยังมาซิโดเนียและกว่า 70,000 คน ออกไปยังมอนเตนิโกร ด้วยการให้บริการโรงพยาบาลสนาม น้ำดื่มน้ำใช้ และบริการด้านสุขอนามัยอื่นๆ รวมทั้งได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้อพยพ 60,000 คนในค่ายผู้อพยพในแอลเบเนีย รัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลต้า สามารถปฏิบัติงานได้ดีทั้งในโคโซโวและแอลเบเนีย เนื่องจากเป็นองค์กรที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับศาสนาหรือการเมือง

รัฐอธิปไตยทหาร ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ได้ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (DRC) โดยการจัดหายา เครื่องนุ่งห่ม และของใช้อื่นๆ แก่กลุ่มประชาชนที่พลัดถิ่น อันเป็นผลจากการต่อสู้ระหว่างกลุ่มต่างๆ และในซิมบับเว โดยการดำเนินการโครงการด้านการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน และจัดหายาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลในซิมบับเว

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา
ไทยกับรัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2527 (ค.ศ. 1984) และได้มีการแลกเปลี่ยนผู้แทนซึ่งกันและกันในระดับเอกอัครราชทูต โดยเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำรัฐอธิปไตยทหาร ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา อีกตำแหน่งหนึ่ง และ นาย Michael Douglas Mann ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตอธิปไตยทหาร ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ประจำประเทศไทยคนปัจจุบัน (คนที่ 3) โดยมีถิ่นพำนัก ณ นครโฮจิมินห์

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัฐอธิปไตยทหาร ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ในด้านการเมืองและเศรษฐกิจมีน้อยมาก เนื่องจากลักษณะพิเศษของรัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา คล้ายองค์กรทางศาสนาและมีที่ตั้งอยู่ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี รัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา สนใจให้ความช่วยเหลือกิจการด้านสาธารณกุศล โดยทำงานประสานอย่างใกล้ชิดกับองค์การกาชาดสากลในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศต่างๆ กว่า 90 ประเทศ สำหรับประเทศไทย รัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา เคยให้ความช่วยเหลือในโครงการด้านสาธารณสุข โดยให้พื้นที่พักพิงชั่วคราว สำหรับผู้หนีภัยการสู้รบตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และไทย-พม่า โครงการช่วยเหลือมูลนิธิดวงประทีป และศูนย์บำบัดโรคเรื้อนที่พุดหง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น และล่าสุด มีโครงการให้ความช่วยเหลือกะเหรี่ยงที่อำเภอ แม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และผู้หนีการสู้รบตามบริเวณชายแดนไทย

การแลกเปลี่ยนการเยือน
บารอน Albrech von Boeselager สมาชิก Sovereign Council ผู้ดำรงตำแหน่ง Hospitaller (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) ได้มาเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม 2537 (ค.ศ. 1994) และเข้าพบ ดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสาธารณสุข โดยมีนายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทยและนายสาโรจน์ ชวนะวิรัช ปลัดกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น เข้าร่วมการหารือด้วย

เมื่อเดือนมิถุนายน 2542 (ค.ศ. 1999) เจ้าผู้ครองนครรัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา มีหนังสือกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์เข้าร่วมพิธีฉลองครบรอบ 900 ปี ของรัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ในวันที่ 24 มิถุนายน 2542 (ค.ศ. 1999) ที่มหาวิหาร St. Peter ที่นครวาติกัน ซึ่งฝ่ายไทยได้มอบหมายให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงโรมเข้าร่วมพิธีดังกล่าวแทน

เมื่อวันที่ 12-16 กุมภาพันธ์ 2548 (ค.ศ. 2005) บารอน Albrecht Freiherr von Boeselager รัฐมนตรีอาวุโส (The Grand Hospitaller) แห่งรัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา เดินทางเยือนไทย โดยได้พบหารือกับนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

ติดต่อรัฐอธิปไตยทหาร ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ได้ที่
Sovereign Military Order of Malta
Magistral Palace
Via Condotti, 68 - 00187 Rome - Italy
Tel. +39.06.67581.1 - Fax +39.06.6797.202
Email address
ขอข้อมูลรัฐอธิปไตยทหาร ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ได้ที่นี่

For information on literature and history pertaining to the Order of Malta
The Magistral Library and Archives of the Order of Malta
Magistral Palace
Via Condotti, 68 - 00187 Rome - Italy
Tel. +39.06.67581.268 - Fax +39.06.67581.270
Email address
ห้องสมุดและห้องเก็บเอกสารของรัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา

สามารถติดต่อเรื่องเหรียญกษาปณ์และแสตมป์ของออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ได้ที่
The Order of Malta’s Magistral Post Office
Via Bocca di Leone, 68 – 00187 Rome Italy
Casella Postale 195
Tel: +39.06.67581.211 - Fax: +39.06.6783934
Email address
อีเมลองค์การไปรษณีย์ของออร์เดอร์ ออฟ มอลต้า กดที่นี่

สถานเอกอัครราชทูตรัฐอธิปไตยทหาร ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา
228/1 ถ. สุขุมวิท 65
เขตวัฒนา กทม. 10110
โทร. 0 2391 2108
Email: embsmomth@gmail.com
เวลาทำการ 09.00 - 12.00 น. จันทร์ - ศุกร์

นาย Michael Mann ดำรงตำแหน่ง ออท. รัฐอธิปไตยฯ ประจำ ปทท. ถิ่นพำนัก ณ กรุงโฮจิมินห์
นาย Jacques Bekaert ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตที่ปรึกษาและอุปทูต

เรียบเรียงโดย กองยุโรป 2 กรมยุโรป โทร. 0-2643-5133-4 Fax 0-2643-5132 E-mail: european03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์