ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> เติร์กเมนิสถาน




แผนที่
เติร์กเมนิสถาน
Turkmenistan


 
ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้ง อยู่ในเอเชียกลาง ทางด้านตะวันออกของทะเลสาบแคสเบียนและทางตะวันตกของแม่น้ำ Amu-arya ระหว่างอิหร่านและอุซเบกิสถาน
ภาคเหนือ ติดคาซัคสถาน ภาคใต้ ติดอัฟกานิสถาน ภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ ติดอุซเบกิสถาน ภาคตะวันตก ติดอิหร่าน

พื้นที่ 488, 100 ตารางกิโลเมตร (ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของกลุ่มประเทศ CIS)

เมืองหลวง อาชกาบัต (Ashgabat) ประชากรประมาณ 700,000 คน

ประชากร ประมาณ 5 ล้านคน (2550) แบ่งเป็นชาวเติร์กเมน ร้อยละ 85 อุซเบก ร้อยละ 5 รัสเซีย ร้อยละ 4 อื่นๆ ร้อยละ 6

ภาษา เติร์กเมนเป็นภาษาราชการ และมีการใช้ภาษารัสเซียอย่างกว้างขวาง

ศาสนา อิสลามนิกายสุหนี่ ร้อยละ 89 คริสต์นิกายออโธดอกซ์ ร้อยละ 9 อื่นๆ ร้อยละ 2

เขตการปกครอง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 จังหวัด ได้แก่ 1) Ahal Welayaty 2) Balkan Welayaty 3) Dashoguz Welayaty 4) Lebap Welayaty 5) Mary Welayaty และ 1 เขตการปกครองพิเศษ คือเมือง Ashgabat

ภูมิอากาศ ทะเลทรายแบบภาคพื้นทวีป

เวลา เร็วกว่ามาตรฐาน GMT 5 ชั่วโมง (ช้ากว่าเวลาในประเทศไทย 2 ชั่วโมง)

สกุลเงิน มานัท (Manat) (เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ (USD) = 5,200.05 TMM (กุมภาพันธ์ 2550)

วันชาติ 27 ตุลาคม

การเมืองการปกครอง
รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข มีอำนาจเบ็ดเสร็จ

รัฐธรรมนูญ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2535 (ค.ศ. 1992)

การแบ่งส่วนการปกครอง
ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดี เป็นประมุขและทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ

ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบ 2 สภา สภาสูง - People’s Council (Halk Maslahaty) มีจำนวน 2500 ที่นั่ง สมาชิกมาจากการเลือกตั้งและแต่งตั้ง และสภาล่าง - National Assembly (Majlis) มีจำนวน 50 ที่นั่ง สมาชิกมาจากการเลือกตั้ง มีวาระสมัยละ 5 ปี

ฝ่ายตุลาการ ศาลฎีกา (Supreme Court) เป็นศาลสูงสุด (ผู้พิพากษามาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี)

ประธานาธิบดี นาย Gurbanguly BERDYMUKHAMMEDOV (14 กุมภาพันธ์ 2550)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย Rashid Meredov


สภานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2550 เติร์กเมนิสถานได้จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีอันเนื่องมาจาก การถึงแก่อสัญกรรมอย่างกะทันหันของนาย Saparmurat Niyazov อดีตประธานาธิบดีเติร์กเมนิสถาน (ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2534 – 2549) เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2549 ผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการกลางการเลือกตั้งปรากฏว่านาย Gurbanguly Berdymukhammedov ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีตามความคาดหมายด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 89.23 จากจำนวนผู้มาใช้สิทธิถึงร้อยละ 99 และได้เข้าพิธีรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2550 อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์หลายคนให้ความเห็นว่า การเข้ารับตำแหน่งของนาย Berdymukhammedov น่าจะเป็นสัญญาณที่ดีต่อการพัฒนาประเทศของเติร์กเมนิสถาน ดังจะเห็นได้จากการดำเนินนโยบายตามที่ได้เคยประกาศไว้ อาทิ การยึดมั่นตามพันธกิจที่มีต่อประชาคมระหว่างประเทศโดยเฉพาะด้านพลังงาน การปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และยึดมั่นผลประโยชน์ส่วนรวมตามแนวทางของอดีตประธานาธิบดี Saparmurat Niyazov รวมไปถึงการปรับโครงสร้างระบบการศึกษา การปรับปรุงสวัสดิการสังคม การเพิ่มอัตราการจ้างงาน และความเป็นไปได้ที่จะอนุญาตให้มีพรรคการเมืองฝ่ายค้าน เนื่องจากที่ผ่านมา การบริหารประเทศภายใต้การนำของนาย Niyazov เป็นแบบอัตตาธิปไตย ซึ่งพยายามรักษาอำนาจด้วยการดำเนินมาตรการอย่างเข้มงวด และไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค และสวัสดิการทางสังคม ทำให้การพัฒนาประเทศของเติร์กเมนิสถานเป็นไปด้วยความล่าช้า

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศนั้น ที่ผ่านมาภายใต้ระบอบเดิม เติร์กเมนิสถานอาศัยความเป็นกลางหลีกเลี่ยงที่จะเข้าร่วมองค์กรความร่วมมือใด ๆ ที่มีลักษณะเหนือรัฐ เติร์กเมนิสถานจึงไม่ค่อยมีบทบาทในเวทีนานาชาติมากนัก ประธานาธิบดีสนับสนุนนโยบายแบบ Inward-Looking หลังเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายโจมตีสหรัฐอเมริกาเมื่อ11 กันยายน ค.ศ. 2001 ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านได้ใช้โอกาสนี้ขยายความสัมพันธ์ทางต่างประเทศในภูมิภาคให้แน่นแฟ้น ยิ่งขึ้น แต่เติร์กเมนิสถานยังเพิกเฉย และอ้างนโยบายความเป็นกลาง เพื่อปฎิเสธการขอใช้สนามบินทางการทหารของสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม หลังการเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดี Berdymukhammedov ท่าทีในการดำเนินความสัมพันธ์กับต่างประเทศของเติร์กเมนิสถานได้เปลี่ยนไป เห็นได้จากการสร้างปฏิสัมพันธ์ในระดับผู้นำในรูปแบบของการเยือนเติร์กเมนิสถานของผู้นำประเทศต่างๆ และการเยือนประเทศต่างๆ ของประธานาธิบดี Berdymukhammedov ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา อาทิ รัสเซีย จีน อิหร่าน อัฟกานิสถาน และคาซัคสถาน

นโยบายต่างประเทศ
เติร์กเมนิสถานให้ความสนใจเฉพาะด้านการขนส่งก๊าซและขยายตลาดก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเติร์กเมนิสถานให้ความสำคัญแก่ยูเครนและรัสเซีย โดยยูเครนนั้นเป็นประเทศส่งออกก๊าซที่สำคัญส่วนความสัมพันธ์กับรัสเซีย เติร์กเมนิสถานพึ่งพารัสเซียในเรื่องการขนส่งก๊าซ ในขณะเดียวกันรัสเซียเองก็ต้องพึ่งพาก๊าซจากเติร์กเมนิสถานเพื่อใช้ภายในประเทศ และขายต่อให้ยุโรป ล่าสุด เมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 ประธานาธิบดีรัสเซีย คาซัคสถาน และเติร์กเมนิสถาน ได้ลงนามความตกลงร่วมกันในการสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากคาซัคสถาน และเติร์กเมนิสถานเข้าสู่รัสเซีย และความตกลงร่วมในการปรับปรุงท่อก๊าซเดิมโดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากประธานาธิบดีอุซเบกิซสถาน เนื่องจากเส้นทางท่อก๊าซเดิมบางส่วนต้องผ่านอุซเบกิสถาน อย่างไรก็ตาม เติร์กเมนิสถานพยายามจะลดการพึ่งพารัสเซียในเรื่องดังกล่าวและแสวงหาพันธมิตรใหม่กับอีกหลายประเทศ อาทิ จีน สหรัฐฯ และ อิหร่าน เห็นได้จากการที่จะสร้างเครือข่ายท่อขนส่งก๊าซผ่านอิหร่านทางด้านตะวันตก ไปยังตุรกีและยุโรป และทางใต้ไปยังอ่าวเปอร์เซีย แต่ความโดดเดี่ยวทางการเมืองระหว่างประเทศของอิหร่านทำให้เส้นทางขนส่งก๊าซของอิหร่านยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร อีกทั้งทั้งสองประเทศขาดเงินทุนเพื่อมาพัฒนาการค้าระหว่างกัน นอกจากนี้ การเยือนจีนของประธานาธิบดี Berdymukhammedov เมื่อเดือนกรกฎาคม 2550 ยังแสดงให้เห็นถึงการสร้างความเชื่อมั่นให้กับจีนว่าถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำ แต่การสร้างท่อก๊าซจากเติร์กเมนิสถานไปจีนจะยังคงดำเนินต่อไปตามความตกลงระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศเมื่อปี 2549 ขณะเดียวกัน ความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับสิทธิในการใช้ทะเลสาบแคสเปียนซึ่งดำเนินมานับตั้งแต่สหภาพโซเวียตล่มสลายลงเมื่อปลายปี 2534 ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงได้โดยง่าย โดยเฉพาะเมื่อประเทศเหล่านี้ยังมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกจากนี้ กรณีพิพาทเหนือดินแดนที่คาบเกี่ยวกับอาเซอร์ไบจานก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงได้ ถึงแม้ว่าอาเซอร์ไบจานได้เสนอให้มีการหารือความตกลงทวิภาคี แต่เติร์กเมนิสถานก็ยังไม่ได้ตอบรับแต่อย่างใด

เศรษฐกิจการค้า
ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ (GDP) 19.80 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

GDP รายสาขา เกษตรกรรม ร้อยละ 24.4 อุตสาหกรรม ร้อยละ 33.9 ภาคบริการ ร้อยละ 41.7 (2549)

การเจริญเติบโตของ GDP ร้อยละ 6 (2549)

ภาวะเงินเฟ้อ ร้อยละ 11 (2549)

สินค้าส่งออกสำคัญ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ฝ้าย เส้นใย

ตลาดส่งออกสำคัญ อิหร่าน, ยูเครน, อาเซอร์ไบจาน

สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักรและชิ้นส่วน , เคมีภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์อาหาร

แหล่งนำเข้าสำคัญ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อาเซอร์ไบจาน, ยูเครน, ตุรกี, รัสเซีย, เยอรมนี , อิหร่าน, จีน

อุตสาหกรรมหลัก ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สิ่งทอ การแปรรูปอาหาร


สภาวะทางเศรษฐกิจเติร์กเมนิสถาน
เติร์กเมนิสถานเป็นประเทศที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยทะเลทราย มีการเลี้ยงปศุสัตว์แบบเร่ร่อน ซึ่งม้าพันธุ์ Akhaltekin ของเติร์กเมนิสถานเป็นม้าพันธุ์ดีที่สุดพันธุ์หนึ่งของโลก มีการทำการเกษตรขนาดหนักในพื้นที่ชลประทาน ซึ่งมีการปลูกฝ้ายมากเป็นอันดับ 10 ของโลก สินค้าเกษตรอื่น ๆ ได้แก่ ไหม ขนสัตว์ หนังแกะอ่อน ชะเอม และฟัก นอกจากนี้ เติร์กเมนิสถานยังมีแหล่งน้ำมันและบ่อก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่มาก ทำให้เติร์กเมนิสถานเป็นผู้ส่งออกน้ำมันกลั่นรายสำคัญ โดยผลิตน้ำมันได้ประมาณปีละ 4 ล้านเมตริกตัน และมีปริมาณน้ำมันสำรอง 700 ล้านเมตริกตัน ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกด้วย อีกทั้ง เติร์กเมนิสถานยังเป็นประเทศเดียวของกลุ่ม CIS ที่มีโรงงานแปรรูปน้ำมันเพื่อใช้สำหรับเครื่องบิน และในปัจจุบัน บริษัทต่างชาติได้เข้ามาลงทุนในด้านการสำรวจน้ำมันแล้ว อาทิ UNICAL ของสหรัฐฯ DELTA ของ ซาอุดิอาระเบีย และ PETRONAS ของมาเลเซีย ทำให้เติร์กเมนิสถานต้องดำเนินการปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆเพื่อคุ้มครองและอำนวยความสะดวกให้แก่การลงทุนของต่างชาติในประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเติร์กเมนิสถาน
ความสัมพันธ์ทางการทูต
นับตั้งแต่ประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเติร์กเมนิสถานเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2535 จนถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศยังคงอยู่ในระดับเริ่มต้น ปัจจุบันฝ่ายไทยมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา มีเขตอาณาครอบคลุมเติร์กเมนิสถาน เนื่องจากตุรกีเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่สุดประเทศหนึ่งของเติร์กเมนิสถาน มีภาษาและวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันมาก

ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ
นับตั้งแต่ไทยกับเติร์กเมนิสถานเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกันจนถึงปี 2542 ไม่ปรากฎตัวเลขทางการค้าระหว่างกัน ทั้งๆ ที่เติร์กเมนิสถานอุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำมันก๊าซธรรมชาติ และฝ้าย อย่างไรก็ตาม ในปี 2543 ไทยและเติร์กเมนิสถานเริ่มมีการติดต่อค้าขายระหว่างกัน โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2543 มีการค้าระหว่างกันเป็นมูลค่า 28.8 ล้านบาท โดยไทยส่งออกเป็นมูลค่า 14.5 ล้านบาท และนำเข้าจากเติร์กเมนิสถานเป็นมูลค่า 14.3 ล้านบาท
ฝ่ายไทยอาจพิจารณาหาลู่ทางให้เติร์กเมนิสถานเป็นแหล่งป้อนวัตถุดิบประเภทฝ้าย ไหม และหนังวัว (Pelts) ให้แก่อุตสาหกรรมสิ่งทอของไทย หรืออาจลงทุนร่วมในด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปป้อนตลาด CIS ทั้งนี้ ฝ่ายเติร์กเมนิสถานเคยเสนอให้ไทยไปลงทุนในด้านอุตสาหกรรมพลังงาน และ
อุตสาหกรรมการเกษตร เช่น การเก็บรักษาผลไม้และการแปรรูปผลไม้ อาหารและนมเด็ก และน้ำมันพืช

การค้า
สินค้าส่งออกของไทยไปเติร์กเมนิสถาน ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบเครื่องจักร เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ดอกไม้ ใบไม้และต้นไม้ประดิษฐ์ ของเล่น รองเท้าและชิ้นส่วน หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์เซรามิค
สินค้านำเข้าจากเติร์กเมนิสถาน ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ เส้นใยใช้ในการทอ เคมีภัณฑ์ สิ่งพิมพ์ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ

การท่องเที่ยว
ไทย-เติร์กเมนิสถานลงนามความตกลงด้านการบินเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1996 โดยสายการบินเติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan Airlines) ได้เปิดเที่ยวบินระหว่างกรุงอาชกาบัต (Ashgabat) กับกรุงเทพฯ ได้สัปดาห์ละ 3 เที่ยว
จำนวนนักท่องเที่ยวเติร์กเมนปี 2549 (ม.ค.-ธ.ค.) จำนวน 1,208 คน (ปี 2548 มีจำนวน 908 คน)

การแลกเปลี่ยนการเยือน
นับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันมา ฝ่ายเติร์กเมนิสถานเคยแจ้งผ่านสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อกราบบังคมทูลฯเชิญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เยือนเติร์กเมนิสถานอย่างเป็นทางการ และแจ้งว่าประธานาธิบดีเติร์กเมนิสถานแสดงท่าทีสนใจที่จะเยือนไทย
- นางสาวสุจิตรา หิรัญพฤกษ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก เข้าร่วมงานฉลองวันครบรอบเอกราช 3 ปีของเติร์กเมนิสถาน เมื่อเดือนตุลาคม 2537
- ม.ร.ว. เทพ เทวกุล ปลัดกระทรวงฯ ในขณะนั้น นำคณะผู้แทนไทยเยือนสหพันธรัฐรัสเซีย สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน ระหว่างวันที่ 15-27 กันยายน 2539 ซึ่งเป็นคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากไทยคณะแรกที่ไปเยือนเติร์กเมนิสถาน

ความตกลงทวิภาคี
ความตกลงที่ลงนามแล้ว 1 ฉบับ
ความตกลงว่าด้วยการบินพาณิชย์ (ลงนามแล้วเมื่อ 11 ธ.ค. 2539)

ความตกลงที่อยู่ระหว่างการเจรจา
ความตกลงต่างๆ ที่ฝ่ายเติร์กเมนิสถานเสนอไว้เมื่อปี 2536
- ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้า
- บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ




สิงหาคม 2550

เรียบเรียงโดย กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กลุ่มงานเอเชียกลาง โทร. 0 2643 5000 ต่อ 2655 Fax. 0 2643 5301



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์