ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> ซีเรีย




แผนที่
สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย
The Syrian Arab Republic


 
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์

ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทิศเหนือติดตุรกี ทิศใต้ติดจอร์แดน ทิศตะวันออกติดอิรัก ทิศตะวันตกติดเลบานอน อิสราเอลและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

พื้นที่ 185,180 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง กรุงดามัสกัส (Damascus)

ภูมิอากาศ ชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนอากาศชื้น ตอนกลางและทางตะวันออกมีอุณหภูมิสูงในหน้าร้อนถึง 43 องศาเซลเซียส ในหน้าหนาวมีอากาศที่พอเหมาะ มีความหนาวเย็นในบางครั้ง ทางเหนือมีฝนตกจำนวนมาก

จำนวนประชากร 18,881,361 คน (ในพื้นที่ของที่ราบสูงโกลาน 40,000 คน อาหรับ 20,000 คน (18,000 Druze และ 2,000 Alawites) และชาวอิสราเอลในนิคมชาวยิว 20,000 คน

เชื้อชาติ อาหรับร้อยละ 90.3 เคอร์ดส์ อาร์เมเนียน และอื่น ๆ ร้อยละ 9.7

ภาษา อาหรับเป็นภาษาราชการ ฝรั่งเศส อังกฤษ ใช้กันอย่างกว้างขวาง

ศาสนา มุสลิม (สุหนี่) ร้อยละ 74 Alawite, ดรูซและมุสลิมนิกายอื่น ๆ ร้อยละ 16 คริสเตียนร้อยละ 10

วันชาติ 17 เมษายน 2589

วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ซีเรีย 10 มกราคม 2499

เวลา ช้ากว่าไทย 5 ชั่วโมง

การเมืองการปกครอง
รูปแบบการปกครอง
รูปแบบสาธารณรัฐภายใต้การปกครองโดยทหาร (นับแต่ปี 2506) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ เลือกตั้งคราวละ 7 ปี มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี

ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ สมัชชาประชาชน (People’s Council or Majlis al-shaab)มีสมาชิก 250 คน มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี

ฝ่ายบริหาร คณะรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

ฝ่ายตุลาการ ระบบกฎหมายตั้งอยู่บนพื้นฐานกฎหมาย อิสลาม และศาลพลเรือน มีศาลพิเศษทางศาสนา, ไม่ยอมรับการบังคับคดีของศาลระหว่างประเทศ มี 3 ศาล ได้แก่ ศาลสูงสุด (Supreme Constritutional Court) ศาลสูง (High Judicial Court)และศาลความมั่นคงแห่งรัฐ (State Security Court)

ประมุขของรัฐ Dr. Bashar Al-Assad

นายกรัฐมนตรี นาย Muhammad Naji - UTRI

รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Walid Al-Muallem

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
ซีเรียเคยอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2589 ต่อมาในปี 2513 พันเอก Hafez al – Assad ได้ก่อรัฐประหารยึดอำนาจปกครองประเทศ และในปี 2514 ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของซีเรียจนถึงอสัญกรรมเมื่อมิถุนายน 2543 เดือนต่อมา บุตรชายของอดีตประธานาธิบดี
Dr. Bashar Al-Assad ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของซีเรีย
ซีเรียเป็นประเทศค่อนข้างปิด โดยเฉพาะในสมัยของประธานาธิบดี Hafez al- Assad เป็นประเทศนิยมอาหรับและมีนโยบายต่อต้านตะวันตก และอิสราเอล นอกจากนั้น ซีเรียมีอิทธิพลต่อเลบานอนในด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ ทำให้การเจรจาใด ๆ ระหว่างอิสราเอลกับเลบานอนจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการเจรจาระหว่างซีเรียกับอิสราเอลด้วย
อย่างไรก็ดี การที่ Dr. Bashar Al -Assad ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตกทำให้เห็นความสำคัญของการปฏิรูปประเทศทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ และเห็นความจำเป็นต้องเปิดประเทศเพื่อรับการลงทุน และความช่วยเหลือ โดยเฉพาะจากสหรัฐฯ แต่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาสันติภาพกับอิสราเอล Dr. Bashar Al -Assad คงยึดมั่นนโยบายของบิดา สำหรับความสัมพันธ์กับเลบานอน การถอนกองกำลังอิสราเอลออกจากเลบานอนตอนใต้ เมื่อต้นปี 2543 ได้สร้างแรงกดดันให้ซีเรียทบทวนและพิจารณาความจำเป็นและเหตุผลของการคงกองกำลังของตนประมาณ 30,000 นาย อย่างไรก็ตามในปี 2548 ซีเรียได้ถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากเลบานอนหลังจากเหตุการณ์ลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีเลบานอนนาย Rafik Al-Hariri
แม้ซีเรียปฎิรูประบบเศรษฐกิจให้มีความทันสมัยมากขึ้น เช่น การเปิดเสรีธนาคารพาณิชย์ แต่โดยรวมกลไกทางเศรษฐกิจก็ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
ซีเรียมุ่งเน้นการกระชับความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศอาหรับเป็นสำคัญ นอกจากนั้น การที่ซีเรียเคยอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ทำให้ซีเรียมีความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสในระดับหนึ่ง แต่ไม่แน่นแฟ้นเหมือนกับความสัมพันธ์ที่เลบานอนมีต่อฝรั่งเศส

เศรษฐกิจการค้า
อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 2.9 (2549)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 75.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (2549)

ทรัพยากรธรรมชาติ ปิโตรเลียม ฟอสเฟต โครเมียม แมงกานีส แร่เหล็ก หินเกลือ หินอ่อน และยิปซั่ม

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 7 (2549)

อัตราผู้ว่างงาน ร้อยละ 8 (2548)

สินค้าออกที่สำคัญ ปิโตรเลียม พักและผลไม้ เส้นใย phosphate

สินค้าเข้าที่สำคัญ เครื่องจักร อาหาร

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ เยอรมัน อิตาลี ฝรั่งเศส ซาอุดีอาระเบีย เยอรมัน ตุรกี จีน

สกุลเงิน ซีเรียปอนด์ (Syrian Pound)

อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 50 Syrian Pounds

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐอาหรับซีเรีย
ด้านการเมือง

ไทยกับซีเรียสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2499 (ค.ศ. 1956) แต่การติดต่อสัมพันธ์ การค้าและการลงทุนระหว่างกันมีน้อย อดีตรองนายกรัฐมนตรี วันมูหะมัดนอร์ มะทา ได้เดินทางเยือนซีเรีย เมื่อมิถุนายน 2547 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันในด้านต่างๆ ซึ่งซีเรียแสดงความสนใจที่จะร่วมมือในด้านการท่องเที่ยว การส่งออกยาและเวชภัณฑ์ เสื้อผ้า และอาหาร แปรรูป

ด้านเศรษฐกิจ

มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับซีเรียอยู่ในระดับปานกลาง มูลค่าการค้ารวมปี 2549 มีมูลค่า 98.9 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไทยส่งออกไปมูลค่า 97.9 ดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้ามูลค่า 1.0 ดอลลาร์สหรัฐฯซึ่งไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ากับซีเรียเป็นส่วนใหญ่ สินค้าที่ไทยส่งออกไปซีเรียที่สำคัญ ได้แก่ 1.อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 2.เส้นใยประดิษฐ์ 3.รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 4.ผลิตภัณฑ์ยาง 5.ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ 6.ผ้าผืน 7.ยางพารา 8.ผลิตภัณฑ์พลาสติก 9.น้ำตาลทราย 10.ข้าว สินค้าที่ไทยนำเข้าจากซีเรียที่สำคัญ ได้แก่ 1.ด้ายและเส้นใย 2.พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช 3.สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ 4.ธุรกรรมพิเศษ 5.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 6.กาแฟ ชา เครื่องเทศ 7.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
8.ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ 9.เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน 10.ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์

ด้านสังคมและวัฒนธรรม
- การท่องเที่ยว
มีนักท่องเที่ยวจากซีเรียเดินทางมาไทยค่อนข้างน้อย ในปี 2549 มีนักท่องเที่ยวจากซีเรียเข้ามาในไทยประมาณ 2,803 คน
- การศึกษา
มีนักเรียนไทยในซีเรียประมาณ 80 ตน ส่วนใหญ่มาจากภาคใต้ ได้รับการศึกษาด้านศาสนาและกฎหมายอิสลามโดยได้รับทุนโดยตรงจากซีเรีย

ผู้แทนทางการทูต

- ฝ่ายไทย

ไทยมอบหมายให้สถานอัครราชทูต ณ กรุงริยาด ประจำซาอุดีอาระเบียดูแลซีเรีย
Royal Thai Embassy
Diplomatic Quarter,
P.O. Box 94359,
Riyadh 11693
Tel. (966-1) 488-1174, 488-0797, 488-0300, 488-1507
Fax. (966-1) 488-1179
E-mail : thaiemryadsl@awalnet.net.sa
Website : http://www.thaiembassy.org/riyadh

กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำกรุงดามัสกัส ได้แก่ นาย Raymond Kalpakji
Royal Thai Consulate – General
Damascus
SYRIA P.O. Box 7836
โทรศัพท์ (96311) 331-6214, 331-6144
โทรสาร (96311) 331-6535

- ฝ่ายซีเรีย

สถานเอกอัครราชทูตซีเรียประจำอินโดนีเซีย ดูแลไทยอย่างไม่เป็นทางการ และมีสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ซีเรียประจำประเทศไทย
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ซีเรียประจำประเทศไทย ได้แก่ นาย Imad Adel Khoudari
Honorary Consul of the Syrian Arab Republic
P.O. Box 1353 Soi Nana,
Bangkok 10112, Thailand
Tel. (662)251-4517
Fax. (662)650-3652

กุมภาพันธ์ 2550

เรียบเรียงโดย กองตะวันออกกลาง กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5051-52 E-mail : southasian03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์