ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> โบลิเวีย




แผนที่
สาธารณรัฐโบลิเวีย
Republic of Bolivia


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของอเมริกาใต้ มีพรมแดนด้านเหนือและตะวันออกติดกับบราซิล ด้านตะวันตกติดกับชิลีและเปรู ด้านใต้ติดปารากวัยและอาร์เจนตินา โบลิเวียมีที่ตั้งอยู่ใจกลางทวีปอเมริกาใต้ ไม่มีทางออกทางทะเล ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง

ภูมิอากาศ แตกต่างออกไปแต่ละพื้นที่ บริเวณที่ราบสูงและเทือกเขาแอนดีสอากาศหนาวเย็น หุบเขาตอนกลางและตอนล่างอากาศปานกลาง ไม่ร้อนไม่หนาวนัก ส่วนทางเหนือและตะวันออกของประเทศมีอุณหภูมิอากาศแบบเส้นศูนย์สูตร
ขนาดพื้นที่ 1,098,580 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง กรุงซูเกร (Sucre) เป็นเมืองหลวงตามรัฐธรรมนูญ กรุงลาปาซ
เป็นที่ตั้งของรัฐบาลและหน่วยงานสำคัญๆ
ประชากร (2549) 9 ล้านคน

เชื้อชาติ Meztizo (คนผิวขาวกับชาวพื้นเมือง) ร้อยละ 30 เชื้อสาย
Quechua ร้อยละ 30 เชื้อสาย Ayrnara ร้อยละ 25 และเชื้อสายยุโรป ร้อยละ 15

ภาษาราชการ ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ สำหรับภาษา Quechua
Ayrnara และ Quarani ใช้ในบางภูมิภาค

ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 95 และนิกายโปรแตสแตนท์ ร้อยละ 5

วันประกาศอิสรภาพ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1825 (จากสเปน)
วันชาติ 6 สิงหาคม
วันสถาปนารัฐธรรมนูญ 2 กุมพาพันธ์ ค.ศ. 1967
หน่วยเงินตรา โบลิเวียโน (Boliviano)
อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ = 7.72 โบลิเวียน
หน่วยชั่ง ตวง วัด ระบบเมตริก

ทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ น้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุต่างๆ ได้แก่ ดีบุก สังกะสี ทังสเตน ตะกั่ว พลวง วุลแฟรม เงิน ทองคำ ทองแดง กำมะถัน โปรแตสเซียม

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 10.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)

รายได้ประชาชาติต่อหัว 1,137.78 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 3.5 (ปี 2549)

ระบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดี
เป็นประมุข


สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ CAN, CSN, FAO, G-77, IADB, IAEA, IBRD, ICAO, ICCt, ICRM, IDA, IFAD, IFC, IFRCS, ILO, IMO, Interpol, IOC, IOM, IPU, ISO (correspondent), ITU, LAES, LAIA, Mercosur (associate), MIGA, MINUSTAH, MONUC, NAM, OAS, ONUB, OPANAL, OPCW, PCA, RG, UN, UNCTAD, UNESCO, UNIDO, UNMIL, UNMISET, UNOCI, UPU, WCL, WCO, WFTU, WHO, WIPO, WMO, WToO, WTO

การเมืองการปกครอง
ประวัติโดยสังเขป ระหว่าง 100 ปีก่อนคริสตกาลจนถึงศตวรรษที่ 9 ชนอินเดียแดงเผ่า Aymara คือชนชาติที่อาศัยอยู่ในโบลิเวีย ต่อมาในช่วงกลางศตวรรษที่ 14 ชาวเผ่าอินคาที่ใช้ภาษา Quechua ได้ผนวกโบลิเวียเข้ากับจักรวรรดิของอินคา ในปี 1535 สเปนได้เข้ายึดครองโบลิเวียและในปี 1825) สาธารณรัฐโบลิเวียก็ได้ถือกำเนิดตั้งขึ้นตามชื่อของ Simon Bolivar วีรบุรุษผู้นำที่ได้กอบกู้อิสรภาพจากสเปนให้กับอเมริกาใต้ หลังจากนั้น โบลิเวียก็ตกอยู่ใต้การปกครองของทหารมาโดยตลอด โบลิเวียได้เข้าสู่สงครามกับชิลี (ปี 1879-84) แต่โบลิเวียต้องประสบกับความพ่ายแพ้และต้องสูญเสียดินแดนส่วนหนึ่งซึ่งเป็นทางออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิกให้แก่ชิลี ในปี 1903 โบลิเวียต้องสูญเสียส่วนหนึ่งของจังหวัด Acre ซึ่งเป็นแหล่งยางพาราที่สำคัญให้กับบราซิล และในปี 1938 โบลิเวียก็ต้องเสียดินแดนอีก 100,000 ตารางไมล์ เนื่องจากแพ้สงครามให้กับปารากวัย

เขตการปกครอง แบ่งออกเป็น 9 เขต (departamentos) อาทิ 1) Chuquisaca, 2) Cochabamba 3) Beni 4) La Paz 5) Oruro 6) Pando 7) Potois 8) Santa Cruz และ 9) Tarija
ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่งครั้งละ 5 ปี หากผู้ชนะการเลือกตั้งได้รับคะแนนเสียงไม่ถึงร้อยละ 50 ในการลงคะแนนรอบแรก รัฐสภาจะเป็นผู้ลงคะแนนเสียงลับเลือกตั้งระหว่างผู้ที่มีคะแนนนำสูงสุด 2 คนจากการเลือกตั้งรอบแรก ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
คณะรัฐมนตรี ได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีจากบัญชีรายชื่อที่เสนอโดยวุฒิสภาโดยดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี

การเมืองการปกครอง (สถานะล่าสุด)

1.1 การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ และเป็นหัวหน้ารัฐบาล ประธานาธิบดี มาจากการเลือกตั้ง มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี คณะรัฐมนตรี มาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ประธานาธิบดีคนล่าสุด คือนาย Juan Evo Morales Ayma เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 22 มกราคม2549 รองประธานาธิบดี นาย Alvaro Gracia Linera

1.2 ระบอบการปกครองของสาธารณรัฐโดมินิกันได้แบ่งแยกอำนาจเป็น 3 ฝ่าย ฝ่ายบริหารซึ่งดำเนินการโดยรัฐบาล ฝ่ายนิติบัญญัติรัฐสภาประกอบด้วย 2 สภา นั่นคือ สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 130 คน จากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 70 คน แบบบัญชีรายชื่อ 60 คน และวุฒิสภา มีสมาชิก 27 คน ทั้ง 2 สภามาจากการเลือกตั้ง ทั้งหมดอยู่ในวาระ 5 ปี และฝ่ายตุลาการ ที่เป็นอิสระแยกออกมาต่างหาก

1.3 รัฐบาลโบลิเวียมีปัญหาในเรื่องการขาดเสถียรภาพและประสบปัญหาหลายด้านอย่างต่อเนื่อง อาทิ ความขัดแย้งทางเชื้อชาติ การประท้วงที่นำไปสู่การประทะอย่างรุนแรงระหว่างภาครัฐและประชาชน ปัญหาความยากจน และการเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาระงับโครงการกำจัดการปลูกโคคา (ใช้ในการผลิตโคเคน)



เศรษฐกิจการค้า
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของโบลิเวีย
น้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ (โบลิเวียมีปริมาณน้ำมันดิบสำรองมากเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอเมริกาใต้) แร่ธาตุต่างๆ ได้แก่ดีบุก สังกะสี ตะกั่ว พลวง (antimony) วูลแฟรม (wolfram) เงิน ทองคำ ทองแดง กำมะถัน โปแตสเซียม

การขนส่งสินค้า
เนื่องจากโบลิเวียเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล ดังนั้นการส่งออกและนำเข้าสินค้า โบลิเวียจะดำเนินการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือที่เมือง Arica และ Antofagasta ในชิลี และท่าเรือ Mollendo-Matarani ในเปรู นอกจากนี้ยังขนส่งผ่านเมือง La Quiaca ที่พรมแดนโบลิเวีย-อาร์เจนตินา และผ่านท่าเรือแม่น้ำ บนเส้นทางแม่น้ำที่ไหลไปสู่แม่น้ำอะเมซอน ทั้งนี้ โบลิเวียและชิลีได้มีความตกลงพิเศษระหว่างกันสำหรับการขนส่งสินค้าจากเมือง Arica เข้ามายังโบลิเวีย โดยละเว้นค่าธรรมเนียม Cargo fee ที่ท่าเรือ และเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1992 โบลิเวียและเปรูได้มีความตกลงระหว่างกันในเรื่องการขนส่ง โดยเปรูยกเว้นภาษีให้โบลิเวีย สำหรับการขนส่งสินค้าผ่านเมืองชายแดน Desaguadero ของโบลิเวียไปสู่ท่าเรือ Ilo ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของเปรู ในขณะเดียวกัน เปรูจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการขนส่งสินค้าทางรถยนต์และรถไฟผ่านโบลิเวียไปสู่มหาสมุทรแอตแลนติก

เศรษฐกิจและสังคม
โบลิเวียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความยากจนในภูมิภาคละตินอเมริกาที่สุด ซึ่งเหตุผลหลาหลายกัน ความไม่มั่นคงทางการเมืองทำให้ภาคการเกษตรประสบปัญหาในการพัฒนาไปสู่ความทันสมัย อัตราการเจริญเติบโตของประชากรในประเทศต่ำ ทำให้อุตสาหกรรมพัฒนาไปไม่ได้มากเท่าที่ควร ปัญหาเงินเฟ้อและการคอร์รัปชั่นเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นปัญหามาตั้งแต่สมัยอาณานิคมที่ประเทศมหาอำนาจเข้ามามีบทบาทและมีปัญหาการคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้น
ประเทศนี้เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เช่นเหมืองแร่ และมีแหล่งแก๊สธรรมชาติที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองในประเทศแถบละตินอเมริการองจากเวเนซูเอลา และที่ El Mutúnในแซนตาครูสมีเหล็กและแมกนีเซียมมากถึง ๗๐%ของปริมาณเหล็กและแมกนีเซียมโลก อุตสาหกรรมเหมืองแร่และการสกัดแก็สธรรมชาติกับสังกะสีเป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่สำคัญที่สุดในประเทศ
โบลิเวียเป็นสมาชิกของประชาคม Andean ประชาคมนี้มีการใช้นโยบายการค้าเสรีกับประเทศสมาชิกด้วยกัน ประเทศที่เป็นสมาชิกได้แก่ เปรู เอกวาดอร์ โคลอมเบีย เวเนซูเอล่า นอกจากนั้นยังอยู่ในข้อตกลงการค้าเสรี MERCOSUR.ในปี1997 สหรัฐยังคงเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของโบลิเวีย มีการนำเข้าและส่งออกระหว่างสองประเทศ และทำสนธิสัญญาการลงทุนระหว่างกัน

นโยบายต่างประเทศ
โบลิเวียเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศต่างๆ หลายองค์การ ไม่ว่าจะเป็นในระดับโลก หรือระดับภูมิภาค เช่น สหประชาชาติ กองทุนเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาภายในทวีปอเมริกา (IDB) องค์การรัฐอเมริกัน ประชาคมแอนเดียน แต่ความไม่มั่นคงในการเมืองภายใน และบรรยากาศทางการลงทุน ทำให้รัฐบาลชุดนี้ จำเป็นต้องพัฒนาความสัมพันธ์ต่างประเทศเหล่านี้
ความร่วมมือระหว่างประเทศ
• ความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ถือว่าเป็นความสัมพันธ์ที่มีบทบาทที่สุดในความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศ โดยเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งและเป็นนักลงทุนในประเทศที่สำคัญ แต่จากการที่มีการผลิตใบ โคคา สารที่พัฒนาไปเป็นยาเสพติดโคเคน และการค้าขายยาเสพติด ทำให้สหรัฐ ลดระดับความสัมพันธ์ลง รัฐบาลชดนี้ จึงมีนโยบายทำลายการผลิตโคคา และร่วมมือทางการทหารกับสหรัฐในการต่อต้านยาเสพติด
• ความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน
เพื่อการลงทุนในประเทศ การลดหนี้ และความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา
• ความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค ผ่านประชาคมแอนเดียน เกี่ยวกับการส่งเสริม
การลงทุนในภูมิภาค ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านด้วยกัน ที่เริ่มมีความสำคัญตั้งแต่ปี 2533
ความร่วมมือระหว่างประเทศ
• ประเทศชิลี ที่เสียดินแดนชายฝั่งให้ไป และนำมาซึ่งปัญหาทางการค้าทางทะเลที่ทำให้โบลิเวียเสียค่าใช้จ่ายมาก การต่อรองทางการซื้อ-ขายพลังงานก๊าซ จึงเป็นสิ่งที่ถูกต่อต้านจากชาตินิยมโบลิเวียมาก

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐโบลิเวีย
ความสัมพันธ์ทางการทูต
ไทยและโบลิเวียสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2506

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 4.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2549 ซึ่งเป็นมูลค่ามากกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 22.22 และไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอดในช่วงปีหลัง นับตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา โดยในปี 2549 นี้ ได้มีการนำเข้าจากโบลิเวียเพียง 1.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งออก 3.8ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากโบลีเวีย ได้แก่ ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผักผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ธุรกรรมพิเศษ กล้อง เลนส์และอุปกรณ์การถ่ายรูป ถ่ายภาพยนตร์ สิ่งพิมพ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้าน

สินค้าที่ไทยส่งออกไปโบลีเวีย ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ กระดาษและผลิตภัณฑ์จากกระดาษ รถจักรยานและส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกม ผ้าแบบสำหรับตัดเสื้อ และผ้าที่จัดทำแล้ว เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก
------------------
ปรับปรุงล่าสุด 20 สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองลาตินอเมริกา กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 0 26435000 ต่อ 3013, 3014, 3016, 3018 และ 0-2643-5114 Fax. 0-2643-5115 E-mail : american03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์