ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> เลบานอน




แผนที่
สาธารณรัฐเลบานอน
The Republic of Lebanon


 
ข้อมูลทั่วไป
ภูมิศาสตร์ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ที่ตั้ง ทิศเหนือและทิศตะวันออกติดกับ ซีเรีย (375 กม.)
ทิศใต้ติดกับอิสราเอล (79 กม.) ทิศตะวันตกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (225 กม.)

พื้นที่ 10, 400 ตารางกิโลเมตร พื้นดิน 10,230 ตารางกิโลเมตร
พื้นน้ำ 170 ตารางกิโลเมตร

ประชากร 3,874,050 คน (2006)

เมื่องหลวง กรุงเบรุต (Beirut)

เชื้อชาติ อาหรับร้อยละ 95 อาร์เมเนียนร้อยละ 4 และอื่น ๆ ร้อยละ 1

วันสถาปนาประเทศ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2486 (1943)

ภาษา ภาษาอาหรับและฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการชาวเลบานอน ส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้

ศาสนา อิสลาม ร้อยละ 59.7 (นิกายชีอะต์ ประมาณ ร้อยละ 35 และนิกายสุหนี่ ประมาณ ร้อยละ 21) คริสต์ร้อยละ 39 (Maronites, Greek Orthodox, Armenian Apostolic, Melkite Greek Catholics และ Chaldean Catholic) Druze ร้อยละ 5 และอื่น ๆ ร้อยละ 1.3

เวลา ช้ากว่าไทย 4.5 ชั่วโมง

การเมืองการปกครอง
ประมุขของรัฐ/ประธานาธิบดี Commander General Emile Lahoud

นายกรัฐมนตรี Fouod Siniora

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ Fawgi Salloukh

สถาบันทางการเมือง

ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ รัฐสภาแห่งชาติ (National Assembly) มีสมาชิก 128 คน มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี
(ประธานรัฐสภาแห่งชาติควรเป็นมุสลิมนิกายชีอะต์)

ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยคณะรัฐมนตรี 24 นาย มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

ฝ่ายตุลาการ มี 4 ศาล ได้แก่ ศาลที่พิจารณาคดีเกี่ยวกับพลเรือนและการพาณิชย์ 3 ศาล และศาลที่พิจารณาคดีเกี่ยวกับคดีอาญาอีก 1 ศาล

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป

เลบานอนอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 1943 หลังจากนั้น เลบานอนได้พัฒนาประเทศสามารถรักษาความเป็นศูนย์กลางด้านการค้า การเงิน การท่องเที่ยว การเกษตร ศิลปะและวัฒนธรรมของภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้นับตั้งแต่อดีต ถือเป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลกมุสลิม หรือ “สวิตเซอร์แลนด์แห่งตะวันออกกลาง” กรุงเบรุต ซึ่งเป็นเมืองหลวงก็เป็นที่รู้จักในนาม “ปารีสแห่งตะวันออกกลาง” อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี ค.ศ.1975 – 1990 เลบานอนตกอยู่ภายใต้ภาวะสงครามกลางเมือง เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอาหรับและกลุ่มคริสเตียนในเลบานอน ภายหลัง ทุกฝ่ายสามารถหาข้อยุติ และร่วมกันฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ ผ่านทางการขับเคลื่อนนโยบายด้านการท่องเที่ยว เกษตร และการเงินการธนาคาร

โครงสร้างทางการเมือง

รูปแบบการปกครองของเลบานอนเป็นระบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร โดยที่เลบานอนมีความแตกต่างด้านเชื้อชาติและศาสนาภายในค่อนข้างมาก มีชาวมุสลิม ประมาณ ร้อยละ 56 ซึ่งแบ่งเป็นมุสลิมนิกายชีอะต์ ร้อยละ 35 และสุหนี่ ร้อยละ 21 และยังมีชาวคริสต์อีกประมาณร้อยละ 39 (Maronites, Greek Orthodox, Armenian Apostolic, Melkite Greek Catholics และ Chaldean Catholic) Druze ประมาณร้อยละ 5 และอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังมีผู้อพยพชาวปาเลสไตน์ และชาว Kurds
เลบานอนมีระบบการกระจายอำนาจทางการเมืองเรียกว่า “Confessionalism” โดยมี ประธานาธิบดีจากกลุ่ม Maronite Christian นายกรัฐมนตรีจากมุสลิมนิกายสุหนี่และประธานรัฐสภาแห่งชาติจากมุสลิมนิกายชีอะต์

เหตุการณ์การเมืองที่สำคัญ

การโจมตีกลุ่ม Hezbollah ในเลบานอน โดยอิสราเอล ในปี 2549

หลังจากที่กลุ่ม Hezbollah ในเลบานอนได้จับตัวทหารอิสราเอลไป 2 คน (นาย Ehud Goldwasser และนาย Eldad Regev) เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2549 โดยมีเป้าหมายให้อิสราเอลปล่อยตัวนักโทษชาวอาหรับที่อิสราเอลจับกุมไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้อิสราเอลใช้มาตรการทางทหารต่อเลบานอน การปะทะกันระหว่าง 2 ฝ่าย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของเลบานอนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก และชาวเลบานอนในพื้นที่ถูกโจมตีไร้ที่อยู่อาศัย
ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุการหยุดยิงตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2549 ตามข้อมติ UNSC ที่ 1701 ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2549 โดยข้อมติฯ เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายยุติการเป็นปฏิปักษ์ระหว่างกัน (cessation of hostilities) โดยให้กลุ่ม Hezbollah ยุติการโจมตีอิสราเอลโดยทันทีและให้อิสราเอลยุติการปฏิบัติการทางการทหารโดยทันทีเช่นกัน และยังให้รัฐบาลเลบานอนและ United Nations Interim Forces in Lebanon (UNIFIL) ร่วมกันส่งกองกำลังเข้าไปในตอนใต้ของเลบานอนในการควบคุมและตรวจสอบการหยุดยิง โดยระบุให้อิสราเอลถอนกองกำลังไปอยู่หลังเส้นเขตแดน (Blue Line) ระหว่างสองประเทศ และให้มีการเพิ่มจำนวนกองกำลัง UNIFIL ซึ่งปฏิบัติการในเลบานอนเป็น 15,000 นาย ปัจจุบันมีทหารเข้าปฏิบัติหน้าที่ ใน UNIFIL แล้ว 12,978 นาย จาก 30 ประเทศ


การต่อสู้ระหว่างรัฐบาลเลบานอนและกลุ่มติดอาวุธ Fatah al-Islam
ในปี2550


ในช่วงเดือนก.พ. 2550 สถานการณ์การเมืองภายในของเลบานอนตึงเครียดขึ้น โดยกลุ่มติดอาวุธ Fatah al-Islam ได้ขึ้นมามีบทบาทในการก่อความไม่สงบในเลบานอน โดยกองทัพเลบานอนปะทะกับกลุ่ม Fatah al-Islam ด้านนอกค่ายผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ในเลบานอน ชื่อ Nahr El-Bared ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก รวมทั้ง ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์เกือบทั้งหมดต้องอพยพออกจากค่ายดังกล่าว นอกจากนั้น มีการระเบิดหลายครั้งในเมืองใหญ่ในเลบานอน ซึ่งส่งผลให้เหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นเหตุการณ์รุนแรงที่สุดตั้งแต่สงครามกลางเมืองเลบานอนในปี 1975-90 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ รัฐบาลเลบานอนประกาศว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว

เศรษฐกิจการค้า
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 22.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (CIA)

รายได้เฉลี่ยต่อหัว 6,180 ดอลลาร์สหรัฐ (CIA)

อุตสาหกรรม เหมืองแร่ ผลิตภัณฑ์อาหาร ไม้และเฟอร์นิเจอร์
ธนาคาร การท่องเที่ยว เครื่องประดับ

สินค้าออกที่สำคัญ กระดาษ ผลิตภัณฑ์อาหาร เส้นใย

สินค้าเข้าที่สำคัญ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค

สกุลเงิน เลบานอนปอนด์ (Lebanese Pound)

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเลบานอน
ด้านการเมือง

แม้ไทยและเลบานอนได้สถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกันเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2501 (1958) แต่การติดต่อสัมพันธ์กันยังมีน้อย ปัจจุบันไทยยังมิได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตไทยที่เลบานอน แต่มีกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำกรุงเบรุตได้แก่นาย Ibrahim Joseph Salem โดยเลบานอนอยู่ในเขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาด ขณะที่เลบานอนได้ให้สถานเอกอัครราชทูตเลบานอน ณ กรุงนิวเดลี มีเขตอาณาครอบคลุมไทย (เลบานอนได้ทำการปิดสถานเอกอัครราชทูตเลบานอนประจำประเทศไทยซึ่งเปิดมาตั้งแต่ปี 2537 ในวันที่ 1 เมษายน 2542) ทั้งนี้ การติดต่อและการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งสองฝ่ายยังมีน้อย

ด้านเศรษฐกิจ

เลบานอนมีศักยภาพเป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาค มีระบบธนาคารที่มีประสิทธิภาพ มีศักยภาพในธุรกิจสาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม รวมทั้งเป็นศูนย์กลางส่งออกต่อ (re-export) ไปยังประเทศข้างเคียงและยุโรป นอกจากนี้ นักธุรกิจเลบานอนมีเครือข่ายความสัมพันธ์ทั่วตะวันออกกลางและแอฟริกา จึงมีศักยภาพที่จะเป็นสถานที่สำหรับการ re-export อย่างไรก็ดี มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับเลบานอนอยู่ในระดับปานกลาง ในปี 2549 ไทยกับเลบานอนมีมูลค่าการค้าระหว่างกันประมาณ 61 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยไปเลบานอนประมาณ 59 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าสินค้าของเลบานอนประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ากับเลบานอน

สินค้าที่ไทยส่งออกไปเลบานอนที่สำคัญ

ได้แก่ 1) อาหารทะเลกระป๋อง 2) อัญมณีและเครื่องประดับ 3)รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 4) หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ 5) ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ 6) ผลิตภัณฑ์ยาง 7) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 8) ผักกระป๋องและ แปรรูป 9) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล10) เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเลบานอนที่สำคัญ

ได้แก่ 1) สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ 2) นาฬิกาและส่วนประกอบ 3) เครื่องประดับอัญมณี 4) เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 5) วัสดุทำจากยาง 6) พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช 7) ผลิตภัณฑ์โลหะ 8) ธุรกรรมพิเศษ 9) เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ 10) ด้ายและเส้นใย

การให้ความช่วยเหลือ

ภายหลังการหยุดยิงระหว่างกลุ่ม Hezbollah และอิสราเอลเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2549 รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เลบานอนตามคำร้องขอความช่วยเหลือไปยังประเทศต่างๆ ของนายกรัฐมนตรีเลบานอน โดยบริจาคเป็นเงินจำนวน 5,670,000 บาท (150,000 ดอลลาร์สหรัฐ) ผ่านสภากาชาดไทย เพื่อส่งมอบให้ ICRC เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนชาวเลบานอนต่อไป ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเลบานอนได้มีหนังสือวันที่ 24 สิงหาคม 2549 (2006) ขอบคุณประเทศไทยที่ได้บริจาคเงินช่วยเหลือดังกล่าว


ผู้แทนทางการทูต

ฝ่ายไทย

ไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาดเป็นจุดติดต่อ (contact point)
Royal Thai Embassy at Riyadh,
Diplomatic Quarter
Ibnu Banna Road,
P.O.Box 94359
RIYADH 11693
โทรศัพท์ (9661) 488-1174, 448-0300
โทรสาร (9661) 488-1179


กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำกรุงเบรุต ได้แก่ นาย Ibrahim Joseph Salem
Royal Thai Consulate – General
P.O.Box 4200
Beirut LEBANON
Code : 00961 – 1
Tel. 615870
Fax. 615869

ฝ่ายเลบานอน

เอกอัครราชทูตเลบานอนประจำไทยมีถิ่นพำนักที่กรุงนิวเดลีประเทศอินเดีย
The Embassy of the Republic of Lebanon
10, Sardar Patel Marg, Chankyapuri
New Delhi - 110 021
Tel.: (91-11) 2411-0919, 2411-1415
Fax: (91-11) 2411-0818
E-mail: lebemb@ bol.net.in


********************************

สิงหาคม 2550

เรียบเรียงโดย กองตะวันออกกลาง กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5051-52 E-mail : southasian03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์