จังหวัดตราด

คำขวัญ ประจำจังหวัด เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีที่เกาะช้าง สุดทางบูรพา

เมืองตราด สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “กราด” ที่เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้ทำไม้กวาด ต้นไม้ชนิดนี้มีขึ้นอยู่รอบเมืองตราด ซึ่งในสมัยนั้นมีต้นกราดอยู่เป็นจำนวนมาก แต่พอถึงในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองตราดมีชื่อในขณะนั้นว่า “บ้านบางพระ” จังหวัดตราด หรือเมืองทุ่งใหญ่ปรากฏชื่อในทำเนียบหัวเมืองสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๘) ว่าเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดฝ่ายการต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านการคลัง ตราดเป็นหนึ่งในเมืองท่าชายทะเล ที่มีชัยภูมิเหมาะกับการแวะจอดเรือ เพื่อขนถ่ายซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เติมเสบียงอาหาร น้ำจืดบริเวณอ่าวเมืองตราด จึงเป็นแหล่งที่ตั้งชุมชนพ่อค้าชาวจีนที่เดินทางเข้ามาค้าขาย
ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด
เมื่อครั้งสงครามกู้เอกราชสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเลือกตราดเป็นเมืองหน้าด่านกันชน ทำหน้าที่ส่งเสบียงอาหารก่อนเคลื่อนกองทัพเรือออกจากจันทบุรี ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เมืองตราดยังเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งเช่นเดียวกับในสมัยอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ไทยทำศึกกับเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันท์ซึ่งต่อมาหันไปสวามิภักดิ์กับญวน ไทยกับญวนผิดใจกันจนต้องทำสงครามกันในปี พ.ศ. ๒๓๗๑ ตราดเป็นแหล่งกำลังพล และเสบียงอาหารมีการตั้งป้อมค่ายอยู่ที่บ้านแหลมหิน ปากอ่าวเมืองตราด
สมัยรัชกาลที่ ๕ ฝรั่งเศสได้ส่งกองทัพเรือเข้ายึดจันทบุรี ปี ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) และคืนให้ไทยในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ โดยแลกกับเมืองตราดตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง) ต่อมารัฐบาลไทยเห็นว่าตราดมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และพลเมืองส่วนใหญ่เป็นคนไทย ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสจึงยินยอมทำสัญญายกเมืองตราดกับเมืองด่านซ้ายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง (เมื่อหันหน้าไปทางปากแม่น้ำ) คืนให้กับไทยโดยแลกเปลี่ยนกับพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ โดยฝ่ายไทยมีพระยามหาอำมาตยาธิบดี ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีเทพตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลไทย ฝ่ายฝรั่งเศสมีเมอซิเออร์รูซโซ เรซิดังเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศสได้กระทำพิธีส่ง และรับมอบกัน ณ ศาลากลางจังหวัด และฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกไปเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๐
ในช่วงสงครามอินโดจีน (พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๔๘๔) ฝรั่งเศสพยายามเข้ายึดเมืองตราดอีกเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ กองทัพเรือไทยได้เข้าต่อสู้ขัดขวางกองทัพเรือฝรั่งเศสที่ล่วงล้ำน่านน้ำไทยอย่างกล้าหาญ รักษาเมืองยุทธศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ได้
ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เกิดสงครามสู้รบในกัมพูชา ชาวเขมรนับแสนหนีตายทะลักเข้ามาในเขตไทยทางเทือกเขาบรรทัด เขตพรมแดนด้านตะวันออก เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๑๘ จากตัวเมืองตราดเลียบขนานเทือกเขาบรรทัด และชายฝั่งทะเลสู่อำเภอคลองใหญ่เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สายสำคัญ เมื่อสงครามสงบลงในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ เส้นทางสายนี้ได้แปรเปลี่ยนเป็นเส้นทางการค้าระหว่างชายแดนไทย-กัมพูชาบริเวณตลาดหาดเล็ก สุดเขตชายแดนไทย และเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางต่อไปยังเกาะกง
• การขุดพบ “พลอยแดง” หรือ “ทับทิมสยาม” ในเขตอำเภอบ่อไร่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ก่อกระแสการตื่นพลอย ผู้คนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลเข้ามาแสวงโชคที่นี่ความเจริญทุกด้านมุ่งสู่บ่อไร่จนกลายเป็นเมืองใหญ่คู่กับตัวเมืองตราด พื้นที่ที่เคยเป็นป่าทึบกลายเป็นหลุมบ่อ เมื่อทรัพย์สินในดินเริ่มหมดไป ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ บ่อไร่กลายเป็นเมืองร้าง เหลือไว้เพียงอาคารร้านค้าซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ
จังหวัดตราด อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ๓๑๕ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๒,๘๑๙ ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น ๕ อำเภอ กับ ๒ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ อำเภอคลองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ กิ่งอำเภอเกาะกูด และกิ่งอำเภอเกาะช้าง

อำเภอต่างๆในจังหวัดตราด เมืองตราด  คลองใหญ่ เขาสมิง  บ่อไร่ แหลมงอบ  เกาะกูด เกาะช้าง  

ทริปท่องเที่ยวในจังหวัดตราด

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรี และราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีทิวเขาบรรทัดเป็นเส้นกั้นเขตแดน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรี มีแม่น้ำเวฬุเป็นเส้นกั้นเขตแดน

การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางได้ ๓ สาย คือ
๑. บางนา-ตราด (เส้นทางหลวงหมายเลข ๓) ผ่านชลบุรี-ระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทางประมาณ ๓๘๕ กิโลเมตร
๒. บางนา-ชลบุรี-แกลง-จันทบุรี-ตราด (เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๔๔) ระยะทางประมาณ ๓๑๘ กิโลเมตร
๓. ทางหลวงพิเศษ (motor way) เริ่ม กิโลเมตรที่ ๐ ที่แยกถนนศรีนครินทร์ตัดถนนรามคำแหง และมาออกที่เส้นทางบ้านบึง-แกลง-จันทบุรี-ตราด
• รถโดยสารประจำทาง มีทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศออกจาก สถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) ถนนสุขุมวิท
รถโดยสารปรับอากาศ มีรถปรับอากาศ ชั้น ๑ (ปอ.๑) ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๕ ชั่วโมง
นอกจากนั้นยังมีบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการ ได้แก่ บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๒๓๗, ๐ ๒๓๙๑ ๔๑๖๔ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๐๖๒, โชคอนุกูล ทัวร์ โทร. ๐ ๒๓๙๒ ๗๖๘๐ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๕๘๗ และ ศุภรัตน์ ทัวร์ บริการรถ V.I.P. โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๓๓๑ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๔๘๑
• รถโดยสารธรรมดา ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประชาสัมพันธ์สถานีขนส่งเอกมัย โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๕๐๔, ๐ ๒๓๙๑ ๔๑๖๔
จาก สถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร ๒ มีบริการรถปรับอากาศชั้น ๑ ไปจังหวัดตราดทุกวัน (วิ่งเส้นมอเตอร์เวย์ ) สอบถามที่รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๕๓๗ ๘๐๕๕, ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒–๖
นอกจากนั้นยังมีบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการ ได้แก่ บริษัท ศุภรัตน์ ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๓๓๘๘ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๔๘๑ บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๐๑๙๙ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๐๖๒
• เครื่องบิน บริษัท บางกอกแอร์เวย์ จำกัด มีเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ-ตราด (อยู่ในเขตอำเภอเขาสมิง) ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และอาทิตย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๒๖๕ ๕๕๕๕, ๐ ๒๒๖๕ ๕๖๗๘ สำนักงานตราด โทร. ๐ ๓๙๕๒ ๕๗๖๗-๘, ๐ ๓๙๕๒ ๕๒๙๙ www.bangkokair.com (มีบริการรถรับ-ส่งนักท่องเที่ยวจากสนามบินไปท่าเรือเฟอร์รี่ ที่จะข้ามไปเกาะช้าง)
• การเดินทางไปจังหวัดใกล้เคียง
ตราด-จันทบุรี จากหน้าตลาดในตัวเมืองมีรถโดยสารประจำทางวิ่งบริการไปจังหวัดจันทบุรีทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๕.๓๐ น. ออกทุกครึ่งชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที ค่าโดยสารประมาณ ๔๐ บาท
นอกจากนั้นยังมีรถแท็กซี่วิ่งไป-กลับจันทบุรี-ตราดทุกวัน โดยมีรถออกจากจันทบุรีบริเวณวงเวียนน้ำพุ และออกจากตราดข้างโรงแรมเมืองตราด ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๑๗.๐๐ น. ใช้เวลาในเดินทางประมาณ ๑ ชั่วโมง ๒๐ นาที ค่าโดยสารคนละ ๖๐ บาท (๕-๖ คน/๑ คัน)
บ่อไร่-จันทบุรี เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น. ออกทุกครึ่งชั่วโมง เวลาเดินทาง ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที ค่าโดยสาร ๕๐ บาท
บ่อไร่-แม่สอด จังหวัดตาก มีรถสองเที่ยว เวลา ๐๗.๓๐ และ ๐๘.๓๐ น. ใช้เวลาเดินทาง ๑๕ ชั่วโมง ค่าโดยสาร ๒๐๐ บาท
• การเดินทางภายในจังหวัด
ตราด-คลองใหญ่ (รถสองแถว) ระยะทาง ๗๕ กิโลเมตร รถออกจากหลังตลาดเทศบาล ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๘๐ บาท (จากคลองใหญ่ต่อรถไปบ้านหาดเล็ก ๒๐ บาท)
ตราด-บ้านหาดเล็ก (รถตู้) ระยะทาง ๙๐ กิโลเมตร รถออกจากหน้าโรงหนังสีตราดดราม่า ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๑๑๐ บาท
ตราด-แหลมงอบ (รถสองแถว) ระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร รถออกจากตลาดสดเทศบาลเมืองตราด ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๒๐ บาท
ตราด-แหลมศอก (รถสองแถว) ระยะทาง ๒๘ กิโลเมตร รถออกจากตลาดสดเทศบาลเมืองตราด ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๓.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๓๕ บาท
ตราด-เขาสมิง-บ่อไร่ ระยะทาง ๕๓ กิโลเมตร รถออกบริเวณตลาดสดเทศบาลเมืองตราด ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๒.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๕๐ บาท
ตราด-เขาสมิง-แสนตุ้ง-ท่าจอด ระยะทาง ๒๘ กิโลเมตร รถออกตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๑๗.๓๐ น. ค่าโดยสาร ๒๕ บาท
โดยทั่วไปการเดินทางจากตัวเมืองตราดไปอำเภอต่าง ๆ มีรถออกจากตัวเมือง โดยจะมีรถสองแถวจอดที่บริเวณหลังตลาดเทศบาล และข้างธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกวัน และหลังจากเวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น. นักท่องเที่ยวจะต้องเช่าเหมา ราคาแล้วแต่จะตกลงกันตามความเหมาะสม
• ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่าง ๆ
อำเภอเขาสมิง ๑๖ กิโลเมตร
อำเภอแหลมงอบ ๑๗ กิโลเมตร
อำเภอบ่อไร่ ๕๙กิโลเมตร
อำเภอคลองใหญ่ ๗๔ กิโลเมตร
กิ่งอำเภอเกาะช้าง ๒๗ กิโลเมตร
กิ่งอำเภอเกาะกูด ๘๒ กิโลเมตร
• ระยะทางจากจังหวัดตราดไปจังหวัดใกล้เคียง
จันทบุรี ๗๐ กิโลเมตร
ระยอง ๑๗๙ กิโลเมตร
ชลบุรี ๒๓๔ กิโลเมตร

 หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
สำนักงานจังหวัดตราด
โทร. 0 3951 1282
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง
โทร. 0 3951 1986
สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง
โทร. 0 3951 1239
สถานีตำรวจภูธร อำเภอคลองใหญ่
โทร. 0 3958 1115
สถานีตำรวจภูธร อำเภอแหลมงอบ
โทร. 0 3959 7033
สถานีตำรวจภูธร กิ่งอำเภอเกาะช้าง
โทร. 0 3958 6191, 0 3958 6250
โรงพยาบาลตราด
โทร. 0 3951 1040-1
โรงพยาบาลคลองใหญ่
โทร. 0 3958 1044
โรงพยาบาลแหลมงอบ
โทร. 0 3959 7040
โรงพยาบาลกรุงเทพฯ-ตราด
โทร. 0 3953 2735
โรงพยาบาลกิ่งอำเภอเกาะช้าง
โทร. 0 3958 6130
ด่านตรวจคนเข้าเมืองแหลมงอบ
โทร. 0 3959 7261
ด่านตรวจคนเข้าเมืองคลองใหญ่
โทร. 0 3958 8108
จุดตรวจด่านชายแดนบ้านหาดเล็ก
โทร. 0 3958 8084
สถานีตรวจอากาศ อำเภอคลองใหญ่
โทร. 0 3958 1276
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวกิ่งอำเภอเกาะช้าง


เกาะช้าง
Mu Ko Chang National Park
(จังหวัดตราด)


หาดไก่แจ้
Kai Chae Beach
(จังหวัดตราด)


อ่าวคลองสน

Klong Son Bay
(จังหวัดตราด)


หาดทรายขาว
White Sand Beach
(จังหวัดตราด)


เกาะช้างน้อย

Ko Chang Noi
(จังหวัดตราด)


เกาะเหลายา
Lao Ya Beach
(จังหวัดตราด)


เกาะหวาย
Wai Beach
(จังหวัดตราด)


เกาะขาม
Kham Island
(จังหวัดตราด)


เกาะคลุ้ม

Khlum Island
(จังหวัดตราด)


เกาะง่าม
Ko Ngam
(จังหวัดตราด)


เกาะพร้าว
Ko Phrao
(จังหวัดตราด)


หมู่เกาะกระ
Kra Island
(จังหวัดตราด)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอคลองใหญ่


หาดไม้รูด

Mai Rut Beach 
(จังหวัดตราด)


หาดบานชื่น
Baan Chuen Beach
(จังหวัดตราด)


หาดทรายงาม

Sai Ngam Beach
(จังหวัดตราด)


หาดทรายแก้ว

Sai Kaew Beach
(จังหวัดตราด)


บ้านหาดเล็ก

Baan Hat Lek
(จังหวัดตราด)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเกาะกูด


เกาะกูด
Kut Island
(จังหวัดตราด)


เกาะหมาก
Maak Island
(จังหวัดตราด)


เกาะกระดาด
Kradad ฺBeach
(จังหวัดตราด)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง


แหลมศอก

Laem Sok
(จังหวัดตราด)


หาดลานทราย
Lan Sai Beach
(จังหวัดตราด)


วัดบุปผาราม

Wat Buppharam
(จังหวัดตราด)


วัดโบสถ์

Talat Ploy
(จังหวัดตราด)


ตลาดพลอย
Pebble Market
(จังหวัดตราด)


วัดเมืองเก่าแสนตุ่ม

Wat Muang Kao Saen Tum
(จังหวัดตราด)

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอแหลมงอบ


แหลมงอบ
Laem Ngob
(จังหวัดตราด)


อ่าวตาลคู่

Taan Ku Bay
(จังหวัดตราด)


หาดบนเกาะปุย

Pui Beach 
(จังหวัดตราด)


เกาะปุย

Ko Pui
(จังหวัดตราด)
แผนที่จังหวัดตราด/map of TRAT


แผนที่จังหวัดตราด
(แผนที่เกาะช้าง)


แผนที่จังหวัดตราดตราด
(แผนที่เกาะช้าง)


แผนที่จังหวัดตราด
(แผนที่เกาะช้าง)

เชิญแสดงความคิดเห็น