จังหวัดอ่างทอง

คำขวัญ ประจำจังหวัด พระสมเด็จเกษไชไย หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ วีรไทยใจกล้า ตุ๊กตาชาววัง โด่งดังจักสาน ถิ่นฐานทำกลอง เมืองสองพระนอน

• อ่างทอง จังหวัดซึ่งอุดมไปด้วยงานหัตถกรรมพื้นถิ่นไม่ว่าจะเป็นการทำอิฐดินเผา งานปั้นตุ๊กตาชาววัง การทอผ้า การทำเครื่องเงิน การผลิตเครื่องจักสาน การทำกลอง ทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดเพลงพื้นบ้านลิเก เป็นจังหวัดของวีรชนคนกล้าในศึกบางระจันและยังมีวัดมากมายกว่า 200 วัดอันเป็นสถานที่น่าศึกษาประวัติศาสตร์และเรื่องราวความเป็นมาในอดีตของชาติไทย
• อ่างทองเดิมชื่อ เมืองวิเศษชัยชาญ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยบนพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของกรุงศรีอยุธยาในการสู้รบกับกองทัพพม่า ดังปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายตอนโดยเฉพาะในช่วงก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกในปีพ.ศ. 2310 พม่าได้ใช้แขวงเมืองวิเศษชัยชาญเป็นที่ตั้งค่ายเพื่อตีกรุงศรีอยุธยาและทำให้เกิดการสู้รบครั้งสำคัญที่จารึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทยนั่นคือ ศึกบางระจัน ปลายสมัยกรุงธนบุรีได้ย้ายที่ตั้งเมืองมาอยู่บริเวณฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาที่บ้านบางแก้ว เรียกชื่อใหม่ว่า อ่างทอง เนื่องจากเป็นที่ลุ่มและอู่ข้าวอู่น้ำอันเป็นเสมือนขุมทรัพย์ที่มีค่า
จังหวัดอ่างทองเป็นจังหวัดเล็กๆ ตั้งอยู่บริเวณภาคกลางตอนล่าง มีเนื้อที่ 968 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านสองสาย คือ แม่น้ำน้อย และแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดอ่างทองแบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอแสวงหา อำเภอป่าโมก อำเภอโพธิ์ทอง อำเภอไชโย และอำเภอสามโก้

ทริปท่องเที่ยวในจังหวัดอ่างทอง

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดสิงห์บุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดลพบุรีและพระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯสามารถเดินทางได้หลายเส้นทางคือ
เส้นทางที่ 1 ใช้เส้นทางสายพหลโยธิน ทางหลวงหมายเลข 32 จากกรุงเทพฯ แยกเข้าเส้นทางสายเอเชีย ผ่านอำเภอบางปะอิน-พระนครศรีอยุธยา-อำเภอบางปะหัน-อ่างทอง รวมระยะทาง 105 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 2 ใช้เส้นทางตัดใหม่ ข้ามสะพานพระปิ่นเกล้า – ตลิ่งชัน เข้าเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 ผ่านจังหวัดนนทบุรี-ปทุมธานี-พระนครศรีอยุธยา-สุพรรณบุรี-อ่างทอง รวมระยะทางประมาณ 150 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 3 ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-ปทุมธานี ผ่านปากเกร็ด เข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3111 ผ่านอำเภอบางไทร-อำเภอเสนา-พระนครศรีอยุธยา จากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข 3263 และต่อเข้าทางหลวงหมายเลข 309 เข้าอำเภอป่าโมก-อ่างทอง รวมระยะทาง 140 กิโลเมตร
• รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารประจำทางระหว่างกรุงเทพฯ-อ่างทอง ทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ทุกวัน สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 537-8055, 936-2852-66, 936-3603
• ระยะทางจากอำเภอเมืองอ่างไปยังอำเภอต่าง ๆ
อำเภอเมือง-อำเภอป่าโมก ระยะทาง 12 กิโลเมตร
อำเภอเมือง-อำเภอไชโย ระยะทาง 15 กิโลเมตร
อำเภอเมือง-อำเภอโพธิ์ทอง ระยะทาง 11 กิโลเมตร
อำเภอเมือง-อำเภอแสวงหา ระยะทาง 25 กิโลเมตร
อำเภอเมือง-อำเภอวิเศษชัยชาญ ระยะทาง 13 กิโลเมตร
อำเภอเมือง-อำเภอสามโก้ ระยะทาง 27 กิโลเมตร
ระยะทางจากจังหวัดอ่างทองไปยังจังหวัดใกล้เคียง
จังหวัดอ่างทอง-จังหวัดลพบุรี ระยะทาง 18 กิโลเมตร
จังหวัดอ่างทอง-จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระยะทาง 31 กิโลเมตร
จังหวัดอ่างทอง-จังหวัดสิงห์บุรี ระยะทาง 40 กิโลเมตร
จังหวัดอ่างทอง-จังหวัดสุพรรณบุรี ระยะทาง 80 กิโลเมตร

อำเภอต่างๆในจังหวัดอ่างทอง เมืองอ่างทอง ไชโย ป่าโมก โพธิ์ทอง แสวงหา วิเศษชัยชาญ สามโก้

 หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
สำนักงานจังหวัดอ่างทอง
โทร. 0 3561 1235
ประชาสัมพันธ์จังหวัด
โทร. 0 3562 0071
สถานีเดินรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ
โทร. 0 3561 1025
สถานีตำรวจอำเภอเมืองอ่างทอง
โทร. 0 3561 1000
โรงพยาบาลอ่างทอง
โทร. 0 3561 1520, 0 3561 5111
อำเภอป่าโมก

 

อำเภอวิเศษชัยชาญ


วัดเขียน

Wat Khian
(อ่างทอง)


วัดอ้อย

Wat Oi
(อ่างทอง)


วัดม่วง

Wat Muang
(อ่างทอง)


วัดหลวง

Wat Luang
(อ่างทอง)
อำเภอเมือง


บึงสำเภาลอย

(อ่างทอง)
อำเภอแสวงหา


วัดยาง

Wat Yang
(อ่างทอง)
อำเภอโพธิ์ทอง
อำเภอไชโย
แผนที่จังหวัดอ่างทอง/map of ANGTHONG

การเดินทาง
รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารประจำทางระหว่างกรุงเทพฯ-อ่างทอง ทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ทุกวัน สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 0 2537 8055, 0 2936 2852-66, 0 2936 3603 เว็บไซต์ www.transport.co.th 

รถยนต์
จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง คือ
เส้นทางที่ 1 ใช้เส้นทางสายพหลโยธิน ทางหลวงหมายเลข 32 จากกรุงเทพฯ แยกเข้าเส้นทางสายเอเชีย ผ่านอำเภอบางปะอิน-พระนครศรีอยุธยา-อำเภอบางปะหัน-อ่างทอง รวมระยะทาง 105 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 2 ใช้เส้นทางตัดใหม่ ข้ามสะพานพระปิ่นเกล้า – ตลิ่งชัน เข้าเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 ผ่านจังหวัดนนทบุรี-ปทุมธานี-พระนครศรีอยุธยา-สุพรรณบุรี-อ่างทอง รวมระยะทางประมาณ 150 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 3 ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-ปทุมธานี ผ่านปากเกร็ด เข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3111 ผ่านอำเภอบางไทร-อำเภอเสนา-พระนครศรีอยุธยา จากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข 3263 และต่อเข้าทางหลวงหมายเลข 309 เข้าอำเภอป่าโมก-อ่างทอง รวมระยะทาง 140 กิโลเมตร
หรือใช้ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1543

อ่างทอง/Information of ANGTHONG

  General Information

Ang Thong is a small province on the bank of the Chao Phraya River. The former settlement is at Wiset Chai Chan on the bank of the Noi River. It was an essential frontier outpost of Ayutthaya when fighting with the Burmese. The majority of the people was later moved to a new site on the left bank of the Chao Phraya River during the Thon Buri period.

Ang Thong is located 108 kilometres north of Bangkok. It occupies an area of 968 square kilometres and is administratively divided into seven districts (Amphoes): Mueang Ang Thong, Chaiyo, Pa Mok, Pho Thong, Sawaeng Ha, Wiset Chai Chan and Samko.

How to get there
Car
All provinces and major districts in the Central Region are linked by highways while the distant districts and villages can be accessible by rural roads.

Bus
Bus transportation services are available at two main stations in Bangkok. From the bus terminal on Kamphaeng Phet II Road (Tel. 0 2936 0649,0 2936 1972), there are both air-conditioned and non air-conditioned buses leaving for Chai Nat, Nakhon Nayok, Prachin Buri, Lop Buri, Saraburi, Sing Buri, Suphan Buri, Ang Thong, Ayutthaya, Bang Pa-in, Bang Sai, Aranyaprathet, Chachoengsao, and Samut Songkhram. The Southern Bus Terminal (Tel. 0 2435-1199, 0 2434 5557-8) on Boromarajajonani Road operates daily buses to Kanchanaburi, Cha-am, Damnoen Saduak, Phetchaburi, Ratchaburi, Prachuap Khiri Khan, Bang Saphan, Nakhon Pathom, Suphan Buri, Samphran, Samut Songkhram, and Samut Sakhon.

On arrival in each city, the easiest way to travel around is by local transport like tricycle (called “Sam Lo” by Thais) or motor tricycle. “Song Thaeo” or a van with two rows of benches at the back serves as transport for travelling to the outside of the town. However, a vehicle should be rented from Bangkok or a major tourist town in case travellers need more convenience and would like to explore more attractions in the rural areas.

Train
The Bangkok Railway Station (Hua Lamphong) is the major terminal where daily trains leave for Chachoengsao, Bang Pa-in, Ayutthaya, Saraburi, Lop Buri, Nakhon Pathom, Suphan Buri, Ratchaburi, Phetchaburi, Hua Hin, and Prachuap Khiri Khan. To get to Nakhon Pathom and Kanchanaburi, one can take a train at the Thon Buri or Bangkok Noi Railway Station. Samut Sakhon and Samut Songkhram can be also reached by train from the Wongwian Yai Station. Schedules can be obtained at the Information Unit, Tel. 0 2223 7010, 0 2223 7020.

Boat
Travelling by boat is quite popular in the riverside cities or towns including Bangkok, Nonthaburi, Ayutthaya, Samut Songkhram, Nakhon Pathom, and Kanchanaburi. In those provinces, river excursions are operated by local tour operators. Boats for rent are also available at major piers. The price should be established before beginning the trip.

Between Bangkok and Nonthaburi, regular boats run along the Chao Phraya River with frequent stops to pick up and drop their passengers. The boats are usually crowded during the rush hours of a working day.

Festivals
Boat Races
Boat Races The major annual regatta takes place in front of Wat Chaiyo Worawihan on the Chao Phraya River in October together with the Luang Pho To Worship Festival.

During October, boat races are also held at other riverside temples including Wat Pa Mok by the Chao Phraya River and Wat Pho Kriap by the Noi River in Amphoe Pho Thong. Famous boats from all over the country join the races.

 

เชิญแสดงความคิดเห็น