ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> เลโซโท




แผนที่
ราชอาณาจักรเลโซโท
Kingdom of Lesotho


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง อยู่ในภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ อาณาบริเวณล้อมรอบด้วยประเทศแอฟริกาใต้
พื้นที่ 30,355 ตารางกิโลเมตร (11,720 ตารางไมล์)
เมืองหลวง กรุงมาเซรู (Maseru)
ภูมิอากาศ อบอุ่นและเย็น มีฝนตกทั่วประเทศในฤดูร้อน (เดือนตุลาคม-เมษายน)
ประชากร 2,022,331 คน (2549) มีอัตราการเจริญเติบโตของประชากรติดลบ ร้อยละ 0.46 (2549) เนื่องจากมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคเอดส์สูง
ภาษา ภาษาอังกฤษและภาษาเซโซโท (Sesotho) เป็นภาษาราชการนอกจากนี้ ก็มีการใช้ภาษา Zulu และ Xhosa
ศาสนา ร้อยละ 80 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 20 นับถือความเชื่อดั้งเดิม
วันชาติ 4 ตุลาคม (เป็นวันที่ได้รับเอกราชจากการปกครองของอังกฤษเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2509)
ระบอบการเมือง ประชาธิปไตย มีกษัตริย์เป็นประมุข
สถาบันทางการเมือง ประกอบด้วย
ฝ่ายบริหาร มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร
ฝ่ายนิติบัญญัติรัฐสภา (National Assembly) แบบ 2 สภา (bicameral) ประกอบด้วยวุฒิสมาชิก 33 คน (ซึ่งในจำนวนนี้ 11 คน กษัตริย์เป็นผู้เสนอและพรรครัฐบาลเป็นผู้แต่งตั้งอีก 22 คนมาจากหัวหน้าเผ่าต่าง ๆ) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 65 คน ซึ่งอยู่ในวาระคราวละ 5 ปี
ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วย ศาลสูง ศาลอุทธรณ์ ศาลพิพากษา และศาลพื้นเมือง
ประมุขของรัฐ สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 (Letsie III) (อ่านออกเสียงตามภาษาท้องถิ่นว่า เลตซิเย่) ขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2539 ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระบิดาคือ สมเด็จพระราชาธิบดี Moshoeshoe II ทั้งนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซี ที่ 3 ได้ทรงเคยขึ้นครองราชย์มาแล้วในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2533 - กุมภาพันธ์ 2538 ขณะที่พระบิดาทรงอยู่ระหว่างการลี้ภัยทางการเมือง
นายกรัฐมนตรี นายเบธูเอล พาคาดิธา มอซิซิลี (The Right Honourable Bethuel Pakalitha Mosisili) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 3 ในปี 2550
รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Mohlabi Kenneth Tsekoa (ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2550)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 786 ดอลลาร์สหรัฐ (2548)
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 5 (2549)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 6.1 (2549)
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ น้ำ เพชร และแร่ธาตุอื่น ๆ
ดุลการค้า ปี 2549 ส่งออก 752 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า
1,346 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เสียเปรียบดุลการค้า 594 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าเข้าที่สำคัญ ข้าวโพด เสื้อผ้า วัสดุก่อสร้าง ยานพาหนะ เครื่องจักรกล ยารักษาโรค ผลิตภัณฑ์น้ำมัน
สินค้าออกที่สำคัญ เสื้อผ้า รองเท้า ขนแกะ ขนแพะ
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
นำเข้า สหภาพศุลกากรแอฟริกาใต้ 83.9% เอเชีย 14.4% สหภาพยุโรป0.1%
ส่งออก อเมริกาเหนือ 62.8% สหภาพศุลกากรแอฟริกาใต้ 17.3% สหภาพยุโรป 17.2% (2548)
สกุลเงิน loti (LSL); South African rand (ZAR)
อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 6.8 maloti (2549)

การเมืองการปกครอง
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
เลโซโทเป็นหนึ่งในสามของประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (อีก 2 ประเทศ คือ โมร็อกโก และสวาซิแลนด์) เดิมประเทศเลโซโทมีชื่อว่า Basutho ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2361 (ค.ศ.1818) โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดี Moshoeshoe I เป็นผู้ปกครอง ต่อมา ชนเผ่าซูลู และคนผิวขาวเข้าไปตั้งหลักแหล่งในประเทศ และถูกแอฟริกาใต้รุกราน Basutho จึงต้องขอรับความคุ้มครองจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร และมีฐานะเป็นรัฐในปกครองของสหราชอาณาจักร (British protectorate of Basutoland) ตั้งแต่ปี 2411 (ค.ศ. 1868) ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2509 (ค.ศ.1966) ได้ประกาศเอกราชและเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นเลโซโท

สถานการณ์การเมืองที่สำคัญ
เหตุการณ์ความไม่สงบในเลโซโท เมื่อปี 2537
ในช่วงต้น ๆ ของปี 2537 ได้เกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของเลโซโท โดยในเดือนมกราคม 2537 ได้มีการปะทะกันระหว่างทหารของ RLDF (Royal Lesotho Defence Force) กับทหารของกองทัพเลโซโท ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันในเมือง Maseru เพื่อเรียกร้องให้เพิ่มเงินเดือนอีกเท่าตัว แต่ได้มีผู้สังเกตการณ์ว่า สาเหตุของการจลาจลที่แท้จริงอาจเกิดจากการที่นายทหารบางส่วนไม่พอใจพรรค BCP (Basotholand Congress Party ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน) และกลุ่ม LLA (Lesotho Liberation Army) อย่างไรก็ตาม หลังจากผู้แทนกลุ่มเครือจักรภพได้เข้าไปช่วยเจรจาไกล่เกลี่ย ทั้งสองก็ยอมสงบศึก ต่อมาในเดือนเมษายน 2537 ได้เกิดเหตุการณ์จลาจลขึ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อกลุ่มทหารได้สังหารรองนายกรัฐมนตรี Solemetsi Baholo และจับรัฐมนตรี 4 คน เป็นตัวประกัน อย่างไรก็ตาม ความวุ่นวายในครั้งนี้เกิดขึ้นจากความขัดแย้งของทหารบางกลุ่มเท่านั้น มิได้เป็นการก่อรัฐประหารอย่างใด ในเดือนสิงหาคม 2537 สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3ซึ่งปกครองประเทศเลโซโทในขณะนั้นได้ร่วมกับฝ่ายทหารทำการรัฐประหารขับไล่รัฐบาลพลเรือนของนาย Mokhehle ที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย นานาชาติได้ประณามการกระทำของสมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 2 ในครั้งนี้ และเรียกร้องให้คืนอำนาจให้นาย Mokhehle ต่อมาสมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 ได้ยินยอมเข้าร่วมการเจรจาไกล่เกลี่ยกับคณะผู้ไกล่เกลี่ยซึ่งนำโดยประมุขของแอฟริกาใต้ บอตสวานา และซิมบับเว และในที่สุดสมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3ได้ยอมคืนอำนาจโดยให้ Mokhehle กลับเข้าเป็นนายกรัฐมนตรีตามเดิม และได้ทรงสละราชสมบัติให้สมเด็จพระราชาธิบดี Moshoeshoe II พระราชบิดา ซึ่งเคยถูกทหารยึดอำนาจในปี 2533 กลับมาครองราชย์อีกครั้งหนึ่ง (ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2538) สมเด็จพระราชาธิบดี Moshoeshoe II ทรงครองราชย์อยู่ได้เพียงประมาณ 1 ปี ก็เสด็จสวรรคตด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2539 สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 จึงได้กลับมาปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่ง

เหตุการณ์ความไม่สงบในเลโซโท เมื่อปี 2541
รัฐบาลเลโซโทได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2541 ซึ่งผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรค LCD ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล ได้ที่นั่ง 79 ที่นั่งจาก 80 ที่นั่ง แต่พรรคฝ่ายค้านได้ประท้วงผลการเลือกตั้ง และเรียกร้องให้ประชาชนชุมนุมประท้วงผลการเลือกตั้ง ซึ่งมีประชาชนจำนวนมากที่สนับสนุนพรรคฝ่ายค้านได้ออกมาชุมนุมประท้วง ในเดือนสิงหาคม 2541 เหตุการณ์ได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนกระทั่งรัฐบาลเลโซโทไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ เมื่อกลุ่มนายทหารหนุ่มที่สนับสนุนพรรคฝ่ายค้านได้พยายามยึดอำนาจจากกองทัพ จึงตัดสินใจขอรับความช่วยเหลือจากประเทศสมาชิก SADC ซึ่งแอฟริกาใต้และบอตสวานาได้ส่งกองกำลังทหารจำนวน 3,500 คน เข้าไปควบคุมสถานการณ์ในเลโซโท

ต่อมาในวันที่ 3 ตุลาคม 2541 พรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านได้ร่วมกันเจรจาเพื่อหา
ข้อยุติความขัดแย้งทางการเมือง โดยมีผู้แทนจากประเทศสมาชิก SADC ได้แก่ แอฟริกาใต้ บอตสวานา โมซัมบิก และซิมบับเว เข้าร่วมการเจรจาด้วย ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ มีสาระโดยสรุปคือ
1) จะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ภายใน 15-18 เดือน
2) ขอให้ทุกฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้งครั้งต่อไป
3) ให้มีการปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมาธิการอิสระในการควบคุมการเลือกตั้งให้มีอำนาจอิสระเพิ่มขึ้นในการจัดและควบคุมการเลือกตั้ง
4) ให้มีการวางหลักการความประพฤติพื้นฐาน (code of conduct) สำหรับพรรคการเมือง เพื่อที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองที่มีอิสระเสรี
5) ให้มีการทบทวนระบบการเลือกตั้งใหม่

การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2545
ผลการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2545 ปรากฏว่า พรรค LCD ซึ่งเป็นพรรค รัฐบาลได้รับเสียงข้างมาก ได้ที่นั่งในสภาทั้งหมด 77 ที่นั่ง จากที่นั่งทั้งหมด 120 ที่นั่ง และได้รับสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาล และเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2545 นายเบธูเอล พาคาดิธา มอซิซิดี ได้เข้าพิธีสาบานตนเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งเลโซโท เป็นครั้งที่ 2 และมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี นายมอซิซิดีได้ให้คำมั่นที่จะแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ การขาดแคลนอาหาร และการว่างงาน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่เลโซโทเผชิญอยู่


การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2550
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2550 เลโซโทได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเป็นครั้งที่ 6 พรรค Lesotho Congress for Democracy (LCD) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลนำโดยนาย Pakalitha Mosisili ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย โดยได้ที่นั่งในสภาถึง 61 ที่นั่ง จาก 79 ที่นั่ง และนาย Mosisili สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปได้เป็นสมัยที่ 3 การเลือกตั้งดังกล่าวใช้ระบบที่เรียกว่า Mixed Member Proportional Model (MMP) ที่ยึดตามแนวทางของนิวซีแลนด์ ส่งผลให้รัฐสภาเลโซโทมีผู้แทนที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น การเลือกตั้งดังกล่าวได้รับการยอมรับจากนานาประเทศว่ามีความบริสุทธิ์ ยุติธรรมและปราศจากซึ่งความรุนแรงใดๆ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีทั้งหมดได้เข้าร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญานเพื่อเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 2 มีนาคม 2550 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ รัฐบาลชุดปัจจุบันเลโซโทได้ประกาศวิสัยทัศน์ของประเทศ โดยสรุปคือ ภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) เลโซโทต้องการจะเป็นประเทศที่มีระบอบประชาธิปไตยมั่นคง สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมีความเจริญรุ่งเรือง อยู่อย่างสงบสุขทั้งภายในประเทศและกับประเทศเพื่อนบ้าน มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เศรษฐกิจของประเทศจะเข้มแข็ง มีการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ทั้งนี้ อำนาจในการบริหารประเทศส่วนใหญ่จะอยู่กับนายกรัฐมนตรี

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศที่สำคัญที่สุดของเลโซโท คือ ความสัมพันธ์กับแอฟริกาใต้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษที่ 60-80 ความสัมพันธ์ระหว่างเลโซโทกับแอฟริกาใต้ค่อนข้างตึงเครียด เนื่องจากปัญหาบริเวณชายแดน ต่อมาเมื่อประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลาเดินทางเยือนเลโซโทอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม 2538 ได้ย้ำถึงความสำคัญของสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแอฟริกาใต้และเลโซโท และให้เห็นถึงผลประโยชน์ร่วมกันในความสำเร็จของโครงการ Highlands Water Project (HWP) ซึ่งเป็นโครงการสร้างเขื่อนและอุโมงค์ส่งน้ำร่วมกันระหว่างแอฟริกาใต้กับเลโซโท โครงการดังกล่าวใช้เวลาดำเนินการทั้งสิ้น 30 ปี แบ่งขั้นตอนดำเนินการออกเป็น 5 ระยะ เริ่มดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ปี 2529 ซึ่งรัฐบาลเลโซโทได้เชิญชวนนักลงทุนต่างชาติและบริษัทก่อสร้างทั่วโลกมาประมูลโครงการนี้ ภายใต้โครงการดังกล่าว เลโซโทจะขายน้ำให้แอฟริกาใต้ โดยได้ผลตอบแทนประมาณ 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี และโครงการนี้จะช่วยให้ชาวเลโซโทมีงานทำประมาณ 10,000 คน

- รัฐบาลเลโซโทสนับสนุนการปฏิรูปสหประชาชาติ และการดำเนินการตามโครงการความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาแอฟริกา (New Economic Partnership for Africa‘s Development - NEPAD) เพื่อเป็นกลไกในการแก้ปัญหาของประเทศในแอฟริกา นอกจากนี้ รัฐบาลเลโซโทยังสนับสนุนความร่วมมือเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย รวมทั้งยังสนับสนุนให้ประชาคมโลกร่วมมือกันในการแก้ปัญหาโรคร้ายแรงต่างๆ โดยเฉพาะโรคเอดส์ ซึ่งเป็นปัญหาที่หลายประเทศในภูมิภาคแอฟริกาประสบอยู่ในปัจจุบัน

เศรษฐกิจการค้า
เศรษฐกิจของเลโซโทขึ้นอยู่กับการเกษตรแบบยังชีพ การเลี้ยงสัตว์ และอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เช่น สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การแปรรูปอาหาร และการก่อสร้าง รัฐบาลเลโซโทมีนโยบายการค้าแบบเสรีและส่งเสริมการลงทุน รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมากกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การพัฒนาภาคเอกชนและอุตสาหกรรมภายในประเทศ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจของเลโซโทขึ้นอยู่กับพลวัตรทางการเมืองและเศรษฐกิจของแอฟริกาใต้เป็นอย่างมาก รวมถึงกลุ่มประเทศสมาชิกประชาคมเพื่อการพัฒนาของภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ (Southern African Development Community - SADC) ด้วย ทั้งนี้ เลโซโทเป็นประเทศที่มีอัตราผู้ติดเชื้อ HIV/AIDS มากที่สุดในทวีปแอฟริกาคือจำนวน 320,000 คน จากจำนวนประชากรทั้งสิ้น 2,022,331 คน

โทรคมนาคม
ถนน ในปี 2542 มีถนนราดยางยาว 1,087 กิโลเมตร และถนนไม่ราดยาง 4,853 กิโลเมตร ถนนโรยกรวด 2,337 กิโลเมตร และถนนลูกรัง 1,806 กิโลเมตร ในปี 2526 มียานพาหนะที่ใช้ในการพาณิชย์ 10,200 คัน และรถยนต์โดยสารส่วนบุคคล 4,359 คัน
ทางรถไฟ มีเส้นทางรถไฟที่สร้างโดย South African Railways ความยาว 1 ไมล์ เชื่อมต่อเมืองหลวง Maseru กับทางรถไฟสาย Bloemfontein – Natal ที่เมือง Marseilles
การบินพลเรือน สายการบินแห่งชาติชื่อ Air Lesotho ซึ่งมีเครื่องบินจำนวน 28 ลำ ในปี 2548 และทำการบินทุกวัน ๆ ละ 2 เที่ยว ระหว่างเมือง Maseru กับ Johannesburg นอกจากนี้ สายการบินดังกล่าวยังมีเที่ยวบินภายในไปตามเขตต่าง ๆ ที่ห่างไกลของเลโซโทด้วย
โทรคมนาคม ในปี 2548 มีโทรศัพท์จำนวน 37,200 คู่สาย มีโทรศัพท์มือถือจำนวน 159,000 เลขหมาย สถานีวิทยุเลโซโทออกอากาศทุกวันเป็นภาษาอังกฤษและภาษาเซโซโท โดยมีสถานีวิทยุจำนวน 3 เครื่อง (2548) สถานีโทรทัศน์จำนวน 1 สถานี (2543) มีผู้ให้บริการ Internet จำนวน 1 ราย (2543) และมีผู้ใช้บริการ Internet จำนวน 43,000 ราย (2548)

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรเลโซโท
ด้านการเมือง
- ไทยและเลโซโทได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2532 (1989) โดยไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย แอฟริกาใต้ มีเขตอาณาครอบคลุมเลโซโท และเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำเลโซโทอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ส่วนเลโซโทได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตเลโซโทที่กรุงปักกิ่งมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทยและให้เอกอัครราชทูตเลโซโท ณ กรุงปักกิ่งดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยด้วย ต่อมาในปี 2546 ฝ่ายเลโซโทได้แต่งตั้งให้นายรณพงศ์ คำนวณทิพย์ ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ราชอาณาจักรเลโซโท ประจำประเทศไทย

- ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-เลโซโท ราบรื่นไม่มีปัญหาระหว่างกัน และเลโซโทให้การสนับสนุนไทยมาโดยตลอดในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ

ด้านเศรษฐกิจ
การค้าระหว่างไทยและเลโซโทมีน้อย โดยในปี 2548 มีมูลค่าการค้ารวมเพียง 7.9 ล้านบาท โดยไม่มีการนำเข้าสินค้าจากเลโซโทเลย ทำให้ไทยได้เปรียบดุลการค้าทั้งหมด รวมถึงปี 2549 ก็เช่นกันที่ไม่มีการนำเข้า แต่ในปีนี้ไทยส่งออกได้มากขึ้น ทำให้มูลค่าการค้ารวมของไทยในปี 2549 เพิ่มขึ้นเป็น 10.8 ล้านบาท สินค้าออกที่สำคัญของไทย คือ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เคมีภัณฑ์ ข้าว และอาหารสัตว์เลี้ยง อย่างไรก็ดี อุปสรรคของความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยและเลโซโทที่สำคัญคือ การขาดแคลนข้อมูลด้านการค้า การลงทุนและกฎระเบียบที่รัฐบาลแต่ละประเทศมีต่อนักลงทุน ประกอบกับความไม่คุ้นเคยระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดความไม่มั่นใจที่ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินธุรกิจหรือลงทุนร่วมกัน

สถิติการค้าไทย - เลโซโท ดูเอกสารแนบ

ด้านสังคมและวัฒนธรรม
ไทยพร้อมให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือในด้านวิชาการที่ไทยมีประสบการณ์แก่เลโซโทมาโดยตลอด รวมทั้งด้านการป้องกันและบำบัดเชื้อ HIV/AIDS นอกจากนี้ ในปี 2538 (1995) รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาภาวะขาดแคลนพืชพันธุ์ธัญญาหารอันเนื่องมาจากความแห้งแล้งแก่รัฐบาลเลโซโทเป็นเงิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ และต่อมาในปี 2539 (ค.ศ. 1996) ไทยได้ให้ความช่วยเหลืออีก 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเลโซโทประสบภัยจากหิมะ

ด้านวิชาการ
ที่ผ่านมาความร่วมมือทางด้านวิชาการระหว่างไทยและเลโซโทค่อนข้างจะน้อย อย่างไรก็ตาม ไทยพยายามที่จะขยายความร่วมมือกับเลโซโทโดยการให้ทุนฝึกอบรมและดูงานในหลักสูตรต่างๆ อาทิ International Course on AIDS Prevention and Problem Alleviation Programme, Sufficiency Economy, OTOP และ Tourism Management นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังเคยจัดการดูงานให้กับคณะผู้แทนด้านการเกษตรจากเลโซโทภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง และการเกษตรทฤษฎีใหม่ระหว่างไทยกับเลโซโท ระหว่างวันที่ 11-17 กันยายน 2548 และในขณะนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย กำลังดำเนินการจัดสร้างแปลงเกษตรสาธิตตามแนวพระราชดำริการเกษตรแบบยั่งยืน บนพื้นที่ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระราชินีแห่งราชอาณาจักเลโซโท ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 โดยโครงการดังกล่าวกำหนดจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2550

นอกจากนั้น ในปี 2550 ไทยได้จัดสรรทุนฝึกอบรมให้แก่เลโซโท จำนวน 5 ทุน ดังนี้
1) Integrated Watershed Management
2) Tourism Management
3) Prevention, Resuscitation and Rehabilitation in Traumatic Injury; A Nursing Perspective
4) Sufficiency Economy
5) Grassroots Economic Development with One Tambon One Product (OTOP)

ความตกลงที่สำคัญกับไทย ยังไม่มีการทำความตกลงระหว่างกัน

การแลกเปลี่ยนการเยือนที่สำคัญ
ฝ่ายไทย
- ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศเดินทาง
เยือนเลโซโท เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2548 และได้เข้าพบรองนายกรัฐมนตรี รักษาการนายกรัฐมนตรีเลโซโท เพื่อมอบหนังสือกราบบังคมทูลเชิญพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งเลโซโทเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 12-13 มิถุนายน 2549 และในโอกาสนี้ ได้เข้าพบนาย Mabotse Lerotholi ราชเลขาธิการในสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเลโซโทด้วย

ฝ่ายเลโซโท
- นาย Lesao Lehohla รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของ
เลโซโทเยือนไทย เมื่อวันที่ 22-27 มีนาคม 2547 เพื่อเข้าร่วมโครงการดูงานด้านการศึกษาของไทยและมาเลเซีย จัดโดย UNESCO และกระทรวงศึกษาธิการ

- นาย Mabotse Lerotholi ราชเลขาธิการในสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเลโซโท เดินทางเยือนไทย เมื่อวันที่ 23-25 เมษายน 2549 เพื่อเข้าร่วมการประชุมเตรียมการคณะล่วงหน้า ในโอกาสที่สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 และพระชายาจะเสด็จฯ เข้าร่วมงานเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ผู้แทนทางการทูต
ฝ่ายไทย
เอกอัครราชทูตประจำราชอาณาจักรเลโซโท ถิ่นพำนัก ณ กรุงพริทอเรีย คือ
นายโดมเดช บุนนาค (H.E. Mr. Domedej Bunnag)
ที่อยู่ของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย
Royal Thai Embassy
428 Pretorius/Hill Street
Arcadia, Pretoria 0083
P.O. Box 12080
Hatfield, Pretoria 0028
Tel. (27-12) 342-1600, 342-4516,
342-4600, 342-4506, 342-5470
Fax. (27-12) 342-4805, 342-3986
E-mail : info@thaiembassy.co.za
Consular Info : visa@thaiembassy.co.za
Trade Info : trade@thaiembassy.co.za
Technical : webmaster@thaiembassy.co.za
Website : http://www.thaiembassy.co.za

ฝ่ายเลโซโท
เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเลโซโทประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงปักกิ่ง คือ
นาย Anthony Rachobokoane Thibeli (ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการขอความเห็นชอบจากฝ่ายไทย)
ที่อยู่ของสถานเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเลโซโท ณ กรุงปักกิ่ง
The Embassy of the Kingdom of Lesotho
No.302, Dong Wai Office Bldg.,
Beijing
The People’s Republic of China
Tel. (8610) 6532-6843-4
Fax. (8610) 6532-6845

กงสุลกิตติมศักดิ์ราชอาณาจักรเลโซโท ประจำประเทศไทย
นายรณพงศ์ คำนวณทิพย์ (Mr. Ronnapong Kamnuanthip)
ที่ทำการสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ราชอาณาจักรเลโซโท ประจำประเทศไทย
140 อาคารแปซิฟิค เพลส 1 ชั้น 9 ยูนิต 908 ถ. สุขุมวิท คลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์ (66) 2653-3288-9
โทรสาร (66) 2653-4178


มิถุนายน 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-48 E-mail : southasian03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์