ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> อันดอร์รา




แผนที่
ราชรัฐอันดอร์รา
Principality of Andorra


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ตั้งอยู่บนเทือกเขา Pyrenees ระหว่างประเทศฝรั่งเศส (ทางทิศเหนือ)และสเปน (ทางทิศใต้) ที่ระดับความสูงระหว่าง 838 - 2,946 เมตร
พื้นที่ 468 ตารางกิโลเมตร หรือ 185 ตารางไมล์

เมืองหลวง Andorra la Vella (อันดอร์รา ลา เวลลา)

ประชากร 71,822 คน ในปี 2550 เป็นลำดับที่ 194 ของโลก
ประกอบด้วยเชื้อชาติต่าง ๆ ดังนี้
อันดอร์รา (Andorran) (22.2 %)
สเปน( 44.4%)
โปรตุเกส (10.7%)
ฝรั่งเศส (6.8%)
อื่น ๆ ( 6.6 %)

ภาษา ภาษาราชการ คือ คาตาลัน (Catalan) แต่มีการใช้ภาษาสเปนและฝรั่งเศสอย่างแพร่หลาย

ศาสนา ศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก 92% และ โปรเตสแตนท์ 0.5 %

สกุลเงิน ไม่มีสกุลเงินของตนเอง แต่ใช้เงินยูโรเป็นหลัก
ระบบการเมือง รัฐธรรมนูญราชรัฐอันดอร์รา ปี ค.ศ.1993 กำหนดให้ราชรัฐอันดอร์ราปกครอง ด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาเดียว โดยมีประมุขร่วม (Parliamentary Co-Principality) คือพระราชาคณะ (Bishop) แห่งเมือง Urgell ของสเปน และประธานาธิบดีฝรั่งเศส โดยประมุขทั้งสองเป็นประมุขในทางสัญลักษณ์เท่านั้น โดยมีผู้แทนของตนอยู่ในราชรัฐอันดอร์รา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เรียกว่า Vegeur
ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลและคณะรัฐมนตรี 9 คน
ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่ต่ำกว่า 28 คน และไม่เกิน 42 คน ปัจจุบันมี 28 คน และมีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 4 ปี
ฝ่ายตุลาการ ใช้ระบบกฎหมายอิงตามแบบสเปนและฝรั่งเศส โดยอำนาจฝ่ายตุลาการดำเนินการโดย Battlles (Magistrates) ทั้งนี้ ศาลมี 3 ระดับ คือ Tribunal of Judges (Tribunal de Batlles), Tribunal of the Courts (Tribunal de Corts) และ Supreme Court of Justice (Tribunal Superior de Justicia)
เขตการปกครอง แบ่งเป็น 7 เขต (parish หรือ parraquia/parroquies) คือ Andorra la Vella, Canillo, Encamp, Ordino, La Massana,
Sant Julia de Loria และ Escaldes-Engordany

ประมุขร่วมสาธุคุณ Joan Enric Vives Sicilia กับ นาย Jacques Chirac
ผู้แทนประมุข หรือ Vegeur ของฝ่ายสเปน คือนาย Nemesi Marquès Oste และของฝ่ายฝรั่งเศส คือนาย Philippe Massoni

นายกรัฐมนตรี นาย Albert Pintat Santolària (ตั้งแต่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2548)

รมว. กต. นาย Juli Minoves Triquell

ชาวแอนดอร์รัน (Andorran) มีอายุเฉลี่ยยืนยาวมากที่สุดในโลก คือ 83.5 ปี (ข้อมูลปี 2550)

การเมืองการปกครอง
ประวัติศาสตร์และความเป็นมา นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดินแดนที่เป็นราชรัฐอันดอร์ราในปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมต่าง ๆ อาทิ Franks, Visigoths และอาหรับ ในสมัยของกษัตริย์ Charlemagne ของฝรั่งเศส ในปลายศตวรรษที่ 9 ได้มีการจัดตั้ง เขตปกครองในเทือกเขาพีรีนิส ซึ่งรวมเขตอันดอร์ราขึ้นภายใต้ชื่อ Marca Hispanica ต่อมาเชื่อกันว่ากษัตริย์ Charlemagne ยอมให้อันดอร์รามีอิสรภาพโดยเอกสารชื่อ Carta de Fundacio d? Andorra แต่หลังจากกษัตริย์ Charlemagne สิ้นพระชนม์ อันดอร์รากลับตกไปอยู่ใต้อำนาจของ Count of Urgell ซึ่งต่อมาได้ยินยอมยกดินแดนให้ Bishop of Urgell ในปีค.ศ.1113 ซึ่งได้สืบทอดสิทธิและเป็นเจ้าของเหนือดินแดนนี้เรื่อยมาในนามของ Church of Urgell ในปี ค.ศ.1159 มีการสู้รบแย่งชิงดินแดนระหว่าง Church of Urgell กับ Count of Foix จนถึงปี
ค.ศ. 1278 จึงได้มีการลงนามระหว่าง Church of Urgell และ Count of Foix (Roger Bernard) ในสนธิสัญญา Pariatges อันมีผลให้ราชรัฐอันดอร์ราเป็นดินแดนที่มีสถานะเป็นราชรัฐร่วม (coprincipality) ระหว่าง Church of Urgell และ Count of Foix โดย Bishop of Urgell ได้อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน และ Count of Foix มีอำนาจด้านการเมือง การศาล และการทหาร ต่อมา Count of Foix ได้สมรสกับ Viscount of Bearn รัชทายาทแห่งแคว้น Navarre ผู้นำฝรั่งเศสจึงได้สืบทอดการปกครองดังกล่าวจนถึงสมัยของ Henry IV ซึ่งดำรงตำแหน่ง Count of Foix ที่ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศส ดังนั้น อันดอร์ราจึงกลายเป็นราชรัฐร่วมระหว่าง Church of Urgell ของสเปนกับฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1419 Church of Urgell และฝรั่งเศสได้ให้สัตยาบันแก่ Council of the Land ในการจัดตั้ง General Council หรือรัฐสภาของราชรัฐอันดอร์ราในปัจจุบันระหว่างปี ค.ศ. 1866-68 Church of Urgell และฝรั่งเศสได้ประกาศ Nova Reforma (New Reform) เป็นแนวทางในการจัดระบบการเมืองและการบริหารในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และเริ่มยุคของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ วันที่ 15 มกราคม
ค.ศ.1981 Church of Urgell และฝรั่งเศสได้ออกกฤษฎีกาจัดตั้ง ระบบการปกครองราชรัฐอันดอร์ราใหม่ ต่อมาเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1993 ได้มีการลงประชามติให้ราชรัฐอันดอร์รามีการปกครองระบอบประชาธิปไตย และมีรัฐธรรมนูญปกครองฉบับแรก (ซึ่งฝรั่งเศสและสเปนได้ยกร่างร่วมกัน) ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม
ค.ศ.1993 รัฐธรรมนูญดังกล่าวกำหนดให้อำนาจอธิปไตยมาจากประชาชน โดยการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร แบ่งแยกอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติออกจากกัน และยังคงมอบอำนาจให้ประธานาธิบดีฝรั่งเศสและ Bishop of Urgell แห่งสเปน ดำรงตำแหน่งประมุขร่วมกัน

สถาบันการปกครอง
- The Co-Princes ในปัจจุบันประมุขรัฐร่วมของราชรัฐอันดอร์รา คือ Joan Enric Vives Sicilia ในตำแหน่ง Bishop of Urgell (ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2003) และ Jacques Chirac ประธานาธิบดีฝรั่งเศส (ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 17พฤษภาคม ค.ศ.1995) ตำแหน่งประมุขรัฐร่วมเป็นสัญลักษณ์และการรับรองความต่อเนื่องของ ความเป็นอิสระของราชรัฐอันดอร์รา ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกำหนดให้ประมุขรัฐร่วมมีอำนาจกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล จัดให้มีการแสดงประชามติตามข้อเรียกร้องของหัวหน้าคณะรัฐบาลและรัฐสภา ในเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบาย การยุบสภา การแต่งตั้งเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำ ราชรัฐอันดอร์รา การลงนามประกาศใช้กฎหมายและปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ที่ระบุในรัฐธรรมนูญ
- Consell General de las Valls หรือ The General Council of the Valleys เป็นรัฐสภาแบบสภาเดียว ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิก (Consellers Generals) จำนวน 28 คน ซึ่งครึ่งหนึ่งมาจากการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงส่วนใหญ่ของทั้ง 7 เขตการปกครอง และที่เหลือมาจากการเลือกตั้งตามสัดส่วนของเขตการเลือกตั้งทั้งหมด สมาชิกฯ ดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปี มีอำนาจทางนิติบัญญัติ การรับรองงบประมาณ
การเสนอและควบคุมการดำเนินงานของรัฐบาล

- The Government คณะรัฐมนตรีดำเนินนโยบายภายในและนโยบายต่างประเทศ ปกครองเขตต่าง ๆ ของประเทศและบัญญัติกฎหมาย ในแต่ละปีรัฐบาลจะจัดเตรียม งบประมาณและเสนอต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรีปัจจุบันมีจำนวน 12 คน ดังมีรายชื่อแนบท้าย

- The Communes ราชรัฐอันดอร์ราแบ่งเขตการปกครองเป็น 7 เขต (parishes) คือCanillo, Encamp, Ordino, La Massana, Andorra la Vella, Sant Julia de Loriaและ Escaldes-Engordany แต่ละเขตจะได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณประจำปี
จากรัฐบาล และสามารถดำเนินการด้านงบประมาณและดำเนินนโยบายของเขตได้ อย่างเป็นอิสระ

การเลือกตั้งทั่วไป การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อวันที่ 24 เมษายน
ค.ศ. 2005 จากผลการเลือกตั้ง พรรค Liberal Party (PLA) ได้รับคะแนนเสียงข้างมาก ทำให้มีผู้แทนในสภา จำนวน 14 คน จากจำนวนทั้งสิ้น 28 คน รองลงมา คือพรรค Social Democrat Party (PS) มีผู้แทนจำนวน 11 คน พรรค Andorran Democratic Centre and Century 21 มีผู้แทนจำนวน 2 คน และพรรค Democratic Renewal มีผู้แทนจำนวน 1 คน การเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี ค.ศ. 2009

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ปัจจุบันมีประเทศต่างๆ สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับราชรัฐอันดอร์ราแล้ว 80 ประเทศ อาทิ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี สิงคโปร์ เป็นต้น

ราชรัฐอันดอร์ราได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 184 ของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ.1993 และเป็นสมาชิกองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่ง อาทิ สภายุโรป (Council of Europe) องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) องค์การความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Cooperation in Europe : OSCE) องค์การด้านทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (World Intellectual Property Organization : WIPO) องค์การการท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization) และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union - ITU) เป็นต้น
Web site ที่เกี่ยวข้อง
 https://cia.gov/cia//publications/factbook/geos/an.html
 www.andorra.ad
 www.andorra.be
 www.andorra.fr
 www.eleccions.ad
 www.turism.ad
 www.ccis.ad
คณะรัฐมนตรีราชรัฐอันดอร์รา
Head of Government Albert PINTAT
Head of State (Co-Prince) Joan Enric VIVES i SICILIA, Bishop
Head of State (Co-Prince) Jacques CHIRAC
Min. of Agriculture & Natural Heritage Pere TORRES
Min. of Economy Joel FONT
Min. of Education & Professional Training Roser BASTIDA
Min. of Finance Ferran MIRAPEIX
Min. of Foreign Affairs, Culture, & Cooperation Juli MINOVES
Min. of Health, Welfare, & Family Montserrat GIL
Min. of Housing, Youth, Higher Education, & Research Meritxell MATEU
Min. of Justice & Interior Josep Maria CABANES
Min. of Sports & Volunteering Carles FONT
Min. of Territorial Planning Manel PONS
Min. of Tourism & Environment Antoni PUIGDELLIVOL

เศรษฐกิจการค้า
สภาวะทั่วไปทางเศรษฐกิจ ราชรัฐอันดอร์ราเป็นรัฐปลอดภาษี มีรายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว (ซึ่งมีนักท่องเที่ยวประมาณปีละ 11.6 ล้านคนและทำรายได้เป็นสัดส่วน 80% ของ GDP) การธนาคาร (tax haven) และด้านอสังหาริมทรัพย์ รายได้จากภาคอุตสาหกรรมมีไม่มาก ภาคการผลิตที่สำคัญ คือ บุหรี่ ซิการ์ เครื่องเรือน การที่อันดอร์ร่ามีพื้นที่เเพาะปลูกเพียงร้อบละ 2 ของพื้นที่ทั้งหมดทำให้ภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงปศุสัตว์ (แกะ) การทำป่าไม้และปลูกยาสูบได้รับความสำคัญน้อยลงเรื่อยๆ ราชรัฐอันดอร์รามีทรัพยากรธรรมชาติไม่มากนัก อาทิ น้ำแร่ ป่าไม้ แร่เหล็ก ตะกั่ว และสามารถผลิตไฟฟ้าพลังน้ำได้มากพอเป็นสินค้าออกสำคัญ ในด้านการค้าระหว่างประเทศ ในปี ค.ศ.2001 ราชรัฐอันดอร์ราส่งสินค้าออกมีมูลค่า 58.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 1,161.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ คือ สเปนและฝรั่งเศส สินค้าออกสำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ และเฟอร์นิเจอร์ ส่วนสินค้าเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องอุปโภคบริโภค อาหาร และไฟฟ้า
ราชรัฐอันดอร์ราลงนามในความตกลงทางการค้ากับสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1990 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ.1991 เป็นต้นมา ซึ่งส่งผลให้มีการก่อตั้งสหภาพศุลกากรสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม ทำให้มีการยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าบางรายการ แต่ยังรักษาระบบการค้าสำหรับสินค้าเกษตรกับประเทศที่สามไว้ตามเดิม

ดัชนีทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญ (2550) ได้แก่
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ GDP (PPP) 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2548)
- รายได้ประชาชาติต่อหัว 38,800 ดอลลาร์สหรัฐ (2548)
- การเติบโตทางเศรษฐกิจ 4 % (2547)
- อัตราเงินเฟ้อ 2 % (2548)

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชรัฐอันดอร์รา
ความสัมพันธ์ทางการทูต ราชรัฐอันดอร์ราและไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2543 โดยฝ่ายไทยได้แต่งตั้งให้
เอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำราชรัฐอันดอร์ราอีกตำแหน่งหนึ่ง ในขณะที่ ราชรัฐอันดอร์รา ยังไม่ได้แต่งตั้งผู้ใด

ความสัมพันธ์ทางการค้า

ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างระหว่างไทยกับอันดอร์รายังมีไม่มากนักการค้ารวม
ในปี 2548 มีมูลค่า 376,405 ดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยได้ดุลการต้าในปี 2548 เป็นจำนวน 278,625 ดอลลาร์สหรัฐ
การส่งออก ในปี 2548 มีมูลค่าเฉลี่ย 0.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าส่งออก ที่สำคัญของไทย สินค้าอุตสาหกรรม อัญมนี รถยนต์ ของเล่น เฟอร์นิเจอร์
การนำเข้า ในปี 2548 มีมูลค่า 48,890 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากในปี 2547 คือ 161,662 ดอลลาร์สหรัฐ ถึงร้อยละ 70
สินค้านำเข้า ที่สำคัญของไทย ได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด แก้วและผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เครื่องบิน เรือและอุปกรณ์การบิน สิ่งพิมพ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และผลิตภัณฑ์โลหะ เป็นต้น

ปัญหาและอุปสรรคทางการค้า ตลาดราชรัฐอันดอร์ราเป็นตลาดขนาดเล็ก ซึ่งภาครัฐและเอกชนของไทยยังขาดข้อมูลด้านการตลาด

17 ก.ค. 50

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองยุโรป 2 กรมยุโรป โทร. 0 2643 5133 Fax. 0 2643 5132 E-mail : european03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์