ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> คูเวต




แผนที่
รัฐคูเวต
State of Kuwait


 
ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอ่าวอาหรับ ทิศเหนือและทิศตะวันตกติดกับอิรัก ทิศตะวันออก ติดกับอ่าวเปอร์เซีย ทิศใต้ติดกับซาอุดีอาระเบีย

พื้นที่ ประมาณ 17,818 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง Kuwait City

ภูมิอากาศ ภูมิอากาศแบบทะเลทราย ช่วงเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม อากาศร้อนจัด ส่วนช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ อากาศหนาว

ประชากร 2.6 ล้านคน (2549)

เชื้อชาติ คูเวตร้อยละ 45, อาหรับอื่นๆร้อยละ 35, อื่นๆร้อยละ 20

ภาษาราชการ อาหรับ ภาษาอังกฤษใข้กันอย่างแพร่หลาย

ศาสนา อิสลามร้อยละ 95 (ชีอะห์ร้อยละ 30 ซุนหนี่ 65)
คริสเตียนร้อยละ 4.5

วันชาติ (National Day) 25 กุมภาพันธ์

วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-คูเวต 14 มิถุนายน 2506

เวลา ช้ากว่าไทย 4 ชั่วโมง

การเมืองการปกครอง
รูปแบบการเมือง
 ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Hereditary Emirate)
 His Highness Sheikh Sabah Al-Ahmad Al-Jaber Al-Sabah ได้ทรงมีพระราชดำรัสต่อประชาชนชาวคูเวต ในโอกาสขึ้นครองราชย์เป็นเจ้าผู้ครองรัฐคูเวต แสดงความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาประเทศให้มีความทันสมัย โดยประชาชนทุกคนมีความเสมอภาค มีอิสระเสรีภายใต้ระบอบประชาธิปไตย และมีสิทธิเสรีในการแสดงความคิดเห็น

สถาบันการเมือง
- ฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐสภา แบบสภาเดี่ยว
- ฝ่ายบริหาร เจ้าผู้ครองรัฐ (Amir) แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยอาจคัดเลือกจากบุคคลนอกสภาก็ได้

ประมุขของรัฐ (Amir of Kuwait) His Highness Sheikh Sabah Al-Ahmad Al-Jaber Al-Sabah (เชค ซอบะห์ อัลอะห์มัด อัลจาบีร์ อัลซอบะห์) ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าผู้ครองรัฐคูเวต (Amir of the State of Kuwait) องค์ที่ 15 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2549

นายกรัฐมนตรี H.H. Sheikh Nasser Al- Mohammad Al-Ahmad
Al-Jaber Al-Sabah (เชค นัสเซอร์ อัลโมฮัมมัด อัลอะห์มัด อัลจาบีร์ อัลซอบะห์)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ Sheikh Muhammad Sabah Al-Salem Al-Sabah

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
 ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของคูเวตเริ่มต้นจากการสร้างเมืองคูเวตในศตวรรษที่ 18 โดยชนเผ่า Uteiba ซึ่งเร่ร่อนมาจากทางเหนือของกาตาร์ ในระหว่างศตวรรษที่ 19 คูเวตพยายามที่จะขอความช่วยเหลือจากอังกฤษเพื่อให้พ้นจากการยึดครองของพวกเติร์กและกลุ่มต่าง ๆ ที่เรืองอำนาจในคาบสมุทรอาระเบีย ในปี 2442 Sheikh Mubarak Al Sabah ได้ลงนามในข้อตกลงกับอังกฤษว่า ตนและผู้สืบทอดอำนาจจะไม่ยอมให้ดินแดนและต้อนรับผู้แทนของต่างประเทศใด ๆ โดยไม่ได้ความยินยอมจากอังกฤษเสียก่อน ส่วนอังกฤษก็ได้ตกลงที่จะให้เงินช่วยเหลือประจำปีแก่ Sheikh Mubarak และทายาทและให้ความคุ้มครองคูเวต โดยอังกฤษได้ดูแลกิจการด้านการต่างประเทศและความมั่นคงให้กับคูเวต
  ในช่วงต้นปี 2504 อังกฤษได้ถอนสิทธิสภาพนอกอาณาเขตสำหรับตัดสินคดีของชาวต่างชาติในคูเวตออกไป และรัฐบาลคูเวตได้เริ่มการใช้กฎหมายของตนเองซึ่งยกร่างโดยนักกฎหมายชาวอียิปต์ คูเวตได้รับอิสรภาพสมบูรณ์เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2504 ภายหลังการแลกเปลี่ยนหนังสือ (exchange of notes) กับอังกฤษมีการกำหนดเขตแดนระหว่างคูเวตกับซาอุดีอาระเบียในปี 2535 โดยสนธิสัญญา Uqair หลังจากการสู้รบที่เมือง Jahrah สนธิสัญญานี้ยังได้กำหนดเขตเป็นกลางระหว่างคูเวตและซาอุดีอาระเบีย (Kuwaiti – Saudi Arabia Neutral Zone) ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 5,180 ตารางกิโลเมตร ติดกับเขตแดนทางใต้ของคูเวต ในเดือนธันวาคม 2512 คูเวตและซาอุดีอาระเบียได้ลงนามในข้อตกลงแบ่งเขตเป็นกลาง (ปัจจุบันเรียกว่า Divided Zone) และปักปันเส้นเขตแดนระหว่างประเทศใหม่ โดยทั้งสองประเทศได้แบ่งน้ำมันทั้งนอกฝั่งและบนฝั่งในเขต Divided Zone อย่างเท่าเทียมกัน

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
 ภายหลังสิ้นสุดภัยคุกคามจากอิรัก คูเวตได้ดำเนินนโยบาย "การทูตทางเศรษฐกิจ" (Economic Diplomacy) เน้นการใช้ประโยชน์ทางการทูตเพื่อผลทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ชาวคูเวตได้รับผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยงบประมาณทั้งหลายจะนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศและกระตุ้นเศรษฐกิจ ในด้านนโยบายต่างประเทศโดยรวม คูเวตมุ่งกระชับความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะกลุ่มความร่วมมือรัฐอ่าว (GCC) รวมทั้งกลุ่มสันนิบาตอาหรับ (Arab League) เพื่อการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ตลอดจนมุ่งส่งเสริมความร่วมมือกับกลุ่มประเทศมุสลิมในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก นอกจากนี้ ในส่วนของบทบาทในเวทีระหว่างประเทศ คูเวตให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน และการต่อต้านการก่อการร้าย
 เมื่อปี 2546คูเวตเข้าเป็นสมาชิก Asia Cooperation Dialogue (ACD) ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มของไทย ต่อมา H.E. Dr. Mohammad Al-Sabah Al-Salem Al-Sabah รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคูเวต ได้เข้าร่วมประชุม ACD ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2547 ที่เมือง Qingdao ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และการประชุม ACD ระดับรัฐมนตรีครั้งที่4 เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2548 ที่กรุงอิสลามาบัด ประเทศปากีสถาน ขณะนี้ คูเวตยังไม่ได้เป็นประเทศผู้ขับเคลื่อนร่วม (Co-Prime Mover) ในสาขาใด


เศรษฐกิจการค้า

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
.คูเวตเป็นประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีและร่ำรวยจากการส่งออกน้ำมันดิบ ( 2.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน) และก๊าซธรรมชาติ มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งทางด้านการค้า และการลงทุน โดยสำนักงานการลงทุนคูเวต (Kuwait Investment Authority- KIA) ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐ มีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนในต่างประเทศ โดยมีเงินทุนประมาณ 50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีผลกำไรปีละประมาณ 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2546 นิตยสาร Financial Times ได้จัดให้คูเวตเป็นประเทศ ที่น่าลงทุนอันดับหนึ่งในภูมิภาคตะวันออกกลาง เนื่องจากมีความเสี่ยงในการลงทุนต่ำ และมีความ สามารถสูงในการจ่ายหนี้คืน (strong debt repayment ability) ทั้งนี้ ในปี 2548 รัฐบาลคูเวตเริ่มก่อสร้างโครงการระดับ Mega Project ได้แก่ การพัฒนาเกาะ Bubiyan เพื่อให้เป็นท่าเรือสำคัญขนส่งสินค้าไปยังประเทศในภูมิภาค และให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ
.คูเวตใช้นโยบายการค้าเสรี ไม่มีระบบโควต้า หรือมาตรการกีดกันการนำเข้าสินค้า โดยเก็บภาษีนำเข้าสินค้า (across the board) ในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่า CIF (ภายใต้ GCC Customs Union Regime) ทั้งนี้ เนื่องจากโครงสร้างอุตสาหกรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมด้าน ปิโตรเคมี ขณะที่ ภาคการผลิตอื่นๆ มีประมาณร้อยละ 7 ของ GDP ทำให้คูเวตต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค
.แม้ระดับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้เศรษฐกิจคูเวตเติบโตสูงมาก ทำให้รัฐบาล มีรายได้เพิ่มขึ้นและงบประมาณเกินดุล อย่างไรก็ดี คูเวตได้จัดเตรียมแผนเพื่อรองรับกับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่อาจมีการผันผวน โดยได้เริ่มดำเนินแผนปฏิรูปเศรษฐกิจ (Economic Reform Package) มาตั้งแต่ปี 2542 ซึ่งครอบคลุมการปรับโครงสร้างค่าใช้จ่ายของรัฐ การลดรายจ่ายด้านสวัสดิการสังคม การแปรรูปวิสาหกิจ และการผลักดันให้บรรจุคนคูเวตเข้าทำงานแทนคนต่างชาติ (Kuwaitization) ส่งเสริมการค้าและการลงทุน โดยออกกฎหมายและกฎระเบียบด้านการลงทุน อาทิ กฎหมายการครอบครองหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ การปรับปรุงกฎระเบียบการค้า และการอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่นักลงทุนต่างประเทศ เป็นต้น

อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 8.3 (2548)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 74.74 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2548)

รายได้ประชาชาติต่อหัว 29,880 ดอลลาร์สหรัฐ (2548)

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ น้ำมัน ปลา กุ้ง ก๊าซธรรมชาติ

อุตสาหกรรมสำคัญ ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี การผลิตอาหาร ผลิตวัสดุก่อสร้าง

ปริมาณน้ำมันสำรอง 96.5 พันล้านดอลลาร์บาร์เรล (2548)

ความสามารถในการผลิตน้ำมัน 2.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ปริมาณก๊าซสำรอง 55.5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 3.5 (2549)

อัตราผู้ว่างงาน ร้อยละ 3.5 (2547)

สินค้าออกที่สำคัญ น้ำมันและผลิตภัณฑ์จากน้ำมัน ปุ๋ย

สินค้าเข้าที่สำคัญ อาหาร วัสดุก่อสร้าง ยานยนต์และอะไหล่ เครื่องนุ่งห่ม

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
- นำเข้า EU สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ซาอุดิอาระเบีย จีน
- ส่งออก ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา EU จีน - ไทเป สิงคโปร์

สกุลเงิน คูเวตดีนาร์ Kuwait Dinars (KWD)

อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 0.289 KWD (2549)

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัฐคูเวต
ความสัมพันธ์ด้านการเมือง
.ไทยและคูเวตได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2506 ไทยเปิดสอท. ณ คูเวตเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2526 ในอดีตคูเวตได้แต่งตั้งออท. ประจำมาเลเซียเป็นออท.ประจำประเทศไทยอีกตำแหน่งหนึ่ง แต่ต่อมาเมื่อเดือนมกราคม 2540 คูเวตได้แต่งตั้งให้นาย Hamood Yusuf M. Al-Roudhan ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตคูเวตประจำประเทศไทยคนแรก
.โดยทั่วไปไทยและคูเวตมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและไม่มีความขัดแย้งทางการเมือง ที่ผ่านมาคูเวตได้ตระหนักถึงความสัมพันธ์ของไทยที่เคยช่วยเหลือและสนับสนุนคูเวตมาโดยตลอดในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย ขณะที่ไทยก็ได้สนับสนุนข้อมติทุกข้อเกี่ยวกับเรื่องคูเวต – อิรัก และได้ส่งทหารเข้าร่วมในกองกำลังสังเกตการณ์แห่งสหประชาชาติประจำชายแดนอิรัก – คูเวต (United Nations Iraq – Kuwait Observer Mission – UNIKOM) รวมทั้งได้ส่งคณะแพทย์และพยาบาลไปช่วยเหลือคูเวตด้วย

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ

- การค้า การค้าระหว่างไทยและคูเวตในแต่ละปีมีมูลค่าการค้าไม่มากนัก โดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า เนื่องจากสินค้าที่ไทยนำเข้าจากคูเวตส่วนใหญ่เป็นน้ำมันดิบ มูลค่าการค้าของไทยกับคูเวตในปี 2549 มีมูลค่า472 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีมูลค่าการนำเข้า 280.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯมีมูลค่าการส่งออก192 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 88 ดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าที่ไทยส่งออก ได้แก่ 1. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 2. เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ 3. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 4. อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 5. ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ 6. ทองแดงและของทำด้วยทองแดง
7. เสื้อผ้าสำเร็จรูป 8. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 9.กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 10.ผลิตภัณฑ์พลาสติก สินค้าที่ไทยนำเข้าจากคูเวต ได้แก่ 1.น้ำมันดิบ
2.น้ำมันสำเร็จรูป 3. ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ 4. เคมีภัณฑ์ 5. สินแร่โลหะอื่นๆเศษโลหะและผลิตภัณฑ์6.เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
7. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 8.ธุรกรรมพิเศษ 9.ปูนซีเมนต์ 10.ผลิตภัณฑ์กระดาษ
.ฝ่ายคูเวตพร้อมที่จะเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจของไทยทั้งในการส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทยและคูเวต ตลอดจนการใช้คูเวตเป็นฐานในการทำการค้าในภูมิภาค โดยเฉพาะการเข้าไปมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูบูรณะอิรักของภาคเอกชนไทย โดยย้ำถึงความสำคัญของการจัดงานแสดงสินค้าในคูเวต และการส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างภาคเอกชนให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ คูเวตเป็นตลาดการค้าที่มีศักยภาพอันเนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ อาทิ ความต้องการสินค้าอุปโภคและบริโภคจากต่างประเทศ จำนวนชาวคูเวตที่มีกำลังซื้อสูงมีประมาณร้อยละ 37 ของประชากร รวมทั้งมีภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจในอัตราที่สูง และปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ที่เอื้อต่อการเป็นประตูการค้าไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาค
.กลไกทวิภาคีที่สำคัญระหว่างไทย-คูเวต ได้แก่ คณะกรรมาธิการร่วม (JC)ไทย-คูเวต ซึ่งมีการประชุมครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2542 ที่กรุงเทพฯ (การจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมฯ เป็นไปตามความตกลงทางด้านเศรษฐกิจและการค้า ซึ่งได้ลงนามเมื่อปี 2530) ทั้งสองฝ่ายได้หารือที่จะขยายความร่วมมือทางด้านการค้า การลงทุน การเงิน การธนาคาร อุตสาหกรรมน้ำมัน ความร่วมมือทางวิชาการ การท่องเที่ยวและความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน สำหรับความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนนั้น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้นำคณะนักธุรกิจไทย จำนวน 15 คน ไปเยือนคูเวตเมื่อเดือนตุลาคม 2543 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าและหาลู่ทางในการร่วมลงทุนระหว่างกัน ขณะที่คณะผู้แทนสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมคูเวตได้พบปะกับภาคเอกชนไทย ในโอกาสที่เข้าร่วมในคณะของเจ้าผู้ครองรัฐคูเวตเสด็จฯ เยือนไทยเพื่อทรงร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติฯ เมื่อเดือน มิถุนายน 2549

- การลงทุน ในด้านการลงทุน ในปี 2533 บ. โอเวอร์ซี เอนเนอร์ยี ซัพพลายของไทย ได้ร่วมทุนกับบริษัทคูเวต ปิโตรเลียมอินเตอร์เนชั่นแนล ก่อตั้งบริษัท คูเวตปิโตรเลียม (ประเทศไทย) ประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมัน Q8 ในประเทศไทย และการผลิตและจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่น Q8 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล เครื่องยนต์เบนซิน และสำหรับรถจักรยานยนต์ ซึ่งในภายหลังบริษัทคูเวตปิโตรเลียมได้ขายกิจการให้กับบริษัทปิโตรนาสของมาเลเซีย ทั้งนี้ คูเวตเริ่มให้ความสนใจไปลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ที่ผ่านมามีนักธุรกิจคูเวตจำนวนหนึ่งสนใจที่จะสร้างพันธมิตรกับฝ่ายไทย เพื่อทำธุรกิจในคูเวต โดยเฉพาะในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ อาทิ ธุรกิจร้านอาหาร เสริมสวย ความงาม สปา เป็นต้น นอกจากนี้ คูเวตยังมีโครงการพัฒนาหมู่เกาะ Failaka และ Bubiyanจึงมีความต้องการการก่อสร้างบ้านพักอาศัยอีกจำนวนมาก

ด้านสังคมและวัฒนธรรม

- ด้านวิชาการ คูเวตให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยไปศึกษาในระดับมัธยม และปริญญาตรีทุกปี โดยศึกษาในสาขาด้านศาสนา กฎหมายอิสลาม และภาษาอาหรับ ซึ่งปัจจุบันมีนักเรียนไทยอยู่ในคูเวตประมาณ 40 คน

- ด้านการท่องเที่ยว คูเวตเป็นตลาดเล็ก แต่ก็มีศักยภาพสำหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยในปี 2548 มีนักท่องเที่ยวคูเวต จำนวน 29,773 คน และไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวจากตลาดคูเวตมูลค่า 1,454 ล้านบาท และ ททท.ยินดีสนับสนุนการท่องเที่ยวระหว่างไทย-คูเวต

- ด้านแรงงาน ปัจจุบันมีแรงงานไทยอยู่ในคูเวตประมาณ 2,963 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานประเภทกึ่งฝีมือ โดยทำงานในภาคเอกชนในประเภทกิจการรับเหมาะขุดเจาะและประกอบท่อส่งน้ำมัน รับเหมาก่อสร้าง อู่ต่อเรือ อู่ซ่อมรถยนต์ โรงงานเฟอร์นิเจอร์ ร้านเสริมสวย และตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี

ความตกลง
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการบินระหว่างไทย-คูเวต (Air Service Agreement) ลงนามเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2519
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าไทย-คูเวต (Economic and Trade Agreement) ลงนามเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2530 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2533
- ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนไทย-คูเวต (Agreement for the Avoidance of Double Taxation) ลงนามเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2541 และในฉบับแก้ไขเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2546

การเยือนที่สำคัญ
- ฝ่ายไทย
การแลกเปลี่ยนการเยือน
- วันที่ 12-14 สิงหาคม 2526 และวันที่ 16-17 มกราคม 2527 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธุ์) เยือนคูเวต
- วันที่ 1-4 กุมภาพันธ์ 2528 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา) เยือนคูเวต
- วันที่ 30 มิถุนายน –1 กรกฎาคม2530 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเฉลียว วัชรพุกก์) เยือนคูเวต
- วันที่ 21-23 มีนาคม 2532 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายกร ทัพพะรังสี) เยือนคูเวต ตามคำเชิญของ Sheikh Ali Khalifa Al-Sabah รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันคูเวต
- วันที่ 29 ธันวาคม 2533 – 2 มกราคม 2534 ในระหว่างการเยือนซาอุดีอาระเบีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์) ได้เข้าเฝ้าเจ้าผู้ครองรัฐคูเวตที่เมือง Taif ประเทศซาอุดีอาระเบีย (ขณะลี้ภัยสงครามอยู่ในซาอุดีฯ ) เพื่อแสดงการสนับสนุนต่อรัฐบาลคูเวตในการต่อต้านการยึดครองของอิรัก
- วันที่ 6-7 พฤษภาคม 2534 (ภายหลังสิ้นสุดสงครามอ่าวเปอร์เซีย) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ม.ร.ว. เกษมสโมสร เกษมศรี) ได้นำคณะสันถวไมตรีของไทยเยือนคูเวต โดยได้เข้าเฝ้า H.H. Sheikh Saad Al-Sabah มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีคูเวต
- เดือนเมษายน 2536 รองประธานรัฐสภา (นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา) เยือนคูเวต
- วันที่ 22-23 กันยายน 2540 ผู้บัญชาการทหารบก (พล.อ. เชษฐา ฐานะจาโร) ในฐานะประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยเยือนคูเวต
- วันที่ 10-11 มิถุนายน 2541 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ) เดินทางเยือนคูเวต
- วันที่ 17-21 พฤษภาคม 2546 ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธุ์) และคณะ เดินทางเยือนคูเวต และประเทศต่างๆ ในตะวันออกกลาง เพื่อขยายตลาดแรงงานในภูมิภาค
- วันที่ 23-30 เมษายน 2547 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา และคณะภาคเอกชนไทย เดินทางเยือนตะวันออกกลาง รวมทั้งคูเวต เพื่อขยายตลาดอาหารฮาลาลของไทยในตะวันออกกลาง
- วันที่ 15-20 พฤศจิกายน 2548 รองนายกรัฐมนตรี (ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย) เดินทางเยือนคูเวต และกลุ่มประเทศ GCC

- ฝ่ายคูเวต
พระราชวงศ์
- วันที่ 10-12 เมษายน 2538 H.H. Sheikh Saad Al-Abdullah Al-Salem Al-Sabah อดีตเจ้าผู้ครองรัฐคูเวต องค์ที่14 เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมารคูเวต ได้เสด็จฯ เยือนไทย นับเป็นการเยือนระดับสูงครั้งประวัติศาสตร์ในความสัมพันธ์ไทย-คูเวต
- วันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2546 H.H. Sheikh Sabah Al-Ahmad Al-Jaber Al-Sabah เสด็จฯ เยือนจังหวัดภูเก็ตเป็นการส่วนพระองค์ เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 11-14 มิถุนายน 2549 H.H. Sheikh Sabah Al-Ahmad Al-Jaber Al-Sabah เจ้าผู้ครองรัฐคูเวต เสด็จฯ เข้าร่วมพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

รัฐบาล
- วันที่ 23-25กันยายน 2530 รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันคูเวตเยือนไทย
- วันที่ 27-31 กุมภาพันธ์ 2533 Sheikh Ali Khalifa Al-Sabah รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันคูเวตเยือนไทย
- วันที่ 31 สิงหาคม – 4 กันยายน 2533 Dr. Rasheed Al-Ameeri รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันคูเวตเดินทางเยือนไทยในฐานะผู้แทนพิเศษของเจ้าผู้ครองรัฐคูเวตเพื่อขอความสนับสนุนจากไทยต่อรัฐบาลที่ชอบธรรมของคูเวต ในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย และยืนยันการดำเนินการลงทุนต่อไปใน ประเทศไทย
- วันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2533 นาย Yahya Fahad Al-Sumaid รัฐมนตรีกระทรวงการเคหะคูเวต เยือนไทย
- เดือนมีนาคม 2536 Dr. Ahmed Al-Rubei รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการคูเวต ในฐานะผู้แทนพิเศษของเจ้าผู้ครองรัฐเยือนไทยอย่างเป็นทางการ
- วันที่ 5-8 พฤษภาคม 2536 Dr. Ali Ahmad Al-Gaghli รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันคูเวตเยือนไทยในฐานะแขกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- วันที่ 22-25 สิงหาคม 2536 นาย Ghazi Al-Rayes เอกอัครราชทูตคูเวตประจำกรุงปักกิ่ง เยือนไทยในฐานะผู้แทนพิเศษของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคูเวต
- วันที่ 9-11 ธันวาคม 2540 นาย Ahmad Khaled Al-Kulaib รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและกิจการสังคมคูเวตเข้าร่วมประชุมกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกของ (International Labour Organization – ILO) ครั้งที่ 12 ที่กรุงเทพฯ
- วันที่ 29-30 สิงหาคม 2544 นาย Talal Al Ayyar รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และรัฐมนตรีกระทรวงไฟฟ้าและน้ำของคูเวต เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีของ ILO ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
- วันที่ 11 พฤศจิกายน 2548 Sheikh Ahmad Al-Fahad Al-Sabah รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันคูเวต และดำรงตำแหน่งประธาน (Organization of the Petroleum Exporting Countries – OPEC) รวมทั้งประธานสภาโอลิมปิกแห่งเอเชียเดินทางเยือนไทยเพื่อรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- วันที่ 31 กรกฎาคม 2549 Sheikh Mohammed Al-Khaled Al-Sabah ที่ปรึกษาเจ้าผู้ครองรัฐคูเวต ในฐานะทูตพิเศษของนายกรัฐมนตรีคูเวต ได้เดินทางเยือนประเทศไทยและเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีเพื่อแจ้งความประสงค์ขอเสียงสนับสนุนให้แก่ Dr. Kazem Bahbahani ผู้สมัครของคูเวตในตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization - WHO)

ผู้แทนทางการทูต
- ฝ่ายไทย
Royal Thai Embassy
Jabriya, Block No.6,
Street No. 8, Villa No.1
P.O. Box 66647 Bayan 43757 Kuwait
Tel. (96-5) 531-7530-1, 531-4870
Fax. (96-5) 531-7532
E-mail : thaiemkw@kems.net , thaiemk2@kems.net , thaiemk3@kems.net

- ฝ่ายคูเวต
The Embassy of the State of Kuwait
Sathorn Nakhon Tower, 24A Fl.,
100/44 North Sathorn Rd.,
Bangrak, Bangkok 10500
Tel. 0-2636-6600, 0-2636-7461-3
Fax. 0-2636-7360

กุมภาพันธ์ 2550

เรียบเรียงโดย กองตะวันออกกลาง กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5051-52 E-mail : southasian03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์