ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> ไซปรัส




แผนที่
สาธารณรัฐไซปรัส
REPUBLIC OF CYPRUS


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง อยู่ในทวีปยุโรปใต้ เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3
ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ห่างจากทางตอนเหนือของอียิปต์ 240 ไมล์ ห่างจากตะวันตกของซีเรีย 64 ไมล์ ห่างจากทางใต้ของตุรกี 44 ไมล์ และห่างจากเกาะ Rhodes และเกาะ Carpathos ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรีซ 240 ไมล์
พื้นที่ 9,251 ตารางกิโลเมตร แต่อยู่ในการครอบครองของไซปรัสตุรกี 3,355 ตาราง กิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 36 ของพื้นที่ทั้งหมด
เมืองหลวง นิโคเซีย (Nicosia) ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลังจากการยึดครองส่วนเหนือของเกาะไซปรัสในปี 2517
ประชากร 784,301 คน เป็นเชื้อสายไซปรัสกรีกประมาณ 5 แสนคน และไซปรัสตุรกีประมาณ 2 แสนคน โดยอาศัยอยู่ในดินแดนสาธารณรัฐไซปรัส 655,000 คน และอยู่ในดินแดนไซปรัสตอนเหนือ 182,000 คน
ภูมิอากาศ เมดิเตอร์เรเนียน เดือนที่อากาศร้อนและแห้งแล้งที่สุด คือ เดือนกรกฎาคม เดือนที่อากาศเย็นที่สุดและมีฝนตกมากที่สุด คือ เดือนมกราคม
ภาษาราชการ กรีก ตุรกี อังกฤษ
ศาสนา คริสต์นิกายไซปรัสออร์โธด็อกซ์ ร้อยละ 77 มุสลิมนิกายสุหนี่ ร้อยละ 18 นอกจากนี้ ยังมีคริสต์นิกายมาโรไนต์ นิกายโรมันคาทอลิก และนิกายอาร์มาเนียนออร์โธดอกซ์อีกด้วย
หน่วยเงินตรา ปอนด์ไซปรัส (ภาษาอังกฤษ)
อัตราแลกเปลี่ยน 1 ปอนด์ไซปรัส เท่ากับ 75 บาท
(อัตราแลกเปลี่ยนเดือนเมษายน 2550)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 19.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 23,481 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 3.8 (ปี 2549)

ภูมิหลัง
2503 ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร
2517 เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกและชาวไซปรัสเชื้อสายตุรกี โดยชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกมีอำนาจรัฐบาล แต่ได้รับการแทรกแซงจาก
ประเทศตุรกี ทำให้เกิดการแบ่งแยกเป็นไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกี ซึ่งต่อมาไซปรัสตุรกีได้ควบคุมพื้นที่ 36.2% ของเกาะไซปรัส
2526 ไซปรัสตุรกีพยายามสถาปนาตนเองขึ้นเป็นรัฐ เรียกพื้นที่ในการครอบครองว่า “Turkish Republic of Northern Cyprus” (TRNC) แต่ได้รับการรับรอง
จากรัฐบาลตุรกีแต่เพียงฝ่ายเดียว
2545 สหประชาชาติได้ดำเนินความพยายามให้ไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกีเจรจาเพื่อการรวมประเทศ

พื้นที่ 3,572 ตารางไมล์ หรือ 9,251 ตารางกิโลเมตร โดยอยู่ในการครอบครองของไซปรัสตุรกี 3,355 ตารางกิโลเมตร


ภาษาราชการ กรีก ตุรกี อังกฤษ

ศาสนา กรีกออโทดอกซ์ ร้อยละ 77 มุสลิมร้อยละ 18 นอกจากนี้ ยังมี Maronite, Roman Catholic และ Armenian Orthodox

เมืองหลวง นิโคเซีย (Nicosia)

วันชาติ 1 ตุลาคม

การเมืองการปกครอง
ระบบการเมือง สาธารณรัฐ

รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และเป็นหัวหน้ารัฐบาล

อำนาจนิติบัญญัติ ไซปรัสมีรัฐธรรมนูญฉบับปี 2503 เป็นกฏหมายสูงสุด รัฐสภาเป็นแบบสภาเดียว คือสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะจัดให้มีการเลือกตั้งโดยตรงทุก 5 ปี โดยแบ่งออกเป็นสภาผู้แทนราษฎร ของไซปรัสกรีก หรือ Vouli Antiprosopan และสภาผู้แทนราษฎรของไซปรัสตุรกี หรือ Cumhuriyet
Meclisi
สภาฯ ของไซปรัสกรีก มีทั้งหมด 80 ที่นั่ง โดยแบ่งเป็นสมาชิกสภาฯ จาก
ไซปรัสกรีก 56 ที่นั่ง และสมาชิกสภาฯ จากไซปรัสตุรกี 24 ที่นั่ง (ในขณะนี้
มีเพียงตัวแทนจากไซปรัสกรีกในสภา ขณะที่ที่นั่งของฝ่ายไซปรัสตุรกีได้ว่าง
เว้นไว้ เนื่องจากไซปรัสตุรกีไม่ให้การรับรอง จึงไม่มีการจัดส่งสมาชิกมา
เข้าร่วมประชุม แต่ได้มีการจัดตั้งสภาฯ ขึ้นเป็นของตนเอง) การเลือกตั้ง
ครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2544 และครั้งต่อไปกำหนดจะ
มีขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2549
สภาฯ ของไซปรัสตุรกี มีทั้งหมด 50 ที่นั่ง การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้น
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2546 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคฝ่ายค้านของนาย Mehmet Ali Talat ได้รับคะแนนเสียงมากกว่าพรรครัฐบาลของประธานาธิบดี Denktash แต่ต่อมาได้รับการจัดสรรที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเท่ากันพรรคละ 25 ที่นั่ง และนาย Talat ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมีนาย Serdar Denktash เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ
อำนาจตุลาการ ศาลสูงสุด (Supreme Court) ผู้พิพากษาได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี

ประธานาธิบดี (Chief of State and Chief of Government) ไซปรัสมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และอยู่ในวาระคราวละ 5 ปี
ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2546
นาย Tassos PAPADOPOULOS ชนะการเลือกตั้ง และเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2546 โดยเป็นประธานาธิบดีคนที่ 9 นับตั้งแต่ไซปรัสได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อปี 2503 ตำแหน่งรองประธานาธิบดี ซึ่งตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าจะต้องเป็นตัวแทนจากไซปรัสตุรกีได้ว่างเว้นไว้
ในส่วนของไซปรัสตุรกี มี Mr. Rauf R. Denktash เป็นประธานาธิบดี และ Mr. Dervis Eroglu เป็นนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นรัฐบาลของสาธารณรัฐไซปรัสที่ถูกต้อง คือรัฐบาลไซปรัสกรีก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นาง Erato Kozakou-Marcoullis
เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสื่อสารและกิจการ
(Minister of Communications and Works)
นางสาว Maria Malaktou-Pampallis
เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
Mr. Christos Patsalides
เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
Mr. Costas Kadis
เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550

พรรคการเมือง
ไซปรัสกรีก ได้แก่
พรรค Democratic Party (DIKO)
พรรค Democratic Rally (DISY)
พรรค Fighting Democratic Movement (ADIK)
พรรค Green Party of Cyprus
พรรค New Horizons
พรรค Restorative Party of the Working People (AKEL)
พรรค Social Democrats Movement (KISOS)
พรรค United Democrats Movement (EDE)
ไซปรัสตุรกี ได้แก่
พรรค Communal Liberation Party (TKP)
พรรค Democratic Party (DP)
พรรค National Birth Party (UDP)
พรรค National Unity Party (UBP)
พรรค Our Party (BP)
พรรค Patriotic Unity Movement (YBH)
พรรค Republican Turkish Party (TP)

การเลือกตั้งทั่วไป ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดของไซปรัสกรีก เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2546 ผลปรากฏว่า นาย Tassos Papadopoulos หัวหน้าพรรค Democratic Party (DIKO) ซึ่งเดิมเป็นผู้นำฝ่ายค้าน ได้รับคะแนนเสียง
213,353 เสียง หรือเท่ากับร้อยละ 51.5 ของผู้ลงคะแนนเสียง และมีชัยชนะ
เหนือนาย Glafcos Clerides ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไซปรัสมาแล้ว 2 สมัย
โดยในการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้มาลงคะแนนเสียงทั้งหมดประมาณ 476,000 คน
หรือเท่ากับร้อยละ 90.10 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด (รัฐธรรมนูญ
ไซปรัสกำหนดให้เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องไปลงคะแนนเสียง)

แผนสันติภาพไซปรัสของสหประชาชาติ
- นาย Kofi Annan เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ดำเนินความพยายามอย่างหนักใน
การผลักดันให้ไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกีเจรจาเพื่อการรวมประเทศ ในช่วงปี 2545-2546 โดยได้จัดให้มีการพบปะระหว่างผู้นำชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกและเชื้อสายตุรกีเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2546 ณ กรุงเฮก แต่การเจรจาดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ
- ความพยายามครั้งล่าสุดของนาย Kofi Annan มีขึ้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2547
โดยแบ่งการเจรจาออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ การเจรจาระหว่างผู้นำไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกี ที่กรุงนิโคเซีย เมืองหลวงของไซปรัสระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ – 22 มีนาคม 2547 หากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ กรีซและตุรกีจะเข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาจนถึงวันที่ 29 มีนาคม 2547 และเลขาธิการสหประชาชาติจะเข้ามาแก้ไขประเด็นที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ต่อไป ก่อนจะมีการลงประชามติแยกสำหรับชาวไซปรัสกรีกและชาวไซปรัสตุรกีในวันที่ 24 เมษายน 2547
- ในวันที่ 21 เมษายน 2547 สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรด้วยการผลักดันของ
นาย Kofi Annan เลขาธิการสหประชาชาติ ได้เสนอให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติลงมติเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการของสหประชาชาติในไซปรัสและการห้ามขายอาวุธให้แก่ไซปรัส แต่รัสเซียได้ใช้สิทธิยับยั้งร่างข้อมติดังกล่าวเนื่องจากเห็นว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติควรจะพิจารณาเรื่องนี้หลังจากที่ได้รับทราบผลการลงประชามติอย่างอิสระโดยมิได้ถูกแทรกแซง หรือกดดันจากภายนอกของชาวไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกีต่อแผนสันติภาพไซปรัสตามข้อเสนอของสหประชาชาติ (Reunification Plan) ในวันเสาร์ที่ 24 เมษายน 2547
- เมื่อวันเสาร์ที่ 24 เมษายน 2547 ชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกและชาวไซปรัสเชื้อสาย
ตุรกี ได้มีการลงประชามติว่าจะยอมรับแผนสันติภาพไซปรัสตามข้อเสนอของเลขาธิการสหประชาชาติหรือไม่ ผลปรากฏว่าชาวไซปรัสกรีกปฏิเสธแผนสันติภาพฯ ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 75.8 และชาวไซปรัสตุรกียอมรับแผนสันติภาพฯ ร้อยละ 64.9 เป็นผลให้แผนสันติภาพฯ ล้มเหลว เกาะไซปรัสยังคงแบ่งแยกออกเป็นสองส่วนเช่นเดิมและมีเพียงไซปรัสกรีกเท่านั้นที่สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 โดยไม่ครอบคลุมถึงไซปรัสตุรกี

การเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป
ไซปรัสได้ลงนามความตกลงเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 16 เมษายน
2546 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ในช่วงที่ประเทศกรีซดำรงตำแหน่งประธานสหภาพยุโรป และไซปรัสได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1พฤษภาคม 2547 โดยรัฐบาลไซปรัสได้เน้นย้ำถึงการแก้ไขปัญหาการแบ่งแยกระหว่างไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกี และรัฐบาลไซปรัสจะทบทวนนโยบายและกำหนดมาตรการต่อชาวไซปรัสตุรกีให้ได้รับสิทธิประโยชน์จากการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของไซปรัส อาทิ มาตรการด้านการเคลื่อนย้ายสัญจร โอกาสในการรับจ้างงาน โอกาสด้านมนุษยธรรม และวัฒนธรรมต่างๆ เป็นต้น

คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ของไซปรัส ตั้งแต่การปรับครม.เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 49 มีดังนี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม - นาย Phivos Klokkakis
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม - นาย Fotis Fotiou
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม - นาย Sophocles Sophocleous
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง - นาย Michalis Sarris
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว - นาย Antonis Michaelides
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและประกันสังคม - นาย Antonis Vassiliou
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรม - นาย Pefkios Georgiades

เศรษฐกิจการค้า
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 17.04 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

รายได้เฉลี่ยต่อหัว 20,500 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)

อัตราการเติบโตของ GDP ร้อยละ 4 (2549)

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 2 (2549)
ปริมาณการส่งออก 1.054 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ปริมาณการนำเข้า 4.637 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าส่งออก เภสัชกรรม ซีเมนต์ เสื้อผ้า ยาสูบ

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญในการส่งออก อังกฤษ 24.4% ฝรั่งเศส (11%) เยอรมนี (7.2%) กรีซ (6.4%)

สินค้านำเข้า สินค้าอุปโภคบริโภค ปิโครเลียม เครื่องจักร

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญในการนำเข้า รัสเซีย (36.3%) กรีซ (6.5%) อังกฤษ (5.3%) เยอรมนี (5.2%) อิตาลี (5.1%) ฝรั่งเศส (4.8%)

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ทองแดง ไพไรท์ (ธาตุใช้ในการผลิตกรดซัลฟูริค) เส้นใย ไฟเบอร์ธรรมชาติ (ใช้กันไฟ) ยิบซั่ม ไม้ เกลือ หินอ่อน

อุตสาหกรรมหลัก อุตสาหกรรมเกี่ยวกับแร่และซิเมนต์ การก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์รองเท้า อาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐไซปรัส
ระบอบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นาย Tassos Papadopoulos เข้ารับตำแหน่ง เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546

นโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน

๑. การเมืองการปกครอง
๑.๑ ไซปรัสมีรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๐๓ เป็นกฏหมายสูงสุด รัฐสภาเป็นแบบสภาเดียว คือสภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกสภาทั้งหมด ๕๙ คน โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนจากฝ่ายไซปรัสกรีกจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน (Proportional Representation) ๕๖ คน และตัวแทนจากกลุ่มศาสนาคริสต์นิกายมาโรไนต์ ๑ คน นิกายโรมันคาทอลิก ๑ คน และตัวแทนชนชาติอาร์เมเนียน ๑ คน ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นาย Tassos Papadopoulos เป็นหนึ่งในสี่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐไซปรัส เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ประธานาธิบดีไซปรัสมีวาระ ๕ ปี มีสถานะเป็นประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนคณะรัฐมนตรีร่วมกับรองประธานาธิบดี ซึ่งรองประธานาธิบดีจะต้องมาจากฝ่ายไซปรัสตุรกีตามรัฐธรรมนูญ แต่ในขณะนี้ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากสภาผู้แทนราษฎร
๑.๒ รัฐบาลชุดปัจจุบันเป็นรัฐบาลผสม ระหว่างพรรค Progressive Party of Working People ซึ่งมี ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร ๑๘ ที่นั่ง พรรค Democratic Rally (๑๘ ที่นั่ง) พรรค Democratic Party (๑๑ ที่นั่ง) พรรค Movement for Social Democracy (EDEK) (๕ ที่นั่ง) พรรค European Party (๓ ที่นั่ง) และพรรค Ecological and Environmental Movement (๑ ที่นั่ง)
๑.๓ สาธารณรัฐไซปรัส ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี ๒๕๐๓ แต่เกิดความรุนแรงระหว่างชาวไซปรัสกรีกและชาวไซปรัสตุรกี สหประชาชาติได้ส่งกำลังทหารรักษาสันติภาพไปยังไซปรัสในปี ๒๕๐๗ อย่างไรก็ตาม ในปี ๒๕๑๗ หลังจากฝ่ายกรีกได้ทำรัฐประหารรัฐบาลไซปรัส ตุรกีได้ถือโอกาสดังกล่าวเข้ายึดครองส่วนเหนือของเกาะไซปรัส ทำให้ชาวไซปรัสกรีกที่อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ไร้ที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก และมีการตั้งระบอบการปกครองตนเองในดินแดนที่ตุรกียึดครอง โดยเรียกตนเองว่า สาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ (Turkish Republic of Northern Cyprus หรือ TRNC) โดยมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไซปรัสตุรกี และระบอบการปกครองดังกล่าวมีเพียงตุรกีให้การรับรองเพียงประเทศเดียว
๑.๔ ขณะนี้เกาะไซปรัสถูกแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน คือ ๑.) สาธารณรัฐไซปรัส ๒.) Turkish Republic of Northern Cyprus ๓.) Green Line เส้นแบ่งแยกดินแดนที่สหประชาชาติดูแลอยู่ และ ๔.) ฐานทัพ ๒ แห่งซึ่งยังอยู่ในความดูแลของสหราชอาณาจักร โดยเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗ สาธารณรัฐไซปรัสได้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ซึ่งไม่ได้รวมดินแดนตอนเหนือที่ตุรกียึดครองอยู่ในขณะนี้
๑.๕ สหประชาชาติได้พยายามแก้ไขปัญหาเกาะไซปรัสโดยยึดหลักพื้นฐานของแผนสันติภาพเพื่อการรวมไซปรัส (Annan Plan) คือ การมีไซปรัสที่รวมเป็นหนึ่งเดียว (United Cyprus) บริหารโดยรัฐบาลเดียว (Federal Government) และแบ่งเป็น ๒ รัฐ คือ Greek Cyprus State และ Turkish Cyprus State โดยทั้งสองรัฐมีสถานะเท่าเทียมกัน และมีอำนาจบริหารภายใต้อาณาเขตของตนเอง
๑.๖ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๔๗ ได้มีการลงประชามติของชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกและชาวไซปรัสเชื้อสายตุรกีเกี่ยวกับการยอมรับแผนสันติภาพไซปรัสตามข้อเสนอของเลขาธิการสหประชาชาติหรือไม่ ซึ่งผลปรากฏว่า ชาวไซปรัสตุรกียอมรับแผนสันติภาพฯ ร้อยละ ๖๔.๙ ในขณะที่ชาวไซปรัสกรีกปฏิเสธแผนสันติภาพฯ ร้อยละ ๗๕.๘ อันเป็นผลให้แผนสันติภาพดังกล่าวล้มเหลว และเกาะไซปรัสยังคงแบ่งแยกเป็น ๒ ส่วนเช่นเดิม
๑.๗ นอกจากนี้ กรีซยังได้เสนอแผนการรวมเกาะไซปรัสโดยใช้กรอบกฎเกณฑ์ของสหภาพยุโรป ซึ่งได้แก่ การยินยอมให้ฝ่ายไซปรัสกรีกสามารถใช้ท่าเรือและท่าอากาศยานของฝ่ายไซปรัสตุรกี การให้ผู้ลี้ภัยชาวไซปรัสกรีกกลับไปมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและทรัพย์สินที่ถูกยึดครองตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ การที่ตุรกีจะต้องรับรองสาธารณรัฐไซปรัส และการถอนทหารตุรกี

๒. เศรษฐกิจและสังคม
๒.๑ ไซปรัสมีระบบเศรษฐกิจที่เปิดเสรีโดยมีภาคบริการเป็นหลักและอุตสาหกรรมเบารองลงมา ชาวไซปรัสเป็นผู้ที่นับว่ามีฐานะดีที่สุดในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ประชากรไซปรัสมีการศึกษาสูงและพูดภาษาอังกฤษได้ดี และมีความเป็นอยู่ที่ดีโดยมีค่าครองชีพไม่สูงนัก มีระบบสื่อสารและคมนาคมที่ทันสมัย
๒.๒ ระบบเศรษฐกิจของไซปรัสถูกกำหนดโดยการแบ่งแยกดินแดนเหนือ-ใต้ โดยเศรษฐกิจในส่วนของสาธารณรัฐไซปรัสมีความเจริญรุ่งเรืองและหลากหลาย เป็นฐานการลงทุนของแหล่งธุรกิจ Offshore เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานที่มีความก้าวหน้า
๒.๓ เศรษฐกิจของไซปรัสเหนือที่ถูกตุรกียึดครองเน้นด้านบริการเป็นหลัก ซึ่งรวมถึงภาครัฐ การค้า การท่องเที่ยว และการศึกษา โดยมีภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเบา อย่างไรก็ตาม ดินแดนส่วนนี้มีความล้าหลังทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากเนื่องจากไม่ได้รับการรับรองและไม่มีความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจกับประชาคมโลก ยกเว้นตุรกีเพียงประเทศเดียว โดยได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลไซปรัสตุรกีในการดำเนินโครงการต่างๆ
๒.๔ เศรษฐกิจของสาธารณรัฐไซปรัสมีศักยภาพในการเจริญเติบโตอย่างมากในฐานะสมาชิกสหภาพยุโรป และมีศักยภาพในการดึงดูดการลงทุนและอาจกลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจของภูมิภาคในที่สุด นอกจากนี้ไซปรัสยังได้รับเงินช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปเพิ่มอีกด้วย
๒.๕ ไซปรัสมีเรือจดทะเบียนมากเป็นลำดับ ๔ ของโลก ถึง ๒,๗๕๘ ลำ คิดเป็นจำนวน ๒๕.๕ ล้าน Gross Registered Tons (GRTs)
๒.๗ เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการค้นพบน้ำมันในบริเวณทางทะเลตอนใต้ของเกาะไซปรัส ระหว่างไซปรัส และอียิปต์ และไซปรัสกำลังเจรจากับอียิปต์ในเรื่องการนำทรัพยากรดังกล่าวมาใช้


๓.นโยบายต่างประเทศ
นโยบายการต่างประเทศที่สำคัญของไซปรัสนับตั้งแต่ตุรกีส่งกำลังทหารเข้ายึดครองดินแดนส่วนเหนือของไซปรัสได้แก่ การขอความสนับสนุนจากประชาคมโลกในการประณามพฤติกรรมดังกล่าวของตุรกีและการไม่รับรองสาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ (Turkish Republic of Northern Cyprus – TRNC) ซึ่งตุรกีจัดตั้งขึ้น รวมทั้งการสร้างแรงกดดันจากประชาคมโลกให้ตุรกีถอนทหารออกจากไซปรัสตอนเหนือ ซึ่งที่ผ่านมาไซปรัสได้รับการสนับสนุนจากประชาคมโลก โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีข้อมติเรียกร้องให้ตุรกีถอนทหารออกจากดินแดนดังกล่าวและไม่มีประเทศใดนอกจากตุรกีให้การรับรอง TRNC นอกจากนี้ สืบเนื่องจากการรุกรานของตุรกีและความใกล้ชิดกับประเทศกรีซทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม นโยบายการต่างประเทศของไซปรัสจึงมีความใกล้ชิดกับประเทศกรีซมากเป็นพิเศษ

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

๑. ความสัมพันธ์ทั่วไป
๑.๑ การทูต
ไทยและสาธารณรัฐไซปรัสมีความสัมพันธ์ค่อนข้างน้อย และสำหรับท่าทีของไทยต่อปัญหาไซปรัส คือ ไทยไม่ให้การรับรองสาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ หรือ Turkish Republic or Northern Cyprus (TRNC) โดยตุรกีเป็นประเทศเดียวที่รับรอง TRNC ทั้งนี้ ไทยยึดถือและปฏิบัติตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) และการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (UNGA) ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาไซปรัส ซึ่งไม่รับรองดินแดนส่วนเหนือที่ตุรกีส่งกองกำลังเข้าไปยึดครองตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ และไทยสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติในการดำเนินความพยายามเพื่อให้มีการเจรจาแก้ไขปัญหาระหว่างชุมชนไซปรัสทั้งสองกลุ่มและประเทศที่เกี่ยวข้องต่อไป
ไทยและสาธารณรัฐไซปรัสได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๒๓ ในปัจจุบัน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม มีเขตอาณาดูแลไซปรัส เอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐไซปรัส โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงโรม คือ นายวรพจน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๗ และเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทยคนปัจจุบัน คือ นาย Andreas Zenonos โดยมีถิ่นพำนักอยู่ที่ประเทศอินเดีย และดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๙
๑.๒ การเมือง
ไทยกับสาธารณรัฐไซปรัสมีความสัมพันธ์ทางการเมืองค่อนข้างน้อย ภายหลังเหตุการณ์ปฏิรูปการปกครองในไทยเมื่อ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ กระทรวงการต่างประเทศไซปรัสมิได้มีประกาศเตือน หรือมีท่าทีที่คัดค้านไทยในเวทีระหว่างประเทศเป็นการเฉพาะ นอกจากร่วมกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประณามเหตุการณ์ดังกล่าวของไทย อย่างไรก็ตาม สื่อมวลชนไซปรัสมิได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับประเทศไทยมากนัก



๑.๓ เศรษฐกิจ
๑.๓.๑ การค้า
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับไซปรัสยังมีอยู่น้อยเช่นกัน สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการค้าของไซปรัสผูกติดกับประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ เป็นต้นมา ปริมาณการค้ารวมไทยระหว่างไทยกับไซปรัสมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยที่ไซปรัสเป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีและมั่นคง ไทยจึงได้จัดให้ไซปรัสเป็นกลุ่มตลาดใหม่ที่มีศักยภาพที่ฝ่ายไทยจะดำเนินการผลักดันเพื่อเพิ่มสัดส่วนการส่งออก
มูลค่าการค้าทวิภาคีระหว่างไทยกับไซปรัสในปี ๒๕๔๙ มีมูลค่า ๔๓.๓ ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยลดลงร้อยละ ๑๒ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๔๘ ไทยส่งออก ๓๙.๔ ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า ๓.๙ ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ รถยนต์ อาหารทะเล เครื่องปรับอากาศ อัญมณีและเครื่องประดับ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ปลาหมึกสดแช่เย็น กุ้งสดแช่เย็น ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์พลาสติก ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญจากไซปรัส ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะ เครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ สบู่ ผงซักฟอก เครื่องสำอาง
๑.๓.๒ การลงทุน
การลงทุนของไซปรัสในไทยในปี ๒๕๔๙ มีเพียงโครงการเดียว มูลค่า ๑๐ ล้านบาท ลดลงจากปี ๒๕๔๘ ร้อยละ ๙๘
๑.๓.๓ การท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวไซปรัสมาไทยประมาณปีละ ๒,๓๐๐ คน
๑.๓.๔ การบิน
แม้ไทยกับไซปรัสมีความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศ ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๓๗ แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการเปิดเส้นทางการบินโดยตรงระหว่างกัน
๑.๔ สังคมและวัฒนธรรม
ในด้านสังคม สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำไซปรัสประเมินว่ามีคนไทยอยู่ในไซปรัสประมาณ ๓๐๐ คน โดยในจำนวนนี้ มีถิ่นพำนักอยู่ในกรุงนิโคเซียประมาณ ๑๐๐ คน ส่วนใหญ่เป็นสตรีที่แต่งงานกับคนไซปรัส ส่วนในด้านวัฒนธรรมนั้น ขณะนี้ไทยและไซปรัสยังไม่มีโครงการการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างกัน
๑.๕ แนวโน้มความสัมพันธ์
หากไซปรัสสามารถแก้ไขปัญหาทางการเมืองได้ในอนาคตแล้ว ก็น่าจะทำให้ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างไทยกับไซปรัสจะกระชับและขยายไปในด้านอื่นๆ มากขึ้น

๒. ความตกลงที่สำคัญกับประเทศไทย
ความตกลงที่ได้มีการลงนามแล้ว
๒.๑ ความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศ (ลงนามเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๓๗)
๒.๒ ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีที่เก็บจากเงินได้ (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๑ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๓)
ความตกลงที่อยู่ระหว่างการพิจารณาจัดทำ
๒.๓ ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางทะเล
๒.๔ ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการ
๒.๕ ข้อตกลงว่าด้วยการหารือและความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ

๓. การเยือนที่สำคัญ
๓.๑ ฝ่ายไทย
- วันที่ ๒๕ – ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๗ นายวรพจน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เอกอัครราชทูตไทยประจำไซปรัส โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงโรม เยือนไซปรัสเพื่อยื่นพระราชสาส์นต่อประธานาธิบดี Tassos Papadopoulos

๓.๒ ฝ่ายไซปรัส
- วันที่ ๒๕ - ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๑๗ พระสังฆราชมาการิออส อดีตประธานาธิบดีไซปรัส เยือนไทยในฐานะแขกของรัฐบาล
- วันที่ ๑ - ๓ กรกฎาคม ๒๕๒๗ ประธานาธิบดี Spyros Kyprianou แห่งสาธารณรัฐไซปรัส พร้อมด้วยนาย George Iacovou รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนไทย
- วันที่ ๑๘ – ๒๐ มีนาคม ๒๕๓๓ นาย Andreas Jacovides ปลัดกระทรวงการต่างประเทศไซปรัสเยือนไทยในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๓๔ นาย Tassos Panayides ปลัดกระทรวงการต่างประเทศไซปรัสเแวะผ่านไทย
- วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๖ นาย Andreas G. Skarparis เอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี เยือนไทย ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย โดยมีถิ่นพำนักอยู่ที่ประเทศอินเดีย


หน่วยงานของไทยในไซปรัส
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโรม มีเขตอาณาดูแลไซปรัส
Royal Thai Embassy
Via Nomentana 132t 00162, Rome, Republic of Italy
Tel. (3906) 8620-4381,8620-4382
Fax (3906) 8620-8399
E-mail : thai.em.rome@pn.itnet.it

เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโรม (Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary)
นายวรพจน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
(H.E. Mr. Vara-poj Snidvongs) ดูแลคนไทยในไซปรัส

สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำสาธารณรัฐไซปรัส (Royal Thai Consulate)
Royal Thai Consulate
40 Evagoras Ave,
1st Floor Flat 3, 1097, Nicosia, Cyprus
Tel (357) 2267-4900
Fax (357) 2267-5544
เวลาทำการ จันทร์ถึงศุกร์ 08.00-13.00 น. และ 15.00 - 17.00 น.

กงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำประเทศไซปรัส (Honorary Consul)
Mr. Elias Panayides รับตำแหน่งกงสุลตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2535
รองกงสุลคือนาย Chrysanthos Panayides เข้ารับตำแหน่งรองกงสุลตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2540


หน่วยงานของไซปรัสในไทย
สถานเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี
The Embassy of the Republic of Cyprus
106 Jor Bagh New Delhi – 110003 India
Tel. 91-11-4697503, 4697508
Fax 91-11-4628828
Email: cyprus@del3.vsl.net.in

เอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี
(Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary)
นาย Andreas Zenonos โดยมีถิ่นพำนักอยู่ที่ประเทศอินเดีย และดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๙


สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไซปรัสประจำประเทศไทย (Cyprus)
The Consulate of the Republic of Cyprus
75/59 Richmond Building 17th Floor, Sukhumvit 26 Klongtoey, Prakhanong
Tel. 0-2661-2319-22
Fax 0-2261-8410

กงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consul)
นายจิรายุทธ์ วสุรัตน์
(Mr. Chirayudh Vasuratana)

สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลของไซปรัสในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา

สถานเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำกรุงวอชิงตัน ดีซี

11 ธ.ค. 50









เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองยุโรป 2 กรมยุโรป โทร. 0 2643 5134 Fax. 0 2643 5132 E-mail : european03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์