ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> อัฟกานิสถาน




แผนที่
สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน
Islamic State of Afghanistan


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ ค่อนไปในบริเวณเอเชียกลาง ไม่มีทางออกทะเล ทิศเหนือติดกับทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน และอุซเบกิสถาน ทิศตะวันออกและใต้ติดกับปากีสถาน และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับจีน ทิศตะวันตกติดกับอิหร่าน

พื้นที่ : 647,500 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง : กรุงคาบูล (Kabul)

เมืองสำคัญ : เมืองเฮรัต (Herat) เป็นเมืองศูนย์กลางทางภาคตะวันตกของประเทศ
: เมืองกันดาฮาร์ (Kandahar) เป็นเมืองศูนย์กลางทางตอนใต้ และมีถนนเชื่อมกับเมืองเคว็ตต้า (Quetta) ในปากีสถาน

ภูมิอากาศ : พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา อากาศแห้ง แต่บริเวณหุบเขาบางส่วนในพื้นที่ ติดกับปากีสถานได้รับลมมรสุมจากอินเดีย พัดพาความชื้นมาช่วงฤดูร้อน อุณหภูมิฤดูร้อนในบางพื้นที่สูงถึง 35 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวอากาศเย็น บางแห่งติดลบถึง 21 องศาเซลเซียส

ประชากร: ประมาณ 31.8 ล้านคน (2549)

เชื้อชาติ : พาชตูน (Pashtun) ร้อยละ 42 ทาจิก (Tajiks) ร้อยละ 27 ฮาซารา (Hazara) ร้อยละ 9 อุซเบค (Uzbek) ร้อยละ 9 เติร์กเมน (Turkmen) ร้อยละ 3 บาโลช (Baloch) ร้อยละ 2 อื่นๆ ร้อยละ 4

ภาษา : ภาษาพาชตู (Pashtu) และภาษาดารี (Dari) เป็นภาษาราชการ นอกจากนั้นมีภาษาท้องถิ่นของชนเผ่าต่างๆ ประมาณ 30 ภาษา

ศาสนา :อิสลามร้อยละ 99 (ในจำนวนนี้ ร้อยละ 80 เป็นนิกายสุหนี่ และร้อยละ 19 เป็นนิกายชีอะห์) และอื่นๆ ร้อยละ 1

วันสำคัญ :วันชาติ 19 สิงหาคม (เป็นวันที่ได้รับเอกราช)

การศึกษา :ประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปี ที่อ่านออกเขียนได้เฉลี่ยร้อยละ 36 (แยกเป็นเพศชาย ร้อยละ 51 เพศหญิง ร้อยละ 21)

หน่วยเงินตรา :อัฟกานิ (Afghani)
1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 49 อัฟกานิ (ปี2549)

GDP :8.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549/ ไม่รวมผลผลิตฝิ่น)

รายได้เฉลี่ยต่อหัว :231 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี (ปี 2549)

อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ :ประมาณร้อยละ 13.8 (ปี 2549)

ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ :1,691.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2548)

อัตราเงินเฟ้อ :ร้อยละ 16.3 (ปี 2548)

ดุลการค้า :ขาดดุล 2,515.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2548)

มูลค่าการส่งออก :1,893.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2548)

มูลค่าการนำเข้า :4,408.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2548)

สินค้าส่งออก :ฝิ่น ผลไม้และถั่ว พรมทอมือ ผ้าขนสัตว์ ฝ้าย อัญมณี

สินค้านำเข้า :สินค้าทุน อาหาร สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

ประเทศคู่ค้า :อินเดีย ปากีสถาน สหรัฐฯ เยอรมนี

ตลาดนำเข้า :ปากีสถาน สหรัฐฯ เกาหลีใต้ อินเดีย เยอรมนี เติร์กเมนิสถาน ตุรกี

ระบอบการเมือง :ประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดี

ระบบการปกครอง :สาธารณรัฐ (Republic) แบ่งเป็น 34 จังหวัด

ประมุขของรัฐ :นาย Hamid Karzai ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

คณะรัฐบาล :เข้าบริหารประเทศเมื่อเดือนธันวาคม 2547 มีประธานาธิบดี เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร (Head of Government) และมีการปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนเมษายน 2549
นาย Rangin Dadfar Spanta รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ






การเมืองการปกครอง
ตามรัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถาน กำหนดให้ประธานาธิบดีเป็นประมุขและผู้นำในการบริหารประเทศ มีการกระจายอำนาจการปกครองออกเป็นจังหวัด แบ่งออกเป็น 34 จังหวัด (Province) อย่างไรก็ตาม ในแง่การบริหารจัดการระบบการปกครองภายในประเทศยังไม่ดีนัก เนื่องจากเพิ่งฟื้นตัวจากสงคราม และอำนาจของรัฐบาลกลางยังครอบคลุมไม่ทั่วถึงพื้นที่ห่างไกล
(1) การบริหารรัฐบาลกลาง
ฝ่ายนิติบัญญัติ
มีรัฐสภา (National Assembly) ซึ่งประกอบด้วย 2 สภา ได้แก่ 1) สภาผู้แทนราษฎร (House of People หรือ Wolesi Jirga) ประกอบด้วยสมาชิกไม่เกิน 249 คน ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง ดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี และ 2) สภาอาวุโส (House of Elders หรือ Meshrano Jirga) มีสมาชิก 102 คน ซึ่งแบ่งการสรรหาออกเป็น 3 วิธี ในจำนวนที่เท่าๆ กัน โดยสมาชิก 34 คนได้รับเลือกจากคณะบริหารระดับจังหวัด (Provincial Council) ดำรงตำแหน่งวาระ 4 ปี สมาชิกอีก 34 คน ได้รับเลือกจากคณะบริหารระดับท้องถิ่น (Local District Council) ดำรงตำแหน่งวาระ 3 ปี และสมาชิกอีก 34 คน ได้รับแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี
นอกจากนี้ อาจมีการประชุมใหญ่ของผู้แทนทุกภาคส่วนที่เรียกว่า Loya Jirga ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดจากทั้งสองสภา ร่วมกับคณะกรรมการบริหารระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่นทั้งหมด โดยที่ประชุมใหญ่นี้จะจัดขึ้นเฉพาะกรณีที่ต้องพิจารณาประเด็นระดับชาติเท่านั้น คือ ประเด็นที่เกี่ยวกับเอกราช อธิปไตยของชาติ และเกี่ยวกับดินแดน รวมถึงการฟ้องร้องประธานาธิบดี
ฝ่ายบริหาร
ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีรองประธานาธิบดี 2 คน ซึ่งทั้งหมดดำรงตำแหน่งโดยการรับเลือกตั้งจากประชาชน มีวาระ 5 ปี และประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นาย Hamid Karzai ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญให้อำนาจประธานาธิบดีแต่งตั้งรัฐมนตรีร่วมบริหารประเทศ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา และรัฐมนตรีมีจำนวนทั้งสิ้น 25 คน
ฝ่ายตุลาการ
ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดให้อัฟกานิสถานมีศาลฎีกา (Supreme Court) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Stera Mahkama มีผู้พิพากษาจำนวน 9 คน แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีและต้องให้สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ ดำรงตำแหน่งวาระ 10 ปี รองลงมามีศาลสูง (High Court) และศาลอุทธรณ์ (Appeals Court) ด้วย
(2) การบริหารระดับจังหวัด
แม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดหน่วยงานระดับจังหวัดและท้องถิ่น คือ คณะบริหารระดับจังหวัด (Provincial Council) และคณะบริหารระดับท้องถิ่น (Local District Council) แล้ว แต่ดังที่กล่าวข้างต้นว่า ระบบการบริหารการปกครองของอัฟกานิสถานยังจัดการได้ไม่ดีนัก เนื่องจากเป็นระบบที่วางขึ้นใหม่ และอำนาจของรัฐบาลกลางยังอ่อนแอ ความเชื่อมโยงของการบริหารอำนาจระหว่างท้องถิ่นกับส่วนกลางจึงยังขาดความชัดเจน

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
อัฟกานิสถานเคยมีระบอบการปกครองแบบรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ จนกระทั่งปี 2516 พลโทซาดาร์ ข่าน (Sadar Khan) ได้ปฏิวัติยึดอำนาจ และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐและสถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี แต่ผู้นำอัฟกานิสถานในยุคต่อมาเริ่มมีท่าทีใกล้ชิดสหรัฐฯ ทำให้สหภาพโซเวียตไม่พอใจและส่งกองกำลังเข้ายึดครองอัฟกานิสถานในปี 2522 เพื่อสถาปนาระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมขึ้นแทน
ระหว่างการยึดครองของสหภาพโซเวียต ปี 2522-2532 ได้เกิดขบวนการต่อต้านระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมในนามกลุ่มมูจาฮีดีน ซึ่งได้โค่นล้มรัฐบาลที่เข้าข้างสหภาพ โซเวียตได้สำเร็จในปี 2535 แต่กลับไม่สามารถร่วมกันปกครองประเทศได้ เพราะเกิดความแตกแยกและแย่งชิงอำนาจกัน ในที่สุดกลุ่มนักศึกษาหัวรุนแรงที่ได้รับการศึกษาจากปากีสถานได้รวมตัวกันจัดตั้งกองกำลังทาลิบันขึ้น และมีความเข้มแข็งจนสามารถยึดกรุงคาบูลได้ในปี 2539 ตั้งรัฐบาล ทาลิบันขึ้นปกครองประเทศโดยครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดอยู่จนถึงปี 2544
หลังเหตุการณ์ 9/11 ในปี 2544 สหรัฐฯ ได้ส่งกองกำลังเข้าโจมตีอัฟกานิสถานเพื่อโค่นล้มรัฐบาลทาลิบัน และมุ่งที่จะจับนายโอซามา บินลาเดน (Osama Binladen) ซึ่งสหรัฐฯ สามารถโค่นล้มรัฐบาลทาลิบันได้สำเร็จในปลายปี 2544 และสหรัฐฯ สนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวในอัฟกานิสถาน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการเมืองการปกครองในอัฟกานิสถานมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

นโยบายรัฐบาลปัจจุบัน
ด้านการเมือง
1) เน้นการฟื้นฟูและสร้างเสถียรภาพทางการเมือง
2) สถาปนาระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยตามระบบสากล ซึ่งประสบความสำเร็จขั้นแรกแล้วในการเลือกตั้งประธานาธิบดี
3) นับคะแนนและประกาศผลการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อจัดตั้งรัฐสภา
ด้านการต่างประเทศ
1) คล้อยตามท่าทีและนโยบายต่างประเทศของประเทศตะวันตก ซึ่งนำโดยสหรัฐฯ เพราะจำเป็นต้องพึ่งพาประเทศเหล่านั้น
2) แสวงหาพันธมิตรทางยุทธศาสตร์เพื่อให้ช่วยยกระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้ทำข้อตกลงกับสหรัฐฯ แล้วเป็นประเทศแรก

สถานการณ์ที่สำคัญ
การเมืองภายใน
อัฟกานิสถานจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2547 เพื่อสร้างรัฐบาลที่ชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับ แต่ปรากฏว่ากลุ่มต่างๆ ซึ่งมีอำนาจในเขตของตนได้ส่งผู้สมัครลงแข่งขันกับประธานาธิบดีคาร์ไซด้วย แสดงให้เห็นว่าแม้อัฟกานิสถานจะได้ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งและรัฐบาลชุดใหม่ แต่ยังต้องใช้เวลาในการสร้างความปรองดองในประเทศอีกระยะหนึ่ง ควบคู่กับการปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายต่อไป
ภารกิจสำคัญล่าสุดของรัฐบาล คือ ได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2548 ซึ่งรัฐบาลมีข้อจำกัดด้านงบประมาณและกำลังคน จึงต้องพึ่งพาประเทศที่สามหรือองค์การระหว่างประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งการเลือกตั้งได้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และได้ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2548 ปัจจุบัน อัฟกานิสถานมีรัฐสภาที่ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีสมาชิก 249 คน และสภาอาวุโสจำนวน 102 คน รวมเป็น 351 คน และเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2548 อัฟกานิสถานได้ประชุมรัฐสภาครั้งประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี ภายหลังที่อัฟกานิสถานอยู่ภายใต้การปกครองของอดีตสหภาพโซเวียต กลุ่มมูจาฮีดีนและรัฐบาลทาลิบัน การประชุมครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญที่จะนำอัฟกานิสถานเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม เป็นที่คาดหมายกันว่า รัฐบาลก็ยังคงจะต้องประนีประนอมกับกลุ่มการเมืองและผู้มีอิทธิผลท้องถิ่นต่อไปในการบริหารประเทศ ดังกรณีที่รัฐบาลได้เผชิญมาแล้วภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดี

เสถียรภาพภายในของอัฟกานิสถาน
รัฐบาลไม่สามารถควบคุมดูแลพื้นที่ทั้งหมดของประเทศได้ เพราะมีกลุ่มอิทธิพลท้องถิ่นต่างๆ คานอำนาจอยู่ อีกทั้งการจัดตั้งกองกำลังแห่งชาติไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทำให้อัฟกานิสถานต้องพึ่งพากำลังทหารของชาติตะวันตกเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ พยายามส่งเสริมการขยายอำนาจปกครองของรัฐบาลอัฟกานิสถานให้ครอบคลุมทั้งประเทศ เพื่อจำกัดบทบาทของกลุ่มการเมืองท้องถิ่น และมีแผนจะช่วยจัดตั้งฐานทัพให้อัฟกานิสถาน
เสถียรภาพภายในอัฟกานิสถานยังมีความเกี่ยวโยงอย่างสำคัญกับปัญหาขบวนการผลิตฝิ่นและค้ายาเสพติด เพราะผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการยาเสพติดซึ่งประกอบด้วยนักรบท้องถิ่น ผู้ก่อการร้าย กลุ่มอาชญากร และขบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติ ทำให้ยากต่อการปราบปรามให้เด็ดขาด อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีอัฟกานิสถานเคยระบุว่า สามารถลดการปลูกฝิ่นในพื้นที่ที่อยู่ในความควบคุมของรัฐบาลได้ตามเป้าหมาย และมีความเป็นไปได้ที่ประเทศจะปลอดจากฝิ่นภายใน 5-6 ปี ทั้งนี้ เพราะต้องการลดภาพของความไร้เสถียรภาพของประเทศอันมีผลอย่างมากต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาล


เศรษฐกิจการค้า
นโยบายด้านเศรษฐกิจในปัจจุบัน
1) พัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาแห่งชาติระยะ 5 ปี (National Development Strategy 2005-2010) โดยอาศัยเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศเป็นหลักในการบริหารและพัฒนาประเทศ
2) เริ่มปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีและมาตรการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจในระยะยาว ให้สามารถเพิ่มมูลค่าการค้าและการลงทุน
3) ลดการพึ่งพารายได้จากการปลูกฝิ่นและผลิตยาเสพติด สร้างอาชีพทดแทนแก่ประชาชน พร้อมๆ กับการลดพื้นที่ปลูกฝิ่น

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน
ด้านการทูต
ไทยเคยยุติความสัมพันธ์ทางการทูตกับอัฟกานิสถาน ภายหลังจากที่สหภาพโซเวียต ยึดครองอัฟกานิสถานเมื่อปี 2522 (ค.ศ.1979) ต่อมาภายหลังการโค่นล้มกลุ่มทาลิบันแล้วทั้งสองฝ่ายจึงได้เริ่มรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตโดยลำดับ ปัจจุบันอัฟกานิสถานมอบหมายให้นาย Haron Amin เอกอัครราชทูตอัฟกานิสถานประจำกรุงโตเกียว ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยอีกตำแหน่งหนึ่ง ขณะเดียวกัน ไทยก็ให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัด (ปากีสถาน) มีเขตอาณาครอบคลุมถึงอัฟกานิสถาน ดังนั้น นายสุโข ภิรมย์นาม ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัด จึงดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำอัฟกานิสถานด้วย

ด้านการเมือง
ในระยะแรกภายหลังการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูต ไทยและอัฟกานิสถานดำเนินความสัมพันธ์ผ่านเวทีการเมืองระหว่างประเทศเป็นหลัก เช่น ในการประชุมเพื่อฟื้นฟูอัฟกานิสถานที่กรุงโตเกียว เมื่อเดือนมกราคม 2545 และการประชุม Community of Democracies ครั้งที่ 2 ที่กรุงโซล เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 โดยฝ่ายไทยได้ให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ ที่ไทย มีศักยภาพ อาทิ ด้านการพัฒนาและการเกษตร
ต่อมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 ไทยได้เชิญรัฐมนตรีด้านการฟื้นฟูบูรณะของอัฟกานิสถานเข้าร่วมประชุม “ทางเลือกเพื่อการพัฒนา : เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นโอกาสให้ไทยได้เสนอแนวทางการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่ออัฟกานิสถาน อีกทั้งเป็นการสร้างความคุ้นเคยระหว่างบุคคลในรัฐบาลของทั้งสองฝ่าย อันเป็นผลดีต่อความสัมพันธ์ทางการเมืองในชั้นต้น และจะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นำระดับสูงได้ต่อไป
ด้านเศรษฐกิจ
หลังจากอัฟกานิสถานพ้นจากภาวะสงครามเมื่อปี 2544 ไทยให้ความช่วยเหลือระยะต้นโดยเน้นการบรรเทาทุกข์ตามสภาพปัญหาเฉพาะหน้าในขณะนั้น อาทิ การมอบข้าวสาร การมอบเงินช่วยเหลือ และยังคงต้องดำเนินความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจในรูปแบบความช่วยเหลือ ต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจของอัฟกานิสถาน และเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ระบบเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวของอัฟกานิสถาน ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระยะยาวต่อไป
ด้านการค้า
โดยที่ปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองของอัฟกานิสถานในปัจจุบัน ยังคงเป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม ในปี 2547 มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับอัฟกานิสถานมีไม่มากนัก คือ อยู่ในระดับ 8.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกมูลค่า 8.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 0.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยจึงเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 7.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ สินค้าออกของไทยที่มียอดการส่งออกเพิ่มขึ้นมากในปี 2548 คือ หมวดรถยนต์ อุปกรณ์และชิ้นส่วน ซึ่งเป็นหมวดสินค้าออกอันดับหนึ่งของไทยไปยังอัฟกานิสถานตลอด 2 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ไทยจะเพิ่มความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้ากับอัฟกานิสถานอย่างเป็นรูปธรรมได้มากขึ้นในอนาคต

ด้านความช่วยเหลือทางวิชาการ
ฝ่ายไทยโดยสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (Thailand International Development Cooperation Agency - TICA) หรือกรมวิเทศสหการในอดีต ได้จัดสรรทุนฝึกอบรมให้แก่ชาวอัฟกานิสถานอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2546 ในสาขาเกี่ยวกับกฎหมายยาเสพติด การส่งเสริมการค้า การศึกษา ปัญหาความยากจน เป็นต้น ส่วนในปี 2548 TICA ได้จัดสรรทุนสำหรับหลักสูตรการฝึกอบรมนานาชาติแก่อัฟกานิสถานรวม 7 หลักสูตร

การฟื้นฟูบูรณะอัฟกานิสถาน
ไทยมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูอัฟกานิสถาน โดยได้ส่งกองร้อยทหารช่างเฉพาะกิจ จำนวน 1 กองร้อยไปปฏิบัติภารกิจด้านมนุษยธรรม และซ่อมแซมสนามบินบากรัม (Bagram) ตั้งแต่เดือนเมษายน – กันยายน 2546 เป็นระยะเวลา 6 เดือน
นอกจากนั้น มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้เชิญบุคคลระดับรัฐมนตรีของอัฟกานิสถานมาเยี่ยมชมโครงการพัฒนาดอยตุง พร้อมทั้งเชิญคณะเจ้าหน้าที่อัฟกานิสถานมาศึกษาดูงานและรับการฝึกอบการปลูกพืชทดแทนฝิ่นแล้ว 3 คณะ โดยจัดขึ้นทุกปีนับตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งฝ่ายอัฟกานิสถานให้ความสนใจเรื่องนี้อย่างมากและต้องการเรียนรู้ประสบการณ์จากไทย กิจกรรมเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศต่อไป ในปัจจุบัน มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ร่วมกับรัฐบาลอัฟกานิสถานดำเนินโครงการด้านการปลูกพืชทดแทนและสร้างอาชีพในอัฟกานิสถาน


ความตกลงที่สำคัญกับประเทศไทย
ยังไม่มีการลงนามความตกลงใดๆ ระหว่างกัน




ปรับปรุงเมื่อสิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองเอเชียใต้ กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5043



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์