ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> บัลแกเรีย




แผนที่
สาธารณรัฐบัลแกเรีย
Republic of Bulgaria


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ทางทิศตะวันออกของคาบสมุทรบอลข่าน ทิศเหนือติดกับโรมาเนียทิศตะวันออกติดกับทะเลดำ ตะวันตกติดกับเซอร์เบียและมอนเตเนโก และมาซิโดเนีย ทิศใต้ติดกับกรีซและตุรกี

พื้นที่ 110,910 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง กรุงโซเฟีย (Sofia)

ประชากร 7.9 ล้านคน ประกอบด้วยชาวบัลแกเรียน ร้อยละ 83.9 ชาวเติร์ก ร้อยละ 9.4 และอื่นๆ (มาซิโดเนียน อาร์มีเนียน ตาตาร์)

ภูมิอากาศ ในตอนบนของประเทศเป็นแบบภาคพื้นสมุทร ในตอนล่างของประเทศเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั้งปี10.5 องศาเซลเซียส

ภาษาราชการ บัลแกเรียน ซึ่งเป็นภาษาตระกูลสลาฟ

ศาสนา บัลแกเรียนออร์โธดอกซ์ (Bulgarian Orthodox)
ร้อยละ 82.6 มุสลิม ร้อยละ 12.2

หน่วยเงินตรา เลฟ (Lev) โดย 1 เลฟ เท่ากับประมาณ 22.93 บาท (วันที่ 17 สิงหาคม 2550)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 27.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)

รายได้ประชาขาติต่อหัว 3,683 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.5 (ปี 2549)

ระบอบการปกครอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขซึ่งมาจากการเลือกตั้ง ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี ปัจจุบัน คือ นาย Georgi Parvanov และนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล ปัจจุบันคือ นาย Sergei Stanishev





การเมืองการปกครอง
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
บัลแกเรียก่อตั้งเป็นรัฐขึ้นเมื่อปี 1224 จากการรวมตัวของชนชาติสลาฟและชนชาติบัลการ์ (ชนชาติยูเครนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในคาบสมุทรบอลข่าน) ในปี 1561 บัลแกเรียตกอยู่ใต้การปกครองของอาณาจักรไบแซนไทน์ และต่อมา ตกอยู่ภายใต้อาณาจักรออตโตมันเป็นเวลา 5 ศตวรรษ จากปี 1939 จนถึงปี 2421 จึงได้รับการยอมรับในฐานะประเทศเอกราชในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ปกครองโดยราชวงศ์ Sax-Coberge Gotha โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับจักรวรรดิรัสเซีย บัลแกเรียเข้าร่วมในสงครามโลกทั้ง 2 ครั้งกับฝ่ายอักษะ และเมื่อเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง จึงถูกกำหนดโดยฝ่ายสัมพันธมิตรให้สหภาพโซเวียตปกครอง บัลแกเรียจึงมีการปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา

สถานการณ์การเมืองในบัลแกเรีย
ภายหลังการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียต บัลแกเรียได้เปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยเมื่อวันที่ 12 กรกฏาคม 2534 รัฐสภาบัลแกเรียได้รับรองรัฐธรรมนูญของประเทศ บัลแกเรียมีระบบสภาเดียวประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภา 240 คน จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปทุก 4 ปี ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี และอาจอยู่ต่อได้อีกหนึ่งวาระ ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ได้แก่ นาย Georgi Parvanov จากพรรค Bulgarian Socialist Party (BSP) ซี่งดำรงตำแหน่งเป็นวาระที่ 2

บัลแกเรียจัดการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2548 รัฐบาลชุดปัจจุบันประกอบด้วยพรรค BSP พรรค The Simeon II National Movement (SNM) ซึ่งเป็นพรรคของอดีตกษัตริย์ Simeon II และพรรค The Movement for Rights and Freedom (MRF) คิดเป็นคะแนนเสียงทั้งหมด 169 ที่นั่ง นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ได้แก่ นาย Sergei Stanishev จากพรรค BSP ซึ่งครองที่นั่งมากที่สุดในสภา (82 ที่นั่ง)

รัฐบาลชุดปัจจุบันให้ความสำคัญกับการเข้าเป็นสมาชิกภาพสหภาพยุโรป การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและเป็นธรรมยิ่งขึ้น การปฏิรูประบบประกันสังคมให้มีความเป็นธรรมยิ่งขึ้น ลดอาชญากรรมและการฉ้อราษฎร์บังหลวง แก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาระบบการศึกษา อาทิ การให้เงินสนับสนุนโรงเรียนอนุบาล การเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาคการศึกษาและภาคธุรกิจ

รัฐบาลชุดปัจจุบันประสบความสำเร็จในการนำบัลแกเรียเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป หากแต่พรรค BSP ได้รับการวิจารณ์ว่าไม่สามารถรักษาคำมั่นที่จะลดการฉ้อราษฎร์บังหลวงไว้ได้ อีกทั้งการเสื่อมถอยความนิยมของพรรค SNM และมีแนวโน้มว่า สส. ส่วนหนึ่งของพรรค SNM อาจแปรพักตร์ไปเป็นสมาชิกพรรคขวาเกิดใหม่ภายใต้การนำของนายกเทศมนตรีกรุงโซเฟียที่เป็นที่ชื่นชอบของประชาชน ทำให้สื่อต่างประเทศวิเคราะห์ว่า อาจมีการเลือกตั้งภายในสิ้นปี 2550 หรือต้นปี 2551 ทั้งนี้ นับแต่การเปลี่ยนแปลงสู่ระบอบประชาธิปไตย บัลแกเรียได้จัดให้มีการเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง โดยไม่มีรัฐบาลชุดใดได้รับเลือกต่ออีกหนึ่งวาระ

นโยบายต่างประเทศ
นโยบายการต่างประเทศของบัลแกเรียมุ่งเน้นการเป็นสมาชิกภาพสหภาพยุโรป และ
นาโต ของบัลแกเรีย การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นเหตุการณ์สำคัญสุดในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของบัลแกเรีย การเข้าเป็นสมาชิกเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการบูรณาการ ในการที่จะดำรงสมาชิกภาพอย่างสมบูรณ์บัลแกเรียต้องดำเนินการปฏิรูปต่อไป โดยเฉพาะในด้านกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งแก้ไขปัญหาการฉ้อราษฎ์บังหลวงและอาชญากรรม ซึ่งยังคงเป็นความท้าทายของบัลแกเรีย โดยคณะกรรมาธิการยุโรปจะตรวจสอบการดำเนินการปฏิรูปในสาขาเหล่านี้เป็นระยะต่อไปจนกว่าจะพอใจ ในด้านเศรษฐกิจบัลแกเรียมีข้อได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจตรงที่ค่าจ้างแรงงานถูก ประชากรมีการศึกษาสูง บัลแกเรียมีความประสงค์ที่จะดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปได้เพิ่มโอกาสดังกล่าวได้ โดยปัจจุบันมีนักลงทุนจากเยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศสและสหรัฐฯ เข้าไปลงทุนในบัลแกเรียมากขึ้น ปัญหาของบัลแกเรีย คือ มีขีดความสามารถทางการแข่งขันต่ำ ดังนั้น บัลแกเรียจึงต้องเพิ่มสัดส่วนของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง และอุตสาหกรรมเชิงวิทยาศาสตร์ ในขณะเดียวกันต้องคงต้นทุน ค่าจ้าง วัสดุ และพลังงานไว้ในระดับที่ต่ำต่อไป นอกจากนี้ บัลแกเรียให้ความสำคัญกับนโยบายด้านพลังงานของสหภาพยุโรป โดยเฉพาะพลังงานนิวเคลียร์ และมีความต้องการสร้างโรงงานผลิตพลังงานนิวเคลียร์แห่งใหม่ นอกจากนี้ บัลแกเรียต้องการเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายท่อส่งน้ำมันและก๊าซในภูมิภาคบอลข่าน

บัลแกเรียให้ความสำคัญแก่การสร้างเสถียรภาพในคาบสมุทรบอลข่าน ทั้งนี้ บัลแกเรียมองว่า ประเทศของตนเป็น stabilizing force ทางการเมืองในคาบสมุทรบอลข่าน และเป็นประเทศทางผ่านสินค้า (transit) ในภูมิภาค โดยจากกรุงโซเฟีย มีทางรถยนต์เชื่อมกรุงเบลเกรด และกรุงอิสตันบูล และเป็นเส้นทางจากยุโรปเหนือไปกรุงเอเธนส์ ผ่านเมือง Skopje และ Salonica ในกรีซ

สนับสนุนการบูรณาการของทวีปยุโรปในกรอบกว้างที่มีสหรัฐฯ รวมอยู่ด้วย ที่เรียกว่า
Euro-Atlantic Integration บัลแกเรียเข้าร่วมในโครงการ NATO Partnership for Peace โดยสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การนาโต ตั้งแต่ปี 2540 และได้เข้าเป็นสมาชิกนาโตในปี 2547 พร้อมกับ ลัตเวีย ลิทัวเนีย เอสโตเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนียและโรมาเนีย

สนับสนุนการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับรัสเซียและประเทศเอกราชที่แยกตัวออกมาจากสหภาพโซเวียต

บัลแกเรียกับองค์การระหว่างประเทศ

หลังการล่มสลายขององค์การทางเศรษฐกิจ COMECON เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2534 และ Warsaw Pact เมื่อเดือนกรกฎาคม 2534 บัลแกเรียเข้าเป็นสมาชิกองค์กรความร่วมมือของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก ดังนี้
- เป็นสมาชิก Council of Europe ปี 2535
- เป็นสมาชิกกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจกลุ่มประเทศทะเลดำ ปี 2535
- เป็นสมาชิกสมทบ Western European Union ปี 2537
- เป็นสมาชิกสมทบสหภาพยุโรป ปี 2537
- ยื่นใบสมัครเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ปี 2539
- เป็นสมาชิกองค์การค้าโลก (WTO) ปี 2539
- ยื่นใบสมัครเป็นสมาชิกองค์การ NATO ปี 2540
- ลงนามความตกลงเขตการค้าเสรียุโรปกลาง CEFTA ปี 2541 และเป็นสมาชิกอย่างสมบูรณ์ ปี 2542
- เป็นสมาชิกไม่ถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติตั้งแต่เดือนมกราคม 2545

เศรษฐกิจการค้า
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
บัลแกเรียประสบวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2532 ภายหลังที่ COMECON (องค์กรความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก) ล่มสลายลงพร้อมกับการล่มสลายของระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมในยุโรปตะวันออกและสหภาพโซเวียต เศรษฐกิจของบัลแกเรียฟื้นตัวเป็นครั้งแรกภายหลังวิกฤตการณ์ในปี 2537 โดยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.2002 บัลแกเรียได้ทำความตกลง Stand-by Arrangement กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มีระยะเวลา 2 ปี ภายใต้วงเงิน 337 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจนถึงปัจจุบัน บัลแกเรียได้กู้เงินจาก IMF ภายใต้ความตกลงดังกล่าว จำนวน 191 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 คณะกรรมการบริหารของ IMF ได้สิ้นสุดการทบทวนการดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจของบัลแกเรียเป็นครั้งที่ 3 ของปี 2546 และเห็นว่า ดัชนีเศรษฐกิจมีผล เป็นที่น่าพอใจ จึงอนุมัติให้บัลแกเรียมีสิทธิกู้เงินได้อีก จำนวน 37 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การปฏิรูปเศรษฐกิจมหภาคของบัลแกเรียเป็นไปในเชิงบวก และเศรษฐกิจมีแนวโน้มพัฒนาดีขึ้นเป็นลำดับ โดยมีการดำเนินการตามแผนของ IMF และ Currency Board อย่างเคร่งครัด เป็นผลให้อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานลดลงเป็นลำดับ สถานะทางเศรษฐกิจของบัลแกเรียจึงมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นสำหรับนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้ การปฏิรูปเศรษฐกิจในภาคต่าง ๆ มีความก้าวหน้ามาก อาทิ ภาคพลังงาน ภาคการเดินรถไฟ ภาคการบริหารการเก็บภาษี และภาคการแปรรูปธนาคารของรัฐหลายธนาคาร ซึ่งการรักษาความต่อเนื่องของการพัฒนาบรรยากาศทางธุรกิจและการลงทุน จะเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของบัลแกเรียต่อไปในระยะกลาง โดยมีเป้าหมายหลัก เพื่อสร้างความพร้อมให้กับบัลแกเรียในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในปี 2550

นโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดปัจจุบันตั้งเป้าให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราร้อยละ 6-8 ลดอัตราการว่างงานให้ต่ำกว่าร้อยละ 10 ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ลดการผูกขาด เพิ่มการแปรรูปกิจการรัฐบาลให้เป็นเอกชน คงระบบ Currency Board จนกว่าบัลแกเรียจะเข้าเป็นสมาชิก Eurozone ดำเนินการพัฒนาการเศรษฐกิจในแนวเดียวกันกับ European Monetary Union เพิ่มขีดความสามารถในการผลิต และปรับปรุงศักยภาพทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ในด้านนโยบายการคลัง ปรับปรุงการคลังให้มีความโปร่งใส จำกัดการใช้จ่ายภาครัฐอยู่ที่ ร้อยละ 40 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ จำกัดหนี้ภาครัฐให้อยู่ในระดับต่ำ

เศรษฐกิจของบัลแกเรียมีแนวโน้มพัฒนาดีขึ้นเป็นลำดับ โดยระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5.1 ตั้งแต่ปี 2543 อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ และอัตราการว่างงานที่ลดลง ทำให้สถานะทางเศรษฐกิจของบัลแกเรียมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นสำหรับนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้ การปฏิรูปเศรษฐกิจในภาคต่าง ๆ มีความก้าวหน้ามาก อาทิ ภาคพลังงาน ภาคการเดินรถไฟ ภาคการบริหารจัดเก็บภาษี และภาคการแปรรูปธนาคารของรัฐ ส่งผลให้บัลแกเรียดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น จากข้อมูลของธนาคารโลก ระบุว่า บัลแกเรียดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศในปี 2549 สูงที่สุดในประเทศยุโรปตะวันออก อย่างไรก็ดี บัลแกเรียมีปัญหาเรื่องฉ้อราษฎร์บังหลวง กระบวนการยุติธรรมที่อ่อนแอ และขบวนการอาชญากรรมจัดตั้ง ซึ่งรัฐบาลบัลแกเรียจะต้องแก้ไข ตามพันธกรณีที่ให้ไว้กับสหภาพยุโรป


ศักยภาพทางเศรษฐกิจ
บัลแกเรียถือเป็นตลาดส่งออกที่มีลู่ทางที่จะขยายตัวได้อีกมากของไทย และเป็นประเทศที่อยู่ในระหว่างการปฏิรูปและมีลู่ทางที่จะมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจยิ่งขึ้นในอนาคตอันใกล้ รวมทั้งมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญในเวทีการเมืองระหว่างประเทศของยุโรปต่อไป นอกจากนี้ บัลแกเรียยังเป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจทะเลดำ (Black Sea Economic Cooperation) รวมทั้ง บัลแกเรียจะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในปีค.ศ. 2007 บัลแกเรียมีทำเลที่ตั้ง เป็นเมืองท่าในทะเลดำ และมีพื้นที่ติดกับประเทศในคาบสมุทรบอลข่านที่ไม่มีทางออกทะเล อาทิ มาซีโดเนียและมอนเตเนโกร เป็นต้น อีกทั้งมีทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก หากได้รับการพัฒนาและนำมาใช้ให้ได้ประโยชน์ จะเป็นตัวเสริมอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของไทยได้ นอกจากนี้ ยังมีค่าจ้างแรงงานถูก ประชากรมีการศึกษาสูง ปัจจุบันมีนักลงทุนจากเยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศสและสหรัฐฯ เข้าไปลงทุนในบัลแกเรียมากขึ้น

การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป
บัลแกเรียเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปพร้อมกับโรมาเนีย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ทั้งนี้ บัลแกเรียเริ่มการเจรจาเพื่อเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อ 7 ปีก่อน อย่างไรก็ดี คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นว่า ยังมีบางสาขาที่บัลแกเรียจะต้องดำเนินการปฏิรูปต่อไป ได้แก่ การปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม การปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวง อาชญากรรมจัดตั้ง และการปฏิรูประบบภาษี และคณะกรรมาธิการยุโรปจะตรวจสอบการดำเนินการปฏิรูปในสาขาเหล่านี้เป็นระยะต่อไปจนกว่าจะพอใจ

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐบัลแกเรีย
ความสัมพันธ์ทางการทูต
การทูต
ไทยและบัลแกเรียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2517 โดยเดิมได้แต่งตั้งให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบลเกรด ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำบัลแกเรียอีกตำแหน่งหนึ่ง ส่วนบัลแกเรียได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตในกรุงเทพฯ และมีเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยจนถึงกลางปี 2533 ต่อมา บัลแกเรียได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผลให้มีการปิดสถานเอกอัครราชทูต 20 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในเอเชียและแอฟริกา สำหรับในไทย ยังคงสถานเอกอัครราชทูต ไว้ แต่ลดระดับผู้แทนเป็นอุปทูต ปัจจุบัน มีนาง Mima Nikolova เป็นอุปทูต และมีนายสมบัติ เลาหพงษ์ชนะ เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์บัลแกเรียประจำประเทศไทย

ไทยยังไม่มีสถานเอกอัครราชทูตในบัลแกเรีย แต่ได้มอบหมายให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงบูคาเรสต์ดูแล และแต่งตั้งนาย Victor Melamed เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำบัลแกเรีย เพื่อช่วยดูแลผลประโยชน์ของไทยในบัลแกเรีย และอำนวยความสะดวกเรื่องการตรวจลงตรา เมื่อเดือนธันวาคม 2545

การเมือง
มีความสัมพันธ์ที่ราบรื่น แต่มีการแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์กันไม่มากนัก โดยมีกลไกความร่วมมือที่สำคัญ คือ การแลกเปลี่ยนการเยือน และหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศ ภายใต้กรอบพิธีสารความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยและบัลแกเรีย และขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูต ราชการหรือพิเศษระหว่างกัน โดยทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่างความตกลงฯ และผ่านขั้นตอนอนุมัติภายในประเทศแล้ว พร้อมที่จะลงนามความตกลงฯ ในโอกาสแรก

เศรษฐกิจ
การค้า
บัลแกเรียเป็นคู่ค้าอันดับ 5 ของไทยในยุโรปตะวันออก ในปี 2549 โดยข้ามจาก
จากอันดับ 10 ในปี 2548 สำหรับปี 2549 มีมูลค่าการค้ารวมถึง 147.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นอัตราขยายตัวจากปี 2548 ถึง ร้อยละ 352.8 ทั้งนี้ ไทยขาดดุลการค้ากับบัลแกเรียในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมามาโดยตลอด โดยในปี 2549 ไทยขาดดุลถึง 104.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากนำเข้าสินแร่โลหะจากบัลแกเรีย มูลค่ากว่า 115.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าที่ไทยนำเข้า
สินแร่โลหะ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เวชกรรม และเภสัชกรรม ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช ด้ายและเส้นใย เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ

สินค้าที่ไทยส่งออก
ตู้เย็น/ตู้แช่แข็ง ปูนซีเมนต์ รถยนต์และอุปกรณ์/ส่วนประกอบ วงจรพิมพ์ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน หลอดภาพโทรทัศน์สี เม็ดพลาสติก ผักกระป๋องและแปรรูป เสื้อผ้าสำเร็จรูป

การลงทุน
การแปรรูปกิจการของรัฐของบัลแกเรีย เป็นโอกาสให้นักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนหรือร่วมลงทุนในบัลแกเรียได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กิจการภาคบริการที่เอกชนไทยมีความชำนาญและประสบการณ์ อาทิ การดำเนินการด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากบัลแกเรียเป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสูง ลู่ทางด้านธุรกิจอื่นๆ อาทิ การจำหน่ายสินค้ายกเว้นภาษี ณ สนามบินเมือง Bourgas การสร้าง Shopping Mall ซึ่งธุรกิจดังกล่าว จะช่วยเอื้ออำนวยต่อการกระจายสินค้าของไทยได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม การเข้าไปลงทุนในบัลแกเรียควรเป็นลักษณะการร่วมลงทุนกับผู้ที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการดำเนินธุรกิจในแถบนั้น เพื่อศึกษาถึงวัฒนธรรมทางธุรกิจเสียก่อน

จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีโครงการลงทุนจากบัลแกเรียที่มาขอรับการส่งเสริมจาก BOI และยังไม่มีโครงการร่วมลงทุนของไทยในบัลแกเรีย

การท่องเที่ยว
บัลแกเรียยังเป็นตลาดท่องเที่ยวที่มีขนาดเล็กของไทย แต่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยทุกปี
(โดยเฉพาะเมื่อเทียบจากสัดส่วนประชากรจำนวน 7 ล้านคน) โดยในปี 2543 มีคนชาติบัลแกเรียเดินทางเข้ามาประเทศไทย จำนวน 661 คน ในปี 2544 จำนวน 575 คน ในปี 2545 จำนวน 1,283 คน ในปี 2546 จำนวน 1,251 คน ในปี 2547 จำนวน 1,673 คน ในปี 2548 ราว 2,000 คน ในปี 2549 จำนวน 2925 คน ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.36 จากปีที่แล้ว ส่วนช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม 2550 มีนักท่องเที่ยวบัลกาเรียนเดินทางมาไทยจำนวน 1476 คน

สายการบิน Balkan Bulgarian Airlines เคยให้บริการเส้นทางระหว่างบัลแกเรียกับไทย แต่ได้หยุดให้บริการไปตั้งแต่กำหนดการบินประจำฤดูร้อนปี 2543 เนื่องจากปริมาณการจราจรมีไม่เพียงพอ ปัจจุบัน ชาวบัลแกเรียที่เดินทางเข้าไทย จึงใช้เส้นทางผ่านอิสตันบูล

การเยือนที่สำคัญ
ฝ่ายไทย
ระดับพระราชวงศ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- วันที่ 16-18 มีนาคม 2542 เสด็จฯ เยือนบัลแกเรียอย่างเป็นทางการ
หมายเหตุ เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ.2002 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี พระราชทานพระวโรกาสให้นายกีออร์กี้ ปาร์วานอฟ ประธานาธิบดีบัลแกเรีย เข้าเฝ้า ระหว่างการประชุม World Summit on Sustainable Development ที่เมืองโจฮันเนสเบิร์ก

บุคคลระดับสูง
- วันที่ 11-13 มิถุนายน 2543 นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เยือนบัลแกเรีย
- วันที่ 16-18 มิถุนายน 2543 ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการ-
ต่างประเทศเยือนบัลแกเรีย

ฝ่ายบัลแกเรีย
- การเยือนของนาย Spass Georgiev รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 18-21 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1977
- การเยือนของนาย Liubomir Popov รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 2-5 ธันวาคม ค.ศ.1984
- การเยือนของนาย Valentin Dobrev รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1992
- การเยือนของ Dr. Roumen Hristov รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 2 เมษายน ค.ศ.1994
- การเยือนของนาย Boyko Mirchev รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 12-14 สิงหาคม ค.ศ.1997 เพื่อร่วมลงนามในพิธีสารว่าด้วยการปรึกษาหารือและความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ
- การเยือนของนาย Vladimir Atanassov รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ ระหว่างวันที่ 17-20 มีนาคม ค.ศ.2003 เพื่อร่วมลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรมและการศึกษาไทย-บัลแกเรีย
- การเยือนอย่างเป็นทางการของนายกีออร์กี้ ปาร์วานอฟ (Mr. Georgi Parvanov) ประธานาธิบดีบัลแกเรีย ระหว่างวันที่ 11-12 กันยายน ค.ศ.2003


กรมยุโรป
17 สิงหาคม 2550



เรียบเรียงโดย กองยุโรป 3 กรมยุโรป โทร. 0 2643 5142-3 Fax. 0 2643 5141 E-mail : european04@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์