ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> จาเมกา






จาเมกา
Jamaica


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง เป็นเกาะเล็ก ๆ ในทะเลแคริบเบียน ตั้งอยู่ห่างจากคิวบาทางทิศเหนือประมาณ 90 ไมล์ และเฮติทางทิศตะวันออกประมาณ 100 ไมล์

พื้นที่ 10,991 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ 4 ใน 5 ของประเทศเป็นภูเขา

ภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นภูเขา บางแห่งเป็นที่ราบชายฝั่งแคบๆ ที่ไม่ต่อเนื่องกัน

ภูมิอากาศ แบบร้อนชื้น (tropical) โดยเฉพาะบริเวณที่ราบชายฝั่งทะเล อุณหภูมิจะเย็นขึ้นในบริเวณที่เป็นภูเขา อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27 องศาเซลเซียส และปริมาณฝนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,980 มิลลิเมตร

ทรัพยากรธรรมชาติ บอกไซต์ ยิบซัมและหินปูน

เมืองหลวง กรุงคิงสตัน (Kingston)

ประชากร (2005) 2.78 ล้านคน

ภาษา ภาษาอังกฤษ (ภาษาราชการ) และภาษา Patois

ศาสนา ศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ (61.3%) นิกายโรมันคาทอลิค (4%) อื่นๆ และลัทธิเชื่อในจิตวิญญาณ (34.7%)

เชื้อชาติ เชื้อสายแอฟริกัน (90.4%) เชื้อสายผสม (7.3%) อินเดียตะวันออก (1.3%) จีน (0.2%) ผิวขาว (0.2%) และอื่นๆ (0.1%)

อัตราการรู้หนังสือ (2003) ร้อยละ 87.9

หน่วยเงินตรา จาเมกันดอลลาร์ (Jamaican dollar – J$)

อัตราแลกเปลี่ยน (2004) 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ มีค่าเท่ากับ 61 จาเมกันดอลลาร์
วันประกาศเอกราช 6 สิงหาคม ค.ศ. 1962 จากสหราชอาณาจักร

วันชาติ (Independence Day) 6 สิงหาคม

วันสถาปนารัฐธรรมนูญ 6 สิงหาคม 1962

สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ Organization of American States (OAS), Caribbean Community and Common Market (CARICOM), Organization of Eastern Caribbean States (OECS), Latin American Economic System (SELA) และ Free Trade Area of the Americas (FTAA)

เวลาแตกต่างจากไทย ช้ากว่าไทย 12 ชั่วโมง (-5 GMT)

การเมืองการปกครอง
ในอดีตจาเมกาเป็นที่อยู่ของชาวพื้นเมืองเผ่า Arawaks ซึ่งอพยพมาจากดินแดนตอนในของทวีปอเมริกาใต้ ต่อมาโคลัมบัสและคณะได้เดินทางมาถึงใน ค.ศ. 1494 และยึดครองเป็นอาณานิคมของสเปน ประมาณ ค.ศ. 1510 เริ่มมีการนำทาสผิวดำจากทวีปแอฟริกาเข้ามาเป็นแรงงานแทนชาวพื้นเมืองเดิมซึ่งลดจำนวนลง ในปี ค.ศ. 1655 กองทัพอังกฤษได้บุกเข้ายึดเกาะจาเมกา และปรับปรุงเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลและแหล่งค้าทาสที่สำคัญในทวีปอเมริกา ในทศวรรษที่ 1930 รัฐสภาอังกฤษเริ่มให้สิทธิปกครองตนเองบางส่วนแก่รัฐบาลพื้นเมือง และในปี ค.ศ. 1958 จาเมกาก็ได้เข้าเป้นสมาชิก West Indian Federation ซึ่งประเทศอาณานิคมอังกฤษในแคริบเบียนได้ถอนตัวในปี ค.ศ. 1961 และได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1962

รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional Monarchy)

ประมุขของประเทศ สมเด็จพระราชินี Elizabeth II ทรงใช้พระราชอำนาจโดยผ่านทางผู้สำเร็จราชการ (Governor-General)

ผู้สำเร็จราชการ Kenneth O. Hall (ตั้งแต่ 15 กุมภาพันธ์ 2549)

หัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรี นาย Partin Simpson-Miller (ตั้งแต่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2549)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย G Anthony Hylton

ฝ่ายบริหาร ผู้สำเร็จราชการ ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชินีตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรี ได้รับการเลือกตั้งจากเสียงส่วนใหญ่ของสภาผู้แทนราษฎร ในทางปฏิบัติ จะเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีที่นั่งมากที่สุด โดยได้รับการแต่งตั้งจากผู้สำเร็จราชการ มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี และติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 สมัย

คณะรัฐมนตรี ได้รับการเสนอชื่อโดยนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแล้วจะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 11 คน

เขตการปกครอง แบ่งออกเป็น14 เขต ได้แก่ Kingston, St. Andrew, St. Thomas, Portland, St. Mary, St. Ann, Trelawny, St. James, Hanover, Westmoreland, St. Elizabeth, Manchester, Clarendon และ St. Catherine

ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นระบบสภาคู่ ประกอบด้วย
1) วุฒิสภา มีสมาชิกจำนวน 21 คน โดย 13 คนมาจากการเสนอชื่อของนายกรัฐมนตรี และอีก 8 คนมาจากการเสนอชื่อของผู้นำฝ่ายค้าน มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี
2) สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกจำนวน 60 คนมาจากการเลือกตั้ง ของประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี

การเลือกตั้งครั้งล่าสุด 16 ตุลาคม 2545 โดยครั้งต่อไปจะมีขึ้นในเดือนตุลาคม 2550

ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วยศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ ทั้งนี้ เรื่องที่มีความสำคัญจะถูกส่งต่อไปให้คณะกรรมการกฎหมายของคณะองคมนตรี (privy council) ที่กรุงลอนดอนเป็นผู้พิจารณา

พรรคการเมืองสำคัญ
1) พรรค People’s National Party (PNP) เป็นพรรครัฐบาล และครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงทศวรรษที่ 1970 พรรค PNP มีแนวนโยบายสังคมนิยม และให้การสนับสนุนรัฐบาลคิวบา แต่ในปัจจุบันนโยบายพรรคหันกลับมาสู่แนวอนุรักษ์นิยม และเน้นความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ พรรค PNP มีฐานเสียงสนับสนุนจากสหภาพแรงงาน National Workers Union (NWU)
2) พรรค Jamaican Labour Party (JLP) เป็นพรรคฝ่ายค้าน มีแนวนโยบายเสรีนิยมเน้นความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ และมีฐานเสียงสนับสนุนจากสหภาพแรงงานBustamante Industrial Trade Union (BITU)
3) พรรค National Democratic Movement (NDM) แยกตัวออกมาจาก JLP เมื่อ ค.ศ. 1995 และเป็นพรรคการเมืองเดียวที่ไม่มีความสัมพันธ์กับสหภาพแรงงาน

เศรษฐกิจการค้า
รัฐบาลดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเข้มงวด โดยการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (fixed rate) และอัตราดอกเบี้ยในระดับสูง (ประมาณร้อยละ 29) และการเข้าแทรกแซงตลาดเงินอย่างเข้มงวด ผลจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจดังกล่าวส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตของประเทศลดลง สภาพคล่องทางการเงินลดลง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมที่สูงและอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่ซึ่งทำให้ค่าเงินดอลลาร์จาเมกามีมูลค่าสูงเกินความเป็นจริง

อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (2549) ร้อยละ 2.5

อัตราเงินเฟ้อ (2549) ร้อยละ 8.6

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) (2549) 10.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

โครงสร้างของ GDP (2004) ภาคบริการ ร้อยละ 6.13 ภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 6.1 ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 32.7

อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว แร่บอกไซต์ สิ่งทอ การแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมเบา เหล้ารัม ซีเมนต์ โลหะ กระดาษ เคมีภัณฑ์

เกษตรกรรม อ้อย กล้วย กาแฟ พืชจำพวกส้ม ผัก สัตว์ปีก แพะ นม

หนี้ต่างประเทศ (2549) 6.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

อัตราการว่างงาน (2549) ร้อยละ 11.3

การค้าต่างประเทศ

การส่งออก (2549) มูลค่า 2.117 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สินค้า ออกไซด์ของอลูมิเนียม น้ำตาล บอกไซต์ กล้วย เหล้ารัม

ประเทศคู่ค้า สหรัฐฯ (28.6%) EU (29.9%) แคนาดา (16.1%)

การนำเข้า (2549) มูลค่า 5.062 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สินค้า เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ขนส่ง สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทุน เชื้อเพลิง
ประเทศคู่ค้า (2004) สหรัฐฯ (44.4%) Caricom (12.7%) EU (10.5%) ลาตินอเมริกา (10.6%)

สถิติการค้าไทย-จาเมกา (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ปี มูลค่าการค้าส่งออกนำเข้าดุลการค้า
254510.910.50.410.0
254612.612.00.611.4
2547 (ม.ค.-เม.ย.)3.63.30.33.0
2548 (ม.ค.- เม.ย.)4.5 3.90.63.3

ในปี 2547 ชาวจาเมกาเดินทางเข้าประเทศไทย 232 คน และเดินทางออกจากประเทศไทย 267 คน

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจาเมกา
ความสัมพันธ์ทางการทูต
การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต 10 กันยายน 2527 (ค.ศ. 1984)

สถานเอกอัครราชทูตที่มีเขตอาณาครอบคลุมจาเมกา
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา
สถานเอกอัครราชทูตจาเมกาที่มีเขตอาณาครอบคลุมไทย
สถานเอกอัครราชทูตจาเมกาประจำญี่ปุ่น


ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
สินค้าที่ไทยส่งออก 10 รายการแรก (2547)
1) อาหารทะเลกระป๋อง
2) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
3) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป
4) ผลิตภัณฑ์พลาสติก
5) ผลิตภัณฑ์ยาง
6) เสื้อผ้าสำเร็จรูป
7) ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ
8) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ
9) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป
10) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์

สินค้าที่ไทยนำเข้า 5 รายการแรก (2547)
1) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ
2) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
3) เคมีภัณฑ์
4) ผลิตภัณฑ์พลาสติก
5) เครื่องดื่มประเภทน้ำแร่ น้ำอัดลม สุรา

ตารางการค้าระหว่างไทยกับจาเมกา ดูเอกสารแนบ



21 สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองลาตินอเมริกา กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 0-2643-5113-4 Fax. 0-2643-5115 E-mail : american03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์