ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> บราซิล




แผนที่
สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล
Federative Republic of Brazil


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ทางตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้โดยมีอาณาเขตติดกับทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นชิลีและเอกวาดอร์

ขนาดพื้นที่ 8,511,965 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกาและใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

ภูมิประเทศ ทางตอนเหนือส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบและพื้นดินต่ำเป็นคลื่น บางแห่งของประเทศเป็นทุ่งกว้าง เนินเขา ภูเขา และมีแนวชายฝั่งแคบ

ภูมิอากาศ อากาศอากาศร้อนชื้น ส่วนทางตอนใต้อากาศเย็นสบาย

ทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียม บอกไซท์ ทองคำ แร่เหล็ก (เป็นผู้ส่งออกแร่และผลิตภัณฑ์เหล็กรายใหญ่ที่สุดในโลก) แมงกานีส นิกเกิล ฟอสเฟต พลาตินัม ดีบุก ยูเรเนียม พลังน้ำ (hydropower) และไม้

ประชากร (2000) 181.8 ล้านคน

เมืองหลวง กรุงบราซิเลีย (Brasilia)

ภาษา โปรตุเกส (ภาษาราชการ) สเปน อังกฤษ และฝรั่งเศส

ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (80%)

เชื้อชาติ ผิวขาว (โปรตุเกส อิตาลี เยอรมัน สเปน โปแลนด์) (55%) ผิวผสมระหว่างผิวขาวและผิวดำ (38%) ผิวดำ 6% และอื่นๆ {ญี่ปุ่น อาหรับ ชาวอินเดียนพื้นเมือง (Amerindian)} (1%)

อัตราผู้รู้หนังสือ (2003) ร้อยละ 86.4

หน่วยเงินตรา เฮอัล (REAL) อัตราแลกเปลี่ยน (มu.ค.2006) 1 เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับ 2.2 R$

ระบบชั่ง ตวง วัด ระบบเมตริก

วันได้รับเอกราช 7 กันยายน 1822 จากโปรตุเกส

วันชาติ Independence Day วันที่ 7 กันยายน

วันสถาปนารัฐธรรมนูญ 5 ตุลาคม 1988

สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ FAO, ECLAC,G11, G15, G77, GATT, IBRD, ICAO, ILO,IMF,ITU,LAIA, MERCOSUR, NAM (OBSERVER), OAS, UN, UNCTAD, UNESCO, UNHCR, RIO Group, UNPROFOR, WHO, WIPO, เป็นต้น

เวลาต่างจากไทย ช้ากว่าไทย 9 ชั่วโมงในช่วงเดือนตุลาคม - มีนาคม และ 10 ชั่วโมง ในช่วงเดือนมีนาคม - ตุลาคม

รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดี และเป็นสหพันธรัฐ

ประมุขของประเทศ ประธานาธิบดี นาย Luiz Inacio Lula da Silva ซึ่งชนะการเลือกตั้งเมื่อ 27 ต.ค.2545 และเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 1 ม.ค. 2546

รองประธานาธิบดี นาย Jose Alencar

หัวหน้ารัฐบาล นาย Luiz Inacio Lula da Silva

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย Celso Amorim

การแบ่งเขตการปกครอง 26 รัฐ (state) และ 1 เขตนครหลวง (Federal district)

ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้ง มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี คณะรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี

ฝ่ายนิติบัญญัติ สภาแห่งชาติ (Congresso Nacional) เป็นระบบรัฐสภาคู่ ประกอบด้วย
1) วุฒิสภา มีสมาชิกจำนวน 81 คน ประกอบด้วยตัวแทนจาก 26 รัฐ และ 1 เขตนครหลวง มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของแต่ละรัฐและเขตนครหลวงจำนวนละ 3 คน มีวาระดำรงตำแหน่ง 8 ปี โดยที่ 1 ใน 3 ได้รับเลือกตั้งหลังจาก 4 ปี และ 2 ใน 3 ได้รับการเลือกตั้งอีก 4 ปีถัดไป
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด 27 ต.ค. 2545

2) สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกจำนวน 513 คน มาจากการเลือกตั้งตามสัดส่วน มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี

ระบบกฏหมาย ใช้ประมวลกฎหมายโรมัน (Roman codes)

ฝ่ายตุลาการ มีศาลสูงสุดแห่งชาติ (Supreme Federal Tribunal) โดยที่ผู้พิพากษาทั้ง 11 คน มาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีและรับรองโดยวุฒิสภา มีวาระดำรงตำแหน่งตลอดชีพ

การเมืองการปกครอง
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2549 ประธานาธิบดีลูลา ได้ประกาศนโยบายหลักในการบริหาร สมัยที่ 2 (1 มกราคม 2549 – 31 ธันวาคม 2553) ได้แก่ การพัฒนา ซึ่งหมายถึงการกระจายรายได้และการศึกษาที่มีคุณภาพ การเชื่อมโยงนโยบายด้านเศรษฐกิจกับนโยบายด้านสังคม และการลดความไม่เสมอภาค เป็นโครงการต่อเนื่องจากการบริหารงานสมัยแรก
1 นโยบายด้านการเมือง
- ปฏิรูปการเมืองและขจัดความเบี่ยงเบนทางจริยธรรม
- ปรับปรุงความสัมพันธ์กับทุกฝ่ายรวมทั้งกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม
- ลดขั้นตอนราชการในโครงการต่างๆ

2 สถานการณ์สำคัญ

2.1 การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 1 และ 29 ตุลาคม 2549 บราซิลเพิ่งจัดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549 โดยเลือกตั้งประธานาธิบดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด สมาชิกวุฒิสภาจำนวน 1 ใน 3 รวมทั้งผู้ว่าการและสมาชิกสภาของ 27 มลรัฐ การเลือกตั้งดังกล่าวไม่มีผู้สมัครตำแหน่งประธานาธิบดีรายใดได้รับคะแนนเสียงเกินกว่าร้อยละ 50 จึงต้องมีการเลือกตั้งรอบสองระหว่างผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด 2 อันดับแรก ซึ่งนายลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน (1 มกราคม 2546 – 31 ธันวาคม 2549) จากพรรคแรงงาน (PT- Partido dos Trabalhadores) มีนโยบายนิยมซ้าย ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 60.8 ของคะแนนเสียงทั้งหมด โดยนายเจราลโด อัลค์มิน (Geraldo Alckmin) คู่แข่งซึ่งสังกัดพรรคสังคมประชาธิปไตยบราซิล (PSDB – Partido da Social-Democracia Brasileira) พรรคฝ่ายค้านสำคัญในรัฐบาลชุดปัจจุบัน มีนโยบายสายกลาง (Centrism) และเคยเป็นอดีตผู้ว่าการรัฐเซาเปาลู ซึ่งเป็นรัฐที่มีความสำคัญสูงสุดทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 39.2
ประธานาธิบดีลูลาเข้ารับตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 ในวันที่ 1 มกราคม 2550 โดยจะมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปีถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553

ประธานาธิบดีลูลาได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากกลุ่มคนยากจนซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเนื่องจากผลการดำเนินโครงการด้านสังคม อาทิ โครงการขจัดความหิวโหย Fome Zero (Zero Hunger) โครงการเงินช่วยเหลือแก่ครอบครัว (Bolsa Familia) โดยสามารถช่วยเหลือประชาชนบราซิลหลายสิบล้านคน และการเพิ่มการใช้จ่ายด้านสังคมโดยไม่ปรับขึ้นภาษี

ประธานาธิบดีลูลาประกาศจะเร่งพัฒนาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและขจัดความไม่เท่าเทียมกันเพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศ และจะลดช่องว่างทางเศรษฐกิจและปรับปรุงการศึกษา เพื่อนำบราซิลสู่โลกการเมือง เศรษฐกิจและธุรกิจอย่างมีคุณภาพและจะบริหารประเทศสมัยที่ 2 ให้ดีกว่าสมัยแรกโดยถือว่าเป็นการทำงานบนรากฐานที่ได้วางไว้แล้วในสมัยแรก

การได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 น่าจะส่งผลให้ประธานาธิบดีลูลาสามารถดำเนินนโยบายได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี พรรคแรงงานของประธานาธิบดีไม่ได้รับเสียงข้างมากทั้งในสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับรัฐบาลปัจจุบันที่เป็นรัฐบาลผสม โดยการเมืองบราซิลประกอบด้วยพรรคการเมืองมากกว่า 20 พรรค การดำเนินนโยบายของรัฐบาลสมัยที่ 2 ของประธานาธิบดีลูลา จึงต้องอาศัยความร่วมมือและสร้างพันธมิตรกับหลายพรรคการเมืองเพื่อให้ได้รับเสียงสนับสนุนในรัฐสภา

รัฐบาลของประธานาธิบดีลูลาในสมัยแรกเป็นรัฐบาลผสมที่มีพรรคแรงงาน (PT) เป็นแกนนำร่วมกับพรรคเสรีนิยม (PL – Partido Liberal) พรรคสังคมนิยมบราซิล (PSB- Partido Socialista Brasileiro) พรรคประชาชนสังคมนิยม (PPS – Partido Popular Socialista) พรรคแรงงานประชาธิปไตย (PDT – Partido Democratico Trabalhista) และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งบราซิล (PCdoB – Partido Comunista do Brasil) โดยมี 3 พรรคใหญ่ที่ได้รับคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งมากเป็นอันดับ 2-4 (พรรคแรงงานได้รับคะแนนเสียงมากเป็นอันดับ 1) เป็นฝ่ายค้านหรือมิได้ร่วมรัฐบาล ได้แก่ พรรคสังคมประชาธิปไตยบราซิล (PSDB – Partido da Social-Democracia Brasileira) พรรคแนวหน้าเสรีนิยม (PFL – Partido Frente Liberal) และพรรคแนวร่วมประชาธิปไตยบราซิล (PMDB – Partido Movimento Democratico Brasileiro)

ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549 ปรากฏว่า 3 พรรคใหญ่ซึ่งเป็นฝ่ายค้านหรือมิได้ร่วมรัฐบาลชุดปัจจุบัน ยังคงได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในกลุ่ม 4 อันดับแรก ตามลำดับ ดังนี้ พรรค PMDB, PT, PFL และ PSDB โดยพรรคแรงงานของประธานาธิบดีได้รับคะแนนเสียงตกลงมาเป็นอันดับ 2 ประธานาธิบดีลูลาได้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีสำหรับการบริหารประเทศสมัยที่ 2 เมื่อวันที่22 มีนาคม 2550 ประกอบด้วย 13 พรรคการเมือง ซึ่งรวมถึงหลายพรรคที่มิได้ร่วมรัฐบาลสมัยแรกและพรรคสำคัญอย่างเช่น PMDB โดยรองประธานาธิบดี คือ นายโฮเซ อาเลนคาร์ โกเมซ ดา ซิลวา (Jose Alencar Gomes da Silva) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายเซลโซ อามอริม (Celso Amorim) ยังเป็นบุคคลเดียวกันกับในสมัยแรก


2.2 สถานะทางการเมืองของประธานาธิบดี และพรรคแรงงานของประธานาธิบดี

นับแต่เข้าบริหารประเทศในปี 2546 ประธานาธิบดีลูลา และรัฐบาลชุดปัจจุบันได้รับคะแนนนิยมลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงในรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง นับแต่การใช้เงินในการรณรงค์การเลือกตั้งอย่างไม่ถูกต้องของพรรคแรงงานและพรรคร่วมรัฐบาล รัฐบาลใช้เงินซื้อเสียงในรัฐสภา จนทำให้นายโจเซ ดีร์เซอู (Jose Dirceu) รัฐมนตรีประจำสำนักประธานาธิบดีซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลสูงของรัฐบาลต้องลาออกจากตำแหน่ง นายอันโตนิโอ ปาร์ล็อกซิ (Antonio Parlocci) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังถูกกล่าวหาว่าทุจริตเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองรีเบเราเปรโต (Ribeirao Preto) ส่งผลให้ต้องลาออกจากแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมาชิกรัฐสภาจำนวนมากถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องในการจัดซื้อรถพยาบาลในราคาสูงเกินจริง ในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 คะแนนนิยมของประธานาธิบดีลูลา และพรรคแรงงานตกต่ำลงอย่างมากจากปัญหาดังกล่าวและความแตกแยกภายในพรรค
ในปี 2549 ประธานาธิบดีลูลา ได้รับคะแนนนิยมกลับคืน เนื่องจากไม่ปรากฏความ
เชื่อมโยงระหว่างประธานาธิบดีกับปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงของพรรคแรงงาน นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานด้านสังคมที่ผ่านมาทำให้ประธานาธิบดีได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากกลุ่มคนยากจนซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ในขณะที่พรรคแรงงานยังคงมีคะแนนนิยมตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงก่อนการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549 สมาชิกพรรคแรงงานหลายคนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมพร้อมเงินกว่า 1 ล้านเฮอัลที่ใช้ซื้อเอกสารใส่ความผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคอื่นๆ

เศรษฐกิจการค้า
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (2005) ร้อยละ 2.3

อัตราเงินเฟ้อ (2005) ร้อยละ 5.7


ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ(GDP) USD 770.3 พันล้าน


รายได้ประชาชาติต่อหัว (2005) 4,182 เหรียญสหรัฐ


โครงสร้าง GDP (2005) ภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 10 ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 39.4 ภาคบริการ ร้อยละ 50.6


เกษตรกรรม กาแฟ ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าว น้ำตาล โกโก้ ข้าวโพด อ้อย ผลไม้จำพวกส้ม เนื้อวัว (ผลิตเนื้อรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก) เนื้อไก่ เนื้อหมู


อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ อุปกรณ์ไฟฟ้า แร่โลหะ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สิ่งทอ รองเท้าและเครื่องหนัง เคมีภัณฑ์ ซีเมนต์ ไม้และผลิตภัณฑ์ เครื่องบิน ยานพาหนะและส่วนประกอบ กระดาษและเยื่อกระดาษ


อัตราการว่างงาน (2005) ร้อยละ 9.9


แรงงาน (2005) 90.41 ล้านคน


แรงงานตามสาขาอาชีพ
- บริการ (66%)
- เกษตรกรรม (20%)
- อุตสาหกรรม (14%)


การค้าต่างประเทศ


การส่งออก (2005) มูลค่า 118.31 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้า อุปกรณ์และเครื่องจักรในการขนส่ง ถั่วเหลือง กาแฟ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ อุปกรณ์ไฟฟ้า น้ำตาล บุหรี่และใบยาสูบ แร่โลหะ ไม้และผลิตภัณฑ์ กระดาษและเยื่อกระดาษ เนื้อสัตว์ ถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รองเท้าและเครื่องหนัง สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์โลหะ น้ำส้ม

ประเทศคู่ค้า (2005) สหรัฐฯ (20.8%) อาร์เจนตินา (7.5%) เนเธอร์แลนด์ (6.1%) จีน (5.6%) เยอรมัน (4.1%) เม็กซิโก (4%)

การนำเข้า มูลค่า (2005) 73.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้า อุปกรณ์และเครื่องจักรและเครื่องยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์สำหรับการติดต่อสื่อสาร น้ำมันเชื้อเพลิง รถยนต์และอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์
ธัญญพืช ผลิตภัณฑ์โลหะ ผลิตภัณฑ์ยา ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช เครื่องบิน ผ้าผืนและเส้นด้าย น้ำมันและวัตถุดิบที่ใช้ในภาคการผลิต

ประเทศคู่ค้า (2005) สหรัฐฯ (18.3%) อาร์เจนตินา (8.9%) เยอรมัน (8.1%) จีน (5.9%) ไนจีเรีย (5.6%) ญี่ปุ่น (4.6%)


นโยบายด้านเศรษฐกิจ

- ควบคุมเงินเฟ้อ
- ตั้งเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ ๕
- ลดภาษี
- ขยายสินเชื่อสำหรับภาคการผลิต
- ส่งเสริมบริษัทขนาดเล็ก (micro and small)
- ส่งเสริมการก่อสร้างภาคเอกชน (civil construction)
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ทางหลวง ทางรถไฟ ท่าเรือ และท่าอากาศยานให้ทันสมัย เดินระบบไฟฟ้าเข้าสู่พื้นที่ชนบทให้แล้วเสร็จ เพิ่มสถานีไฟฟ้าพลังน้ำ โรงงาน biodiesel โครงการปิโตรเคมีและโลหะ โครงการโรงกลั่นน้ำมัน และการพัฒนาเพื่อการส่งออกเอทานอล


สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

ในช่วง 3 ทศวรรษก่อนทศวรรษที่ 1980 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจองบราซิลสูงถึงร้อยละ 7.3 แต่ช่วงทศวรรษที่ 1980 ได้เกิดวิกฤตการณ์เสถียรภาพทางการเงิน โดยมีปัญหาเงินเฟ้อและขาดดุลการชำระเงิน รัฐบาลจึงดำเนินมาตรการต่างๆ ในชื่อ “Real Plan” เพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงิน โดยสร้างวินัยการเงิน ปล่อยค่าเงินลอยตัว และลดภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงทบทวนนโยบายการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าซึ่งใช้มากว่า 35 ปีและทำให้เศรษฐกิจมีลักษณะปิดและปกป้องตัวเอง โดยในช่วงทศวรรษที่ 1990 บราซิลหันมาใช้นโยบายเปิดเศรษฐกิจ และได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 และในเวลาต่อมา รัฐบาลของประธานาธิบดีลูลาได้แสดงเจตจำนงในการใช้หนี้ต่างประเทศทำให้ลดลงจากร้อยละ 58.7 ของ GDP ในปี 2546 เหลือร้อยละ 51.6 ในปี 2548


การพัฒนาเอทานอลเป็นพลังงานทดแทน

วิกฤตการณ์น้ำมันในปี 2516 ประกอบกับราคาน้ำตาลตกต่ำ ทำให้รัฐบาลบราซิลประกาศโครงการ “Pro-Alcool” หรือ “Program Nacional do Alcool” (National Alcohol Program)ขึ้นในปี 2518 ส่งเสริมการใช้แอลกอฮอล์ที่ผลิตจากอ้อยและเอทานอลเป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ โดยรัฐบาลบราซิล ด้วยความสนับสนุนของธนาคารโลกให้เงินสนับสนุนทั้งในการขยายพื้นที่การปลูกอ้อย และการสร้างโรงกลั่นแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างขึ้นเป็นโรงงานเฉพาะเพื่อการดังกล่าวหรือสร้างในโรงงานน้ำตาลที่มีอยู่เดิม

ในระยะแรก บราซิลเริ่มใช้แอลกอฮอล์ผสมในน้ำมันในอัตราส่วนร้อยละ 20 และ 22 ตามลำดับ (anhydrous alcohol) เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ ต่อมาในปี 2523 บราซิลเริ่มใช้แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ (ร้อยละ 100 – hydrated alcohol) แต่โดยที่รถยนต์ยังเป็นแบบที่ผลิตเพื่อใช้กับน้ำมัน ทำให้การทำงานของเครื่องยนต์ไม่มีประสิทธิภาพเต็มที่

รัฐบาลบราซิลจึงเริ่มส่งเสริมการผลิตรถยนต์ที่ออกแบบเป็นพิเศษสำหรับการใช้แอลกอฮอล์ / เอทานอลเป็นเชื้อเพลิง ในช่วงปี 2523 - 2538 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้แอลกอฮอล์ / เอทานอล มีสัดส่วนสูงมาก โดยช่วงปี 2526 – 2531 สูงถึงร้อยละ 90 ของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ทั้งหมด และในปี 2527 ปริมาณการผลิตรถยนต์ดังกล่าวสูงถึงร้อยละ 94.4 ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดของบราซิล
ในบราซิลขณะนั้น จึงมีการใช้รถยนต์ 2 ประเภท คือ รถยนต์ที่ใช้น้ำมัน กับรถยนต์ที่ใช้แอลกอฮอล์/เอทานอลเป็นเชื้อเพลิง ต่อมาบราซิลได้เริ่มผลิตรถยนต์ที่สามารถใช้ได้กับทั้งแอลกอฮอล์ / เอทานอล และกับน้ำมัน (dual-fuel หรือ “Flex Fuel”) ในปี 2547 ปริมาณการผลิตรถยนต์ Flex Fuel มีสัดส่วนร้อยละ ๑๗ ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด และในปี 2548 เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 80 ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในบราซิล

ในการเยือนบราซิลของอดีตนายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร) ระหว่างวันที่ 15 – 16 มิถุนายน 2547 ไทยและบราซิลได้หารือความร่วมมือด้านเอทานอล นับจากนั้นไทยและบราซิลได้ดำเนินความร่วมมือด้านนี้ ทั้งโดยการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการประชุมสัมมนาระหว่างประเทศหลายครั้งเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เทคโนโลยี และสร้างเครือข่ายติดต่อระหว่างผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งครั้งหลังสุดกระทรวงการต่างประเทศได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานทดแทนของบราซิลและชาติอื่นๆ เข้าร่วมการประชุม FEALAC Inter-regional Workshop on Clean Fuels and Vehicle Technologies: the Role of Science and Innovation เมื่อวันที่ 28 – 29 มิถุนายน 2549 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งประสบผลในการสร้าง networking ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีและนำไปสู่การขยายความร่วมมือด้านพลังงานทดแทนใน FEALAC

ล่าสุดในการเยือนบราซิลอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช เมื่อวันที่ 8-9 มีนาคม 2550 ทั้งสองประเทศได้บรรลุข้อตกลงในการเป็นพันธมิตรร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน โดยเฉพาะการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ รวมทั้งการสร้างตลาดพลังงานทดแทนของโลก โดยร่วมกันดำเนินโครงการนำร่องในการผลิตเอทานอลในประเทศที่สาม เช่น ประเทศในทวีปอเมริกากลางและในแคริบเบียน เป็นต้น รัฐบาลของทั้งสองประเทศมีแนวโน้มสนใจที่จะร่วมกันพัฒนามาตรฐานการผลิตและการใช้เอทานอล และหากสามารถบรรลุข้อตกลงในเรื่องมาตรฐานการผลิตได้ก็จะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการผลิตเอทานอลของโลก ทั้งนี้ ทั้งสองประเทศกำลังหาแนวทางเจรจาให้เอทานอลเป็นสินค้าอุปโภคที่จำเป็น (commodity) และได้เริ่มร่วมกันกำหนดมาตรฐานการผลิตเอทานอลในบางขั้นตอนแล้ว เช่น ระดับของสิ่งเจือปน (impurities) และกาก (residues) ปัจจุบันบราซิลและสหรัฐฯ สามารถผลิตเอทานอลได้กว่าร้อยละ 70 ของเอทานอลที่จำหน่ายทั่วโลก โดยสหรัฐฯ ผลิตเอทานอลจากข้าวโพด ในขณะที่บราซิลผลิต จากอ้อยซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีประสิทธิภาพจึงทำให้สามารถผลิตเอทานอลได้ในราคาที่ถูกกว่าการใช้วัตถุดิบประเภทอื่น


นโยบายต่างประเทศ

1. เพิ่มบทบาทของบราซิลในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ
2. สำหรับนโยบายการต่างประเทศในการบริหารของประธานาธิบดีลูลา เท่าที่ผ่านมาในสมัยแรก (1 มกราคม 2546 – 31 ธันวาคม 2549) มุ่งเน้น

- การรวมกลุ่มของประเทศกำลังพัฒนาเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับประเทศพัฒนาแล้ว เป็นแกนนำจัดตั้งกลุ่ม 20 (G-20) ในการเจรจาการค้าสินค้าเกษตรในกรอบองค์การการค้าโลก (WTO) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรียกร้องให้ประเทศพัฒนาแล้วยกเลิกการอุดหนุนสินค้าเกษตร

- การสนับสนุนและใช้ประโยชน์จากองค์การสหประชาชาติในการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้วยสันติวิธีโดยการเจรจา รวมทั้งการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิทธิมนุษยชน การขจัดการเลือกปฏิบัติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

- การผลักดันการปฏิรูปองค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติให้มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยบราซิลร่วมกับเยอรมนี อินเดีย และญี่ปุ่น ในนามกลุ่ม 4 (G-4) เสนอให้เพิ่มจำนวนสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อให้คณะมนตรีฯ มีสมาชิกจากแต่ละภูมิภาคของโลกในสัดส่วนที่เป็นธรรม และมีสมาชิกทั้งจากประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา โดยเสนอให้เพิ่มสมาชิกถาวรอีก 6 ประเทศ (จากเดิม 5 ประเทศ) จากภูมิภาคเอเชียและแอฟริกาภูมิภาคละ 2 ประเทศ ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน และยุโรปตะวันตกและอื่นๆ ภูมิภาคละ 1 ประเทศ และให้เพิ่มสมาชิกไม่ถาวรอีก 4 ประเทศ (จากเดิม 10 ประเทศ) จากภูมิภาคแอฟริกา เอเชีย ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน และยุโรปตะวันออก ภูมิภาคละ 1 ประเทศ รวมเป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทั้งหมด 25 ประเทศ โดยกำหนดให้สมาชิกถาวรมีสิทธิยับยั้ง (veto right) แต่จะไม่ใช้สิทธิยับยั้งจนกว่าจะมีการทบทวน 15 ปีหลังจากการแก้ไขกฎบัตรมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ บราซิล เยอรมนี อินเดีย และ ญี่ปุ่นประสงค์ที่จะดำรงตำแหน่งสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

- ภายในภูมิภาคลาตินอเมริกา บราซิลให้ความสำคัญต่อการพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค รวมถึงการรวมกลุ่มในกรอบต่างๆ ของภูมิภาค อาทิ กลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ – MERCOSUR 3 ซึ่งบราซิลเป็นสมาชิก และ Andean Community ซึ่งบราซิลเป็นสมาชิกสมทบ
- ในภูมิภาคอเมริกา บราซิลรักษาสมดุลของความสัมพันธ์กับทั้งสหรัฐฯ และบางประเทศในลาตินอเมริกาที่มีความขัดแย้งกับสหรัฐฯ เช่น เวเนซุเอลา และคิวบา บราซิลดำเนินความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ บนหลักผลประโยชน์ต่างตอบแทนและการเคารพซึ่งกันและกัน ซึ่งรวมถึงการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา (FTAA –Free Trade Area of the Americas) ซึ่งบราซิลและสหรัฐฯ เป็นประธานร่วม แต่ยังไม่มีความคืบหน้าโดยประเด็นการเจรจาเป็นในลักษณะเดียวกับการเจรจาในกรอบองค์การการค้าโลก (WTO) คือ สหรัฐฯ และประเทศพัฒนาแล้วผลักดันความตกลงที่ครอบคลุมหลายสาขารวมถึงการค้าบริการและทรัพย์สินทางปัญญา ขณะที่บราซิลและประเทศกำลังพัฒนาเรียกร้องการค้าสินค้าเกษตรที่เป็นธรรมและให้สหรัฐฯ ยกเลิกการอุดหนุนสินค้าเกษตร และมาตรการห้ามนำเข้าสินค้าบางรายการ เช่น เหล็กและน้ำส้ม อย่างไรก็ตาม ในการเยือนบราซิลอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 8-9 มีนาคม 2550 ทั้งสองประเทศได้ตกลงเป็นพันธมิตรกันในการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านพลังงานทดแทน โดยเฉพาะการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ (bio-fuel) โดยมุ่งสร้างตลาดพลังงานทดแทนของโลก

- สำหรับภูมิภาคอื่นๆ บราซิลดำเนินความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเทศที่มีบทบาทสูงในภูมิภาคเอเชีย อาทิ จีน ญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเดียและแอฟริกาใต้

- บราซิลมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในเวทีระหว่างประเทศทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมประเด็นที่บราซิลให้ความสนใจเป็นพิเศษและพยายามมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การต่อสู้เพื่อขจัดความยากจน การพัฒนาคุณภาพชีวิต การสาธารณสุขโดยเฉพาะการต่อสู้กับโรคเอดส์และพลังงานทดแทน

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล
การทูต


ไทยและบราซิลได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2502 จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 47 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศดำเนินด้วยดีเสมอมา และในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ประธานาธิบดีบราซิลได้มีสาส์นถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ


ไทยมีสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย ซึ่งนางสาวสิรี บุนนาค ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตคนปัจจุบัน นอกจากนี้ มีสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซาเปาโล และสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ 2 แห่งในนครริโอเดอจาเนโร และนครเซาเปาโล


บราซิลมีสถานเอกอัครราชทูตในไทย โดยนายเอ็ดการ์ด เตลเลส รีเบย์โร (Edgard Telles Ribeiro) ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต และได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราช-กุมาร เพื่อถวายอักษรสาส์นตราตั้งดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศไทยเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2550


ไทยและบราซิลมีการแลกเปลี่ยนการเยือนที่สำคัญหลายครั้งทั้งระดับพระราชวงศ์และผู้นำระดับสูง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนบราซิลในปี 2536 และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จฯ เยือนบราซิล ในปี 2543


ในระดับรัฐบาล ล่าสุด พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 11 และเยือนบราซิลอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน 2547 และได้มีหนังสือเชิญประธานาธิบดีบราซิลเยือนไทย และ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนบราซิลเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2549 ในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรีเพื่อขอรับการสนับสนุนผู้สมัครของไทยในตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ขอความร่วมมือเกี่ยวกับการส่งออกไก่ไปตลาดสหภาพยุโรป ความร่วมมือด้านเอทานอล เทศกาลภาพยนตร์ กีฬา เร่งรัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-บราซิล และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการแก้ไขปัญหาความยากจน


การเมือง


รัฐบาลบราซิลติดตามสถานการณ์ทางการเมืองในไทยด้วยความห่วงใย และหวังว่าประชาธิปไตยกลับคืนโดยเร็วเพื่อความมั่นคงของประเทศ ในส่วนของการเมืองระหว่างประเทศ ไทยและบราซิลต่างเพิ่มบทบาททั้งในภูมิภาคของแต่ละฝ่ายและในระดับระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งเสริมบทบาทของประเทศกำลังพัฒนาในองค์การสหประชาชาติ ซึ่งไทยลงสมัครในตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ และบราซิลผลักดันการปฏิรูปองค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยประสงค์ดำรงตำแหน่งสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ


ความมั่นคง


ไทยและบราซิลอยู่ในภูมิภาคที่ห่างไกลกันมาก ยังไม่มีการดำเนินความร่วมมือด้านความมั่นคงที่ชัดเจน อย่างไรก็ดี ทั้งสองฝ่ายเคยพิจารณาในหลักการเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ช่วยทูตทหารระหว่างกัน ฝ่ายบราซิลเคยเสนอให้ฝ่ายไทยส่งนายทหารเข้าศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบกของบราซิล และฝ่ายบราซิลเคยเสนอให้ไทยพิจารณาอาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องบินโดยสารขนาดกลางและขนาดเล็กที่บราซิลผลิต นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างการพิจารณาจัดทำสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องอาญา


การค้า


บราซิลเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยในลาตินอเมริกา ในปี 2549 โดยมูลค่าการค้าไทย-ลาตินอเมริกา เท่ากับ 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในจำนวนนี้เป็นมูลค่าการค้าไทย-บราซิลประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกไปบราซิล 623.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.49 จากปี 2548) และนำเข้าจากบราซิล 861.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ลดลงร้อยละ 20.22)


มูลค่าการค้า ไทย-บราซิล เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2546 ยกเว้นในปี 2549 ซึ่งมีมูลค่าการค้าลดลงเล็กน้อย ทั้งนี้ เนื่องจากไทยมีอัตราการนำเข้าากบราซิลลดลงกว่าร้อยละ 20 แต่ยังคงรักษาอัตราการส่งออกที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2549 มีอัตราการส่งออกที่เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 35 และทำให้อัตราการขาดดุลของไทยลดลงจากปี 2548 กว่าร้อยละ 50 (จาก 622.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดเหลือ 237.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)


ในปี 2549 สินค้าใหม่ที่ไทยส่งออกเข้าสู่ตลาดบราซิล คือน้ำมันดีเซล (ไทยไม่เคยส่งออกไปบราซิลมาก่อน) และสินค้าที่ไทยส่งออกได้เพิ่มมากขึ้น คือ สารฟอกหนัง-ย้อมสี ยางและผลิตภัณฑ์ เส้นใยประดิษฐ์ชนิดยาว เหล็กและเหล็กกล้า อลูมิเนียม เครื่องมือเครื่องใช้โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เครื่องไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานยนต์และชิ้นส่วน เลนส์ กรอบแว่นตา อุปกรณ์การแพทย์ ของเล่นและเครื่องกีฬา สำหรับสินค้าที่ไทยนำเข้าลดลง คือ กากน้ำมันถั่วเหลือง ถั่วเหลือง เหล็กและเหล็กกล้า หนังฟอก ไม้ อัญมณีสังเคราะห์ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ และเครื่องยนต์


สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปบราซิล ได้แก่ ยางพารา รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องวีดีโอ เครื่องเสียงอุปกรณ์และส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ


สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากบราซิล ได้แก่ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ด้ายและเส้นใย สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เคมีภัณฑ์


สถิติการค้าระหว่างไทยกับบราซิล


สถิติการค้าไทย-บราซิล (หน่วย : ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
มูลค่าการค้า ไทยส่งออก ไทยนำเข้า ดุลการค้า
ปี 2545 525.9 161.6 364.3 -202.8
ปี 2546 856.0 298.7 557.3 -258.7
ปี 2547 1,190.7 385.8 804.9 -419.1
ปี 2548 1,537.4 457.7 1,079.7 -622.0

ในปี 2547 มีชาวบราซิลเดินทางเข้าประเทศไทย 9,147 คน และเดินทางออก 8,953 คน


สินค้าที่ไทยส่งออก 10 รายการแรก
1) ยางพารา
2) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
3) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ
4) ผลิตภัณฑ์ยาง
5) ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์
6) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ
7) แผงวงจรไฟฟ้า
8) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ
9) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ
10) เครื่องวิดีโอ เครื่องเสียงอุปกรณ์และส่วนประกอบ


สินค้าที่ไทยนำเข้า 10 รายการแรก
1) พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช
2) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
3) สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์
4) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
5) ด้ายและเส้นใย
6) สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์
7) ส่วนประกอบและอุปกรณ์ ยานยนต์
8) ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์
9) แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่
10) เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ


เอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย H.E. Ms. Siree Bunnag (ฯพณฯ นางสาวสิรี บุนนาค)
Royal Thai Embassy
SEN - Av. Das Nacoes – Lote 10
Brasilia – DF, CEP:70433-900
Brazil
โทรศัพท์ (5561) 3224-6089, 3224-6849, 3224-6943
โทรสาร (5561) 3321-2994,3223-7502
e-mail: thaiemb@linkexpress.com.br

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซา เปาโล
Ms. Nitaya Punyakij
Office of Trade Promotion
Edificio Mykonos
1356 Rua Gomes de Cavalho
Cep: 04547-005 Sao Paulo-SP Brazil
โทรศัพท์ (5511) 3044-7301, 3044-7347, 3045-4563
โทรสาร (5511) 3045-1913

กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ นครริโอ เดอ จาเนโร Mr. Daniel Andrea Sauer (Honorary Consul-General)
Royal Thai Consulate-General
Rua Visconde de Piraja, 250, 9 andar
CEP 22410-000, Rio de Janeiro-RJ, Brazil
โทรศัพท์ (5521) 2525-0000
โทรสาร (5521) 2525-0002

กงสุลกิตติมศักดิ์ ณ นครเซา เปาโล Mrs. Thassanee Wanderly Wanick de Souza (Honorary Consul)
Royal Thai Consulate
Alameda Dinamarca 467 – Alphaville 1
CEP 06474-250 Barueri – Sao Paulo-SP
Brazil
โทรศัพท์ (5511) 4193-8461
โทรสาร (5511) 4195-2820
เอกอัครราชทูตบราซิลประจำไทย H.E. Edgard Telles Ribeiro
The Embassy of the Federative Republic of Brazil
34 F Lumpini Tower
1168/101 Rama IV Rd.
Thungmahamek, Sathorn,
Bangkok 10120
โทรศัพท์ (662) 679-8567-8
โทรสาร (662) 679-8569
e-mail: EMBRASbkk@mozart.inet.co.th



ความตกลงระหว่างไทย - บราซิล
1. ความตกลงทางการค้า 12 กันยายน 2527 (ค.ศ.1984)
2. ความตกลงทางวิทยาศาสตร์ และวิชาการ 12 กันยายน 2527 (ค.ศ.1984)
3. ความตกลงการบิน 21 มีนาคม 2534 (ค.ศ.1991)
4. ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ ลงนามเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2537 (ค.ศ.1994)
5. ความตกลงร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับThe National Confederation of Commerce ลงนามเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2537 (ค.ศ.1994)
6. ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางธรรมดา ลงนามเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2540 (ค.ศ.1997)
7. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วม (JC) ไทย-บราซิล ลงนามเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2547 (ค.ศ. 2004)
8. บันทึกความเข้าใจระหว่างธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธนส.) กับธนาคารแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติบราซิล (BNDES) ลงนามเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2547 (ค.ศ. 2004)
9. ความตกลงด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ลงนามเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2547 (ค.ศ. 2004)

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 23 สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองลาตินอเมริกา กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 0-2643-5113-4 Fax. 0-2643-5115 E-mail : american03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์