ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> แซมเบีย




แผนที่
สาธารณรัฐแซมเบีย
Republic of Zambia


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง อยู่ทางตอนกลางของทวีปแอฟริกาภาคใต้ เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล
ทิศเหนือติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (เดิมชื่อซาอีร์) และแทนซาเนีย
ทิศตะวันออกติดประเทศมาลาวีและโมซัมบิก
ทิศใต้ติดประเทศซิมบับเว บอตสวานา นามิเบีย
ทิศตะวันตกติดประเทศแองโกลา
พื้นที่ 752,614 ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงซึ่งปกคลุมด้วยป่าทึบ แม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำแซมเบซี (Zambezi)
ภูมิอากาศ แบบเขตร้อน (tropical) และอากาศเย็นบริเวณที่ราบสูง
มี 3 ฤดู ได้แก่ พฤษภาคม–กันยายน อากาศเย็นและแห้ง อุณหภูมิ15- 27 องศาเซลเซียส กันยายน -พฤศจิกายน อากาศร้อนและแห้ง อุณหภูมิ 23 – 29 องศาเซลเซียส และธันวาคม–เมษายน อากาศร้อนและแห้ง อุณหภูมิ 27 – 32 องศาเซลเซียส
ประชากร ประมาณ 11.8 ล้านคน (2549) ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่า Bantu
และยังมีเผ่า Bemba ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เผ่า Nyanja ทางภาคตะวันออก เผ่า Tonga ทางภาคใต้ และเผ่า Lozi ทางภาคตะวันตก นอกจากนี้ มีชาวยุโรปประมาณร้อยละ 1 และชาวเอเชียประมาณร้อยละ 0.2
เมืองหลวง ลูซากา (Lusaka)
ศาสนา ประชากรร้อยละ 50-75 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิก
นอกนั้นนับถือศาสนาอิสลาม ฮินดู และความเชื่อต่าง ๆ
ภาษา ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ ภาษาท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่ Bantu
วันชาติ 24 ตุลาคม
ระบบการเมือง ระบอบประชาธิปไตย ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้ง ดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐและมีอำนาจสูงสุดทางด้านบริหาร มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี และดำรงตำแหน่งได้ติดต่อกันไม่เกิน 2 สมัย
รัฐสภาทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ ประกอบด้วยที่นั่งทั้งหมด 150 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้งทุก 5 ปี
ประธานาธิบดี นาย Levy Patrick Mwanawasa (ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย. 2549)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย Honourable Mundia Sikatana (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549)
หน่วยเงินตรา Zambian Kwacha (ZMK)
อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 3,603.1 ZMK (2549)
ทรัพยากรธรรมชาติ แซมเบียเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ ซึ่งทำรายได้ส่วนใหญ่ให้แก่ประเทศ แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ ทองแดง (ซึ่งแซมเบียผลิตมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก) โคบอลต์ (ผลิตมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก) ตะกั่ว สังกะสี และถ่านหิน
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ 10.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 596 ดอลลาร์สหรัฐ (2548)
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 5.8 (2549)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 9 (2549)
หนี้สินต่างประเทศ 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าการค้า 6,665.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยได้เปรียบดุลการค้า 1,176.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ทองแดง โคบอลท์ กระแสไฟฟ้า ยาสูบ ดอกไม้ ฝ้าย
สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักร อุปกรณ์เกี่ยวกับการขนส่ง สินค้าปิโตรเลียม กระแสไฟฟ้า ปุ๋ย อาหาร เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ส่งออกไปยัง แอฟริกาใต้ ร้อยละ 24.2 สวิตเซอร์แลนด์ ร้อยละ 13.7 จีน ร้อยละ 12.4 แทนซาเนีย ร้อยละ 6.9
นำเข้าจาก แอฟริกาใต้ ร้อยละ 53.1 สหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ ร้อยละ 8.6 ซิมบับเว ร้อยละ 6.9 สหราชอาณาจักร ร้อยละ 4.1 (2549)

การเมืองการปกครอง
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
ชนเผ่าที่พูดภาษาบันตูได้อพยพเข้ามาอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่เป็นประเทศแซมเบียในปัจจุบันเมื่อประมาณสองพันปีก่อน ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ชาวยุโรป มิชชันนารี และพ่อค้าได้เดินทางเข้ามาในพื้นที่บริเวณนี้ ในปี 2431 (ค.ศ. 1888) นาย Cecil Rhodes ซึ่งกำกับดูแลผลประโยชน์ทางการค้าและการเมืองของอังกฤษในภูมิภาคแอฟริกาตอนกลาง ได้รับสัมปทานการทำเหมืองแร่จากหัวหน้าเผ่าต่างๆ ในพื้นที่ และในปีเดียวกันนั้น อังกฤษได้เข้ามามีอิทธิพลเหนือดินแดนโรดีเซียเหนือ (Northern Rhodesia) และโรดีเซียใต้ (Southern Rhodesia) (ซึ่งคือ ประเทศแซมเบียและ ซิมบับเวในปัจจุบัน) ในปี 2496 (ค.ศ. 1953) ดินแดนโรดีเซียทั้งสองได้รวมกับดินแดนนยาซาแลนด์ (Nyasaland ซึ่งปัจจุบัน คือ ประเทศมาลาวี) และกลายเป็นสมาพันธรัฐโรดีเซียและนยาซาแลนด์ (the Federation of Rhodesia and Nyasaland) อย่างไรก็ดี ได้เกิดความวุ่นวายในดินแดนโรดีเซียเหนือ เพราะชาวพื้นเมืองแอฟริกาต้องการมีส่วนร่วมในรัฐบาลมากขึ้น ผลการเลือกตั้งในปี 2505 (ค.ศ. 1962) ปรากฏว่า ชาวพื้นเมืองแอฟริกาได้รับเสียงข้างมากในสภานิติบัญญัติ ต่อมา สภานิติบัญญัติได้ผ่านมติเสนอให้ปลดปล่อยโรดีเซียเหนือจากสมาพันธรัฐโรดีเซียและนยาซาแลนด์ สมาพันธรัฐดังกล่าวได้สลายตัวลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2506 (ค.ศ. 1963) ดินแดนโรดีเซียเหนือได้รับเอกราชจากอังกฤษในวันที่ 24 ตุลาคม 2507 (ค.ศ. 1964) และกลายเป็นสาธารณรัฐแซมเบีย

ในช่วง 6 ปีแรกหลังจากที่ได้รับเอกราช แซมเบียเป็นประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ที่ร่ำรวยและมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจรวดเร็วมากที่สุดประเทศหนึ่ง เพราะสามารถผลิตทองแดงได้ในปริมาณมาก อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของแซมเบียอยู่ในภาวะที่ไม่คงที่ เนื่องจาก ราคาทองแดงในตลาดโลกลดต่ำลงอย่างมาก ทำให้แซมเบียซึ่งส่งออกทองแดงเป็นสินค้าหลักได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ต้องพึ่งพาเงินกู้จากต่างประเทศ ประกอบกับราคาทองแดงตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง แซมเบียจึงประสบปัญหาไม่สามารถจ่ายชำระดอกเบี้ยและเงินกู้ได้ ทำให้ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 แซมเบียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีหนี้สินต่างประเทศต่อหัวมากที่สุดในโลก

ประธานาธิบดี Kenneth Kaunda ได้รับการยกย่องเป็นรัฐบุรุษผู้กอบกู้เอกราชของแซมเบีย ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดียาวนานตั้งแต่แซมเบียได้รับเอกราช จนถึงปี 2534 (ค.ศ. 1991) ระบบการเมืองของแซมเบียแต่เดิมนั้น มีพรรค United National Independence Party (UNIP) เป็นพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงพรรคเดียว แต่ต่อมา สภาพความตกต่ำทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพของประชาชน ทำให้ความนิยมในประธานาธิบดี Kaunda เสื่อมลง เกิดการจราจลในประเทศ และมีกลุ่มต่อต้านประธานาธิบดีพยายามทำรัฐประหารหลายครั้ง จนกระทั่งเมื่อเดือนธันวาคม 2533 (ค.ศ. 1990) จึงได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเปิดทางให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบหลายพรรค และได้มีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยในเดือนตุลาคม 2534 (ค.ศ. 1991) ผลปรากฏว่า นาย Federick Chiluba ผู้นำสหภาพแรงงานได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ และพรรค Movement for Multi-Party Democracy (MMD) ของนาย Chiluba สามารถครองที่นั่งส่วนใหญ่ในสภา

นโยบายด้านการเมือง
รัฐบาลปัจจุบันของประธานาธิบดี Mwanawasaให้ความสำคัญกับการปราบปรามทุจริตและการประพฤติมิชอบในวงราชการ โดยใช้มาตรการปลดรัฐมนตรีที่ประพฤติผิดออกจากตำแหน่ง และให้การสนับสนุนคณะกรรมาธิการปราบปรามคอรัปชั่นแซมเบียในการดำเนินการปราบปรามทุจริตและคอรัปชั่นอย่างเอาจริงเอาจัง โดยเฉพาะ ได้พุ่งเป้าไปที่อดีตประธานาธิบดี Chiluba และบุคคลใกล้ชิด นอกจากนี้ ประธานาธิบดี Mwanawasa ยังได้ตั้งคณะทำงานพิเศษเพื่อสืบสวนและลงโทษข้าราชการที่ทุจริตในสมัยประธานาธิบดีคนก่อนด้วย

สถานการณ์ทางการเมืองที่สำคัญ
- การเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อเดือนธันวาคม 2544
นาย Chiluba ประธานาธิบดีแซมเบีย ได้ประกาศยุบสภา เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2544 และกำหนดให้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 27 ธันวาคม 2544 ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย และมีผู้ออกมาใช้สิทธิถึงร้อยละ 80 ผลปรากฏว่า นาย Levy Mwanawasa ผู้สมัครของพรรครัฐบาล Movement for Multi-Party Democracy (MMD) ซึ่งเคยเป็นรองประธานาธิบดีในสมัยแรกของประธานาธิบดี Chiluba ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ (ทั้งนี้ นาย Chiluba
ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี 2 สมัยติดต่อกันแล้ว จึงไม่สามารถลงสมัครได้อีก) และผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปรากฏว่า พรรค MMD ได้ 69 ที่นั่ง จากทั้งหมด 150 ที่นั่ง พรรค United Party for National Development (UPND) ได้ 49 ที่นั่ง พรรค United National Independence Party (UNIP) ได้ 13 ที่นั่ง และพรรคอื่นๆ อีก 19 ที่นั่ง และสำหรับสมาชิกสภาท้องถิ่น พรรค MMD ได้รับเลือกตั้งเข้าสู่สภาท้องถิ่นเป็นลำดับที่ 1

- การเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2549
ประธานาธิบดี Levy Mwanawasa ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 โดยจะดำรงตำแหน่งต่อไปอีกเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีปรากฏว่า นาย Mwanawasa ได้คะแนนเสียงคิดเป็นร้อยละ 43 ของผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด ในขณะที่นาย Michael M.C. Sata ผู้สมัครจากพรรค Patriotic Front (PF) และนาย Hakainde Hichilema พรรค United Democratic Alliance (UDA) ได้คะแนนเสียงคิดเป็นร้อยละ 29.4 และ 25.3 ตามลำดับ

เศรษฐกิจการค้า
นโยบายด้านเศรษฐกิจ
รัฐบาลมีเป้าหมายลดความยากจนและส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ประธานาธิบดี Mwanawasa ให้คำมั่นสัญญาที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจัดว่าเป็นประเทศยากจนมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยรัฐบาลจะใช้งบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพ ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะการปรับลดจำนวนตำแหน่งรัฐมนตรี และการกำหนดให้รัฐมนตรีซึ่งเดินทางมาปฏิบัติราชการในกรุงลูซากาเข้าพักในโรงแรมระดับธรรมดา เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ สำหรับนำไปใช้ในด้านบริการสังคมอื่นๆ และการตรึงการปรับขึ้นเงินเดือนของข้าราชการไม่ให้สูงกว่าอัตราการขยายตัวของ GDP งบประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆ จะนำไปใช้ในโครงการที่เกี่ยวข้องกับการลดความยากจน อาทิ โครงการเกี่ยวกับการศึกษา และการสาธารณสุข รวมถึงการต่อสู้กับโรคเอดส์ นอกจากนี้ ยังมีความพยายามจะลดการพึ่งพารายได้จากอุตสาหกรรมการผลิตทองแดงเพียงอย่างเดียว โดยพยายามส่งเสริมภาคการเกษตร การท่องเที่ยว การทำเหมืองอัญมณี และพลังงานไฟฟ้า

รัฐบาลมีนโยบายปรับปรุงและเพิ่มผลผลิตการเกษตร เพื่อทำให้แซมเบียมีผลผลิตข้าวโพดเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งนโยบายนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากหน่วยงานของประชาคมเพื่อการพัฒนาแห่งอนุภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ (the Southern African Development Community – SADC) และเห็นว่า นโยบายดังกล่าวจะมีส่วนช่วยให้แซมเบียพัฒนาเป็นแหล่งอาหารในกลุ่มประเทศสมาชิก SADC เนื่องจากแซมเบียมีดินที่อุดมสมบูรณ์ และมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อการเพาะปลูก

การปลดหนี้ประเทศยากจนและมีหนี้สินสูง
แซมเบียเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Highly Indebted Poor Countries Initiative (HIPCI) ขององค์การการเงินระหว่างประเทศ และเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2548 ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีคลังของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำหรือ G8 ได้แถลงว่า กลุ่ม G8 ได้แสดงความพร้อมที่จะปลดเปลื้องหนี้ต่างประเทศของประเทศยากจนที่มีหนี้สินสูง (Highly-Indebted Poor Countries: HIPC) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา ตามโครงการ HIPCI ของธนาคารโลกและองค์การการเงินระหว่างประเทศ โดยเป็นการยกเลิกหนี้ต่างประเทศทั้งหมดของประเทศที่เข้าข่ายได้รับการยกเลิกหนี้สิน ที่ยอมรับแผนการปฏิรูปเศรษฐกิจ มีธรรมาภิบาล มีการปราบปรามการคอรัปชั่นอย่างจริงจัง สนับสนุนประชาธิปไตยและหลักกฎหมาย โดยมี 38 ประเทศที่อยู่ในโครงการยกเลิกหนี้สินนี้ และแซมเบียเป็น 1 ใน 18 ประเทศที่เข้าข่ายจะได้รับการยกเลิกหนี้สินทันที

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐแซมเบีย
ด้านการทูต
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับแซมเบียเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2530 (ค.ศ. 1987) โดยฝ่ายแซมเบียได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตแซมเบียประจำสาธารณรัฐประชาชนจีนมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย ขณะที่ฝ่ายไทยมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียมีเขตอาณาครอบคลุมแซมเบีย
เอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียคนปัจจุบัน คือ นายโดมเดช บุนนาค

ด้านการเมือง
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-แซมเบียราบรื่น ไม่มีปัญหาระหว่างกัน แต่ยังค่อนข้างห่างเหิน ไม่ค่อยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกัน อย่างไรก็ดี แซมเบียให้การสนับสนุนไทยในเวทีระหว่างประเทศเสมอมา และทั้งสองประเทศมีท่าทีในเวทีระหว่างประเทศที่สอดคล้องกัน

ด้านเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ไทย-แซมเบียในทางเศรษฐกิจนั้นค่อนข้างน้อย ปัจจุบันมีคนไทยที่ประกอบธุรกิจร้านอาหารและเป็นคู่สมรสกับชาวแซมเบียและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในแซมเบียประมาณ 10 คน ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในแอฟริกา อย่างไรก็ดี แซมเบียนับเป็นคู่ค้าและแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกา ซึ่งไทยนำเข้าวัตถุดิบประเภทสินแร่โลหะ เศษโลหะ และผลิตภัณฑ์จากแซมเบียสูงมาก ทำให้ไทยขาดดุลการค้ากับแซมเบียมาโดยตลอดโดยเฉพาะปี 2549 ที่นำเข้าสูงถึง 10,527 ล้านบาท สำหรับสินค้าที่ไทยส่งออกไปแซมเบีย ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์รถยนต์ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น

ด้านการลงทุนนั้น นักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนในแซมเบียน้อยมากและจำกัดอยู่แค่เฉพาะธุรกิจร้านอาหารเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ เนื่องจากแซมเบียยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของนักธุรกิจไทย อีกทั้ง ระบบการบริหารจัดการภายในของแซมเบียในการจัดเก็บภาษี การส่งเสริมการลงทุน และความโปร่งใสยังขาดมาตรฐานและไม่มีความเป็นสากล จึงไม่ค่อยได้รับความเชื่อถือจากนักลงทุนไทยเท่าใดนัก

สถิติการค้าไทย - แซมเบีย ดูเอกสารแนบ

ความตกลงที่สำคัญ
ความตกลงทางการบิน ได้มีการลงนามย่อความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศระหว่างไทย-แซมเบีย โดยอธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศและผู้อำนวยการการขนส่งทางอากาศแซมเบีย เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2534 ที่กรุงเทพฯ

การเยือนที่สำคัญ
ฝ่ายไทย
ยังไม่มีการเสด็จฯ เยือยแซมเบียของพระราชวงศ์ไทย และไม่มีการเยือนของผู้แทนระดับสูงของไทยในชั้นนี้

ฝ่ายแซมเบีย
- นาย Kenneth Kaunda อดีตประธานาธิบดีแซมเบีย เดินทางมาเป็นผู้กล่าว Keynote address ในหัวข้อ HIV/AIDS ต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเอสแคป สมัยที่ 57 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนเมษายน 2544
- Dr. Brian Chituwo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแซมเบีย เดินทางเยือนไทยระหว่างวันที่ 15 -18 ตุลาคม 2545 เพื่อศึกษาดูงานด้านโรคเอดส์ และได้เข้าพบ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นาง Maureen Mwanawasa ภริยาประธานาธิบดีแซมเบียเข้าร่วมการประชุมเอดส์โลก ครั้งที่ 15 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2547

ผู้แทนทางการทูต
ฝ่ายไทย
เอกอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐแซมเบีย ซึ่งมีถิ่นพำนัก ณ กรุงพริทอเรีย คือ
นายโดมเดช บุนนาค (H.E. Mr. Domedej Bunnag)
ที่อยู่ของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย
Royal Thai Embassy
428 Pretorius/Hill Street
Arcadia, Pretoria 0083
P.O. Box 12080
Hatfield, Pretoria 0028
Tel. (27-12) 342-1600, 342-4516,
342-4600, 342-4506, 342-5470
Fax. (27-12) 342-4805, 342-3986
E-mail : info@thaiembassy.co.za
Consular Info : visa@thaiembassy.co.za
Trade Info : trade@thaiembassy.co.za
Technical : webmaster@thaiembassy.co.za
Website : http://www.thaiembassy.co.za

ฝ่ายแซมเบีย
เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแซมเบียประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงปักกิ่ง
คือ H.E.Mr. Lupando Augustine Festus Katoloshi Mwape
(อยู่ระหว่างการดำเนินการแต่งตั้ง)
ที่อยู่สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแซมเบีย ณกรุงปักกิ่ง
The Embassy of the Republic of Zambia
5 Dong Si Jie,
San Li Tun, Beijing,
The People's Republic of China
Tel. (8610) 6532-1554, 6532-1778, 6532-2058
Fax. (8610) 6532-1891

สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-48 E-mail : southasian03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์