ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> กาตาร์




แผนที่
รัฐกาตาร์
State of Qatar


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง เป็นแหลมยื่นจากชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรอาระเบียออกไปในอ่าวเปอร์เซีย ทิศใต้และทิศตะวันตกติดกับซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับบาห์เรน

พื้นที่ 11,437 ตารางกิโลเมตร

ประชากร 863,051 คน (ปี 2548) ประกอบด้วยชาวอาหรับ ร้อยละ
40 ชาวอินเดีย ร้อยละ 18 ชาวปากีสถาน ร้อยละ 18 ชาวอิหร่าน ร้อยละ10 และอื่นๆ ร้อยละ 14

เมืองหลวง กรุงโดฮา (Doha)

เมืองสำคัญ Umm Said, Al-Khor, Dakhan, Wakrah, Madinet, Al-Shamal

ภาษา ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ และภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง

ศาสนา ประชากรร้อยละ 95 นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่และศาสนาอื่นๆ อีกร้อยละ 5

หน่วยเงินตรา กาตาร์ริยาล (Qatar Riyal) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ
เท่ากับ 3.65 กาตาร์ริยาล หรือ 1 กาตาร์ริยาล เท่ากับประมาณ 11 บาท

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ประมาณ 52.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ปี 2549)

รายได้ประชาชาติต่อหัว 59,576 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 24.2 (ปี 2549)

การเมืองการปกครอง
การเมืองการปกครอง

- เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์องค์ปัจจุบันขึ้นครองราชย์เมื่อปี 2538 มีความพยายามที่จะปฏิรูประบบการเมืองให้เกิดเสรีภาพมากขึ้น กาตาร์มีการเลือกตั้งครั้งแรกในประวัติศาสตร์เมื่อปี 2542 โดยเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (Central Municipal Council) และมีสตรีลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย ทั้งนี้ กาตาร์เป็นประเทศแรกในกลุ่มอ่าวอาหรับที่มีการแต่งตั้งสตรีให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี โดย Sheikha Bint Ahmed Al Mahmoud ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเมื่อปี 2546

- เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2547 กาตาร์ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรเป็นครั้งแรกตั้งแต่ได้รับอิสรภาพจากอังกฤษเมื่อปี 2514 โดยรัฐธรรมนูญกำหนดมอบอำนาจนิติบัญญัติให้แก่สภาที่ปรึกษา ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 45 คน โดยจำนวน 2 ใน 3 จะมาจากการเลือกตั้ง (การเลือกตั้งทั่วไปคาดว่าจะมีขึ้นในปี 2550) ส่วนที่เหลือจะมาจากการแต่งตั้งโดยเจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ ซึ่งการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ถือเป็นการพัฒนาทางการเมืองที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของกาตาร์

นโยบายต่างประเทศ

- กาตาร์เป็นประเทศอาหรับที่ดำเนินนโยบายสายกลาง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ในคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council – GCC) ซึ่งกาตาร์เป็นสมาชิกอยู่ด้วย

- ปัจจุบันกาตาร์เป็นพันธมิตรที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาในตะวันออกกลาง ทั้งสองฝ่ายมีความใกล้ชิดกันเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในด้านการทหาร กาตาร์มีบทบาทสูงในการสนับสนุนสหรัฐอเมริกา ในสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1 และได้จัดทำความตกลงด้านการทหารกับสหรัฐอเมริกาหลายฉบับ รวมทั้งได้มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐอเมริกาในสงครามในอัฟกานิสถานและในอิรัก โดยสหรัฐอเมริกา ได้ตั้งศูนย์บัญชาการ (Joint Operation Center) ที่กรุงโดฮา เพื่อปฏิบัติการในอิรัก นอกจากนั้น นับแต่ปี 2549 เป็นต้นมา กาตาร์ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์บัญชาการส่วนล่วงหน้าของ US Central Command (CENTCOM) รวมทั้งเป็นที่ตั้งของฐานทัพอากาศสหรัฐอเมริกาที่เมือง Al-Udied

- รัฐบาลกาตาร์เห็นว่าความสัมพันธ์ทางทหารกับสหรัฐอเมริกาเป็นพันธกรณีระหว่างทั้งสองประเทศ ในขณะเดียวกัน รัฐบาลกาตาร์ก็เห็นความจำเป็นที่กาตาร์ ในฐานะส่วนหนึ่งของตะวันออกกลาง จะต้องให้ความสำคัญต่อประเด็นปัญหาและสถานการณ์ภายในภูมิภาค ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐอเมริกา ทำให้กาตาร์ได้รับผลประโยชน์ในด้านต่างๆ โดยกาตาร์และสหรัฐอเมริกา ได้ขยายความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น ด้านพลังงาน อุตสาหกรรมสาขาต่างๆ และด้านการศึกษา ซึ่งปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐอเมริกาหลายแห่งไปเปิดสาขาในกาตาร์ เช่น มหาวิทยาลัย Cornell ได้เปิดวิทยาลัยการแพทย์ที่กรุงโดฮา เป็นต้น

- กาตาร์เห็นว่าระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกควรจะพัฒนาไปในแนวทางที่ตอบสนองและช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนา โดยระบบการค้าโลกจะต้องยึดมั่นหลักการแห่งความเสมอภาค และอยู่บนมาตรฐานที่สามารถปรับใช้ได้ทั่วกัน

- กาตาร์สนับสนุนความริเริ่มขององค์การสหประชาชาติที่จะก่อตั้งกองทุนเพื่อประชาธิปไตย (United Nations Democracy Fund) โดยเจ้าผู้ครองรัฐได้กล่าวในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในวันที่ 14 กันยายน 2549 ว่า กาตาร์จะสมทบเงินจำนวน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เข้ากองทุนดังกล่าว ซึ่งต่อมา เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2550 กาตาร์ได้บริจาคเงินให้กองทุนดังกล่าวแล้วจำนวน 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และให้คำมั่น (pledge) ที่จะบริจาค อีกจำนวน 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

- กาตาร์มีนโยบายเชิญชวนให้ประเทศต่างๆ เปิดสถานเอกอัครราชทูตในกาตาร์ ปัจจุบันมีสถาน-เอกอัครราชทูตต่างประเทศในกรุงโดฮาจำนวนกว่า 50 แห่ง และล่าสุดได้มีการเปิดสถานเอกอัครราชทูตสิงคโปร์และเบลเยี่ยมประจำประเทศกาตาร์เมื่อเดือนมกราคมและเดือนมีนาคม 2550 ตามลำดับ ในขณะนี้กาตาร์มีสถานเอกอัครราชทูตในต่างประเทศเกือบ 40 ประเทศ

- ในระดับพหุภาคี กาตาร์เป็นสมาชิกองค์กรและหน่วยงานระหว่างประเทศต่างๆ จำนวน 67 แห่ง และกำลังเพิ่มบทบาทในกลุ่ม Gulf Cooperation Council (GCC), Organization of Islamic Conference (OIC), Asia Cooperation Dialogue (ACD) และได้เป็นสมาชิกไม่ถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) เมื่อเดือนมกราคม 2549 โดยมีวาระ 2 ปี

เศรษฐกิจการค้า
เศรษฐกิจ

- ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กาตาร์มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในกลุ่ม GCC นอกจากนี้ ยังมีรายได้ประชาชาติต่อหัวสูงที่สุดใน GCC (59,576 ดอลลาร์สหรัฐ) อีกด้วย ทั้งนี้ World Economic Forum ได้จัดให้กาตาร์เป็นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุดในโลกอาหรับเมื่อเดือนเมษายน 2548 (รองลงมาได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรน โอมาน และจอร์แดน ตามลำดับ) รายได้ส่วนใหญ่ของกาตาร์มาจากการส่งออกน้ำมัน (ผลิตประมาณ 800,000 บาร์เรล/วัน) มีปริมาณน้ำมันสำรอง 14.5 พันล้านบาร์เรล โดยมีการประเมินว่ากาตาร์จะสามารถผลิตน้ำมันในระดับปัจจุบันได้อีกเป็นเวลา 65 ปี

- นอกจากนี้ กาตาร์มีปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองมากเป็นอันดับ 3 ของโลก (รองจากรัสเซียและอิหร่าน) และโดยที่ก๊าซธรรมชาติเป็นความหวังใหม่ของประเทศ รัฐบาลจึงเร่งดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้อง อาทิ โครงการท่อส่งก๊าซ Dolphin Project เชื่อมโยงกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และคูเวต การขยายการผลิตและส่งออก Liquefied Natural Gas (LNG) และการลงทุนในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง (Gas-based Industries) เช่น ปิโตรเคมี อะลูมิเนียม และเหล็ก เป็นต้น ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา กาตาร์มีนโยบายพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางในด้านต่างๆ เช่น การเป็นศูนย์กลางด้านพลังงาน โดยเฉพาะการผลิตและส่งออกก๊าซธรรมชาติ ปิโตรเคมี รวมทั้งการเป็นแหล่งผลิต Gas to Liquid (GTL) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

- กาตาร์เริ่มส่งออก LNG ตั้งแต่ปี 2539 และในปี 2549 กาตาร์ได้กลายเป็นประเทศที่ส่งออก LNG มากที่สุดในโลก ประมาณ 25-26 ล้านเมตริกตันต่อปี และคาดว่าในปี 2555 กาตาร์จะสามารถผลิต LNG ได้ถึงร้อยละ 30 ของการผลิต LNG ทั่วโลกหรือประมาณ 77 ล้านตันต่อปี

- รัฐบาลกาตาร์มีนโยบายสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ (economic diversification) นโยบายแปรรูปกิจการของรัฐ (privatization) และนโยบายผ่อนคลายกฎระเบียบและเปิดเสรี (Deregulation- Liberalization) เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ การที่กาตาร์มีรายได้และสภาพคล่องสูงจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น ทำให้รัฐบาลสามารถจัดทำโครงการขนาดใหญ่ได้หลายโครงการ ที่สำคัญได้แก่ การขยายการก่อสร้างโครงการอุตสาหกรรมด้านน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ปิโตรเคมี และ Gas to Liquid (GTL) การก่อสร้างสนามบินใหม่ โครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ชื่อ Pearl Qatar การก่อสร้าง Energy City, Education City, Science and Technology Park, Hamad Medical City การก่อสร้างสะพานเชื่อมระหว่างกาตาร์กับบาห์เรน เป็นต้น โดยแผนการลงทุนในอีก 5 ปีข้างหน้า มีมูลค่ารวมประมาณ 130 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

- กาตาร์ต้องการเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค จึงมีโครงการก่อสร้างสนามบินขนาดใหญ่และทันสมัยระดับโลก มูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและปรับปรุงทัศนียภาพของกาตาร์ให้สวยงาม (beautification) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งบนบกและในทะเล โครงการถมทะเลเพื่อสร้างเกาะ Pearl Island รวมทั้งการพัฒนาและก่อสร้างในบางพื้นที่ให้เป็นเหมือนเกาะ Manhattan ของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

สังคม

- H.H. Sheikha Mozah Bint Naser Al Missned พระชายาเจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ ประธาน Qatar Foundation on Education and Social Development และทูตพิเศษของ UNESCO ด้าน Basic and Higher Education ได้ริเริ่มและก่อตั้งโครงการเมืองการศึกษา (Education City Project) เมื่อปี 2546 โดยมีมหาวิทยาลัยและสถาบันที่มีชื่อเสียงของต่างประเทศมาทำการเปิดสอน เช่น Weill Cornell Medical College, Carnegie Mellon University, Georgetown University School of Foreign Service, Texas A&M University และ Virginia Commonwealth School of the Arts รวมทั้งได้จัดตั้ง Science and Technology Park เพื่อเป็นการเชื่อมโยงระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม โดยมีบริษัทอุตสาหกรรมชั้นนำ เช่น Microsoft, Shell และ Exxon Mobil มาเปิดสำนักงานดำเนินกิจการ นอกจากนี้ H.H. Sheikha Mozah ยังเป็นผู้ที่มีบทบาทนำในการส่งเสริมบทบาทและสิทธิของสตรีในกาตาร์

- กาตาร์เป็นที่ตั้งของสถานีโทรทัศน์ Al Jazeera ซึ่งมีการเสนอข่าวและวิพากษ์วิจารณ์ประเทศตะวันตก รวมทั้งรัฐบาลในประเทศอาหรับต่างๆ หลายประเทศอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในตะวันออกกลาง ทำให้สถานีโทรทัศน์ดังกล่าวได้รับความนิยมสูง และมีอิทธิพลทางความคิดต่อประชาชน ชาวอาหรับและมุสลิมเป็นอย่างมาก จนเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Al Jazeera Effect ได้แก่ การตื่นตัวในทางการเมือง การเรียกร้องสิทธิในการสื่อสาร เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และความเป็นประชาธิปไตย

- อย่างไรก็ดี การเสนอข่าวและรายการของ Al Jazeera หลายครั้ง ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกาตาร์กับประเทศอาหรับอื่นๆ อาทิ กับซาอุดีอาระเบีย ทำให้มีการเรียกเอกอัครราชทูตกาตาร์ประจำซาอุดีอาระเบียกลับในปี 2549 และในปี 2549 ได้เกิดปัญหาขัดแย้งกับจอร์แดนซึ่งได้เรียกเอกอัครราชทูตจอร์แดนประจำกาตาร์กลับ ความขัดแย้งกับตูนีเซีย ได้ทำให้ตูนีเซียสั่งปิดสถานเอกอัครราชทูตของตนในกาตาร์ นอกจากนั้น การที่สถานีโทรทัศน์ดังกล่าวได้เสนอข่าวและรายงานเกี่ยวกับ นาย Osama bin Laden ผู้นำกลุ่ม Al - Qaeda และกลุ่มอิสลามติดอาวุธอื่นๆ อยู่เป็นระยะ ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่สหรัฐฯ และประเทศตะวันตก ทำให้รัฐบาลกาตาร์อยู่ในภาวะลำบากที่จะรักษาดุลยภาพในความสัมพันธ์กับโลกอาหรับหรือโลกอิสลาม กับประเทศตะวันตก อย่างไรก็ดี รัฐบาลกาตาร์ถือว่า Al Jazeera เป็นสถานีโทรทัศน์อิสระ รัฐบาลจึงไม่มีนโยบายที่จะแทรกแซงการเสนอข่าวของสถานี และถือว่าสถานีดังกล่าวมีส่วนช่วยส่งเสริมความรู้ให้กับประชาชนกาตาร์เพื่อนำไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยในอนาคต

- รัฐบาลกาตาร์ได้พัฒนาการกีฬา โดยจัดตั้งสถาบัน Aspire for Sports Excellence เพื่อสร้างนักกีฬาระดับประเทศและระดับโลก สร้างสนามแข่งยานยนต์ รวมทั้งสนับสนุนให้กาตาร์เป็นสถานที่แข่งกีฬาระดับโลก เช่น กอล์ฟ เทนนิส ปิงปอง แข่งเรือ ฯลฯ

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัฐกาตาร์
ด้านการทูต

ประเทศไทยกับรัฐกาตาร์ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2523 ประเทศไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโดฮาในปี 2545 ต่อมาเมื่อปี 2547 กาตาร์ได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตในไทย ความสัมพันธ์ตลอด 25 ปีที่ผ่านมาเป็นไปอย่างราบรื่น

ด้านการเมือง

- ทั้งสองประเทศต่างให้การสนับสนุนซึ่งกันและกันในเวทีระหว่างประเทศ มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับราชวงศ์และผู้นำระดับสูง ทั้งนี้เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์เคยเสด็จฯ เยือนประเทศไทยในฐานะพระอาคันตุกะของรัฐบาลเมื่อปี 2542 และเสด็จฯ ร่วมพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเดือนมิถุนายน 2549 ด้วย

- กาตาร์มีท่าทีต่อปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยว่าเป็นกิจการภายในประเทศของไทย ทั้งนี้ กาตาร์เป็นสมาชิกก่อตั้งของ Asia Cooperation Dialogue (ACD) ซึ่งไทยริเริ่มจัดตั้งขึ้น และกาตาร์ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ACD ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 5 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2549

ด้านเศรษฐกิจ

- การค้ารวมระหว่างไทย–กาตาร์ ในปี 2549 มีมูลค่ารวม 1722.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกเป็นมูลค่า 193.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 1528.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยเป็นฝ่ายขาดดุล การค้า อย่างไรก็ดี การส่งออกของไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2545 โดยในปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 91.28 จากปี 2548

- สินค้าออกของไทยไปกาตาร์ที่สำคัญ ได้แก่ รถยนต์ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม เครื่องจักรกล อัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากกาตาร์ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ปุ๋ย และเคมีภัณฑ์

- สหพันธ์ธุรกิจบริการออกแบบและก่อสร้างแห่งประเทศไทย (Federation of Design and Construction Services of Thailand – FEDCON) ได้รับงานออกแบบและควบคุมการก่อสร้างหมู่บ้านนักกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ซึ่งจัดขึ้นในปี ๒๕๔๙ โดยจะปรับเปลี่ยนหมู่บ้านเป็นอาคารโรงพยาบาล Hamad Medical Center ภายหลังเสร็จสิ้นการแข่งขันฯ รวมทั้งมีบริษัทที่ดำเนินการเกี่ยวกับการก่อสร้าง เช่น บริษัทเพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียร์ริ่ง กรุ๊ป จำกัด (Powerline Engineering Group of Companies Ltd.) เป็นต้น

- ปัจจุบันมีแรงงานไทยในกาตาร์อยู่ประมาณ 10,000 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานมีฝีมือหรือกึ่งมีฝีมือ โดยร้อยละ 90 ทำงานในภาคการก่อสร้าง และการกลั่นน้ำมัน นอกจากนี้ มีคนไทยที่เป็นลูกเรือสายการบินกาตาร์ (Qatar Airways) ประมาณ 150 คน

ความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม

กาตาร์ได้ให้ความช่วยเหลือชาวมุสลิมในไทย โดยเจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ได้บริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่งสำหรับการก่อสร้างอาคารเรียนและหอพักนักศึกษาที่วิทยาลัยอิสลามยะลา จังหวัดปัตตานี โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศาสนสมบัติและกิจการอิสลาม (Minister of Endowment and Islamic Affairs) ของกาตาร์เดินทางมาประเทศไทยเพื่อร่วมในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2550

ความตกลงที่สำคัญๆ กับไทย

- ไทยและกาตาร์ได้ลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างกัน เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2542 (ระหว่างการเสด็จฯ เยือนไทยของเจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์) ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2534 ปัจจุบันสายการบิน Qatar Airways ทำการบินเส้นทางกรุงโดฮา–กรุงเทพมหานครทุกวัน และได้มีการเจรจาการบินและสามารถตกลงกันได้ที่จะทำการบินโดยไม่จำกัดความจุ ความถี่ และจุดหมายระหว่างทั้งสองประเทศ ในส่วนของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ยังไม่ได้เปิดบริการบินไปกาตาร์

- กระทรวงการต่างประเทศไทยและกาตาร์ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2541 ระหว่างการเยือนกาตาร์ของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

- ขณะนี้ ไทยและกาตาร์กำลังหารือร่วมกันเกี่ยวกับความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน และความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วม เพื่อที่จะให้มีการลงนามในอนาคตอันใกล้นี้

การเยือน

ฝ่ายไทย

พระราชวงศ์

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์

- วันที่ 28 พฤศจิกายน - 6 ธันวาคม 2549 เสด็จเยือนกาตาร์ เพื่อทรงร่วมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันในนามทีมชาติไทยในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 15 ณ กรุงโดฮา

รัฐบาล

- ปี 2527 ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนกาตาร์ เพื่อส่งเสริมการค้าและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน

- เดือนพฤศจิกายน 2541 ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนกาตาร์อย่างเป็นทางการ

- วันที่ –7-9 กรกฎาคม 2544 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี เยือนกาตาร์อย่างเป็นทางการ (สมัยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ)

- วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2546 และวันที่ 8-12 กันยายน 2546 นายกร ทัพพะรังสี รองนายกรัฐมนตรี เยือนกาตาร์อย่างเป็นทางการ

- วันที่ 25-27 เมษายน 2547 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รองนายกรัฐมนตรี เยือนกาตาร์ เพื่อส่งเสริมโครงการอาหารฮาลาลของไทย

- วันที่ 13-16 มิถุนายน 2548 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุม South Summit ครั้งที่ 2 ณ กรุงโดฮา

- วันที่ 17 พฤศจิกายน 2548 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี เพื่อขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญเจ้าผู้ครองรัฐฯ เสด็จฯ เยือนไทยในวโรกาสพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

- วันที่ 29 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2549 สวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุม Sixth International Conference on New or Restored Democracies (ICNRD–6) ณ กรุงโดฮา

- วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2550 ดร. ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นำคณะบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม เยือนกาตาร์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงาน

ฝ่ายกาตาร์

พระราชวงศ์

H.H. Sheikh Hamad Bin Khalifa Al-Thani เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์
- วันที่ 12-15 เมษายน 2542 เสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระอาคันตุกะของรัฐบาลและได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2542

- วันที่ 12-13 มิถุนายน 2549 เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์พร้อมพระชายา เสด็จฯ ร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

H.E. Sheikh Joann Bin Hamad Al-Thani พระโอรสของเจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์
- วันที่ –4-6 พฤศจิกายน 2549 ในฐานะ Ambassador for the 15th Asian Games Torch Relay เสด็จเยือนประเทศไทยเพื่อทรงนำคบเพลิงเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 15 มายังประเทศไทย

รัฐบาล

- วันที่ 18-19 มิถุนายน 2545 Sheikh Hamad Bin Faisal Al-Thani รัฐมนตรีเศรษฐกิจและการค้ากาตาร์ เข้าร่วมประชุม Asia Cooperation Dialogue ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

- วันที่ 20-22 กรกฎาคม 2546 Sheikh Hamad Bin Faisal Al-Thani รัฐมนตรีเศรษฐกิจและการค้ากาตาร์ เข้าร่วมประชุม Asia Cooperation Dialogue ที่จังหวัดเชียงใหม่

- วันที่ 26-30 มกราคม 2550 H.E. Mr. Faisal Bin Abdulla Al-Mahmoud รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศาสนสมบัติและกิจการศาสนากาตาร์ เยือนไทยเพื่อร่วมพิธีเปิดอาคารเรียนวิทยาลัยอิสลามยะลา จังหวัดปัตตานี

ผู้แทนทางการทูต

ฝ่ายไทย

Royal Thai Embassy
Villa No. 162
Al Muntazah Street
Al Hilal Area
P.O. Box 22474
Doha
Tel. (974) 455-0715, 455-0716
Fax. (974) 455-0835
E-mail : thaidoh@qatar.net.qa

ฝ่ายกาตาร์

The Embassy of the State of Qatar
14th Floor, Capital Tower
All Seasons Place
87/1 Wireless Road Lumpini,
Pathumwan, Bangkok 10330
Tel: 0-2660-1111
Fax: 0-2660-1122
E-mail: info@qatarembassy.or.th
Website: http://www.qatarembassy.or.th

******************
สิงหาคม 2550



เรียบเรียงโดย กองตะวันออกกลาง กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5051-52 E-mail : southasian03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์