ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> ปาปัวนิวกินี




แผนที่
ปาปัวนิวกีนี
Independent State of Papua New Guinea


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ทิศตะวันตกของภูมิภาคแปซิฟิกใต้ มีพรมแดนติดกับจังหวัดปาปัวตะวันตกของอินโดนีเซีย โดยตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของเกาะ New Guinea ซึ่งเป็นเกาะเขตร้อนขนาดใหญ่ อยู่ห่างจากออสเตรเลียไปทางทิศเหนือประมาณ 160 กิโลเมตร
พื้นที่ 452,860 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะขนาดใหญ่ 3 เกาะ และเกาะเล็กๆ อีกกว่า 600 เกาะ เขตเศรษฐกิจจำเพาะ 3,120,000 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง กรุงพอร์ตมอร์สบี (Port Moresby) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะนิวกินี ประชากรประมาณ 320,000 คน และเป็นเมืองท่าที่สำคัญของประเทศ
ภูมิประเทศ มีลักษณะเป็นภูเขาและชายฝั่งทะเล
ภูมิอากาศ ภูมิอากาศเขตร้อน (tropical) และอยู่ในเขตลมมรสุม
ประชากร 5,670,544 คน (ปี 2549)
ภาษา อังกฤษ (ทางการ) อังกฤษพิดจิน (Pidgin English) โมตู (Motu) และมีภาษาพื้นเมืองของเผ่าต่าง ๆ ประมาณ 715 ภาษา
ศาสนา คริสต์ นิกาย Roman Catholic ร้อยละ 22 นิกาย Lutheran ร้อยละ 16 นิกาย Protestant ร้อยละ 10 ความเชื่อพื้นเมือง ร้อยละ 34 และอื่นๆ ร้อยละ 18
หน่วยเงินตรา คีน่า (Kina) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 3.0189 คีน่า (ปี 2549)
วันชาติ 16 กันยายน (ปาปัวนิวกินีได้รับเอกราชในปี 2518)
GDP 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)
GDP per capita 662 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)
Real GDP Growth ร้อยละ 3.7 (2549)
อุตสาหกรรม มะพร้าวแห้ง น้ำมันปาล์ม ไม้อัด ทอง เงิน ทองแดง ก่อสร้าง ท่องเที่ยว น้ำมันดิบ
สินค้าส่งออก ทอง น้ำมันดิบ ทองแดง สินค้าเกษตร ซุง กาแฟ
ตลาดส่งออก ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ จีน
สินค้านำเข้า เครื่องจักร สินค้าอุตสาหกรรม อาหาร น้ำมัน
ตลาดนำเข้า ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ นิวซีแลนด์ มาเลเซีย

ภูมิศาสตร์และประชากร
ปาปัวนิวกินีมีลักษณะภูมิศาสตร์เป็นเทือกเขาขนาดใหญ่ และมีภูเขาและภูเขาไฟจำนวนมาก พื้นที่ราบเป็นป่าดิบชื้น และทุ่งหญ้าสาวันนา พืชสำคัญคือ มะพร้าว ปาล์ม และเตย

ปาปัวนิวกินีเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีมากที่สุดของโลก บนเกาะนิวกินีซึ่งประกอบด้วยประเทศปาปัวนิวกินีและจังหวัดปาปัวตะวันตกของอินโดนีเซียมีภาษาพูดมากกว่า 650 ภาษา และมีเพียง 350-450 ภาษาเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน บางภาษาใช้พูดกันเฉพาะในกลุ่มชนจำนวนไม่กี่ร้อยหรือไม่กี่พันคน และไม่มีความคล้ายคลึงกับภาษาอื่นๆ ที่ใช้บนเกาะ หรือภาษาอื่นใดในโลก และเนื่องจากลักษณะภูมิศาสตร์ที่เป็นภูเขา ทำให้กลุ่มชนบางกลุ่มมีความเป็นอยู่อย่างสันโดษและไม่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มชนอื่นๆ ที่อยู่ห่างกันเพียงไม่กี่กิโลเมตรแม้แต่น้อย

ชาวปาปัวนิวกินีจำนวน 2 ใน 3 ส่วนนับถือศาสนาคริสต์ ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในปาปัวนิวกินีคิดเป็นร้อยละ 1 ของประชากรทั้งหมด โดยกว่าครึ่งหนึ่งเป็นชาวออสเตรเลีย ที่เหลือคือชาวอังกฤษ นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ และอเมริกัน

ประวัติศาสตร์
หลักฐานทางโบราณคดีระบุว่า มนุษย์เข้ามาตั้งถิ่นฐานบนเกาะนิวกินีมานานกว่า 60,000 ปี คาดว่าเป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคน้ำแข็ง (Ice Age) ต่อมา ในช่วงศตวรรษที่ 16 นักเดินเรือชาวโปรตุเกสและสเปนเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เข้ามาในดินแดนแห่งนี้ โดยระหว่างปี 2069-2070 (ค.ศ. 1526-27) Don Jorge de Meneses ชาวโปรตุเกสได้ตั้งชื่อเกาะนี้ว่า “ปาปัว” (Papua) ซึ่งเป็นภาษามาเล แปลว่า ผมหยิก ตามลักษณะเส้นผมของชนพื้นเมือง ต่อมาในปี 2088 (ค.ศ. 1545) Yngio Ortis de Retez ชาวสเปนเรียกเกาะนี้ว่า “นิวกินี” (New Guinea) เนื่องจากเห็นว่า ชนพื้นเมืองมีความคล้ายคลึงกับชนพื้นเมืองในกินี (Guinea) ในแอฟริกา

ในปี 2427 (ค.ศ. 1884) เยอรมนีได้เข้ายึดภาคตะวันออกเหนือของเกาะ รวมทั้งเกาะโบเกนวิลล์ (Bogainville) และในปี 2531 (ค.ศ. 1888) สหราชอาณาจักรได้เข้ายึดครองในส่วนใต้ของเกาะ เรียกว่า British New Guinea ส่วนเยอรมนีเข้าครอบครองส่วนเหนือของเกาะอย่างสมบูรณ์ในปี 2442 (ค.ศ. 1899) และเรียกส่วนนี้ว่า German New Guinea จากนั้นในปี 2457 (ค.ศ. 1914) กองทัพออสเตรเลียได้เข้ายึดครองส่วนที่เป็น German New Guinea และปกครองเกาะทั้งสองส่วนจนกระทั่งปี 2484 (ค.ศ. 1941) ญี่ปุ่นได้บุกเข้ายึดและเป็นผู้ปกครองเกาะจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2488 (ค.ศ. 1945) จากนั้น ในปี 2492 (ค.ศ. 1949) ปาปัวและนิวกินีตกอยู่ในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ภายใต้ The Papua and New Guinea Act โดยมีออสเตรเลียเป็นผู้ดูแล และเรียกดินแดนนี้ว่า Territory of Papua and New Guinea ต่อมา ในปี 2515 (ค.ศ. 1972) ได้เปลี่ยนชื่อเป็นปาปัวนิวกินี พร้อมทั้งจัดการเลือกตั้งคณะรัฐมนตรี หัวหน้าคณะรัฐมนตรีคือ Sir Micheal Somare ซึ่งเป็นผู้นำในการเรียกร้องเอกราชจากออสเตรเลีย และทำให้ปาปัวนิวกินีได้รับเอกราชในปี 2518 (ค.ศ. 1975)

การเมืองการปกครอง
ระบบรัฐสภา ประชาธิปไตยระบบรัฐสภาเดียว เรียกว่า “รัฐสภาแห่งชาติ” (National Parliament)ปัจจุบันมีสมาชิก 109 คน โดย 89 คนมาจากการเลือกตั้งทั่วไป (open electorates)และที่เหลืออีก 20 คน มาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด (provincial electorates)วาระ 5 ปี
ประมุขรัฐ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
ผู้สำเร็จราชการ Sir Paulias Matane ได้รับเลือกเป็นผู้สำเร็จราชการฯ คนที่ 8 ต่อจาก Sir Silas Atopare
นายกรัฐมนตรี The Rt. Hon. Grand Chief Sir Michael Somare
รัฐมนตรีต่างประเทศ The Hon. Paul Tiensten (Minister of Agriculture and Livestock, Foreign Affairs and Immigration and Bougainville Affairs)
การเลือกตั้ง ครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2550 (ค.ศ. 2007)
รูปแบบการปกครอง แบ่งเป็น 3 ระดับคือ ระดับชาติ (National) ระดับจังหวัด(Provincial) และระดับท้องถิ่น(Local) รัฐบาลท้องถิ่น (Provincial Government) ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง และรัฐบาลกลางสามารถแทรกแซงกิจการด้านการบริหาร การคลัง และอื่น ๆ ได้ เนื่องจากรัฐบาลท้องถิ่น ส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมที่จะดำเนินการโดยอิสระ รัฐบาลมีนโยบายเน้นการพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนชาวปาปัวนิวกินี และเสริมสร้างความสามัคคีระหว่างชนเผ่าต่างๆ ของประเทศ โดยเน้นสร้างความภูมิใจในความเป็นชาวปาปัวนิวกินี ด้วยการแก้ไขปัญหาทางสังคมต่าง ๆ
สถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน
รัฐบาลยังคงครองเสียงข้างมาก และจัดตั้งรัฐบาลผสม โดยThe Rt. Hon. Grand Chief Sir Michael Somare ดำรงตำแหน่ง นรม. เป็นสมัยที่ 4

เศรษฐกิจการค้า
ภาพรวม
ปาปัวนิวกินีเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ทรัพยากรทางทะเล ทองคำ ทองแดง น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ รายได้หลักของประเทศขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมการประมง เหมืองทองแดง เหมืองทองคำ และการท่องเที่ยว ส่วนด้านเกษตรกรรม ส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูกกาแฟ โกโก้ และมะพร้าว ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ทองคำ น้ำมันดิบ กาแฟ ทองแดง ซุง กาแฟ และสัตว์ทะเล ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง ส่วนประกอบรถยนต์ อาหาร และเชื้อเพลิง

สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน
รัฐบาลควบคุมสถานะการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ อัตราเงินเฟ้อต่ำ อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ เศรษฐกิจได้รับผลดีจากผลผลิตเหมืองแร่ที่เพิ่มขึ้น และราคาสินค้าส่งออกเพิ่มสูงขึ้นได้แก่ ทอง น้ำมันดิบ ทองแท่ง เป็นผลให้การส่งออกในช่วงไตรมาสของปีขยายตัวร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับปีก่อน และคาดว่าในปีนี้ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลและเศรษฐกิจโดยรวมจะเติบโตในทิศทางที่ดี อย่างไรก็ตาม ในเดือน มี.ค. 2549 UN ได้เสนอปรับสถานะการพัฒนาของปาปัวนิวกินีจากประเทศกำลังพัฒนาเป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) ซึ่ง นรม. Sir Michael คัดค้านข้อเสนอดังกล่าว

รัฐบาลพยายามดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ขยายการส่งออก (Export-led economy) แสวงหาความร่วมมือกับประเทศในเอเชีย (look north) และมีบทบาทนำในกลุ่มประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก (Work Pacific) การลงนามความตกลงทางการค้ากับนิวซีแลนด์เมื่อเดือนมิ.ย. 2549 ทำให้ปาปัวนิวกินีส่งออกสินค้าเกษตร เช่น มะพร้าว เผือก ขิง ไปยังตลาดนิวซีแลนด์ นอกจากนี้ ปาปัวนิวกินียังได้รับโควตาการส่งออกปลาทูนาไปยังตลาด EU เพิ่มขึ้น ในการประชุมรัฐมนตรีการค้าของเอเปคครั้งที่ 12 ปาปัวนิวกินีตอบรับที่จะยกเลิกการอุดหนุนสินค้าส่งออกทั้งหมดภายในปี 2556

สถิติการค้าไทย – ปาปัวนิวกินี (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ปี มูลค่าการค้า ส่งออก นำเข้า ดุลการค้า
2544(2001) 85.1 15.4 69.7 -54
2545(2002) 46.9 16.9 30 -13.1
2546(2003) 74.9 21.1 53.8 -33
2547(2004) 56 23.5 32.5 -9
2548(2005) 85.6 35.7 49.9 -14.2
2549(2006) 90.0 51.4 38.5 12.9
หมายเหตุ ข้อมูลจากเวปไซด์กระทรวงพาณิชย์

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับปาปัวนิวกีนี
1. ความสัมพันธ์ทั่วไป
ไทยและปาปัวนิวกินีสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2519 โดยเอกอัครราชทูตไทยประจำอินโดนีเซียมีเขตอาณาดูแลปาปัวนิวกินี ปัจจุบันคือนางอัจฉรา เสรีบุตร โดยมีนาย Laoni Henao เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำปาปัวนิวกินี ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2538 เอกอัครราชทูตปาปัวนิวกินีประจำอินโดนีเซียมีอาณาเขตดูแลไทย ได้แก่ นาย Peter Maginde
ปาปัวนิวกินีถือเป็นประเทศในภูมิภาคแปซิฟิกใต้ที่มีความสำคัญในลำดับต้นสำหรับไทย มีความร่วมมือที่ดีกับไทยในเวทีระหว่างประเทศมาโดยตลอด นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในกลุ่มประเทศแปซิฟิกใต้

2. เศรษฐกิจและการค้า
ปาปัวนิวกินีมีศักยภาพในการเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรมไทย และเป็นตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคของไทย และมีภูมิศาสตร์ซึ่งสามารถเป็นประตูของไทยไปสู่ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคแปซิฟิกใต้ ปัจจุบันปาปัวนิวกินีมีมูลค่าการค้ากับไทยเป็นอันดับสองรองจากวานูอาตู โดยในปี 2549 มีมูลค่า 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกคิดเป็นมูลค่า 51.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันการค้าหลักคือการนำเข้าน้ำมันดิบจากปาปัวนิวกินี ซึ่งมีมูลค่า 39.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2550)และการส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบ ซึ่งมีมูลค่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2550) อนึ่ง ปาปัวนิวกินีเป็นแหล่งเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันสำหรับการผลิตไบโอดีเซลของไทย
ปัจจุบัน ความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับปาปัวนิวกินีมีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับศักยภาพทางเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่าย กล่าวคือไทยเป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีคุณภาพและราคาถูกที่ชาวปาปัวนิวกินีนิยม เช่น อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ในขณะที่ปาปัวนิวกินีมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ สามารถสนับสนุนวัตถุดิบให้ภาคอุตสาหกรรมไทย เช่น ทรัพยากรทางทะเล ป่าไม้ ทองคำ ทองแดง นอกจากนี้ ข้าวยังเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการขยายตลาดได้อีกมาก เนื่องจากในปัจจุบันชาวปาปัวนิวกินีบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ซึ่งสามารถปลูกข้าวได้บ้างแต่ไม่ได้ผลเต็มที่ เนื่องจากขาดการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่ทันสมัย กอปรกับขาดความรู้และความชำนาญในการปลูกข้าว ทำให้ปาปัวนิวกินีมีความจำเป็นต้องนำเข้าข้าวจากต่างประเทศปีละ 170,000 ตัน โดยส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีทั้งข้าวออสเตรเลียและข้าวไทยที่ส่งผ่านออสเตรเลีย ภาคเอกชนปาปัวนิวกินีแสดงความสนใจที่จะนำเข้าข้าวจากประเทศไทยโดยตรงเพื่อเป็นการลดต้นทุน แต่ปัญหาอุปสรรคทางการค้าในปาปัวนิวกินี คือ ยังมีการผูกขาดอยู่มาก โดยเฉพาะจากออสเตรเลีย ในขณะเดียวกันสถานการณ์ และความปลอดภัยภายในประเทศ ยังเป็นปัญหาหลักที่ทำให้นักธุรกิจชาวต่างประเทศไม่กล้าเข้าไปลงทุนในปาปัวนิวกินี

3. ความช่วยเหลือและความร่วมมือทางวิชาการ
ประเทศไทยได้เริ่มให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่ปาปัวนิวกินีครั้งแรกเมื่อปี 2522 โดยส่วนใหญ่เป็นความร่วมมือในรูปแบบหลักสูตรประจำปี โดยในปี 2547 ไทยแจ้งเวียนหลักสูตรประจำปีให้แก่ปาปัวนิวกินีด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการชายฝั่งทะเลแต่ไม่มีผู้สมัครรับทุนดังกล่าวจากปาปัวนิวกินี ขณะนี้ ทั้งสองฝ่ายอยู่ในระหว่างการเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ (Agreement on Technical Cooperation) ระหว่างกัน เพื่อที่จะให้ความช่วยเหลือทางวิชาการของฝ่ายไทยเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์กับปาปัวนิวกินี และฝ่ายไทยได้พิจารณากำหนดยุทธศาสตร์ในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในภูมิภาคแปซิฟิกใต้ โดยกำหนดให้ปาปัวนิวกินีเป็นประเทศในลำดับต้นที่จะให้ความช่วยเหลือ

4. ความตกลงที่ทำกับไทย
4.1 ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศ (Air Services Agreement) ลงนามเมื่อ 1 พฤษภาคม 2539 ที่กรุงเทพฯ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันสายการบินทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้ทำการบินระหว่างกัน เนื่องจากปริมาณการจราจรยังไม่เพียงพอ
4.2 ความตกลงการค้า (Trade Agreement) ลงนามเมื่อวันที่3 มิถุนายน 2546 ที่ จังหวัดขอนแก่น
ความตกลงที่ยังคั่งค้าง มี 4 ฉบับ ได้แก่
(1) ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน
(2) ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน
(3) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ
(4) ความตกลงว่าด้วยระบบการค้าแบบหักบัญชี

5. การเยือนของผู้นำระดับสูง
ฝ่ายไทยเยือนปาปัวนิวกินี
ระดับพระราชวงศ์
- สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนปาปัวนิวกินีอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 17-19 เมษายน 2539
ระดับรัฐบาลไทย
- นายพิชัย รัตตกุล รองนายกรัฐมนตรี เดินทางไปเยือนปาปัวนิวกินีอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 5 - 8 สิงหาคม 2527
- ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเยือนปาปัวนิวกินี ระหว่างวันที่ 8 - 25 กุมภาพันธ์ 2528
- นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีไปเยือนในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี เพื่อร่วมงานฉลองเอกราชครบ 10 ปี วันที่ 16 กันยายน 2528
- ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ไปเยือนปาปัวนิวกินี ระหว่างวันที่ 9 - 11 สิงหาคม 2537
- พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีกำหนดเยือนปาปัวนิวกินีอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 27 - 28 มีนาคม 2546 แต่ต้องเลื่อนการเยือนดังกล่าวออกไปเนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับอิรัก
- นายสรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ได้นำคณะนักธุรกิจประมงไทยเดินทางเยือนปาปัวนิวกินี ระหว่างวันที่ 5-8 มิถุนายน 2547 เพื่อแสวงหาลู่ทางในการขยายการค้า / การลงทุน โดยเฉพาะการทำประมง ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากฝ่ายปาปัวนิวกินี และทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้มีการจัดทำความตกลงด้านประมงระหว่างกัน
- รองนายกรัฐมนตรี(นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) เดินทางเยือนปาปัวนิวกินีเพื่อเข้าร่วมประชุม Post-Forum Dialogue ของ Pacific Islands Forum เมื่อเดือน ต.ค. 2548 และได้เข้าเยี่ยมคารวะ The Rt. Hon. Grand Chief Sir Michael Somare โดยทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องการเตือนภัยสึนามิ ปัญหาโรคเอดส์ และตำแหน่ง UNSG

ฝ่ายปาปัวนิวกินีเยือนไทย
- นาย Tukape Masani รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและการปศุสัตว์เยือนไทย เพื่อเยี่ยมชมสถาบันวิจัยของไทยเมื่อเดือนเมษายน 2541
- นาย Kilroy Genia สมาชิกสภาและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมด้วยนาย Loani Henao กงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำ Port Moresby ได้พาคณะเยือนไทยเพื่อหารือการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและขอรับความช่วยเหลือด้านการปลูกข้าว ระหว่างวันที่ 25 - 29 พฤศจิกายน 2541
- Rt. Hon. Sir Michael Somare นายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินีเยือนไทยในลักษณะ Working visit ระหว่างวันที่ 18 - 22 ตุลาคม 2546 ก่อนเข้าร่วมการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 11 โดยได้เข้าพบและหารือข้อราชการกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- นาย Ben Semri รัฐมนตรีว่าการกระทรวงประมงและคณะ ได้นำเดินทางมาดูงานด้านประมงในประเทศไทย ตามคำเชิญของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา ในเดือนกันยายน 2547 ซึ่งนอกจากจะช่วยผลักดันความร่วมมือด้านประมงแล้ว การหารือระหว่างนาย Semri และนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ในขณะนั้น) ยังส่งผลให้ทั้งสองฝ่ายแสวงหาลู่ทางความร่วมมือด้านอื่นๆ อาทิ การปลูกข้าว การเพาะเลี้ยงกุ้ง และปาล์มน้ำมัน

กองแปซิฟิกใต้
กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้
วันที่ 22 สิงหาคม 2550

เรียบเรียงโดย กองแปซิฟิกใต้ กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 0-2643-5000 ต่อ 3034 Fax. 0-2643-5119 E-mail : nidthas@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์