ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> โมนาโก




แผนที่
ราชรัฐโมนาโก
Principality of Monaco


 
ข้อมูลทั่วไป
(สำหรับข้อมูลทั่วไป สามารถดาวน์โหลดไฟล์ Monacofactsheet ได้จากด้านล่างของเว็บเพจนี้)
ที่ตั้ง ภาคพื้นทวีปยุโรปตะวันตก ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และล้อมรอบโดยเขตAlpes –Maritimes ของฝรั่งเศส

พื้นที่ 1.95 ตารางกิโลเมตร (มีขนาดเล็กเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากนครรัฐวาติกัน)ความยาวเส้นเขตแดน 4.4 กิโลเมตร

ประชากร 32,671 คน (กรกฎาคม 2550) (เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก) ประกอบด้วยชาวฝรั่งเศส 47% โมนาโก 16% อิตาเลียน 16% และอื่นๆ 21%

ภาษาราชการ ฝรั่งเศส (ส่วนภาษาโมนาโก อิตาเลียน และอังกฤษใช้อย่างแพร่หลาย)

ศาสนา คริสต์ (90% โรมันคาธอลิค) โปรเตสแตนท์ และอื่นๆ

เมืองหลวง Monaco-Ville

สกุลเงิน ยูโร (Euro)

วันชาติ 19 พฤศจิกายน

ระบบการเมือง ราชาธิปไตยโดยมีเจ้าผู้ครองราชรัฐเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2505

ประมุข เจ้าชาย Albert II (อัลแบร์ที่ 2) แห่งราชวงศ์กริมาลดี (Grimaldi) ขึ้นครองราชย์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2548 ภายหลังการเสด็จสวรรคตของเจ้าชายเรนิเยร์ ที่ 3 เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2548 โดยทรงเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 32 แห่งราชวงศ์กริมัลดี ซึ่งมีประวัติความเป็นมาถึง 700 ปี

มกุฎราชกุมารี เจ้าหญิง Caroline de Hanovre (ตั้งแต่ 6 เม.ย. 2548)

อำนาจบริหาร มนตรีแห่งรัฐ (เทียบเท่านายกรัฐมนตรี) นาย Jean-Paul Proust (ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2548) เป็นหัวหน้ารัฐบาล
- เลขาธิการมนตรีแห่งรัฐ นาย Robert COLLE
- คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย ที่ปรึกษารัฐบาล (เทียบเท่ารัฐมนตรีว่าการ) จำนวน 5 คน ได้แก่
1) ที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศ นาย Jean PASTORELLI (ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2550)
2) ที่ปรึกษาด้านการเงินและเศรษฐกิจ นาย Gilles TONELLI (ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2549)
3) ที่ปรึกษาด้านกิจการภายในราชรัฐ นาย Paul MASSERON (ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2549)
4) ที่ปรึกษาด้านกิจการสังคมและงานสาธารณูปโภค นาย Jean-Jacques CAMPANA (ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2550)
5) ที่ปรึกษาด้านโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งแวดล้อมและผังเมือง นาย Robert CALCAGNO (ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2549)

อำนาจนิติบัญญัติ ราชรัฐโมนาโกมีสภาเดียว เรียกว่า คณะกรรมการแห่งชาติ (The National Council) ประธานของ National Council ในขณะนี้ คือ นาย Stephane Valeri คณะกรรรมการประกอบด้วยสมาชิก 18 คน ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน และอยู่ในวาระ 5 ปี ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีอายุเกิน 21 ปี และมีสัญชาติโมนาโกมากกว่า 5 ปี ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องมีสัญชาติโมนาโก และอายุเกิน 25 ปี ประมุขแห่งรัฐและคณะกรรมการแห่งชาติมีอำนาจนิติบัญญัติ มีหน้าที่ให้ความเห็นชอบต่อกฎหมายและงบประมาณ มีการประชุมทั่วไป 2 ครั้งต่อปี และในกรณีพิเศษหากประมุขของรัฐ หรือสมาชิก 2 ใน 3 ของคณะกรรมการแห่งชาติ เรียกร้องให้มีการประชุม การประชุมจะเปิดเผยต่อสาธารณชนและเนื้อหาการประชุมจะได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารของโมนาโก “Journal de Monaco” ซึ่งเป็นวารสารทางการของโมนาโก

อำนาจตุลาการ ประกอบด้วยศาลชั้นต้น (Court of First Instance) ศาลอุทธรณ์ (Court of Appeal) ศาลอุทธรณ์สูงสุด (Higher Court of Appeal) และศาลอาชญากรรม (Criminal Court)

เขตเทศบาล มาตรา 78 แห่งรัฐธรรมนูญระบุว่าเขตแดนของราชรัฐมีหนึ่งเขตเทศบาล คณะกรรมการเขตเทศบาลมีสมาชิก 15 คน มาจากการเลือกตั้ง โดยมีวาระตำแหน่ง 4 ปี นายกเทศมนตรีและผู้ช่วยนายกเทศมนตรีได้รับการเลือกโดยคณะกรรมการเขตเทศบาล และมีการประชุมทุกๆ 3 เดือน เขตการบริหารของราชรัฐโมนาโกแบ่งออกเป็น 5 เขต ได้แก่ Monaco-Ville, The Condamine, Monte Carlo, Fontvieille และ Moneghetti

การเมืองการปกครอง
ราชรัฐโมนาโกเคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสตั้งแต่ปี 2404 และได้แยกตัวเป็นอิสระเมื่อปี 2461 ซึ่งทั้ง 2 ประเทศได้ลงนามในสนธิสัญญาทางมิตรภาพ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2461 สนธิสัญญาดังกล่าวกำหนดภารกิจของฝรั่งเศสที่จะมีหน้าที่ป้องกันเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดนของราชรัฐฯ โดยราชรัฐฯ จะต้องใช้สิทธิด้านอธิปไตยอย่างสอดคล้องกับผลประโยชน์ของฝรั่งเศสด้วย รวมทั้งการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ก็ควรจะมีการหารือกับฝรั่งเศสก่อน และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2488 และปี 2494 ได้มีการลงนามในข้อตกลงซึ่งมีส่วนแก้ไขจากข้อตกลงฉบับเดิมเพื่อปรับให้เข้ากับสภาพสังคมและเศรษฐกิจ
ต่อมา รัฐบาลโมนาโกได้ขอให้มีการแก้ไขสารัตถะของสนธิสัญญาทางไมตรีอารักขาฉบับลงนามปี 2461 เพื่อให้โมนาโกมีอิสระมากขึ้นในการบริหารประเทศ และมีการลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรีฯ ฉบับใหม่ (ซึ่งเรียกว่าสนธิสัญญาทางไมตรีและความร่วมมือ) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2545 ระหว่างนาย Dominique de Villepin รมว.กต.ฝศ. (ในขณะนั้น) และนาย Patrick Leclercq มนตรีแห่งรัฐ ราชรัฐโมนาโก (ในขณะนั้น) โดยสนธิสัญญาทางไมตรีและความร่วมมือมีบทบัญญัติที่สำคัญ ดังนี้
1. ฝรั่งเศสจะให้การปกป้องเสรีภาพและอธิปไตยของราชรัฐโมนาโก และให้การประกันบูรณภาพแห่งดินแดนของโมนาโกภายใต้เงื่อนไขเดียวกับของฝรั่งเศส
2. โมนาโกมีพันธะที่จะดำเนินการต่างๆ ในอธิปไตยของตนเอง ให้สอดคล้องกับ
ผลประโยชน์ที่สำคัญของฝรั่งเศสในด้านการเมือง เศรษฐกิจ ความมั่นคงและการป้องกันประเทศ และกำหนดให้มีการหารือร่วมกันตามความเหมาะสม
3. ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โมนาโกจะหารือกับฝรั่งเศสตามความ
เหมาะสมในประเด็นที่สำคัญโดยให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ขั้นพื้นฐานของฝรั่งเศส และในขณะเดียวกัน ฝรั่งเศสจะหารือกับโมนาโกโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ขั้นพื้นฐานของโมนาโกเช่นกัน
4. ฝรั่งเศสกับโมนาโกได้ตกลงที่จะปรับความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นความสัมพันธ์
ทางการทูต โดยแต่ละประเทศจะจัดตั้งสำนักงานตัวแทนบนดินแดนของแต่ละประเทศ
5. ฝรั่งเศสพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกแก่โมนาโกในการสมัครเข้าเป็นสมาชิกใน
องค์การ/สถาบันระหว่างประเทศ ตามคำขอของโมนาโก
6. ในกรณีที่ประเทศใดไม่มีสถานกงสุลของโมนาโกตั้งอยู่ และภายใต้ข้อสงวนของ
บทบัญญัติของกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการทูตและการกงสุล คนชาติโมนาโกสามารถติดต่อสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือสำนักตัวแทนของฝรั่งเศสในประเทศนั้นได้ หากประสงค์
อนึ่ง รัฐสภาฝรั่งเศสได้ให้สัตยาบันสนธิสัญญาทางไมตรีและความร่วมมือและได้มีการ
ประกาศผลบังคับใช้ของสนธิสัญญาทางไมตรีฯ ฉบับนี้ในราชกิจจานุเบกษาของฝรั่งเศส ฉบับลงวันที่ 14 ตุลาคม 2548 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2548

เศรษฐกิจการค้า
ผลผลิตประชาชาติ
976 USD bn (2549) คิดเป็นรายได้เฉลี่ยต่อหัวประมาณ 30,000 USD

สภาพเศรษฐกิจ
1. ราชรัฐโมนาโกมีที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งเป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ประกอบกับมีคาสิโนที่มีชื่อเสียงและอากาศที่อุ่นสบาย ในปี 2544 ได้มีโครงการก่อสร้างเพื่อขยายพื้นที่จอดเรือในท่าเรือหลัก กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดรายได้แบ่งเป็น 4 สาขา คือ อุตสาหกรรมเบา โดยเน้นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและไม่ก่อให้เกิดมลพิษ การท่องเที่ยว โดยเฉพาะธุรกิจการโรงแรม ธุรกิจการเงินและการธนาคาร และการค้าและอสังหาริมทรัพย์ ราชรัฐโมนาโกไม่มีการจัดเก็บภาษีรายได้ (income tax) และภาษีมรตก แต่มีการจัดเก็บภาษีด้านอื่นเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ แต่ทั้งนี้มีการจัดเก็บภาษีธุรกิจ (business tax) ในอัตราต่ำ รัฐเป็นผู้ผูกขาดสินค้าและบริการบางประเภทเช่น ยาสูบ บริการโทรศัพท์ และไปรษณีย์ คุณภาพการใช้ชีวิตของประชาชนอยู่ในระดับสูง
2. ภายหลังการครองราชย์ เจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 มีพระราชประสงค์จะให้โมนาโกเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งใช้เทคโนโลยีชั้นสูงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะไบโอเทคโนโลยีและการค้นคว้า/วิจัยทางการแพทย์ นอกเหนือจากเสริมสร้างศักยภาพด้านการเงินและการท่องเที่ยวซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศให้เข้มแข็งและก้าวหน้ายิ่งขึ้น
3.ฝรั่งเศสได้เคยกล่าวหาว่าทางการโมนาโกมีนโยบายผ่อนปรนต่อการฟอกเงินจากต่างชาติในโมนาโก ซึ่งโมนาโกได้ขอให้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) และ Financial Action Group ประเมินผลการปราบปราม และขจัดปัญหาการฟอกเงินของทางการโมนาโก โดยทั้งสองหน่วยงานดังกล่าวได้ประกาศยอมรับว่า โมนาโกไม่มีข้อบ่งชี้ใดๆ ในเชิงลบที่เกี่ยวข้องกับการขจัดปัญหาการฟอกเงิน นอกจากนี้ เจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 ได้ทรงยืนยันว่า พระองค์จะทุ่มเทสรรพกำลังทั้งหมดเพื่อทำให้โมนาโกพ้นจากการถูกกล่าวหาว่าเป็นแหล่งฟอกเงิน

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชรัฐโมนาโก
การต่างประเทศ

ภาพรวมการต่างประเทศ
1. ราชรัฐโมนาโกยังมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่างๆ น้อยมาก กล่าวคือ
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 โมนาโกได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับฝรั่งเศสเป็นประเทศแรก โดยฝรั่งเศสได้ยกระดับสถานกงสุลใหญ่ในโมนาโกขึ้นเป็นสถานเอกอัครราชทูต เหตุผลสำคัญคือ ฝรั่งเศสมีความใกล้ชิดกับโมนาโกในทุกด้าน และมีคนสัญชาติฝรั่งเศสอาศัยอยู่ในโมนาโกเป็นจำนวนมาก อนึ่ง มีสถานกงสุลต่างประเทศในโมนาโก 78 แห่งและมีสถานกงสุลโมนาโกใน 57 ประเทศ
2. ราชรัฐโมนาโกเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติลำดับที่ 183 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2536 และเป็นสมาชิกสภายุโรป (Council of Europe) เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2547 นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศ อาทิ UNESCO, องค์การอนามัยโลก (WHO), BIE (Bureau International des Expositions), องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO), คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC), ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA), สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU), องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) และยังลงนามเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE) ด้วย
3. โมนาโกมิได้เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป แต่การที่โมนาโกมีข้อตกลงจัดตั้งสหภาพการค้ากับฝรั่งเศส ทำให้โมนาโกได้รับสิทธิประโยชน์เยี่ยงประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่น ทั้งนี้ โมนาโกเป็นประเทศหนึ่งในยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร
4. เป็นที่น่าสังเกตว่า นับตั้งแต่เจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นองค์มกุฎราชกุมารแห่งราชรัฐโมนาโกเมื่อปี 2539 (ค.ศ.1996) พระองค์ไม่เคยเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรเลย ในขณะที่ได้เสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนและรัสเซีย ในปี 2542 และ 2544 ตามลำดับ (เจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 ทรงมีพระราชมารดาเป็นชาวอเมริกันและทรงศึกษาระดับปริญญาตรีที่สหรัฐอเมริกา)
5. เจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 ทรงกำหนดบทบาทที่ชัดเจนของโมนาโกในประชาคมโลกในฐานะ “ผู้ถือสาร” (Porteur de messages) ที่จะช่วยสนับสนุนกระบวนการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ มากกว่าที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาโลกในลักษณะ adventurous โดยคำนึงการที่โมนาโกเป็นประเทศขนาดเล็ก
6. นอกเหนือจากการที่โมนาโกได้จัดสรรงบประมาณในกรอบการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา หรือ ODA แล้ว เจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 ทรงสนพระทัยในประเด็นสิ่งแวดล้อม การแก้ไขปัญหาความยากจน และการพัฒนาสิทธิเด็ก ซึ่งทรงมีเจตนารมณ์ที่จะสืบสานเจตนารมณ์ของเจ้าหญิงเกรซ พระราชมารดา ในการพัฒนากฎหมายคุ้มครองสิทธิเด็ก

บทบาทของโมนาโกในองค์การสหประชาชาติ

ระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติสมัยที่ 60 (World Summit 2005 หรือ High-level Plenary Meeting) ในเดือนกันยายน 2548 ที่นครนิวยอร์ก เจ้าชายอัลแบร์ ที่ 2 และนาย Jean-Paul Proust มนตรีแห่งรัฐ ราชรัฐโมนาโก ได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับบทบาทของโมนาโกในองค์การสหประชาชาติ ในด้านต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้
1. ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
นอกจากจะจัดตั้งกองทุน Official Development Assistance (ODA) ขึ้นแล้ว โมนาโกยังได้ร่วมบริจาคในกองทุนอื่นภายใต้องค์กรระหว่างประเทศเพื่อช่วยเหลือกิจกรรมสำหรับการพัฒนาต่างๆ อาทิ การพัฒนาประเทศในทวีปแอฟริกาและภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน นอกจากนี้ ภาครัฐและองค์กรอิสระของโมนาโกยังมีบทบาทในการพัฒนางานด้านสุขภาพ การศึกษา และการต่อสู้กับความยากจนในประเทศที่พูดภาษาฝรั่งเศสอีกด้วย

2 ความปลอดภัย
เจ้าชายอัลแบร์ ที่ 2 ได้ทรงเชิญชวนประเทศต่างๆ ให้จัดทำอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อต่อสู้กับปัญหาการก่อการร้าย

3 สิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองเด็กและเยาวชน
โมนาโกเห็นว่าการก่อตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (HRC) และคณะกรรมาธิการการสร้างสันติภาพ (Peacebuilding Commission) เป็นจุดที่สำคัญขององค์การสหประชาชาติ เนื่องจากการคุ้มครอง มนุษยชาติจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เป็นหน้าที่ของประชาคมโลก หากรัฐหรือองค์กรระดับภูมิภาคไม่สามารถทำหน้าที่ดังกล่าวได้ ทั้งนี้ การคุ้มครองสิทธิของเยาวชนเป็นหนึ่งในประเด็นที่โมนาโกให้ความสำคัญมาโดยตลอด โดยโมนาโกเห็นว่าการละเมิดสิทธิของเยาวชนไม่ควรถูกจำกัดอยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลภายใน ประเทศเท่านั้น แต่ควรอยู่ภายใต้อำนาจหน่วยงานระหว่างประเทศ

4 สิ่งแวดล้อม
โมนาโกเห็นว่าโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ไม่สามารถตอบรับพัฒนาการในด้านสิ่งแวดล้อมของปัจจุบันได้อย่างพอเพียง ดังนั้น จึงควรก่อตั้งองค์กรที่มีอำนาจด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้องค์การสหประชาชาติ (United Nations Environmental Organization) นอกจากนี้
เจ้าชายอัลแบร์ ที่ 2 ได้ทรงแถลงต่อที่ประชุมว่า โมนาโกจะดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าร่วมพิธีสารเกียวโตต่อไป

ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-โมนาโก
เจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 ทรงมีความสนพระทัยที่จะเจริญสัมพันธไมตรีกับภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะกับไทยเป็นพิเศษ โดยได้เสด็จเยือนไทยเป็นประเทศแรกระหว่างวันที่ 17-19 มิถุนายน 2539 ภายหลังจากที่ทรงได้รับการสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมารแห่งราชรัฐโมนาโก ซึ่งได้ทรงมีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกทั้งได้ทรงอนุญาตให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทยเข้าเฝ้าด้วย การเสด็จเยือนดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความตั้งพระทัยของเจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 ที่ทรงมุ่งมั่นในการเจริญสัมพันธไมตรีกับราชอาณาจักรไทย

1. การแลกเปลี่ยนการเยือน
1.1 ไทยเยือนโมนาโก
1.1.1. ระดับพระราชวงศ์
- สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนราชรัฐโมนาโก ระหว่างวันที่ 20-23 กันยายน 2539 ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาลโมนาโก ซึ่งนับเป็นการเยือน
ระดับพระราชวงศ์ของไทยเป็นครั้งแรก
1.1.2 ภาครัฐบาล
- นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนโมนาโกอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2548
- นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ รองประธานุฒิสภา คนที่ 1 และคณะรวมทั้งสิ้น 23 คน เยือนโมนาโกระหว่างวันที่ 25-26 มกราคม 2549 ซึ่งฝ่ายโมนาโกได้จัดให้คณะทั้งหมดได้เข้าเยี่ยมคารวะบุคคลสำคัญสูงสุดของโมนาโกทั้งจากฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ ได้แก่ นาย Jean-Paul Proust นายกรัฐมนตรี และนาย Stéphane Valérie ประธานสภาแห่งชาติ

1.2 โมนาโกเยือนไทย
1.2.1 ระดับพระราชวงศ์
- เจ้าชาย Albert II (ดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมารในขณะนั้น) เสด็จเยือนไทย ระหว่างวันที่ 17-19 มิถุนายน 2539 เพื่อแสวงหาลู่ทางในการกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านการค้า อุตสาหกรรม การธนาคาร และการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับราชรัฐโมนาโก
- เจ้าหญิง Stéphanie (พระขนิษฐาของเจ้าชายอัลแบร์ที่ 2) เสด็จเยือนไทยเป็นการส่วนพระองค์ ระหว่างวันที่ 1-13 พฤศจิกายน 2548
- เจ้าหญิง Caroline de Hanovre มกุฏราชกุมารีแห่งราชรัฐโมนาโก (พระภคินีของเจ้าชายอัลแบร์ที่ 2) และเจ้าชาย Ernst-August de Hanovre พระสวามี เสด็จเยือนไทยเป็นการส่วนพระองค์ ระหว่างวันที่ 5 -17 มกราคม 2549
- เจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 เสด็จเยือนไทยระหว่างวันที่ 11-14 มิถุนายน 2549 เพื่อ ทรงร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1.2.2 ระดับอื่นๆ
- นาง Stéphanie Salat บุตรสาวของนาย Jean-Paul Proust มนตรีแห่งรัฐ ราชรัฐโมนาโก เยือนไทยเป็นการส่วนตัว ระหว่างวันที่ 18 ธันวาคม 2548 – 8 มกราคม 2549

2. การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต
ในระหว่างการเยือนโมนาโกของนายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในขณะนั้น เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 ได้มีการหารือกับนาย Jean-Paul Proust มนตรีแห่งรัฐ ราชรัฐโมนาโก เกี่ยวกับการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับโมนาโก ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะดำเนินการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันให้แล้วเสร็จก่อนการเสด็จเยือนไทยของเจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 เพื่อทรงร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี ในเดือนมิถุนายน 2549
ต่อมา ไทยและโมนาโก ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2549 โดยให้สอท. ณ กรุงปารีส มีเขตอาณาครอบคลุมโมนาโก และให้ออท. ณ กรุงปารีสดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงโมนาโกอีกตำแหน่งหนึ่ง
นอกจากนี้ ทั้ง 2 ประเทศได้แต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์เป็นตัวแทนดูแลผลประโยชน์ในทั้ง 2 ประเทศ กงสุลกิตติมศักดิ์ของโมนาโกประจำประเทศไทยคือ นายศรีภูมิ สุขเนตร และกงสุลกิตติมศักดิ์ของไทยประจำโมนาโก คือนาย ฌอง โคลด มูรู (Jean-Claude Mourou)
ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงร่วมกันที่จะจัดงานเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการระหว่างกันขึ้นในวันที่ 18 กันยายน 2550 ณ โรงแรม Hotel de Paris, Monte Carlo ซึ่งในช่วงเช้าจะเป็นการจัดสัมมนาทางเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอและส่งเสริมศักยภาพ ตลอดจนโอกาสในขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศ ส่วนในช่วงบ่ายนั้น จะเป็นการจัดพบปะระหว่างนักธุรกิจที่สนใจของโมนาโกกับผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจไทยในฝรั่งเศส ทั้งนี้ นับเป็นการสานต่อตามพระราชดำริของเจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 ที่ทรงเล็งเห็นถึงคุณประโยชน์ของการพัฒนาความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ ยังจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองการเสด็จพระราชดำเนินประพาสราชรัฐโมนาโกของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครบ 10 ปี โดยงานจะมีการแสดงนิทรรศการภาพถ่าย การจัดงานเลี้ยงรับรอง และการแสดงวัฒนธรรมไทย โดยความร่วมมือของสำนักงานการท่องเที่ยวไทย ณ กรุงปารีส

3. ด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
3.1 ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับราชรัฐโมนาโกยังมีปริมาณน้อย
กล่าวคือ ในปี 2549 มีมูลค่าการค้ารวม 3 ล้าน USD (เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.18) โดยไทยส่งออก 2.0 ล้าน USD และนำเข้า 1.0 ล้าน USD และในปี 2550 (ม.ค. – มิ.ย.) มีมูลค่าการค้ารวม 3.0 ล้าน USD (เพิ่มขึ้นร้อยละ 179.48) โดยไทยส่งออก 2.0 ล้าน USD และนำเข้า 1.0 ล้าน USD ไทยได้ดุลการค้า 1.0 ล้าน USD สินค้าที่ไทยนำเข้าจากโมนาโก ได้แก่ เครื่องสำอาง เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก สินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนสินค้าที่ไทยส่งออกไปโมนาโก ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้สำหรับเดินทาง เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์เซรามิกและสิ่งทอ
3.2 ภาคธุรกิจของราชรัฐโมนาโกไม่ได้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI
3.3 ปริมาณนักท่องเที่ยวโมนาโกที่เดินทางมาประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำ
โดยในปี 2549 มี 138 คน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 150.91) และในปี 2550 (ม.ค. – มี.ค.) มี 31 คน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.75) สำหรับนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางไปโมนาโกยังไม่มีสถิติบันทึกไว้ เนื่องจากนักท่องเที่ยวไทยจะไม่เดินทางเข้าไปในโมนาโกโดยตรง แต่จะเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในยุโรปประเทศอื่นก่อน
3.4 ข้อมูลล่าสุด (พ.ศ.2549) แจ้งว่า มีชาวเอเชียทำงานอยู่ในโมนาโกทั้งสิ้น 465 คน โดยเป็นบุคคลสัญชาติไทย 17 คน โดยคนไทยกลุ่มนี้มีถิ่นพำนักที่โมนาโก 15 คน ส่วนอีก 2 คนพำนักอยู่ในเขตประเทศฝรั่งเศส และเดินทางข้ามแดนเข้าไปทำงานในโมนาโกทั้งนี้ มีร้านอาหารไทยในโมนาโก 1 ร้านและร้านอาหารไทย / เวียดนาม 1 ร้าน
------------------------------------
7 สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองยุโรป 2 กรมยุโรป โทร. 0 2643 5133 Fax. 0 2643 5132 E-mail : european03@mfa.go.th สถานะ ณ 7 สิงหาคม 2550



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์