ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> ลัตเวีย




แผนที่
สาธารณรัฐลัตเวีย
Republic of Latvia


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ทางยุโรปตอนเหนือแถบทะเลบอลติก ทิศเหนือจดประเทศเอสโตเนีย ทิศตะวันออกจดดินแดนรัสเซีย ทิศตะวันออกเฉียงใต้จดเบลารุส ทิศใต้จดประเทศลิทัวเนีย และทิศตะวันตกจดทะเลบอลติก

พื้นที่ 64,589 ตารางกิโลเมตร หรือ 40,368 ตารางไมล์ ส่วนใหญ่เป็นทะเลสาบ ป่าไม้และภูเขา

ประชากร 2.3 ล้านคน (กรกฎาคม 2549)

กลุ่มชนชาติ ชาวลัตเวีย 52% ชาวรัสเซีย 34% นอกนั้นเป็นเชื้อชาติเบลารุส ยูเครน โปแลนด์ ลิทัวเนีย และ อื่นๆ

ภาษา ลัตเวีย และ รัสเซีย

ศาสนา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกาย Lutheran คาทอลิก และออร์ธอดอกซ์ ในหมู่ชาวรัสเซีย

เมืองหลวง กรุงริกา (Riga)

สกุลเงิน แลต (Lat)(ออกใช้แทนเงินตราสกุล rubles ตั้งแต่ 5 มีนาคม2536)

อัตราแลกเปลี่ยน 1 USD = 0.54 Lat 1 EUR = 0.66 Lat 1 Lat = 75.95 บาท

วันชาติ 18 พฤศจิกายน

ระบบการเมือง หลังจากได้รับเอกราช เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2533 ลัตเวียได้มีการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2535 ซึ่งมีผลบังคับใช้แทนรัฐธรรมนูญที่สหภาพโซเวียตประกาศใช้มาก่อนหน้านั้นแล้ว และในปัจจุบันได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2535

ประธานาธิบดี Mr. Valdis Zatlers ตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2550

นายกรัฐมนตรี Mr. Aigars Kalvitis ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2547

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ Mr. Artis Pabriks ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2547

สถาบันทางการเมือง ลัตเวียมีประธานาธิบดีเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา เป็นระบบสภาเดียว เรียกว่า Saiema ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 100 คน โดยประธานาธิบดีจะเป็นผู้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีต่อรัฐสภา เพื่อลงมติให้ความไว้วางใจ ในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ (พรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐสภาต้องได้รับคะแนนเสียงเกินร้อยละ 4 จากการลงคะแนนเสียงทั่วประเทศ)

ดรรชนีเศรษฐกิจ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 13.63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

GDPต่อหัว 5}892 ดอลลาร์สหรัฐ

อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 8.5

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 6.2

อัตราการว่างงาน ร้อยละ 8.5

ดุลการค้า ขาดดุลการค้า 3.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ส่งออก/ นำเข้า 3.94 และ 6.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประเทศคู่ค้าส่งออกสำคัญ สหราชอาณาจักร (ร้อยละ 12.9) เยอรมนี (ร้อยละ 12.3) สวีเดน (ร้อยละ 10.3) ลิทัวเนีย (ร้อยละ 9.5) เอสโตเนีย(ร้อยละ 8.2)/ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (ร้อยละ 76.9)

ประเทศคู่ค้านำเข้าที่สำคัญ เยอรมนี (ร้อยละ 14.5) ลิทัวเนีย (ร้อยละ 12.4) รัสเซีย (ร้อยละ 8.9) เอสโตเนีย(ร้อยละ 7.1) ฟินแลนด์ (ร้อยละ 6.5)/ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (ร้อยละ 75.1)

สินค้าส่งออกสำคัญ ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ โลหะและโลหะภัณฑ์ สิ่งทอ

สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักรและส่วนประกอบ อุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่ง เคมีภัณฑ์

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) 380.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2546)
- ขีดความสามารถด้านการแข่งขัน (Global Competitiveness Index) ในปี 2549 อยู่ในลำดับที่ 36(ปี 2548 ลำดับที่ 39)

ข้อมูลทั่วไปของประเทศลัตเวียที่สามารถค้นหาได้ทาง internet
1 www.am.gov.lv
2 www.president.lv

การเมืองการปกครอง
พรรคการเมืองที่สำคัญของลัตเวีย เช่น พรรค People พรรค New Era พรรค Greens\' and Farmers\' พรรค Latvia\'s First และพรรค Fatherland and Freedom Union/LNNK

การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนตุลาคม 2541
-เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2541 ได้มีการเลือกตั้งทั่วไป ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรค People ของนาย Andris Skele อดีตนายกรัฐมนตรีได้รับเลือกตั้งมากที่สุด 24 ที่นั่ง
พรรค Latvia’s Way ได้ 21 ที่นั่ง พรรค Fatherland and Freedom Union/LNNKของอดีตนายกรัฐมนตรี Guntars Krasts ได้ 17 ที่นั่ง ซึ่งภายหลังการเลือกตั้ง พรรค Latvia’s Way พรรค Fatherland and Freedom Union/LNNK และพรรค New ได้ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลผสมเสียงข้างน้อยในสภา (46 เสียง จาก 100 ที่นั่งในสภา) และเสนอให้นาย Vilis Kristopans จากพรรค Latvia’s Way ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

การเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อเดือนมิถุนายน 2542
-เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2542 รัฐสภาได้ลงมติเลือกและแต่งตั้ง Mrs. Vaira Vike-Freiberga ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสืบแทนนาย Guntis Ulmanis ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง นาง Vike-Freiberga นับเป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ของลัตเวีย และเป็นประธานาธิบดี สุภาพสตรีคนแรกในประวัติศาสตร์ทางการเมืองของลัตเวีย และเข้ารับหน้าที่ประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2542 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี

การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหลังจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนตุลาคม 2541
-เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2542 นาย Kristopans ได้ลาออกจากตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรี เนื่องจากพรรค Fatherland and Freedom Union/LNNK ได้แอบไปเจรจาเป็นพันธมิตรกับพรรค People ต่อมานาย Andris Skele ผู้นำพรรค People ได้จัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรค Latvia’s Way และพรรค Fatherland and Freedom Union/LNNK และเป็นรัฐบาลผสมสามพรรคเสียงข้างมากในสภา โดยนาย Andris Skele ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
-เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2543 นาย Andris Skele นายกรัฐมนตรี ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีลัตเวีย (หลังจากเข้ารับหน้าที่เมื่อเดือนกรกฎาคม 2542) เนื่องมาจากประสบปัญหาความขัดแย้งในการดำเนินนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2543 รัฐสภาลัตเวียได้ให้ความเห็นชอบให้นาย Andris Berzins ผู้นำพรรค Latvia’s Way ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบแทน โดยเป็นการจัดตั้งรัฐบาลผสมเสียงข้างมากในสภา ประกอบด้วยพรรค Latvia’s Way พรรค People พรรค Fatherland and Freedom Union/LNNK และพรรค New Era

การเลือกตั้งทั่วไปเดือนตุลาคม 2545
- ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2545 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรค New Era ของนาย Einars Repse ประสบชัยชนะ ได้รับเลือกตั้ง 26 ที่นั่ง จาก 100 ที่นั่ง และได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสมเสียงข้างมากในสภา ส่งผลให้นาย Einars Repse เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีลัตเวีย

การเลือกตั้งประธานาธิบดีลัตเวียเดือนมิถุนายน 2546
- ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีลัตเวียโดยรัฐสภาลัตเวียเมื่อเดือนมิถุนายน 2546 ผลปรากฏว่า รัฐสภาลงมติสนับสนุนให้นาง Vaira Vike-Freiberga ดำรงตำแหน่ง
ประธานาธิบดีลัตเวียเป็นสมัยที่สองติดต่อกัน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งระหว่าง ปี 2546-2550

การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลลัตเวีย เมื่อเดือนมีนาคม 2547
- เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2547 นายกรัฐมนตรี Repse ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2545 ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลผสม ส่งผลให้นาย Indulis Emsis หัวหน้าพรรค Green\'s and Farmer\'s Union ได้เข้ารับการแต่งตั้งให้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีลัตเวียคนใหม่สืบแทน เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2547
- รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี Emsis เป็นรัฐบาลผสมเสียงข้างน้อยในสภา
46 เสียง จากสมาชิกรัฐสภา 100 เสียง ประกอบด้วยพรรค Green\'s and Farmer\'s Union พรรค Latvia\'s First และพรรค People\'s

การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล เมื่อเดือนธันวาคม 2547
-หลังจากที่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี Indulis Emsis ต้องสิ้นสภาพลงเนื่องจากรัฐสภา Saeima ของลัตเวียลงคะแนนเสียงไม่รับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี 2548 ต่อมานาง Vaira Freiberga ประธานาธิบดี ได้เสนอชื่อนาย Aigars Kalvitis สมาชิกพรรค People’s Party เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ โดยเป็นการจัดตั้งรัฐบาลผสม 4 พรรค เสียงข้างมากในสภา ประกอบด้วย พรรค People’s Party (20 เสียง) พรรค New Era (26 เสียง) พรรค Greens’ and Farmers’ Union (12 เสียง) และพรรค Latvia’s First (14 เสียง) และรวมทั้งสิ้น 72 เสียง จากจำนวนสมาชิกรัฐสภา 100 เสียง และรัฐสภาลัตเวีย (Saeima) ได้ให้การรับรองรัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี Kalvitis เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2547
การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2549
-ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2549 ผลปรากฏว่า พรรค People Partyภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีAigars Kalvitis ยังคงได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด และได้เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลแทนที่พรรค New Era ซึ่งสูญเสีญความนิยมกลายเป็นพรรคอันดับ 3 ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากการถูกเปิดโปงเรื่องที่พัวพันกับการฉ้อราษฏร์บังหลวงของสมาชิกพรรค และข่าวอื้อฉาวของประธานพรรคนาย Repse ในกรณีขับรถชนคนตายก่อนการเลือกตั้ง พรรครัฐบาลผสมเสียงข้างมากในสภายังคงสนับสนุนให้นาย Kalvitis ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกัน

การเมืองระหว่างประเทศ
เป้าหมายสำคัญที่สุดของนโยบายด้านความมั่นคงที่แถลงออกมาอย่างชัดแจ้งของ ลัตเวีย คือ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) เพื่อเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงของลัตเวีย เนื่องจากลัตเวียยังคงมีความระแวงต่อ ภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นจากรัสเซีย ซึ่งพัฒนาการล่าสุดในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การ NATO ของลัตเวีย และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านบอลติก คือ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 สมาชิกองค์การ NATO 19 ประเทศ ได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยการรับสมาชิกใหม่ 7 ประเทศ คือ บัลแกเรีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย โรมาเนีย สโลวะเกีย และสโลวีเนีย ที่กรุงบรัสเซลส์ ต่อมา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2547 ประเทศสมาชิกองค์การ NATO ใหม่ ทั้ง 7 ประเทศ ได้มอบภาคยานุวัตรสารให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี
และในด้านนโยบายต่างประเทศ คือ การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) เพื่อเข้าร่วมกระบวนการรวมตัวของยุโรป โดยลัตเวียและประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มบอลติก คือ เอสโตเนีย และลิทัวเนีย พร้อมด้วยสาธารณรัฐเช็ก ไซปรัส ฮังการี มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวะเกีย ได้เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 (ค.ศ.2004)
นอกจากนี้ ลัตเวียและประเทศเพื่อนบ้านกลุ่มบอลติกยังเข้าร่วมเป็นสมาชิกในองค์กรภูมิภาคอื่นๆ เช่น คณะมนตรีบอลติก (Baltic Council) และองค์การเพื่อความมั่นคง และความร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Cooperation in Europe - OSCE) เป็นต้น

นโยบายต่อสหภาพยุโรป
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 ลัตเวีย และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านบอลติก คือ เอสโตเนียและลิทัวเนีย พร้อมประเทศยุโรปตะวันออก ซึ่งได้แก่ สาธารณรัฐเช็ก ไซปรัส ฮังการี มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวะเกีย รวม 10 ประเทศ ได้เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปอย่างสมบูรณ์
สรุปพัฒนาการของลัตเวียต่อสหภาพพยุโรปในช่วงเวลาที่ผ่านมา
1. เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2537 รัฐสภาลัตเวียได้ให้สัตยาบันต่อความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป (Free Trade Accord) เป็นผลให้ลัตเวียสามารถเป็นภาคีสมาชิกความตกลงดังกล่าว กับสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 โดย ส่งผลให้ลัตเวียได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าต่าง ๆ จากสหภาพยุโรป ในรูปของอัตราภาษีศุลกากร โควต้าและ GSP
2. ลัตเวียได้ลงนามความตกลงเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมทบของสหภาพยุโรป (Association Agreement) เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2538 โดยมีการกำหนดระยะเวลาปรับตัวไว้ ต่อมาลัตเวียได้ยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพ EU โดยสมบูรณ์ต่อ คณะกรรมมาธิการยุโรป
3. เมื่อวันที่ 26กันยายน 2539 ลัตเวียได้ส่งคำตอบแบบสอบถามรายละเอียดให้ คณะกรรมาธิการยุโรปพิจารณาถึงความพร้อมที่จะทำการเจรจาว่าด้วยการเข้าเป็นสมาชิกภาพ EU โดยสมบูรณ์ ซึ่งลัตเวียได้พยายามทุกวิถีทางที่จะปฏิรูประบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมให้สอดคล้องกับมาตรฐานและระเบียบกฎเกณฑ์ของสหภาพยุโรป เพื่อที่จะได้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปโดยสมบูรณ์ในช่วงปี ค.ศ.2004 พร้อมกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านบอลติก ซึ่งได้แก่ ลัตเวียและลิทัวเนีย ทั้งนี้ แม้ว่า ลัตเวียจะไม่ได้ร่วมอยู่ในกลุ่มแรกที่สหภาพยุโรป เริ่มกระบวนการเจรจาเพื่อรับสมาชิกใหม่ เนื่องจากระดับการพัฒนาของลัตเวียนั้นยังล้าหลัง และไม่เจริญเท่าประเทศอื่น ๆ เช่น เอสโตเนีย โปแลนด์ ฮังการี และสาธารณรัฐเช็ก ก็ตาม แต่ลัตเวียถือว่าการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเป็นเป้าหมายสำคัญในด้านการต่างประเทศ

นโยบายต่อองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO)
พัฒนาการที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
- ก่อนที่จะได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การ NATO อย่างสมบูรณ์ในปี 2547 ลัตเวียแสดงความปรารถนาที่จะได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่ขององค์การ NATO โดยเร็วเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงและเสถียรภาพ ทั้งนี้ ลัตเวียได้เข้าเป็นสมาชิกในโครงการหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพ (Partnership for Peace –PfP) ขององค์การ NATO อย่างไรก็ดี การขยายตัวขององค์การ NATO ไปทางตะวันออกจะส่งผลกระทบทำให้ รัสเซียมีความกังวลต่อดุลยภาพทางทหารในภูมิภาคยุโรป ดังนั้น การเฝ้าดูท่าทีของรัสเซียจึงเป็นปัจจัยสำคัญด้วย และแม้ว่าบรรดาผู้นำของลัตเวียจะทราบดีถึงสถานภาพดังกล่าวของตนเองต่อองค์การ NATO แต่บรรดาผู้นำรัฐบาลของลัตเวียในแต่ละสมัยยังคงย้ำถึงความปรารถนาที่จะเข้าเป็นสมาชิก NATO โดยเร็วในทุกโอกาส ดังเช่นที่นาย Valdis Birkavs รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย (ในช่วงเวลาขณะนั้น) ได้ไปกล่าวในการประชุมสัมมนาเรื่อง NATO and the Baltic States Quo Vadis ซึ่งมูลนิธิ Konrad-Adenauer Stiftung และสถาบันกิจการต่างประเทศของลัตเวียได้จัดขึ้นที่กรุงริกา เมื่อเดือนธันวาคม 2539 ว่า บรรดารัฐบอลติกมีความปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของค์การ NATO เนื่องจากบรรดารัฐบอลติกไม่มีทางเลือกอื่น นอกเหนือจากการเข้าเป็นสมาชิกของ NATO และสหภาพยุโรป เพื่อเป็นหลักประกันทางความมั่นคงและเศรษฐกิจของตนเอง แต่อย่างไรก็ดี บรรดารัฐบอลติกทั้งสามประเทศต่างอยากจะได้รับคำยืนยันจาก NATO ว่า ยินดีจะรับรัฐบอลติกทั้งสามประเทศเข้าเป็นสมาชิกของ NATO
- พัฒนาการล่าสุดในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การ NATO ของลัตเวีย คือ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 สมาชิกองค์การ NATO 19 ประเทศ ได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยการรับสมาชิกใหม่ 7 ประเทศ คือ บัลแกเรีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย โรมาเนีย สโลวาเกีย และสโลวีเนีย ที่กรุงบรัสเซลส์ ต่อมา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2547 ประเทศสมาชิกองค์การ NATO ใหม่ ทั้ง 7 ประเทศ ได้มอบภาคยานุวัตรสารให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี
ประวัติบุคคลสำคัญทางการเมือง
1.ประธานาธิบดีลัตเวีย นาง Vaira Vike-Freiberga เกิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1937 เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีลัตเวีย เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ.1999 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี นาง Vike-Freiberga นับเป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ของลัตเวีย และเป็นประธานาธิบดีสุภาพสตรีคนแรกในประวัติศาสตร์ทางการเมืองของลัตเวีย จบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้าน Experimental Psychology จาก McGill University สหรัฐฯ ก่อนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี นาง Vike-Freiberga เคยทำงานเป็นอาจารย์ที่ Universite de Montrealแคนาดา ระหว่างปี ค.ศ.1979-1998 และผู้อำนวยการสถาบันลัตเวีย ปี ค.ศ.1998

2. นายกรัฐมนตรีลัตเวีย นาย Aigars Kalvitis เกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2509 เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีลัตเวีย 2 สมัย โดยเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2547 ภายหลังจากที่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี Indulis Emsis ต้องสิ้นสภาพลงเมื่อรัฐสภา Saeima ของลัตเวียลงคะแนนเสียงไม่รับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี 2548 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2547 และสมัยที่ 2 หลังจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนตุลาคม 2549 ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี Kalvitis เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ทางการเมือง เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ ระหว่างปี 2543 - 2545 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ระหว่างปี 2542 - 2543

3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย นาย Artis Pabriks เกิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2509 เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ลัตเวีย 2 สมัยติดต่อกัน โดยเป็นรัฐมนตรีฯ สมัยแรกเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2547 และสมัยที่ 2 หลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนตุลาคม 2549 รัฐมนตรี Pabriks สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย Aarhus ประเทศเดนมาร์ก เมื่อปี 2539 ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรี Pabriks เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองสำคัญ ๆ เช่น ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ รัฐสภาลัตเวีย และเลขานุการกิจการรัฐสภา กระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น

เศรษฐกิจการค้า
ลัตเวียเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของรัสเซีย ซึ่งส่งผลกระทบอุตสาหกรรมการส่งออกของลัตเวียเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิต ลัตเวียพยายามที่จะแสวงหาตลาดใหม่ๆ หลังจากที่ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS พังทะลาย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ในปี 2545 (ค.ศ.2002) GDP ของ ลัตเวียมีมูลค่า 18.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับด้านดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2541 (ค.ศ.1998) ขาดดุลร้อยละ 11.1 ของ GDP ซึ่งเป็นการขาดดุลที่สูงที่สุดในช่วงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของยุโรปกลางและตะวันออก อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดเงินทุน ลัตเวียมีนโยบายที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ในปี 2540 (ค.ศ.1997) และต่อมาเมื่อเดือนตุลาคม 2541 (ค.ศ.1998) ลัตเวียได้เข้าเป็นสมาชิก WTO ซึ่งได้ช่วยในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าให้มากขึ้น และการปรับระบบภายในเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การการค้าโลก ก็จะช่วยในการเตรียมการของลัตเวียที่จะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป นอกจากนั้น การเข้าร่วมในเขตการค้าเสรี สินค้าเกษตรระหว่างประเทศบอลติก ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2540 (ค.ศ.1997) ก็จะช่วยกระตุ้นให้มีการค้าขายระหว่างกันมากขึ้น ในด้านการค้าระหว่างประเทศ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าที่สำคัญของลัตเวีย สำหรับเรื่องการว่างงาน ตามสถิติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระบุว่า มีผู้ลงทะเบียนเป็นผู้ว่างงานร้อยละ 8.6 ของประชากรในวัยทำงาน ซึ่งอัตราว่างงานเพิ่มขึ้นหลังจากที่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในรัสเซีย โดยเขตที่มีการว่างงานในอัตราสูงอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศ ในด้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลแต่ละชุดได้ดำเนินการอย่างจริงจังที่จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยในปี 2539 (ค.ศ.1996) รัฐบาลได้โอนกรรมสิทธิ์รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ที่อยู่ในข่ายจะต้องแปรรูปไปให้แก่หน่วยงานPrivatization Agency โดยวางแผนว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลางกำหนดเสร็จสิ้นภายในปี 2540 (ค.ศ.1997) นอกจากนั้น รัฐบาลยังเร่งดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่มีการดำเนินการในลักษณะผูกขาด โดยมีจุดประสงค์ที่จะให้บริษัทหรือรัฐวิสาหกิจต่างประเทศที่ดำเนินธุรกิจอย่างเดียวกันเข้ามาลงทุน

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐลัตเวีย
ความสัมพันธ์ทางการทูต
ไทยประกาศรับรองรัฐลัตเวียเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2534 พร้อมกับการประกาศรับรองรัฐเอสโตเนีย และลิทัวเนีย ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2535 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ไทยดำเนินการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับลัตเวีย และให้มีการแลกเปลี่ยนผู้แทนทางการทูต ในระดับเอกอัครราชทูตระหว่างกัน โดยให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม มีเขตอาณาครอบคลุมฟินแลนด์ ลัตเวียและเอสโตเนีย โดยนายสุจินดา ยงสุนทรเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม ได้เดินทางไปยื่นพระราชสาส์นตราตั้งเป็นเอกอัครราชทูตคนแรกประจำลัตเวีย เมื่อวันที่ 22พฤศจิกายน 2537 และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 เห็นชอบให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออลโล มีเขตอาณาครอบคลุมลัตเวียแทนสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม และปัจจุบันเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล เป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำลัตเวีย อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย สำหรับ ลัตเวียยังมิได้ตั้งสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย แต่ได้จัดตั้งสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำประเทศไทย โดยมีนายประสงค์ จงรัตนากุล ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ลัตเวียประจำประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2538 สถานที่ตั้ง 113/13 Surawong Road Bangkok 10500 ปัจจุบันนางจิตริยา ปิ่นทอง เอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศลัตเวีย สถานที่อยู่ Royal Thai Embassy ,Eilert Sundts Gate 4 0244 Oslo Tel. (47) 22128660 , (47) 22128570 , Telefax: (47) 22049969

ความสัมพันธ์ด้านการเมือง
ลัตเวียพร้อมที่จะขยายความร่วมมือกับไทยในทุก ๆ ด้าน ทั้งในกรอบทวิภาคีและกรอบพหุภาคี ในด้านความสัมพันธ์ทางการทูต ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นโดยมีการแลกเปลี่ยนสารแสดงความยินดีระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอในโอกาสสำคัญๆ อาทิเช่น การเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีของลัตเวีย เป็นต้น นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังได้สนับสนุนการดำเนินงานในกรอบเวทีการเมืองประเทศระหว่างกัน โดยเฉพาะการให้ความสนับสนุนของลัตเวียต่อผู้สมัครของไทยในองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญๆ เช่น องค์การสหประชาชาติ เป็นต้น

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้า
ลัตเวียตระหนักถึงความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของไทยในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะขีดความสามารถในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี ลัตเวียได้มองไทยโดยเปรียบเทียบกับบางประเทศในเอเชียในเรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจและผลประโยชน์ทางการค้า เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่นและจีน ฝ่ายลัตเวียเสนอตัวที่จะเป็นประตูการค้าให้ไทยสำหรับการค้าขายกับรัสเซีย และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช เนื่องจากสภาพที่ตั้งของประเทศมีความคุ้นเคยกับวิธีการค้าและรู้จักอุปนิสัยของคนรัสเซีย อีกทั้งมีท่าเรือปลอดน้ำแข็งอยู่ด้วย นอกจากนี้ ภาวะการเงินของลัตเวียก็เริ่มมีเสถียรภาพขึ้น การโอนเงินตราเข้าออก สามารถกระทำได้โดยมีข้อจำกัดน้อยมาก ส่วนระบบธนาคารอาจจะมีจำนวนมากเกินไป แต่การแข่งขันก็เป็นไปโดยเสรีและเชื่อว่าจำนวนธนาคารซึ่งมีอยู่มากเกินไปในขณะนี้จะลดลงเรื่อย ๆ
สถิติการค้าระหว่างไทยกับลัตเวียในช่วงปี 2549 (ม.ค.-ส.ค.) มีปริมาณการค้ารวม 13.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีมูลค่าการส่งออกไปลัตเวีย 13.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ นำเข้า 0.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 12.6ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับปริมาณการค้าไทย-ลัตเวียในปี 2548 มีมูลค่า 17.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 16.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทยนำเข้า 1.2 โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 14.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย คือ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ สินค้านำเข้าที่สำคัญของไทย ได้แก่ สัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์ไม้และไม้แปรรูป เป็นต้น
(ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)
ตารางปริมาณการค้าระหว่างไทยกับลัตเวีย ดังเอกสารแนบ

การท่องเที่ยว
ชาวลัตเวียเริ่มมาท่องเที่ยวประเทศไทยตั้งแต่ปี 2534 แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม คือ กรุงเทพฯ พัทยา ภูเก็ต เกาะสมุย ระหว่างปี 2537-2539 บริษัทนำเที่ยวของลัตเวียได้จัดเที่ยวบินเช่าเหมาลำมายังประเทศไทยหลายเที่ยวบิน ในปี 2544 มีนักท่องเที่ยวลัตเวียเดินทางมาไทย จำนวน 989 คน ลดลงจากปี 2543 (ร้อยละ 13.93) ในปี 2542 มีนักท่องเที่ยวลัตเวียเดินทางมาไทยจำนวน 944 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.79 จากปี 2541ในปี 2544 มีจำนวน 989 คน ในปี 2545 มีจำนวน 1,080 คน ในปี 2546 มีจำนวน 925 คน และในระหว่างเดือนมกราคม – ตุลาคมของปี 2547 มีนักท่องเที่ยวลัตเวียเดินทางมาไทยจำนวน 734 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 45.35แหล่งท่องเที่ยวหลักของชาวลัตเวียประกอบด้วยยุโรปตะวันตกยุโรปตะวันออก สแกนดิเนเวียและฟินแลนด์ และลัตเวียมีบริษัทนำเที่ยวทั้งในด้านinbound และ outbound ประมาณ 200 บริษัท
(ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการแผยแพร่ภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ประเทศไทยให้ชาว ลัตเวียมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล ซึ่งมีเขตอาณาครอบคลุมลัตเวียได้จัดโครงการนำคณะสื่อมวลชนลัตเวียเดินทางมาเยือนไทย ระหว่างวันที่ 8-16 มิถุนายน 2546
การแลกเปลี่ยนการเยือน
ฝ่ายไทย
- เดือนกันยายน 2535 (ค.ศ. 1992) คณะทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ(Familiarization Mission) เยือนกลุ่มประเทศบอลติก(ลิทัวเนีย ลัตเวียและเอสโตเนีย) เพื่อสำรวจลู่ทางการพัฒนาความสัมพันธ์
- วันที่ 22 สิงหาคม - 3 กันยายน 2542 (ค.ศ.1999) สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเยือนเกาะกรีนแลนด์ ลิทัวเนีย ลัตเวีย เอสโตเนีย เป็นการส่วนพระองค์ (ลัตเวีย ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม - 30 สิงหาคม 2542)
- วันที่ 9-19 กรกฎาคม 2543 (ค.ศ.2000) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) ได้จัดงาน Baltic Countries Road Show 2000 ที่เอสโตเนีย ลัตเวียและลิทัวเนีย (กรุงริกา วันที่ 14 กรกฎาคม 2543)
- วันที่ 10-12 มิถุนายน 2547 (ค.ศ.2004) ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ (นายสรจักร เกษมสุวรรณ) และคณะ เดินทางเยือนลัตเวียอย่างเป็นทางการ และได้เข้าเยี่ยมคารวะนาย Rihards Piks รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย และพบหารือกับนาย Maris Riekstins รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย (State Secretary of Ministry of Foreign Affairs)
ฝ่ายลัตเวีย
- วันที่ 6-10 พฤศจิกายน 2539 (ค.ศ.1996) นาย Valdis Birkavs รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย และภริยา พร้อมคณะภาคเอกชน เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ และหารือข้อราชการกับ ม.ร.ว. เทพ เทวกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 11-19 กุมภาพันธ์ 2543 (ค.ศ.2000) นาย Vladimirs Makarovs รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจลัตเวีย เยือนไทย เพื่อเข้าร่วมประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10 ระหว่าง วันที่ 11-19 กุมภาพันธ์ 2543 ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนลัตเวีย

2549

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองยุโรป 2 กรมยุโรป โทร. 0-2643-5133 Fax. 0-2643-5132 E-mail : european03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์