ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> รวันดา




แผนที่
สาธารณรัฐรวันดา
Republic of Rwanda


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง รวันดาเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล
ทิศเหนือติดกับยูกันดา
ทิศใต้ติดกับบุรุนดี
ทิศตะวันตกติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์)
ทิศตะวันออกติดกับแทนซาเนีย

พื้นที่ 26,340 ตารางกิโลเมตร เป็นที่เพาะปลูกที่อุดมสมบูรณ์ประมาณ 40 % ส่วนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือมีแนวภูเขาไฟทอดผ่าน

เมืองหลวง กรุง Kigali
เมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ เมือง Ruhengeri และ Butare

ประชากร 9,907,509 คน (ก.ค. 2550) โดยมีอัตราการขยายตัวของประชากรร้อยละ 2.77 ทั้งนี้ รวันดาเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดประเทศหนึ่งในแอฟริกา

ชนชาติประกอบด้วย คนเผ่า Hutu ร้อยละ 84 Tutsi ร้อยละ 15 Twa (Pyamoid) ร้อยละ 1

ภาษา ภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ และ Kinyarwanda เป็นภาษาราชการ ส่วนภาษา Bantu (ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับภาษา Kirundi ของบุรุนดี) และภาษา Swahili เป็นภาษาท้องถิ่น

ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาธอลิก ร้อยละ 56.5 โปรเตสแตนท์ ร้อยละ 26 ลัทธิวิญญาณตามความเชื่อดั้งเดิม ร้อยละ 13 และอิสลามร้อยละ 4.6

วันชาติ 1 กรกฎาคม (วันที่ได้รับเอกราชจากเบลเยี่ยมในปี 2505)

รูปแบบการปกครอง ระบอบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข โดยพลตรี Paul Kagame เข้าดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2543 ถึงปัจจุบัน และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

รายได้ประชาชาติต่อหัว 272 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)

สกุลเงิน Rwandan franc (RWF)

อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 552.6 RWF (2549)

การเมืองการปกครอง
ประวัติศาสตร์
ดินแดนนี้เดิมเรียกว่า Ruanda – Urundi เคยรวมอยู่กับ Burundi แล้ว ตกเป็นอาณานิคมส่วนหนึ่งของเยอรมันในปี 2433 ในนามของ German East Africa ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 รวันดาตกเป็นดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติ และสหประชาชาติ โดยมีเบลเยี่ยมเป็นผู้ดูแล ขณะนั้นรวันดามีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยชนเผ่า Tutsi ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยแต่ร่ำรวยมีการศึกษาดีและเป็นนักรบ ส่วนชาว Hutu ซึ่งเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศเป็นพวกยากจนและมีอาชีพทางกสิกรรมเป็นส่วนใหญ่

ในปี 2502 ได้เกิดสงครามระหว่างเผ่า ทำให้ชนเผ่า Tutsi หมดอำนาจลงอีก 2 ปีต่อมา เบลเยี่ยมจัดให้มีการลงประชามติ ซึ่งชาวรวันดาได้ตัดสินใจที่จะปกครองตนเอง เบลเยี่ยมจึงมอบเอกราชให้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2505 และรวันดากลายเป็นสาธารณรัฐ มีการจัดทำรัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้ง ซึ่งผลปรากฏว่า พรรคParmehutu (Parti de l’ emancipation du peuple Hutu) ของชาวเผ่า Hutu (ภาคกลาง) ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล มีนาย Gregoire Kayibanda เป็นประธานาธิบดีคนแรกในปี 2506 – 2507 เกิดสงครามระหว่างเผ่า Tutsi และ Hutu ส่งผลให้ชาวเผ่า Tutsi ถูกสังหารหลายพันคนและอีกหลายหมื่นคนหนีเข้าประเทศยูกันดาและบุรุนดี

ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2516 พลเอก Juvenal Habyarimana ปฏิวัติขับไล่ประธานาธิบดี Kayibanda ออกจากตำแหน่ง พรรค Parmehutu หมดอำนาจ พรรค Mouvement Revolutionnaire National pour le Development (MRND) ซึ่งควบคุมโดยกองทัพเข้าทำการปกครองแทน แต่อำนาจปกครองยังคงตกอยู่กับเผ่า Hutu ประธานาธิบดี Juvenal Habyarimana มีนโยบายขจัดลัทธินิยมเผ่าพันธุ์เพื่อสร้างความสามัคคีและความเป็นปึกแผ่นให้แก่ประเทศตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2521 ทำให้พรรค MRND เป็นพรรคการเมืองที่ถูกกฎหมายเพียงพรรคเดียว นโยบายสำคัญของพรรค MRND คือ ขจัดความขัดแย้งระหว่างเผ่าพันธุ์และสร้างเอกภาพแห่งชาติ สำหรับอำนาจตุลาการใช้ผ่านทางศาลและคณะมนตรีแห่งรัฐ (Council of State) ภายหลังการอสัญกรรมของประธานาธิบดี Juvenal Habyarimana ซึ่งเป็นชนเผ่า Hutu จากเหตุการณ์เครื่องบินตกเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2537 Dr.Theodore Sindikubwabo ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 8 เมษายน 2537 การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนเผ่า Tutsi ก็ได้เริ่มนับจากนั้นเป็นต้นมา (ช่วงระหว่างที่ประธานาธิบดี Sindikubwabo ปกครองประเทศ) ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2537 กลุ่มแนวหน้าผู้รักชาติชาวรวันดา (Rwandanese Patriotic Front : RPF) ที่มีชนเผ่า Tutsi เป็นแกนนำ ได้ล้มล้างรัฐบาล Hutu และนาย Pasteur Bizimungu นักประนีประนอมไกล่เกลี่ยชาว Hutu ก็ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจนถึงปัจจุบัน รัฐบาล Hutu หลบหนีไปยังซาอีร์และจัดตั้งรัฐบาลผลัดถิ่นทางภาคตะวันออกของซาอีร์ กลุ่ม RPF ได้กล่าวหาฝรั่งเศสว่าให้การสนับสนุนรัฐบาลของ Hutu และยังกล่าวหาว่ารัฐบาลของซาอีร์ ได้ให้การสนับสนุนทางกำลังอาวุธและการฝึกฝนทางกำลังทหารแก่กลุ่มกองโจรของชนเผ่า Hutu ในเดือนสิงหาคม 2537 ประธานาธิบดี Pasteur Bizimungu และกลุ่ม RPF ได้เรียกร้องให้สหประชาชาติทำการสืบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในปี 2537 และนำตัวผู้มีส่วนร่วมวางแผนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ดังกล่าวมาลงโทษ

สถานการณ์ทางการเมือง
ปัญหาสำคัญภายหลังสงครามกลางเมืองช่วงปี 2537-2538 คือ การตัดสินคดีที่เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ นับตั้งแต่การเริ่มพิจารณาคดีเหล่านี้ในปี 2539 รัฐบาลได้ตัดสินไปแล้วกว่า 10,000 คดี แต่คาดว่า ยังเหลือจำนวนผู้เรียกร้องความเป็นธรรมอีกกว่า 90,000 คน โดยองค์กรที่มีบทบาทสำคัญคือ UN International Criminal Tribunal for Rwanda (ICTR) โดยมีผู้พิพากษา Hassan Bubacar Jallow ซึ่งเป็นผู้พิพากษาชาวแกมเบียที่มีความเชี่ยวชาญคดีสงครามของสหประชาชาติเป็นหัวหน้าสำนักงานและศาลที่ตั้งอยู่ที่เมืองอรุชา ประเทศแทนซาเนีย และได้ตัดสินคดีสำคัญๆ ไปแล้วกว่า 50 คดี ถึงแม้ว่า ICTR จะมีบทบาทสำคัญมากในการลงโทษผู้กระทำผิดคนสำคัญๆ รวมทั้งปฏิรูปการตัดสินคดีสงคราม (เช่น การนิยามว่าการข่มขืนเป็นการกระทำฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ด้วย) แต่ความน่าเชื่อถือของ ICTR ก็ถูกลิดรอนด้วยข้อจำกัดว่า ICTR จะไม่ตั้งข้อกล่าวหากับสมาชิกพรรค RPF รวมทั้งจะไม่สืบสวนคดีที่เครื่องบินของนาย Habyarimana ถูกยิงตกจนเป็นชนวนสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่ง ICTR ต้องทำตามเงื่อนไขทั้งสองเพราะต้องการความร่วมมือจากรัฐบาลรวันดา

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา พรรค RPF ได้เสริมสร้างฐานอำนาจขึ้นอย่างมั่นคง และในปี 2546 รัฐบาลได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไปด้วยระบบหลายพรรคขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่รวันดาได้รับเอกราช โดยนาย Paul Kagame ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น (อย่างเป็นทางการด้วยอัตราร้อยละ 95) ถึงแม้ว่า พรรค RPF จะมิได้มีเสียงข้างมากในสภานิติบัญญัติ แต่พรรคร่วมรัฐบาลอีก 6 พรรคต่างให้การสนับสนุนาย Kagame ทั้งนี้ พรรคฝ่ายค้านที่สำคัญ คือ Mouvement Démocratique Républicain (MDR) ซึ่งเป็นพรรค Hutu ก็ถูกสั่งให้ยุบพรรคโดยคณะกรรมการของรัฐสภา

นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญอีกประการ คือ พรรค RPF ได้ดำเนินการหลายอย่างที่ผู้สังเกตการณ์นอกประเทศ โดยเฉพาะจากโลกตะวันตกเห็นว่าเป็นการลิดรอนสิทธิมนุษยชนอย่างน่าเป็นห่วง เช่น การสั่งยุบองค์กรที่มิใช่รัฐ (Non-governmental Organizations - NGOs) หลายแห่งที่ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน การข่มขู่ผู้มีความเห็นไม่ตรงกับรัฐบาล เป็นต้น ถึงแม้ว่ารัฐบาลได้พยายามแก้ภาพลักษณ์ด้วยการจัดตั้งองค์กร National Human Rights Commission (NHRC) และ National Unity and Reconciliation Commission (NURC) ขึ้นก็ตาม

รูปแบบการเมืองและการปกครอง
ระบบการปกครอง ปกครองในระบอบสาธารณรัฐ โดยประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ ส่วนนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ระบบการปกครองประกอบด้วยฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการ
ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
ประธานาธิบดีเข้ารับตำแหน่งโดยการเลือกตั้งจากประชาชน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 7 ปี และประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดจัดขึ้นในปี 2546 โดยพลตรี Kagame ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงท้วมท้น
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นาย Bernard Makuza ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2543
รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศคนปัจจุบัน คือ นาย Charles Murigande ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2545
ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบรัฐสภาของรวันดาเป็นระบบสภาเดียว มีสมาชิกรัฐสภา จำนวน 70 คน
ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วยศาลรัฐธรรมนูญการปกครองท้องถิ่น แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 เขต ได้แก่ Kinyarwanda Butare, Byumba, Cyangugu, Gikongoro, Gisenyi, Gitarama, Kibungo, Kibuye, Kigali, Kigaliville, Umutara, Ruhengeri
พรรคการเมือง ประกอบด้วย
พรรค Rwanda Patriotic Front (RPF),
พรรค Democratic Republican Movement (MDR),
พรรค Christian Democratic Party (PDC),
พรรค Islamic Democratic Party (PDI),
พรรค Rwanda Socialist Party
พรรค National Movement for Democracy (MRND)

ปัญหาภายในของรวันดา
-- อัตราการเพิ่มของประชากร เนื่องจากรวันดามีพื้นที่น้อยและมีปัญหาเรื่องพื้นที่ทำกินไม่เพียงพอ ประชาชนต้องทำลายป่าไม้เพื่อให้มีที่ทำกิน ผลร้ายที่ตามมา คือ ความแห้งแล้ง พื้นดินมีคุณภาพเลวลง นอกจากนั้น ยังประสบปัญหาการขาดเทคโนโลยีด้านการเกษตร ส่งผลให้การเพาะปลูกได้ผลน้อยลง ซึ่งเป็นปัญหาต่อการผลิตอาหารได้ไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการพัฒนาอื่น ๆ ทั้งด้านการเกษตร และการขาดแคลนบุคลากร
-- ปัญหาการแย่งชิงอำนาจการปกครองและเศรษฐกิจระหว่างพลเมืองของรวันดาที่เป็นชนเผ่า Tutsi และ Hutu ซึ่งเปราะบางต่อความเป็นเอกภาพของชาติและปัญหากระทบกระทั่งกับบุรุนดีด้วย
-- ประธานาธิบดี Bizimungu และกลุ่ม RPF ยังประสบปัญหากับการบริหารประเทศ เนื่องจากประชาชนยังมีความตื่นตระหนกกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และความเกลียดชังระหว่างชนเผ่าที่ยังคงดำเนินอยู่

นโยบายต่างประเทศ
-- รวันดามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเมืองของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (Democratic Republic Congo – DRC) โดยกลุ่ม RPF ได้ช่วยให้นาย Laurent Kabila ขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี แต่ต่อมาในปี 2541 นาย Kabila กลับลิดรอนอิทธิพลของ RPF พร้อมทั้งขับไล่กองกำลังของ RPF ออกจาก DRC รวมทั้งให้ที่พักพิงแก่กลุ่มกบฏต่อต้านรัฐบาลรวันดา (กลุ่มที่สำคัญที่สุดชื่อ Forces Démocratiques de Libération du Rwanda – FDLR) และเป็นชนวนให้ยูกันดาและรวันดาเปิดสงครามกับ DRC เกิดเป็นสงครามใหญ่ครั้งหนึ่งในแอฟริกาที่มีคู่สงครามรวม 7 ชาติ จนกระทั่งรัฐบาลแอฟริกาใต้ได้พยายามไกล่เกลี่ยให้ยุติสงครามในปี 2547 ทั้งนี้ รวันดาและ DRC ยังคงมีความตึงเครียดตามแนวชายแดนเพราะรวันดากล่าวหาว่า DRC ให้ที่พักพิงแก่กลุ่มกบฏ Hutu ซึ่งเข้ามาก่อการในรวันดาอยู่ตลอด อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา รัฐบาลที่นำโดยนาย Joseph Kabila ของ DRC ได้พยายามแสดงความร่วมมือกับรัฐบาลรวันดามากขึ้นด้วยการใช้กองกำลังของ DRC เข้าปราบปรามกลุ่ม FDLR นอกจากนี้ มีกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ (UN Mission in the DRC – MONUC) สนับสนุนการปราบกบฏดังกล่าวด้วย
-- รวันดาเคยมีความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างเย็นชากับยูกันดา เพราะผู้นำของทั้งสองประเทศหมางเมินกัน โดยปัจจุบันทั้งสองฝ่ายพยายามปรับปรุงความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ ซึ่งน่าจะดีขึ้นเมื่อรวันดาเข้าร่วมเป็นสมาชิกประชาคมแอฟริกาตะวันออก (East African Community – EAC) อย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม 2550 นี้
-- ความสัมพันธ์กับบุรุนดีและแทนซาเนียไม่ใกล้ชิดกันมาก แต่กับบุรุนดีมีผลประโยชน์ร่วมกันในเรื่องการปราบกบฏ Hutu ส่วนแทนซาเนียมีข้อกังวลเกี่ยวกับผู้อพยพ
-- รวันดามีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดที่สุดกับแอฟริกาใต้ เพราะเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ โดยเฉพาะในธุรกิจโทรคมนาคม การบิน และการท่องเที่ยว รวมทั้งแอฟริกาใต้เคยเป็นคนกลางในการเจรจาระหว่างรวันดากับคู่สงครามอื่นๆ หลายครั้ง
-- ประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือแก่รวันดาได้ตำหนิรัฐบาลมากขึ้น ในเรื่องการควบคุมสิทธิเสรีภาพและการดูแลทุกข์สุขของประชาชน อย่างไรก็ดี สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สวีเดน และเบลเยียม ยังคงให้การสนับสนุนด้านมนุษยธรรมผ่านรัฐบาลอยู่
-- เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 รัฐบาลฝรั่งเศสได้กล่าวหานาย Paul Kagame อย่างเป็นทางการว่า เป็นผู้บงการให้ RPF ยิงเครื่องบินของนาย Habyarimana ตก จนเป็นชนวนสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ทำให้นาย Kagame ตัดความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสโดยสิ้นเชิง แต่เหตุการณ์ดังกล่าวมิได้กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างรวันดากับสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา

องค์การระหว่างประเทศและองค์การส่วนภูมิภาคที่สำคัญ ๆ ที่รวันดาเป็นสมาชิก มีดังนี้
-- องค์การสหประชาชาติ
-- องค์การเอกภาพแอฟริกา (OAU)
-- กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM)
-- สมาชิกสมทบของประชาคมยุโรป
-- คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งแอฟริกา (Economic Commission for Africa – ECA)
-- ธนาคารเพื่อการพัฒนาทวีปแอฟริกา
-- ธนาคารอาหรับเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจในแอฟริกา
-- Economic Community of the Great Lakes Countries (กรุง Kigali เป็นที่ตั้งสำนักงานของประชาคมฯ ซึ่งก่อตั้งร่วมกับบุรุนดีและ
ซาอีร์ในปี 2519)
-- องค์การพัฒนาลุ่มแม่น้ำ Kagera (เป็นที่ตั้งสำนักงานขององค์การฯ ซึ่งตั้งร่วมกับบุรุนดี แทนซาเนีย และยูกันดา เมื่อปี 2521)
-- Lakes Tanganyika and Kivu Basin Commission (ตั้งในปี 2518 มีบุรุนดี แทนซาเนีย ซาอีร์และแซมเบียเป็นสมาชิกร่วม)
-- Inter – African Coffee Organization (IACO) ตั้งในปี 2503
-- องค์การการค้าโลก (WTO)
-- รวันดาได้รับเลือกเป็นสมาชิกคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Economic and Social Council - ECOSOC) วาระในการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2542 – 2544

เศรษฐกิจการค้า
ภาวะเศรษฐกิจทั่วไป
รวันดาเป็นประเทศยากจนที่สุดประเทศหนึ่งในแอฟริกา ประชาชนส่วนใหญ่ของรวันดาประมาณร้อยละ 90 มีอาชีพทางเกษตรกรรม รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาประเทศเพื่อมุ่งขจัดความอดอยาก การพัฒนายังต้องพึ่งพาความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ โดยได้รับความช่วยเหลือจากสหราชอาณาจักร เบลเยียม สหภาพยุโรป สหประชาชาติ และจีน

รวันดามีอุตสาหกรรมเหมืองแร่ดีบุกและวุลแฟรม มีการค้นพบก๊าซธรรมชาติประมาณ 57,000 ล้านลูกบาศก์เมตรใต้ทะเลสาบ Kivu นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศ เพื่อนบ้านที่สำคัญ คือ การสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำร่วมกับแทนซาเนียบนปากแม่น้ำ Rusumo ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาลุ่มน้ำ Kagera

รัฐบาลรวันดาส่งเสริมการลงทุนของต่างประเทศ โดยเฉพาะการเข้าร่วมลงทุนกับรัฐบาล รวันดาพึ่งพารายได้จากสินค้าส่งออกทางเกษตรกรรมไม่กี่ประเภท ดุลการค้าจึงขึ้นอยู่กับราคาของสินค้าเกษตรในตลาดโลก สำหรับอุปสรรคในการส่งสินค้าออก คือ รวันดาไม่มีทางออกทะเลจึงต้องเสียค่าขนส่งไปยังชายฝั่ง ทำให้ต้นทุนสินค้าออกเพิ่มขึ้น

ข้อมูลทั่วไปด้านเศรษฐกิจ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 5.3 (2549)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 8.8 (2549)
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 439.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
ผลผลิตทางการเกษตร กาแฟ ชา Pyrethrum กล้วย ถั่ว sorghum มัน และสัตว์เลี้ยง
มูลค่าการค้า ปี 2549 583 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (รวันดาขาดดุลการค้า 288.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
สินค้านำเข้าที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์อาหาร สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค พลังงานและเชื้อเพลิง
สินค้าส่งออกที่สำคัญ กาแฟ ชา Cassiterite & tin Coltan
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
นำเข้า เคนยา เยอรมนี ยูกันดา เบลเยี่ยม
ส่งออก จีน เยอรมนี สหรัฐอเมริกา ปากีสถาน

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐรวันดา
ด้านการเมืองและการทูต
ไทยกับรวันดาได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2530 โดยฝ่ายไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบีดูแลรวันดา ในขณะที่ ฝ่ายรวันดาได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตรวันดาประจำกรุงปักกิ่งมีเขตอาณาครอบคุลมประเทศไทย ความสัมพันธ์ของสองฝ่ายเป็นไปด้วยความราบรื่น ไม่มีปัญหาระหว่างกันในอดีตรวันดาได้ออกเสียงสนับสนุนข้อมติสหประชาชาติเกี่ยวกับปัญหากัมพูชามาโดยตลอด

ด้านการค้า
การค้าระหว่างไทยกับรวันดายังมีมูลค่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าการค้าของไทยกับประเทศแถบแอฟริกาตะวันออกอื่น ๆ โดยที่ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ากับรวันดา ซึ่งในปี 2549 ปริมาณการค้าระหว่างไทยกับรวันดามีมูลค่า 264 ล้านบาท ไทยส่งออกสินค้าไปรวันดาเป็นมูลค่า 97.68 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 81 ล้านบาท ไทยนำเข้าสินค้าจากรวันดาเป็นมูลค่า 166.40 ล้านบาท และไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า 68.72 ล้านบาท โดยสินค้าส่งออกสำคัญของไทย คือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เป็นต้น และสินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากรวันดา ได้แก่ สินแร่ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นปี 2550 ไทยสามารถส่งออกสินค้าสู่ตลาดรวันดาได้มากขึ้น เช่น หนังสือและสิ่งพิมพ์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น

สถิติการค้าไทย – รวันดา ดูเอกสารแนบ


สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-48 E-mail : southasian03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์