ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> ไนเจอร์




แผนที่
สาธารณรัฐไนเจอร์
Republic of Niger


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล ตั้งอยู่ทางตอนกลางของทวีปแอฟริกา มีอาณาเขต
ทิศเหนือติดกับแอลจีเรียและลิเบีย
ทิศใต้ติดกับไนจีเรีย
ทิศตะวันออกติดกับชาด
ทิศตะวันตกติดกับมาลี
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับเบนินและบูร์กินาฟาโซ
เนื้อที่ 1,267,000 ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายและภูเขาที่แห้งแล้ง มีทุ่งหญ้าบางส่วนทางภาคใต้และบริเวณลุ่มแม่น้ำ Niger
ภูมิอากาศ ร้อนและแห้ง อุณหภูมิระหว่าง 28-44 องศาเซลเซียส ช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือน ต.ค.-พ.ค. ฝนตกในเขตภาคใต้เป็นส่วนใหญ่ ระหว่างเดือน มิ.ย.-ก.ย. และมีพายุฝุ่นจากทะเลทรายซาฮาราระหว่างเดือน พ.ย.-ม.ค.
เมืองหลวง กรุงนีอาเม (Niamey)
เมืองสำคัญ Zinder, Maradi, Tahoua และ Agadez
วันชาติ 18 ธันวาคม (Proclamation of the Republic)
ประชากร 14,000,000 คน (2548)
ภาษาราชการ ภาษาฝรั่งเศส Hausa Djerma
ศาสนา อิสลามร้อยละ 80 ความเชื่อดั้งเดิมและศาสนาคริสต์ร้อยละ 20
สกุลเงิน Communaute Financiere Africaine Franc (XOF) (527.47 XOF = 1 USD)
อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 527.47 XOF (2548)
ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ประชาชาติต่อหัว 900 ดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 4.5 (2548)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 0.2 (2548)
รัฐบาลปัจจุบัน
ไนเจอร์ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ นาย Mamadou Tandja ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนปัจจุบันของไนเจอร์ โดยมีนาย Hama Amadou เป็นนายกรัฐมนตรี และนาง Aichatou Mindaoudou เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

การเมืองการปกครอง
การปกครองปัจจุบัน
ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ โดยมาจากการเลือกตั้งทั่วไป และอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี และอยู่ในวาระได้ 2 สมัย

ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีซึ่งต้องได้รับความเป็นชอบจากรัฐสภา ประธานาธิบดีมีอำนาจยุบสภา

ฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐสภา (National Assembly) แบบสภาเดียว (Unicameral)
ประกอบด้วยสมาชิก 83 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วไป อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี

ศาล
ศาลชั้นต้น ศาลแขวง ศาลแรงงาน และศาลพิเศษ
ศาลอุทธรณ์ เฉพาะการอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลอาญาและศาลพิเศษ
ศาลสูง พิจารณาคดีที่ประธานาธิบดีและเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งอดีตและปัจจุบันกระทำความผิดต่อรัฐ ยกเว้นความผิดข้อหากบฏและความผิดอื่นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐศาลความมั่นคงของรัฐ พิจารณาคดีที่อยู่นอกอำนาจของศาลสูง

การต่างประเทศ
ไนเจอร์ดำเนินนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด แต่ในทางปฏิบัติมีนโยบายที่สอดคล้องกับกลุ่มประเทศตะวันตก เดิมไนเจอร์มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีนแต่เมื่อ 30 ก.ค. 2535 ไนเจอร์ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวัน ซึ่งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ทำการประท้วงอย่างรุนแรงและประกาศตัดความสัมพันธ์กับไนเจอร์ในทันที

ไนเจอร์มีความสัมพันธ์ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจอย่างแน่นแฟ้นกับไนจีเรียซึ่งเป็นเพื่อนบ้านทางใต้ เนื่องจากจำเป็นต้องอาศัยไนจีเรียเป็นทางออกสู่ทะเล แม้ว่าทั้งสองประเทศจะมีภาษาราชการที่แตกต่างกัน แต่ผูกพันกันด้วยภาษา Huasa อันเป็นภาษาท้องถิ่นเดียวกัน

สมาชิกในองค์การระหว่างประเทศ
องค์การสหประชาชาติ, FAO, GATT, IAEA, ICAO, IDA, IFAD, IFC, ILO, IMF, ITU, UNESCO, UNIDO, UPU, WHO, WIPO, WMO, World Bank, ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM), องค์การเอกภาพแอฟริกา (OAU), Economic Commission for Africa (ECA), Economic Community of West African States (ECOWAS), West African Economic Community (CEAO), Organization of the Islamic Conference (OIC), African States associated with the EC (Lome Convention), Entente Council, African Development Bank (ADB), Arab Bank for Economic Development in Africa (ในฐานะประเทศผู้รับ), Islamic Development Bank, The Franc Zone, Permanent Inter-State Committee on Drought Control in the Sahel (CILSS), African Groundnut Council, Lake Chad Basin Commission, Liptako-Gourma Intergrated Development Authority, Niger Basin Authority, West Africa Rice Development Association

เศรษฐกิจการค้า
ไนเจอร์เป็นประเทศที่ยากจนที่สุดและมีหนี้สินมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง (HIPC) จากการจัดอันดับของ UN ไนเจอร์พึ่งพาการส่งออกแร่ยูเรเนียม แต่ความผันผวนของราคายูเรเนียมในตลาดโลกส่งผลกระทบต่อรายได้ของไนเจอร์อย่างมาก ไนเจอร์เป็นประเทศไม่มีทางออกทะเล และประสบปัญหาภัยแล้ง จึงส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร นอกจากนี้ เกษตรกรรมของไนเจอร์ยังได้รับผลกระทบอย่างมากจากการแพร่ขยายของทะเลทราย (desertification) อีกด้วย

ปัจจุบัน ไนเจอร์กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการระบาดของฝูงตั๊กแตนในปี 2547 (2004) ซึ่งทำลายพืชผลเสียหายเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังประสบปัญหาโรคระบาดด้วย ซึ่ง UN ได้ให้ความช่วยเหลือไนเจอร์อย่างเร่งด่วน โดยได้บริจาคข้าว 15,000 ตัน และ WHO ได้บริจาคยาด้วยเช่นกัน ความช่วยเหลือของ UN คิดเป็นมูลค่าประมาณ 30.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

อุตสาหกรรมที่สำคัญ
การทำเหมืองยูเรเนียม ซีเมนต์ อิฐ วัสดุสิ่งทอ อุตสาหกรรมอาหาร เคมีภัณฑ์ โรงฆ่าสัตว์ และสบู่
ทรัพยากรธรรมชาติ
ยูเรเนียม ถ่านหิน แร่เหล็ก ดีบุก ฟอสเฟต ทอง ยิปซั่ม เกลือ ปิโตรเลียม
สินค้าส่งออกที่สำคัญ
แร่ยูเรเนียม ปศุสัตว์ ถั่วฝักยาว และหัวหอม
สินค้านำเข้าที่สำคัญ
อาหาร เครื่องจักรกล ยานพาหนะและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ธัญพืช
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
ฝรั่งเศส ไนจีเรีย สหรัฐฯ และสวิสเซอร์แลนด์
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
ฝรั่งเศส โกดิวัวร์ ไนจีเรีย และจีน

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐไนเจอร์
ด้านการเมืองและการทูต
ไทยกับไนเจอร์สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อ 30 กรกฎาคม 2525 (1982) ที่ผ่านมาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศค่อนข้างห่างเหิน ไทยมอบหมายให้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส เป็นจุดติดต่อของไนเจอร์ ฝ่ายไนเจอร์ไม่ได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตไนเจอร์ประจำประเทศใดดูแลไทย และทั้งสองฝ่ายไม่เคยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกัน

เมื่อเดือนมิถุนายน 2548 (2005) นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รอง นรม (ในขณะนั้น) ได้เคยพบกับ รมว พณ ไนเจอร์ ในโอกาสการประชุม South Summit ที่กรุงโดฮา โดยฝ่ายไนเจอร์ประสงค์ที่จะเรียนรู้ประสบการณ์จากไทยในการบรรเทาปัญหาความยากจน และ พตท ทักษิณ ชินวัตร นรม (ในขณะนั้น) ได้พบหารือกับนาย Hama Mamadou Tandja ประธานาธิบดีไนเจอร์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2548 (2005) ในระหว่างการประชุม UNGA สมัยที่ 60 ณ นครนิวยอร์ก

ด้านเศรษฐกิจ
มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับไนเจอร์มีปริมาณน้อยมาก โดยในปี 2549 (2006) มูลค่าการค้าสองฝ่ายมีเพียง 3.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 2.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 0.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าที่ไทยส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง ผ้าผืน รองเท้าและชิ้นส่วน และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ โดยไทยได้ดุลการค้า 2.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อเดือนมิถุนายน 2548 (2005) นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รอง นรม (ในขณะนั้น) ได้เคยพบกับ รมว พณ ไนเจอร์ ในโอกาสการประชุม South Summit ที่กรุงโดฮา โดยฝ่ายไนเจอร์ประสงค์ที่จะเรียนรู้ประสบการณ์จากไทยในการบรรเทาปัญหาความยากจน และ พตท ทักษิณ ชินวัตร นรม (ในขณะนั้น) ได้พบหารือกับนาย Hama Mamadou Tandja ประธานาธิบดีไนเจอร์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2548 (2005) ในระหว่างการประชุม UNGA สมัยที่ 60 ณ นครนิวยอร์ก

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 17 สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-48 E-mail : southasian04@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์