ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> เซาโตเมและปรินซิเป




แผนที่
สาธารณรัฐประชาธิปไตยเซาโตเมและปรินซิเป
Democratic Republic of Saotome and Principe


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ประเทศเซาโตเมและปรินเซเป เป็นหมู่เกาะตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินแอตแลนติก (อ่าวกินี) ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา ห่างจากประเทศกาบองประมาณ 200 กม.
พื้นที่ 1,001 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง Sao Tome
เมืองสำคัญ Principe
ภูมิอากาศ มีภูมิอากาศแบบโซนร้อน แต่ได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำเย็น Benguelaมีฝนตกเฉลี่ยปีละ 951 มม.
ประชากร 199,579 คน (กรกฎาคม 2550)
เชื้อชาติ ส่วนใหญ่เป็นชาวแอฟริกันที่มีเชื้อสายปอร์ตุเกสผสม และมีผู้อพยพมาจากแองโกลา โมซัมบิกและเคปเวิร์ดบ้าง
ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 70.3, Evangeligal ร้อยละ 3.4, New Apostolic ร้อยละ 2, Adventist ร้อยละ 1.8, อื่น ๆ ร้อยละ 3.1
ภาษา ปอร์ตุเกสเป็นภาษาราชการ นอกจากนั้น มีภาษา Forror และ Crioulo ใช้พูดทั่วไป

ระบอบการปกครอง
สถาบันการเมือง สาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ
ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ เข้ารับตำแหน่งโดยการเลือกตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลโดยได้รับการเลือกจากสภาและได้รับอนุมัติจากประธานาธิบดี โดยประธานาธิบดีแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบสภาเดียว มีจำนวนที่นั่ง 55 ที่นั่ง เข้ารับตำแหน่งโดยการเลือกตั้งจากประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี
ฝ่ายตุลาการ ศาลฏีกา (ผู้พิพากษาได้รับการแต่งตั้งจากสภา)
ประมุขของรัฐ ประธานาธิบดี Fradique DE MENEZES (ตั้งแต่ 3 กันยายน 2544)
หัวหน้ารัฐบาล นาย Tome Soares da VERA CRUZ (ตั้งแต่ 21 เมษายน 2549)
รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Carlos Gustavo dos Anjos
วันชาติ 12 กรกฎาคม 2518 (วันที่ได้รับเอกราช)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 86.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 8.0 (2549)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 23.1 (2549)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 438 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ปลา กระแสไฟฟ้าพลังน้ำ
ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สำคัญ โกโก้ ถั่วลิสง เนื้อมะพร้าวตากแห้ง อบเชย พริกไทย กาแฟ กล้วย มะละกอ ถั่ว สัตว์ปีก ปลา
อุตสาหกรรมที่สำคัญ อุตสาหกรรมเบา สิ่งทอ สบู่ เบียร์ แปรรูปปลา ไม้แปรรูป
หนี้สินต่างประเทศ 368.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2548)
เงินตราสำรอง 35.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
มูลค่าการค้า เสียดุล 46.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
ส่งออก 3.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
นำเข้า 63.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
สินค้าออกที่สำคัญ โกโก้ เนื้อมะพร้าวตากแห้ง กาแฟ น้ำมันปาล์ม
สินค้าเข้าที่สำคัญ เครื่องจักรและอุปรณ์อิเลคทรอนิคส์ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
ส่งออก เนเธอร์แลนด์ ร้อยละ 61.7 เบลเยียม ร้อยละ 9.3 ตุรกี ร้อยละ 5.6 เกาหลีใต้ ร้อยละ 4.1 (2548)
นำเข้า โปรตุเกส ร้อยละ 47.6 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 17.3 มาเลเซีย 6.2 เบลเยียม ร้อยละ 5.3 (2548)
หน่วยเงินตรา เงิน Dobra (Db) = 100 Centimos
อัตราแลกเปลี่ยน Db 12,445.5 = 1 เหรียญสหรัฐ (2549)

การเมืองการปกครอง
ประวัติศาสตร์
-- ค.ศ. 1471 ชาวปอร์ตุเกสค้นพบเกาะเซาโตเมและปรินซิเป
-- ค.ศ. 1522-1975 เซาโตเมและปรินซิเป มีสถานะเป็นแคว้นโพ้นทะเลของปอร์ตุเกส
-- ค.ศ. 1975 เซาโตเมและปรินซิเป ได้รับเอกราชและปกครองภายใต้การนำของพรรคขบวนการเพื่อปลดปล่อยเซาโตเมและปรินซิเป (Movement for the Libration of Sao Tome and Principe-Social Democratic Party = MLSTP-PSC) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว และในระยะแรกมีความขัดแย้งภายในอย่างรุนแรง โดยฝ่ายผู้สูงอายุในพรรคกับผู้นำรุ่นใหม่ อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดีคนแรก คือ Dr. Manuel Pinto da Costa ก็สามารถรักษาอำนาจไว้ได้ โดยในระยะหลังได้รับการสนับสนุนจากแองโกลา ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างกัน เนื่องจากอยู่ในกลุ่มประเทศอดีตเมืองขึ้นปอร์ตุเกสด้วยกัน

เซาตูเมและปรินซีปีถูกโปรตุเกสเข้ายึดครองเมื่อปี พ.ศ. 2036 โดยมีจุดประสงค์เพื่อการกวาดต้อนประชาชนไปเป็นทาส ในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 และเป็นประเทศที่มีน้ำตาลเป็นฐานในการผลิต โดยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการเริ่มก่อสร้างกลุ่มลัทธิชาตินิยมขึ้นโดยชาว Creole และ ชาว Forros ในปี 2515 ได้มีการก่อตุ้งพรรคการเมือง Movimento de Libertacao de Tome e Principe (MLSTP) โดยมีนาย Manuel Pinto da Costa โดยเมื่อปี 2517 ในฝรังเศสได้เกิดการปฏิวัติขึ้นโดยกำลังทหาร ทำให้รัฐบาลฝรั่งเศสในขณะนั้นประกาศให้พรรค MLSTP เข้าบริหารประเทศและจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวขั้น เซาตูเมและปรินซิปีได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2518 โดยมีนาย Pinto da Costa เป็นประธานาธิบดีและมีนาย Miguel Trovoada เป็นนายกรัฐมนตรี และมี พรรค MLSTP เป็นรัฐบาลเพียงพรรคเดียว และใช้การปกครองในรูปแบบสังคมนิยม

ในปี 2528 เซาตูเมและปรินซิปีถูกกดดันจากชาติตะวันตกและพรรคการเมืองคู่แข่งให้มีการปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจ ต่อมาจึงได้มีการจัดตั้งพรรค Partido Social Demócrata หรือ MLSTP-PSD ขึ้น ต่อมาได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญขึ้นเป็นครั้งแรกและมีการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติขั้นเมื่อเดือนมกราคม 1991 เป็นครั้งแรก และมีการจัดตั้งพรรค Partido da Convergencia Democratica-Grupo de Reflexao หรือ (PCD-GR) ขั้น และได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในมีนาคม 2534 ทั้งนี้ นาย Trovoada ยังคงเป็นอิสระ แต่ได้ให้การสนับสนุนพรรค PCD-GR ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี

ในช่วงสมัยที่พรรค PCD-GR เป็นพรรคฝ่ายรัฐบาลนั้นได้มีข้อโต้แย้งต่าง ๆ เพื่อให้มีการปฏิรูปการเมืองและฝ่ายบริหาร ในปี 2537 พรรค PCD-GR เกือบที่จะถูกล้มล้างในการเลือกตั้งโดยนาย Trovoada เนื่องจากพรรค MLSTP-PSD ได้รับชัยชนะด้วยคะแนนเสียง 27 จาก 55 ที่นั่ง และเข้าจัดตั้งรัฐบาล และยังมีพรรคการเมืองอื่น ๆ เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับพรรครัฐบาล เช่น Acçao Democratica Independente (ADI)แต่ได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมกับรัฐบาลแม้จะได้ให้การสนับสนุนนาย Carlos Graça นายกรัฐมนตรีคนใหม่ก็ตาม ต่อมานาย Graça และ นาย Trovoada ถูกปลดออกจากตำแหน่งเมื่อการยึดอำนาจเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2538 แต่ได้กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้งโดยมีแองโกลาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยให้ ภายหลังพรรค MLSTP-PSD และพรรคADI ได้ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลขึ้นภายใต้การนำของนาย Armindo Vaz d’Almeida นายกรัฐมนตรี ในปี 2539 นาย Trovoada ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง ในปี 2541 พรรค MLSTP-PSD ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอีกครั้งโดยได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่และได้จัดตั้งรัฐบาลอีกครั้ง ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี Guilherme Posser da Costa ถึงแม้ว่านาย Posser da Costa จะมีสัมพันธภาพที่ไม่ดีกับประธานาธิบดีมากนัก แต่นาย Posser da Costa ก็เป็นผู้มีส่วนในการสร้างเสถียรภาพทางการเมือง และยังเป็นผู้ผลักดันให้มีการช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเพิ่มความเชื่อมั่นจากต่างประเทศอีกด้วยถึงแม้ว่าจะเกิดปัญหาการคอร์รัปชั่นขึ้นก็ตาม

การเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 29 กรกฎาคม 2544 ผลปรากฏว่า นาย Fradique de Menezes ผู้สมัครอิสระโดยการสนับสนุนจากนาย Trovoada ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยก่อนหน้านี้การเลือกตั้งสภานิติบัญญัติในเดือนมีนาคม ปี2545 พรรค MLSTP-PSD ได้รับเลือกตั้งจำนวน 24 ที่นั่ง ส่วนพรรค Movimento Democrático das Forças da Mudança (MDFM) ได้รับการเลือกตั้งจำนวน 23 ที่นั่ง พรรค Uê Kédadji coalition ได้รับการเลือกตั้งจำนวน 8 ที่นั่ง

ในปี 2546 ระบอบประชาธิปไตยของเซาตูเมอ่อนแอลง ทำให้กองทัพเข้าทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2546 ในขณะที่ นาย Menezes ประธานาธิบดี ได้เดินทางไปเยือนไนจีเรีย ทำให้นาย Menezes ต้องถูกปลดออกจากตำแหน่ง และนายกรัฐมนตรี Maria das Neves คณะรัฐมนตรีรวมทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ถูกจับกุมตัว การเข้าทำรัฐประหารโดยเบื้องหลังแล้วถือว่าเป็นการฉวยโอกาสทางการเมืองของกองทัพ รวมถึงการที่เซาตูเมเริ่มปรากฏความมั่งคั่งในด้านทรัพยากรน้ำมัน จากนั้นเซาตูเมก็ถูกวิจารณ์เรื่องการรัฐประหารจากนานาประเทศจนทำให้เกิดการไกล่เกลี่ยจากต่างชาติ แต่ทางด้านเซาตูเมไม่ยอมรับข้อเสนอ ทั้งนี้ ในท้ายที่สุดกลุ่มผู้ทำการรัฐประหารก็ยินยอมให้นาย Menezes นาง das Neves และคณะรัฐมนตรีได้กลับคืนสู่อำนาจอีกครั้งและจัดตั้งรัฐบาลใหม่อีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามเซาตูเมก็ยังคงถูกจับตามองจากนานาชาติต่อไป

ในช่วงรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี das Neves หลังจากการปฏิวัติเซาตูเมต้องประสบกับความล้มเหลวในการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติและเกิดความแตกแยกทางการเมืองขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิวัติ จนกระทั่งนายกรัฐมนตรี das Neves ถูกประธานาธิบดีให้ออกจากตำแหน่งเมื่อเดือนกันยายน ปี 2547 เนื่องจากนาง das Neves มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตในการบริหารงานราชการ หลังจากนั้นพรรค Gabinete de Gestão da Ajuda (GGA) ได้ร่วมกับพรรค MLSTP-PSD และพรรค ADI จัดตั้งรัฐบาลใหม่ โดย นาย Damião Vaz de Almeida จากพรรคMLSTP-PSD เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อเดือน มิถุนายน 2005 ระหว่างที่เกิดการประท้วงจากภาคสาธารณะ โดยกล่าวหาว่า นาย Damião Vaz de Almeida เข้าแทรกแซงกระบวนการตัดสินใจของ Nigeria-São Tomé and Príncipe Joint Development Zone (JDZ) ในการทำข้อตกลงด้านทรัพยากรน้ำมันในปี 2544 ต่อมานาง Maria do Carmo Silveira ผู้บริหารของธนาคารกลางหรือ BCSTP (Banco Central de São Tomé e Príncipe) ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป นาง Maria do Carmo Silveira ได้จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ขึ้นโดยปราศจากพรรค MLSTP-PSD และพรรค ADI โดยพรรค ADI กลายเป็นพรรคฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลร่วมกับพรรค PCD และ MDFM ทั้งนี้ นาง Silveira ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นคนที่ 7 นับตั้งแต่ที่นาย Menezes เข้ารับตำแหน่งในปี 2544 สะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมานับแต่ ปี 2544

โครงสร้างทางการเมือง
ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี นอกจากนั้น ประธานาธิบดีเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดโดยตำแหน่งด้วย ประธานาธิบดี Miguel Travoada เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยในการเลือกตั้งเมื่อเดือนเมษายน
ฝ่ายนิติบัญญัติคือ สภาประชาชนแห่งชาติ (National Assembly) เป็นองค์กรสูงสุดในการปกครองประเทศประกอบด้วยสมาชิก 55 คน ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระคราวละ 5 ปี
พรรคการเมือง พรรครัฐบาล เดิมทีมีพรรคขบวนการปลดปล่อยแห่งเซาโตเมและปรินซิเปเป็นพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงพรรคเดียว ต่อมาภายหลังจากที่คณะนายทหารก่อรัฐประหารเมื่อเดือนสิงหาคม 2538 ได้มีการแสดงประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นผลให้มีการปฏิรูปการเมือง โดยอนุญาตให้มีระบบหลายพรรค ในการนี้ ได้มีการตั้งรัฐบาลผสมขึ้นมา ซึ่งประกอบด้วยพรรคการเมืองใหญ่ 3 พรรค คือ
-- the Party of Independent Democratic Action (ADI)
-- the Democratic Party of Sao Tome and Principe (CODO)
-- Movement for the Libration of Sao Tome and Principe-Social Democratic Party (MLSTP-PSD) และแต่งตั้งนาย Raul Wagner da Conceicao Braganca Neto ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

นโยบายต่างประเทศ
หลังจากที่ได้รับเอกราชแล้ว เซาตูเมและปรินซีปีได้พัฒนาความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเทศที่เป็นประเทศสังคมนิยมได้แก่ แองโกลา จีน คิวบา และเยอรมนีตะวันออก ด้านความสัมพันธ์กับประทศตะวันตกเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2528 เมื่อรัฐบาลเริ่มทำการปฏิรูประบบเศรษฐกิจให้เป็นรูปแบบเสรีนิยม ประเทศโปรตุเกสซึ่งเคยเป็นประเทศล่าอาณานิคมก็กลับมามีอิทธิพลเหนือเซาตูเมและปรินซีปีอีกครั้ง ในขณะที่ฝรั่งเศสและบราซิลกลับกลายมาเป็นคู่ค้าที่สำคัญชองเซาตูเมและปรินซีปี และได้สถาปนาความสัมพันธ์กับไต้หวันในปี 2540 เนื่องจากไต้หวันต้องการผลประโยชน์จากทรัพยากรน้ำมัน

หลังจากที่มีการค้นพบทรัพยากรน้ำมันในเซาตูเมและปรินซีปีทำให้ประเทศตะวันตกมียุทธศาสตร์ที่จะหาผลประโยชน์จากทรัพยากรน้ำมันในเซาตูเมและปรินซีปี โดยสหรัฐอเมริกามองว่าหากมีการตั้งฐานทัพเป็นการชั่วคราวในเซาตูเมจะสามารถปกป้องผลประโยชน์ด้านน้ำมันในอ่าวกินีได้ รัฐบาลสหรัฐได้ลงทุนในการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างท่าเรือน้ำลึกและสนามบินนานาชาติในเซาตูเม นอกจากนั้นไนจีเรียและแองโกลายังแข่งขันกันเพื่อที่จะมีอิทธิพลต่อเซาตูเมในการพัฒนาด้านทรัพยากรน้ำมัน ไนจีเรียได้เข้าไปมีบทบาทต่อการเซาตูเมและปรินซีปีมากกว่าแองโกลาโดยได้เข้าไปมีบทบาทในการแทรกแซงทางการเมืองเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตน เช่น การลงนามข้อตกลงทางการเมืองระหว่างกันจนกระทั่งทำให้มีการปฏิวัติในเดือนกรกฏาคม 2546 ทำให้อำนาจของประธานาธิบดี Menezes จบสิ้นลง ทางด้านแองโกลาก็เริ่มมีอิทธิพลต่อเซาตูเมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและยังเคยเสนอที่จะเข้าพัฒนาทรัพยากรน้ำมันของเซาตูเมด้วย และเมื่อประเมินศักยภาพของเซาตูเมแล้วจะเห็นได้ว่ายังมีบทบาทไม่มากนัก โดยวัดได้จากการที่ตัวแทนในระดับประเทศของเซาตูเมยังคงมีบทบาทจำกัด สำนักงานขององค์กรนานาชาติต่าง ๆ ทั้งจาก UN, IMF และ World Bank ยังตั้งอยู่ที่ประเทศกาบองและแองโกลาโดยไม่ได้มีการจัดตั้งในเซาตูเม

เศรษฐกิจการค้า
หลังจากที่เซาตูเมและปรินซีปีได้รับเอกราชเมื่อปี 2518 ทำให้เซาตูเมเพิ่มบทบาททางเศรษฐกิจมากขึ้น เซาตูเมเริ่มใช้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมเมื่อปี 2528 และในปี 2530 เซาตูเมเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับ IMF โดยการช่วยเหลือเพื่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ อย่างไรก็ตาม IMF ได้หยุดให้การช่วยเหลือไปเมื่อปี 2533 ทำให้นโยบายต่าง ๆ ของเซาตูเมต้องหยุดชะงักลงในทันที กระนั้นก็ดี ในเดือนเมษายน 2000 เซาตูเมยังดำเนินแผนการลดความยากจนและการสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Poverty Reduction and Growth Facility: PRGF) ระยะเวลา 3 ปี และใช้นโยบายการเงินแบบผูกขาด โดยนโยบายดังกล่าวสามารถสร้างความเชื่อมั่นและเสถียรภาพแก่รัฐบาลได้ และในปีเดียวกันนี้เซาตูเมได้ตัดสินใจยอมรับความช่วยเหลือจาก IMF และธนาคารโลกในการช่วยลดภาระหนี้ของประเทศยากจนที่มีหนี้สินเกินตัว (HIPC)

ในปี 2005 เซาตูเมได้รับเงิน SDR (สิทธิพิเศษถอนเงินเป็นสินทรัพย์สำรองระหว่างประเทศ) ถึง 4.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงปี 2548-2550 เซาตูเมได้ใช้แผนการลดความยากจนและการสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Poverty Reduction and Growth Facility: PRGF) จนสามารถเพิ่มอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้ถึง 5.5% ในปี 2550 ภายใต้แผน PRGF เซาตูเมสามารถลดรายจ่ายของรัฐและขณะเดียวกันก็ยังสามารถเพิ่มรายได้ของรัฐได้อีกด้วยเนื่องจากรัฐบาลได้ใช้ระบบจัดเก็บภาษีแบบใหม่โดยเพิ่มอัตราการเรียกเก็บภาษีสินค้า และปรับเปลี่ยนการเก็บภาษีรายได้โดยการขยายฐานภาษีให้กว้างขึ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยเซาโตเมและปรินซิเป
ด้านการเมือง ประเทศไทยกับเซาโตเมและปรินซิเป สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2530

ด้านเศรษฐกิจ
การค้าระหว่างสองประเทศมีมูลค่าไม่มากนัก แต่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยในปี 2549 มูลค่าการค้าระหว่าง 2 ประเทศเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 10.57 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ถึง 7.9 ล้านบาท ทั้งนี้ ไทยส่งออกไปเซาตูเมคิดเป็นมูลค่า 2.82 ล้านบาท และนำเข้าจากเซาตูเมคิดเป็มูลค่า 7.75 ล้านบาท โดยไทยเสียเปรียบดุลการค้า4.93 ล้านบาท สำหรับสินค้าออกของไทยไปยังเซาตูเมและปรินซีปี ได้แก่ เคหะสิ่งทอ และสินค้าที่ไทยนำเข้าจากเซาตูเมและปรินซีปี ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ผลิตภัณฑ์จากยาง แผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้ ในปี 2550 ไทยสามารถส่งออกสินค้าใหม่ เช่น เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยางและผลิตภัณฑ์ไม้ไปยังเซาตูเมและปรินซิปีได้ ทำให้คาดว่าปีนี้ ไทยน่าจะเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า

ปริมาณการค้าระหว่างไทย - เซาโตเมและปรินซิเป ดูเอกสารแนบ

การแลกเปลี่ยนการเยือนที่สำคัญ
ไม่ปรากฏข้อมูลการแลกเปลี่ยนการเยือน



สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-48 E-mail : southasian03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์