ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> มาซิโดเนีย




แผนที่
สาธารณรัฐมาซิโดเนีย
Republic of Macedonia


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ทิศเหนือติดกับเซอร์เบีย ทิศตะวันออกติดกับบัลแกเรีย ทิศใต้ติดกับกรีซ ทิศตะวันตกติดกับแอลเบเนีย

พื้นที่ 25,333 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง กรุงสโกเปีย (Skopje)

ประชากร 2.1 ล้านคน (กรกฎาคม 2550)

ภูมิอากาศ อบอุ่นและแห้งในฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง ค่อนข้างเย็นและมีหิมะตกมากในฤดูหนาว

ภาษา มาซิโดเนียน ร้อยละ 66.5 แอลเบเนียน ร้อยละ 25.1 เติร์ก ร้อยละ 3.5 โรมา ร้อยละ 1.9 เซอร์เบียน ร้อยละ 1.2 อื่นไ ร้อยละ 1.8

ศาสนา มาซิโดเนียน ออโธด๊อกซ์ ร้อยละ 64.7 มุสลิม ร้อยละ 33.3 คริสเตียนนิกายอื่นๆ ร้อยละ 0.37 อื่นๆ และไม่ระบุ ร้อยละ 1.8

หน่วยเงินตรา มาซิโดเนียน ดีนา (MKD)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 6.225 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)

รายได้ประชาชาติต่อหัว 3,059 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 3.1 (ปี 2549)

ระบอบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2534 โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ มาจากการเลือกตั้งโดยตรงโดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นาย Branko Crvenkovski (ตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2547) นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปี คณะรัฐมนตรีได้รับการเลือกจากเสียงข้างมากในสภา Sobranje ซึ่งเป็นสภาเดี่ยว นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นาย Nikola Gruevski





การเมืองการปกครอง
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
มาซิโดเนียเป็นชื่อเรียกดินแดนในประวัติศาสตร์ที่มีพื้นที่ครอบคลุมบางส่วนของยูโกสลาเวีย กรีซ และบัลแกเรีย ในระหว่างปี 2489-2492 เกิดสงครามกลางเมืองภายในกรีซ จึงทำให้นายพลตีโต แห่งยูโกสลาเวียประสบความสำเร็จในการเรียกร้องพื้นที่ส่วนหนึ่งของดินแดนมาซิโดเนียมาอยู่ภายใต้การปกครอง โดยเป็นสาธารณรัฐ 1 ใน 6 สาธารณรัฐของยูโกสลาเวีย

ในปี 2534 สาธารณรัฐสโลวีเนีย และสาธารณรัฐโครเอเชีย และบอสเนีย-เฮอร์โซโกวีนาได้เคลื่อนไหวแยกตัวเป็นเอกราชจากยูโกสลาเวีย ชาวมาซิโดเนียจึงได้จัดให้มีการลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราช และได้ประกาศเอกราชจากยูโกสลาเวียเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2534 ซึ่งเป็นการแยกตัวโดยปราศจากการใช้กำลังต่อต้านจากยูโกสลาเวีย ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะยูโกสลาเวียกำลังสนับสนุนชาวเซิร์บในการสู้รบในบอสเนีย-เฮอร์โซโกวีนา ประกอบกับในมาซิโดเนียมาประชากรเชื้อสายเซิร์บจำนวนน้อย ยูโกสลาเวียจึงไม่ต้องการเปิดศึก 2 ด้าน

มาซิโดเนียประกาศเอกราชโดยใช้ชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐมาซิโดเนีย (Republic of Macedonia - ROM) ตามรัฐธรรมนูญ และต่อมาได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติภายใต้ชื่อ ROM แต่ได้รับการคัดค้านจากกรีซ โดยให้เหตุผลทางประวัติศาสตร์และดินแดนว่า การใช้ชื่อ Republic of Macedonia เป็นการส่อเจตนารมย์ที่จะอ้างสิทธิครอบคลุมไปถึงดินแดนมาซิโดเนียส่วนที่อยู่ในกรีซ ในที่สุดคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีข้อมติที่ 817 (1993) ให้ใช้ชื่อ Former Yugoslav Republic of Macedomia (FYROM) ในการอ้างถึงมาซิโดเนียในสหประชาชาติจนกว่าประเทศทั้งสองจะตกลงกันได้

สหประชาชาติได้มีมติเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2536 ประกาศรับรองมาซิโดเนียเข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 181 นอกจากนี้ มาซิโดเนียยังได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศอีกหลายองค์การ เช่น FAO, IAEA, IBRD, ICAO, ILO, IMF, OSCE, UNCTAD, UNESCO, UNIDO, WHO เป็นต้น

สถานการณ์การเมืองในมาซิโดเนีย
มาซิโดเนียจัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2549 นายกรัฐมนตรี ได้แก่ นาย Nikola Gruevski มาจากพรรค the Internal Macedonian Revolutionary Organisation-Democratic Party of Macedonian National Unity (VMRO-DPMNE) ได้รับที่นั่งในสภา 65 ที่นั่ง (จาก 120 ที่นั่ง) ได้จัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับ 4 พรรค ได้แก่ the Democratic Party of Albanians (DPA) the New Social Democratic Party (NSDP) the Democratic Renewal of Macedonia (DOM) และ the Party for a European Future (PEI)

นโนยบายด้านการต่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างมาซิโดเนียกับ EU
นโยบายการต่างประเทศของรัฐบาลชุดปัจจุบันให้ความสำคัญลำดับต้นต่อการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) มาซิโดเนียได้รับสถานะเป็น Candidate Country ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 ภายหลังจากที่มาซิโดเนียได้บรรลุเงื่อนไข อันได้แก่ การต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวง การปฏิรูประบบเศรษฐกิจ การยุติธรรม และการบริหารรัฐกิจ รวมถึงการจัดการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม โดย EU ได้ประกาศว่า มาซิโดเนียได้มีความก้าวหน้าอย่างยิ่งในการบรรลุเงื่อนไขในกรอบนิติบัญญัติตามข้อตกลง Ohrid Framework Agreement และการบรรลุข้อตกลง Stabilization and Association Agreement ทั้งนี้ เป็นที่คาดการณ์ว่ามาซิโดเนียจะเข้าสู่กระบวนการเจรจาเพื่อเป็นสมาชิก EU ภายในปี 2551 และนาย Gruevski นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันได้มีเจตนารมย์ให้มาซิโดเนียเข้าเป็นสมาชิก EU อย่างสมบูรณ์ในราวปี 2556-2557 อย่างไรก็ดี ก็มีฝ่ายที่คัดค้านการได้รับสมาชิกภาพ EU ของมาซิโดเนีย โดย EU ได้ตั้งเงื่อนไขที่มาซิโดเนียต้องปฏิบัติให้บรรลุผลก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเจรจา

เศรษฐกิจการค้า
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
มาซิโดเนียเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดประเทศหนึ่งในยุโรป โดยในปี 2534 มาซิโดเนียเป็นประเทศอดีตยูโกสลาเวียที่ยากจนที่สุด และปัจจุบันในปี 2549 มาซิโดเนียมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศคิดเป็นมูลค่า 6.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งต่ำสุดในยุโรปตะวันออกรองจาก ทาจิคีร์สถาน สาธารณรัฐคีร์กิซ และมอลโดวา ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศคิดเป็นร้อยละ 0.01 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก เศรษฐกิจมาซิโดเนียพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศสูง โดยสัดส่วนการค้าระหว่างประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศคิดเป็นร้อยละ 99.2 เศรษฐกิจภายในประเทศพึ่งพาภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ส่วนภาคบริการเริ่มทวีความสำคัญเมื่อราวสองสามปีที่ผ่านมา ปัญหาสำคัญของมาซิโดเนีย มาตรฐานความเป็นอยู่ที่ต่ำ และ อัตราการว่างงานอยู่ในระดับที่สูงถึงร้อยละ 36 (กันยายน 2549) ทั้งๆ ที่แรงงานมาซิโดเนียจัดเป็นแรงงานที่มีทักษะและมีฝีมือและแข่งขันได้ หากแต่ขาดโอกาสในตลาดแรงงาน ซึ่งทำให้แรงงานมีฝีมือมีความต้องการแสวงหาโอกาสในตลาดแรงงานต่างประเทศ

ในอดีตเมื่อปี 2533 มาซิโดเนียประสบปัญหาเงินเฟ้อขั้นรุนแรง (Hyperinflation) มีผลให้รัฐบาลใช้มาตรการการเงินและการคลังแบบรัดเข็มขัดอันเป็นเงื่อนไขของข้อตกลงให้กู้ยืมเงินจาก IMF ซึ่งให้เงินสนับสนุนมาซิโดเนียเมื่อปี 2540 ในกรอบโครงการ Poverty reduction and growth facility (PRGF) จำนวนเงิน 73.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นระยะเวลา 10 ปี เพื่อช่วยเหลือด้านการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ อาทิ ภาคเกษตรกรรม และการลงทุน อย่างไรก็ดี ภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจในปี 2544 และการเลือกตั้งเมื่อเดือนกันยายน 2545 ส่งผลให้มาซิโดเนียต้องใช้จ่ายเงินคลังจำนวนมาก ทำให้ต้องมีการเจรจาต่อรองระหว่างมาซิโดเนีย กับ IMF ในเรื่องการให้กู้ยืมเงินดังกล่าว ต่อมาภายหลังการเลือกตั้ง IMF ได้ลงความเห็นให้เงินสนับสนุนภายใต้ stand-by Agreement วงเงิน 75.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2548-2551 โดยมีเงื่อนไขว่า มาซิโดเนียจะต้องปฏิรูปโครงสร้างของตลาดแรงงาน และปฏิรูประบบการยุติธรรมให้เป็นผลสำเร็จ นอกจากนี้เมื่อเดือนมีนาคม 2550 World Bank ได้ให้เงินสนับสนุนจำนวน 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายใต้โครงการ Country Partnership Strategy (CPS) เพื่อส่งเสริมการสร้างงานภายในประเทศ และปรับปรุงประสิทธิภาพของภาคบริหารรัฐกิจ

ในปัจจุบัน รัฐบาลมาซิโดเนียมีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมให้มาซิโดเนียเป็นเป้าหมายดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยระหว่างช่วงมกราคม – มีนาคม 2550 รัฐบาลมาซิโดเนียได้จัดแคมเปญเพื่อสื่อให้ต่างประเทศเห็นว่า มาซิโดเนียเป็น “New Heaven in Europe” นอกจากนี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ได้ออกกฎหมายที่อนุญาตการก่อสร้าง Technological Industrial Development Zones (TIDZs) โดยภายใต้โครงการนี้มีการดึงดูดนักลงทุนโดยการลดภาษีและลดขั้นตอนความยุ่งยากให้การประสานกับภาครัฐ

การค้าระหว่างประเทศ
มาซิโดเนียเข้าเป็นสมาชิก WTO เมื่อเดือนเมษายน 2546 และขณะนี้มาซิโดเนียอยู่ในระหว่างการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) โดยมีสถานะเป็น Candidate Country ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 ภายหลังจากที่ได้ลงนามในความตกลง Stabilization and Association Agreement กับ EU เมื่อเดือนเมษายน 2544 ซึ่งมีผลให้มาซิโดเนียสามารถส่งสินค้าเข้าตลาด EU โดยไม่ต้องเสียภาษี ทั้งนี้ มาซิโดเนียขาดดุลทางการค้าตั้งแต่ปี 2537 โดยขาดดุลสูงสุดในปี 2549 คิดเป็นมูลค่า 1.362 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราวร้อยละ 21.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ มูลค่าการค้าในปี 2549 คิดเป็น 6.163 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ 99.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) ประเทศคู่ค้าที่สำคัญได้แก่ เซอร์เบียและมอนเตเนโกร เยอรมนี และกรีซ

ปัจจุบัน มาซิโดเนียมีความตกลงการค้าเสรีกับยูเครน ตุรกี และ the European Free Trade Association Countries (EFTA) ได้แก่ ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ และในปี 2549 มาซิโดเนียได้เข้าเป็นสมาชิก the Central European Free Trade Agreement (CEFTA) ซึ่งประกอบด้วย มาซิโดเนีย โครเอเชีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มอลโดวา เซอร์เบียและมอนเตเนโกร แอลเบเนีย และโคโซโว (UN Mission in Kosovo)


ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐมาซิโดเนีย
ความสัมพันธ์ด้านการทูต
ไทยและมาซิโดเนีย ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2548 ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2538 มาซิโดเนียสถาปนาความสัมพันธ์ฯ กับประเทศต่างๆ ภายใต้ชื่อ Republic of Macedonia (ROM) มาโดยตลอด โดยประเทศในเอเชียที่ได้สถาปนาความสัมพันธ์ฯ ภายใต้ชื่อ ROM มี อาทิ จีน สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย ลาว และกัมพูชา และประเทศที่สำคัญอื่นๆ มี อาทิ รัสเซีย เยอรมนี และล่าสุด สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ในขณะนี้ หลายประเทศรวมทั้งสหรัฐอเมริกา และเยอรมนี ได้ยอมรับการใช้ชื่อ ROM ของมาซิโดเนีย และในที่สุดกรีซคงจะต้องยอมรับการใช้ชื่อดังกล่าว และในการลงนามอนุสัญญาของสหประชาชาติ มาซิโดเนียจะเขียนด้วยลายมือกำกับเพิ่มเติมทุกครั้งจากชื่อที่สหประชาชาติพิมพ์ไว้คือ “The Former Yugoslav Republic of Macedonia” ว่าเป็นการ ลงนามสำหรับ “Republic of Macedonia” (….for the Republic of Macedonia) ซึ่งสหประชาชาติก็ยอมให้มาซิโดเนียกระทำการดังกล่าวได้

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
การค้า
ในปี 2549 การค้ารวมระหว่าไทยและมาซิโดเนียคิดเป็นมูลค่า 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยได้ดุลการค้า 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้ารวมระหว่างไทยและมาซิโดเนียลดลงจากปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 27.27
สินค้าที่ไทยส่งออก ได้แก่ อาหารทะเลกระป่องและแปรรูป สิ่งทอ ผ้าผืนและด้าย
สินค้าที่ไทยนำเข้า ได้แก่ ไม้ซุง ไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์

การลงทุน
ปัจจุบันยังไม่มีการลงทุนจากมาซิโดเนียที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในไทย

การท่องเที่ยว
ในปี 2549 มีนักท่องเที่ยวมาซิโดเนียเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 336 คน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 66.34 ในช่วงมกราคม-มีนาคม 2550 จำนวนนักท่องเที่ยวมาซิโดเนียคิดเป็น 70 คน

การเยือนที่สำคัญ
ฝ่ายไทย
ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนกรีซและมาซิโดเนีย อย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 5-11 กุมภาพันธ์ 2543

ฝ่ายมาซิโดเนีย
นาย Aleksandar Dimitrov รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาซิโดเนีย เดินทางมาเยือนไทยในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 27-30 มิถุนายน 2543


กรมยุโรป
18 สิงหาคม 2550

เรียบเรียงโดย กองยุโรป 3 กรมยุโรป โทร. 0 2643 5142-3 Fax. 0 2643 5141 E-mail : european04@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์