ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> สโลวีเนีย




แผนที่
สาธารณรัฐสโลวีเนีย
Republic of Slovenia


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในบริเวณยุโรปกลาง ทิศเหนือติดออสเตรีย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดฮังการี ทิศตะวันตกติดอิตาลี ทิศตะวันออก และทิศใต้ติดโครเอเชีย มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลอเดรียติก

พื้นที่ 20,273 ตารางกิโลเมตร (เล็กกว่าไทย 25 เท่า)

เมืองหลวง กรุงลุบลิยานา
ประชากร 2 ล้านคน (มิถุนายน 2550)

ภูมิอากาศ แบบเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อประมาณ 21 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 0 องศาเซลเซียส

ภาษา สโลวีเนีย ร้อบละ 91.1 เซอร์เบียน-โครเอเชียน ร้อยละ 4.5 อื่นๆ หรือไม่ระบุ ร้อยละ 4.4

ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาธิลิก ร้อยละ 57.8 คริสต์นิกายออธอด็อกซ์ ร้อยละ 2.3 คริสต์นิกายอื่นๆ ร้อยละ 0.9 มุสลิม ร้อยละ 2.4 ไม่นับถือศาสนา ร้อยละ 14.6 อื่นๆ หรือไม่ระบุ ร้อยละ 23

หน่วยเงินตรา ยูโร

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 37.64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549))

รายได้ประชาชาติต่อหัว 17,267 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 4.4 (ปี 2549)

ระบอบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งเป็นระบบสองสภา (Bicameral Parliament) คือ วุฒิสภา (National Council) ทำหน้าที่นิติบัญญัติ มี 40 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้งโดยตรง 22 ที่นั่ง มาจากตัวแทนกลุ่มทางสังคม เศรษฐกิจและสาขาอาชีพต่างๆ 18 ที่นั่ง มีวาระ 5 ปี และ สภาผู้แทนราษฎร (National Assembly) มี 90 ที่นั่ง มาจากระบบสัดส่วน 50 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้งโดยตรง 38 ที่นั่ง มาจากผู้แทนชนกลุ่มน้อยชาวฮังกาเรียนและอิตาเลียน 2 ที่นั่ง มีวาระ 4 ปี เลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2547 เลือกตั้งครั้งต่อไปเดือนตุลาคม 2551 นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นาย Janez Jansa ประธานาธิบดี เป็นประมุขแห่งรัฐ มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 5 ปี ดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ 2 วาระ เลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน และ 1 ธันวาคม 2545 เลือกตั้งครั้งต่อไปในปี พ.ศ.2550 ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นาย Janez Drnovsek

การเมืองการปกครอง
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
ยุคแรกเริ่ม
ประมาณ 300 – 400 ปี ก่อนคริสต์กาล ดินแดนที่เรียกว่าสโลวีเนียในปัจจุบัน เป็นถิ่นพำนักของชนเผ่า Celtic ซึ่งรวมตัวก่อตั้งเป็นอาณาจักรชื่อ Noricum และถือเป็นยุคเริ่มประวัติศาสตร์ของสโลวีเนียที่ยังมีมรดกตกทอดมาถึงยุคปัจจุบัน ต่อมาประมาณ 10 ปี ก่อนคริสตกาล อาณาจักร Noricum ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน และมีการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมเพื่อการค้าและการทหารโดยพวกอิตาลี ช่วงคริสศตวรรษที่ 5 และ 6 ดินแดนแถบนี้ถูกรุกรานโดยชนเผ่า Huns และ Germanic หลังจากนนั้นชนเผ่า Slavs ได้เริ่มมีอิทธิพลเหนือดินแดนแถบนี้ ต่อมาได้เกิดการก่อตั้งเป็นอาณาจักรในรูปแบบสมาพันธรัฐ ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่สาธารณรัฐเช็กในปัจจุบัน ต่อมาในศตวรรษที่ 8 ได้มีการสถาปนาอาณาจักร Carantania ขึ้น ซึ่งต่อมาในภายหลังได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักร Bavaria Frankish และ Magyar ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 14 สโลวีเนียตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ Habsburg แห่งออสเตรีย ซึ่งเป็นช่วงที่ประชาชนได้รับความลำบากจากระบบศักดินา และการเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรม จนทำให้เกิดการปฏิวัติและการต่อสู้ครั้งใหญ่โดยชาวนาสโลวีเนียและโครอัต กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นยุคถ่ายทอดอารยธรรมและกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ จากอาณาจักร Austro-Hangarian รวมถึงเป็นยุคที่มีการรณรงค์ทางการเมืองในปี 2391 ให้ดินแดนแถบที่มีชาวสโลวีนอาศัยอยู่ได้รับการขนานนามว่า Slovenia ซึ่งกำหนดให้ใช้ภาษาสโลวีนเป็นภาษาราชการ

ยุคสงครามโลกและระบอบสังคมนิยม
สโลวีเนียได้รับความบอบช้ำอย่างมากจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และประเทศมหาอำนาจพยายามแบ่งแยกดินแดนสโลวีเนียออกเป็นส่วนต่างๆ อย่างไรก็ตาม ภายหลังการเสื่อมสลายของราชวงศ์ Habsburg และอาณาจักร Astro-Hugarian ชาวสโลวีน โครอัต และเซิร์บ ได้รวมกันก่อตั้งรัฐอิสระทีมีเมืองหลวงอยู่ที่กรุง Zagreb และต่อมาด้วยผลจากที่อิตาลีได้เข้าคุกคามยึดครองดินแดนต่างๆ ทำให้ อาณาจักรสโลวีน โครอัต และเซิร์บ ได้ประกาศรวมตัวกับอาณาจักร Serbia และเปลี่ยนชื่อเป็นอาณาจักร Yugoslavia ซึ่งปกครองภายใต้ระบบกษัตริย์ ในปี 2472

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง อาณาจักรยูโกสลาเวียขาดเอกภาพ นายพล Josip Broz Tito ยุติระบอบกษัตริย์ และขึ้นเป็นประธานาธิบดี ซึ่งด้วยนโยบายเด็ดขาดประกอบกับอัจฉริยภาพของประธานาธิบดี Tito ได้ทำให้สาธารณรัฐต่างๆ ของยูโกสลาเวียยังคงรวมกันอยู่ได้

ต่อมาในช่วงที่มีการต่อตั้งกลุ่ม Liberation Front และพรรคคอมมิวนิสต์ อันนำไปสู่การปฏิวัติให้ประเทศเป็นระบบสังคมนิยมนั้น ได้มีการรวมดินแดนสโลวีเนียในปัจจุบันเข้ากับยูโกสลาเวียใหม่ที่มีการปกครองระบอบสังคมนิยม อย่างไรก็ดี การปกครองในสโลวีเนียเป็นระบบสังคมนิยมที่ไม่รุนแรงโดยได้ผสมผสานระบบกลไกทางตลาดเข้ากับการวางแผนจากส่วนกลาง เป็นผลให้เศรษฐกิจของสโลวีเนียมีความเจริญรุดหน้ามากที่สุดในบรรดา 6 สาธารณรัฐของยูโกสลาเวีย และนำมาซึ่งความภาคภูมิใจในความเป็นชาวสโลวีน ทั้งด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม

การแยกตัวเป็นเอกราชของสโลวีเนีย
ความแตกแยกในยูโกสลาเวียเกิดจากปัจจัยพื้นฐานหลายประการ ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือปัจจัยทางประวัติศาสตร์ที่สั่งสมมานานกว่าพันปี จากการที่สาธารณรัฐต่างๆ ที่รวมกันเป็นสหพันธ์สาธารณัฐ มีความแตกต่างกันอย่างมาก ทั้งทางด้านเชื้อชาติ ศสนา ความเป็นมาทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติเป็นปัญหาที่คุกรุ่นมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างชาวโครอัท ชาวเซิร์บ และชาวมุสลิม ทั้งนี้ ในอดีต สโลวีเนียและโครเอเชียเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมันและจักรวรรดิออสโตร-ฮังการี แหน่งราชวงศ์ Habsburg จึงมีความผูกพันทางสังคม วัฒนธรรม ภาษา ศาสนา และจิตใจกับยุโรปตะวันตก ในขณะที่รัฐทั้งหลายทางตอนใต้ ได้แก่ เซอร์เบียน มอนตินิโกร บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา และมาเซโดเนีย เคยอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรไปแซนไทน์ และจักรวรรดิ์ออตโตมันมานับพันปี จึงได้รับการหล่อหลอมวัฒนธรรมแบบบอลข่าน คือแบบมุสลิมหรือคริสเตียนตะวันออก (Orthodox)

ในปี 2517 มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญให้ยูโกสลาเวียเปลี่ยนรูปแบบจากรัฐที่รวมอำนาจไว้ที่สูนย์กลางไปเป็นสหพันธ์อย่างหลวมๆ ทั้งนี้ การถึงแก่อสัญกรรมของนายพบ Josip Broz Tito แห่งยูโกสลาเวียในปี 2523 ถือเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โดยได้เกิดความระส่ำระสายทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจในยูโกสลาเวีย และนำไปสู่การเสื่อมลสายของยูโกสลาเวียในเวลาต่อมา

ในปี 2530 กลุ่มปัญญาชนได่รวมตัวกันเรียกร้องประชาธิปไตยและเอกราชให้แก่สโลวีเนีย และได้รณรงค์ต่อต้านอำนาจศูนย์กลางจากยูโกลาเวีย ในปี 2533 มีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรกในสโลวีเนีย และในปีเดียวกันได้มีการจัดให้มีการลงประชามติเรื่องการแยกตัวเป็นเอกราชของสโลวีเนีย ซึ่งผลปรากฏว่า ประชาชนร้อยละ 88 ลงเสียงสนับสนุน

วันที่ 25 มิถุนายน 2534 สโลวีเนียประกาศแยกตัวเป็นเอกราชจากยูโกสลาเวีย แต่ถูกกองทัพยูโกสลาเวียบุกเข้าโจมตีในวันรุ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม มีการเจรจาสงบศึกในเดือนตุลาคม 2534 และสโลวีเนียประกาศใช้รัฐธรรมนูญในเดือนธันวาคม 2534

สหภาพยุโรปรับรองสโลเวียในฐานะประเทศในเดือนมกราคม 2535 และสโลวีเนียเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติในเดือนพฤษภาคม 2535

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 สโลวีเนียได้เข้าเป็สมาชิกสหภาพยุโรปโดยสมบูรณ์ และได้มีการประการศใช้เงินสกุลยูโร เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2550

สถานการณ์ทางการเมือง
สโลวีเนียจัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อเดือน ต.ค. 2547 นายกรัฐมนตรี Janez Jansa มาจากพรรคขวา-กลาง (Slovenian Democratic Party - SDS) ที่ได้รับที่นั่ง 23 จากทั้งหมด 90 ที่นั่ง และได้ฟอร์มรัฐบาลร่วมกับพรรคอื่นๆ อีก 3 พรรค นับเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าการเมืองสโลวีเนียหลังจากที่พรรค Liberal Democracy of Slovenia – LDS ได้บริหารประเทศติดต่อกันถึง 13 ปี แม้ว่า ผลสำรวจความพึงพอใจต่อรัฐบาลชุดนี้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2548 ถึงช่วงครึ่งปีแรกของปี 2549 ปรากฎว่าความนิยมในตัวรัฐบาลเสื่อมถอยลง เนื่องจากจากรัฐบาลได้แถลงนโยบายปฏิรูปหลายประการ อาทิ การนำเสนอการเก็บภาษีในแบบ flat rate ซึ่งได้รับการคัดค้านจากสหภาพการค้า และพรรคการเมืองฝ่ายค้าน แต่ไม่บังเกิดผล เนื่องจากพรรคแกนนำฝ่ายค้าน (Liberal Democracy of Slovenia) ยังอ่อนแอและแตกแยก รวมถึงสภาวะทางเศรษฐกิจที่อยู่ในเกณฑ์ดี อันได้แก่ อัตราการเติบโตของ real GDP ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2549 สูงถึงร้อยละ 5.6 ซึ่งสูงที่สุดนับแต่ปี 2543 สื่อต่างประเทศจึงได้วิเคราะห์ว่า รัฐบาลชุดนี้จะมีเสถียรภาพไปจนถึงการเลือกตั้งทั่วไปในช่วงปลายปีค.ศ.2008 นอกจากนี้ผลสำรวจล่าสุดได้ชี้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนพรรค SDS ของ นรม. Jansa และ รมว. กต. Rupel มากกว่าพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังมีความพึงพอใจต่อผลงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลนับแต่สโลวีเนียได้เข้าเป็นสมาชิก EURO Zone เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2550 อย่างไรก็ดี มีโอกาสที่การใช้เงินสกุลยูโรอาจส่งผลกระทบให้เกิดเงินเฟ้อในสโลวีเนียได้ ดังเช่นที่เกิดขึ้นกับประเทศสมาชิก EURO Zone อื่นๆ มาแล้ว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความพึงใจของประชาชนต่อรัฐบาลชุดนี้บ้าง

นโยบายด้านการต่างประเทศ
เมื่อสโลวีเนียประกาศเอกราช นโยบายต่างประเทศของสโลวีเนียให้ความสำคัญในลำดับต้นเพื่อสร้างการยอมรับจากประเทศในภูมิภาคยุโรป และพยายามสร้างเสริมความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาค จนได้รับการยอมรับจากสหภาพยุโรปในฐานะรัฐเอกราชภายหลังจากการประกาศเอกราชได้ 6 เดือน และในเดือนเมษายน 2536 ได้ลงนามความตกลงในการมีความร่วมมือกับสหภาพยุโรป ซึ่งทำให้สโลวีเนียได้ประโยชน์จากการเข้าสู่ตลาดของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปได้ นอกจากนี้ สโลวีเนียได้ดำเนินการเพื่อเข้าเป็นสมาชิก NATO OSCE และ สหภาพยุโรปตะวันตก (WEU) ในเวลาต่อมา และได้มีส่วนร่วมในปฏิบัติการทางทหารของ NATO โดยอนุญาตให้ NATO ใช้น่านฟ้าเพื่อการปฏิบัติการทางทหารในอดีตยูโกสลาเวียในเดือนตุลาคม 2541 สำหรับในปี 2548 สโลวีเนียรับตำแหน่งประธาน OSCE ด้วย ทั้งนี้ นโยบายด้านความมั่นคงของสโลวีเนียมุ่งไปที่ความมั่นคงในคาบสมุทรบอลข่านเป็นลำดับต้น นอกจากนี้ยังส่งกองทหารเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ ISAF เข้าสู่อัฟกานิสถาน

ในกรอบขององค์การสหประชาชาติ ในเดือนพฤษภาคม 2535 สโลวีเนียได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งทำให้สโลวีเนียได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศภายใต้กรอบของสหประชาชาติอีกหลายองค์กรในเวลาต่อมา อาทิ UNCTAD UNDP UNICF UNESCO ILO UNIDO IAEA FAO ทำให้สโลวีเนียได้รับการยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศ และแต่งตั้งผู้แทนทางการทูตไปประจำที่สโลวีเนีย ปัจจุบัน กรุงลุบลิยานาเป็นที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ของ 26 ประเทศ และอีก 57 ประเทศได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตของตนที่กรุงเวียนนา บูดาเปสต์ และเมืองหลวงในภูมิภาคยุโรป ดูแลสโลวีเนีย

นอกจากนี้ นโยบายต่างประเทศสโลวีเนียให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับสโลวีเนีย ได้แก่ อิตาลี ฮังการี ออสเตรีย (ซึ่งมีปัญหากับสโบวีเนียในเรื่องโรงงานพลังงานนิวเคลียร์ และการปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมัน) และโครเอเชีย (มีปัญหากับสโลวีเนียในเรื่องเขตแดน) รวมทั้งให้ความสำคัญกับ ประเทศในยุโรป สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย สำหรับประเทศนอกภูมิภาคยุโรปนั้น สโลวีเนียให้ความสำคัญกับการมีความสัมพันธ์และความร่วมมือกับจีน

ความสัมพันธ์กับ EU
สโลวีเนียได้เสริมสร้างความพร้อมสำหรับการเข้ารับหน้าที่ประธาน EU ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551 โดยมีการหารืออย่างใกล้ชิดกับเยอรมนีและโปรตุเกสเกี่ยวกับโครงการในช่วง 18 เดือนของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธาน EU รวมถึงประสานงานกับผู้ที่จะดำรงตำแหน่งต่อจากสโลวีเนีย ได้แก่ ฝรั่งเศส สวีเดน และเช็ก

ประเด็นที่สโลวีเนียให้ความสำคัญลำดับต้นในช่วงดำรงตำแหน่งประธาน EU จะเป็นประเด็นเกี่ยวกับอนาคตของยุโรป การเสริมสร้างเสรีภาพ ความมั่นคงและระบบของระบบยุติธรรม รวมถึงนโยบายด้านความมั่นคงทางพลังงาน และนโยบายด้าน Inter-cultural Dialogue และจะให้ความสำคัญต่อนโยบายการขยายสมาชิกภาพของ EU ไปยังประเทศในแถบบอลข่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาซิโดเนีย และมุ่งให้เกิดบูรณาการในภูมิภาค Euro-Atlantic ดังเช่นการเป็นเจ้าภาพจัดประชุม Bled Strategic Forum เมื่อกลางปี ค.ศ. 2006 ซึ่งเป็นเวทีในการระดมวิสัยทัศน์ของกลุ่มผู้นำทางการเมือง ภาคเอกชน และองค์การระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคแคลเปียน ยุโรป รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา

HSN
สโลวีเนียเข้ารับหน้าที่ประธานเครือข่ายความมั่นคงมนุษย์ (HSN) ต่อจากไทยในระหว่างเดือนมิถุนายน 2549 - มิถุนายน 2550 โดยมีแผนปฏิบัติการให้ความสำคัญต่อบทบาทของ HSN ใน UN Human Right Council ชุดใหม่ การส่งเสริม inter-cultural and inter-religious Dialogue การต่อต้านการใช้ความรุนแรงกับเด็ก การปกป้องเด็กจากการตกเป็นเหยื่อในสงคราม การมุ่งลดปัญหาการติดเชื้อเอดส์ ซึ่งเป็นประเด็นที่ไทยในฐานะประธาน HSN ในวาระก่อนหน้านี้ ให้ความสำคัญ รวมทั้งการให้ความสำคัญกับประเด็นการค้ามนุษย์ โดยให้การสนับสนุน UN Global Programme against Trafficking in Human Beings

NATO
สโลวีเนียเข้าเป็นสมาชิก NATO เมื่อเดือนมีนาคม 2547 ซึ่งสโลวีเนียได้มีส่วนในการให้การฝึกอบรมด้านการทหาร และมีส่วนในการสิรมเสร้างเสถียรภาพในอัฟกานิสถานด้วยการส่งทหารเข้าร่วมภารกิจของ the International Security Assistance Force (ISAF) รวม 51 นาย โดยทั้งหมดปฏิบัติภารกิจใน กรุงคาบูล และเมือง Herat

บทบาทที่โดดเด่นอีกประการของสโลวีเนียในภารกิจร่วมกับ NATO ได้แก่ การส่งกำลังทหารกว่า 700 นาย ไปประจำการในดินแดนโคโซโว โดยสโลวีเนียมีอำนาจบังคับบัญชาในเขตพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายให้ไปควบคุม

ในภาพรวมและระยะยาว สโลวีเนียมุ่งเน้นการรักษาสถานภาพและชื่อเสียงระหว่างประเทศ และมีบทบาทอย่างแข็งขันในสหประชาชน และองค์กรส่วนภูมิภาคของยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าเป็นสมาชิกขององค์กร Southeastern Europe Cooperation Initiative (SECI) องค์การ Central Europe Initiative (CEI) ตลอดจนการเข้าเป็นสมาชิกเขตการค้าเสรียุโรปกลางหรือ CEFTA (Central European Free Trade Agreement)

โดยสรุป แม้สโลวีเนียจะเพิ่งประกาศตนเป็นรัฐเอกราชและมีนโยบายต่างประเทศของ
ตนเองได้ไม่นาน แต่ตลอดระยะเวลากว่าสิบปีที่ผ่านมา มีนโยบายที่สอดคล้องกับประชาคมระหว่างประเทศ และได้พยายามเข้าร่วมกับนานาชาติเพื่อสนับสนุนให้มีสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคยุโรป รวมทั้งให้ความสำคัญกับประเด็นระหว่างประเทศต่างๆ ทั้งการเคารพสิทธิมนุษยชน การมีบูรณภาพแห่งดินแดน การปกป้องและพัฒนาเอกลักษณ์ของชาติ และการพัฒนาประชาธิปไตย

เศรษฐกิจการค้า
สโลวีเนียจัดเป็นประเทศหนึ่งที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจสูงกว่าประเทศยุโรปตะวันออกอื่นๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่สโลวีเนียมีนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และมาตรการในการลดการขาดดุลงบประมาณ สมัยที่อยู่ภายใต้ยูโกสลาเวีย ระบบเศรษฐกิจของสโลวีเนียเป็นระบบผสมระหว่างกลไกตลาดกับการวางแผนจากส่วนกลาง จึงใกล้เคียงกับระบบกลไกตลาดในประเทศตะวันตก ทำให้มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมสูงที่สุด นอกจากนี้ สโลวีเนียยังเป็นประเทศที่มีทางออกสู่ทะเลอาเดรียติก โดยมีท่าเรือโคเปอร์ที่สามารถขนถ่ายสินค้าจากยุโรปตะวันออกสู่ทะเลอาเดรียติกเพื่อออกไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีอุปกรณ์ที่ทันสมัยในการขนถ่ายสินค้า เป็นเขตปลอดภาษีและมีเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อไปยังประเทศเยอรมนี ออสเตรีย สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย ฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ โครเอเชีย และอิตาลี สโลวีเนียมีเงินลงทุนจากต่างประเทศสูงมาก ส่วนใหญ่เข้ามาลงทุนในรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการแปรรูป เช่น กิจการธนาคารของรัฐ นอกจากนี้ รัฐบาลชุดปัจจุบันมีนโยบายที่จะปฏิรูปทางเศรษฐกิจ โดยการจัดตั้ง Office of National Development ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบขนส่งทางรถไฟและท่าเรือโคเปอร์ให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น

ปัจจุบันเศรษฐกิจของสโลวีเนียพึ่งพาภาคบริการ (ร้อยละ 62 ของรายได้ประชาชาติ) และการค้าระหว่างประเทศเป็นหลัก (ปริมาณการค้าคิดเป็นมูลค่าเท่ากับรายได้ประชาชาติ) ซึ่งการค้าส่วนใหญ่ ราว 1 ใน 3 เป็นการค้ากับสหภาพยุโรป (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเยอรมนี อิตาลี ออสเตรีย และฝรั่งเศส)

ประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ EU (เยอรมนี อิตาลี ออสเตรีย ฝรั่งเศส) กลุ่ม
ประเทศอดีตยูโกสลาเวีย (โครเอเชีย เซอร์เบีย-มอนเตเนโกร) กลุ่มประเทศ CEFTA (Central European Free Trade Agreement ได้แก่ โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย ฮังการี สโลวีเนีย โรมาเนีย บัลแกเรีย) กลุ่มประเทศ EFTA (European Free Trade Association (EFTA) ได้แก่ ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์)

สินค้าส่งออกที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เครื่องจักรกลและอุปกรณ์การขนส่ง เคมีภัณฑ์ อาหาร

สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักรกลและอุปกรณ์การขนส่ง ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ เชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น อาหาร

การค้า

EU เป็นตลาดการค้าหลักของสโลวีเนีย โดยการค้าในปี พ.ศ. 2544 คิดเป็นร้อยละ 68 ของปริมาณการค้ารวมของสโลวีเนีย โดยสโลวีเนียเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับ EU มูลค่า - 987.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (พ.ศ. 2543) ประเทศคู่ค้าที่สำคัญในกลุ่ม EU คือ เยอรมนี ออสเตรีย อิตาลี และฝรั่งเศส ออสเตรียเป็นประเทศที่ลงทุน (FDI) มากเป็นอันดับหนึ่ง (ร้อยละ 40)

CEFTA สโลวีเนียได้เข้าเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. 2539 มูลค่าการค้าระหว่างสโลวีเนียกับCEFTA กันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง คู่ค้าที่สำคัญของสโลวีเนียในกลุ่มนี้ คือ ฮังการีและโปแลนด์รัสเซียและประเทศอดีตสหภาพโซเวียต สโลวีเนียส่งออกไปรัสเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 และส่งออกไปประเทศอดีตสหภาพโซเวียตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ประเทศคู่ค้าที่สำคัญในกลุ่มนี้ คือ ยูเครน ลิทัวเนีย อาร์เมเนีย จอร์เจีย และเอสโตเนีย

การลงทุน
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในสโลวีเนียได้เพิ่มขึ้นจากมูลค่า 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี พ.ศ. 2533 เป็น 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี พ.ศ.2538 ในปี 2534 สโลวีเนียประกาศใช้กฎหมายด้านการลงทุน อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการได้ 100% ยกเว้นกิจการบางประเภท เช่น การผลิตอาวุธ รถไฟ ขนส่งทางอากาศ ด้านคมนาคมและโทรคมนาคม การประกันภัย และการสื่อสารมวลชนและหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ สโลวีเนียยังแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะสาขาการธนาคาร สื่อสารคมนาคม และสาธารณสุข และมีมาตรการผ่อนคลายการควบคุมการลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้ปริมาณการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น โดย ณ ปี 2542 ปริมาณการลงทุนจากต่างประเทศเท่ากับ 2,683.615 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดับสองในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกรองจากฮังการี

ประเทศที่เข้าไปลงทุนหลัก ได้แก่ เยอรมนี ออสเตรีย ฝรั่งเศส โครเอเชีย และอิตาลี ส่วนใหญ่ เป็นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ภาคอุตสาหกรรมการผลิต รองลงมาคือการก่อสร้างการขนส่งและการท่องเที่ยว และการบริหารภาคธุรกิจ

ภาคบริการ

ภาคบริการมีศักยภาพสูงและมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของสโลวีเนียมากที่สุด คิดเป็น
ร้อยละ 61 ของ GDP โดยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) เป็นบริษัทเอกชนขนาดเล็ก
ภาคบริการหลัก ได้แก่ การขนส่ง ท่องเที่ยว และการคลังสินค้า รวมทั้งด้านการเงินและด้านธุรกิจระหว่างประเทศที่นับวันจะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น

โอกาสทางการค้า

สโลวีเนียมีทางออกสู่ทะเลอาเดรียติก (Adriatic Sea) ที่เมืองโคเปอร์ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญในการขนถ่ายสินค้าจากประเทศยุโรปตะวันออก ออกทางทะเลอาเดรียติก ไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ท่าเรือที่เมืองโคเปอร์เป็นท่าเรือที่ทันสมัย มีเครือข่ายระบบขนส่ง ทั้งทางรถไฟและทางบกที่เชื่อมต่อกับประเทศในยุโรป อาทิ เยอรมนี ออสเตรีย สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย ฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ โครเอเชีย และอิตาลี อีกทั้งเมืองโคเปอร์ยังเป็นเมืองปลอดภาษีด้วย จึงมีสินค้าขนถ่ายผ่านท่าเรือดังกล่าวเฉลี่ย 7 ล้านตันต่อปี ประเทศที่ใช้บริการผ่านท่าเรือดังกล่าว ได้แก่ ฮังการี (16%) ออสเตรีย (ร้อยละ12) สาธารณรัฐเช็กและสโลวาเกีย (ร้อยละ 10) นอกจากนี้ สโลวีเนียมีเครือข่ายการติดต่อทางธุรกิจกับประเทศในยุโรป โดยเฉพาะอดีตยูโกสลาเวีย



ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐสโลวีเนีย
ความสัมพันธ์ทางการทูต
รัฐบาลไทยได้ประกาศรับรองเอกราชของสโลวีเนียเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2535 และได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2535 ปัจจุบัน สโลวีเนียอยู่ภายใต้เขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา ในขณะที่ฝ่ายสโลวีเนียกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตสโลวีเนียประจำกรุงปักกิ่งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้มีการแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำเมืองหลวงของแต่ละฝ่าย โดยกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำกรุงลุบลิยานา ได้แก่ นาย Zvonko Volaj และกงสุลกิตติมศักดิ์สโลวีเนียประจำไทย คือ นางภัทรา พุฒิพรรณพงศ์

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
ด้านการค้า
ในปี ค.ศ. 2006 สโลวีเนียเป็นคู่ค้าอันดับ 11 ของไทยในยุโรปตะวันออก และเป็นลำดับที่ 22 ของไทยในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป มีมูลค่าการค้ารวม 32.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยนำเข้า 13 ดอลลาร์สหรัฐ และส่งออก 19..5 ดอลลาร์สหรัฐทั้งนี้ ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับสโลวีเนียในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมามาโดยตลอด มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยและสโลวีเนียในปี 2549 ลดลงจากในปี 2548 เนื่องจากช่วงปี 2547-2548 สโลวีเนียนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องปรับอากาศจากไทยเป็นจำนวนมาก และนำเข้าสินค้าชนิดนี้ลดลงมากในปี 2549

สินค้าที่ไทยนำเข้า เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ เคมีภัณฑ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด

สินค้าที่ไทยส่งออก อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้กระป๋องสำเร็จรูป ข้าว เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และของเล่น

ด้านการลงทุน
สโลวีเนียเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงสุดในบรรดาประเทศในยุโรปตะวันออก โดยในปี ค.ศ. 2006 สโลวีเนียมีรายได้ประชาชาติ 37.64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีรายได้ประชาชาติต่อหัว 17,267 ดอลลาร์สหรัฐ (สูงกว่ารายได้ประชาชาติเฉลี่ยของประเทศในสหภาพยุโรป) มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 5.2 (มากเป็นสองเท่าของประเทศใน Eurozone) และในปี ค.ศ. 2005 สโลวีเนีย มีรายได้ประชาชาติต่อหัวสูงที่สุดในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก นอกจากนี้การที่สโลวีเนียเข้าเป็นสมาชิก Eurozone เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.2007 ได้แสดงถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจ และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของสโลวีเนีย รวมทั้งรัฐบาลสโลวีเนียมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และประเทศมีบรรยากาศเหมาะสมกับการลงทุน เพราะค่าจ้างแรงงานที่มีฝีมือและทักษะอยู่ในระดับไม่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในสหภาพยุโรป จึงมีลู่ทางที่ไทยและสโลวีเนียจะขยายความร่วมมือด้านการลงทุนระหว่างกัน ทั้งนี้ สโลวีเนียได้เชิญชวนให้นักลงทุนไทยไปลงทุนในสโลวีเนีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจบริการที่ไทยมีความเชี่ยวชาญ โดยล่าสุด นักธุรกิจไทยได้ไปร่วมลงทุนสร้างสปาที่สโลวีเนียโดยใช้สถาปัตยกรรมแบบไทย ปัจจุบันมีนักธุรกิจไทยไปลงทุนในกิจการสปาแล้ว 10 แห่ง

ปัจจุบันมีกลุ่มบริษัท EMCO ISKRA ของสโลวีเนียร่วมลงทุนกับบริษัทสหมิตรของไทยในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทริคส์ และการร่วมลงทุนระหว่างบริษัท Rogaska ของสโลวีเนียกับบริษัท Lotus ของไทยในการผลิตสินค้าประเภทคริสตัล

ด้านการท่องเที่ยว
ในปี ค.ศ. 2006 มีนักท่องเที่ยวชาวสโลวีเนียเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 4,012 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 44.73 ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคม 2550 มีนักท่องเที่ยวสโลวีเนียเดินทางมาไทยจำนวน 1,527 คน จำนวนนักท่องเที่ยวจากสโลวินียนับเป็นลำดับที่ 5 จากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดจากประเทศในยุโรปตะวันออก ไม่นับรัสเซีย (รองจากโปแลนด์ ฮังการี เช็ก และสโลวาเกีย)

ความตกลงที่สำคัญๆ กับไทย
ภายหลังการประกาศเอกราชจากยูโกสลาเวีย สโลวีเนียได้ขอสืบสิทธิความตกลงที่ไทยมีกับยูโกสลาเวีย 2 ฉบับ ได้แก่ ความตกลงทางการค้า และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ ซึ่งฝ่ายไทยได้เสนอให้มีการจัดทำความตกลงฉบับใหม่ระหว่างกัน โดยใช้ความตกลงดังกล่าวเป็นพื้นฐาน นอกจากนี้ ฝ่ายสโลวีเนียได้เสนอขอทำความตกลงอื่นๆ กับไทย โดยมีความตกลงที่ได้ลงนามแล้ว และความตกลงที่อยู่ในระหว่างการพิจารณา ดังนี้

ความตกลงทีได้ลงนามแล้ว
- ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (Agreement for the Promotion and Protection of Investment) ลงนามเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000
- อนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน (Convention for the Avoidance of Double Taxation and the Prevention of Fiscal Evasion with Respect on Taxes on Income) ลงนามเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2003 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 เป็นต้นไป โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตประกาศใช้อนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 2004 และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ส่งสำเนาประกาศใช้อนุสัญญาฯ เพื่อลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Agreement on Scientific and Technological Cooperation) ในชั้นต้น ฝ่ายสโลวีเนียได้ทาบทามขอสืบสิทธิความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการระหว่างไทยกับยูโกสลาเวีย ต่อมาเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1997 ฝ่ายสโลวีเนียได้เสนอร่างความตกลงฉบับใหม่ให้ไทยพิจารณา และมีการแลกเปลี่ยนร่างโต้ตอบระหว่างกัน จนทั้งสองฝ่ายสามารถเห็นชอบร่างความตกลงฯ ร่วมกัน และมีการลงนามความตกลงฯ เมื่อกันยายน ค.ศ. 2004

ความตกลงที่อยู่ระหว่างการพิจารณา
- ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ (Agreement for the Exemption of Visa Requirement for the Holder of Diplomatic and Official Passport) ขณะนี้ ร่างโต้ตอบจากฝ่ายสโลวีเนียอยู่ในระหว่างการพิจารณาของไทย
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า (Agreement on Trade and Economic Cooperation) เดิมเคยลงนามเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1999 แต่โดยที่สโลวีเนียกำหนดเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปโดยสมบูรณ์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2004 ทำให้ความตกลงฯ ฉบับเดิมสิ้นสุด ฝ่ายไทยจึงเสนอร่างความตกลงฉบับใหม่ให้ฝ่ายสโลวีเนียพิจารณา ขณะนี้ฝ่ายไทยและฝ่ายสโลวีเนียเห็นพ้องในร่างความตกลงทุกประเด็น และพร้อมจะลงนามความตกลงฯ ในโอกาสแรก

การเยือนที่สำคัญ
ฝ่ายไทย
- ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เยือนสโลวีเนีย เมื่อเดือนสิงหาคม 2537 ในฐานะแขกของรัฐบาลสโลวีเนียตามคำเชิญของ
Dr. Davorin Kracun รองนายกรัฐมนตรีสโลวีเนีย
- ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเยือน
สโลวีเนีย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2542 เพื่อลงนามความตกลงความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าไทย-สโลวีเนีย
- ดร. ประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการฯ เดินทางไปเยือนสโลวีเนีย ระหว่าง
วันที่ 10-11 ธันวาคม 2544
- ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พบหารือกับ
นาย Dimitrij Rupel รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสโลวีเนีย ในระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 57 ณ นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2545
- ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเยือน
สโลวีเนีย อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 10-11 กรกฎาคม 2546
- ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล ผู้แทนการค้าไทย เดินทางเยือนสโลวีเนีย ระหว่างวันที่
7-11 กันยายน 2547
- นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเยือนสโลวีเนีย ระหว่างวันที่ 17-18 พฤษภาคม 2550 เพื่อเข้าร่วมการประชุม Human Security Network Ministerial Meeting ครั้งที่ 9

ฝ่ายสโลวีเนีย
- Dr. Dimitrij Rupel รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสโลวีเนีย เยือนไทยในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อเดือนตุลาคม 2535
- Dr. Dimitrij Rupel เยือนไทยในฐานะนายกเทศมนตรีกรุงลุบลิยานา เมื่อเดือนมกราคม 2540 และได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับนายพิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
- Dr. Marjan Senjur รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการ
พัฒนาสโลวีเนีย เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10 ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 16-20 กุมภาพันธ์ 2543 และได้ร่วมลงนามความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนไทย-สโลวีเนีย
- Dr. Dimitrij Rupel รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสโลวีเนีย เยือนไทยอย่างเป็นทางการ 25-26 เมษายน 2549
- Dr. Dimitrij Rupel รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสโลวีเนีย เยือนไทยอย่างเป็นทางการ 1-2 มิถุนายน 2549

ข้อมูลคนไทยในสโลวีเนีย
จำนวนคนไทยในสโลวีเนีย 101 คน


กรมยุโรป
17 สิงหาคม 2550



เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองยุโรป 3 กรมยุโรป โทร. 0 2643 5142-3 Fax. 0 2643 5141 E-mail : european04@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์