ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> โมร็อกโก




แผนที่
ราชอาณาจักรโมร็อกโก
The Kingdom of Morocco


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งและอาณาเขต ตั้งอยู่ที่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา
ทิศเหนือ ติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ทิศตะวันตก ติดมหาสมุทรแอตแลนติค
ทิศใต้ ติดประเทศมอริเตเนีย
ทิศตะวันออก ติดประเทศแอลจีเรีย

ประชากร 33.7 ล้านคน โดยเป็นชาว Arab-Berber ร้อยละ 99.1
ชาวยิว ร้อยละ 0.2 และเชื้อชาติอื่นๆ ร้อยละ 0.7 (ก.ค. 2550)

พื้นที่ 446,550 ตารางกิโลเมตร (ทั้งนี้ ยังมีดินแดน Western Sahara ซึ่งมี พื้นที่ 267,028 ตารางกิโลเมตร ที่โมร็อกโกอ้างสิทธิเหนือดินแดนดังกล่าว และเป็นกรณีพิพาทกับแนวร่วม Polisario)

เมืองหลวง กรุงราบาต (Rabat)
เมืองสำคัญ
- เมืองคาซาบลังกา (Casablanca) เป็นเมืองท่า และเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานระหว่างประเทศ
- เมืองเฟส (Fes) เมืองหลวงเก่า เป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยว
- เมืองมาร์ราเกช (Marrakech) เป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญอยู่ เชิงเขาแอตลัส และเป็นเมืองที่มีการเจรจาความตกลงการค้าโลก ซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งองค์การการค้าโลก (WTO)

ศาสนา ประชากรร้อยละ 98.7 นับถือศาสนาอิสลาม (สุหนี่) ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 1.1 และศาสนาจูดาห์ (ยิว) ร้อยละ 0.2 (ก.ค. 2550)

ภาษา ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ
ภาษาต่างประเทศที่ใช้กันทั่วไป คือ ภาษาฝรั่งเศส
นอกจากนี้มีภาษาท้องถิ่น Berber

วันชาติ 30 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเมดที่ 6 ทรงเข้าพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อ พ.ศ. 2542 (Throne Day)
ระบอบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ประมุข สมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเมดที่ 6 (King Mohammed VI)
หัวหน้าฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นาย Driss Jettou (เข้ารับหน้าที่ตั้งแต่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002))

การเมืองการปกครอง
ด้านการเมืองการปกครอง
โมร็อกโกมีระบอบการปกครองโดยราชวงศ์ ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงช่วงที่ประเทศฝรั่งเศสและสเปนเข้ามายึดครองโมร็อกโก ในปี 2455 และเมื่อโมร็อกโกได้รับเอกราชเมื่อปี 2499 กษัตริย์โมฮัมเหม็ดที่ 5 จึงได้สถาปนาราชวงศ์อะลาวี (Alawi) ขึ้นอีกครั้ง พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่ 6 ซึ่งได้สืบราชสมบัติต่อจากกษัตริย์ฮัสซันที่ 2 ในปี 2542 เมื่อพระองค์ทรงมีอายุ 36 พรรษา

ระบบการปกครองของโมร็อกโกในปัจจุบันเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรี ตลอดจนรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญ อาทิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รวมทั้งมีพระราชอำนาจออกพระราชกฤษฎีกายุบสภานิติบัญญัติ อย่างไรก็ดี ระบบการปกครองของโมร็อกโกกำลังพัฒนาจากระบบอำนาจรวมศูนย์อยู่ที่กษัตริย์ไปสู่ระบบรัฐสภาที่เน้นตัวแทนจากประชาชน

โมร็อกโกได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นครั้งที่ 4 และเปิดให้ประชาชนลงประชามติรับหลักการรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2539 โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้มี 2 สภา กล่าวคือ สภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) โดยการเลือกตั้งโดยตรง มีสมาชิก 325 คนและสภาที่ปรึกษา (Chamber of Counsellors) มีสมาชิก 270 คน ซึ่งเลือกตั้งโดยทางอ้อม โดยได้มีการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อปี 2545 และจะมีการเลือกตั้งครั้งต่อไปในเดือนพฤศจิกายน 2550 นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นาย Driss Jettou ซึ่งได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีจากภาคเอกชนของโมร็อกโก

ด้านการต่างประเทศ
โมร็อกโกเป็นประเทศอาหรับสายกลางที่มีบทบาทมากทั้งในเวทีภูมิภาคและเวทีโลก มีความใกล้ชิดกับยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา ตลอดจนสนับสนุนการแสวงหาสันติภาพในอาหรับ เนื่องจากสมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่ 6 ทรงเป็นพระประมุขที่เป็นคนรุ่นใหม่ ทรงมีการศึกษาดีทันสมัย ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกล และทรงตระหนักว่า หากภูมิภาคอาหรับยังไม่สามารถมีความเป็นปึกแผ่น ย่อมจะไม่สามารถพัฒนาประเทศให้เจริญทัดเทียมประเทศในภูมิภาคอื่น หรือโลกตะวันตกได้

อย่างไรก็ดี โมร็อกโกมีปัญหาขัดแย้งในเรื่องดินแดนซาฮาราตะวันตก (Western Sahara) ซึ่งโมร็อกโกพยายามอ้างสิทธิ ขณะที่ประเทศแอฟริกันส่วนใหญ่โดยเฉพาะแอลจีเรีย สนับสนุนกลุ่มแนวร่วมPolisario ซึ่งอ้างตัวเป็นผู้แทนของประชาชนในดินแดนซาฮาราตะวันตก และประสงค์จะแยกตัวเป็นอิสระ อนึ่ง องค์การสหภาพแอฟริกา (African Union - AU) ให้การรับรองผู้แทนของดินแดนซาฮาราตะวันตกให้เป็นสมาชิกของ AU เมื่อปี 2527 จึงเป็นสาเหตุให้โมร็อกโกไม่พอใจ และถอนสมาชิกภาพจาก AU ทำให้โมร็อกโกเป็นประเทศเดียวในแอฟริกาที่ไม่ได้เป็นสมาชิก AU

ล่าสุดโมร็อกโกกำลังจัดทำข้อเสนอการแก้ไขปัญหาดินแดนซาฮาราตะวันตก โดยจะให้อำนาจอิสระในการปกครองตนเองในดินแดน ยกเว้นอำนาจอธิปไตยโดยยังคงถือเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของโมร็อกโก มีรัฐบาลท้องถิ่น สภานิติบัญญัติท้องถิ่น และระบบยุติธรรมท้องถิ่นของตนเอง โดยจะนำข้อเสนอดังกล่าวขอรับการสนับสนุนในเวทีสหประชาชาติและจากประชาคมระหว่างประเทศต่อไป

เศรษฐกิจการค้า
หน่วยเงินตรา ดีร์แฮม (Moroccan Dirham: MAD) โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐ
เท่ากับ 8.80 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)
GDP63.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 9.4 (2549)
รายได้ประชาชาติเฉลี่ยต่อหัว 1,767 ดอลลาร์สหรัฐ (2548)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 3.4 (2549)
สินค้าส่งออกที่สำคัญเครื่องนุ่งห่ม แร่ฟอสเฟตและปุ๋ย สินแร่ สารเคมี ผลิตภัณฑ์ เคมี ปลา ผักและผลไม้ เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียม
สินค้านำเข้าที่สำคัญน้ำมันดิบ สิ่งทอ อุปกรณ์สื่อสาร ข้าวสาลี ก๊าซและไฟฟ้า พลาสติก อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
นำเข้าจาก ฝรั่งเศส (ร้อยละ 17.4) สเปน (ร้อยละ 13.4) ซาอุดีอาระเบีย (ร้อยละ 6.9) อิตาลี (ร้อยละ 6.3) เยอรมนี (ร้อยละ 5.9) (2549)
ส่งออกไปยัง ฝรั่งเศส (ร้อยละ 21.4) สเปน (ร้อยละ 20.5) สหราชอาณาจักร (ร้อยละ 4.9) อิตาลี (ร้อยละ 4.7) และอินเดีย (ร้อยละ 4.1) (2549)

เศรษฐกิจ
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา รายได้ที่เกิดจากการลงทุนจากต่างประเทศในโมร็อกโกสูงมากเป็นประวัติการณ์ คิดเป็นมูลค่า 75.7 พันล้านดีร์แฮม (8.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยรายได้ที่เกิดจาก การลงทุนจากต่างประเทศจำนวนนี้ มาจากการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจนับตั้งแต่ปี 2536 กิจการ ด้านโทรคมนาคมได้รับผลประโยชน์จากการลงทุนจากต่างประเทศสูงที่สุด หรือคิดเป็น ร้อยละ 41 ตาม ด้วยภาคอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 16.9 และกิจการธนาคาร คิดเป็นร้อยละ 10.7

ในช่วงระหว่าง 2540-2545 การลงทุนจากต่างประเทศในโมร็อกโก คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงขึ้นจากในช่วงปี 2534 - 2539 ถึงร้อยละ 172.3 และเป็นประเทศที่มีการลงทุนตรงจากต่างประเทศเป็นมูลค่าสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาหรับทั้งหมด ทั้งนี้ โมร็อกโกมี Association Accord กับสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลตั้งแต่ 1 มีนาคม 2543 และมีเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกาและตุรกี ในปี 2549

นอกจากนี้ โมร็อกโกยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ เป็นอย่างมาก เนื่องจากเล็งเห็นว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่ เป็นรูปธรรม สมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่ 6 ทรงสนพระทัยอย่างมากต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของโมร็อกโก และได้ทรงกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าว หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Vision 2010 โดยทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาเที่ยวโมร็อกโก 10 ล้านคนต่อปีในปี 2553


ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรโมร็อกโก
ความสัมพันธ์ทางการทูต
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับโมร็อกโกเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) ความสัมพันธ์ได้ดำเนินมาด้วยดีโดยตลอด ต่อมาเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) ไทยได้เปิด สถานเอกอัครราชทูตที่กรุงราบัต เอกอัครราชทูตไทยประจำโมร็อกโกคนปัจจุบัน คือ ร.ท.อัครสิทธิ์ อมาตยกุล และได้แต่งตั้งนาย Younes Laraqui เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำนครคาซาบลังกา ส่วนโมร็อกโกได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตโมร็อกโกที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) เอกอัครราชทูตโมร็อกโกประจำประเทศไทยคนปัจจุบัน คือ นาย El Hassane Zahid และได้แต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์โมร็อกโกประจำกรุงเทพฯ คือ นายจิระ รัตนรัต

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน
การค้าระหว่างไทย – โมร็อกโกยังมีมูลค่าไม่มากนัก แต่มีศักยภาพที่จะพัฒนาได้อีกมาก โดยในปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) มีมูลค่าการค้ารวม 2,846.08 ล้านบาท
ไทยนำเข้าจากโมร็อกโก 1,520.96 ล้านบาท และส่งออกไปโมร็อกโก 859.76 ล้านบาทซึ่งไทยขาดดุลการค้า 661.20 ล้านบาท

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากโมร็อกโกที่สำคัญ ได้แก่ 1) ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ 2) แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ 3) สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป 4) แผงวงจรไฟฟ้า 5) ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ 6) สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ 7) เสื้อผ้าสำเร็จรูป 8) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 9) พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช 10) ผลิตภัณฑ์เวชกรรม และ เภสัชกรรม

สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังโมร็อกโกที่สำคัญ ได้แก่ 1) ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 2) ผ้าผืน 3) เส้นใยประดิษฐ์ 4) ผลิตภัณฑ์พลาสติก 5) เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้ง 6) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 7) ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ 8) ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ 9) ผลิตภัณฑ์ยาง 10) ผักกระป๋องและแปรรูป

นอกจากนี้ ภาคเอกชนของไทยและโมร็อกโก ได้จัดตั้ง Joint Business Council ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2539 เพื่อเป็นกลไกอำนวยสะดวกในการติดต่อธุรกิจระหว่างกัน

สถิติทางการค้าระหว่างไทย – โมร็อกโก ดูได้จากเอกสารแนบ

ความร่วมมือทางวิชาการ
ที่ผ่านมาไทยมีการดำเนินงานความร่วมมือทางวิชาการทวิภาคีกับโมร็อกโก ภายใต้กรอบความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน (Technical Cooperation among Developing Countries หรือ TCDC) ในปี พ.ศ. 2541 - 2543 ไทยอนุมัติทุนฝึกอบรมให้โมร็อกโก จำนวน 10 ทุน ในสาขา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การท่องเที่ยว การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มลภาวะรถยนต์และสิ่งแวดล้อม การวางแผนท่าอากาศยานและการจราจรทางอากาศ การซ่อมและบำรุงรักษายานยนต์และขนส่ง การซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม และหัตถกรรม

ความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม
ที่ผ่านมาไทยมีการดำเนินงานความร่วมมือทางวิชาการทวิภาคีกับโมร็อกโกภายใต้กรอบความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน (Technical Cooperation among Developing Countries หรือ TCDC) ในปี 2541 - 2543 ไทยอนุมัติทุนฝึกอบรมให้โมร็อกโก จำนวน 10 ทุนในสาขา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การท่องเที่ยว การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มลภาวะรถยนต์และสิ่งแวดล้อม การวางแผนท่าอากาศยานและการจราจรทางอากาศ การซ่อมและบำรุงรักษายานยนต์และขนส่ง การซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม และหัตถกรรม ฝ่ายโมร็อกโกได้จัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนและนักศึกษาไทยมุสลิม จำนวน 15 ทุนต่อปี โดยนักศึกษาส่วนใหญ่ศึกษาทางด้านศาสนาอิสลาม ปัจจุบันมีนักเรียนไทยในโมร็อกโกจำนวนประมาณ 50 คน

แนวทางการดำเนินงานความร่วมมือทางวิชาการสามารถทำได้โดยการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในสาขาที่ไทยและโมร็อกโกมีศักยภาพ โดยดำเนินความร่วมมือในลักษณะความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน (TCDC) เช่น สาขาเกษตร การท่องเที่ยว หรือร่วมกันให้ความร่วมมือในด้านที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพแก่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคแอฟริกา เช่น เกษตร การจัดการทรัพยากรน้ำ เป็นต้น

ทั้งนี้ สมาคมมิตรภาพ ไทย-โมร็อกโก ได้ก่อตั้งขึ้นมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว โดยมี นาย สุนัย บุณยศิริพันธุ์ เป็นเลขาธิการของสมาคม มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับอาหารโมร็อกโก และงานแฟชั่นโชว์ของนักออกแบบโมร็อกโกด้วย

ความตกลงต่างๆ กับไทย
1 ความตกลงด้านการขนส่งทางอากาศ (ลงนามเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2541)
2 ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางทะเล (ลงนามเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2542)
4 พิธีสารว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยและกระทรวงการต่างประเทศโมร็อกโก (ลงนามย่อเมื่อเดือนพฤษภาคม 2545 โดยปลัดกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศ)
5 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว (ลงนามย่อเมื่อเดือนกันยายน 2548)
6 ความตกลงเพื่อการยกเว้นการจัดเก็บภาษีซ้อน (ลงนามย่อเมื่อเดือนกันยายน 2548)
7 ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ (ลงนามย่อเมื่อเดือนกันยายน 2548)
8 ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมไทย-โมร็อกโก (ลงนามย่อเมื่อเดือนกันยายน 2548)
9 ความตกลงวัฒนธรรมไทย-โมร็อกโก (ลงนามย่อเมื่อเดือนกันยายน 2548)
10 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการประมงไทย-โมร็อกโก (อยู่ในระหว่างการเจรจา)
11 ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (อยู่ในระหว่างการเจรจา)

กองแอฟริกา
กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา
สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองตะวันออกกลาง กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์