ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> เอธิโอเปีย




แผนที่
สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย
Federal Democratic Republic of Ethiopia


 
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทั่วไป ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกาตะวันออกบริเวณที่เรียกว่าจงอยแอฟริกา เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล (เดิมมีทางออกทะเลแดงทางด้านแคว้นเอริเทรียเพียงด้านเดียว)
ทิศเหนือติดทะเลแดงและซูดาน
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดจีบูตีและเอริเทรีย
ทิศตะวันออกติดโซมาเลีย
ทิศใต้ติดเคนยา
ทิศตะวันตกติดกับซูดาน

พื้นที่ 1,127,127 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง สูงจากระดับน้ำทะเล 6,000 - 10,000 ฟุต

ภูมิอากาศ อากาศร้อนและแห้ง ฝนตกน้อย

เมืองหลวง Addis Ababa

เมืองสำคัญ Dire Dawa, Harra, Makelle, Dessie

ประชากร 76.51 ล้านคน (กรกฎาคม 2550) โดยมีอัตราการเจริญเติบโตของประชากรร้อยละ 2.72 ต่อปี ประกอบด้วยคนหลายเผ่าหลายภาษาได้แก่ เผ่า Oromo 40% Amhara and Tigre 32% Somali 6% Afar 4%

ภาษา Amharic และอังกฤษเป็นภาษาราชการ นอกจากนั้น ยังใช้ภาษาอารบิค ฝรั่งเศส อิตาลี Tigrinya, Orominya และ Somali

ศาสนา Muslim 45.50% Orthodox Christian 35-40% และความเชื่ออื่นๆ

วันชาติ เดิมคือวันที่ 12 กันยายน ในสมัยของอดีตประธานาธิบดี Mengistu Haile Mariam ภายหลังจากที่ Ethiopia People’s Revolutionary Democratic Front (EPRDF) ได้เข้ายึดกรุงแอดดิส อบาบา และเปลี่ยนแปลงการปกครอง จนกระทั่งสมัยที่นาย Meles Zenawi ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี จึงเปลี่ยนมาใช้วันที่ 28 พฤษภาคมเป็นวันชาติตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา

ระบอบการปกครอง แบบสหพันธ์สาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ โดยได้รับเลือกจาก House of People’s Representatives มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ได้รับการแต่งตั้งจากพรรคการเมืองที่ได้รับเสียงข้างมากในสภา

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 13.29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

รายได้ประชาชาติต่อหัว 149 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)

สกุลเงิน Ethiopian Birr (ETB)

อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลาร์สหรัฐ เท่ากับ 8.7 ETB (2549)

การเมืองการปกครอง
ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
ดินแดนเอธิโอเปียก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เรียกว่าอบิสสิเนีย เป็นประเทศที่มีเอกราชมาแต่โบราณ ปกครองโดยราชวงศ์เอธิโอเปีย ซึ่งได้รับการสถาปนาโดยพระเจ้าเมเนลิก พระราชโอรสของพระเจ้าโซโลมอนและพระนางชีบา เมื่อประมาณ 1,000 ปี ก่อนคริสตกาลวัฒนธรรมได้รับอิทธิพลมาจากอียิปต์และกรีก อิตาลีได้เข้ายึดครองแคว้นเอริเทรียของเอธิโอเปียเมื่อปี 2412 และประกาศให้แคว้นเอริเทรียเป็นอาณานิคมของตนเมื่อ 2433 แต่ในสนธิสัญญาสันติภาพอิตาลียังคงยอมรับเอกราชของเอธิโอเปียต่อไป

เอธิโอเปียอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตรยิ์ไฮเล เซลัซซี (Haile Selassie) เป็นเวลากว่า 50 ปี นับตั้งแต่ปี 2459 โดย Haile Selassie รับตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ(Regent) และในปี 2471 Selassie ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ จากนั้นในปี 2473 เอธิโอเปียจึงมีฐานะเป็นจักรวรรดิ์ ต่อมาในปี 2479 อิตาลีได้รุกรานเอธิโอเปีย และยึดเอธิโอเปีย เอริเทรีย และโซมาลีแลนด์ และประกาศรวมกันเป็นแอฟริกาตะวันออกของอิตาลีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปี 2484 และในปีเดียวกันนั้นภายใต้ความช่วยเหลือของ South African Troops และอังกฤษ ทำให้กษัตริย์ Selassie สามารถยึดครองเอธิโอเปียคืนจากอิตาลีได้เป็นผลสำเร็จ แต่อิตาลียังคงยึดแคว้นเอริเทรียไว้ หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง เอธิโอเปียได้เรียกร้องดินแดนเอริเทรียคืน และสหประชาชาติได้มีข้อมติที่ 380 A (V) ปี 2492 โดยให้เอริเทรียเป็นดินแดนปกครองของตนเองภายใต้จักรวรรดิเอธิโอเปีย แต่ต่อมาในปี 2505 เอธิโอเปียได้ทำการผนวกเอริเทรียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศในฐานะจังหวัดที่ 14 และได้กลายเป็นชนวนการสู้รบระหว่างชาวเอริเทรียที่ต้องการเอกราชกับฝ่ายเอธิโอเปียเรื่อยมา (กระทั่งปี 2536 ที่รัฐบาลเอธิโอเปียยอมให้มีการลงประชามติเกี่ยวกับอนาคตการปกครองของประชาชนเอริเทรีย ซึ่งปรากฏว่า ประชามติเป็นเอกฉันท์ให้เอริเทรียแยกตัวออกจากเอธิโอเปีย)

ในเดือนกันยายน 2517 คณะทหารได้ทำการปฏิวัติล้มระบอบกษัตริย์และประกาศจัดตั้งรัฐสังคมนิยม ทำการกำจัดฝ่ายค้านและชนเผ่าต่าง ๆ ที่ต้องการจะแยกตัวเป็นอิสระอย่างรุนแรง มีการจัดตั้งกลุ่มกองโจรต่อสู้กับรัฐบาล จากนั้นในปี 2520 เอธิโอเปียได้เซ็นสัญญาความร่วมมือกับสหภาพโซเวียต เนื่องจากความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ซึ่งเคยให้ความช่วยเหลือด้านอาวุธและอื่น ๆ ได้เสื่อมโทรมลง โดยในปีต่อมา ที่ปรึกษาชาวโซเวียตและทหารคิวบาได้ถูกส่งเข้ามาช่วยสู้รบกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในช่วงแรกหลังการปฏิวัติ

ภายหลังการปฏิวัติ เอธิโอเปียปกครองโดยสภาบริหารแห่งทหารชั่วคราว (Provisional Military Administrative Council PMAC) โดยมี Lt. Aman Andom เป็นประธาน PMAC และประมุขแห่งรัฐ จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2520 พลโท Mangistu Haile Mariam ได้ขึ้นเป็นประธาน PMAC และเป็นประมุขของรัฐคนต่อมา จากนั้น ในปี 2527 พรรคกรรมกรแห่งเอธิโอเปีย (Workers’ Party of Ethiopia) ถูกจัดตั้งขึ้นและเลือกพลโท Mangistu เป็นเลขาธิการพรรค และในปี 2530 (หลังจาก 12 ปี ของการปกครองโดยสภาบริหารของทหาร) มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งใช้แนวทาง Marxist-Leninist ต่อมาในเดือนมิถุนายนมีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา (National Assembly หรือ Shengo) และในเดือนกันยายนปีเดียวกันพลโท Mangistu ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี

จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม 2534 กลุ่มกบฏ Ethiopian People’s Revolutionary Democratic Front (EPRDF) ร่วมกับกลุ่ม Eritrean People’s Libration Front (EPLF) ได้ทำการรัฐประหารและจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้น ทำให้ พลโท Mangistu ต้องลี้ภัยไปอยู่ประเทศซิมบับเว ทั้งนี้ นาย Meles Zenawi หัวหน้ากลุ่ม EPRDF ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีรักษาการ ต่อมามีการจัดตั้งสภาแห่งชาติ ซึ่งมีผู้แทนจากกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ในเอธิโอเปีย 25 กลุ่ม ที่ประชุมสภาแห่งชาติได้ออกเสียงเอกฉันท์เลือกนาย Meles Zenawi เป็นประธานาธิบดีต่อไป และจัดตั้งรัฐบาลรักษาการ โดยมีนาย Tamirat Layne เป็นนายกรัฐมนตรีจนกว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2538

สถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
เมื่อรัฐบาลเฉพาะกาลอยู่ในอำนาจครบ 4 ปี ได้จัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 22 สิงหาคม 2538 และผลการเลือกตั้งปรากฎว่า นาย Negasso Gidada ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และได้แต่งตั้งนาย Meles Zenawi อดีตประธานาธิบดีให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2538 โดยมีอำนาจในการบริหารประเทศ ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคฝ่ายค้านส่วนใหญ่ได้ต่อต้านและไม่ร่วมแข่งขันเลือกตั้ง ดังนั้น พรรคการเมืองในขั้วของ EPRDF จึงได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในสภาผู้แทนราษฎร (Council of People’s Representatives) โดยได้ที่นั่ง 540 ที่นั่ง จากจำนวนทั้งหมด 548 ที่นั่ง และพรรคฝ่ายค้านยังคงประณามรัฐบาลอย่างรุนแรง ส่งผลให้รัฐบาลจับกุมผู้ต่อต้านจำนวนมาก ทั้งนี้ มีกลุ่มต่อต้านติดอาวุธประปราย เช่น กลุ่ม Oromo Liberation Front ซึ่งอยู่ในเขตห่างไกลและตามชายแดน และยังมีกลุ่ม Afar ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลอยู่บ้าง แต่โดยรวมถือว่า สถานการณ์ความขัดแย้งภายในประเทศไม่รุนแรงมากนัก ซึ่งต่อมาผู้ลี้ภัยชาวเอธิโอเปียจำนวน 35,000 คน ที่หลบภัยเข้าไปในจีบูตีก็ได้เดินทางกลับคืนสู่เอธิโอเปียในเดือนเมษายน 2539 นอกจากนั้น ภายหลังการเลือกตั้งได้มีการเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ มีการกระจายอำนาจให้แก่รัฐบาลต่าง ๆ ทั้ง 9 รัฐ ที่แบ่งขึ้นใหม่ตามภาษาพูด คือ Tigray, Afar, Amhara, Oromo, Somali Benishangul, Sothern Nation & Nationalities People’s Region (SNNPR), Gambia และ Haraar

ในส่วนของรัฐธรรมนูญ ปี 2538 ได้ให้อำนาจแก่รัฐบาลท้องถิ่นในการจัดการด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก โดยกำหนดให้รัฐบาลกลางมีอำนาจในเรื่องการเงิน การยึดครองที่ดิน ระเบียบการค้าระหว่างประเทศ การลงทุน การค้าขายระหว่างรัฐ และนโยบายการขนส่งคมนาคม โดยรัฐบาลกลางจัดเก็บภาษีได้เป็นมูลค่าร้อยละ 85 และควบคุมเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศทั้งหมด ในขณะที่รัฐบาลท้องถิ่นใช้งบประมาณรายจ่ายร้อยละ 40 เป็นเงินเดือนค่าจ้างข้าราชการเป็นส่วนใหญ่

สำหรับการเลือกประธานาธิบดีครั้งล่าสุดมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2548 โดยนาย GIRMA Woldegiorgis ได้รับเลือกจาก House of People’s Representatives ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ด้วยเสียงสนับสนุน 100% (สมัยแรกได้รับเลือกเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2544) และนาย Meles Zenawi ยังคงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนถึงปัจจุบัน

รัฐสภา มี 2 สภา คือ Council of People’s Representatives (CPR) หรือHouse of People’s Representatives ทำหน้าที่สภาล่าง (จำนวนสมาชิก 548 คนได้รับเลือกตั้งจากประชาชน) และ Federal Council (FC) หรือ House of Federation ทำหน้าที่สภาสูง (จำนวนสมาชิก 117 คนได้รับการคัดเลือกจากสภาแห่งรัฐ) สมาชิกรัฐสภาอยู่ในตำแหน่งวาระละ 5 ปี

นโยบายต่างประเทศ
1. ในอดีตรัฐบาลทหารเผด็จการของเอธิโอเปียดำเนินนโยบายซ้ายจัดในกลุ่มนิยมสหภาพโซเวียต เพื่อใช้ระบบสังคมนิยมแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ และเพื่อรับการสนับสนุนด้านการทหารจากโซเวียตเพื่อต่อต้านโซมาเลียและเพื่อปราบปรามกบฏแบ่งแยกดินแดน อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันรัฐบาลเอธิโอเปียได้ประกาศนโยบายเคารพสิทธิและความเท่าเทียมกันของรัฐ และการไม่แทรกแซงกิจการภายในของผู้อื่น และ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตก โดยเฉพาะในกรณีปัญหาความไม่สงบในภูมิภาค และการทำสงครามกับการก่อการร้าย

2 ปัจจุบันเอธิโอเปียมีนโยบาย Look East โดยต้องการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชียเพิ่มมากขึ้น ขณะนี้ จีนเข้ามามีบทบาทมากในเอธิโอเปีย โดยเข้ามาดำเนินโครงการสร้างถนนตลอดจนสาธารณูปโภคต่างๆ นอกจากนี้ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทในเอธิโอเปียมากขึ้น ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เอธิโอเปียประสงค์ให้ร่วมเป็นหุ้นส่วน (partnership) ที่สำคัญของเอธิโอเปีย

3 เอธิโอเปียเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของสหภาพแอฟริกา (African Union – AU) และถือเป็นเมืองหลวงของแอฟริกา นอกจากนี้ ยังเป็นสมาชิกของกลุ่มตลาดร่วมแห่งภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตอนใต้ (Common Market for Eastern and Southern Africa – COMESA) ซึ่งเป็นตลาดการค้าขนาดใหญ่มีประชากร 350 ล้านคน นอกจากนี้ เอธิโอเปียยังได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดสหภาพยุโรปและสหรัฐ ฯ การเชื่อมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้ากับเอธิโอเปียจึงเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ทางการค้ากับ COMESA ตลอดจนสหภาพยุโรปและสหรัฐ ฯ อีกด้วย

4 ปัญหาข้อพิพาทระหว่างเอธิโอเปียกับเอริเทรีย
--> ภายหลังจากแคว้นเอริเทรียแยกตัวจากเอธิโอเปียเป็นรัฐอธิปไตยเมื่อวันที่ 24มิถุนายน 2536 รัฐบาลรักษาการของเอธิโอเปียได้ทำความตกสองฝ่ายในด้านการทหารและการไม่รุกรานซึ่งกันและกันกับรัฐบาลกลางเอริเทรีย และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และการให้เสรีภาพแก่ประชาชน การขนส่งสินค้าและการบริการผ่านดินแดนของกันและกัน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างสิทธิ
ในการครอบครองดินแดนบริเวณชายแดนของทั้งสองประเทศ ในส่วนที่เรียกว่า Badme เป็นสาเหตุที่นำไปสู่ความบาดหมางอย่างรุนแรงระหว่างเอธิโอเปียและเอริเทรีย
--> การปะทะกันเพื่อแย่งชิงดินแดน Badme เริ่มขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2541 โดยทั้งสองฝ่าย ต่างกล่าวหากันว่าเป็นฝ่ายเริ่มใช้อาวุธโจมตีก่อน องค์การสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา และองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity – OAU ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็น African Union) ได้พยายามเข้าไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาทและการสู้รบของทั้งสองประเทศหลายครั้ง จนกระทั่ง เอธิโอเปียและเอริเทรียได้ยุติสงครามอย่างเป็นทางการด้วยการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างกัน เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 และได้จัดตั้ง Eritrea-Ethiopia Boundary Commission (EEBC) ภายใต้อาณัติของ Permanent Court of Arbitration ขึ้น เพื่อตกลงการแบ่งเขตดินแดนกันโดยสันติวิธี และมีการตัดสินในขั้นสุดท้ายสำเร็จ ในเดือนมีนาคม 2546
--> อย่างไรก็ดี ทั้งเอธิโอเปียและเอริเทรียต่างก็ไม่ยอมรับการตัดสินชี้ขาดของ EEBC และยังมีการปะทะกันตามแนวชายแดนอยู่เนืองๆ องค์การสหประชาชาติก็พยายามลดขนาดของกองกำลังรักษาสันติภาพ (UN Mission in Ethiopia and Eritrea – UNMEE) ลงเรื่อยๆ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ทั้งสองฝ่ายหันหน้าเข้าเจรจาร่วมกัน

5 บทบาทของเอธิโอเปียในโซมาเลีย
--> เอธิโอเปียมีส่วนข้องเกี่ยวกับกิจการภายในโซมาเลียมาช้านาน โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970 ทั้งสองประเทศได้ทำสงครามแย่งเขตแดนกันบ่อยครั้ง อย่างไรก็ดี รัฐโซมาลี (Somali) ของเอธิโอเปียมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางเชื้อชาติกับประชากรของโซมาเลีย ดังนั้น เอธิโอเปียจึงยังพยายามใช้นโยบายควบคุมความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มต่างๆ ในโซมาเลีย โดยเฉพาะให้การสนับสนุนรัฐ Somaliland และ Puntland นอกจากนี้ นาย Meles Zenawi นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ยังมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับ นาย Abdullahi Yusuf Ahmed ผู้นำรัฐบาลพลัดถิ่นของโซมาเลีย
--> ในเดือนธันวาคม 2549 กองกำลังทหารของเอธิโอเปียได้รุกเข้าไปในโซมาเลียเพื่อโค่นล้มกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง (Union of Islamic Court – UIC) ซึ่งได้ยึดอำนาจทางภาคใต้ของโซมาเลียเกือบทั้งหมดไว้ตั้งแต่ต้นปี 2549 โดยเอธิโอเปียอ้างเหตุผลด้านความมั่นคงและการก่อการร้ายโดยกลุ่ม UIC ซึ่งคุกคามต่อความมั่นคงของเอธิโอเปีย
--> ในเดือนสิงหาคม 2550 มีกองกำลังทหารของสหภาพแอฟริกา (African Union – AU) เข้าร่วมรักษาสันติภาพในโซมาเลีย 1,700 นาย (จากยูกันดา) และคาดว่าบุรุนดีจะช่วยสมทบกองกำลังอีก 1,500 คน

เศรษฐกิจการค้า
สภาวะเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจเอธิโอเปียยังพึ่งพารายได้จากภาคกสิกรรมเป็นหลัก แม้รัฐบาลจะได้ปฏิรูปที่ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แต่เท่าที่ผ่านมายังไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากขาดการวางแผนที่ดี และการเพาะปลูกยังพึ่งพาแหล่งน้ำฝนตามธรรมชาติอยู่เกือบทั้งหมด มีปัญหาการชลประทานรวมทั้งวิธีการเพาะปลูกที่ล้าสมัย ในขณะเดียวกันภาคบริการของเอธิโอเปียก็เติบโตอย่างรวดเร็วจนกระทั่งปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของรายได้ประชาชาติ โดยภาคส่วนที่มีอัตราการเติบโตสูงได้แก่การบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว การก่อสร้างที่อยู่อาศัยและการคมนาคม รัฐบาลเอธิโอเปียมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งสัตว์ป่า แต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเอธิโอเปียยังไม่มีการบริหารจัดการที่ดีเท่าใดนัก และยังล้าหลังเคนยาอยู่มาก ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาเอธิโอเปียประมาณปีละ 2 แสนคน

นับตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอิงแนวทางของธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ภายใต้กรอบนโยบาย Sustainable Development and Poverty Reduction Programme (SDPRP) ตามเงื่อนไขของ IMF และประเทศผู้บริจาคต่างๆ ซึ่งถือได้ว่าประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่เป็นที่พอใจของนักลงทุน และบรรดาประเทศผู้บริจาคต่างๆ เนื่องจากการปฏิรูปเศรษฐกิจนำไปสู่ระบบเสรีเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป การแปรรูปรัฐวิสาหกิจยังมีน้อย และโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่น ถนน และระบบสาธารณูปโภค ยังไม่เอื้อต่อการลงทุนขนาดใหญ่

ความสำเร็จของการปฏิรูปเศรษฐกิจของเอธิโอเปียขึ้นอยู่กับความช่วยเหลือที่ได้รับจากประเทศผู้บริจาคเป็นสำคัญ ซึ่งในช่วงเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา ได้มีหลายเหตุการณ์ที่ทำให้ประเทศผู้บริจาคมีความห่วงกังวล เช่น การปราบปรามผู้ประท้วงฝ่ายค้านอย่างรุนแรง สงครามกับกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในโซมาเลีย และปัญหาชายแดนกับเอริเทรีย นอกจากนี้ กลุ่มกบฏ Ogaden National Liberation Front (ONLF) ยังได้โจมตีฐานขุดเจาะน้ำมันของจีนที่เมือง Ogaden เมื่อเดือนเมษายน 2550 ทำให้ผู้ลงทุนต่างชาติในเอธิโอเปียขาดความมั่นใจ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า เศรษฐกิจเอธิโอเปียจะเติบโตในอัตราร้อยละ 7.5 ในปี 2550-2551 มีบริษัทต่างชาติใหม่ๆ เข้าไปลงทุนในเอธิโอเปีย เช่น Starbucks รวมทั้งการลงทุนการผลิตพลังงานชีวภาพก็เพิ่มขึ้นด้วย

ข้อมูลทั่วไปด้านเศรษฐกิจ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 13.29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
รายได้ประชากรต่อหัว 149 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 10.6 (2549)
อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย ร้อยละ 13.5 (2549)
หนี้สินต่างประเทศ 3.41 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 832.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
มูลค่าการค้า ปี 2549 5.13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีมูลค่าการส่งออก 1.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้า 4.11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าส่งออกที่สำคัญ กาแฟ oilseeds khat หนังและผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง
สินค้านำเข้าที่สำคัญ สินค้าอุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์จากน้ำมัน เคมีภัณฑ์
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ปี 2549
ส่งออก จีบูติ (ร้อยละ 12.1) เยอรมนี (ร้อยละ 10) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 8.6) และสหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 7.9)
นำเข้า ซาอุดิอาระเบีย (ร้อยละ 16.5) สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 10.4) จีน(ร้อยละ 7.4) และอิตาลี (ร้อยละ 4.7)

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย
ด้านการทูตและการเมือง
ไทยและเอธิโอเปียสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2507 และในปีเดียวกันไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแอดดิส อบาบา แต่ต่อมาในปี 2524 ไทยได้ปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแอดดิส อบาบาลง เนื่องจากความไม่สงบภายในเอธิโอเปีย หลังจากนั้น ได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี มีเขตอาณาครอบคลุมเอธิโอเปีย ในขณะที่เอธิโอเปียได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตเอธิโอเปียประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน มีเขตอาณาครอบคลุมไทย และต่อมาได้ปรับเปลี่ยนให้สถานเอกอัครราชทูตเอธิโอเปียประจำสาธารณรัฐอินเดีย มีเขตอาณาครอบคลุมไทย

ไทยมีความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรกับเอธิโอเปียที่ใกล้ชิดขึ้นโดยลำดับนับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา โดยไทยเห็นความสำคัญของเอธิโอเปียในฐานะเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่สหภาพแอฟริกา รวมทั้งเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญใน Horn of Africa ส่วนเอธิโอเปียเห็นความสำคัญของไทยในฐานะมิตรประเทศที่เป็นตัวอย่างในการพัฒนา

ด้านเศรษฐกิจ
ปริมาณการค้าระหว่างไทยกับเอธิโอเปียเติบโตขึ้นเป็นลำดับ โดยส่วนใหญ่ไทยส่งออกมากกว่าการนำเข้า จึงอยู่ในฐานะได้เปรียบดุลการค้าตลอดมา สินค้าออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุและส่วนประกอบ เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้า ได้แก่ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น

การค้าระหว่างไทยและเอธิโอเปียในปี 2549 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,211 ล้านบาท เป็นสินค้าส่งออกจากไทยมูลค่า 1,134 ล้านบาท และไทยนำเข้าสินค้าเป็นมูลค่า 77 ล้านบาท โดยได้ดุลการค้า 1,056 ล้านบาท ปัจจุบัน ชาวเอธิโอเปียนิยมเดินทางมาซื้อสินค้าในไทย ทั้งเสื้อผ้าและสินค้าอุปโภคบริโภค รวมทั้งนิยมเดินทางมารับการบริการด้านสุขภาพในไทยเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากไทยมีมาตรฐานการรักษา พยาบาลที่ไดhมาตรฐาน มีบริการที่ดี และค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมากนัก รวมทั้งมีสายการบินเอธิโอเปียนแอร์ไลน์ที่บินตรงมาไทยสัปดาห์ละ 7 เที่ยวบิน นอกจากนี้ รัฐบาลเอธิโอเปียยังสนับสนุนให้เอกชนไทยลงทุนเปิดร้านอาหารไทย โดยเสนอให้รับสิทธิพิเศษยกเว้นภาษีการนำเข้าสำหรับวัตถุดิบตลอดจนเครื่องปรุงอาหาร รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในการตกแต่งร้าน แม้กระทั่งรถยนต์ที่นำเข้าเพื่อใช้ในกิจการร้านอาหารก็จะได้รับการยกเว้นภาษีการนำเข้าเช่นเดียวกัน รวมทั้งยังอำนวยความสะดวกในการออกใบอนุญาตการทำงานอีกด้วย

สถิติการค้าระหว่างไทย - เอธิโอเปีย ดูเอกสารแนบ

ความช่วยเหลือด้านวิชาการ
--> เอธิโอเปียได้รับความช่วยเหลือจากไทยประเภท Third Country Training Programme เป็นประจำทุกปี โดยเจ้าหน้าที่เอธิโอเปียได้เข้ามาอบรมในไทยด้าน social services, public utilities, industry

ความร่วมมือและความตกลง
--> รัฐบาลเอธิโอเปียมีนโยบายขจัดความยากจนและต้องการพัฒนาประเทศให้เป็นผู้ส่งออกทางด้านอาหารและสินค้าเกษตรในอนาคต ดังนั้น รัฐบาลจึงสนใจศึกษาการพัฒนาด้านการเกษตรของไทยที่มีความก้าวหน้า โดยเฉพาะในเรื่องการปลูกข้าว การจัดการทรัพยากรน้ำ การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
--> ไทย - เอธิโอเปียมีความตกลงทางด้านการบริการเดินอากาศเมื่อปี 2535 ซึ่งสายการบินเอธิโอเปียก็ได้เปิดเส้นทางการบินมากรุงเทพฯ แล้ว สัปดาห์ละ 2 เที่ยว


การเยือนของผู้นำ
ไทยและเอธิโอเปียยังไม่เคยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงอย่างเป็นทางการ แต่ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี ได้พบหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเอธิโอเปีย (นาย Seyoum Mesfin) ระหว่างการประชุม AU Summit เมื่อปี 2549 และนาย Mesfin ได้แวะผ่านไทยอย่างไม่เป็นทางการหลายครั้งในการเดินทางเข้าร่วมการประชุมนานาชาติต่างๆ โดยครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549



สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-48 E-mail : southasian03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์