ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

ปราสาทสะต๊อกก็อกธม

            ในเรื่องการเดินทางนั้นผมเป็นคนอุตริชอบออกนอกเส้นทาง หรือทดลองเส้นทางใหม่เป็นประจำ หวุดหวิดจะกินดินแทนข้าวก็หลายครั้ง หวิดถูกเสือคาบไปกินก็มี หรือบางทีก็ไปติดบนยอดเขา เกือบจะลงไม่ได้ แต่ความอุตริเหล่านี้ทำประโยชน์ให้แก่ผมมากกว่าโทษ เพราะทำให้รู้จักเส้นทางมาก เดินทางรอบประเทศไทยได้โดยไม่ต้องถามใคร หรือใช้แผนที่ยังพอไปได้สบาย ๆ เมื่อเกือบสี่สิบปีมาแล้ว รับราชการอยู่ที่กองพันทหารปืนใหญ่ จังหวัดปราจีนบุรี ในตำแหน่งที่สำคัญของกองพันเขาเลยมีรถจี๊ปทหารให้ใช้ได้ ๑ คัน วันดีคืนดีก็ขออนุญาตนาย ชวนพรรคพวกอีก ๓ คน ขับรถจี๊ปพ่วงรถเทรลเลอร์เพื่อใส่ถังน้ำมันขนาด ๒๐๐ ลิตร เพราะสมัยนั้นเดินทางไกลต้องเตรียมหรือกะน้ำมันให้ดี ๆ ไม่ได้มีปั๊มมากมายเช่นปัจจุบันนี้ ขับรถครั้งนี้จะไปหาดใหญ่แล้วจะเช่ารถแท็กซี่ (ประเภทใบขับขี่สองประเทศ) ไปปีนังมีแต่คนห้ามมากกว่าคนยุ เพราะเขาเตือนว่าถนนจาก จังหวัดระนอง ไปยังตะกั่วป่า ๑๘๐ กิโลเมตร นั้นไม่มี แม้แต่เมตรเดียวมีแต่ทางรถลากไม้ในป่าเท่านั้น แต่ผมก็ไปขับรถไปนอนที่ชุมพร ๕๐๐ กิโลเมตร จากกรุงเทพ ฯ แต่ใช้เวลากว่า ๑๒ ชั่วโมง ถนนเกือบไม่ราดยางเลย จากนั้นขับไประนองถนนหมดแล้วมีแค่นั้น ขับลุยต่อไปตามถนนในป่าอีก ๑ วัน ไปได้สำเร็จเพราะเป็นรถจี๊ป ไปนอนที่ตะกั่วป่า รุ่งขึ้นลุยไปได้ถึงภูเก็ตนอนที่ภูเก็ต อีกคืนไปได้แค่ตรังนอนที่ตรังอีกคืน จึงได้นอนที่หาดใหญ่เมื่อเวลาเกือบตีสอง ไปพักที่บ้านนายทหารรุ่นน้อง ซึ่งเป็นหลานของนายกเทศมนตรีหาดใหญ่สมัยนั้น ค่ำวันรุ่งขึ้นนายกเทศมนตรีน้าของเพื่อนนายทหารจัดงานเลี้ยงต้อนรับ ขึ้นกล่าวชมเชยว่าคนสติไม่ดีเท่านั้นที่กล้าขับรถมาหาดใหญ่ได้ และยังไม่เคยมีใครเขาเอารถส่วนบุคคลขนาดนี้ขับมาได้เลย เที่ยวกลับฝนตกหนักมาตลอดทาง เส้นทางในป่าจากตะกั่วป่าน้ำเริ่มท่วมเป็นบางตอน และเมื่อข้ามลำห้วยเริ่มต้องลุยน้ำข้าม สุดท้ายมาจะถึงระนองอยู่แล้ว เย็นมากแล้วด้วย พบลำห้วยที่น้ำไหลแรงและลึกหากรถวิ่งลงไปก็เครื่องยนต์ดับแน่ ผมเลยให้พรรคพวกทุกคนลงจากรถข้ามน้ำไปคอยที่ฝั่งตรงข้าม ส่วนผมขับรถจี๊ปพ่วงเทรลเลอร์และถังน้ำมัน ๒๐๐ ลิตร ที่ยังพอมีน้ำมันอยู่บ้าง ลงไปในลำห้วย พอล้อหน้าจะถึงน้ำก็เร่งเครื่องเต็มที่แล้วดับเครื่องยนต์ รถจี๊ปนั้นกำลังเครื่องยนต์สูงมาก มอเตอร์สตาร์ทก็มีขนาดใหญ่จึงต้องเสี่ยงเอา ใช้วิธีดับเครื่องยนต์แล้วเหยียบสตาร์ทโดยไม่เปิดสวิทช์กุญแจ (หากเป็นรถสมัยนี้กุญแจสตาร์ทรถก็ดอกเดียวกันกับกุญแจรถคงใช้วิธีนี้ไม่ได้) ด้วยกำลังของมอเตอร์และไฟจากแบตเตอรี่ ทำให้รถวิ่งไปในน้ำได้โดยที่เครื่องยนต์ไม่ติด มอเตอร์สามารถหมุนฉุดให้ล้อทั้ง ๔ หมุนตามพารถขึ้นฝั่งสำเร็จท่ามกลางเสียงไชโยโห่ร้องของสหายอีก ๓ คน ในรถของผมมีเสบียงและเครื่องทำครัวพร้อมเพื่อเดินทางไกล ในสมัยนั้นรวมทั้งอาหารสดด้วย จัดการเอาเตาน้ำมันก๊าซมาตั้ง (สมัยนั้นยังไม่มีเตาแก๊ส) เพื่อทำอาหาร (หนักไปทางกับแกล้ม) เปิดหีบแช่หยิบขวดโซดา ขวดแม่โขง ทำอาหารไปก็ซดน้ำมังสาวิรัชกันไป สักพักใหญ่ ๆ มีชาวบ้านจุดคบเดินมาหา บอกว่าไม่กลัวเสือหรือ มานั่งก๊งกันอยู่ตรงนี้ นึกว่าเสือคน เลยบอกว่าไม่กลัวเพราะมีปืน ชาวบ้านเห็นปืน (ปืนทหารเรียกว่า คาร์บีน) แล้วหัวร่อกันกลิ้งบอกว่าปืนกระบอกแค่นี้ยิงเสือไม่อยู่หรอก จึงถึงบางอ้อว่าเป็นเสือกินคน รีบเก็บของด่วนหมดสนุกทันที ปืนคาร์บีนเป็นปืนยิงเร็ว ยิงคนได้ดีแต่ยิงเสือเอาไม่อยู่แน่นอน รีบห้อรถไปนอนโรงแรมในระนอง ได้บทเรียนจากการจอดรถสุ่มสี่สุ่มห้ากินเหล้า ยังมีอีกแยะจะไปอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เห็นป้ายบอกว่าไปทางเขื่อนกิ่วลมได้ ขับรถเก๋งไปทันที พอเริ่มไต่เขาก็เคราะห์ดีพบรถนายช่างกรมทาง ฯ ท่านถามว่าจะไปไหน พอรู้เข้าก็บอกให้รีบกลับไปโดยเร็ว ไปย้อนต้นกันเสียใหม่เพราะต้องรถนายช่างสร้างทาง อย่างเขาจึงจะไปได้ และวันนี้วันศุกร์ เขากลับบ้านวันจันทร์เขาจึงจะมาใหม่ หากผมอุตริขึ้นไปก็หมายความว่า จะติดอยู่บนเขาจนกว่าจะถึงวันจันทร์จึงจะมีพวกนายช่างไปช่วยเอาลงมา

            ครั้งนี้ผมไปจังหวัดสระแก้ว จะไปยังปราสาทหลายชื่อ (ชื่อเดียวแต่เขียนกันหลายอย่าง) สะต๊อกก็อกธม อยู่ในเขตกิ่งอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว ผมตั้งต้นจากกรุงเทพ ฯ แต่ทดลองไปทางแปดริ้ว เพราะบ้านผมอยู่ลาดพร้าว ซอย ๗๑ จึงดูใกล้แปดริ้วหรือฉะเชิงเทรา ไปผ่านพนมสารคาม มุ่งไปสู่กบินทร์บุรี เพื่อเลี้ยวขวาที่สี่แยกที่กบินทร์บุรี ไปยังจังหวัดสระแก้ว ต่อไป แต่ปรากฏว่าใกล้จะถึงสี่แยกกบินทร์บุรีอยู่แล้ว ไม่ทันดูหลักกิโลเมตร เห็นเขายกป้ายใหญ่ ป้ายถาวรบอกว่าเลี้ยวขวาไปสระแก้ว ๘๗ กิโลเมตร รีบหักพวงมาลัยรถเลี้ยวขวาทันที เหลือบมองดูเลขกิโลเมตรในรถ ๑๒๐ กิโลเมตร จากกรุงเทพ ฯ วิ่งไปได้ ๔๐ กิโลเมตร ตามถนนราดยางดีเยี่ยมแต่แทบจะไม่มีรถวิ่งสวนมาเลย ทีนี้เจอถนนลูกรังสัก ๓๐ เมตร เจอป้ายบอกว่าโครงการที่สอง วิ่งมาตามถนนโครงการที่ ๒ อีก ๑๖ กิโลเมตร คราวนี้เจอป้ายยกไว้ว่า"ทางตัน" นึกว่าจะต้องกลับกันตรงนี้ไปตั้งต้นใหม่ พอดีเหลือบเห็นป้ายเล็ก ๆ น่าจะชาวบ้านช่วยทำให้ บอกว่าให้เลี้ยวซ้ายไปสระแก้ว จัดการหักพวงมาลัยรถเลี้ยวซ้ายไปตามถนนลูกรังได้ ๑.๒ กิโลเมตร พบสามแยกกลางหมู่บ้าน มีป้ายเล็ก ๆ อีก บอกว่าเลี้ยวขวาไปสระแก้ว จึงเลี้ยวเข้าถนน รพช. เป็นถนนแคบ ๆ แต่ราดยาง ๑๒ กิโลเมตร  ก็จะมาบรรจบกับถนนใหญ่ ที่มาจากกบินทร์บุรี คือถนนสายสุวรรณศร หินกอง - อรัญประเทศ หรือถนนสาย ๓๓ มาบรรจบกันตรงบ้านศาลาลำดวน กิโลเมตร ๒๓๘
            นี่คือความอุตริของผมอีกครั้งหนึ่ง เลยค้นพบว่าต่อไปคงจะอีกสัก ๒ - ๓ ปี จะไปตามเส้นทางนี้ได้สะดวกมากและคงไปบรรจบกับถนนสายสระแก้ว - จันทบุรี แต่หากไปในปัจจุบันนี้เส้นทางที่ดีที่สุดน่าจะเป็นเส้นทางสาย กรุงเทพ ฯ ผ่านอำเภอองครักษ์ ไปผ่านนครนายก ปราจีนบุรี กบินทร์บุรี สระแก้ว หากไปผ่านทางหินกองจะไกลไปเปล่า ๆ มาทางฉะเชิงเทรา ถนน ๒ เลน รถมากไม่เหมาะวิ่งทางไกล ขับไม่มันว่างั้นเถอะ
            ผมนอนที่สระแก้ว โรงแรมจันทรา ๐๓๗ ๒๔๑๗๑๑ - ๑๓ ดูจะเป็นโรงแรมที่ดีที่สุดสะอาดใช้ได้ ค่าห้องถูกคืนละ ๔๕๐ บาท เท่านั้นเอง
            ไปเที่ยวดังนี้ เริ่มต้นออกจากตัวเมืองสระแก้ว ไปทางวัฒนานคร ซึ่งที่อำเภอนี้หากเลี้ยวขวาตรงสี่แยก ไปทางอำเภอคลองหาด วิ่งเข้าไปหน่อยเดียวจะชนวัดใหญ่ ชื่อวัดนครธรรม จะทะลุวัดเข้าไปหรือวิ่งอ้อมวัดไปทางซ้าย จนถึงประตูหลังวัดแล้วเลี้ยวซ้าย คดโค้งไปตามถนนสัก ๒ กิโลเมตร  ตรงหัวโค้งที่สอง มีเพิงเผาข้าวหลาม ข้าวหลาม"ป้าบางเจ้าเก่า"มีขายแห่งเดียวไม่มีสาขา หรือใครรับไปขายที่ไหน บางทีออกไปตั้งเพิงขายที่ถนนใหญ่หน้าเซเว่น อีเลฟเว่น บางทีเท่านั้น ของจริงต้องมาที่นี่ข้าวหลามไส้สังขยา ไม่เหมือนใคร เพราะไส้ยาวตลอดลำของกระบอกข้าวหลาม ไม่รู้เอาสังขยาใส่เข้าไปได้อย่างไร หวานมัน
            ตรงสี่แยกไฟสัญญานที่เลี้ยวที่เลี้ยวเข้ามาอำเภอคลองหาด หากเลี้ยวซ้ายไป ๑๙.๕ กิโลเมตร  จะถึงร้านไก่ลุงแก้วอยู่ทางซ้ายมือเป็นที่นิยมของชาวอำเภอ  รสชาติดีพอใช้ แก้หิวมื้อเที่ยงได้สบาย แต่ไม่ได้ขายแต่อาหารที่ทำจากไก่อย่างเดียว แบบร้านไก่หุบบอน ที่ศรีราชา ได้สั่งอาหารมาชิมคือ ผัดกระเพราไก่ เครื่องในไก่ผัดเครื่องแกง ต้มยำไก่ ไปสั่งแต่อาหารไก่ เพราะนึกว่าเหมือนไก่หุบบอน แต่คนที่มาทีหลัง เขาเป็นคนท้องถิ่นเขาสั่ง ไก่อบ ปลาทับทิมเผา คอหมูย่าง ลาบเป็ด แกงป่าไก่ ไข่เจียว ฯ ไม่ได้สั่งแต่ไก่
            จากร้านไก่ลุงแก้ว ย้อนกลับมาหน่อยมีทางแยกขวา ถนนสาย ๓๔๖๒ ที่มาเส้นนี้ยอมอ้อมเพราะจะมากินไก่ลุงแก้ว หากไม่มาทางนี้จากสระแก้วจะมีถนนตรงมายังอุทยานแห่งชาติปางสีดาได้เลย ๒๔ กิโลเมตร เท่านั้นไม่อ้อม
            เมื่อเข้าถนน ๓๔๖๒ แล้วจะไปยัง
            อ่างเก็บน้ำท่ากระบาก  แยกมาจากถนนใหญ่ประมาณ ๔ กิโลเมตร  เป็นโครงการตามพระราชดำริ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่งดงามแห่งหนึ่ง อ่างเก็บน้ำกลางป่า กลางขุนเขา จากอ่างเก็บน้ำมีทางรถวิ่งต่อไปยังสถานีประมงน้ำจืด มีโรงไฟฟ้าจากพลังน้ำขนาดเล็ก และที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งอย่าโดดเลยไปคือ สถานีวิจัยเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์ป่า ช่องกล่ำบน ค่าผ่านเข้าชม ๒๐ บาท เดินนิดเดียวน่าไปชมอย่างยิ่ง เพราะสัตว์ป่าที่คิดว่าสูญพันธุ์แล้วแต่ที่นี่เพาะเลี้ยงได้ เช่น เป็ดก่า แต่มาตรงกรงขังงูเหลือมบอกว่างูเหลือมชอบกินหมูป่า พอไปดูกรงหมูป่าตัวโตมากอยู่ใกล้ ๆ กรงงู กลับบอกว่า หมูป่าชอบกินงู ภายในสถานี ฯ เงียบสงบและขอยกย่องที่สร้างสุขาสวยมองดูเหมือนบ้านพักตากอากาศ ถ้าผมไม่ลืมผมจะลงภาพไว้ให้ชม เอาแค่ไปดูผีเสื้อแสนสวยบินแถว ๆ ธารน้ำไหลก็แทบจะคุ้มค่าที่บุกบั่นเข้ามาแล้ว
            จากอ่างเก็บน้ำย้อนมาออกถนนใหญ่ เลี้ยวขวาไปยังอุทยานแห่งชาติปางสีดา ไปน้ำตกปางสีดาแล้ววิ่งรถกลับมานอนที่สระแก้ว ตอนเย็นกินอาหารร้านเจ้จู ร้านอาหารเก่าแก่ อยู่ในซอยที่ไปสถานีตำรวจอยู่ตรงหน้า สภอ.เมืองสระแก้ว พอดีอาหารถูก อร่อยใช้ได้ทีเดียว
            มื้อเช้าที่สระแก้ว มีร้านก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋น ชื่อร้าน แจ๋วแท้ อยู่ในซอยเยื้องธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีป้ายบอกว่า แจ๋วแท้ หมูตุ๋น เสียตรงที่หยุดวันเสาร์ อาทิตย์ บอกเขาไปแล้วอย่าไปหยุดวันที่เขาเที่ยวกันซี
            อีกร้านคือร้านก๋วยเตี๋ยวปลา ยิ่งใหญ่มาก ศาลาโอ่งโถง ร้านอยู่เลยโรงแรมจันทราไปสัก ๒ - ๓ กิโลเมตร  ก่อนถึงทางแยกขวาไป จังหวัดจันทบุรี ร้านอยู่ซ้ายมือ ตรงข้ามคือศูน์ขายเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้มะค่า ใครคิดซื้อเตรียมรถไปขน ของดีราคาถูกไม้มะค่าแดงพรืดไปทั้งศูนย์ ที่ร้านก๋วยเตี๋ยวปลามีของอร่อยแยะ เช่น ก๋วยเตี๋ยวปลา ต้มยำปลา ข้าวต้ม - ปลา เกาเหลาปลา หนังปลาทอดกรอบ ข้าวขาหมู อีกฟากหนึ่งของศาลา ขายขนม และหมูทุบ อย่าข้ามไปคือ ขนมถ้วย สั่งมากินเสียเลยเป็นของหวานหวานมันดีนัก
            ทีนี้ไปปราสาทหลายชื่อ ต่างกันที่การสะกด ผมเอาชื่อมาจากป้ายที่เขาปักไว้หน้าปราสาทจึงน่าจะถูกต้องที่สุด แต่ชื่อที่เขียนด้วยภาษาอังกฤษนั้นเหมือนกันคือ PRASAT SADUK KOKTOM
            จากสระแก้ว วิ่งรถไปประมาณ ๕๐ กิโลเมตร จะถึงอำเภออรัญประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอใหญ่มาก วิ่งไปชนหอนาฬิกาแล้วเลี้ยวขวา จะมีสี่แยกที่ตรงหัวมุมทางขวา คือศาลพระสยามเทวาธิราช ที่มีองค์ ฯ ใหญ่ที่สุด ใหญ่กว่าองค์จริงที่ผมเคยเห็นที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง ตรงสี่แยกนี้หากเลี้ยวซ้ายจะมายังตลาดสด ซึ่งติดทั้งเช้าและเย็น ตรงหน้าตลาดสดมีร้านอาหารเวียตนามชื่อเจ๊ราง ผมไม่ได้ชิมแต่แถวหน้าร้านเจ๊รางของกินยามเช้าแยะมาก ก๋วยจั๊บญวน ข้าวต้มญวน ก๋วยจั๊บธรรมดา ขนมปังทาเนยปิ้งส่งกลิ่นหอม เหลืองน่ากิน หมูทุบ กับข้าวนึ่ง ซาลาเปา ลูกละบาทเดียว รอบ ๆ ตลาดสดก็มีของกินขายอีกมากมาย ล้วนแต่ขาจรมารถเข็นแทบทั้งสิ้น
            จบอาหารเช้าหน้าตลาดสดแล้ว จะไปเที่ยวตลาดโรงเกลือ ก็ออกไปทางชายแดนระยะทางแค่ ๖ กิโลเมตร  เดี๋ยวนี้เป็นตลาดถาวรใหญ่โต แต่ต้องต่อของให้เป็นหรือรู้ราคาของ ผมไปมักจะซื้ออะไรกับเขาไม่ได้เพราะต่อไม่เป็น หรือไม่ก็ซื้อราคาถูกมาก หรือแพงไปเลย แต่มักไม่ซื้อมากกว่า แว่นตาเขาบอกว่าของฝรั่งเศส ราคา ๖๕๐ บาท คนต่อเก่ง ๆ หรือเดินหนีเก่ง ราคาแว่นจะลดลงมาเรื่อย ๆ จนเหลือราคาตกลงกันแค่ ๑๕๐ บาท เสี่ยงซื้อเอาเถอะ
            ไปปราสาทสต๊อกก็อกธม หรือ สต๊กก็อกธม หรือ สะต๊อกก็อกธม ฯลฯ จากอรัญประเทศไปอีก ๒๐ กิโลเมตร  ตามถนนสายไปตาพระยา (รวมทั้งไปบุรีรัมย์ด้วย) จะไปถึงยังกิ่งอำเภอโคกสูง ต่อไปอีก ๑ กิโลเมตร ให้เลี้ยวขวาออกจากถนนสาย ๓๔๘ เข้าถนนสาย ๓๓๘๑ ไปอีก ๑๑ กิโลเมตร จะถึงบ้านโคกสูง หมู่บ้านใหญ่ที่ทำให้เกิดเป็นกิ่งอำเภอ วิ่งผ่านอนามัยไปแล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนแคบ ๆ หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านประเภท อพป. (อาสาพัฒนาป้องกันตนเอง) วิ่งผ่านหมู่บ้านไปประมาณ ๓ กิโลเมตร จะพบสามแยกให้ตรงไป "อย่าเผลอเลี้ยวซ้าย เพราะเห็นถนนดีกว่า" ตรงไปจะไปออกถนนใหญ่มาตรฐาน วิ่งไป ๒ กิโลเมตร จะพบทางแยกขวา ต้องสังเกตป้ายให้ดี ๆ ไม่งั้นเลย ป้ายเล็กนิดเดียว บอกให้เลี้ยวขวาไปปราสาท ๒.๕ กิโลเมตร  คราวนี้ลงวิ่งในถนนดิน ไปวิ่งผ่านหมวด ตชด. ถึงสามแยกให้แยกซ้ายจะไปยังปราสาทที่อยู่ห่างออกไปสัก ๑ กิโลเมตร กลางป่าและจะพบป้ายที่ปักเอาไว้ว่า ไม่ให้ลงไปจากทางรถวิ่งเพราะมีกับระเบิด ไม่น่าปักป้ายเช่นนี้ไว้ น่าจะประสานกับกองพลทหารราบที่ ๒ ที่ปราจีนบุรี ขอหน่วยทหารช่างเขามาเคลียร์กับระเบิดจะดีกว่า ทหารเขาพร้อมช่วย และถนนดินข้างปราสาทนี้ หากตรงไปจะไปออกถนนศรีเพ็ญ ผมจะไปชาวบ้านห้ามว่าอย่าไป ขืนเอารถเก๋งวิ่งไปโดนเขมรพลัดถิ่นเข้ามาปล้นแน่นอน

            ปราสาทสะต๊อกก็อกธม ได้รับการบูรณะบ้างแล้ว อยากให้ราชการทุ่งงบประมาณให้กรมศิลปากร เร่งบูรณะโดยเร็วเพราะจะได้แหล่งท่องเที่ยวชั้นยอดอีกแหล่งหนึ่ง นับว่างดงามมากทีเดียว เวลานี้ตกแต่งพอได้รูปได้ร่าง แต่ปล่อยหญ้าขึ้นแยะแล้ว รวมทั้งต้นไม้บนองค์ปรางค์ปราสาทด้วย
            ชื่อของปราสาท หากแปลจะได้ความว่าแหล่งของต้นกก และชื่อนี้ก็ไม่แน่ว่าจะถูกต้องหรือไม่ เพราะพบหลักศิลาจารึก ๒ หลัก แต่ยังไม่พบหลักใดที่บอกว่าชื่อปราสาทชื่ออื่น เป็นแต่เรียกกันไปตามที่พบปราสาทในดงต้นกก เป็นปราสาทขอมโบราณ อยู่ที่บ้านหนองหญ้าแก้ว หมู่ ๙ กิ่งอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๔ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ เป็นปราสาทหินทรายสีขาวนวล สร้างบนยกพื้นศิลาแลง ในพื้นที่กว่า ๑๕ ไร่ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ ฝรั่งเศสได้พยายามขุดเอาหลักศิลาจารึก ถึงขั้นเอาช้างมาลากแต่เอาไปไม่สำเร็จ ปราสาทจึงถูกทิ้งไว้ กลางป่าตั้งแต่นั้นมา ประเทศไทยทำการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๓ และขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๘ นับว่าเป็นปราสาทเก่าแก่มาก และเชื่อกันว่าสร้างก่อนปราสาทนครวัด นครธม ที่ลือชื่อของเขมรเสียอีก เป็นแบบคลังปาปวน
           จังหวัดสระแก้วในอดีตครั้งขอมโบราณมีอำนาจนั้น สระแก้วเป็นเมืองที่อยู่ไม่ไกลนัก จากศูนย์การปกครองของขอมนครวัด จังหวัดนี้จึงมีปราสาทมาก สร้างขึ้นตามความเชื่อถือตามศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย

            ปราสาท ฯ มี ๓ หลัง สร้างเรียงกันไป จากตะวันออกไปยังตะวันตก องค์กลางเป็นปราสาทองค์ประธาน ภายในมีศิวลึงค์สิ่งที่เคารพสูงสุดไว้ตรงกลาง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมื่อสร้างนั้นอิทธิพลของพุทธศาสนาเกือบจะไม่มีในแถบนี้ ความเก่าแก่ของอายุปราสาทจึงเก่าแก่กว่านครวัดในเสียมราฐ เป็นปราสาทที่ไม่ค่อยจะมีลวดลายมากนัก ยังมีหน้าบันนารายณ์บรรทมสินธ์เหลือไว้ให้ชม ลวดลายงดงามชัดเจนพอสมควร ยังไม่ถูกใครแคะแบกเอาไปเสีย กลุ่มปราสาท ๓ หลังนี้พึ่งมาฟื้นคืนชีพเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง เพราะเมื่อเขมรยังรบกันแหลกราญนั้น บริเวณเหล่านี้คือที่มั่น ที่ต่างฝ่ายต่างพยายามยึด หินปราสาทคือที่กำบังอย่างดี เขมรรบกัน รุกล้ำเข้ามาในแดนไทย เมื่อสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเขมรยุติลง ไทยจึงเริ่มเข้าไปพัฒนาได้ ปราสาทเขาพนมรุ้งนั้นพัฒนาเริ่มต้นโดยนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส ร่วมกับไทยทำอยู่ ๑๐ ปี จึงเริ่มก่อสร้างใหม่ได้ แต่นักโบราณคดีฝรั่งเศสก็จากไปก่อนจะเสร็จงาน แต่ปราสาทสต๊ก ฯ นี้พัฒนาโดยนักโบราณคดีไทยทั้งหมด หมายเลขไว้ที่หินก้อนโต ๆ เสียก่อนแล้วรื้อลงมากองกับดิน เดี๋ยวนี้ก็ยังเหลืออีกหลายกอง (เพราะหมดเงิน) แล้วกลับเอาขึ้นไปใหม่จนกลายเป็นปราสาท เรียกว่าแทบไม่น่าเชื่อที่อายุปราสาทกับ อายุคนบูรณะนั้นห่างกันคงร่วมพันกว่าปี แต่สามารถทำให้ปราสาทฟื้นคืนชีพได้ หากมีงบประมาณให้ในไม่ช้าคงเห็นความงดงามเช่นปราสาทพนมรุ้ง แต่ขนาดเท่าที่เห็นนี้ก็งดงามควรแก่การไปชม มีค่าควรแก่การถนุถนอมอย่างยิ่ง อย่าลืมรีบขอทหารไปกวาดล้างกับระเบิดให้หมดเสียก่อน
            กลับจากปราสาท ฯ มายังอำเภออรัญประเทศ อีกครั้งเพื่อหาอาหารกลางวันกิน
            ที่อรัญประเทศหาธนาคารกรุงไทยให้เจอ หาไม่ยากถามเขาดูก็ได้ง่ายกว่าผมบอก เมื่อพบแล้ว ถนนที่อยู่ข้างธนาคารที่ชื่อถนนมิตรสัมพันธ์นั้นเป็นถนนของ "ชาวญวน" หรือเวียตนามที่อพยพครั้งใหญ่ เข้ามาตั้งแต่เมื่อสัก ๔๐ กว่าปีก่อน และครั้งหลังเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๘ เข้ามาตั้งถิ่นฐานกลายเป็นคนไทยไปแล้ว ถนนมิตรสัมพันธ์มีร้านอาหารญวนหลายร้าน ร้านที่ผมชิมวันนี้เข้าไปในถนนสายนี้สัก ๓๐ เมตร อยู่ขวามือ
            สั่งอาหารมาชิมมื้อกลางวัน ดังนี้ (อาหารเช้าเขามีไข่กะทะ กาแฟ)
            ขนมเบื้องญวน ญวนทำไม่อร่อยอย่างไร แป้งกรอบ สีเหลืองนวล ไส้อร่อย
            บั่นหอย ใช้หมูสามชั้นนึ่งแข็ง เคี้ยวอร่อยมีสับประรด แตงกวา ถั่วงอก น้ำจิ้มที่จะราด
            ปอเปี๊ยะสดกุ้ง (๓๐ บาท) แป้งห่อบาง เห็นเนื้อกุ้งสีชมพู เส้นหมี่ถั่วงอก มองเห็น ๓ ชั้นของสีแป้งขาว สีผักกาด เขียว สีกุ้ง "ชมพู" น่ากิน แค่มองเห็น อย่าลืมน้ำจิ้ม กินอาหารญวนจำน้ำจิ้มให้ดี ๆ แต่เขามักจะมีน้ำจิ้มเอนกประสงค์อยู่ถ้วยหนึ่ง ทุกอย่างจิ้มได้หมด จำถ้วยนี้ให้แม่น ๆ ก็แล้วกัน นึกไม่ออกจิ้มไว้ก่อน
            ทอดมันปลากราย ทอดมันญวนจะไม่เหนียวเหมือนทอดมันไทย แต่รสดี
            แหนมเนืองที่จะขาดไม่ได้ ฝีมือใกล้กับแหนมเนืองหนองคายเลยทีเดียว
            เกือบไปแล้ว เกือบลืมบอกชื่อร้านอาหารเวียตนามที่ชิมวันนี้ ชื่อร้าน "แอมซัน" สูตรต้นตำรับจากญวนใต้คือไซ่ง่อน ๐๓๗ ๒๓๑๗๙๑

........................


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์