ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

วัดในภูเก็ต

            วัดในภูเก็ตนั้นมีมากมายหลายสิบวัดและแต่ละวัด ก็ยังมีประวัติที่ควรแก่การสนใจ น่าเขียนซึ่งผมเขียนเน้นไปแล้ว ๑ วัด คือวัดพระนางสร้าง ทีนี้หากเขียนเน้นอีกทีละวัดที่มีความสำคัญ หรือน่าเที่ยว และแถมด้วยหาที่กินก็คงจะต้องหลายตอน เลยไม่ต้องเขียนถึงเมืองอื่นกัน ผมเดินทางมากเรื่องที่จะเขียนก็มากตามไปด้วย อยากให้ท่านผู้อ่านได้รู้และเพื่อได้ไปเห็นต่อไป เขียนเรื่องนี้จบแล้วก็เดินทางไปประเทศกัมพูชาหรือเขมร ไปในฐานะคณะที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งในคณะมี ๔ คน แต่เป็นนายพลเพียง ๓ คน และไปตามคำเชิญของ แม่ทัพ ๕ ของเขมร ค่าใช้จ่ายช่วยกันเฉลี่ยออก ไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการแม้แต่บาทเดียว แต่ไปราชการเต็มอัตรา หากให้ไปเที่ยวผมคงไม่ไปเพราะเส้นทางที่จะเดินทาง ๕ ชั่วโมง รถเก๋งอย่าพึงหมายว่างั้นเถอะ ต้องเอารถโฟวีลขับเคลื่อนสี่ล้อไป ส่วนรายละเอียดไปอย่างไร ผมคงนำกลับมาเล่าให้ฟังได้เพราะไม่ใช่เรื่องลับ เป็นเรื่องที่สองประเทศจะช่วยกันเพื่อให้ชายแดนเป็นปกติสุขให้มากที่สุดเท่าที่จะ มากได้ลอง ๙๐ กิโลเมตร รถวิ่ง ๕ ชั่วโมงก็ไม่ใช่ธรรมดา ฝ่ายพลเรือนท่านหนึ่งที่ท่านอยู่ที่ จังหวัดตราด ยังไม่รู้ฤทธิ์เดชของผม ถามหัวหน้าทีมของผมว่า พล.อ.โอภาส ฯ แกจะนั่งเล่นไปไหวไหม (ยังไม่เคยเห็นตัวผมด้วย) หัวหน้าทีมบอกว่า อย่าว่าแต่นั่งเลย คุณโอภาส ฯ เขามือขับรถไปทั่วโลก อย่าไปดูหรือนับอายุของเขา ให้ดูหน้าดูตา ดูร่างกายของเขาเสียก่อน (อายุผมใกล้ร้อยเข้าไปทุกที แต่หากท่านไม่รู้มาก่อน ทายอายุผมไม่ถูกแน่) คราวนี้จะนั่งไปแต่คงไม่สบาย คงกระโดดกระดอนดีพิลึก จะเอามาเล่าให้ท่านฟังครับ
            ภูเก็ต คงจะจบได้ในคราวนี้แล้ว รอผมไปอีกปีโน้น (ปีหน้าไปแต่ไม่เขียน) เพื่อจะได้อะไรแปลกใหม่มาอีก ภูเก็ตเชียงใหม่ ๒ - ๓ เมืองนี้เขียนกันจนตายก็มีเรื่องให้เขียนไม่รู้จบ

           วัดฉลอง  เมื่อจะคุยเรื่องวัดในภูเก็ตกัน ต้องไปเริ่มที่วัดฉลองเสียก่อน เพราะเป็นวัดสำคัญ วัดฉลองอยู่ที่ตำบลฉลอง อำเภอเมือง ฯ (ภูเก็ต มี ๓ อำเภอเท่านั้น คือ อำเภอถลาง อำเภอกระทู้ อำเภอเมือง ) วัดห่างจากตัวเมือง ประมาณ ๘ กิโลเมตร หากมาจากสะพานเทพกษัตรี จนจะเข้าเมืองมีสามแยก เพื่อแยกขวาไปหาดป่าตอง จะมาทางเส้นนี้เลยก็ได้ แล้วมาเลี้ยวซ้ายทางไปหาดดราไวย์ ตามป้าย ก็จะไปยังวัดฉลอง ที่จะถึงวัดก่อนถึงห้าแยกฉลองได้ วัดอยู่ซ้ายมือเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกที เดี๋ยวนี้ภายในวัดสร้างกันใหญ่โตมโหฬารไปหมด ท่านที่ไม่เคยทราบประวัติ ก็ต้องไปทราบประวัติหลวงพ่อแช่ม หลวงพ่อที่ทำให้วัดดังระเบิดมาตราบเท่าทุกวันนี้
            หลวงพ่อแช่ม  ดังตอนเกิดอั้งยี่ขึ้นในเกาะภูเก็ต เพราะภูเก็ตนั้นเดิมเป็นเมืองที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ โดยเฉพาะแร่ดีบุก และกรรมกรชาวเหมืองเป็นจีนเป็นส่วนใหญ่ เพราะกรรมกรไทยหาได้ไม่พอ ต้องไปรับชาวจีนจากเมืองจีนมาเป็นกรรมกร เป็นจีนฉกเกี้ยน เดี๋ยวนี้ก็เลยผสมผะเสกลายเป็นไทยไปหมดแล้ว แถมเป็นไทยรวยเสียด้วย ไม่ใช่ไทยจน รวยด้วยความขยันหมั่นเพียร พวกจีนที่รวมตัวกันเป็นอั้งยี่เป็นพวกอั้งยี่บ้านกระทู้ ก่อการจราจลขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙  ด้วยสาเหตุว่านายเหมืองไม่จ่ายค่าแรง หรืออาจจะจ่ายน้อยไปก็เป็นได้ จึงยกพวกกันเข้าทำลายเหมืองแร่ แล้วเลยไปเข้าปล้นสดมภ์ เผาบ้านเรือนราษฎร ชาวบ้านจึงรวมตัวกันเพื่อต่อสู้ และพากันไปหาหลวงพ่อแช่ม ขอวัตถุมงคลป้องกันตัว หลวงพ่อแช่มเลยเสกผ้าประเจียดให้นักสู้ทั้งหลายเอาไปโพกหัว ทำให้ทัพนักสู้เกิดความฮึกเหิมต่อสู้กับพวกจีนอั้งยีได้และปราบปรามอั้งยี่สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานสมศักดิ์ให้หลวงพ่อแช่ม เป็นพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ หลวงพ่อแช่มจึงเป็นที่เคารพนับถือของชาวภูเก็ต และชาวเมืองอื่น ๆ แม้ท่านจะมรณภาพแล้ว ความเคารพนับถือก็ยังไม่เสื่อมคลาย ซึ่งจะเห็นได้จากสภาพของวัดในปัจจุบัน ที่มีแต่ความเจริญมากขึ้น มีการพัฒนาตลอดเวลาโดยอาศัยบารมีของหลวงพ่อแช่ม ยามหลวงพ่อมีชีวิตอยู่ ชาวภูเก็ตก็มาบนบานศาลกล่าวกันทั้ง ๆ ที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ เขาเล่าว่ามีสาวอุตริจะบนเรื่องอะไรผมจำไม่ได้แล้ว ว่าหากสำเร็จจะขอปิดทองที่อาวุธลับของหลวงพ่อ เกิดได้รับความสำเร็จจริง ๆ ก็มาขอหลวงพ่อขอแก้บน
หลวงพ่อทราบถึงความอุตริของแม่สาวนักบนแล้ว ก็ต้องช่วยเพราะอาถรรพ์จากการแก้บนสำเร็จแล้วไม่แก้บนนั้นมีอยู่ แต่หลวงพ่อท่านปัญญาไว ท่านเลยยี่นไม้เท้าที่ท่านถืออยู่นั้นให้ แล้วบอกให้ปิดทองที่หัวไม้เท้าของท่าน จะหาเรื่องให้หลวงพ่ออาบัติเสียแล้ว
สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด
            มณฑปหลวงพ่อแช่ม  มีรูปเหมือนของหลวงพ่อแช่ม และหลวงพ่อช่วง เป็นมณฑปจตุรมุข สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ และบูรณะใหม่จนแทบจะไม่เหลือรอยเดิม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ หน้าต่างโดยรอบแกะสลักเป็นเรื่องในเวสสันดรชาดก
            ศาลาเรือนไทย  เป็นที่ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งของหลวงพ่อแช่ม หลวงพ่อช่วง และหลวงพ่อเกลื้อม เมื่อเข้าไปในศาลาเรือนไทย จะได้กราบนมัสการรูปเหมือนของหลวงพ่อทั้งสาม และจะเห็นตู้โชว์ประดับมุก จัดแสดงโบราณวัตถุ เช่นกาน้ำชา เครื่องแก้ว เครื่องลายคราม เครื่องเบญจรงค์ บานประตูทางเข้าเป็นไม้แกะสลัก ถัดจากศาลาไทยมีกลุ่มร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและเสื้อผ้า
            วิหารหลวงพ่อเจ้าวัด  ประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย ด้านขวาของพระพุทธรูปเป็นรูปปั้นยักษ์ครึ่งตัวมือถือกระบอง ด้านซ้ายเป็นรูปตะบันหมาก เรียกกันว่า "ตาขี้เหล็ก" มีเรื่องเล่าว่าหลังจากสร้างโบสถ์เสร็จแล้วมีปูนเหลืออยู่ ช่างปูนนึกสนุกขึ้นมาเลยเอาปูนมาปั้นเป็นตาแป๊ะแก่ แล้วทิ้งตาแป๊ะไว้ในโบสถ์ก่อนที่จะย้ายมาในวิหาร วันหนึ่งมีเด็ก (อุตริอีกนั่นแหละ) มาบนรูปปั้นตาแป๊ะว่าขอให้ได้เห็นการชนวัวสักทีเถอะ ถ้าสำเร็จจะเอาบุหรี่มาถวาย เกิดสำเร็จเด็กได้ดูชนวัวจริง ๆ อ้ายหนูก็เอาบุหรี่มาถวาย เรื่องก็ลือกันออกไปเร็ว ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้าน (ไทย) นักบนก็พากันมาบนขอต่อตาแป๊ะ แต่เพิ่มสินบนขึ้นอีก มีทั้งบุหรี่ มะพร้าว หมากพลู ประทัด และผลไม้ ศิษย์วัดเลยอิ่มสบายไป
            ขณะนี้ทางวัดกำลังสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ ซึ่งน่าจะใกล้เสร็จแล้ว ผมถ่ายภาพมาให้ชมด้วย เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่สมเด็จพระสังฆราชอัญเชิญมาจากลังกา
            วัดพระทอง หรือวัดพระผุด หากจะไล่กันว่าไปวัดไหนก่อนหากมาจากนอกเกาะภูเก็ต ก็จะต้องมายังวัดพระทองก่อน เพราะจะผ่านก่อน ทางเข้าวัดอยู่ทางซ้ายมือก่อนถึงตัวอำเภอถลาง เลี้ยวเข้าไปสัก ๕๐ เมตร ภายในอุโบสถมีพระประธานซึ่งท่านมีอยู่เพียงครึ่งองค์ เล่ากันว่าองค์ภายในของท่านเป็นทองคำ จึงต้องก่อปูนหุ้มเอาไว้ ส่วนประวัติของท่านคือ ความเชื่อถือว่าพระพุทธรูปองค์นี้ ท่านผุดขึ้นมาจากใต้ดิน มาเมื่อไร อย่างไรไม่มีใครรู้มารู้เอาเมื่อเด็กในหมู่บ้านนำควายมาเลี้ยง พบหลัก (ความจริงคือเกตุของพระพุทธรูป) ก็เอาเชือกผูกควายผูกไว้กับหลักที่พบแล้วก็นอนเล่น กลับมาบ้านก็ป่วยเป็นโรคประหลาด และตายไปทั้งเด็กและควาย อีกตำนานหนึ่งเล่าว่าเมื่อเด็กพาควายกลับมาบ้าน ก็ล้มเจ็บหนักโดยไม่รู้สาเหตุแห่งโรค คืนนั้นพ่อของเด็ก (รวมทั้งตำนานแรกด้วยตรงนี้เหมือนกัน)ได้ฝันว่า เพราะเด็กเอาเชือกล่ามควายไปผูกเข้ากับพระเกตุของพระพุทธรูปจึงเจ็บหนัก (หรือตาย) พอรุ่งขึ้นเช้า ก็พากันไปตรวจดูยังสถานที่นั้น พบพระเกตุ ฯ จึงช่วยกันขุดดูแต่ก็ขุดได้เพียงครึ่งองค์เท่านั้น เมื่อคราวพม่ายกทัพมาตีถลาง (คนละคราวกับศึกท่านท้าวป้องกันเมือง) พม่าก็พยายามจะขุดเอาพระพุทธรูปไปด้วย เพราะเป็นทองคำ แต่ขุดไม่สำเร็จ แตน ต่อ แห่กันมาต่อยทหารพม่า ต่อมาชาวบ้านจึงเอาปูนพอกเสีย และต่อมาอีกมีพระธุดงค์มาปักกลดอยู่แถวบริเวณองค์พระ ไม่ทราบท่านฝันอย่างไรหรือเปล่า เพราะต่อจากนั้นท่านก็เป็นผู้นำในการสร้างวัด สร้างโบสถ์แล้วอัญเชิญพระผุด หรือพระทององค์นี้เป็นพระประธานในโบสถ์ เมื่อเราไปนมัสการ จึงเห็นแต่องค์พระเพียงครึ่งองค์ ผมไปนมัสการแทบทุกครั้งที่ไปภูเก็ต นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้สร้างขึ้นไว้ ซึ่งสิ่งของส่วนใหญ่ได้มาจากกุฏิเจ้าอาวาสองค์เดิมที่มรณภาพไปแล้ว กับของที่ชาวบ้าน นำมาถวายหรือมาบริจาคให้ไว้ เช่น จั่งซุ้ย หรือเสื้อกันฝนของชาวเหมืองแร่ "เสี่ยหนา" เป็นตะกร้า หรือคล้ายตะกร้าเป็นเครื่องจักสาน สำหรับฝ่ายชายใสสินสอดตามประเพณีจีน รองเท้าตีนตุก ของหญิงชาวจีนโบราณ จะเล็กกว่าเท้าคนธรรมดามาก เมื่อใส่จะรัดเท้าให้เล็กลง เท้าก็จะไม่โตตามตัว ถือว่าหญิงผู้ดีต้องเท้าเล็ก เมื่อผมเด็ก ๆ ผมเกิดทันได้เห็นหญิงจีนในกรุงเทพ ฯ นี่แหละใส่รองเท้าเล็ก ๆ แบบนี้ หรือบางทีก็ใช้ผ้าพันเท้าแทน น่าสังเวชมากกว่าน่าดูชม เพราะบางคนก็เท้าเน่าไปเลย ประเพณีในเมืองไทยจึงพึ่งเลิกไปเมื่อไม่นานมานี้เอง เชื่อว่าไม่เกิน ๖๐ ปี นอกจากนี้ยังมีกริชชวาหลายรูปแบบ และของพื้นบ้าน ควรเข้าชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ค่าเข้าชมไม่เสีย ฟรี สุดแล้วแต่เราจะหยอดตู้ เพื่อวัดจะได้นำเงินไปบูรณะพิพิธภัณฑ์ได้
            วัดเกาะสิเหร่  วัดนี้น่าไปเพราะมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ ประทับนอนอยู่บนเขา เขาที่อยู่บนเกาะสิเหร่ ผมเห็นหลวงพ่อพระนอนองค์นี้มา ตั้งแต่ท่านประทับนอนกลางแจ้ง อยู่บนเขาและผมต้องปีนขึ้นไปด้วยความยากลำบากมาก ต่อมาเริ่มมีบันไดให้ขึ้นได้ง่ายเข้าหลางพ่อเริ่มมีหลังคากันแดด ต่อมาอีกเอารถขึ้นไปได้เกือบถึงหลวงพ่อ มีถนนให้รถวิ่งไปเกือบถึง แล้วขึ้นบันไดไปอีกนิดเดียว ก็จะถึงโบสถ์ที่ประดิษฐานหลวงพ่อ แต่ผมกลับขึ้นไปหาหลวงพ่อไมไหว เพราะวันนั้นสังขารไม่อำนวย ขึ้นบันไดไม่ไหว อาจจะเป็นเพราะนั่งรถนานเกินไป มีลูกชายที่รับราชการอยู่ภาคใต้มาขับรถให้เที่ยว เลยขาแข้งไม่ดีไม่เหมือนขับเอง คนมีกรรม
            เกาะสิเหร่ นั้นเป็นเกาะชายเกาะของภูเก็ต ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีเนื้อที่เพียง ๒๐ ตารางกิโลเมตร มีคลอง "ท่าจีน" คั่นอยู่ จึงทำให้มีสภาพเป็นเกาะ คลองไม่กว้าง ต่อมาจึงสร้างสะพานข้ามคลองท่าจีน รถก็เดินไปมาสะดวก มีแหลมชื่อว่าแหลมตุ๊กแก เป็นที่อยู่ของหมู่บ้านชาวเล ซึ่งเป็นคนน้ำ และเริ่มขึ้นมาอยู่บนแผ่นดิน แต่วันนี้ชาวเลก็เหมือนชาวเขากลายเป็นชาวดินไปหมดแล้ว แต่ควรเข้าไปเที่ยวยังหมู่บ้านชาวเล เย็น ๆ เขาจะเอาอาหารทะเลสด ๆ มาวางขาย เช่น หอยแครง หอยแมลงภู่ หอยหวาน เป็นต้น ชาวเลเผ่านี้ชื่อว่าเผ่า"อูลักลาโว้ย" ทุกครอบครัวประกอบอาชีพประมง
            วัดบ้านพารา  เนื้อที่ของผมที่จะเล่าเรื่องวัดในภูเก็ตคงหมดเท่านี้ แต่มีอีกวัดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับผม คือวัดบ้านพารา เกี่ยวข้องตรงที่วัดนี้ยังเป็นสำนักสงฆ์อยู่ มีเนื้อที่ไม่มากประมาณ ๗ ไร่ อยู่ท่ามกลางหมู่บ้านชาวไทยอิสลาม พระลำบากมากเพราะเดินไกลเพื่อรับบาตร และเดิมชาวภูเก็ตแทบไม่รู้จัก ต่อมาผมเขียนเล่าไว้ในไทยรัฐ วันอาทิตย์ หน้า ๖ คอลัมน์ เที่ยวไป กินไป ของผม ชาวภูเก็ตจึงพากันไปทำบุญมากขึ้น วัดค่อยบรรเทาความขาดแคลน แต่ต้องบิณฑบาตรไกลประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร เช่นเดิม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดน้อยนพคุณ ได้บิณฑบาตรขอให้แนะนำพระประธานไปถวายวัดนี้ ผมก็บูชาพระประธานหน้าตักกว้าง ๖๐ นิ้ว นำไปถวายไว้เป็นพระประธาน ต่อมามีผู้นำพระองค์เล็กกว่าไปถวายอีกหลายองค์ ผมว่าตอนนี้ท่านมีพระประธานแล้ว พระเล็ก ๆ ก็เกินพอ ช่วยท่านสร้างศาลาการเปรียญที่ท่านสร้างถังน้ำฝน ไว้ข้างล่างจะดีกว่าเพราะน้ำดื่มขาดแคลนมาก เคยให้ท่านขุดบ่อน้ำบาดาลแต่ปรากฏว่าน้ำกร่อยดื่มไม่ได้ น้ำฝนที่เก็บไว้เดิมก็ต้องแบ่งปันให้ชาวไทยอิสลามที่มาขอน้ำ ศาสนาพุทธนั้นจิตกว้างขวางเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่บุคคลทั่วไป ทำให้น้ำแทบจะไม่พอฉัน ตอนนี้ดีขึ้นเพราะสร้างถังน้ำไว้ใต้ศาลาการเปรียญ ไม่ดีตรงศาลาการเปรียญที่ไม่ใหญ่โตอะไรนัก สร้างไม่เสร็จสักทีเพราะไม่มีปัจจัย ผมจึงขอเชิญชวนโดยเฉพาะชาวภูเก็ต จะทำบุญวันเกิด วันตายของญาติผู้ใหญ่ ไปทำที่วัดบ้านพาราด้วย และช่วยท่านสร้างศาลาการเปรียญ เกือบลืมบอกทาง หากไปจากเมืองภูเก็ต พอถึงอนุสาวรีย์ท่านท้าว ฯ ก็เลี้ยวขวาไปอีก ๑๔.๕ กิโลเมตร มีป้ายบอกทางขวา เลี้ยวขวาเข้าไปสัก ๕๐๐ เมตร วัดจะอยู่ทางขวามือ ขออนุโมทนาบุญ

            ผมขอสรุปอาหารน่ากินในเมืองภูเก็ตให้คือ (เอาที่แปลก ๆ และเป็นของท้องถิ่นเท่านั้น) เริ่มด้วยขนมจีน น้ำยา น้ำยาแบบปักษ์ใต้แต่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง คือหวานนิด ๆ เอาจีนมาปน ผมแนะนำร้านขวัญ หน้าโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน
            อาหารเช้า ผมชอบร้านคู่ขวัญ หากมาจากสะาพานเทพกษัตรี วิ่งตรงเข้าเมืองจนถึงวงเวียน ต่อจากนั้นตรงต่อไปทางขวามือ ก่อนถึงสี่แยก ร้านคู่ขวัญอยู่ขวามือ สารพัดติ๋มซำ ปะกุดเต๋ หมี่ขาว อีกร้านคือร้านของบังเสน ลงมาจากสะพานประมาณกิโลเมตร ๓๗ อยู่ขวามือเมื่อจะเข้าเมือง ร้านอิสลาม ขนมอันละ ๒ บาท โรตี แกงเนื้อ ข้าวต้มชามละ ๕ บาท เป็นที่ชุมนุมของชาวไทยมุสลิม มาซื้อขนมกิน บางทีเอาขนมติดมือมาขายด้วย อาหารเช้าแบบนี้มีหลายร้าน แต่ตอนระยะหลัง ๆ นี่ผมติดร้านคู่ขวัญเสียแล้ว ไม่งั้นไปแถวถนนเยาวราชก็แยะ
            มื้อกลางวันมีหลายร้านเช่นกัน เช่น หมี่สะบำ ร้านนี้จะต้องออกไปจากตัวเมืองภูเก็ต วิ่งออกจากตัวเมืองไปสัก ๖ กิโลเมตร  ก่อนถึงทางแยกซ้ายไปป่าตอง จะถึงตำบลปำ ร้านหมี่สปำ เจ้าเก่าจริง ๆ นั้น เดิมอยู่ทางฝั่งซ้ายของถนนเวลาออกจากเมือง ต่อมาย้ายไปปลูกใหม่ที่ฝั่งขวาเยื้อง ๆ กัน ไปคราวนี้ย้ายกลับมาอยู่ฝั่งซ้ายเช่นเดิมแล้ว แม่เจียม เจ้าเก่า มีเต้าหู้ทอด หอยทอด เป็นหอยนางรมผัด และที่ผมชิมทุกครั้งที่ไปคือ โอต้าว หรือ โกต้าว แล้วแต่จะออกสำเนียงเรียกกัน โอต้าวคือหอยนางรมผัดกับเผือกนึ่ง ราดด้วยน้ำจิ้มเป็นเครื่องปรุงสำคัญ อยากจะเรียกว่าสูตรประจำตระกูลของแต่ละร้าน ใส่กากหมูมีถั่วงอกสดให้มาด้วย วางเคียงไว้ข้างจาน
            หมี่สปำ  คือยอดฮิตของร้านนี้เป็นเอกลักษณ์ของร้าน หมี่สีเหลือง ผัดมากับหอยนางรม ปลาหมึกใส่ผักกาดเขียว มีไข่ดาวไม่สุกวางมาข้างใต้เส้น ๑ ฟอง
            ข้าวมันไก่โก้เต้า  เจ้าตำรับไก่ตอนหนังกรอบ จากหน้าโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน วิ่งตรงมาก่อนถึงสี่แยก ตรงข้ามโรงเรียนอนุบาล อยู่ซ้ายมือออกขายตั้งแต่เช้าไปยันเที่ยง นอกจากนี้ยังมี โลบะ ร้านโลบะ บางเหนียว โลบะเบ่งสอง โลบะ ที่สี่แยกสยาม ถนนเยาวราช ร้านโลบะที่ออกชื่อมา ๒ ชื่อแรกถามได้จากชาวเมือง เครื่องในหมูพะโล้ แล้วเอามาทอดจิ้มน้ำจิ้มหวาน ๆ เด็ดจริง ๆ กินเล่นมื้อบ่ายดีที่สุด
            นอกจากนี้ยังมี หมี่ มีอะไรอีกหลายอย่างเหลือเกิน หากจารไนของกินภูเก็ต ทุกมื้อ ทุกอย่างทั้งคาวและหวานเขึยนหนังสือได้เล่มหนึ่ง ไปคราวนี้หาขนมโอ้เอ๋ว เจอหลายร้าน ร้านหนึ่งอยู่ตรงโลบะสี่แยกสยาม และยังมีอาปง ทำทีเดียว ๓ กะทะ กะทะละอัน ยามเช้าหากินได้ตามร้านกาแฟ
            มาร้านอาหารหลักของคราวนี้ คือร้านทะเลทอง จะไปชิมมื้อกลางวัน หรือมื้อเย็นก็ได้ทั้งนั้น เส้นทางหากมาจากสะพานเทพกษัตรี ถึงประมาณกิโลเมตร ๓๖.๒ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนที่มุ่งหน้าไปสู่ทะเลทางด้านใต้ของเกาะภูเก็ต (๓๖.๒ คือระยะทางห่างจากตัว อำเภอเมืองภูเก็ต) วิ่งกันไปจนสุดซอยไปต่อก็ตกทะเล จะพบร้านที่ปลูกยื่นลงไปในทะเลนิดหนึ่ง เป็นศาลาโล่ง น่านั่ง อากาศเย็นสบาย ลมทะเลตีหน้าไม่ต้องหาห้องแอร์นั่ง ใกล้ ๆ ศาลามีศาลาที่เลี้ยงทะเลทั้งหลายเป็น ๆ ทั้งนั้น จะสั่งอาหารจากโต๊ะของเราหรือเดินไปดู "ทะเลเป็น ๆ" แล้วชี้เอาว่าจะให้ทำอะไรดี ไม่แนะอาหารกุ้งเพราะค่อนข้างแพง กิโลละตกพันบาท เพราะเป็นกุ้งทะเลจริง ๆ ไม่ใช่กุ้งเลี้ยง เช่น กุ้งกุลาดำ แต่คณะผมลองสั่งมาชิมดู เนื้อกุ้งจากทะเลนั้นแน่นเคี้ยวสนุก รสดีพิลึกทีเดียว คือสั่งกุ้งเผา น้ำจิ้มของเขาเด็ดจริง ๆ
            สาหร่ายทะเลทอง เป็นแผ่นบาง ๆ ทอดแล้วเหมือนปอเปี๊ยะวงเดือน จิ้มน้ำบ๊วยเจี่ย
            จั๊กจั่นทะเลชุบแป้งทอด หากินยากมาก มีชุมแถว ๆ อุทยานสิรินาถ ใกล้ทางเข้าทะเลทอง แต่มีเป็นฤดู แล้วจับก็ยากด้วย ทอดแล้วอร่อยกรอบไปทั้งตัว ไม่ต้องกลัวหน้าตาของจั๊กจั่น
            หอยชักตีนลวก ยอดอาหารและหายากมากเช่นกัน หอยจะมีเหมือนตีนโผล่มานิดหนึ่ง หากลวกไม่เป็นอาลงความร้อนทันที หอยจะดึงตีนเข้าไปในตัวหอย ทำให้กินยาก แคะออกมายาก แต่หากค่อยให้ความร้อนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หอยไม่ทันรู้ตัวก็ตายแล้ว หอยจะไม่ชักตีนเข้าไป เวลากินก็ดึงที่ตีนหอยจะออกมาทั้งตัว จิ้มน้ำส้มที่รสเด็ดจะอร่อยมากจริง ๆ หากินยากเต็มที เจอที่ไหนต้องสั่ง หอยชักตีนลวกอย่าลืม
            ปลาเก๋าสามรส ปลาทอดมาตัวโต เนื้อนุ่มแน่น น้ำราดรสเข้มข้น
            ปูดำผัดผงกระหรี่ เอาน้ำผัดมาคลุกข้าวแล้วกินเนื้อปูตามเข้าไป
            แกงเหลืองปลากะพงแดง แกงรสชาวใต้ ออกรสเผ็ดแต่ได้กินเผ็ดที่มีรสสมใจ
            เอาอีกอย่าง ปูผัดพริกไทยดำ อาหารอร่อยทุกจาน ราคาสมกับความอร่อยของอาหาร
            ก่อนจบแนะยาสักขนาน เพราะก่อนเขียนต้นฉบับ ชาวหมู่บ้านปิยะมิตร (ผมตั้งชื่อหมู่บ้านนี้เอง มีบ้าน ๑ - ๕ ) ซึ่งที่ตั้งอยู่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เขามาหาผมเพราะผูกพันกันมานานร่วม ๑๔ ปีแล้ว สาเหตุที่ผูกพันกันเพราะตอนที่ผมทำหน้าที่แม่ทัพภาคที่ ๔ ส่วนหน้า ได้รับคำสั่งให้ปราบปรามโจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายา เอาให้ออกจากป่าให้ได้ ผมทำสำเร็จ พวกเขา ๒ กลุ่ม ๖๔๔ คน ออกจากป่ามารายงานตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เมื่อ ๑๓ มีนาคม ๒๕๓๐ และ ๒๘ เมษายน ๒๕๓๐ จบสิ้นการสู้รบ ผมกับเขาจึงเป็นเหมือนพี่น้องกัน ผมสร้างหมู่บ้าน (ใช้เงินรัฐบาล) ให้เขาอยู่ หาที่ทำกินให้ สร้างหมู่บ้านเขาให้เป็นเหมือนรัฐกันชน ตอนที่ผมเขียนอยู่กำลังแข่งขันซีเกมส์พอดี จะเห็นว่าผลของซีเกมส์ ที่ออกมานั้นไม่ยุติธรรมต่อนักกีฬาไทย ดังนั้นเมื่อพวก" อดีต จคม. " มีทุกข์เรื่องอะไรเขาก็มาหาผม ตอนนี้มีทุกข์เรื่องหัวหน้าใหญ่ของเขา คุณจางจงหมิง เจ็บหนัก (ป่านนี้อาจจะซี้ไปแล้ว) เขามาหาและแนะนำว่าพวกเขามียาดี เป็นยาสมุนไพร สั่งมาจากประเทศจีน และ "อย." ได้อนุมัติเรียบร้อยแล้ว ชื่อยา เจิน เหยิน โทนิค เป็นยาบำรุงพลัง เขาเคยให้ผมกินได้ผลดี มีทั้งชายและหญิง ราคาค่อนข้างแพง แต่ถูกกว่ายาฝรั่งและได้ผล ผมคงบอกได้แค่นี้ ท่านใดสนใจลองติดต่อ ๐๒ ๖๕๔๒๕๓๑ - ๒,๐๑ ๓๓๑๘๐๑๒ หรือจะไปซื้อที่ร้านของเขาแล้วกินขาหมูเบตง เคาหยกเผือก ผัดหมี่เบตง แกงจืดรากจอมพลัง ฯ ก็ถามทางไปร้านเขาดู เพชรเกษม ๖๙ เข้าไปสัก ๒ กิโลเมตร  ถึงสี่แยกธนาคารไทยพาณิชย์ เลี้ยวซ้ายไป ๒๐๐ เมตร ร้านอยู่ซ้ายมืออิ่มอร่อยแล้วซื้อยากลับมา

...................................


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์