ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


วัดยานนาวา

              ชื่อของวัดยานนาวานั้นมีความหมายเกี่ยวกับคติธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งปรากฎอยู่ในพระเวสสันดรชาดกกัณฑ์กุมาร ตอนพระเวสสันดรตรัสเรียกสองกุมาร ที่หนีชูชกลงไปซ่อนตัวอยู่ในสระบัว โปรดเรียกกัณหา - ชาลี ขึ้นมาเพื่อพระราชทานแก่ "ชูชก" ที่มาขอบุตรทั้งสองเพื่อเอาไปรับใชัเมียสาวคือนางอมิตตดา  พระเวสสันดรทรงกล่าวอุปมาด้วยสำเภายานนาวา ว่าเรือสำเภาที่พ่อค้าใช้ไปมาในมหาสมุทรนั้น เมื่อถูกคลื่นลมแรง ก็อาจจะแตกทำลายได้  คำกล่าวของพระเวสสันดรคือ "ด้วยเป็นโลกิยนาวา ไม่จริงเลย พระลูกเอ๋ย พ่อเห็นแต่หน้าเจ้า พระพี่น้องทั้งสองเรา เจ้าจงมาเป็นสำเภาทองธรรมชาติ อันนายช่างฉลาด จำลองทำ ด้วยกงแก้วประกำตรึงด้วยเพชรแน่นหนา แก้วประพาลแผ่เป็นดาดฟ้าฝาระบุระเบิดเปิดช่องน้ำ แก้วไพฑูรย์กระทำเป็นราโทโมราประทับสลับสลัก กรอบลายรายดอกรักเนาวรัตน์ ฉลุฉลักเป็นรูปสัตว์ภาพเพชรนิลแนม แกมหงส์วิหคกระหนกคาบลดารัด มังกรกัดกอดเกี้ยวเป็นก้านขดดูสดใส ครั้นสำเร็จลำสำเภาแล้วเมื่อใดได้พระพิชัยมงคล พระบิดาจะทรงเครื่องต้นมงคลพิชัยสำหรับกษัตริย์ ดั่งจะเอาพระสมาบัติกระหวิดทรงเป็นสร้อยสังวาลอยู่สรรพเสร็จ จะเอาพระขันติต่างพระขรรค์อันคมกล้า สุนทรจะย่างเยื้องลงสู่ที่นั่งท้ายเภตราสูงระหง แล้วไปด้วยทวนธงเศวตฉัตร วายุวิเวกพัดอยู่เฉื่อยฉิว สำเภาทองก็จะล่องลิ่วไปตามลม สรรพสัตว์ก็จะชื่นชมโสมนัส ถึงจะเกิดลมกาลพานกระพือพัดคือโลโภ ถึงจะโตสักแสนโตตั้งตีเป็นลูกคลื่นอยู่ครื้นโครม โถมกระแทกสำเภานี้ก็
มิได้วอกแวกวาบหวั่นไหว ก็จะแล่นระรี่เรื่อยเฉื่อยไปจนถึงเมืองแก้ว อันกล่าวแล้วคือพระอมตมหานครนฤพาน" สองกุมารได้ฟังคำอุปมาของพระราชบิดาจึงยอมขึ้นจากสระ ต้องติดตามชูชกเพื่อไปรับใช้นางอมิตตดาต่อไป แต่จะรับใช้หรือไม่คงต้องให้ท่านไปหาอ่านกันเอง  ไม่ทราบว่าเวสสันดรชาดก นักเรียนสมัยนี้ยังเรียนกันอยู่หรือเปล่า ส่วนผมเรียนถึงสองครั้งคือตอนเรียนเตรียมอุดมปีที่ ๒ กับตอนที่เรียนในโรงเรียนเตรียมนายร้อยทหารบก ซึ่งจะเห็นว่าเวสสันดรชาดกนั้นเป็นวรรณคดีที่ยอดเยี่ยมเลยทีเดียว  สัมผัสนอก สัมผัสใน มากมาย น่าหามาอ่านและเก็บไว้เป็นสมบัติอย่างยิ่ง ที่คุรุสภาน่าจะมีจำหน่าย หลายบท ผมยังจำได้จนบัดนี้ เช่น บรรยายภาพของพรานเจตบุตร อ่านแล้วจะเห็นภาพของพรานเจตบุตรผุดขึ้นมาให้เห็นในมโนภาพเลยทีเดียว ขอออกนอกเรื่องวัดยานนาวาไปอีกนิด ขอบรรยายภาพของพรานเจตบุตรเพื่อให้ท่านได้เห็น (ท่านที่ไม่ได้เคยอ่านหนังสือเวสสันดรชาดก) ภาพของพรานเจตบุตรขึ้นมาในมโนภาพ "ทั้งผมเผ้าก็ยุ่งยิ่ง ยุกยิกยะหยองแหยง แดงงะงอเงี้ยวเขี้ยวงะโง้งงอน ผ้าประเจียดประจงจีบซ้อนสวมเศียรรัดกระหวัดกระหมุดกระหมิด ชุดชิดชักชายน้อยห้อยหูกระต่าย เรี่ยวแรงแข็งขันอยู่ทั้งกาย มือถือหน้าไม้ลูกเหลาแหลม" ท่านลอง
อ่านดูเถอะ (ผมเขียนจากความทรงจำที่เรียนเมื่อ ๕๕ ปีที่แล้ว สะกดผิดขออภัย) แค่ไม่กี่บรรทัดยังไพเราะนัก สัมผัสใน ''เขี้ยวเงี้ยว" สัมผัสนอก เล่นอักษร "ผมเผ้ายุ่งยิ่งยะหยองแหยง" อ่านแล้วไพเราะจริง ๆ
            ปัจจุบันหากจะหาชมเรือสำเภาที่มีรูปร่าง และขนาดเท่าของจริงนั้น น่าจะหาชมได้เพียง ๓ แห่งเท่านั้น (เดิมมีแห่งเดียวที่วัดยานนาวา แต่ลอยน้ำไม่ได้)
           แห่งแรกคือที่วัดยานนาวา  ซึ่งวัดนี้ตั้งอยู่ริมถนนเจริญกรุง หากเริ่มต้นจากสี่พระยา วิ่งเรื่อยไปตามถนนเจริญกรุง จนผ่านเจริญกรุง ซึ่งทางซ้ายของถนนมีตึกใหญ่ ๆ ให้สังเกต เช่น ตึก STATE TOWER จนผ่านเจริญกรุงซอย ๕๒ ให้มองขวาไว้ดี ๆ ก่อนถึงเจริญกรุงซอย ๕๔ ประตูวัดยานนาวาจะอยู่ทางขวา ต้องสังเกตให้ดี เพราะรถวิ่งกันมาก รถจะบังทางเลี้ยวได้ ถนนเจริญกรุงนั้นขยายไม่ออกแล้ว คงแคบเท่าเดิม ดังนั้น ต้องเลี้ยวขวาเข้าประตูวัดทันที มิฉะนั้นจะเหมือนผม เลี้ยวไม่ทัน คราวนี้ต้องไปกันอีกไกลกว่าจะหาที่กลับรถได้  เข้าไปแล้วก็จะมองเห็นเรือสำเภาตั้งตระหง่านอยู่
           แห่งที่สอง  ไปที่สมุทรปราการ เลยไปจนถึงบางปู จะถึงเมืองโบราณ ในเมืองโบราณที่ทุกคนควรไปชมอย่างยิ่งนี้จะมีเรือสำเภาขนาดเท่าเรือจริง สร้างด้วยไม้แบบสำเภาจริง ลอยเท้งเต้งอยู่ในน้ำให้ชม แต่ไม่ทราบว่าให้ขึ้นไปชมบนเรือหรือไม่ เพราะผมแค่ชมอยู่ที่ริมตลิ่ง
           แห่งที่สาม  คราวนี้ต้องไปไกลหน่อยคือ ไปถึงจันทบุรี อ.เมือง ออกไปทางที่จะไปยังค่ายเนินวง ตำบลบางกะจะ ชมค่ายเนินวงแล้วห่างจากประตูเข้ากำแพงค่ายไปสัก ๕๐ เมตร ทางขวามือคือ "พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี" แห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย ที่เก็บรักษาโบราณวัตถุใต้ทะเลไว้นับหมื่นชิ้น จัดแสดงเกี่ยวกับการค้าทางเรือ ข้อมูลเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนข้อมูลการค้นคว้าวิจัยทางโบราณคดีใต้น้ำ นับเป็นศูนย์กลางความรู้ทางด้านนี้โดยเฉพาะ ซึ่งภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะมีภาพงดงามขนาดใหญ่ ที่สะท้อนให้เห็นบรรยากาศการค้าขายทางทะเลด้วยเรือสำเภาโบราณ ในบริเวณปากแม่น้ำจันทบุรี และแบ่งการจัดแสดงต่าง ๆ ไว้เป็นห้อง ๆ รวม ๖ ห้อง ห้องที่สำคัญเกี่ยวเรื่องเรือของผมคือ "ห้องแสดงสินค้าและวิถีชีวิตชาวเรือ" นับว่าเป็นห้องที่โดดเด่นที่สุดของพิพิธภัณฑ์นี้ เพราะสร้างเรือสำเภาโบราณ (แต่ต่อใหม่) เรือลำนี้ชื่อ "บรรพนาวิน" แม้จะต่อใหม่ก็ได้ชิ้นส่วนของเรือสำเเภาโบราณมาผสมผสาน สามารถเข้าไปชมภายในเรือได้ ใต้ท้องเรือจะเห็นห้องเก็บสินค้าที่จะบรรทุกไปกับสำเภา ได้แก่ ห้องเก็บเครื่องปั้นดินเผาโบราณ ห้องเก็บหมาก มะพร้าว ข้าว ซึ่งเป็นสินค้าขาออก ส่วนด้านท้ายเรือชั้นล่างเป็นที่พักนอนของลูกเรือ มีบันไดขึ้นไปยังดาดฟ้าเรือ บนดาดฟ้าเรือยังแสดงบรรยากาศการทำงานของลูกเรือเอาไว้ด้วย เช่นลูกเรือกำลังขึงเชือกเพื่อกางใบเรือ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จึงมีค่ายิ่งนัก และไม่ค่อยจะเปิดเผยตัว ผมเองไปพบแบบไม่ได้ตั้งใจจะไป ผมไปชมค่ายเนินวงเพื่อเอามาเขียนในเรื่องจันทบุรี ในหนังสืออร่อยทั่วไทยไปกับ ปตท. (เวลานี้ ปตท. พิมพ์ออกมาจำหน่ายตามปั๊ม ปตท. แล้ว ๔ ภาค คลขาดภาคตะวันออกกับกรุงเทพ ฯ ) ไปพบพิพิธภัณฑ์อยู่ห่างจากประตูเข้าค่ายเนินวงสัก ๕๐ เมตรเท่านั้นเอง ไปชมแล้วก็คุ้มค่า อย่างน้อยได้รู้จักเรือสำเภาว่ารูปร่างที่จับต้องได้นั้นเป็นอย่างไร และยังมีเรือแบบต่าง ๆ ที่มีในประเทศไทยจำลองเอาไว้ให้ชมอีกด้วย ส่วนสำเภานั้นมีขนาดเท่าเรือจริง หากลงน้ำก็จะลอยได้ แต่ไม่ได้ลอยเท้งเต้งในน้ำเหมือนที่เมืองโบราณ ผมไปชมเรือที่เมืองโบราณ ชมที่พิพิธภัณฑ์พาณิชย์นาวีแล้วก็ต้องรีบวิ่งมาดูที่วัดยายนาวาอีกที เคยเห็นที่วัดยานนาวามานานเต็มทีคงจะเห็นตั้งแต่ยังหนุ่ม ๆ กระมัง เพราะไม่ค่อยได้ผ่านไปด้วย
           วัดยานนาวา  เป็นวัดตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เรียกกันว่า วัดคอกควาย ครั้นมาถึงสมัยกรุงธนบุรีได้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง มีพระราชาคณะปกครอง ชื่อวัดคอกควาย ดูจะเป็นวัดบ้านนอกไปหน่อยจึงเรียกเสียใหม่ว่า วัดคอกกระบือ แต่ก็ไม่ได้ปฎิสังขรณ์สิ่งใด จนถึงแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างพระอุโบสถอยู่ด้านริมแม่น้ำเจ้าพระยา
            ครั้นถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ปฎิสังขรณ์วัดคอกกระบือ เมื่อปฎิสังขรณ์พระอุโบสถแล้ว ใคร่จะทรงสร้างพระเจดีย์เพิ่มขึ้น แต่มีพระราชดำริว่าจะสร้างเป็นพระสถูปหรือพระปรางค์ ก็มีสร้างกันมากมายหลายวัดแล้ว น่าจะหาแบบมาสร้างให้แปลกออกไป มีพระราชปรารภว่าแต่โบราณมา เรือที่ไปค้าขายกับต่างประเทศก็ล้วนแต่ใช้เรือสำเภา ครั้นต่อมาความนิยมเปลี่ยนแปลงไป คนหันไปต่อเรือกำปั่นใบอย่างพวกฝรั่งมากขึ้น ด้วยเห็นว่าลักษณะการใช้งานดีกว่าเรือสำเภาจีน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นการเปลี่ยนแปลงเช่นนั้น ได้ทรงพยากรณ์ว่า ต่อไปเมื่อเรือสำเภาหมดคนนิยมแล้วก็จะสูญไป และต้องไม่ลืมว่าก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชสมบบัตินั้น ทรงเป็นเจ้านายที่นิยมการค้าขายกับต่างประเทศ และไปค้าขายด้วยเรือสำเภา จนรัชกาลที่ ๒ โปรด ฯ เรียกว่า "เจ้าสัว" มีเงินทองมากจนเอามาถวายช่วยชาติบ้านเมืองได้ ดังนั้นพระองค์ท่านต้องเสียดาย หากวันหนึ่งเรือสำเภาจะสูญไป จึงได้พยากรณ์ไว้
            เมื่อมีพระราชปรารภแล้ว ได้มีพระราชดำริหาแบบอย่างพระเจดีย์ที่จะสร้างไว้ที่วัดคอกกระบือ ทรงระลึกถึงบารมีธรรม ซึ่งพระเวสสันดรได้อุปมาเอาไว้ ดังที่ได้ยกมาให้อ่านแล้ว จึงโปรด ฯ ให้สร้างพระเจดีย์มีฐานเป็นเรือสำเภาขนาดเท่าเรือสำเภาจริง ขึ้นไว้ที่วัดคอกกระบือตรงด้านหลังของพระอุโบสถ (ความจริงสมัยนี้ต้องเรียกว่าอยู่หน้า เพราะตอนสร้างถนนเจริญกรุงยังไม่ตัดผ่าน วัดหันหน้าลงแม่น้ำ) แล้วมีพระราชดำรัสว่า "คนภายหน้าอยากจะเห็นว่าเรือสำเภาเป็นอย่างไรจะได้มาดู"
            เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงโปรด ฯ ให้ขนานนามพระอารามว่า "วัดยานนาวา" เมื่อเข้าประตูวัดเข้าไปแล้วจะมี อาคารมหาเจษฎาบดินทร์ หอพระไตรปิฎก ส่วนเรือสำเภาอยู่ตรงกลาง ด้านหลังคือพระอุโบสถ ท่าน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา เห็นตึก เห็นสะพานข้ามแม่น้ำงดงามอย่างยิ่ง และทางด้านหน้าเป็นศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
            ทางเข้าหรือขึ้นเรือสำเภา เข้า ทางประตูหัวเรือ ขึ้นไปแล้วก็ขึ้นไปยังท้ายบาหลีหรือเก๋งจีนท้ายสำเภา ซึ่งมีห้องท้ายสำเภาในห้องนี้ จะมีรูปพระเวสสันดรโพธิสัตว์ กับรูปชาลีกัณหา และคำจารึกประดิษฐานอยุ่ที่ห้องท้ายบาหลี และมีพระไตรปิฎกหินอ่อนเพื่อเสี่ยงทายไว้ ให้ทำการอธิษฐานแล้วยกเสี่ยงทาย ต้องลองยกสองครั้งแหละแน่นอนดี ลแงเสี่ยงทายดู แล้วยกพระไตรปิฎกหินอ่อนยกขึ้นก็จะสำเร็จดังเราปรารถนา
            นอกจากนี้ในห้องเก๋งท้ายเรือแห่งนี้ยังมี พระพุทธรูป และรอยพระพุทธบาทจำลองอยู่ด้วย ส่วนในเรือก็มีพระเจดีย์ซึ่งเปรียบเหมือนเสากระโดงเรือ
            หาโอกาสไปวัดยานนาวาที่เก่าแก่วัดหนึ่งของกรุงเทพ ฯ ให้ได้สักครั้ง จะเห็นว่ารัชกาลที่ ๓ นั้นทรงโปรดที่จะบูรณะปฎิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ ไว้มากมาย และจะไปควบคุมการก่อสร้างอย่างใกล้ชิดด้วย เช่นที่วัดยานนาวา ตอนสร้างสำเภา ทรงโปรด ไปกำกับการก่อสร้างและโปรดให้สร้างศาลาเล็ก ๆ ประทับได้พระองค์เดียว อยู่ทางใต้ของเรือสำเภา ปัจจุบันศาลาน้อยนี้ยังเก็บรักษาไว้อย่างดี เป็นศาลาที่พระองค์จะมาประทับเวลามาดูการก่อสร้าง "เรือสำเภา"
           ทีนี้พาไปกินอาหารจีน
            เส้นทาง หากตั้งต้นจากสถานีรถไฟหัวลำโพง สมมุติลงมาจากทางด่วนที่อยู่ข้างสถานีรถไฟหัวลำโพง ให้ตรงมาอย่าเลี้ยวไหน ผ่านสี่แยกตรงเข้าถนนมหานคร ตรงต่อไปผ่านสี่แยกมหานคร (เลี้ยวขวาไปสี่พระยา เลี้ยวซ้ายมาสามย่าน) ผ่านสี่แยกมาประมาณ ๒๐๐ เมตร ทางขวามือมี เจริญกรุงซอย ๔๓ หากไม่ใช่วันหยุดราชการให้เลี้ยวขวาเข้าซอยนี้ ตรงไปจนถึงทางด่วนแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าที่จอดรถ หากเป็นวันหยุดจอดรถหน้าร้านได้ เป็นบ้านโบราณที่ดัดแปลงภายในเสียสวยงาม
            อาหารทะเลร้านนี้ส่วนมากจะสดมาก เพราะจะตายตอนที่เราไปชี้หรือตอนเราสั่งอาหาร เช่น กุ้งหรือปลาเก๋าเป็นต้น อาหารจานเด็ด มีทั้งอาหารเวียดนามและอาหารจีน
            สั่งอาหารเวียดนามมาชิมเสียก่อน . -
            ต้นหอมม้วนทรงเครื่อง ใช้ต้นหอมพันห่อกุ้ง แต่กุ้งนั้นเหนียวหนึบ ราดด้วยน้ำจิ้มแครอท
            แหนมเนือง ยังกับแดง แหนมเนืองที่หนองคาย ผักสดจัดใส่ตะกร้าน้อยมาสวยน่ากินนัก
            ขนมเบื้องญวน สีเหลืองนวล ไส้อร่อย แป้งบาง กรอบ จิ้มอาจาด
            หากอยากกินก๋วยเตี๋ยวญวน หรือ "เฝอ" ของเขาก็มี แต่อย่าเผลอไปสั่งคนละชามเพราะชามโตและอาหารเวียดนามนั้นจะมาเร็ว กินเร็วจะอิ่ม ตอนอาหารจีนรสเลิศมา เนื้อที่ในพุงจะลดลง
            อาหารจีน . -
            ปลากะพงยัดไส้ แล่เนื้อปลาออกจนติดหนัง บดกุ้งกับเนื้อปลาจนเหนียว แล้วเอาไปนึ่ง แล้วนำมาทอด ราดด้วยน้ำซ๊อส แล้ววางมาบนหนังปลากรอบอีกที มีเห็ดหอม ผักกวางตุ้ง เนื้อกุ้งผสมปลาจะเหนียวหนึบ จานนี้อย่าพลาด อย่าโดดข้ามไปเป็นอันขาด
            ปูผัดผงกะหรี่ ผัดกับนมสด จึงมันอร่อยนัก ปูก้ามโต กลิ่นกะหรี่หอมกรุ่น
            หัวปลาต้มเผือกหม้อไฟ  ได้ซดร้อน ๆ กลิ่นเผือกหอมน่ากิน รวมทั้งเนื้อเผือกด้วย
            ผักกะเฉดผัดน้ำมันหอย ได้กินผักผัดกรอบ
            ข้าวผัดปู อย่าลืมต้นหอมกินกับข้าวผัดร้อน ๆ เข้ากันนัก แล้วซดหัวปลาตามเข้าไป
            อีกจานที่ต้องสั่งคือ ปลาเก๋าน้ำแดง สั่งเมื่อไร ปลาเก๋าจะตาย ๑ ตัว เพราะปลาเป็น ๆ ยังว่ายอยู่ในตู้ ตายเมื่อสั่ง อร่อยหลาย
            เต๋าเต้ย ของเขาก็มี เต๋าเต้ยคือปลาจารเม็ดเทาเกือบดำ มีในทะเลลึก ทะเลน้ำตื้นไม่มีแล้ว จับยาก จึงหากินยาก ปลาจะตัวโตร่วมกิโลกรัมหรือมากกว่านี้ ราคาขนาดตัวที่หนัก ๑ กก. ก็ประมาณ ๑,๐๐๐ บาท จะกินเต๋าเต้ย ก็ทำตัวเป็นคนรวยกัน ๑ วัน สั่งมาสดให้ชื่นใจ "เต๋าเต้ย ต้มบ๊วย" เป็นได้ซดชื่นใจแน่นอน
            ของหวาน . -
            เผือกหิมะ  เอาเผือกที่หั่นเป็นชิ้น ทอดจนสุกลอยขึ้นมาแล้วพักให้น้ำมันแห้ง เคลือบน้ำตาลทราย จนเหนียว แล้วเอาเผือกที่ทอดแล้วลงคลุกน้ำตาลทราย เกล็ดน้ำตาลจะเกาะเป็นเกล็ดสีขาวเหมือนหิมะ ใครกลัวน้ำตาลในเส้นเลือดสูงอย่าไปสั่งมากินเข้า หวานหอมจับใจ
            หรือสั่งวอแป๋ง ไส้ครีม หรือวอแป๋งไส้พุทรา หวาน อร่อย แป้งกรอบดีนัก

........................................................................

| บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์