ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

เมืองหนองคาย

            ผมไม่ได้ไปหนองคายเกือบสิบปี พอไปคราวนี้แทบจะจำไม่ได้ เพราะเปลี่ยนแปลงไปมาก คงจะเป็นเพราะประสบความสำเร็จจากการสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว  ข้ามแม่น้ำโขงจากฝั่งไทยไปสู่นครเวียงจันทน์ได้ แต่ดูเหมือนสะพานนี้ ทางลาวนั้นคงจะใช้ไม่คุ้มค่า  เพราะไปห้ามรถนักท่องเที่ยว  เที่ยวไทยข้ามไปฝั่งลาว  หรือจะขออนุญาติข้ามได้ก็ต้องไปด้วยความยากลำบาก  ซึ่งการไปเที่ยวนครเวียงจันทน์ซึ่งอยู่ห่างไปไม่กี่กิโลเมตร นั้นเมื่อข้ามไปแล้วจะต้องใช้บริการของรถทางลาว  จะเอารถขับปร๋อเข้าไปเหมือนขับไปมาเลย์เซีย หรือสิงค์โปร์ไม่ได้  ลาวไม่ให้ความสดวกต่อนักท่องเที่ยว  ลาวก็ขาดรายได้ก้อนใหญ่ไปเอง  เพราะคนไทยนั้นในยุคนี้เป็นนักท่องเที่ยวที่ยิ่งใหญ่  ขนเงินออกนอกประเทศไม่รู้ว่าปีละเท่าใด  ยิ่งคนไม่เคยไปเมืองนอกไปเจอทัวร์น้ำเน่าจัด ๑๐ วัน ๔ ประเทศอย่างนี้  ไม่ได้เห็น ได้รู้อะไรนอกจากขนเงินไปจ่ายลูกเดียว  ในยุคเงินบาทลอยละล่อง (ผมเขียนวันนี้ในปี ๒๕๔๐ พึ่งมีรัฐบาลใหม่เอี่ยม) ทำให้นักท่องเที่ยวไทยหัวหด  ออสเตรเลียประกาศเลยว่าคนไทยหายไป ๖๐%  บริษัททัวร์ในเมืองไทยพังไปตาม ๆ กัน  ร้านค้าที่มีคนไทยขายในปารีสแทบจะปิดร้านเพราะขาดคนไทยไปอุดหนุน  ดังนั้นปีอเมสซิ่งไทยแลนด์นั้นกำลังจะมาในปี ๒๕๔๑ นี้ จะต้องโหมประชาสัมพันธ์เรียกคนต่างประเทศเข้ามา  และคนไทยต้องพร้อมรับไม่ว่าจะเป็นที่พัก  ร้านอาหาร  ร้านขายของที่ระลึกจุดท่องเที่ยวที่สำคัญๆ ต้องพร้อม  จึงจำเป็นต้องประชาสัมพันธ์ให้ภายในประเทศทราบด้วย  ผมได้รับเชิญและรับเขียนใน "ธุรกิจการท่องเที่ยว" ของ กทท. ก็เลยขอคุยด้วยคนคุยเอาไว้ตรงนี้  มีของดีต้องโชว์ ต้องใช้ อย่าเอาอย่างลาว  มีสะพานแล้วไม่รู้จักใช้  อาจจะรวมถึงพม่า (ไม่ได้ว่าเมียนม่า) ด้วยที่เดี๋ยวก็ให้เอารถข้ามสะพานไปฝั่งเมียววดีที่แม่สอด  หรือข้ามไปท่าขี้เหล็ก  ทางเชียงรายได้  วันอารมณ์ไม่ดีห้ามข้ามทั้งรถ ทั้งคน ใครจะไปเที่ยวถูกใจหม่องเล่า

            หนองคาย เป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง  ตรงข้ามกับท่าเดื่อของลาว  ห่างจากเมืองเวียงจันทน์ ๒๔ กม.  หนองคายมี ๑๐ อำเภอ ๒ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองหนองคาย  บึงกาฬ  โพนพิสัย  ศรีเชียงใหม่  เพกา  ท่าบ่อ  โซ่พิสัย  พรเจริญ  ปากคาด  และกิ่งอำเภอบึงโขงหลง กับกิ่งศรีวิไล  เมื่อก่อนนี้ไปเวียงจันทน์จะไปข้ามเรือที่อำเภอศรีเชียงใหม่  จะข้ามไปตรงเวียงจันทน์พอดี
            เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๙  เจ้าอนุวงศ์ผู้ครองนครเวียงจันทน์เป็นกบฏ  ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาราชสุภาวดี  ยกกองทัพไปปราบ  กองทัพไปตั้งชุมพลอยู่ที่บ้านบกหวาย  ห่างตัวเมืองในปัจจุบันนี้ ๑๒ กม. ในการปราบกบฏครั้งนี้  กองทัพได้รับความร่วมมือจากเจ้าเมืองน้อยใหญ่เป็นอันมาก  จนได้รับชัยชนะยึดนครเวียงจันทน์ไว้ได้  เจ้าเมืองที่มาช่วยรบ ต่างก็ได้รับการปูนบำเหน็จรางวัลตอบแทนกันโดยทั่วถึง ในจำนวนนี้มี "ท้าวสุวอ" นามเดิมว่าบุญมา ทำความดีความชอบมาก แม่ทัพคือพระยาราชสุภาวดี  ซึ่งบัดนี้ได้รับการโปรดเกล้า ฯ ให้เป็น "เจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต" ได้ท้าวสุวอ  เลือกที่สร้างเมืองขึ้นมาใหม่ เพื่อปกครองชุมชนใหญ่ ๆ ๔ แห่งคือ พานพร้าว  บ้านไผ่  เวียงคุก และบางปะโค ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกันทั้ง ๔ ชุมชนจะสร้างที่ไหนก็ได้  ท้าวสุวอได้เลือกสร้างเมืองขึ้นที่บ้านไผ่  และในปี ๒๓๗๐ ก็ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ท้าวสุวอ (บุญมา) เป็นพระปทุมเทวาภิบาล และยกบ้านไผ่เป็นเมืองชื่อว่าเมือง "หนองคาย" มีพระปทุมเทวาภิบาล  เป็นเจ้าเมืองคนแรก  และมีเจ้าเมืองสืบต่อกันมาอีก ๒ คน คือ  พระยาวุฒธิคุณ (เคน ณ หนองคาย)  ซึ่งเป็นบุตรของ พระเทวาภิบาล และพระยาปทุมเทวาภิบาล ( เสือ ณ หนองคาย ) เป็นบุตรของพระยาวุฒธิคุณ
            ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้โปรดให้ยกเลิกระบบเจ้าเมือง  ให้เปลี่ยนเป็นการปกครองแบบจังหวัด  มีข้าหลวง (ผู้ว่าราชการจังหวัด) เป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ฯ และในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ทรงสถาปนาเมืองหนองคายเป็น จังหวัดหนองคาย
            การเดินทางไปหนองคายในปัจจุบันสดวกมาก  ไปรถไฟก็ได้  ไปเครื่องบินก็ลงที่อุดร  แต่ผมชอบไปรถยนต์ เพราะถนนในภาคอิสานนั้นขยายได้รวดเร็วยิ่งกว่าภาคอื่น ๆ  น่าจะเป็นเพราะการให้ความร่วมมือของประชาชน ที่เห็นความสำคัญของถนนมาตั้งแต่ยุค จอมพลสฤษด์  ธนรัชต์  ผ่าตัดอิสานด้วยการสร้างถนนเป็นการใหญ่  เป็นผลให้ผลผลิตไหลออกมาจากภาคอิสาน เกินกว่าที่ประมาณการไว้หลายเท่า  เพราะคนอิสานนั้นขยันอย่าบอกใคร กิน-อยู่ก็ง่ายด้วย  เมื่อจะขยายถนนจาก ๒ เลน เป็นถนน ๔ เลน ๖ เลน สังเกตุดูแล้วเห็นว่าทำได้รวดเร็วกว่าภาคอื่น  และคงเป็นถนนไม่ต้องตัดไปตามภูเขา  แค่ที่ราบสูง  ทุ่งนา  มีมากเวนคืนง่าย  แต่ป่านั้นโดนพวกจัญไรโค่นถางไปเสียแทบหมดแล้ว  ต้องมาเริ่มปลูกกันใหม่  ผมทำงานด้านยุทธศาสตร์พัฒนาในแนวชายแดนของภาคนี้อยู่ถึง ๕ ปี พอจะทราบอะไรดี ๆ พอสมควร
            ทางรถยนต์หากไปจากกรุงเทพ ฯ ถึงสระบุรี  เลี้ยวขวาไปนครราชสีมา  ตรงไปจนถึงนครราชสีมาแล้วแยกซ้ายไปทางจอ-หอ ผ่านบ้านไผ่  ขอนแก่น  อุดรธานี  แล้วแยกเข้าถนนเลี่ยงเมืองไปอีก ๖๔ กม. ก็จะถึงหนองคาย  โดยไม่ต้องผ่านเข้าตัวเมืองอุดร  จากหนองคายหากไป อำเภอศรีเชียงใหม่ก็ไปอีก ๔๕ กม. หรือนึกสนุกเที่ยวกลับ  แต่ไกลหน่อยจะวิ่งกลับมาทาง อำเภอบึงกาฬ  มานครพนม  ธาตุพนม  แวะกินหมูหันที่หว้านใหญ่ (แก่งกะเบา)  แล้วมามุกดาหาร  กลับมาทางอำนาจเจริญ  ยโสธร  ตัดเข้าศรีษะเกษ  สุรินทร์  บุรีรัมย์  นครราชสีมา  ก็จะเป็นการอ้อมที่วิ่งรถสนุกดี  ทางดีตลอดไกลไปสัก ๒๐๐ กม.คงจะได้  ส่วนไปทางเส้นหลักที่ผ่านขอนแก่นนั้นเร็วมาก ระยะทางประมาณ ๖๒๐ กม.  จะไปได้เร็วมาก  เพราะถนนสี่เลนเกือบตลอดระยะทางและรถไม่มาก  หากเทียบกับสายเหนือ หรือมาทางถนนสาย โชคชัย-เดชอุดม
            จังหวัดที่อยู่ริมแม่น้ำโขง หรือริมแม่น้ำต่างๆ จะมีความเจริญตามแนวแม่น้ำ  เป็นทางยาวขนานไปกับแม่น้ำแทบจะทุกจังหวัด  ทำให้จำเส้นทางในตัวเมืองได้ง่าย  วิ่งรถกันสัก ๒ รอบ ก็จำเส้นหลักได้หมดแล้ว  หาแม่น้ำให้เจอ  แล้วเริ่มที่ถนนเส้นเลียบแม่น้ำเสียก่อน  หนองคายก็เช่นกัน  ถนนเลียบแม่น้ำโขง  แล้วมาถนนมีชัย  ถนนประจักษ์  และถนนสายหนองคาย - โพนพิสัย ทั้ง ๔ สายนี้ขนานกัน  ความเจริญอยู่ใน ๔ สายนี้
            ไปคราวนี้พักที่โรงแรม หนองคายแกรนด์ธานีโฮเตล  อยู่ริมถนนสายไปโพนพิสัย เป็นโรงแรมหรูทีเดียว  ราคาถูกมากบอกว่าช่วงเงินฟุบนี่ลดอุตลุตเหลือคืนละ ๖๐๐ บาท  หากกินอาหารเช้าด้วยดิดอีกหัวละ ๑๐๐ บาท  ผมกินอาหารเช้ามื้อเดียว  เพราะอาหารน้อยลง  และอยากไปหาอาหารเช้าพื้นเมืองกินมากกว่า  พนักงานที่ลงมาต้อนรับเป็นทหารบกเก่าระดับ "นายสิบ" แต่งสูทโก้  ผิดกับเด็กยกกระเป๋าทั่วไปและก็ทราบว่าผมเป็นใคร  เพราะจองห้องพักมาล่วงหน้า (๐๔๒- ๔๑๒๐๒๖) พอมาสวัสดีก็แนะนำตัวว่าลาออกจากทหารมานานแล้ว  เวลานี้มีตำแหน่งสูงระดับเฉียด ๆ ผู้จัดการ  แต่เนื่องจากทางโรงแรมปลดพนักงานออกไปครึ่งหนึ่งประมาณ ๑๕๐ คน  ตัวเขาเลยทำหน้าที่ตั้งแต่สากกระเบือยันเรือรบ  คือเป็นตั้งแต่ผู้ช่วยผู้จัดการลงมาถึงพนักงานยกกระเป๋า  ทำให้ต้องจ่ายค่าทิปสูงกว่าปกติโดยใช่เหตุ  ห้องพักดีมากได้ห้องริมยิ่งดีใหญ่มีระเบียงรอบ  ระเบียงนั้นมีทุกห้องแต่ห้องมุมก็เลยแยะหน่อย  เอาไว้ออกมาสูดอากาศยามเช้า  วันที่ไปนั้นฝนอั้นมาแล้วหลายวันอากาศหนักเหลือเกิน  ออกมาสูดอากาศยามเช้าเลยหนักไปด้วย  พออีกวันฝนตกลงมาอย่างหนักในตอนกลางคืน  คราวนี้ออกไปสูดอากาศได้สดชื่นเต็มปอดเลยทีเดียว
            เดิมตั้งใจว่าไปคราวนี้จะข้ามไปเยี่ยมเวียงจันทน์ด้วย  เพราะไม่ได้ไปมาหลายปีมาแล้วร่วม ๓๐ ปี  แต่พอทราบกรรมวิธีของเขา กรณีเอารถไปเองยุ่งยากมาก  เลยไม่ไปดีกว่า  ไปกับทัวร์ไปเช้า - เย็นกลับ ก็มี แต่ควรจองมาล่วงหน้าเพราะต้องทำใบผ่านแดนทั้ง ๆ ที่มีหนังสือเดินทางก็ตาม  เอาไว้ไปคราวหลัง จะจองทัวร์ไปหลวงพระบาง ดูจะคุ้มค่ากว่าไปแค่เวียงจันทน์  ที่เริ่มมีความเจริญแล้ว
            ออกจากกรุงเทพ ฯ ประมาณ หกโมงเช้ายังไม่ทันถึง ๔ โมงเย็นก็ถึงหนองคาย  แวะกินอาหารกลางวันที่ อำเภอบ้านไผ่ ร้าน "โสเจ๊ง" ถ้าจะให้แปลชื่อร้านคงแปลตามภาษาท้องถิ่นว่า  เจ็งเป็นเจ๊ง ทำนองนี้  ร้านนี้อยู่ใกล้ปั๊มคาร์ลเทกซ์ ถนนไปมหาสารคาม  หาง่ายอาหารดีใช้ได้ทีเดียว  โดยเฉพาะคอหมูย่างเด็ดไปเลย  ถึงอุดรไม่ได้เข้าเมือง  ออกถนนเลี่ยงเมืองตรงไปหนองคาย  พอเข้าที่พักเสร็จยังไม่เย็นถามเขาดูว่าตลาดอินโดจีนไกลไหม  เขาบอกว่าห่างจากโรงแรมประมาณ ๒๐๐ เมตร  ไปที่ถนนเลียบแม่น้ำโขง  จอดรถในวัดศรีเมืองจะสดวก  ตัวตลาดคงตั้งเลียบถนน  มีความยาวมากกว่าตลาดอินโดจีนที่มุกดาหาร และของขายมากกว่า  เขาว่ามีทั้งสินค้า  รัสเซีย  จีน  เวียตนาม  แต่สินค้าลาวคงจะหายาก  ส่วนราคานั้นถือว่าดี ไม่รู้ว่าเขาเคยอ่านที่ผมเขียนติตลาดอินโดจีนที่มุกดาหารหรือเปล่า  เพราะหากที่มุกดาหารไม่แก้ไขจะฆ่าตัวตาย  คือบอกราคาผ่านเสียจนคนที่มีสตางค์  มีกำลังซื้อแยะและพอจะรู้ราคา  แต่เขาต่อไม่เป็นพวกนี้  เช่นผมเป็นต้น เมื่อถามราคาแล้วเห็นราคาเกินกว่าเหตุก็ไม่ต่อ  ไม่ซื้อจบเรื่องกันไป  แต่ตลาดอินโดจีนที่หนองคายนี้ถือว่าใช้ได้  เพราะราคาเกือบไม่บอกผ่านและพอฟังราคาก็รู้ว่าถูกจริง  จึงซื้อได้เลยไม่ต้องต่อกันให้เสียอารมณ์  สินค้ามีจิปาถะ  เครื่องไฟฟ้าก็มี  ของกินก็มี  น้ำลูกพรุน  ที่นี่ขวดละ ๘๐ บาท แพงกว่าใต้ทางด่วนหน้าตลาดฮ่องกงถึงขวดละ ๑๕ บาท (ตลาดฮ่องกง ราคาโหลขวดละ ๖๕ บาท) สินค้าเวียตนามรู้จักอย่างเดียว คือ หมูยอ  แต่คงจะทำโดยชาวเวียตนามที่อพยพเข้ามาอยู่หนองคายนานร่วม ๔๐ ปีแล้ว  จนรุ่นอพยพคงจะตายไปแยะแล้ว ที่อยู่ทุกวันนี้ระดับลูกหลาน  เกิดในเมืองไทย  กลายเป็นสัญชาติไทยไปหมด  ให้รู้จักรักชาติไทยด้วยก็พอแล้วกัน  อย่ากลายเป็นชาติพันธุ์ใหม่ที่อาศัยอยู่ในเมืองไทยเป็นใช้ได้
            ตลาดอินโดจีนไป ๒ ครั้ง ไปวันแรก ทดลองซื้อจริงบ้าง เล่นบ้าง ที่ชอบใจคือยาสีฟันจากจีน ซื้อมาหลายที่ ยี่ห้อไม่ตรงกัน (อ่านไม่ออกหรอก) ดูจากรูปข้างๆหลอด  คราวนี้ภาษาอังกฤษบอกว่าจากเซี่ยงไฮ้  หลอดละ ๒๕ บาทใช้ได้  เคยซื้อทั้งที่แม่สาย  ปักษ์ใต้  มุกดาหาร  เพราะราคาถูกและใช้ดีเหมือนยี่ห้อชื่อฝรั่งแต่ราคาแพงกว่าสี่เท่า  เลยถือโอกาสบอกไว้  เพื่อนผมที่ไปด้วยกันคนหนึ่งซื้อ ๒ หลอด และไปทดลองใช้รุ่งขึ้นชวนไปซื้อใหม่  อีกคนรอฟังผลก่อนว่าหากกลับไปกรุงเทพ ฯ แล้ว ๒ คนนี่ฟันดี  ฟันไม่ร่วงหมดปาก จะหาทางสั่งซื้อบ้าง

            วัดโพธิ์ชัย  หากเป็นพุทธศาสนิกชน  ต้องไปให้ได้เพราะ "พระใส" พระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองหนองคาย อยู่ที่วัดโพธิ์ชัย  บอกทางไปไม่ถูกแต่รู้ว่าหาไม่ยาก วน ๆ ในเมืองเดี๋ยวก็เจอหรือให้สามล้อนำไป ประวัติของหลางพ่อพระใส คือ  ท่านมีด้วยกันสามองค์  หล่อพร้อมกัน ได้แก่ พระสุก  พระเสริม  พระใส ประวัตินั้นไม่แน่นอน ในลักษณะตำนาน กล่าวคือ หลวงพ่อทั้ง ๓ องค์นี้  หล่อในประเทศลานช้าง  โดยมีพระราชธิดา ๓ องค์ แห่งกษัตรย์ลานช้างเป็นเจ้าศรัทธา  บ้างก็ว่าเป็นธิดาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช โดยพระราชธิดา มีพระนามว่า สุก เสริม และใส   เมื่อสร้างพระแล้วโดยมีขนาลดหลั่นกันตาลำดับ และขนานนามพระพุทธรูป ๓ องค์ โดยฝากพระนามของตนไว้  คือ พระสุก ประจำพระองค์โต พระเสริม องค์กลาง และพระใส องค์เล็ก เมื่อสร้างแล้วก็ประดิษฐานไว้แห่งเดียวกัน และที่ได้เรื่องราวแน่นอนคือ ตอนที่มาประดิษฐานอยู่ที่เวียงจันทร์ นานเท่าไรไม่ปรากฏ ตราบจนถึง พ.ศ. ๒๓๒๑ ในรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้โปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตรย์ศึก เป็นจอมทัพไปตีเวียงจันทน์  ทางเวียงจันทร์จึงอัญเชิญพระพุทธรูปไปไว้เสียที่เมืองเชียงคำ (เมืองตุลาคม)  ครั้นต่อมาอัญเชิญกลับมาไว้ที่วัดโพนชัยเวียงจันทร์อีก
            ในรัชกาลที่ ๓  เจ้าอนุเวียงจันทน์เป็นกบฏ จึงโปรดให้ไปปราบและอัญเชิญพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ มายังหนองคาย แต่ไม่ได้อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์โดยตรง มาจากภูเขาควาย โดยชาวเมืองเอาไปซ่อนไว้วิธีเชิญมาก็นำประดิษฐานบนแพไม้ไผ่ ล่องลงมาตามลำน้ำงึม แต่พอถึงบ้านเวินแท่น ปรากฎว่าแท่นพระสุกแหกจมลงไปในน้ำ แต่แท่นพระเสริม และพระใสกับติดไปกับแพได้  โดยแพไม่ล่ม ได้อัญเชิญต่อมาจนถึงปากน้ำงึม ล่องสู่ลำโขง มาขึ้นที่หนองคาย  พระเสริมไปประดิษฐานไว้ที่วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใสไว้ที่วัดหอก่อง (วัดประดิษฐธรรมคุณ)  จนมาถึงรัชกาลที่ ๔ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ขุนวรธานี อัญเชิญพระเสริมจากวัดโพธิ์ชัยลงไปกรุงเทพ ฯ  ส่วนขุนวรธานี เมื่อมาถึงหนองคาย ได้ทราบว่า พระใส คู่มากับพระเสริม จึงได้อัญเชิญพระใส ขึ้นเกวียนจากวัดหอกล่อง เพื่อนำมายังวัดโพธิ์ชัย ไม่สามารถลากเกวียนให้เคลื่อนที่ต่อไปได้ ไม่ว่าจะช่วยกันลากจูงอย่างไรก็ตาม  สุดท้ายเกวียนหัก และเมื่อเปลี่ยนเกวียนใหม่ก็ลากไม่ไปอีก จนต้องอธิฐานนิมนต์หลวงพ่อประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย ไม่อัญเชิญไปกรุงเทพ ฯ แล้ว  คราวนี้ใช้คน ๕ คน ลากเกวียนได้ อัญเชิญลงจากเกวียนสู่อุโบสถได้  ส่วนพระเสริมก็อัญเชิญมากรุงเทพ ฯ อยู่ที่พระวิหารวัดปทุมวนาราม
            อนึ่งหน้าโบสถ์พระใส  นั้นมีพระธาตุใหญ่  ชาวเมืองเรียกว่าธาตุยักษ์หรือธาตุกำพร้าผีน้อย ถือว่าบันดาลความสวัสดีให้ได้ โดยเฉพาะเมื่อเจ็บป่วย หรือจะเดินทางไปนมัสการพระใสแล้วก็นมัสการพระธาตุใหญ่เสียด้วย  ดอกไม้ธูปเทียนมีจำหน่ายและให้บูชาที่หน้าโบสถ์ ไม่ให้เข้าไปข้างใน มีวัตถุมงคล และพระพุทธรูปหลวงพ่อใสให้เช่าบูชาที่ในโบสถ์
            ศาลาแก้วกู่  อีกแห่งที่อยู่ในเมืองและสมควรไปชมอย่างยิ่ง สร้างโดยชาวลาวชื่อ หลวงปู่บุญเหลือ สุรีรัตน์  ความจริงแล้วอายุเห็นจะยังไม่ถึงขั้นหลวงปู่ เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๔  โดยได้ศึกษาทั้งเทวประวัติ และพุทธประวัติ โดยได้จัดตั้งพุทธมามกะสมาคมขึ้นก่อน แล้วสร้างพราหมณ์ ผสมพุทธ คือมีทั้ง เทวาลัยและพุทธ เช่น เทวาลัยปางพระเจ้าปู่อิศวรและพระเจ้าย่าอุมาเทวี  เทวาลัยพระพิฆะเนศวร  เทวาลัยพระแม่คงคาเทวี  พระสิวลี  พระแม่กวนอิม  พระมหากัจจายนะเถระ  เทวาลัยปางพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ปางสังขะอสูร  ปางวรหะอวตาร  ปางวามะนาวตารปราบยักษ์  องค์พระนารายณ์  เห็นจะจารไนไม่หมดแยะเหลือเกิน  สร้างไว้ใหญ่โตมโหฬารทั้งนั้น ส่วนใหญ่ศาลาแก้วกู่ก็มีพระพุทธรูป แต่มีพระพุทธรูปเสี่ยงหายตั้งไว้ด้วย และเสี่ยงทายผิดกับแห่งอื่น ๆ คือ ต้องขอ ๒ ครั้ง  ครั้งแรกขอให้ยกขึ้น ครั้งที่ ๒ ขอให้ยกไม่ขึ้น ผมอธิฐานแล้วยกแล้ว "ยังรอผลของคำอธิฐาน" ยังบอกไม่ได้ ใครไปทดลองไปยกดู ค่าผ่านเข้าชมดูเหมือนจะเสียเหมาคันรถแค่ ๒๐ บาท  อยู่ตรงไหนบอกไม่ถูก อยู่ในเมืองนั่นแหละถามใคร ๆ ดูก็รู้จัก หนีไม่พ้นถนน ๔ สายที่ขนานกัน
            เนื่องจากการเข้าไปฝั่งลาวยุ่งยาก ผมจึงแค่โฉบไปดูตรงด่านเท่านั้นและเห็นมีบริษัทนำเที่ยวหลายบริษัท ที่จะพาข้ามไปฝั่งลาว หรือไปหลวงพระบางได้ หรือติดต่อที่โรงแรมก็ได้ เขตการท่องเที่ยวที่หนองคายมีโบชัวร์ของหนองคายแจก แม้จะไมีสวยและละเอียดนักก็ยังดีกว่าไม่มีเลย  การท่องเที่ยว ฯ ต้องมีให้ทุกเขต ทำได้และต้องทำแบบไม่เห็นแก่หน้าใครด้วย ใครดีต้องลงให้เขาหมด ส่วนสตางค์ที่จะทำโบชัวร์นั้นหาไม่ยาก จากโรงแรม  จากร้านอาหาร  จากบริษัทนำเที่ยว  จากร้านขายของที่ระลึก เอาแค่นี้ก็แทบจะพอทำโบชัวร์สวย ๆ วางแจกตามโรงแรมและที่สำนักงานการท่องเที่ยวของจังหวัดได้แล้ว ลงเส้นทางให้มาก ๆ ให้เขาไปถูก
            สงสัยพาเที่ยวหนองคายตอนเดียวคงไม่จบ เพราะผมไปค้นพบหนังสือเก่าแก่ในห้องสมุดของผมเองคือ "ประวัติพระธาตุบังพวน" และหนังสือประวัติพระธาตุบังพวนนี้ ที่องค์พระธาตุหรือที่ถูกต้องเรียกว่า พระบรมธาตุบังพวน ก็ยังไม่ได้พิมท์ออกจำหน่ายแจกจ่าย จึงอยากยกเรื่องของพระธาตุแยกไปเล่าไว้อีกตอนหนึ่ง ส่วนในตัวเมืองหนองคายนั้น ไปคราวนี้ได้เที่ยวแค่นี้ ตรงสะพานมิตรภาพ ก็ไปถึงเชิงสะพานไม่ได้เพราะเขาเอาด่านศุลกากร ด่านตรวจคนเข้าเมืองมาตั้งดักทางไว้ จะไปยืนถ่ายรูปที่เชิงสะพานให้เก๋สักหน่อย ก็เลยทำไม่ได้ ได้แต่ถ่ายภาพริมโขงแถวตลาดอินโดจีน ซึ่งก็พอมีวิวงาม ๆ ให้ถ่ายรูปกัน ร้านอาหารริมโขงแถวตลาดอินโดจีนหรือ ท่าเสด็จนั้นมีหลายร้านบรรยากาศดี แต่ยังหาห้องอาหารตอนเย็นที่ถูกใจไม่ได้ เย็นวันแรกที่ไปชิมนั้นสงสัยจะถูกหน้าม้าหลอกเอา เพราะที่โรงแรมเขาแนะนำให้ไปถึงสถานที่โอ่โถง สวยริมโขง แต่การบริการไม่ดี ราคาแพง อาหารไม่เอาไหนเลยเขียนไม่ได้ พอรุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งมีเจ้ามือพาไปเลี้ยงเป็นร้านเปิดใหม่ ไม่ได้อยู่ริมแม่น้ำโขง เขาพาไปเลยบอกไม่ถูกว่าไปทางไหน ตอนที่ออกจากโรงแรมไปนั้นมันมืดแล้ว อาหารดีทีเดียว และเป็นแขกรับเชิญสมาธิในการชิมไม่มี รู้แต่ว่าอร่อย อาจจะตอนปีใหม่ ๒๕๔๑ ผมจะไปอีกและคงไปอีกหลายอีก เพราะไปคราวนี้บนหลวงพ่อใสไว้ บนว่าอะไรไม่บอก แต่เวลานี้สำเร็จไปแล้วเรื่องหนึ่งผลัดหนี้ท่านไว้ก่อน เอาไว้ไปรวมแก้บนกับท่านหลาย ๆ เรื่อง ท่านคงอภัยให้คนสูงอายุ และต้องไปตามลำพังกับครอบครัว จึงจะไล่ชิมถนัด มีสมาธิในการชิม และจดจำมาเล่าให้ฟัง
            เมื่อไม่ได้ร้านมื้อเย็นขอแก้ตัวด้วยร้านมื้อกลางวันแทน เป็นอาหารเวียตนาม และมีไม่กี่อย่างแต่รับรองว่าของเขาอร่อยจริง ๆ ผมกินแหนมเนืองมาทั้งเมืองไทย เมืองเวียงจันทน์ (อยู่มาตั้งปี) ยังไม่เคยชิมแหนมเนืองและปอเปี๊ยะทอดร้านไหนอร่อยเหมือนที่นี่เลย เขามีอาหารไม่กี่อย่างจะจารไนให้ฟัง
            ชื่อร้าน แดง แหนมเนือง มีป้าย ๒ ป้าย เหนือชายคาตัวเบ้อเริ่มว่า "แดง แหนมเนือง"ป้ายใต้ชายคาหน้าร้านเช่นกัน ตัวเล็กหน่อย "เลียน แนมเนือง"  ส่วนอยู่ทางไหนคงบอกได้ว่าอยู่ถนนบรรเทิงจิต ซึ่งเป็นถนนเชื่อม ถนนมีชัย กับถนนประจักษ์ ทางที่ดีที่สุด ให้ถามเขาดูเพราะร้านนี้คนเมืองรู้จักทั้งนั้น โดยเฉพาะสามล้อให้เขานำไปดีที่สุด ดีกว่าเราวิ่งหาเอง เปลืองน้ำมันมากกว่ารางวัลสามล้อแต่ก่อน ให้สามล้อถามเขาเสียก่อน เพราะผมเจอมาแล้วที่นครสวรรค์ ออกจากโรงแรมไปกินอาหารเย็น ไปก๊งกลับมาดึกจำทางไปโรงแรมไม่ถูก เพราะอยู่ในซอยอีกที  สมัยนั้นนครสวรรค์ยังมีโรงแรมใหญ่ ส่งให้สามล้อ ๑๐ บาท (เมื่อสัก ๒๕ ปีที่แล้ว) สามล้อโดดผลุงขึ้นคล่อมอาน ขี่นำไปสัก ๒๐ เมตร แล้วเลี้ยวขวากลับหลังนำเข้าซอยโรงแรม ยอมเขาโดยดี ไม่ดู ไม่ถามเขาเอง
            ร้าน  แดงแหนมเนือง  คนจะแน่น มีห้องแอร์ด้วย เขาว่าต้องจองถ้าจะนั่งห้องแอร์ พระเอกคือแหนมเนือง เขามีจานต่าง ๆ ดังนี้  จานแรกใส่แป้งปอเปี๊ยะวางไว้ให้ห่อแหนมเนือง  จานที่สอง สารพัดผักนับได้มี ใบผักาด โหระพา ผักเสม็ด ผักไผ่ ผักแพง ใบชะพลู อีกจานมี มะเฟือง กล้วยดิบ แตงกวา ขนมจีน อีกถ้วย กระเทียมสด พริกขี้หนู อีกถ้วยเป็นน้ำจิ้มเอนกประสงค์ จิ้มได้ทุกอย่างที่วางบนโต๊ะ ความจริงเขามีใสกับข้นเพื่อจิ้มแหนมเนืองและปอเปี๊ยะ แต่ผมจิ้มมั่วไปหมด เพราะอร่อยไปหมด ทีนี้มาจานสำคัญคือ จานแหนมเนืองหมูปั้นเหนียวหนึบ เสียบไม้มา ซึ่งใครซื้อไปก็ได้ เขามีใส่กล่องให้ ชุด ๑๐ ไม้ ๑๕๕ บาท ๘ ไม้ ๑๒๕ บาท  ทีนี้ก็จัดการนำแป้งมาคลี่วาง เอาหมูแหนมเนืองวางลงไป กระเทียม มะเฟือง  กล้วยดิบ ใจกล้าก็เอาพริกขี้หนูวางเข้าไปอีก ตักน้ำจิ้มราดให้ชุ่มฉ่ำ ส่งเข้าปาก  พร้อมกันนั้นรีบคว้าสารพัดผักตามใจชอบ ส่งตามเข้าไป แล้วรีบจัดเตรียมคำที่ ๒ อย่าให้ขาดระยะ พอได้สัก ๒ - ๓ คำก็สลับ
            อาจจะไปที่ปอเปี๊ยะสด หรือ ปอเปี๊ยะทอด กรรมวิธีคล้าย ๆ กัน คือ วางผักเช่นใบผักกาดหรือจะส่งผักตามไปทีหลัง เอาแค่ปอเปี๊ยะราดน้ำจิ้มให้ชุ่มฉ่ำด้วยการแบะออกเสียหน่อยจะได้รับน้ำจิ้มได้เต็มที เมื่อส่งเข้าปากแล้วจึงตามด้วยผัก มีอาหารอยู่แค่นี้ หากสั่งเพิ่มก็มีหมูยออีกอย่าง กับขนมจีนทรงเครื่องไม่ได้ชิมของเขา อย่าลืมว่าตอนชิมแหนมเนืองนั้น ใส่เครื่องเคียงเขาให้ครบ ผมจารไนไว้หมด ผักตามทีหลัง เครื่องดื่มบางทีต้องยอมเสียสัตย์เป็นครั้งคราว คือ ดื่มกับน้ำอัดลมด้วย ดูจะเข้ากันดีกว่าดื่มน้ำเปล่า
            ไม่มีของหวาน มีแต่ผักที่เป็นเครื่องเคียง เขาเรียกว่า "พริกหวาน" เหมือนพริกขี้หนูเม็ดโต หยิบมาทั้งเม็ดกัดให้ดังกร๊อบ จะเผ็ดนิดเดียว ได้รสได้ชาติชนิดไปได้ "แดบล้ำ" ทีเดียว
            (แดบล้ำ แปลว่าสวย ไปชมสาวเวียตนามว่าเขาจะตอบว่า "ก้ำเอิง แปลว่า ขอบคุณ)
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์