ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร


            วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดสำคัญยิ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช ชาวพุทธหากไปถึงเมืองนคร หากไม่ได้ไปกราบไหว้นมัสการ พระมหาธาตุเจดีย์แห่งเมืองนคร แล้วก็เหมือนไปไม่ถึงเมืองนครฯ วัดพระมหาธาตุนั้นดั้งเดิมไม่มีพระภิกษุอยู่ประจำ เพราะครั้งแรกจัดเป็นเขตพุทธาวาส แต่มีวัดที่พระสงฆ์อยู่อาศัยรอบบริเวณรอบๆ วัดพระมหาธาตุ มีโดยรอบสี่ทิศ คือ
            ทิศเหนือ มีวัดพระเดิม ( ๒ วัดนี้รวมกับวัดพระมหาธาตุฯ แล้ว) วัดโรงช้าง (ร้าง)
            ทิศใต้ มีวัดโคกธาตุ วัดท้าวโครต วัดศพ วัดไฟไหม้ ( ๒ วัดนี้รวมกับวัดท้าวโครต) และวัดชายนา
            ทิศตะวันออก มีวัดดิ่งดง วัดธรรมาวดี และวัดสิงห์ ( ๓ วัดนี้เป็นวัดร้าง) วัดสระเรียง วัดหน้าพระบรมธาตุ และวัดหน้าราหู(รวมเข้ากับวัดหน้าพระบรมธาตุ)
            ทิศตะวันตก มีวัดพระนคร วัดแม่ชี (ร้าง) และวัดชลเฉนียน (ชายคลอง)
            ภายในวัดยังมีโบราณสถาน และโบราณวัตถุ มีพิพิธภัณฑ์มีวิหารสำคัญในวัดคือ
            พระวิหารหลวง เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา
            พระวิหารสามจอม มีพระพุทธรูป "พระเจ้าศรีธรรมโศกราช" ทรงเครื่องอย่างกษัตริย์
            พระวิหารมหาภิเนษกรรม (พระทรงม้า) นอกจากนี้ยังมีวิหารทับเกษตร วิหารเขียน และวิหารโพธิ์ลังกา ซึ่งเป็นที่จัดและแสดงโบราณวัตถุ
            เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสเมืองนครศรีธรรมราช ทรงเห็นว่าสมควรมีพระภิกษุสงฆ์มาดูแลวัดพระมหาธาตุเป็นประจำ จึงให้พระอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ได้นิมนต์พระสงฆ์จากวัดเพชรจริก ตำบลศาลามีชัย อำเภอเมือง ฯ มีพระครูวินัยธร (นุ่น) เป็นหัวหน้าให้มาจำพรรษาดูแลวัด จึงมีพระสงฆ์ประจำวัดตั้งแต่นั้นมา และได้พระราชทานนามว่า "วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร" เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร (นามเดิมคือวัดพระบรมธาตุ)
            เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ สาลวโนทยานกรุงรัตนโกสินาราราชธานีล่วงแล้วได้ ๗ วัน จึงถวายพระเพลิง แต่คงเหลือพระบรมสารีริกธาตุ บรรดาเมืองต่าง ๆ ที่นับถือศาสนาพุทธ จึงส่งฑูตมาเพื่อขอพระบรมสารีริกธาตุจากกษัตริย์มัลลกษัตริย์ ๆ จะไม่ยอมแบ่ง แต่โฑณพราหมณ์ได้ชี้แจงให้เข้าใจ และขอให้มีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่ฑูตทั้ง ๗ เมืองที่มาขอ กษัตริย์มัลล ฯ จึงยอมแบ่งและให้โฑณพราหมณ์เป็นอธิบดี (ประธาน ฯ) ในการจัดสรรแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
            ในขณะนั้นมีพระอรหันต์องค์หนึ่ง นามว่าพระเขมเถระ ได้เข้าญาณสมาบัติทราบด้วยอนาคตญาณว่า ต่อไปพระพุทธศาสนาจะเจริญในภาคกลาง ภาคใต้ของชมพูทวีป (อินเดีย) และจะเคลื่อนย้ายไปสู่สุวรรณทวีป (ประเทศไทยปัจจุบัน) พระเถระจึงเข้าไปขออัญเชิญพระทันตธาตุ คือพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวา และพระเขี้ยวแก้วเบื้องซ้ายมาอย่างละ ๑ องค์ จากนั้นได้นำไปถวายพระเจ้าพรหมทัต กษัตริย์แห่งแคว้นกลิงคราษฎร์ ซึ่งกำลังมีอำนาจมากในอินเดียตอนกลาง และพระเจ้าพรหมทัตไม่ได้ส่งฑูตมาขอพระบรมสารีริกธาตุจากมัลลกษัตริย์
            พระทันตธาตุทั้ง ๒ องค์นั้น ได้ประดิษฐานและเคลื่อนย้ายไปยังนครต่าง ๆ เป็นเวลาถึง ๘๐๐ ปีเศษ จนครั้งหลังสุดได้มาประดิษฐานอยู่ที่เมือง "ทันทบุรี" ซึ่งมีพระเจ้าโคสีหราช เป็นเจ้าเมืองนคร ครองเมืองและมีพระมเหสีชื่อนางมหาเทวี มีพระราชบุตรีชื่อ เหมชาลา และพระราชบุตรชื่อ ทันทกุมาร
            ประมาณ พ.ศ. ๘๕๒ กษัตริย์เมืองขันธบุรี เจ้าเมืองชื่อท้าวอังกุศราช เมืองนี้เป็นพวกทมิฬเดียรถีย์ แต่นับถือศาสนาพุทธ ท้างอังกุศราชจึงยกทัพมาเพื่อแย่งชิงพระทันตธาตุจากเมืองทันทบุรี ซึ่งท้าวโคสีหราชประมาณกำลังข้าศึกแล้วเหลือที่จะรับ จึงคิดที่จะสงวนชีวิตไพร่ฟ้าประชาชนด้วยการยอมตายเสียเอง จึงท้าท้าวอังกุศราช มาชนช้างกันคือทำยุทธหัตถี แต่ก่อนถึงวันกระทำยุทธหัตถี ก็ได้เตรียมการเอาไว้ก่อน โดยสั่งให้เจ้าหญิงเหมชาลา และเจ้าชายทันทกุมารว่า ให้เตรียมการเล็ดลอดหนีออกจากเมือง เพราะดูแล้วศึกนี้หนักนัก พ่อคงวายชนม์แน่ให้เตรียมเชิญพระทันตธาตุไว้ให้พร้อมทั้ง ๒ องค์ เมื่อพ่อแพ้ศึกให้หนีเอาไปถวายพระเจ้ากรุงลังกา อย่าให้พระทันตธาตุตกไปอยู่ในมือของพวกทมิฬ
            เมื่อเตรียมการแล้วก็ท้ารบทันที ท้าวอังกุศราชก็หัวร่อลั่นไปเท่านั้นเอง เพราะยังหนุ่มแน่นกว่า กำลังพลก็มากกว่า ผลการกระทำยุทธหัตถีก็เป็นไปตามที่ท้าวโคสีหราชคาดการไว้คือแพ้ ตัวตายในที่รบ เจ้าฟ้าทั้งสองซึ่งเตรียมการอยู่แล้วจึงหนีออกจากเมืองทันที ไปสู่เมืองท่าแล้วลงเรือสำเภาเพื่อข้ามมหาสมุทรไปยังเกาะลังกา กองเรือพบกับพายุที่พัดจัดปะทะคลื่นใหญ่ เรือสำเภาลำใหญ่เสากระโดงหักพังเกือบอับปาง ลำเล็กที่อยู่ในกองเรือก็อับปางหมดคงเหลือเพียงลำเรือทรงของเจ้าฟ้าทั้งสองเท่านั้น ที่ลอยละล่องตามลมวิ่งอ้าวผ่านหมู่เกาะต่าง ๆ ไป แต่กระแสลมบังคับให้หลุดไปทางฝั่งตะวันตกของสุวรรณภูมิ ไปเกยหาดที่หน้าเมือง "ตะโกลา" หรือตะกั่วป่าในปัจจุบัน เจ้าฟ้าทั้งสองจึงขึ้นจากเรือ อัญเชิญพระทันตธาตุไปอยู่กับชาวเมืองตะโกลาพอสมควรแล้ว และทราบว่าทางฝั่งตะวันออกของสุวรรณภูมิทางเมืองตามพรลิงค์ (นามเดิมของนครศรีธรรมราช) มีท่าเรือที่มีเรือสำเภามาค้าขาย และวิ่งไปมาระหว่าง ตามพรลิงค์กับลังกาเป็นประจำ จึงได้ออกเดินทางไปยังเมืองตามพรลิงค์ ไปจนถึงหาดทรายแก้ว (ในท้องที่อำเภอท่าศาลา) เจ้าฟ้าทั้งสองก็เข้าพักผ่อนกำบังกายเพื่อรอคอยเรือพาณิชย์ที่จะขอโดยสารไปยังเมืองลังกาต่อไป
            ในครั้งนั้นยังมีพระอรหันต์องค์หนึ่ง นามว่าพระมหาเถรพรหมเทพ ธุดงค์มาจากอินเดียเป็นผู้ที่อภิญาณสมบัติสูงมาก ได้เล็งทราบว่าพระทันตธาตุมาอยู่ที่หาดทรายแก้ว พระมหาเถระองค์นี้สูงด้วยอิทธิฤทธิ์ขั้นเดินทางมาทางอากาศได้ พอมาใกล้หาดทรายแก้วก็เห็นพระทันตธาตุเปล่งรัศมีโชติช่วงสว่างไสว จึงลงจากนภากาศเข้าไปนมัสการพระทันตธาตุ เจ้าฟ้าทั้งสองที่หลบซ่อนอยู่เห็นพระเถระองค์นี้แล้วเกิดความเลื่อมใส จึงออกจากที่กำบังเข้าไปนมัสการแล้วเล่าเรื่องให้ฟัง เปิดเผยฐานะที่แท้จริงของพระองค์ พระมหาเถระจึงแนะนำว่าให้เดินทางข้ามกลับไปยังฝั่งตะวันตกแต่ไปที่ท่าเรือเมืองตรัง ซึ่งจะมีเรือไปมามากกว่านี้รวมทั้งเรือไปลังกาด้วย และได้ทำนายไว้ว่าต่อไปเบื้องหน้าประมาณ ๒๐๐ ปี จะมีท้าวพระยาสำคัญมาสร้างเมืองใหม่ ณ หาดทรายแก้วแห่งนี้ และจะสร้างพระเจดีย์สูงถึง ๑๗ วา  เพื่อบรรจุพระบรมธาตุไว้สักการะบูชา และได้บอกแก่เจ้าฟ้า ๒ พี่น้องว่าหากระหว่างเดินทางมีอันตรายอันใดให้นึกถึงท่านจะมาช่วยเหลือ แล้วพระมหาเถระก็ลากลับไป เจ้าฟ้าทั้งสองจึงอัญเชิญพระทันตธาตุที่ฝังไว้ ณ หาดทรายแล้วนำใส่เกล้าเมาลีของพระนาง ออกเดินทางกลับไปยังท่าเรือเมืองตรัง (เดินเก่งจริง ๆ) ขอโดยสารเรือสำเภาไปลังกา เรือออกแล่นไปถึงกลางมหาสมุทร ก็เกิดอัศจรรย์เรือหยุดอยู่กับที่ไม่เคลื่อน นายสำเภาจึงประชุมลูกน้องว่าเรือหยุดอยู่กับที่โดยหาสาเหตุไม่ได้เช่นนี้คงจะเป็นเพราะ ๒ พี่น้อง โดยสารเรือมาเป็นแน่ ต้องจับฆ่าโยนลงทะเลเสีย เจ้าฟ้าจึงระลึกถึงพระมหาเถระพรหมเทพให้มาช่วย ทันใดนั้นพญาครุฑใหญ่ปีกกว้างประมาณ ๓๐๐ วา ได้บินมาที่เรือ เหตุอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นก็หายไป กลายร่างเป็นพระเถระฯ จึงชี้แจงให้ลูกเรือทราบว่าเรือหยุดเป็นเพราะพญานาคราช และบริวารขึ้นมานมัสการพระทันตธาตุจึงเกิดอัศจรรย์ พระมหาเถระชี้แจงแล้วก็กลับไป เรือสำเภาก็แล่นต่อไปยังเมืองลังกาได้ ๒ เจ้าฟ้าจึงขึ้นเฝ้าพระเจ้ากฤติสิริเมฆวัน กษัตริย์กรุงลงกา แล้วเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ถวายพร้อมทั้งถวายพระทันตธาตุ พระเจ้ากรุงลังกาปิติโสมนัสยิ่งนัก จึงสร้างพระเจดีย์บนบรรพตเป็นที่ประดิษฐานพระทันตธาตุทั้งสององค์คือ พระเขี้ยวแก้วเบื้องขวาและซ้าย ให้เป็นที่สักการะบูชาของประชาชนสืบไป
            พระเจ้ากรุงลังกาจึงจัดที่ประทับให้เจ้าฟ้าทั้งสองพักเป็นการถาวร ต่อมากษัตริย์วงศ์คุปตะผู้นับถือพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ได้มาตีเมืองทันทบุรีคืนจากกษัตริย์ทมิฬได้ และได้จัดให้ผู้สืบเชื้อสายราชวงศ์พรหมทัต ที่เป็นต้นวงศ์ของเจ้าฟ้าทั้งสอง ครองเมืองทันทบุรีต่อมา ทางกรุงลังกาทราบข่าวนี้ จึงขอทราบความประสงค์ของเจ้าฟ้าทั้งสองว่า จะอยู่ที่เมืองลังกาต่อไป หรือกลับไปอยู่บ้านเมืองเดิม เจ้าฟ้าทั้งสองทูลกษัตริย์ลังกาว่า ขอกลับไปอยู่ยังบ้านเมืองเดิม แต่จะขอพระทันตธาตุองค์หนึ่งไปประดิษฐานไว้ ณ หาดทรายแก้ว เพื่อที่จะได้เป็นไปตามคำทำนายของพระมหาเถระ กษัตริย์ลังกาจึงพระราชทานพระเขี้ยวแก้วเบื้องซ้าย กับพระบรมสารีริกธาตุที่หักย่อยอีก ๑ ทะนาน ให้แก่พี่น้องทั้งสอง แล้วจัดกระบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์ขึ้นสู่เรือสำเภาลำใหญ่ไปสู่ท่าเรือหาดทรายแก้ว แล้วจึงก่อเจดีย์อัญเชิญพระทันตธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุครึ่งทะนาน (อีกครึ่งหนึ่งนำกลับไปเมือง) บรรจุในผอบแก้วประดิษฐานในแม่ขันทอง แล้วนำฝังลงไว้ในพระเจดีย์ ณ รอยเดิม ทำพิธีไสยเวทย์ผูกภาพยนต์เป็นกา ๔ ฝูง รักษา ๔ ทิศ
            ในช่วงระยะ พ.ศ. ๘๕๘ - ๑๓๐๐ คลื่นสาดซัดสู่หาดทรายแก้ว โคลนทรายทัยถมเจดีย์จมหายไป และพระยาศรีธรรมโศกราชผู้ครองกรุงศิริธรรมนคร ได้พาผู้คนพลเมืองอพยพหนีไข้ยุบล มหายักษ์มาจนถึงที่ตั้งอำเภอเวียงสระในปัจจุบัน มาถึงได้สร้างวัดสระเรียง มีพราน ๘ คน ตามเนื้อมาถึงหาดทรายแก้ว พบดวงแก้วโตเท่าผลหมากสุก จึงนำมาถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้พาพระญาติวงศ์ไพร่พลเดินทางรอนแรมมาถึง ๗ วัน จึงมาถึงหาดทรายแก้วแล้วตั้งกองทำไร่ ไถนาอยู่ ณ ที่นั้น แล้วได้ส่งนายช่างไปยังเมืองลังกาเพื่อดูการสร้างบ้านเมือง ทางลังกาใจดีส่งพระมหาพุทธคำเพียรมาช่วยและท่านมหา ฯ  ได้เล่าถึงคำทำนายของพระมหาเถระถวายว่าจะมีท้าวพระยามาสร้างเมือง ทำนายไว้เมื่อ ๒๐๐ ปีมาแล้ว จึงตกลงที่จะสร้างเมือง และให้รางวัลทองคำเท่าลูกฟัก ถ้าใครรู้จุดที่ฝังพระบรมสารีริกธาตุ ผู้เฒ่าอายุ ๑๒๐ ปี ชี้จุดให้ขุดได้ ขุดแล้วพบพระเจดีย์แต่เอาขึ้นมาไม่ได้ เพราะมีหุ่นยนต์ฝูงกาไล่จักทำร้ายอยู่ จึงต้องป่าวประกาศใหม่ว่าให้ทองเท่าลูกฟัก แก่ผู้ปราบหุ่นยนต์ได้ มีผู้อาสากระทำการสำเร็จจึงดำเนินการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ แต่สร้างตามความเชื่อของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ตามแบบสถาปัตยกรรมศรีวิชัย รูปแบบจึงคล้ายพระบรมธาตุไชยา
            และต่อจากนั้นมาก็มีการบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์อีกหลายครั้งหลายแผ่นดิน จนกระทั่งได้รับพระราชทานเป็นพระอารามหลวง เปลี่ยนนามวัดตามนามพระราชทานเป็น วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘
            กว่าจะเรียบเรียงประวัติที่ยาวหลายสิบหน้าจบลงได้นี่  " เหนื่อย" ที่อำเภอปากพนัง กำลังมีการสร้างบ้านให้พ่อ ตามโครงการคืนสู่แผ่นดินเกิดลุ่มน้ำปากพนัง โดยใช้พื้นที่ประมาณ ๒๐๐ ไร่ จากกรมชลประทาน  ก่อสร้างพระตำหนักประทับแรม และสวนพฤกษศาสตร์พันธุ์ไม้พื้นเมือง และได้ลงเสาเข็มเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๑ ประชาชนทุกฝ่ายร่วมกันจัดหาทุนโดยไม่ได้ใช้งบประมาณเลย ซึ่งงานก่อสร้างต่าง ๆ จะแล้วเสร็จในปี ๒๕๔๓ นี้ เพื่อฉลอง ๗๒ พรรษามหาราช
            การไปชมพระตำหนักไปง่าย จากนครศรีธรรมราชมุ่งตรงไปตามถนนสายหลักคือ ถนนราชดำเนิน จนถึงสี่แยกที่ตรงไปก็ไปสงขลา เลี้ยวขวามาทุ่งสง ไปได้จนถึงภูเก็ต หากเลี้ยวซ้ายก็จะมายัง อำเภอปากพนัง หากเลาะริมแม่น้ำจะพบร้านอาหารร้านหนึ่งชื่อร้าน "ครัวเมืองนัง" ร้านนี้หาไม่ยากหรือยากก็ลองโทรถามดู ๐๗๕ ๕๑๗๐๑๖ ร้านนี้ทำเลงาม ธรรมชาติสวยเพราะอยู่ริมแม่น้ำ เสียหน่อยเดียวหากมื้อค่ำยุงชุมไปหน่อย
            แม่กุ้งต้มยำ บอกยี้ห้อเลยทีเดียวว่ากุ้งแม่น้ำตัวโตแน่นอน ใส่หม้อไฟยกมาร้อนฉ่า รสเข้มข้น ยำไข่ปลากระบอก  รสเด็ดดูจะหากินได้เมืองเดียวคือ เมืองนคร ฯ นี่แหละ เพราะอาหารที่ทำด้วยปลากระบอกเมืองนครฯ นั้น ปลาตัวโต ๆ เขามักจะเอาไข่ปลากระบอกแยกออกมาทำเค็มขายต่างหาก จึงต้องสั่งยำมากิน
            ยำกับมะม่วงเบา อมเปรี้ยว และมัน
            หมี่ผัดเมืองนัง เป็นเอกลักษณ์ของหมี่เมืองนัง หมี่ผัดเครื่องปรุงพร้อมใส่จานมา พร้อมด้วยจานผักมี "เมล็ดกระถิน" กินสด ถั่วฝักยาว แตงกวา ถั่วงอก มะม่วง ผักชีล้อม มีกุ้งแก้วทอด อร่อยแปลก
            กุ้งแดดเดียวทอดเคี้ยวมันเป็นกับแกล้มชั้นยอด
            แฮกึ๊นทอดเมืองนัง กรอบนอกนุ่มใน จิ้มน้ำบ๊วยเจี่ย แนมด้วยแตงกวา
            ต้มส้มปลากระบอก สั่งมาชิมทั้ง ๆ ที่ท้องใกล้แตก แต่อาศัยไปกันหลายคน อยากชิม แต่จะต้มส้มรสใต้ คือนำด้วยเปรี้ยว ตามด้วยเค็ม ใครชอบอาหารรสเปรี้ยวรับสั่งโดยไว ของหวานเป็นผลไม้
            ขอจบด้วยพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ ๑๙ กันยายน ๒๕๓๘ "มีชาวปากพนังเขาบอกว่า เขาจะทำบ้านให้ สร้างตำหนักให้ สร้างขึ้นที่หัวงานนั้นเอง ก็ไม่ต้องกลับไปที่ภูเขา ทำที่นั่น ประชาชนทำ....."

.........................


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์