ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


พระตำหนักเมืองนคร

           ผมไปนครศรีธรรมราชคราวนี้  ไปในรายการเป็นกรรมการตัดสินแข่งขันการทำอาหารของวิทยาลัยอาชีวศึกษา ทั่วประเทศ ชิงชนะเลิศกันเมื่อ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๘  สมเด็จพระพี่นางกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเป็นองค์ประธาน  เล่าเรื่องพระตำหนักเมืองนครวันนี้ จึงเล่าก่อนขึ้นเหนือ และหลังจากกลับจากนครศรีธรรมราช  วันที่แข่งขันที่นครศรีธรรมราช ผมขออยู่ต่อเพื่อเยี่ยมลูก เยี่ยมหลาน  ซึ่งลูกชายรับราชการอยู่ที่หน่วยเดิม  ซึ่งผมได้มีส่วนก่อตั้งและสร้างความเจริญมาตั้งแต่ต้น เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๓ คือ หน่วยกองบัญชาการช่วยรบที่ ๔ อำเภอทุ่งสง นครศรีธรรมราช ผมรับราชการที่หน่วยนี้นานถึง ๗ ปี ตั้งแต่ "ผกค."  รอบค่ายชุมยังกับมด จนสงบเรียบร้อย ผมจึงย้ายไปรับราชการที่ในตัวกองทัพภาคที่ ๔ และไปปฎิบัติการเป็นแม่ทัพภาคที่ ๔ ส่วนหน้าที่ปัตตานี จนเหตุการณ์สงบและไปทำให้โจรจีน สายรัสเซียสนับสนุน ออกมารายงานตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยหมด ทั้งกลุ่ม ๖๔๔ คน  ขจก. หรือที่เรียกว่า ขบวนการโจรก่อการร้ายแบ่งแยกดินแดน  ก็ดำเนินการสับหางเสียจนเหลือแต่คำว่า ขบวนการโจรก่อการร้าย หรือโจรห้าร้อย จากนั้นกองทัพบก ก็ยุบกองบัญชาการกองทัพภาคที่ ๔ ส่วนหน้า  คงไว้แต่ พตท.๔๓  แหล่งข่าวสำคัญ และทางมหาดไทยก็คงเหลือแต่ ศอบต. ที่เจ้าหน้าที่เป็นข้าราชการ และส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทยอิสลาม คอยประสานกับชาวบ้านอย่างใกล้ชิด  เพราะรับนโยบายไปแล้วคุยกับชาวบ้านรู้เรื่อง ภาษาเดียวกัน ส่วนผมก็ได้ย้ายเข้ากรุงเทพ ฯ รับพระราชทานยศสูงขึ้น แต่ไปทำงานในหน่วยที่ตั้งใหม่  ไม่มีแม้แต่ห้องทำงาน เครื่องมือ เครื่องใช้ อะไรไม่มีทั้งสิ้น มีกำลังพลอยู่ ๒ คน คือ ท่าน ฯ พณฯ พลเอก พิจิตร  กุลละวณิชย์ องคมนตรี เวลานั้นดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก  และผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบการต่อสู้เบ็ดเสร็จ เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นใหม่ เพื่อสนองพระราชดำริ  "ยุทธศาสตร์พัฒนา หรือยุทธศาสตร์พระราชทาน" ผมได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้อำนวยการ ฯ แต่ตัวสำนักงานยังไม่มีกำลังพลยังไม่บรรจุ เลยต้องเริ่มตั้งแต่พัฒนาตัวเอง ให้เป็นสำนักงานให้สำเร็จเสียก่อน แล้วก็ออกตระเวนไปตามแนวชายแดน เพื่อทำงาน ตระเวนอยู่อีก ๕ ปี จึงเกษียณอายุราชการกลายเป็นนักเขียนเต็มตัว  ขออภัยด้วยครับ เป็นคนแก่ก็มักจะภูมิใจในความหลัง เขาถึงบอกว่าลักษณะคนแก่นั้น จะเล่าความหลัง
            ไปนคร ฯ คราวนี้ก็คงพักที่โรงแรมเดิมที่มาทีไรก็พักประจำ เพราะสะดวกกว่าการเข้าไปพักที่บ้านรับรองในค่ายวชิราวุธ ซึ่งหากเข้าไปพักหากเอารถไปเอง ก็สะดวกแต่หากไปเครื่องบินอย่างคราวนี้  ก็ต้องรบกวนขอรถเขาอีก และเขาต้องจัดเวรยามยุ่งยากเปล่า ๆ  สู้เสียสตางค์ไม่แพงนัก พักข้างนอกค่าย สะดวกในการหาที่เที่ยว ที่กิน   คราวก่อนไปพักเขาว่าบะกุ๊เต๋  ยังไม่เข้าขั้น ขอให้ปรับปรุงใหม่  ไปคราวนี้เขาบอกว่ายังหากุ๊กทำมือชั้นดีไม่ได้เลย ต้องระงับเอาไว้ก่อน  แต่อาหารเช้าที่รวมราคาอยู่กับค่าห้องพักก็มีมากมาย และคราวนี้มีปาท่องโก๋มาให้ชิมด้วย  ส่วนขนมจีนเมืองคอน ก็จัดเอาไว้ให้ชิม แต่มาเที่ยวนี้ผมไปชิมในเมืองด้วย  ร้านเก่าแก่เช่นกัน  คือ ขนมจีน
            ก่อนไปวิทยาลัยอาชีวะศึกษา  เครื่องบินบริษัท ๑ ๒ ๓ ฯ  ไปถึงนคร ฯ ตั้งแต่เจ็ดโมงเช้า ราคาย่อมเยากว่าการบินไทย ไม่เลี้ยงอาหารเช้าคงเลี้ยงกาเแฟเท่านั้น  พอเข้าเมืองเขาก็พาไปกินปาท่องโก๋  ร้านนี้คงจะเปิดใหม่แต่ก็คงหลายปีแล้ว เส้นทางหากถามชาวบ้านชาวเมืองถามหาทางว่า ย่านท่าม้าไปทางไหน ก็ไปได้ง่าย ไปตามถนนราชดำเนิน ซึ่งเป็นถนนเส้นหลักยาวตั้งแต่หน้าค่ายวชิราวุธไปเลยทีเดียว ไปตามถนนราชดำเนินจนเลยวัดเสมาเมือง ร้านอยู่ตรงข้ามกับกรุงไทยแอกซ่า ประกันชีวิต  ตรงข้ามซอยท่าม้า เยื้องโรงพิมพ์รัตนโสภณ ของดีร้านนี้คือ ปาท่องโก๋ ที่ทอดกันร้อน ๆ และมองดูในกระทะ จะเห็นน้ำมันใสสะอาดไม่ดำ เขาบอกว่าเขาเปลี่ยนน้ำมันทุกวัน  ไม่เอาน้ำมันเก่ามาทอด  กลิ่นจึงหอม สีชวนกิน เรียกว่าสะอาด  รสชาติอร่อย
            ปาท่องโก๋ ตัวโต กรอบ  มีรสในตัว ตัวใหญ่ ๓ บาท  กินกับสังขยาหวานมัน
            บะจ่าง ซาละเปา  ใส้งาดำ ใส้เผือก ร้อน ๆ อร่อยดีแท้
            พวกติ๋มซำ ก็มี  จะมีน้ำจิ้มสีแดงอ่อน ๆ  แบบชาวใต้ยกมาให้ด้วย ร้านติ๋มซำ ที่เป็นอาหารเช้าแบบนี้ พึ่งเคยเห็นในตัวเมืองนคร ฯ  หากทุ่งสงเห็นมานานแล้ว  และมีมากที่สุดคือ ตรัง กับที่หาดใหญ่  ติ๋มซำร้านนี้มี ขนมจับ ไส้กรอก ไข่นกกะทา สาหร่ายห่อหมู พวกของทอดก็มี ไข่เยี่ยวม้าทอด ไส้กรอกทอด ขนมปัง น้ำจิ้มมี ๒ แบบคือ  ซีอิ้ว กับน้ำจิ้มแบบพื้นเมือง ที่ผมบอกว่าสีแดงอ่อน ๆ ใส่พริกตำ เสาร์อาทิตย์จะมีหมี่ซัว ร้อน ๆ ให้ซดด้วย  ตามฝาผนังของร้านป๊อก สรรหาภาพเก่า ๆ ของเมืองนคร ฯ มาประดับไว้  เช่น ภาพกำแพงเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๕ สี่แยกท่าวัง พ.ศ.๒๔๘๖  และอีกหลายภาพที่เป็นภาพในอดีต ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๑ (รัชกาลที่ ๕)
            อิ่มจากร้านอาหารเช้า แบบชาวใต้แล้ว ก็ไปทำหน้าที่กรรมการตัดสิน จบด้วยการทางวิทยาลัยจัดอาหารกลางวันเลี้ยงอย่างดีใส่จาน ใส่ชามมาสวยทีเดียว  จัดมายังกับเลี้ยงพระคือ คนละที่ กรรมการ ๕คน ก็ห้าสำรับแบบที่ชาวนครเรียกว่า "ดับเท่"  อร่อยมาก

            จบรายการอาหารกลางวันแล้ว ผมกับคณะไปไหว้พระที่วัดพระศรีมหาธาตุ และได้จัดผ้าขึ้นธาตุเพื่อห่มองค์พระมหาธาตุเจดีย์ ไปชมพิพิธภัณฑ์ของวัด  ไปร้านขนมจีน ต่อจากนั้นผมก็แยกคณะกับคณะที่จะกลับกรุงเทพ ฯ ส่วนผมไปวัดวังตะวันตก
            เส้นทาง  หากตั้งต้นจากสถานีรถไฟนคร ฯ ตรงมาพอถึงสี่แยกที่สามก็เลี้ยวขวาเข้าถนนราชดำเนิน จะมาผ่านโรงแรมเก่าแก่คือ ไทยโฮเตล ทางขวามือ  ติดกับไทยโฮเตลคือ วัดวังตะวันตก

            บริเวณที่เป็นวัดวังตะวันตกนี้  ในอดีตชาวเมืองใช้เป็นที่ค้างศพ ต่อมาเจ้าจอมปราง ซึ่งเคยเป็นพระสนม ที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้พระราชทานแก่เจ้าพระยานคร  (พัฒน์)  ปรับปรุงพื้นที่นี้เป็นอุทยาน  เมื่อมีวัดวังตะวันตก ก็ต้องมีวัดวังตะวันออก ซึ่งเดิมพื้นที่วัดวังตะวันตก มีตึกแถวบังอยู่ หากไม่ติดตึกแถวก็จะมองเห็นกัน  สมัยโบราณไม่มีตึกแถวบัง ๒ วัดนี้ก็มองเห็นกัน ครั้งเมื่อเจ้าจอมปรางสิ้นชีพตักษัย เจ้าพระยานคร (น้อย) ผู้เป็นบุตร จึงยกวังตะวันออกนี้เป็นวัด ตั้งชื่อว่า วัดวังตะวันออก  และเมื่อดัดแปลงเสริมสร้างอุทยานด้านตะวันตกแล้ว ก็ยกให้เป็นวัดเช่นเดียวกัน
            พระครูกาชาด (ย่อง) พร้อมด้วยศรัทธา ได้สร้างกุฎิขึ้นหมู่หนึ่ง เป็นเรือนเครื่องสับ ๓ หลัง มีหลังคาจั่ว แต่ละหลังมีชานที่หลังคาคลุมเชื่อมต่อกัน  เป็นเรือนฝาปะกน  ตามบานประตู หน้าต่าง และช่องลมประดับด้วยลวดลาย ที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองนคร ฯ หมู่กุฎิที่งดงามนี้เริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๑ ใช้เวลาสร้างนานถึง ๑๓ ปี  สมาคมสถาปนิกสยาม ได้คัดเลือกกุฎิวัดวังตะวันตกแห่งนี้ ให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่นประจำปี พ.ศ.๒๕๓๕ ประเภทปูชนียสถานและวัดวาอาราม นอกจากกลุ่มกุฎิ ๓ หลังนี้แล้ว  ทางด้านซ้ายเมื่อเข้าประตูวัดมา คือ ตลาดพระเครื่องที่น่าจะใหญ่ที่สุด ในเมืองนคร ฯ นักเลงอย่าเลยไปเป็นอันขาด ตลาดพระติดกับอุโบสถที่เก่าแก่เช่นกัน

            พระตำหนักเมืองนคร   เป็นพระตำหนักกลางชุมชนชาวสวน ได้เริ่มสร้างเมื่อ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๗  ใช้เวลาการก่อสร้าง ๔ ปี จึงแล้วเสร็จ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ  ทรงเปิดพระตำหนักแทนพระองค์เมื่อ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๔๑
            การก่อสร้างได้ตั้งวัถตุประสงค์ไว้ ๓ ประการคือ
            ประการแรก  เพื่อน้อมเกล้าถวายเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ
            ประการที่สอง  ใช้อาคารประกอบเป็นสถานที่ประชุมทางวิชาการ โครงการสำคัญ ๆ อันเป็นโครงการเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการอนุรักษ์ศิลปะ และวัฒนธรรมท้องถิ่น
            ประการที่สาม  ให้เป็นแปลงสาธิตพืชผลทางการเกษตรพันธุ์พื้นเมืองและสวนผลไม้ ฯ
            ผู้ริเริ่มในการก่อสร้างคือ  นายสัมพันธ์ ทองสมัคร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ สส. เมืองนคร ฯ หลายสมัย บริเวณพระตำหนัก มีเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ไร่  งบประมาณในการก่อสร้างได้จากการรับบริจาคจากประะชาชนทั่วไป และจากงบประมาณแผ่นดินอีกประมาณ ๒๐ ล้านบาท  ไม่มีการเรี่ยไร มาจากศรัทธาของประชาชนอย่างแท้จริง
            ที่ตั้ง  พระตำหนักเมืองนคร  ซึ่งนามนี้เป็นนามพระราชทาน ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอพรหมคีรี ไปจากเมือง หากไปตามถนนราชดำเนิน เลยวัดมเหยงค์ แล้วเลี้ยวขวาผ่านตลาดหัวอิฐ  จนถึงสี่แยกก็ตรงไปตามถนนสาย ๔๐๑๖ ถนนสายนี้จะไปยังวัดเขาขุนพนม ไปน้ำตกกรุงชิง (๗๑ กม.) และพระตำหนักเมืองนคร ประมาณ กม. ๒๐  จะผ่านทางแยกขวาเข้าพระธาตุชัยมณีศรีมะโรจน์ เลยตลาดพรหมคีรีไปสัก ๓ กม. ให้เลี้ยวขวาเข้าถนนตากสินอนุสรณ์ ซึ่งจะเป็นถนนตรงไปวัดเขาขุนพนม  และตำหนักเมืองนคร (ก่อนถึงทางแยกจะมีป้ายบอกอีกป้ายหนึ่ง แต่ไม่ตรงเท่าเส้นตากสินอนุสรณ์)  เมื่อเข้ามาประมาณ ๓ กม.  ก็แยกซ้ายไปพระตำหนัก ฯ  (ตรงไปจะไปวัดเขาขุนพนม) การเข้าชมพระตำหนัก เข้าชมได้ทุกวันเว้นวันพุธ  ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ ไม่เสียค่าเข้าชม
            ที่ดินบริเวณที่ก่อสร้างพระตำหนัก เป็นที่ดินมรดกของนายจันทร์ - นางทองพูน ทองสมัคร์  ซึ่งรับมรดกตกทอดกันมาถึง ๕ ชั่วอายุคน  ที่ดินก่อสร้างแบ่งการใช้งานออกเป็นสองส่วน
            ส่วนที่หนึ่ง  ใช้ก่อสร้างอาคารพระตำหนักที่ประทับและอาคารบริวาร พื้นที่ ๘ ไร่เศษ
            ส่วนที่สอง  ใช้เป็นแปลงสาธิตพืชผลทางการเกษตรพันธุ์พื้นเมือง ที่หายากและกำลังจะสูญพันธุ์ สวนผลไม้ผสมผสานแบบพื้นเมืองที่เรียกว่า"สวนสมรม" พืชสมุนไพร ตลอดจนการอนุรักษ์ และพัฒนาแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
            ลักษณะทางสถาปัตยกรรม  อาคารพระตำหนักที่ประทับ และอาคารบริวาร เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมอาคารทรงไทยทักษิณประยุกต์  ก่อสร้างเสร็จแล้วดูกลมกลืนกับสวนผลไม้ และไม้ยืนต้น  การก่อสร้างเริ่มเมื่อ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๗  โดยเริ่มสร้างจากเรือนบริวาร ประกอบด้วย ห้องโถงเฝ้า ใช้เป็นห้องประชุมด้วย  ห้องผู้ตามเสด็จ ห้องสื่อสาร ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องทำงาน ห้องรับแขก ห้องปรุงอาหารว่าง ห้องอาหาร ห้องครัว และศาลาหอกลาง
                ศาลาเจ็ดเกลอ  เป็นศาลาแสดงศิลปพื้นบ้าน เป็นชื่อของทุเรียนพื้นเมืองขึ้นเป็นหย่อมมี ๗ ต้น เรียกว่า อ้ายเจ็ดเกลอ สันนิษฐานว่า จะมาจากดงเดียวกัน ห้องต่าง ๆ ตั้งชื่อ ตามชื่อพันธุ์ทุเรียน
                ห้องครัว  ชื่อ ครัวขมิ้น  ชื่อทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง เนื้อเหลืองเหมือนขมิ้น
                ห้องนอน  ชื่อ ทุเรียนพื้นเมืองอีกนั่นแหละชื่อ สาวแดง สาวงาม สาวปรางค์
                ห้องอาหาร ชมโฉม ห้องประชุม นาคราช ห้องรับแขกชื่อ ดอกคำ
                ห้องสำนักงานชื่อห้อง เจ็ดหมุน ภาคกลางแปลว่า บรเพ็ด
                เมื่อสร้างเรือนบริวารเสร็จแล้ว  ก็สร้างอาคารพระตำหนักที่ประทับถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ในวโรกาสทรงเจริญพระชนทายุ ๔๐ พรรษา  เป็นอาคารทรงไทยทักษิณ มีห้องบรรทม ห้องทรงพระอักษร ห้องฉลองพระองค์ ห้องสรง และมีระเบียงไม้โดยรอบ ๓ ด้าน มีระเบียงคอนกรีตด้านตะวันตกของห้องบรรทม
                เมื่อสร้างอาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาเสร็จแล้ว ก็ดำเนินการจัดสร้างอาคารพระตำหนักที่ประทับ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในมหามงคลวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี หรือ ปีกาญจนาภิเษก
                เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยทักษิณ ตัวอาคารเป็นเรือนสามชั้น
                ชั้นบน  ประกอบด้วย ห้องบรรทม ห้องฉลองพระองค์ ห้องสรง ห้องโถง ห้องทรงพระอักษร ห้องพระ มีระเบียง ๒ ด้านคือ ทิศตะวันตกและทิศตะวันออก
                ชั้นที่สอง  ประกอบด้วย  ห้องโถง ห้องรับแขก ห้องเสวย ห้องเตรียมอาหาร ห้องน้ำ
                ชั้นล้าง  พื้นของชั้นล่างอยู่ต่ำกว่าระดับผิวดินประมาณ ๑ เมตร มีห้องน้ำ ห้องนอน ห้องโถงนั่งพัก มีบันไดภายในจากชั้นล่างขึ้นไปยังชั้นสาม เป็นบันไดของข้าราชบริพาร แยกจากบันไดทางเสด็จพระราชดำเนิน
                ด้านหน้าอาคารพระตำหนักที่ประทับ เป็นลานกว้างยกพื้นลดระดับ มีสะพานเดินเชื่อมระหว่างลานดังกล่าว กับอาคารพระตำหนักสมเด็จพระเทพ ฯ ผ่านสวนผลไม้ที่ร่มรื่น
                เรือนราชองค์รักษ์  อยู่ทางขวามือของทางเข้า เป็นเรือนชั้นเดียว ๒ ห้องน้ำ
                ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  ของอาคารพระตำหนักพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีศาลาสระริมน้ำ ประกอบด้วย ศาลาร่มเมือง เรือนไม้เลื้อย เรือนร่มบ้าน ห้องสรง ห้องน้ำ
                มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์  ทางอีกด้านหนึ่งของสระน้ำ และมีลานหญ้าจัดการแสดงได้
                จากประตูทางเข้า หากไม่เลี้ยวขวามาพระตำหนัก เดินตรงไปสัก ๑๐๐ เมตร  จะมีร้านขายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน และของกินเล็ก ๆ น้อย ๆ  ของกิน ของชำร่วยน่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ของเจ้าหน้าที่ หรือครอบครัว  ควรแก่การอุดหนุนราคาย่อมเยาด้วย และมีเครื่องดื่มจำหน่าย
                ลักษณะเด่นของพระตำหนักเมืองนคร มี ๕ ประการคือ
                    ๑.  ตั้งอยู่ในสวนผลไม้นานาชนิด แบบพื้นภาคใต้ อันเป็นวิถีเกษตรแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเรียกกันว่า  "สวนสมรม"  สวนแห่งนี้มีชื่อว่า  "สวนร่มเมือง"
                    ๒.  แวดล้อมด้วยชุมชนชาวสวน ให้บรรยากาศและความรู้สึกว่า พระมหากษัตริย์มิได้อยู่ห่างไกลประชาชน
                    ๓.  ตั้งอยู่ใกล้ขุนเขาพนม มีทัศนียภาพงดงาม (ใกล้วัดเขาพนม ที่เชื่อกันว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มิได้ถูกประหารและมาบวชหลบอยู่ในถ้ำของวัดนี้)
                    ๔.  การออกแบบสร้าง เน้นกลมกลืนกับธรรมชาติ คงสภาพต้นไม้ไว้ดังเดิม
                    ๕.  ทำเลที่ตั้งสถานที่ก่อสร้างมีความสอดคล้องและถูกต้อง ตามหลักภูมิโหราศาสตร์ ขอพาชมพระตำหนักเมืองนครเอาไว้เพียงเท่านี้  สัปดาห์หน้าผมจะพาไปยังวัดเขาขุนพนม เพื่อไปทราบเรื่องที่เป็นเหมือนตำนาน แต่ชาวเมืองนคร ฯ  เชื่อกันว่าเป็นไปได้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มาหลบซ่อนอยู่ในถ้ำวัดเขาพนมนี้
            กลับเข้าเมืองผมจะพาไปชิมอาหารอร่อย ร้านนี้เขาบอกว่าดัง รับแขกบ้าน รับแขกเมือง กันเลยทีเดียว สมัยผมอยู่ที่นคร ฯ เมื่อ ๑๙ ปีก่อน ร้านนี้ยังไม่มี
            เส้นทาง มาตามถนนราชดำเนิน วิ่งตรงทางเดียวกันที่จะมาวัดพระบรมธาตุ ผ่านวงเวียนน้ำพุ (ทางขวาคือ ศาลหลักเมือง)  ตรงต่อมาผ่านศาลาประดู่หก  ผ่านหน้าคุกเก่า เลี้ยวขวาเข้าถนนเสมาชัย พอถึงสามแยก เลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ ๕๐๐ เมตร  จะอยู่ทางขวามือ คุกเก่า เดี๋ยวนี้ตกแต่งเป็นสวนสาธารณะ พระยาอโศกศรีธรรมราช  เหลือสภาพคุกเก่าไว้แต่ด้านหน้า
            ร้านเหมือนบ้าน  เป็นบ้านไม้ ๒ ชั้น  ที่นั่งแยกออกเป็น ๒ ข้าง มีป้าย คลีน ฟู๊ด กู๊ด เทสท์ รับรองความสะอาดและความอร่อย ที่นั่งร่มรื่นล้อมไปด้วยต้นไม้
            นครศรีธรรมราช นั้นเป็นเมืองปลากระบอก ลูกปลาจะเข้ามากับน้ำทะเลสู่นากุ้ง เป็นผลพลอยได้ของชาวนากุ้ง ที่เขาไม่อยากได้ เพราะปลากระบอกกินอาหารกุ้งของเขาด้วย และให้สังเกตุอาหารที่ทำจากปลากระบอก ของร้านอาหารเมืองนคร ฯ ในท้องปลามักจะไม่มีไข่ปลา เพราะเขาเอาไข่ในท้องปลาไปทำเค็ม แยกขายต่างหาก จึงต้องสั่ง หากร้านเขามีไข่ปลากระบอกขาย
            ไข่ปลากระบอกทอด  (หรือ จะสั่งยำ)  มีเครื่องเคียง พริกขี้หนูสับ หอมแดง มะนาวบีบ ทอดกรอบนอกนิด นุ่มใน เคี้ยวมันดีนัก
            สะตอผัดกะปิกุ้ง  มีมะนาวฝานมา ๑ ชิ้น  บีบเพิ่มรสเปรี้ยวตามชอบใจ กุ้งชีแฮ้ตัวโตเนื้อแน่น ใส่หอมใหญ่ ออกรสหวาน
            ยำสามกรอบ กระเพาะปลา เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ปลาหมึกแห้ง วางมาบนผักสลัดสด สีเขียว ล้อมรอบด้วยหอมใหญ่ มะเขือเทศ คื่นใช่ ต้นหอม กุ้งสดทอด ปลาหมึกสดทอด รสจัด
            ปลาทรายทอดขมิ้น ปลาทรายตัวไม่โต มีกระเทียมเจียวโรยหน้า จิ้มน้ำปลาพริก
            แกงส้มปลากระบอก  ใส่คูน  หน่อไม้  ปลากระบอกใส่มาทั้งตัว รสใต้แท้ เปรี้ยวนำ
            ปิดท้ายด้วย กุ้งอบวุ้นเส้น หมอบอกผมว่า ให้กินวุ้นเส้นเอาไว้มาก ๆ แหละดี  โดยเฉพาะอาหารมื้อเย็น เพราะไม่มีน้ำตาล คนสูงอายุต้องระวังเรื่องน้ำตาลเอาไว้  อย่าเผลอให้เกิน ๑๒๖  เป็นอันขาด เบาหวานถามหาแท้แน่นอน แล้วจะได้โรคอื่นเข้าแถวตามมาอีกหลายโรค และหากผมเกิดเป็นเบาหวานขึ้นมา  ก็เลิกทำมาหากินกับการเขียนหนังสือ แนวกินเที่ยว ทั่วไทยได้เลย


.............................................................

| บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์