ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| หน้าต่อไป |

กว๊านพะเยา

            กว๊านพะเยาอยู่ในเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา อยู่ทางทิศตะวันตกของ อ.เมืองพะเยา ต้นน้ำที่นำน้ำมาสู่กว๊านพะเยาคือ น้ำที่ไหลมาจากทิวเขาผีปันน้ำ ซึ่งน้ำในกว๊านพะเยานี้เป็นต้นน้ำของแม่น้ำอิง ที่จะไหลจากกว๊านพะเยาไปสู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือผ่านอำเภอเทิง ลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของ ยาวประมาณ ๒๔๐ กม. บริเวณของสองฝั่งแม่น้ำอิงเป็นที่ราบลุ่มเป็นแนวยาว ซึ่งเป็นส่วนที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นที่ตั้งของเมืองสำคัญคือ เมืองพะเยา เมืองเทิง และเมืองเชียงของ  ส่วนพื้นที่บริเวณที่ห่างไกลจากแม่น้ำอิง จะมีสภาพกันดารน้ำ  กว๊านพะเยาคือบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ ใหญ่เป็นที่สองรองจากบึงบอระเพ็ดที่จังหวัดนครสวรรค์ มีน้ำมากตลอดปี และน้ำลึกพอที่จะเป็นแหล่งเพาะเลี้ยง "ปลาบึก"  รุ่นแรกที่กรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ได้สำเร็จแล้วนำมาปล่อยเลี้ยงไว้ในกว๊านพะเยา กินอาหารปลาบึกที่ร้านอาหารในเมืองพะเยาได้รสพอ ๆ กับปลาบึกจากแม่น้ำโขง คือเนื้อแน่น หนังหนาเคี้ยวกรุ๊บ ๆ สนุกกันตอนเคี้ยวนี่แหละ
            เมื่อมีน้ำที่อุดมสมบูรณ์เช่นนี้ถึงสองแหล่งน้ำคือกว๊านพะเยาและแม่น้ำอิง ย่อมทำให้เกิดการสร้างบ้านแปลงเมือง ราชวงศ์ลาว หรือลวจักราช ผู้ครองนครเงินยางเชียงแสน หรือเชียงแสน จังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน มีอำนาจมากขึ้น ต้องการขยายอาณาเขตออกไป ในยุคของ"พ่อขุนเงิน หรือลาวเงิน" ครองนครเงินยางเชียงแสน มีโอรส ๒ องค์ จึงให้โอรสองค์ที่ ๒ นามว่า "พ่อขุนจอมธรรม" มาปกครองเมืองภูกามยาว  ส่วนพ่อขุนชิน โอรสองค์พี่คงอยู่ที่นครเงินยางเชียงแสนกับพระบิดา  พ่อขุนจอมธรรมพร้อมด้วยบริวาร และทรัพย์สมบัติได้มาคิดตั้งเมืองขึ้นใหม่ในพื้นที่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณที่ร้างไปนานแล้วชื่อเมือง "สีหราช"  เมืองนี้ตั้งอยู่บนที่ราบปลายภูเขาที่มีชื่อเรียกในตำนานว่า "ภูยาว" หรือพยาว หรือสุดท้ายคือ พะเยา จึงอยู่ในที่ราบอุดมสมบูรณ์และมีชัยมงคลครบ ๓ ประการคือมีแม่น้ำสายตา หรือแม่น้ำอิง อยู่ทางใต้ของเมืองและไหลไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ  ประการที่ ๒ มีกว๊านพะเยา หรือหนองเอี้ยง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมือง และประการสุดท้ายที่หัวเวียงมีดอยจอมทอง ที่บรรจุพระธาตุจอมทอง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองพะเยา ตำนานเมืองพะเยานี้แสดงให้เห็นว่า การสำรวจที่ตั้งเมืองได้สำรวจอย่างละเอียด และมีเงื่อนไขที่สำคัญในการสำรวจคือ น้ำและที่ราบเพื่อการเกษตรกรรม
            พ่อขุนจอมธรรมเมื่อตั้งบ้านแปลงเมืองแล้ว ได้รวบรวมผู้คนได้มากถึง ๑๘๐,๐๐๐ คน จัดแบ่งการปกครองออกเป็น "พันนา" แต่ละพันนามีคน ๕๐๐ คน แบ่งเป็น ๓๖ พันนา  พ่อขุนจอมธรรมปกครองเมืองพะเยาในฐานะนครรัฐอิสระ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเมืองเงินยาง เป็นพันธมิตรกัน เมื่อมีศึกสงครามจะช่วยกัน แต่ไม่ทราบว่ามาช่วยกันตอนไหนเพราะมากล่าวเอาตอนที่ "ขุนเจือง" ครองเมืองพะเยา  "ชื่อขุนเจือง" นามนี้คนไทยเราไม่ค่อยรู้จักกันนักทั้ง ๆ ที่เป็นกษัตริย์นักรบองค์หนึ่ง เหมือนพระเจ้าพรหมมหาราช ที่ถือกันว่าเป็นมหาราชองค์แรกของไทย  แต่ครองนครหิรัญนครเงินยาง หรือเงินยางเชียงแสน และเป็นผู้สร้างพระธาตุ
ดอยกิตติ เมื่อ พ.ศ.๑๔๘๓  ส่วนพ่อขุนจอมธรรมมาสร้างเมืองใหม่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ (ไม่ทราบว่า พ.ศ.อะไร ตำนานบอกว่า พ.ศ.๑๖๓๙)
            ผมจะขอแนะนำพ่อขุนเจืองธรรมิกราช ซึ่งต้องถือว่าเป็นกษัตริย์องค์สำคัญองค์หนึ่งของไทย หรือพะเยา เป็นก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหง พ่อขุนงำเมืองและพ่อขุนเม็งราย  พ่อขุนเจืองเป็นโอรสของพ่อขุนจอมธรรม ผู้สร้างอาณาจักรภูกามยาว หรือพะเยา พ่อขุนเจืองธรรมิกราชได้ครองอาณาจักรพะเยาเมื่อราว ๆ พ.ศ.๑๖๖๓ ได้ขยายอาณาเขตการปกครองไปยังประเทศลาว กัมพูชาบางส่วน  ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าในปี พ.ศ.๑๖๑๗ พ่อขุนเจืองธรรมิกราช ได้เข้าพิธีปราบดาภิเษกเป็นพระยาจักราช ในเมืองแกว เนื่องจากสามารถรวบรวมอาณาเขตของอาณาจักรล้านช้าง และอาณาจักรแกวทั้งหมด เข้าเป็นส่วนหนึ่งของเมืองพะเยาได้ พ่อขุนเจืองธรรมิกราชครองเมืองพะเยาอยู่จนถึง พ.ศ.๑๖๖๙ ก็สิ้นพระชนม์ในขณะที่นำทหารหาญบุกเข้าทำลายประตูเมืองของศัตรู ซึ่งตอนนั้นพระองค์มีพระชนมายุมากแล้ว แต่จิตใจยังเข้มแข็งแกล้วกล้าอยู่ พ่อขุนเจืองธรรมิกราชจึงเป็นกษัตริย์นักรบที่เก่งกล้าสามารถ และในปัจจุบันได้สร้างอนุสาวรีย์ของท่านไว้ในค่ายทหารบก ที่อำเภอเมืองพะเยา คือค่ายขุนเจืองธรรมิกราช ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมืองพะเยา หล่อด้วยทองสำริดรมดำ เป็นศูนย์รวมจิตใจของกำลังพลจังหวัดทหารบกพะเยาตลอดจนครอบครัว และประชาชนทั่วไปที่มีจิตใจเคารพเลื่อมใสต่อพ่อขุนเจืองธรรมิกราช
            เมื่อได้กล่าวถึงพ่อขุนเจืองก็คงจะต้องต่อกันยาวไปจนถึง นครวัด ที่เมืองเสียมราฐ ในอาณาจักรกัมพูชา ท่านอาจจะสงสัยว่าไป
เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร ก็ขอเล่าฉบับย่อดังนี้
            นครธม ซึ่งอยู่ห่างจากนครวัดประมาณ ๔ กม.นั้นสร้างโดยกษัตริย์มหาราชองค์สุดท้ายของขอม คือพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งนามนี้คงจะคุ้นหูของเราชาวไทยอยู่ สิ่งก่อสร้างของกษัตริย์องค์นี้มีอยู่ในเมืองไทยมากมายหลายแห่ง เช่น อโรคยาศาล หรือจะเรียกให้ทันสมัยก็คงต้องเรียกว่าสุขศาลา หรืออนามัย แผ่นดินพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เรืองอำนาจมากและก่อสร้างมากจนเมื่อสิ้นรัชกาลของพระองค์แล้วขอม หรือเขมรในปัจจุบันก็อ่อนกำลังลงจนไม่กลับคืนมามีอำนาจได้อีก แผ่นดินของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ อยู่ระหว่าง พ.ศ.๑๗๒๔ - ๑๗๖๑  ปราสาทบายนหรือนครธมก็สร้างอยู่ในระยะที่ท่านครองราชย์สมบัติอยู่ ๓๗ ปีนั่นแหละ ส่วนนครวัดนั้นสร้างในสมัย
พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒  สร้างก่อนนครธม (แต่หลังปรางค์สามยอดที่ลพบุรี) ทั้งนครวัดและนครธม (ธม แปลว่า ใหญ่) เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก และเสียมราฐเคยถูกทัพไทยตีแตก เมื่อแผ่นดินพระเจ้าสามพระยาแห่งกรุงศรีอยุธยา และเสียมราฐกลายเป็นเมืองร้างอยู่ร่วมห้าร้อยปีคือ นับตั้งแต่ไทยตีได้ เขมรก็ย้ายเมืองหลวงจากเมืองพระนครหรือนครธมไปอยู่ที่อื่น  นครวัด นครธม ก็กลายเป็นเมืองร้างที่จมอยู่ในหมู่แมกไม้ ที่รากต้นไม้แทรกเข้าไปอยู่ในระหว่างหินที่เป็นปราสาท ปัจจุบันได้บูรณะพัฒนากันใหม่จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ แต่ปราสาทหลายแห่งในเสียมราฐ เมืองซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของขอมมาร่วมสี่ร้อยปี กษัตริย์แต่ละองค์ต่างก็สร้างปราสาทเอาไว้ แต่ไม่มีองค์ไหนจะสร้างได้ยิ่งใหญ่เท่าชัยวรมันที่ ๗ กับสุริยวรมันที่ ๒ ปราสาทหลายหลังในวันนี้ วันที่ผมได้มีโอกาสไปชมแล้วถึง ๒ ครั้ง เขายังปล่อยให้ต้นไม้ใหญ่มหึมามีรากชอนไชเข้าไปตามร่องของปราสาท ตามกำแพงหิน ให้เห็นความเก่าแก่ของปราสาทแต่ละหลังนั้นว่านานเพียงใด
            ขอมนั้นมีศัตรูสำคัญคือ พวกจาม ที่อยู่ในเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันจะเรียกว่า สิ้นชาติ หรือถูกกลืนชาติไปแล้ว อาณาจักรจาม อยู่ในแผ่นดินญวนมีอำนาจมาก และเป็นคู่แค้นกับขอม รบกันมานานหลายร้อยปี ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะเรื่อยมา ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันตอนที่กำลังสร้างนครวัด ก็คงกำลังมีการรบกับพวกจาม จะเห็นว่าการแกะสลักหินของปราสาทมีภาพหนึ่งที่เป็นภาพของกองทัพไทยคือภาพที่จารึกไว้ว่า "เสียมกุก" จะเห็นกำลังพลของกองทัพเสียมกุก ร่าเริง ผิดกับภาพกำลังพลภาพแกะสลักอื่น ๆ แสดงถึงความเป็นอิสระ ไม่ใช่เมืองขึ้นยกมาช่วยขอมรบ มาอย่างพันธมิตรที่มาช่วยขอมรบ จึงองอาจร่าเริงกันนัก การแกะสลักหินนั้นเก่งจริง ๆ มองออกเลยทีเดียวถึงความหมายของภาพ สมกับที่เป็นสิ่งมหวัศจรรย์ของโลกและคำว่า เสียม ก็คือสยาม จึงสันนิษฐานได้ว่า เป็นกองทัพสยามที่ยกมาช่วยขอมรบจาม และหากเทียบสมัยของพระเจ้าชัยสุริยวรมันที่ ๒ ก็จะตรงกับสมัยที่พะเยากำลังรุ่งเรือง แม้จะยังไม่สุดขีดแต่ก็มีอำนาจมาก สามารถขยายอาณาเขตไปได้มากดังที่ได้กล่าวมาแล้ว นั่นคือ สมัยของพ่อขุนเจืองธรรมิกราช ที่จะมีขีดความสามารถ ถึงขั้นยกทัพจากลุ่มแม่น้ำอิงมาช่วยขอมรบจามได้ และท่านน่าจะคุมกองทัพมาเองด้วยซ้ำไป ทหารในภาพแกะสลักจึงร่าเริงเช่นนั้น เพราะหากไปเทียบสมัยของพ่อขุนงำเมือง ที่พะเยาเจริญสูงสุด ยังไม่มาถึงเพราะพ่อขึนงำเมืองต้องตั้งแต่ พ.ศ.๑๘๐๑ ซึ่งจะมีความรุ่งเรืองพร้อมกันนี้ ๓ อาณาจักรดัวยกันคือ อาณาจักรของพ่อขุนเม็งราย ที่เชียงใหม่ (เดิมอยู่ที่เชียงราย) พ่อขุนรามคำแหง ที่สุโขทัย และพ่อขุนงำเมือง ที่พะเยา กษัตริย์องค์เดียวของสยามในตอนที่กำลังสร้างนครวัด และคงพอดีกับขอมรบกับจาม ยกทัพไปช่วยก็ควรจะเป็นพ่อขุนเจืองธรรมิกราชเท่านั้น น่าจะเป็นความภาคภูมิใจของชาติไทยที่เคยยกไปช่วยขอม ชาติที่ยิ่งใหญ่ชาติหนึ่งในเวลานั้นรบ และไทยยังเคยตีได้เสียมราฐ หรือเคยครองนครวัด นครธมมาก่อนเมื่อห้าร้อยปีมาแล้วด้วย

            อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง ตั้งอยู่ริมถนนที่เลียบริมกว๊านพะเยา มีลักษณะเป็นรูปหล่อสำริด มีลักษณะสุขุม มีอำนาจ พระหัตถ์ถือดาบอาญาสิทธิ์ ความสูงเท่าครึ่งของพระองค์จริง ประมาณ ๒ เมตร ๗๐ เซนติเมตร ประดิษฐานบนพระแท่นสูง ๒ เมตร ๕๐ เซนติเมตร พระพักตร์หันออกสู่กว๊านพะเยา รอบบริเวณอนุสาวรีย์คือ สวนสาธารณะของเมืองพะเยา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่ง
            พญางำเมือง เป็นกษัตริย์ลำดับที่ ๙ ของราชวงศ์นับต่อจากพ่อขุนจอมธรรมเป็นต้นมา ประสูติเมื่อ พ.ศ.๑๗๘๑ เป็นราชบุตรของพ่อขุนมิ่งเมือง เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี ได้ศึกษาหาความรู้กับฤาษีที่ดอยด้วน พออายุได้ ๑๖ ปี ไปศึกษาที่เมืองละโว้ ปัจจุบันคือ ที่เขาสมอคอน อำเภอท่าวุ่ง จังหวัดลพบุรี ซึ่งในการไปศึกษาที่ละโว้ในครั้งนี้ จึงได้พบกับพระสหายคือ พ่อขุนเม็งราย และพ่อขุนรามคำแหง ที่ไปศึกษาเช่นเดียวกัน ท่านจึงเป็นเพื่อนสนิทกันต่างก็มีอำนาจแต่ไม่รบกัน ไม่ทำลายกัน และไม่แปลกใจเลยเมื่อพ่อขุนเม็งรายจะย้ายเมืองจากเวียงกุมกาม ที่อยู่แถว ๆ อ.สารภีและถูกน้ำท่วมเมืองจะไปสร้างเมืองใหม่ที่เชิงดอยสุเทพ ทำไมท่านจึงเชิญอีก ๒ พ่อขุนไปร่วมพิจารณาภูมิประเทศที่จะสร้างเวียงพิงด้วย ท่านอยู่กันคนละทิศ ห่างกันหลายร้อยกิโลเมตร แล้วไปรู้จักกันได้อย่างไร แต่เมื่อศึกษาประวัติของ ๓ พระองค์ แล้วก็จะทราบว่าทั้ง ๓ พระองค์ เคยไปศึกษากับฤาษีที่เขาสมอคอน เมืองละโว้ ปัจจุบันก็มีวัดเขาสมอคอน และเคยมีพระอาจารย์ดัง ๆ ที่วัดนี้ถึง ๒ องค์ แต่มรณภาพไปหมดแล้ว พญางำเมืองครองเมืองพะเยา เมื่อ พ.ศ.๑๘๐๑ มีชายาชื่อ นางอั้วเชียงแสน คำว่าเชียงแสนมาต่อท้ายนามแสดงว่า นางอั้วเป็นธิดาของเมืองเชียงแสน ทำให้เมืองทั้งสองเป็นพันธมิตรกัน และการที่สามกษัตริย์เป็นพระสหายร่วมสำนักเรียนเดียวกัน ทำให้ร่วมการป้องกันภัยจากพวกมองโกล ซึ่งกำลังเข้ามารุกรานแดนพม่าแล้ว ๓ กษัตริย์ได้ทำสัญญากันใน พ.ศ.๑๘๓๐ ก่อนทำสัญญา พญาเม็งรายเคยยกทัพไปพะเยาแต่ไม่ได้รบกัน มีแต่การเจรจากันเข้าใจว่าความเป็นพระสหาย และด้วยความเข้มแข็งของพญางำเมือง ในขณะนั้นเป็นอุปสรรคต่อการขยายอาณาเขตของพญาเม็งรายที่จะขยายลงมาทางใต้ จึงต้องขยายออกไปทางฝางมายังหริภุญชัย มาสร้างเวียงกุมกาม และเวียงพิงค์ ส่วนพญางำเมืองก็ขยายอาณาเขตออกไปทางตะวันออก โดยเข้ายึดเมืองปัว กษัตริย์องค์สุดท้ายของพะเยาคือ พญาคำฟู (พ.ศ.๑๘๗๗ - ๑๘๗๙) ซึ่งพะเยาต้องเข้าไปรวมกับล้านนาคือ เชียงใหม่ และทางล้านนาก็ทรงผู้แทนมาปกครอง แต่จะให้ความสำคัญสูงมาก ซึ่งมักจะส่งเชื้อพระวงศ์มาปกครอง และกำหนดตำแหน่งเจ้าเมืองเป็น "เจ้าสี่หมื่น"
            เส้นทาง การเดินทางไปพะเยา ไปชมกว๊านพะเยา ยามพระอาทิตย์จะลับขุนเขาของผมในครั้งนี้เป็นการเดินทางที่มีภารกิจหลักคือ การไปทอดกฐินที่ฝั่งหมิ่น ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง จ.เชียงราย ออกจากกรุงเทพ ฯ แล้วไปผ่านนครสวรรค์อย่าลืมท่านที่ไม่ได้ไปผ่านมานานแล้ว ก่อนถึงตัวเมืองนครสวรรค์ จะมีทางแยกซ้ายเป็นทางบายพาส ให้เลี้ยวซ้ายไปออกถนนพหลโยธินอีกครั้ง เมื่อพ้นความจอแจของตัวเมืองนครสวรรค์ไปแล้ว ไม่แวะตัวเมืองก็ออกบายพาสไปเลยเร็วดี จากนครสวรรค์ไปผ่านกำแพงเพชร ต่อไปยังตากแวะกินอาหารกลางวันที่ตาก ลองชิมร้านที่ไม่เคยชิมดูไม่ดีเท่าที่ควร เลยไม่ขอเล่าให้ฟัง ไปกราบพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งศาลอยู่ตรงสี่แยกสัญญานที่จะเลี้ยวเข้าเมือง  เลี้ยวซ้ายไปแล้วศาลของพระองค์ท่านจะอยู่ทางขวามือ
            จากตาก ไปผ่าน อ.เถิน  ใครนึกสนุกอยากวิ่งรถขึ้นเขาสูง ๆ เพื่อไปเชียงใหม่ให้เลี้ยวซ้ายที่ อ.เถิน  ไปออก อ.ลี้ ป่าซาง ลำพูน เชียงใหม่ สมัยนี้ทางดีหมดแล้ว ขึ้นเขาสนุกดี จากเถินมาผ่านลำปาง ไปผ่าน อ.งาว ผ่านวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่อยู่ก่อนเข้าตัวเมืองพะเยา จากนั้นก็ถึงตัวเมืองพะเยา และเข้าพักที่โรงแรมที่เคยพักราคาไม่แพงคืนละ ๕๐๐ บาท  สะดวกสบายพอสมควร ข้อสำคัญตกตอนกลางคืน ถนนหน้าทางเข้าโรงแรมจะเป็นแหล่งสรรพาหาร เดินกินกันตลอดคืนก็ไม่ตลอดสาย ไปพะเยาวันนี้ เป็นทางผ่านไม่ได้แวะเที่ยวที่ไหนเลย แต่ไปทันเห็นพระอาทิตย์ตกลับเหลี่ยมเขา ที่อยู่ด้านตะวันตกของกว๊านพะเยา สวยมาก พระอาทิตย์จะไม่ตกลงกว๊านเพราะ ทิวเขาจะบังเสียก่อน แต่ตกลับทิวเขาก็สวยมาก แสงอาทิตย์ใกล้ลับเหลี่ยมเขาจะสาดแสงลงสู่พื้นน้ำ ในกว๊านพะเยาด้วย ไม่ทราบว่าภาพที่ถ่ายมาจะอวดความงามได้แค่ไหน
            ขอทบทวนแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในตัวอำเภอเมืองพะเยาเอาไว้ดังนี้
                อนุสาวรีย์พญางำเมือง  อยู่ถนนเลียบริมกว๊านพะเยา ส่วนอนุสาวรีย์ขุนเจืองธรรมิกราชอยู่ในค่ายทหาร ซึ่งได้เล่ารายละเอียดไปแล้ว
                หลักเมืองพะเยา  เดิมจังหวัดะเยามีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๐  เพื่อเป็นศิริมงคลแก่บ้านเมือง จึงได้สร้างศาลหลักเมือง สร้างครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐  ไม่ประสบความสำเร็จ มาสร้างสำเร็จในปี พ.ศ.๒๕๓๐  แต่ต้องย้ายสถานที่สร้าง แต่คงอยู่ที่ตำบลเวียง อำเภอเมือง

                วัดศรีโคมคำ  ไปพะเยาชาวพุทธต้องไปวัดนี้ให้ได้ อยู่ริมกว๊านพะเยา ถามชาวเมืองดูรู้จักหมด ไปเพื่อไปไหว้ "พระเจ้าตนหลวง" พระประธานในวิหาร ไปชมอุโบสถที่ยื่นออกไปในกว๊าน มีพิพิธภัณฑ์เก็บโบราณวัตถุและศิลาจารึก พะเยาได้ชื่อว่ามีศิลาจารึกมาก
                วัดศรีอุโมงคำ  เป็นวัดที่มีเจดีย์สมัยเชียงแสน มีพระพุทธรูปสำคัญคือ พระเจ้าล้านตื้อ หรือหลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปสกุลพะเยา งามที่สุดในล้านนาไทยถามทางให้ถามว่า วัด "สูง" ไปทางไหน  ไปทางเดียวกับไปศาลหลักเมือง

                วัดอนาลโย  ออกจากเมืองไปทางจะไปเชียงราย จะมีป้ายบอก เลี้ยวซ้ายตามป้ายไป วัดแบ่งเขตหนึ่งเป็นอุทยานพุทธศาสนา ก่อสร้างยอดเยี่ยมที่สุด อีกด้านหนึ่งคือ บริเวณวัดที่ร่มรื่น  กว้างขวางเมืองเห็นกว๊าน หากขึ้นไปเดือนกุมภาพันธ์ สองข้างทางเต็มไปด้วยดอกฝ้ายคำสีเหลือง
                วัดหลวงราชสัณฐาน  ติดถนนพหลโยธิน สิ่งสำคัญคือ วิหาร เจดีย์ กำแพงวัด ภายในวิหารมีจิตรกรรมฝาผนัง ตัววิหารงามด้วยสถาปัตยกรรมล้านนา ภาพที่เขียนเรื่องมหาชาติชาดก
                พระธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุจอมทอง   บรรจุพระมหาธาตุ และพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า
                เจดีย์วัดลี  สถาปัตยกรรมพื้นเมืองล้านนา เป็นเจดีย์ที่งดงามแห่งหนึ่งของพะเยา
                บ้านสุทธิภักดี  อยู่ตรงข้ามกับตัวกว๊านพะเยา ชื่อบ้านคือ นามสกุลพระราชทาน เป็นบ้านของคหบดีที่มีชื่อเสียงของพะเยา คือ หลวงศรีนครานุกูล  เคยต้อนรับบุคคลสำคัญ ๆ มาแล้ว มีบ้านที่สร้างด้วยไม้สักทองถึง ๓ หลัง
                วัดป่าแดงบุนนาค  ตำบลท่าวังทอง อ.เมือง เป็นวัดโบราณที่สำคัญของพะเยา พบศิลาจารึกที่จารึกไว้ตั้งแต่ พ.ศ.๒๐๔๒  และ พ.ศ.๒๐๗๘  วัดนี้ถือเป็นหลักฐานสำคัญของพะเยา ที่เป็นหลักฐานยืนยันความสัมพันธ์ของ ๓ อาณาจักร คือ พะเยา ล้านนา และสุโขทัย
                ต้นไม้ประจำจังหวัดพะเยา คือ  ต้นสารภีไทย และมีคำขวัญประจำเมืองว่า
                กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม
                ไปชิมอาหาร  มื้อเย็นในวันที่ไปถึงผมกินอาหารเย็นที่ร้านเคยชวนชิมไปแล้ว ริมกว๊านพะเยา อยู่ใกล้ ๆ กับราชานุสาวรีย์พญางำเมือง อาหารอร่อยคือ กุ้งชุบแป้งทอด ปลาบึกผัดฉ่า ปลาบึกกว๊านพะเยา เนื้อแน่น หนังหนาเคี้ยวสนุก ยำผักบุ้งกรอบ อาหารจากปลานิล ปลาค้าว
                ส่วนมื้อเช้าวันรุ่งขึ้นก่อนเดินทางต่อไปทอดกฐิน  ที่วัดฝั่งหมิ่น ไปกินต้มเลือดหมู ก๋วยจั๊บ หรือจะตามด้วยข้าวหมูแดง หมูกรอบก็ได้  ไปตั้งต้นจากถนนพหลโยธิน วิ่งเข้าเขตเมืองพะเยาแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าเมืองที่สี่แยกประตูชัย ไปตามพหลโยธินสายเก่า วิ่งไปไม่เท่าไรจะเห็นธนาคารกรุงไทย อยู่ทางขวา ร้านอยู่ทางซ้าย เป็นร้านขนาด ๒ ห้อง บ่นน้อยใจว่าขอป้ายคลีนฟู๊ด กู๊ดเทสท์ ยังไม่ได้ตกไปอีก ๒ - ๓ ข้อ อร่อย สะอาด ราคาย่อมเยาแล้ว แต่ตกตรงสุขากับไม่ได้ใส่หมวก  อพยพมาอยู่พะเยาได้ ๑๘ ปีแล้ว เกาเหลาเลือดหมูผักจิงจูฉ่าย น้ำซุปซดเด็ดนัก ตามด้วยข้าวสวยร้อน ๆ ก๋วยจั๊บน้ำข้น น้ำใสก็มีแบบเยาวราช ก๋วยเตี๋ยวเครื่องในหมู กะเพาะปลา ตือฮวนเกี๊ยมฉ่าย ข้าวขาหมู ข้าวหมูกรอบ ข้าวหมูแดง  อาหารรับรองความอร่อยทุกรายการ อิ่มจนพุงกาง
                ขอทบทวนร้านในกรุงเทพ ฯ สาเหตุเพราะย้ายร้าน และมีของกินมากขึ้น ความอร่อยคงที่ที่เพิ่มขึ้นมาคือ ป้าย คลีน ฟู๊ด กู๊ดเทสท์ ของกระทรวงสาธารณสุข  ร้านเดิมอยู่ซอย ๑๕ วัดเฉลิมพระเกียรติ์ เมืองนนท์ ตอนนี้ย้ายร้านมาแล้ว เส้นทางหากเริ่มต้นจากสี่แยกเกษตรศาสตร์ ไปตามถนนงามวงค์วานไปจนถึงสี่แยกแคราย เลี้ยวซ้ายผ่านหน้าทางเข้ากระทรวงสาธารณสุข ขึ้นสะพานพระราม ๕ พอข้ามสะพานไปแล้ว มองทางขวามือจะเห็นป้ายตัวโต (อยู่ก่อนถึง โชว์รูม โตโยต้า)   แต่ต้องวิ่งเลยไปกลับรถที่ใต้สะพาน ที่จอดรถสะดวกสบาย เป็นร้านที่อยู่รวมกับร้านสวนอาหารธนู ที่มีอาหารตามสั่งแยกครัวกัน
                อาหารมาใหม่แต่ได้ชิมแล้ว เยี่ยมยอดมาก แต่ต้องชิมกันตอน ๑๗.๐๐ คือ โจ๊กผู้กำกับ ตามมาด้วย ข้าวแกง คุณแม่ผู้กำกับ ข้าวแกงจะมีอาหารหมุนเวียนไปทุกวัน เช่นวันที่ไป มีผัดเผ็ดปลาดุก อร่อยมาก พะโล้ และมีขนมจีนซาวน้ำด้วย "เย็นตาโฟ" รสจัด ใครชอบเย็นตาโฟต้องสั่ง ส่วนก๋วยเตี๋ยวอาหารอร่อยดั้งเดิม คงอร่อยเช่นเดิม เช่นบะหมี่แห้ง น้ำ ต้มยำ เส้นเล็ก ฯ เส้นใหญ่ ฯ เกาเหลาแห้ง น้ำ ต้มยำ ร้านนี้พวกถั่ว พริกป่น คั่วเอง บดเอง และใหม่อยู่เสมอ
                เพิ่มมาใหม่ เช่น ปีกไก่ทอด จานนี้สั่งมาหมดจานในพริบตา เพราะทอดได้เยี่ยมมีรสในตัว น่องไก่ทอด สะโพกไก่ทอดก็เช่นกัน เต้าหู้ทอดก็ดี กรอบนอกนุ่มใน น้ำจิ้มเด็ด ยังมีอาหารอีสานอีก ได้แก่ ส้มตำไทย ส้มตำปู ที่ชิมคือ ส้มตำไทยใส่ปูรสเด็ดจริง ๆ ยำมะม่วงเคยชิมแล้ว วันนี้ไม่ได้ชิม น้ำตก ลาบ คอหมูย่าง ติดมันนิด ๆ และอย่าลืมสั่งข้าวเหนียว ของหวานคือ "หวานเย็น"  ที่ผมชอบเรียกว่า ปังแดง ลูกชิต ถั่วแดง ขนมปังโรยน้ำแข็งใส และราดน้ำแดง ซดชื่นใจ กาแฟ ชา โบราณ  สูตรผู้กำกับ ชงเก่งนัก ซื้อกลับมาได้มีขวดใส่ให้เอากลับมา ที่ขาดหายไป บอกว่าขายดีจนทำไม่ทัน คือ ขนมปังใส้ลูกเกตุ ไม่ทำขายแล้ว ลองไปชิมดู ฝีมือ ผู้กำกับตัวจริง ส่วนอีกร้านให้ลูกน้องทำช่วยค่าครองชีพ อยู่ใกล้ ๆ กับสถานีตำรวจอำเภอองครักษ์ ผมตามไปชิมมาแล้ว แต่มีอาหารน้อยกว่าที่นี่มาก และที่มีมาใหม่อีกป้ายหนึ่งคือ ป้าย คลีน ฟู๊ด กู๊ด เทสท์ ของกระทรวงสาธารณสุขรับรองความสะอาดและความอร่อย

.................................................

| บน | หน้าต่อไป |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์