ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| หน้าต่อไป |

ลำพูน (๑)

           จังหวัดลำพูน เป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดในภาคเหนือ แต่ก็เป็นจังหวัดที่โบราณเก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือเช่นกัน ลำพูนเดิมชื่อเมือง "หริภุญชัย" เป็นถิ่นฐานเดิมของพวก "เมงบุตร" คือพวกชนเผ่าสกุลมอญในดินแดนสุววรณภูมิภาคเหนือ อันเป็นสาขาหนสึ่งของชนเผ่ามอญ จากมหาอาณาจักรพนม
           หริภุญชัย  สร้างเมื่อ พ.ศ.๑๒๐๔ โดยพระฤาษี ๒ องค์ องค์หนึ่งคือ วาสุเทพ ฤาษี (ที่นำนามของท่านไปตั้งชื่อเป็นดอยสุเทพ เชียงใหม่) พระฤาษีองค์นี้บำเพ็ยพรตภาวนาอยู่บนดอยสุเทพ เชียงใหม่ อีกองค์หนึ่งนามว่า สุกกะทันตะ บำเพ็ยพตรอยหู่ที่เขาสมอคอน ลพบุรี ซึ่งเขาสมอคอนนี้ในสมัยโบราณถือว่าเป็นสำนัก ตักศิลา ที่โอรสเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ มาร่ำเรียนวิชากัน ถึงกับมีตำนานว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ่อขุนเม็งรายมหาราช พ่อขุนงำเมือง (เจ้าเมืองพะเยา) ได้มาร่ำเรียน ณ สำนักตักศิลาเขาสมอคอนแห่งนี้ทั้ง ๓ พระองค์ จึงหลายเป็นมิตรสนิท และเมื่อพ่อขุนเม็งรายมหาราช ได้ตีเมืองหริภุญชัยได้แล้ว ก็ชักกชวนพ่อขุนอีก ๒ ท่านมาร่วมกันพิจารณาในการสร้างเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๑๘๓๙ และสามนครนี้คือ สุโขทัย เชียงใหม่ พะเยา ซึ่งมีอำนาจมากในภาคเหนือหรือล้านช้างก็ไม่เคยทำสงครามกันเลย ตำนานนี้อาจจะเป็นความจริงที่ทั้งสามพระองค์มาศึกษาวิชาความรู้ร่วมกันจึงกลายเป็นพระสหายสนิท
            เมื่อพระฤาษีทั้งสองได้ร่วมกันสร้างเมืองหริภุญชัยสำเร็จแล้ว ก็ส่งนายคะวะยะ พร้อมกับสุกกะทันตะฤาษีเป็นผุ้แทนไปทูลเชิญกษัตริย์กรุงละโว้ ขอให้ส่งเชื้อพระวงศ์มาครองเมืองหริภุญชัย ซึ่งบางตำนานก็บ่งว่า ต้องได้กษัตริย์องค์แรกเป็นสตรี และที่สงสัยกันว่า หริภุญชัย สมัยนั้น ห่างจากละโว้หรือลพบุรี จะรู้จักกันหรือ และเดินทางกี่เดือนจึงจะมาถึงก็น่าจะหายสงสัยได้ เพราะผู้มาเชิญน่าจะเสนอแนะก็คือ สุกกะทันตะฤาษี พระอาจารย์ใหญ่แห่งเขาสมอคอนลพบุรี (อยู่ในอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ถนนดีไปสะดกวก) สงสัยต่อไปว่า พระฤาษีวสุเทพ กับพระฤาษีสุกกะทันตะว่าท่านเดินทางไปมาหาสู่ รู้จักกันได้อย่างไร ก็จนปัญญาตอบอย่าถามมา หากให้เดาก็คงบอกได้ว่าระดับฤาษี หรือเกจิอาจารย์ระดับนี้จิตสมาธิท่านสูงนัก ท่านพูดคุยกันได้ทางโทรจิต แม้แต่พระเกจิอาจารย์รุ่นที่มรณภาพไปสัก ๒๐ ปีมานี้ หลายองค์ท่านก็ยังส่งโทรจิตถึงกันได้ จึงไม่ต้องสงสัยว่าพระฤาษี เมื่อ ๑,๓๐๐ ปี มาแล้วยิ่งเคร่งเสียกว่าพระเกจิอาจารย์ ความรู้ก็สูงกว่าท่านจะพบกันหรือคุยกันทางโทรจิตไม่ได้ ผมเดาและสันนิษฐานเอาเองไม่หลักฐานอะไรมายืนยัน หากไม่เชื่อก็อย่าโต้แย้งมาเลยเสียเวลาเปล่า เว้นท่านมีเอกสารที่สำคัญกว่าที่ผมเดา มีหลักฐานจะส่งสำเนามาให้ผมก็จะเป็นพระคุณยิ่งจะได้นำเผยแพร่ต่อไป
           พระเจ้ากรุงละโว้  จึงโปรดเกล้าให้พระธิดาคือ พระนางจามเทวี ซึ่งเป็นมเหสีของเจ้าเมืองรามปุระ ให้มาครองเมืองหริภุญชัย เป็นกษัตริย์องค์แรกของหริภุญชัย ใช้เวลาเดินทางมานับปี มาพร้อมด้วยข้าราชบริวาร และช่างฝีมือครบครัน ศิลปะของโบราณสถานในลำพูนจึงมีช่างฝีมือละโว้ ผสมกับช่างล้านนา (เวลานั้นเชียงใหม่ยังไม่ได้สร้าง รวมทั้งเวียงกุมกามด้วย)
            และในตำนานไม่ได้บอกต่อว่าตอนที่พระนางพจามเทวี เสด็จมานั้นพระสามีเสด็จมาด้วยหรือไม่ มีแต่บอกว่ามีครรภ์ แต่ไม่ได้บอกว่าทรงครรภ์แล้วกี่เดือน
            หริภุญชัยในยุคหลังนับตั้งแต่ พ่อขุนเม็งรายมหาราช ยกทัพมาตีฝาง และใช้ฝางเป็นฐานทัพยกมาตีได้หริภุญชัย ต่อมาก็ไปสร้างเวียงกุมกาม (อดยู่ในท้องที่อำเภอเมืองต่อสารภี ของเชียงใหม่) สร้างเชียงใหม่ หริภุญชัยก็หมดอำนาจตั้งแต่นั้นมา ดูเหมือนจะไม่ได้กลับคืนเป็นเอกราชอีกเลย เจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้ายคือ พลตรีเจ้าจักรคำขจีรศักดิ์ และรัฐบาลได้ยกเลิกตำแหน่งเจ้าผุ้ครองนคร เมื่อไทยเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕
           การเดินทางไปยังลำพูน หากเป็นสมัยที่ผมยังรับราชการเป็นผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๗ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ การมากรุงเทพ ฯ ทุกครั้ง หากมาทางรถยนตร์ถือเป็นเรื่องใหญ่ต้องเตรียมการและนายทหารสมัยนั้นยากจน หาใครมีรถเก๋งขี่นี่หายากเต็มาที ทั้ง ๆ ที่รถเก๋งโฟลคสวาเก้น (โฟลคเต่า) ราคาเงินสดแถมผ่อนได้สี่งงวด คันละ "๔๐,๐๐๐ บาท" เท่านั้นเอง จำราคาได้แม่นเพราะเป็นรถเก๋งคันแรกที่เคยมีกับเขา ที่ว่าเรื่องใหญ่เพราะว่าผมต้องเดินทางมาด้วยรถจิ๊บทหาร (ขับเคลื่อนสี่ล้อ) รถเก๋งหายากที่จะไปมาเชียงใหม่ได้ เพราะจะขึ้นเขาไม่ไหว รถปิคอัพสมัยนั้นยังไม่เกิด มีเหมือนกันเป็นรถบรรทุกเล็กคล้ายกัน วิ่งโก้ ๆ อย่างเดี๋ยวนี้ไม่มี ถนนหฤโหด จากเชียงใหม่ถึงกรุงเทพ ฯ ลาดยางจริง ๆ คงไม่ถึง ๓๐๐ กิโลเมตร ถนนแคบ กว้างเพียง ๖ - ๘ เมตรเท่านั้น หาปั้มเติมน้ำมันยากต้องเติมตามในเมืองหรืออำเภอใหญ่ ๆ จึงจะมีปั้มน้ำมัน ดังนั้นช่วงที่มากรุงเทพ ฯ แรก ๆ คือ ต้องวิ่งมาจากเชียงใหม่ "ผ่านลำพูน" มาออกอำเภอป่าซาง ซึ่งสำคัญในสมัยนั้นมาก อำเภอลี้ อำเภอบ้านโฮ่ง ทีนี้ข้ามเขาใหญ่ทั้งลูก รถกำลังไม่ดีขึ้นเขาไม่ไหวถนนแคบและลาดชันมาก เมื่อลงจากเขาจะมาโผล่ที่อำเภอเถิน ต่อไปก็ไปตาก กำแพงเพชร ฯ หากกถามว่าทำไมไม่ไปทางลำปาง ก็จ้องตอบว่าถนนจากลำปางไปเชียงใหม่ที่ผ่านห้างฉัตรในปัจจุบันนี้ เมื่อ ๓๕ ปีที่แล้วกำลังสำรวจเส้นทางเพื่อก่อสร้าง คนลำปางจะมาเชียงใหม่ไม่ใช่วิ่งแค่ ๙๗ กิโลเมตร ต้องวิ่งมาเถินแล้วข้ามเขาไปลำพูน
            ดังนั้นเมื่อหาปั้มยาก ที่ต้องเตรียมการเป็นงานใหญ่ คือต้องมีรถพ่วง ลากมาด้วยและในรถพ่วงมีถังน้ำมันขนาด ๒๐๐ ลิตร ไส่มา ๑ ถัง มีติดไว้ที่ท้ายรถอีก ๒๐ ลิตร และในรถพ่วงยังมี "หีบ" ไม่ใบใหญ่ต่อให้กว้างพอดีกกับความกว้างของรถพ่วง ช่องกลางระหว่างถังน้ำมันกับหีบ ที่ผมตั้งชื่อให้ว่า หีบทัศนาจรก็ใส่กระเป๋าเดินทางและของฝากทั้งหลายแหล่ เพราะข้าราชการเชียงใหม่นั้น คนยุคก่อนเขาบอกว่าเป็นพ่อเลี้ยงคือ คนรวยของชาวเชียงใหม่ เขามาเยี่ยมเรา พ่อเลี้ยงก็ต้องเลี้ยงเขา เราไปเยี่ยมเขาที่กรุงเทพ ฯ ก็ต้องเลี้ยงเขา เพราะเขาบอกว่า พ่อเลี้ยงเชียงใหม่ลงมาแล้ว เป็นงั้นไป ส่วนหีบทัศนาจรนั้น จะมีข้าวสาร อาหารแห้ง เตาแก๊สแบบโบราณพอทำอาหารได้ บางโอกาสหากไปเที่ยวก็จะมีโซดา สุราพร้อม มีที่ใส่กระติกน้ำแข็งใบโต ๆ ไปด้วย ในรถจิ๊บใส่อะไรมากไม่ได้และเวลามาจากเชียงใหม่เป็นคนไทย แต่ถนนลูกรังเกือบตลอดทางกว่า ๖๐๐ กิโลเมตร เมื่อถึงกรุงเทพ ฯ จึงแปรสภาพกลายเป็นลูกครึ่งคือ "ครึ่งผี ครึ่งคน"
            ที่ผมเล่ามาให้ฟังยาวเหยียดเช่นนี้ เพราะจากลำกพูนผมจะกลับในเส้นทางโบราณที่ผมเคยเดินทางประจำ เมื่อเกือบสี่สิบปีที่แล้ว นักเดินทางรุ่นใหม่อ่านแล้วคงขำกลิ้ง ทำไมต้องมีหีบทัศนาจรทำไมต้องมีถังน้ำมันอะไหล่ขนาด ๒๐๐ ลิตร แม้กระทั่งทุกวันนี้รถผมยังมีถังน้ำมันอะไหล่ ๑๒ ลิตร ติดรถตลอดเวลา ถึงในสมัยนี้ก็เถอะ บางช่วงจะหาปั้มไม่ได้เช่นกัน เช่นจากสวรรค์โลก จะไปยังแม่เมาะลำปาง ๕๐ กิโลเมตร ไม่มีปั้มน้ำมันเลย เส้นทางลำพูนไปกรุงเทพ ฯ ไปตามถนนพหลโยธินแล้วแยกซ้าย ที่กิโลเมตร ๕๔ ไปเข้าสายเอเชีย (สายชื่อนจะต้องแค่ชัยนาทเท่านั้น จากนั้นพหลโยธินดั้งเดิมที่มาจากตาคลีจะมาบรรจบ ต้องเรียกว่า พหลโยธิน) ไปผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก ลำปาง ก่อนเข้าเมืองลำปาง ๑๗ กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไปยัง อำเภอเกาะคา ทางแยกซ้ายเข้าอำเภอเกาะคา ไม่ตรงไปตัวเมืองลำปางไป ผ่านพระธาตุลำปางหลวง วัดปงยางคก (พระนางจามเทวี เคยมาพักขบวน) ไปออกห้างฉัตรจะย่นระยะทางไปประมาณ ๒๕ กิโลเมตร แต่หากจะเข้าเมืองลำปาง ถึงแยกเข้าเกาะคาก็เลี้ยวขวาไปลำปางไปออกถนนไปเชียงใหม่ พอถึงทางแยกเข้าเมืองลำพูนก็ตรงเข้าเมือง หากเลี้ยวขวาก็ไปเชียงใหม่
           เส้นที่ ๒ เส้นทางโบราณ  ผมไม่ได้ไปมากกว่า ๓๐ ปี ลองเสี่ยงกลับจากลำพูน ปรากฎว่ากถนนแจ่มแจ๋วดีมาก เมื่อขึ้นเขาที่ผมกลัวเหลือเกินเพราะยังจำสมัยเดินทางด้วยรถจิ๊บ ลากด้วยรถพ่วงได้เสียวแค่ไหน แต่กลับมาาคราวนี้มีแต่ความงดงามของธรรมชาติสองฝั่งทาง ยิ่งตอนสูงที่สุดมองลงมายิ่งสวย ไม่มีความหวาดเสียวเหลืออยู่เลย เส้นทางนี้เที่ยวไป คงไปผ่าน จังหวัดตาก แต่พอมาถึง อำเภอเถิน ก็เลี้ยวซ้าย วิ่งขึ้นเขาไปลงที่อำเภอลี้ (มีทางแยกไปอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ได้) อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอป่าซาง "ลำพูน"
           ที่พัก  ลำพูน เป็นเมืองเล็ก กลายเป็นเมืองผ่านไป คนมาเที่ยวจึงพักเสียเชียงใหม่เป็นส่วนใหญ่ ส่วนผมถือว่า จะเล่าถึงเมืองไหนต้องหาทางนอนในเมืองนั้นให้ได้ คืนแรกนอนเชียงใหม่ไปเที่ยวลำพูน คืนที่สองมานอนรีสอร์ท ที่พักดี อาหารอร่อย ใกกล้แหล่งท่องเที่ยวสำคัญคือ พระพุทธบาท - ตากผ้า  เสร็จแล้วก็กลับมาทางอำเภเถิน "สวนสวย รีสอร์ท" ๐๕๓ ๕๗๒๖๕๒ ทีพักดี อาหารอร่อย
            ขอเล่าถึงสถานที่ท่องเที่ยวในตัวเมืองลำพูนเสียก่อน ก่อนที่จะไปยังอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมี ๒ แห่ง
           อนุสาวรีย์กพระนางจามเทวี  อยู่บริเวณสวนสาธารณะ หนองคอก สงสัยทางถามชาวเมืองดูได้น่าจะรู้จักเกือบทุกคน สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระนาง ฯ ผู้เป็นปฐมกกษัตริย์แห่งหริภุญชัย พระนางเป็นปราชญ์ที่มีคุณธรรม มีความสามารถ กล้าหาญ ได้นำพระพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรมมาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้ จนมีความรุ่งเรืองมาถึงปัจจุบันนี้ อนุสาวรีย์แห่งนี้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร ได้เสด็จมาเปิดเมื่อ ๒ ตุลาคม ๒๕๒๕ สง่างามเป็นศรีแก่เมืองลำพูน
           พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหริภุญชัย เยื้องกับวัดพระธาตุหริภุญชัย ซึ่งผมกล่าวเสมอว่า หากไปจังหวัดใดที่มีพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หรือพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นก็ตาม ให้หาเวลาเข้าชมให้ได้ สละเวลาให้สัก ๒ - ๓ ชั่วโมง อย่าสักแต่ว่าไปเห็น ไปเดินผ่าน ขอให้ชมแล้วอ่านให้ละเอียด ท่านจะได้เกิดความภาคภูมิใจว่า เราเกิดมาเป็นคนไทย ที่รุ่งเรืองมาแต่โบราณกาล และหากเดินทางมาก ๆ เข้า ท่านจะสงสัยเหมือนอย่างผมว่า ประวัติศาสตร์ไทย ที่ฝรั่งเขาเขียนไว้ อพยพมาจากจีนแล้วที่ขุดค้นพบโบราณวัตถุอายุหลายร้อยพันปีนั้น ไม่เก่านานกว่าการอพยพของคนไทยหรือ เรียกคนอพยพว่า ไทยน้อย ทำไมไม่คิดว่าไทยส่วนใหญ่อยู่ในแผ่นดินทุกวันนี้มาก่อน ไทยหนีมาจากจีนน้อยกว่าเลยเรียกไทยน้อย ผมเคยเขียนไปแล้วโดนด่ากลับมาว่า "อ้ายนักแก้ประวัติศาสตร์" ผมวิเคราะห์ให้ทราบ คนที่ว่าผมนั้นเคยได้เดินทางในประเทศไทยเท่าผมไหม

           วัดพระธาตุหริภุญชัยมหาวิหาร  ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน มีถนนล้อมรอบทั้งสี่ด้าน คือ ถนนอัฎฐารส ทางทิศเหนือ ถนนชัยมงคล ทางทิศใต้ ถนนรอบเมือง ทางทิศตะวันออก และถนนอินทยงยศทางทิศตะวันตก
            ชื่อของวัดพระธาตุหริภุญชัยมาจากชื่อเมืองหริภุญชัย ตามที่ตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อสมัยพุทธกาลพระพุทธองค์ได้เสด็จมาบิณฑบาตร และฉันลูกสมอ ที่ชาวลั๊วนำมาถวาย ได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า สถานที่แห่งนี้จะมีผู้มาสร้างเมือง และตั้งชื่อว่า "หริภุญชัยนคร"  ซึ่งในกาลเวลาต่อมาก็มีพระฤาษี ๒ องค์ ดังกล่าวแล้วมาสร้าง หริภุญชัย แปลว่าเมืองที่พระพุทธเจ้าเคยเสวยลูกสมอ
            ส่วนพระบรมธาตุนั้น ตำนานกล่าวไว้ว่า พระพุทธทำนาย นอกจากตรัสไว้ว่าเป็นที่ตั้งนครแล้วยังตรัสไว้อีกว่า จะเป็นที่ประดิษฐานพระสุวรรณเจดีย์อีกด้วย เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปได้ ๒๑๘ ปี พระเจ้าศรีธรรมโศกราช ได้พบพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าที่เมืองคฤห จึงเกิดศรัทธาเลื่อมใสอยากจะสร้างพระเจดีย์บรรจุพระธาตุเหล่านั้นให้ได้ ๘๔,๐๐๐ แห่ง จึงมอบให้พระเถระอัญเชิญพระบรมธาตุไปบรรจุต่าง ๆ ทั่งแคว้นชมภูทวีป สันนิษฐานว่า ประเทศไทยก็คงได้รับส่วนแบ่งพระบรมธาตุในครั้งนั้นด้วย บางตำนานบอกไว้ชัดเจนเลยว่า พระกุมาระกัสปะเถระ และพระเมฆียะเถระ เป็นผู้อัญเชิญพระบรมธาตุจากพระเจ้าอโศกมหาราชมาไว้ที่ลัมภะกัปปะนคร และหริภุญชัยนคร (แต่หากพิจารณาจาก พ.ศ. ที่สร้างเมืองนครหริภุญชัยแล้วน่าเป็นไปไม่ได้) แต่อีกตำนานก็กล่าวว่าพระบรมธาตุคือ พระเกศาที่พระพุทธองค์ได้พระราชทานไว้เมื่อคราวมาทรงบาตร
            สิ่งที่น่าสนใจหภายในวัดพระธาตุ ฯคือ
           ซุ้มประตู  ช่างโบราณสมัยศรีวิชัย มีสิงห์ใหญ่คู่หนึ่งยืนอยู่หน้าประตู ปั้นสมัยพระเจ้าอาทิตยราช
           วิหารหลวง  วิหารหลังใหญ่คือวิหารหลวง เป็นวิหารใหม่ที่สร้างแทนวิหารเก่าที่พังเพราะพายุ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๘ ภายในพระวิหารมีพระพุทธรูปใหญ่ ๓ องค์ ก่ออิฐถือปูน ลงรัก ปิดทอง
           พระบรมธาตุหริภุญชัย  อยู่หลังวิหารหลวง ประดิษฐานพระเกศธาตุบรรจุในโกศทองคำ
           ปทุมเจดีย์ หรือสุวรรณเจดีย์ อยู่ทางขวาขององค์พระธาตุ ช่างฝีมือละโว้
           กังสดาล  ใบใหญ่ พระกัญจนาหาเถระแห่งเมืองแพร่ สร้างถวายพระนางจามเทวี
           ระฆังใหญ่  เจ้ากาวิโราส ผู้ครองนครเชียงใหม่ หล่อระฆังถวายเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๗
           อนุสาวรีย์สุเทวฤาษี  อยู่บริเวณดอยติ ปากทางเข้าเมืองลำพูน เมื่อจะมาจากลำปาง
           วัดมหาวัน หรือชาวบ้านเรียกว่า วัดกู่กุด วัดนี้นักเลงพระควรไปให้ได้ เพราะคือที่กำเนิดของพระรอดลำพูน หรือพระรอดมหาวัน ที่เลื่องลือมานับพันปี วัดมหาวันตั้งอยู่ที่ถนนจามเทวี เลียบไปตามคูเมืองเก่า สร้างมาแต่สมัยพระนางจามเทวี มีพระพุทธสิทธิหรือพระศิลาดำ ซึ่งพระนางจามเทวีอัญเชิญมาจากเมืองละโว้ ชาวเมืองเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระรอดหลวง หรือพระรอดลำพูน ซึ่งเป็นแบบพิมพ์ในการสร้างพระเครื่องนามพระรอดมหาวัน เพื่อแจกจ่ายทหารเข้าทำการรบป้องกันหริภุญชัย และคงดังมาตั้งแตสมัยนั้นตราบเท่าทุกวันนี้ และยังมีพระอีกองค์คือ พระศิลาขาว หรือเสตังคมณี องค์นี้พระนางจามเทวี นำมาจากละโว้เช่นกัน แต่คราวที่พ่อขุนเม็งรายเข้าตีเมืองลำพูนนั้น ได้ยิงธนูไฟเข้าไปในเมือง แต่มีสถานที่แห่งหนึ่ง (วิหาร) ไม่ไหม้ตั้งโดดเด่นอยู่กลางเมือง เข้าไปตรวจดูจึงพบพระศิลาขาว หรือเสตังคมณี พ่อขุนเม็งรายจึงนำไปไว้เมืองเชียงใหม่ เมื่อได้สร้างวัดแรกของเชียงใหม่แล้ว คือ วัดเชียงมั่น ไปเชียงใหม่แล้วอย่าลืมไปวัดเชียงมั่น วัดที่ฝรั่งไปเที่ยวมากกว่าคนไทยไปไหว้พระ ผมได้นำมาเขียนแล้วหลายครั้งคนไทยคงรู้จักกันแยะแล้ว วัดแรกของเชียงใหม่ ซึ่งพระเสตังคมณี นี้พระไชยเชษฐาธิราช ลูกกษัตริย์ลาว หลานพระเจ้าเชียงใหม่ ได้นำไปล้านช้างพร้อมกับพระแก้วมรกกต พระศิลาขาว หรือเสตังคมณี และพระบาง แต่พระบางนั้นลาวมาขอคืนกลับไปในรัชกาลที่ ๒
            ขอนำเที่ยวแค่นี้ก่อน ขออีกสักตอนจะได้เที่ยวที่อื่น และไปรู้จักอุทยานแห่งชาติ
            ลำพูนของดีแยะ ผ้านวมดีที่สุด ไม่ใช่เชียงใหม่ต้องลำพูน ลำใยที่ส่งออกมากที่สุดก็ลำใยลำพูน โรงงานอุตสาหกรรมหลายโรงงานก็ลำพูน แต่น่าน้อยใจเชียงใหม่เอาชื่อเสียงไปกินหมด แต่เงินกลับมาลำพูน
            ร้านอาหารจานเด็ด จานด่วนออกจะหายาก อาหารประเภทแดกด่วนไม่มี (ขออภัย) ร้านค้าชื่อฝรั่งอย่างคาฟูร์ เดอะมอลล์ ฯ แบบนี้ไม่มี ร้านโชห่วยยังอยู่ได้ขายของสบาย จึงไม่ต้องไปต่อสู้อะไร ร้านโชห่วยนั้นยังอยู่ได้ แล้วแต่พื้นที่ กลางเมือง อยู่ไม่ไหว หรืออยากอยู่ก็ไปอยู่กลางเมืองลำพูน ชัยภูมิ กาฬกินธุ์อย่างนี้ โชห่วยอยู่กลางเมืองได้อย่างสบาย
            ร้านอาหารชื่อ ครัววันดี ๐๕๓ ๕๖๐๑๑๖ เส้นทางไป ให้ตั้งต้นจากอนุสาวรีย์พระนางจามเทวี วิ่งไปตามถนนเลียบคลองคูเมือง จะพบทางแยกซ้าย สายนี้จะไปผ่านโรงพยาบาลแล้วไปออก อำเภอสันป่าตองของเชียงใหม่ได้ ถนนจามเทวี จะผ่านไปตั้งแต่วัดมหาวัน วัดจามเทวี โรงพยาบาล (หน้าโรงพยาบาลของกินแยะตั้งแต่เช้าวยันเย็น) ผ่านเรือนจำ รวมแล้ววิ่งไปประมาณ ๓ กิโลเมตร ร้านครัวดี จะอยู่ทางขวามือตัวร้านเป็นศาลากว้างโล่งโถง นั่งรับลมกลางทุ่งเย็นสบาย อาหารพื้นเมืองอร่อยมาก
            ลาบหมูสุก จานละ ๑๐ บาท และ ๒๐ บาท เขาดูคนที่จะเอาจานใบขนาดไหนมาให้ มีสลัดผักสดอีก ๑ จาน ผักชี ผักไผ่ ถั่วฝักยาว ใบโหระพา ขาดใบตองหากินยาก
            แกงเห็ดถอบ ชามนี้อย่าพลาด เห็ดถอบสด ดอกตูบ กรอบ เคี้ยวเห็ดดังกร๊อบเลยทีเดียว
            แกงอ่อมหมู ใส่ใบผักชีฝรั่ง พริกขี้หนูทั้งเม็ดโรย ซดน้ำร้อน ๆ
            หมูทอด เนื้อแน่นแต่ทอดแก่ไฟไปนิด ไม่ทอดนุ่ม ทอดกรอบ
            น้ำพริกหนุ่ม แคบหมู มีให้ทั้งผักนึ่ง และผักสด หากถามว่าทำไมสั่งอาหารมากนัก ก็ต้องตอบว่าราคาถูก อร่อยมาก จานเล็กเขาไม่ยัดเยียดเอาจานโตมาให้เมื่อเห็นเราไปกันแค่ ๒ คน หากร้านนี้อยู่ใกล้บ้านที่กรุงเทพ ฯ จะสั่งให้มากกว่านี้ เหลือก็ห่อกลับบ้าน ปิดท้ายด้วยไอศกรีม อร่อยจริง ๆ ไม่สะใจสั่งไอศรีม แคนตาลูป ใช้แคนตาลูปครึ่งลูก คว้านเนื้อในออกบ้าง แกะสลักที่ตอนปาก ใส่ไอศกรีม อร่อยจริง ๆ ไม่สะใจสั่งไอศกรีมทอดมาอีก ๒ ลูก ใครจะเชื่อว่ากินไอศกรีมทอด ร้านกลางทุ่ง เลยเมืองลำพูนไปตังสามกิโลเมตร

| หน้าต่อไป | บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์