ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


ลังกาสุกะ

           เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ผมปฏิบัติราชการอยู่ที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีซึ่งได้เคยเล่าไปแล้วหลายครั้งว่า ผมอยู่ที่จังหวัดนี้เพื่อทำหน้าที่ของแม่ทัพภาคที่๔ ส่วนหน้า ดำเนินการปราบปรามพวกผู้ก่อการร้ายทั้งหลาย โดยเฉพาะพวกโจรจีนคอมมิวนิสต์ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๒ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มของจีนเป็ง และกลุ่มของ นายจางจงหมิงซึ่งผลการปฏิบัติการในเวลาหนึ่งปีเป็นผลให้ กลุ่มนายจางจงหมิง ออกมารายงานตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยจบสิ้นการสู้รบที่กระทำติดต่อกันเป็นเวลานานถึง ๒๖ ปี และตั้งเป็นชุมชนคือหมู่บ้านปิยะมิตร ๑ - ๔ ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา หมู่บ้านที่ ๕ ที่อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
           ผมเผลอเอามาเล่าก็เพื่อจะบอกว่า ผมอยู่ปัตตานี ๑ ปี แต่ไม่ยักระรู้ว่ามีเมืองโบราณ"ยะรัง" หรืออาณาจักรลังกาสุกะ หรือ ลังกาสุขะ อยู่ที่อำเภอยะรังจังหวัดปัตตานี แต่จะโทษผมก็ไม่ได้เพราะเวลากรมศิลปากรยังไม่ได้เข้าไปทำการขุดค้นพึ่งมาเริ่มงานกันอย่างจริงจังเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ หลังจากที่ผมช่วยให้แผ่นดินใน๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้สงบลงแล้ว และผมก็ย้ายมารับราชการในกรุงเทพ ฯ แต่ยังไปมาติดต่อประสานงานให้ตลอดเวลา๑๔ ปีเศษ คือจาก ๒๘ เมษายน ๒๕๓๐ จนกระทั่งเมื่อวานซืนนี้เอง (พวกอดีต จคม.มาพบที่บ้านพัก)และเมื่อลงไปปัตตานีในคราวนี้เพื่อจะไปหาข้อมูลของเมือง ลังกาสุกะ หรือ ลังกาสุขะให้ได้พอสมควร เพราะไปอ่านเอกสารเข้าหลายฉบับเกิดความสนใจ เมื่อไปแล้วก็ได้ความมาดังต่อไปนี้
           จากตำนาน ไทรบุรี ปัตตานี กล่าวถึงเมืองลังกาสุกะ ของพระเจ้ามะโรงมหาวงศ์หรือราชามารงมหาวังสา ต่อมาคำว่าลังกาสุกะค่อย ๆ เลือนหายไป กลายเป็นคำว่าเคดาห์หรือไทรบุรีเข้ามาแทนที่ จึงสงสัยกันว่าอาณาจักรนี้อยู่ที่ไหนกันแน่
           จดหมายเหตุราชวงศ์เหลียง (พ.ศ.๑๐๔๕ - ๑๐๙๙) บันทึกไว้ว่าอาณาจักรลังกาสุกะ สถาปนาขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่๗ มีอำนาจปกครองระหว่างสองฝั่งทะเล คือด้านตะวันตกจรดไทรบุรี และด้านตะวันออกที่ปัตตานีข้อความในจดหมายเหตุนี้สอดคล้องกับตำนานไทรบุรี ปัตตานี
           ศาสตราจารย์ ปอล  วิดลีย์ (PAUL WHEATLY) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องแหลมมาลายู มีความเห็นว่าตำนานไทรบุรี ฯมีลักษณะเหมือนเทพนิยาย แต่งขึ้นเมื่อชาวอินเดียเดินทางมาถึงหัวเมืองมาลายูราวพุทธศตวรรษที่ ๖ และเขาแสดงความคิดเห็นไว้ว่า ลังกาสุกะ ไม่ควรไปซ้ำซ้อนกับไทรบุรีน่าจะอยู่ทางปัตตานีทั้งหมด (น่าจะถูกต้อง)
           ศาสตราจารย์ ฮอลล์(D.G.E. HALL) ได้กล่าวถึงรัฐเก่าแก่สามรัฐในแหลมมาลายู คือรัฐหลังยะสิว (ลังกาสุกะ)ต้นไม้หลิว(ตามพรงลิงค์ หรือนครศรีธรรมราช) ตักโกลา(ตะกั่วป่า) ต่อมารัฐทั้งสามนี้ตกอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรฟูนันซึ่งเป็นอาณาจักรที่มีกองเรือยิ่งใหญ่ อยู่ในทะเลจีนตอนใต้ เมื่อตกอยู่ใต้อำนาจแล้วก็รับเอาวัฒนธรรมต่างๆ มาจากอินเดีย
           ต่อมาพุทธศตวรรษที่ ๑๑ อาณาจักรฟูนัน เสื่อมสลายลง รัฐต่าง ๆ ที่ตกอยู่ใต้อิทธิพลก็แยกตัวเป็นอิสระลังกาสุกะ ภายใต้การนำของ พระเจ้าภคทัตก็ฟื้นฟูอำนาจของตนเองได้อย่างรวดเร็ว
           พุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๕ ลังกาสุกะ กลับตกอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรศรีวิชัยพระเจ้าราเชนทร์โจระที่๑ แห่งอินเดีย ยกทัพเรือข้ามมายึดรัฐต่าง ๆของศรีวิชัย ลังกาสุกะก็พลอยถูกยึดไปด้วย ต่อมาอีกอาณาจักรมัชปาหิตแห่งชวากลับเข้ามามีอำนาจ และชื่อลังกาสุกะค่อยเลือนจางหายไป
           แสดงว่าอาณาจักร ลังกาสุกะ นั้นอยู่ที่ปัตตานีนี่เอง และต้องนับถือพุทธศาสนาด้วยเพราะเมื่อเกิดการขุดค้นขึ้นพบทั้งศาสนาฮินดู และพุทธศาสนา เช่น สถูปสำคัญในพระพุทธศาสนาที่ อำเภอยะรัง ที่ได้บูรณะตกแต่งแล้วก็แสดงถึงดินแดนในพระพุทธศาสนาและลังกาสุกะ ต้องมีอายุประมาณ ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว นับว่าเก่าแก่มากทีเดียว แต่พึ่งรู้จักกันจริงไม่กี่ปีมานี้เองศิลปากรต้องรวดเร็วอีกนิดไม่งั้นเดี๋ยวหายหมด
           ศาสนาอิสลามเข้าสู่ปัตตานี เมื่อไร อย่างไร มีเล่ากันไว้ในลักษณะของตำนานกล่าวคือ ประมาณคริสศตวรรษที่ ๑๐ (ประมาณ พ.ศ. ๑๕๐๐ เศษ) ศาสนาอิสลามได้เผยแพร่เข้าสู่ปัตตานีและปาหัง ก่อนที่จะเข้าสู่มาละกา ตำนานเมืองปัตตานีกล่าวว่า เป็นเพราะกษัตริย์หรือสุลต่านเมืองปัตตานีล้มป่วย ไม่มีหมอในปัตตานีรักษาได้ เกิดการตีฆ้องร้องป่าวหาผู้รักษามีแขกปาซายจากสุมาตราชื่อเช็กสะอิ หรือ เช็กซาฟียิดดิน ได้ขันอาสามารักษาสุลต่านแต่ขอคำมั่นสัญญาว่าถ้ารักษาหายแล้ว พระองค์จะต้องเข้ารีดนับถือศาสนาอิสลามได้รักษาจนหายแต่เมื่อหายแล้วสุลต่านไม่ยอมเปลี่ยนศาสนาเลยป่วยหนักอีก กลับมารักษากันใหม่ขอคำสัญญากันอีกกลับไปกลับมาเช่นนี้ถึง ๓ ครั้ง สุลต่านเลยต้องยอมเปลี่ยนศาสนามานับถือศาสนาอิสลามหมอผู้รักษาได้รับการแต่งตั้งเป็น ดาโต๊ะ สะรี ยารา ฟาเก้าฮ์ (ผู้รู้ทางศาสนายอดเยี่ยม)เมื่อเจ้าเมืองเปลี่ยนศาสนาใหม่ โอรส ธิดา ขุนนาง และชาวเมืองก็เริ่มเปลี่ยนศาสนาตามเป็นศาสนาอิสลามต่อจากนั้นก็เริ่มมีการทำลาย พระพุทธรูป พุทธสถาน เทวรูป และเทวาลัย อาณาจักรที่เคยนับถือพระพุทธศาสนาอยู่หลายปีจึงมีโบราณวัตถุทางพุทธศาสนาน้อยเต็มที หรือแทบจะไม่มีเลย จนมาพบกันที่ยะรังเมืองโบราณนี่แหละ
           ผมลงไปปัตตานีคราวนี้ ได้ไปเยี่ยมพรรคพวกเก่า ๆ ซึ่งเมื่อ ๑๔ ปีที่แล้วล้วนแต่ช่วยผมก่อตั้งสมาคมกีฬาปัญจักสิลัตมาทั้งสิ้น และทุกท่านก็ล้วนแต่เป็นคณาจารย์ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานีเมื่อก่อตั้งสมาคมสำเร็จแล้ว ทางมหาวิทยาลัยได้อนุเคราะห์ให้ใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัยเป็นที่ตั้งของสมาคมซึ่งได้รับความกรุณาอยู่หลายปีพึ่งมาย้ายไปเมื่อปี ๒๕๔๓เมื่อมีการแต่งตั้งนายกสมาคมท่านใหม่ซึ่งมีฐานะสูง (แต่ไม่ได้เหรียญทองซีเกมส์ครั้งที่๒๑) ส่วนผมได้อำลาจากนายกสมาคมปัญจักิสิลัตตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ เพราะเป็นข้าราชการบำนาญแล้วมีแต่ไฟที่จะทำงานแต่ขาดทั้งปัจจัย และบารมีและได้ทำนานถึง ๖ ปี ตั้งแต่ในประเทศไทยไม่มีใครรู้จักปัญจักสิลัตจนได้เหรียญทองทุกครั้งจากการแข่งขันซีเกมส์ แม้จะไม่ใช่เจ้าเหรียญทองของปัญจักสิลัตแต่ก็ได้หลายเหรียญทุกปี(ทั้งหมดมีถึง ๒๑ เหรียญ อินโดนีเซียจะเป็นเจ้าเหรียญทองของกีฬานี้) และขอบอกกล่าวกันไว้อีกทีว่ากีฬาปัญจักสิลัตนั้นไม่มีเล่นในภาคใต้ของประเทศไทย ตามที่อุปนายกสมาคม ฯ ออกมาแถลงหน้าจอที.วี. ขอยืนยัน ๘ ปีที่รับราชการอยู่ภาคใต้ และ ๖ ปีที่คลุกคลีกับกีฬานี้พอจะทราบว่าไม่มีปัญจักสิลัต คำว่าสิละ หรือ สิลัต นั้นคือการต่อสู้ ประกอบการร่ายรำแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ -
           สิละ หรือ ศิระ การร่ายรำในท่วงท่าของการต่อสู้ แต่ไม่ได้ต่อสู้กันจริง ๆเป็นการแสดงซึ่งศิลปะประเภทนี้ที่เล่น หรือแสดงกันอยู่ในภาคใต้ของไทย สิละเป็นภาษาสันสกฤต หมายถึงการต่อสู้ด้วยน้ำใจนักกีฬา แต่ได้ดัดแปลงนำมาเพื่อการแสดงหรือเรียกว่า สิละ ดารี (รำ)
           ปัญจักสิลัต ที่นำมาใช้เรียกในกีฬาซีเกมส์ (PENKAK SILAT) หรือ สิละยาโต๊ะเป็นการต่อสู้ประกอบศิลปะการร่ายรำ เตะได้ ต่อยได้  แต่กติกาในการแข่งขันนั้นเขาสร้างขึ้นเพื่อป้องกันมวยไทยจึงไม่ยอมให้เตะ ต่อยโดนหน้า (จะแพ้ฟลาว์) เตะต่อยต่ำกว่าเอวไม่มีคะแนน เว้นเตะตัดขาให้ล้มลงเมื่อไปเอานักมวยไทยเก่ง ๆ ที่มือไว ตีนไว ตาไวมาฝึกจึงแพ้ เพราะพวกนี้เห็นหน้าว่างเมื่อไรคางว่างเมื่อไรเป็นเตะเปรี้ยงเข้าให้ คู่ต่อสู้ล้ม ชักดิ้นชักงอ พอหายชักเขาก็ก้มไปชูมือคนที่ล้มลงไปชนะเพราะฝ่ายที่เตะคาง(นักมวยไทย) จะแพ้ฟลาว์ ซึ่งผมเคยเอานักมวยไทยมาหัด ผลก็ออกมาเป็นเช่นนี้เลยต้องเลิกหาคนแค่เป็นมวยไทย แต่แข็งแกร่งมาฝึกจึงได้เหรียญทองมา พอกรรมการชุดหลังๆ ไปมองว่ามวยไทยเป็นยอดของการต่อสู้ก็ไปเอามาฝึกอีกก็แพ้อีก ถ้าสู้กันจริงๆ ละก็ยกเดียว นักปัญจักสิลัตจอดโดยจะโดนนักมวยไทยน็อคแน่นอน แต่สู้ตามกติกาที่เขาตั้งมาไว้เพื่อไม่ให้คนเก่งมวยไทยได้เปรียบเราจะเอานักมวยไทยไปสู้จะสู้เขาไม่ได้
           สิละกายอ หรือ กริซสิละ ทีนี้ ทั้งร่ายรำ ทั้งต่อสู้เอากันตายเลยทีเดียว ต้องไปอ่านจากวรรณคดีเรื่องอิเหนาตอนอิเหนารบกับท้าวกุหมังกุหนิง บรรยายไว้ว่า
       เมื่อนั้นท้าวกุหมังกุหนิงเรืองศรี
ได้ฟังชื่นชมยินดีครั้งนี้อิเหนาจะวายชนม์
อันเพลงกริชชวามาลายูกูรู้สันทัดไม่ขัดสน
คิดพลางชักกริชฤทธิรณร่ายรำทำกลมายา

           สู้กันไปสู้กันมามือขวาถือกริช มือซ้ายต้องถือผ้าเช็ดหน้าด้วย (เอาไว้บังตาคู่ต่อสู้และเช็ดเหงื่อ)อิเหนาก็จัดการแทงเอาท้าวกุหมังกุหนิงที่ว่าเก่งการใช้กริชตายไป เรียกว่าตามเพราะความรักลูก
           ไปพบปะสังสรรค์กับคณาจารย์ อดีตกรรมการสมาคมปัญจักสิลัตแล้ว อาจารย์น้อง ๆทั้งหลายบางคน (อาจจะถึงขั้นหลาน) ก็บอกว่าจะพาไปชมโครงการสถาบันวัฒนธรรมศึกษาซึ่งมีทั้งอาจารย์ สมบูรณ์  ธนะสุข เป็นผู้อำนวยการนี้อยู่ เมื่อไปถึงก็ได้รับความอนุเคราะห์อย่างดีเยี่ยมกรุณาอธิบายให้ฟังอย่างละเอียดเลยทีเดียว สถาบันแห่งนี้แบ่งออกเป็นพิพิธภัณฑ์พระเทพญานโมลีซึ่งอยู่ด้านหน้ามีห้องพระพุทธรูปต่าง ๆ ทั้งเก่าและใหม่ อาคารด้านหลังคือพิพิธภัณฑ์ คติชนวิทยา ซึ่งในอาคารหลังนี้ ทำให้ผมได้เอกสารและหลักฐานของเมืองลังกาสุกะมาเพิ่มเติมพร้อมกันนั้นก็ได้ความรู้สึกอีกมากมาย จากการบรรยายของอาจารย์ สมบูรณ์ฯ ต้องขอขอบคุณไว้ณ โอกาสนี้ด้วย เพราะมีการแสดงต่าง ๆ ไว้มากมาย ที่น่าขำคือมีเครื่องมือชนิดหนึ่งทำด้วยไม้กระบอกสำหรับแขวนไว้ใต้ต้นไม้ผลที่กำลังมีลูกขนาดเก็บกินได้ แขวนไว้ป้องกันขโมยเพราะสาปแช่งเอาไว้ ฝ่ายขโมยหากรู้วิธีแก้เคล็ดก็ขโมยผลไม้แล้วกินได้ เคล็ดมีดังนี้เช่น ขโมยมะม่วงมาได้ ก่อนกินต้องเอาลอดใต้หว่างขาเสียก่อน (แต่ต้องระวังเพราะนุ่งโสร่ง ระวังอย่าให้ลูกไม้ที่มีมดแดงเกาะอยู่ไปโดนของสำคัญเข้า )แล้วนำไปกินได้ หรือท่องคาถาว่า "โจเอ๋ยโจจอก มึงออกกูเข้า โจเอ๋ยโจจอกมึงเข้ากูออก"แล้วก็กินได้เช่นกัน เครื่องมือนี้เรียกว่า "โจ"
           ด้านหน้าเยื้อง ๆ ทางซ้าย (เมื่อหันหน้าออก) มีเรือนโบราณหลังใหญ่ คือพิพิธภัณฑ์เรือนอำมาตย์โท พระยาพิบูลพิทยาพรรค ซึ่งมหาวิทยาลัยได้รับมอบมาและหางบประมาณรื้อย้ายมาสร้างไว้ณ ที่นี้น่าชมอย่างยิ่ง ท่านเจ้าคุณผู้นี้เคยเป็นข้าหลวง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยช่างชาวจีน งดงามอย่างยิ่ง เป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมไทยและตะวันตกอย่างกลมกลืน อย่าพลาดโอกาสไปชมสถาบันและพิพิธภัณฑ์เปิดให้ชมฟรีทุกวันและเวลาราชการ
           จากเอกสารยะรังเมืองโบราณ คราวนี้ได้ความว่าในพื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานีซึ่งหากจะไปยังอำเภอนี้ไปตามเส้นทางสาย ปัตตานี - ยะลา ประมาณ ๑๕ กิโลเมตรจะถึงสามแยกของอำเภอยะรัง ทางขวามือของสามแยกนี้คือร้านลูกหยีแม่เลื่อน อำเภอนี้ลูกหยีอร่อยสุดสุดรวมทั้งมังคุดกวนด้วย ไปเมืองโบราณอย่าลืมซื้อ โบราณสถานอยู่ในพื้นที่ของหมู่บ้านปราแว จาเละ และบ้านวัด มีมากมาย แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ยังขุดค้นและบูรณะได้น้อยเหลือเกินยังปะปนอยู่ในที่ของชาวบ้าน แต่ชาวบ้านแม้จะเป็นไทยมุสลิม ก็ไม่ได้ทำลายเหมือนคนเก่าแก่ที่ทำลายเสียไม่เหลือซากจากสามแยกนี้เลี้ยวซ้ายไปทางอำเภอมายอประมาณ ๑.๒ กิโลเมตร จะพบทางแยกซ้ายมีป้ายบอกว่าถนนรอบเมืองโบราณให้เลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ ๘๐๐ เมตร โบราณสถานที่ขุดค้นพบแล้ว และบูรณะแล้วอยู่ทางซ้ายมือสร้างอาคารครอบไว้สมเด็จพระเทพ ฯ เสด็จมายังโบราณสถานแห่งนี้ คือสถูปเจดีย์ในพุทธศาสนา และยังเอาอัฐิตอนยอดของสถูปไปก่อเป็นกำแพงเรียงให้ดูการเรียงอิฐไว้ที่หน้าสำนักงานอีกด้วย ส่วนที่บ้านอื่น ๆ ยังตกแต่งไม่ชัดเจนแต่พอเห็น กำแพง คูเมือง ฯ
           เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ ศึกษาธิการอำเภอท่านหนึ่งของอำเภอยะรัง ได้พยายามค้นคว้าเมืองโบราณเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นอาณาจักรลังกาสุกะหรือไม่ ได้เก็บรวบรวมโบราณวัตถุ และบันทึกหลักฐานการค้นพบไว้ท่านผู้นี้คือ นายอนันต์  วัฒนานิกร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ นายสจ๊วต วาเฟล หัวหน้าทีมสำรวจทางมนุษย์วิทยาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษมาสำรวจและได้ลงความเห็นว่า คืออาณาจักรลังกาสุกะอย่างแน่นอน และต่อจากนั้นก็มีการสำรวจโดยนักสำรวจชาวต่างประเทศอีกหลายคณะคณะสุดท้ายคือคณะของ สว่าง  เลิศฤทธิ์ และเดวิด เจ เวลซ์ สำรวจเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๙ - ๒๕๓๐ นี้เอง และได้พบแหล่งโบราณคดีถึง ๓๔ แห่ง ซึ่งไม่เคยมีใครพบมาก่อนจากนั้นจึงสำรวจบูรณะกันอย่างจริงจังตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ เป็นต้นมา แต่ก็ไปได้อย่างช้าเต็มทีเข้าว่าคงเป็นเพราะขาดแคลนงบประมาณ และเชื่อกันว่าตรงบ้านประแวหรือปราแว นี่แหละคือที่ตั้งตัวเมือง แต่พอค้นไปค้นมาก็ชักจะแย้งกันเองว่าน่าจะไม่ใช่เพราะเล็กเกินไปและเหมือนมี ๓ เมือง ตั้งซ้อนทับกันอยู่คือที่ ประแวจาเละ และบ้านวัดแต่ก็น่าไปชม ไปศึกษาอย่างยิ่ง ผมจะหาโอกาสไปใหม่อีกที ไปคราวนี้มีเวลาน้อยไปไม่ได้เที่ยวที่ไหนเลย ไปคุยกันไปกินข้าวแสนอร่อย (อาหารอิสลาม) แล้วไปชมเมืองโบราณซื้อลูกหยี จบกันแค่นั้น แม้แต่วัดช้างไห้ที่ตั้งใจว่า จะแวะตอนเที่ยวกลับมาหาดใหญ่ก็ไม่ได้แวะปัตตานีนั้นมีที่เที่ยวมากมายหลายอำเภอ ต้องไปนอนสัก ๒ - ๓ คืน จึงจะคุ้มที่ไปเที่ยวและยังต่อลงไปนราธิวาสไปต่อสุไหงโกลกได้อีก ไม่ได้ไปสุไหงโกลกมาสักสิบปีแล้ว ไม่ทราบเจริญไปถึงไหนแล้วต้องรีบหาโอกาสไปก่อนที่จะขับรถไม่ไหว เพราะสายตาเสื่อมลงทุกวัน
           อาหารมุสลิมวันนี้อร่อยสุด ๆ เรียกว่าระดับจากในวังกันเลยทีเดียว ไม่เคยกินที่อร่อยอย่างนี้มาก่อนเลยไม่ว่าในกรุงเทพฯ หรือที่ไหนก็ตาม รวมทั้งบรรยากาศสมเป็น "ไทย " มุสลิม อย่างแท้จริง (ไม่เป็นแขก)เป็นไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม แต่งกายน่ารัก เรียบร้อย เลยอร่อยไปหมด
           ร้าน "มาดีนาห์" ในอำเภอเมืองปัตตานี ไปตามนี้
           มาจากหาดใหญ่ พอจะเข้าตัวเมืองปัตตานีต้องข้ามแม่น้ำ เดี๋ยวนี้สะพานข้ามแม่น้ำเป็นถนนสี่เลนข้ามสะพานไปแล้ว ผ่านตลาดสดทางซ้ายมือ เช้าของกินแยะ ไปถึงเช้า ๆ จะได้ของอร่อยๆ กิน นาชิ ตาแง (น่าจะเรียกว่าข้าวยำ) เมื่อผมอยู่ปัตตานีออกไปซื้อกินบ่อยๆ ในตอนเช้า ขายอยู่บนรถเข็นปากทางเข้าตลาด นาชิ คือข้าว
           ข้ามสะพานไปแล้วตรงไปจนถึงสี่แยกมีไฟสัญญาณ เลี้ยวขวาไปสัก ๑ กิโลเมตร จะชนกับสามแยกให้เลี้ยวซ้ายไปสัก๕๐๐ เมตร จะมีทางแยก ให้เลี้ยวซ้ายไปอีกสัก ๑๐๐ เมตร ร้านนาดีนาห์ อยู่ทางซ้ายมืออาคาร๒ ชั้น ไม่มีห้องแอร์ มีห้องละหมาด ชั้นบนเป็นห้องโถงโล่ง ลมพัดเย็นสบายมากหน้าต่างแบบอาคารมุสลิม คือเปิดเป็นประตูได้ อย่าเผลอเดินตกลงไปก็แล้วกันแต่กินข้าวร้านนี้ตกยาก เพราะเขาเป็นร้านมุสลิมไม่ขายเครื่องดองของเมา
           ไข่ยัดไส้น้ำแดง ไส้มีเนื้อ หอมใหญ่ ถั่วลันเตา รสหวานนิด ๆ กินเล่นได้สบายกินกับข้าวร้อน ๆ
           เนื้อทอดมาดีนาห์ เขาเอาชื่อร้านของเขามาตั้งเป็นชื่ออาหาร ไม่อร่อยไหวหรือเนื้อทอดแล้วนุ่มหอม โรยด้วยหอมเจียว และพริกขี้หนู
           มัสหมั่นเนื้อ เนื้อก้อนโตแต่เปื่อย ไม่ยุ่ยได้เคี้ยวสนุก น้ำแกงข้น ออกรสหวานนิดๆ
           ผัดเผ็ดปลาดุก ชิ้นปลาโต น้ำขลุกขลิก ไม่เผ็ดแบบอาหารใต้ ใส่หน่อไม้ หอมใหญ่พริกชี้ฟ้า
           ปลาอินทรีย์ทรงเครื่อง ใช้ปลาอินทรีย์ชิ้นโต ทอด ราดด้วยซี่อิ้ว โรยด้วยต้นหอมและถั่วลันเตา
           บูดูสะตอเผา อาหารจานเด็ดสุด ๆ น้ำบูดู ที่ดีที่สุดจะเป็นน้ำบูดูของ อำเภอสายบุรีจังหวัดปัตตานี น้ำบูดูของร้านนี้มาจากสายบุรี จึงยกความวิเศษสุดไปให้ได้เลยส่วนสะตอนั้นสด เอามาเผาพอเปลือกไหม้หมดกลิ่น ใช้มือแกะเม็ดสะตอวางบนข้าวแล้วตักน้ำบูดูที่ปรุงแล้วราดลงไปให้ชุ่ม จึงตักเข้าปาก "อย่าบอกใคร"
           จบแล้ววันนี้ไม่ต้องจ่ายสตางค์ ทั้งอาจารย์ที่พามา และนายทหารอดีตผู้ใต้บังคับบัญชาก็ตามมาเช่นกันแย่งกันออกสตางค์ สงสัยราคาคงจะไม่แพง
จบแล้วปิดท้ายด้วยไอศกรีม
.........................

| บน|

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์