ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

ไหว้พระเก้าวัด (๒)

            ผมพาผู้อ่านไปไหว้พระที่นามของวัดเป็นนามมงคลมาแล้ว ๓ วัด แต่การไปไหว้พระที่นามเป็นมงคลในเชียงใหม่นั้น จะต้องไปไหว้ให้ได้เก้าวัด และสมควรจะไปไหว้ให้จบภายในวันเดียวกันด้วย เหมือนการไหว้พระเก้าวัดในกรุงเทพ ฯ วัดในล้านนานั้น จะต้องยอมรับกันว่า ส่วนใหญ่จะงดงามอย่างยิ่ง แม้จะเป็นวัดเล็ก ๆ เช่น วัดฝั่งหมิ่น อยู่ที่จังหวัดเชียงราย อุโบสถก็มีความงดงาม วัดใหญ่ ๆ ในเชียงใหม่ยิ่งมีการสร้างตามแบบศิลปะของล้านนาอย่างงดงาม นักท่องเที่ยวไม่ว่าชาติใด ภาษาใดหากศาสนาที่เขานับถือ ไม่ห้ามในการเข้าไปยังสถานที่ของศาสนาอื่นแล้ว เมื่อมาเมืองไทย มากรุงเทพ ฯ ก็ต้องขอไปชมวัดพระแก้ว วัดพระเชตุพน กันให้ได้ หรือไปเชียงใหม่ เขาก็ต้องไปชมวัดพระสิงห์ หรือวัดเชียงมั่น ที่งามนักด้วยศิลปะของล้านนา เมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว ผมพึ่งรู้จักวัดเชียงมั่น ทั้ง ๆ ที่ผมรับราชการอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่เมื่อ ๔๒ ปี ที่แล้ว เป็นเวลานานถึง ๕ ปี ผมก็ไม่เคยไปวัดเชียงมั่น จนมาเขียนหนังสือในแนวเที่ยว ๆ กิน ๆ จึงได้ไปวัดเชียงมั่น เมื่อเข้าไปแล้วก็ตกใจ เพราะฝรั่งเดินกันเต็มไปหมด หานักท่องเที่ยวชาวไทยแทบจะไม่มีเลย ผมก็เลยรีบนำมาเขียนเล่าให้ทราบกัน โดยด่วน เดี๋ยวท่านที่ไปเที่ยวเชียงใหม่จะพลอยเหมือนผม ที่อยู่ใกล้ของดีแล้วไม่รู้จัก วัดเชียงมั่นนั้นคือ วัดแรกของเมืองเชียงใหม่
            ผมพาท่านผู้อ่านไปวัดที่นามเป็นมงคลของเชียงใหม่มาแล้วคือ วัดเจ็ดยอด วัดสวนดอก และวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร วันนี้จะขอพาไปอีก ๓ วัด คือ วัดดับภัย วัดหมื่นเงินกอง และวัดเจดีย์หลวง ซึ่งวัดนี้คือ วัดที่เคยประดิษฐานพระแก้วมรกต อยู่นานหลายสิบปี ก่อนที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์สองแผ่นดินจะนำเอาไปไว้ยังหลวงพระบาง
                วัดดับภัย  วัดนี้มีความสำคัญ และเก่าแก่ยิ่งวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เส้นทาง ไปยังวัดดับภัย ให้เริ่มต้นที่วัดพระสิงห์ ผมอาจจะบอกเส้นทางอ้อมโลกไปบ้าง แต่ก็จำเป็นสำหรับคนต่างเมืองจะได้ไปถูก โดยยึดสถานที่สำคัญ ๆ เอาไว้เป็นจุดอ้าง เริ่มต้นจากประตูท่าแพ วิ่งมาตามถนนราชดำเนินจะมาชนประตูเข้าวัดพระสิงห์ ให้เลี้ยวขวามาประมาณ ๑๐๐ เมตร วัดดับภัย จะอยู่ทางซ้ายมือ เมื่อเข้าประตูวัดไปทางซ้ายมือจะมีต้นโพธิ์ จะเห็นมีไม้ค้ำยันต้นโพธิ์อยู่มากมาย เป็นการนำมาค้ำยันเอาไว้ โดยถือเป็นเคล็ดว่า หากนำไม้มาค้ำยันต้นโพธิ์ที่วัดดับภัยแล้ว จะได้ค้ำยันชีวิตที่กำลังมีเคราะห์ หรือกำลังตกต่ำเอาไว้ หากไปที่วัดพระธาตุลำปางหลวง จะเห็นไม้ค้ำยันมาค้ำเอาไว้มากมาย
                    วัดดับภัย นามเดิมชื่อว่า วัดอภัย หรือวัดตุงกระด้าง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๐๒๑ ตามตำนานเล่าไว้ว่า พระยาอภัย มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงสร้างพระพุทธรูปไว้เพื่อสักการะบูชา ชื่อว่า พระเจ้าดับภัย ไม่ว่าจะอยู่แห่งใด พระยาอภัยจะอาราธนาพระเจ้าดับภัยไปด้วยทุกครั้ง เมื่อพระยาอภัยเจ็บป่วยหนัก ก็ตั้งจิตอธิษฐานต่อพระเจ้าดับภัยให้หายจากโรค พระยาอภัยก็หายจากโรคร้าย  ต่อมาพระยาอภัยจึงพาครอบครัวมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ข้างวัดตุงกระด้าง และบูรณปฎิสังขรณ์วัดนี้เสียใหม่ แล้วอัญเชิญพระเจ้าดับภัยมาประดิษฐาน ณ วัดตุงกระด้าง วัดนี้จึงมีนามใหม่ว่า วัดดับภัย
                    พระเจ้าดับภัย  เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน ปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒๓ นิ้ว มีความสูง ๓๒ นิ้ว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๘
                    ศาสนสถานสำคัญภายในวัดคือ วิหารพระเจ้าดับภัย เป็นวิหารศิลปะล้านนา หน้าบันแกะสลักไม้แบบล้านนาโบราณ ประดิษฐานหลวงพ่อดับภัย และพระพุทธรูปองค์ประธาน หลังคาวิหารเป็นหลังคาแบบแป้นเกล็ด ทำด้วยไม้สักทอง
                    เจดีย์  เป็นเจดีย์ทรงกลมฐานบัวลูกแก้ว มีบัลลังก์ฐานย่อ
                วัดหมื่นเงินกอง  วัดนี้สร้างในสมัยพระเจ้ากือนา (พ.ศ.๑๘๘๒ - ๑๙๑๖)  ชื่อ "หมื่นเงินกอง"  เป็นชื่อของมหาอำมาตย์ของพระเจ้ากือนา กษัตริย์เชียงใหม่ หมื่นเงินกอง มีตำแหน่งเป็นขุนคลัง ในรัชกาลพระเจ้ากือนา ซึ่งโปรดให้หมื่นเงินกอง ไปอาราธนา "พระสุมนะเถระ" จากเมืองสุโขทัย ให้มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในนครพิงค์ เมื่อ พ.ศ.๑๙๑๓ จึงเป็นที่เข้าใจกันว่า มหาอำมาตย์หมื่นเงินกอง ผู้สร้างวัดเมธัง และวัดช่างลาน มาแล้วเป็นผู้สร้างวัดหมื่นเงินกอง แล้วตั้งชื่อวัด ให้เป็นมงคลแก่ยศ บรรดาศักดิ์ของตนที่ได้รับพระราชทานคือ หมื่นเงินกอง
                    ภายในวัดมี วิหารพระพุทธไสยาสน์ สร้างตามแบบล้านนา
                    พระธาตุทองหมื่นเงินกอง  ให้ทำบุญใส่บาตรพระธาตุประจำปีเกิด โดยมีพระธาตุจำลององค์เล็ก อยู่ริมรั้วของพระธาตุ มีรูป ๑๒ ราศี อยู่ข้างล่าง เช่น ปีชวด ก็มีรูปหนู ปีมะโรง ก็เป็นรูปงูใหญ่ ปีมะแม ก็เป็นรูปแพะ มีคำกล่าวบูชาบอกไว้ให้กล่าวบูชา ประจำปีเกิด แล้วนำเงินใส่บาตรตามราศีเกิดของตน เช่น คนเกิดปีมะแม พระธาตุจำลองไว้คือ พระธาตุดอยสุเทพ ซึ่งเป็นพระธาตุประจำตัวของคนเกิดปีมะแม หรือปีมะโรง ก็จำลองพระธาตุของวัดพระสิงห์เอามาไว้ เรียกว่าใครเกิดปีอะไร หากอยากบูชาพระธาตุประจำปีเกิดของตนแล้ว ไม่ต้องวิ่งตะเวนไปทั่ว ไม่เช่นนั้นคนเกิดปีวอก ไปกับคนเกิดปีมะโรง คนเกิดปีมะโรงบูชาพระธาตุที่วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร แต่คนเกิดปีวอกต้องวิ่งไปบูชาพระธาตุพนม มาวัดหมื่นเงินกองแห่งเดียว บูชาได้ครบทุกพระธาตุ
                    นอกจากนี้ ในวัดหมื่นเงินกอง ยังมีวิหารพระเจ้าทันใจ ศาลาบ่อน้ำ และต้นโพธิ์ สำหรับให้ผู้มีเคราะห์มาอธิษฐาน แล้วเอาไม้ค้ำ ยันต้นโพธิ์เอาไว้เช่นเดียวกับวัดดับภัย
                วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร  ที่ตั้งถนนพระปกเกล้า หากมาตามถนนราชดำเนินคือ ถนนสายที่ตรงมาจากประตูท่าแพ จะตรงมายังประตูวัดพระสิงห์  แต่พอผ่านสี่แยกที่เรียกว่า สี่แยกกลางเวียง เลี้ยวซ้ายมาจะผ่านวัดพันเตา วัดเจดีย์หลวงจะอยู่ทางขวา ติดกับวัดพันเตา ซึ่งในปี พ.ศ.๒๕๕๐ ยังบูรณะพระวิหารหลวงอยู่ ตำนานเดิมชื่อว่า วัดโชติอารามวิหาร ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่าสร้างวัดนี้เมื่อใด เพียงแต่กล่าวไว้ว่ามีพระภิกษุชาวพม่า เดินทางมาสักการะบูชา แล้วเกิดจิตศรัทธา จึงเอาสังฆาฎิม้วนเป็นช่อชุบน้ำมันจุดบูชา วัดนี้จึงได้ชื่อว่า โชติอารามวิหาร ต่อมาในสมัยพระเจ้าแสนเมืองมา โปรดให้สร้างเจดีย์หลวงทับบนเจดีย์เดิม เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายแด่พระเจ้ากือนา พระราชบิดา สร้างสำเร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ.๑๙๘๑ ต่อมาปี พ.ศ.๒๐๒๑ มีการปฎิสังขรณ์ โดยเสริมฐานให้สูงขึ้นมาแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๐๒๔ พอมาถึงสมัยพระเมืองแก้ว พ.ศ.๒๐๕๕ จึงห่อหุ้มองค์เจดีย์หลวงด้วยทองคำ และในปี พ.ศ.๒๐๘๘ เกิดแผ่นดินไหวอย่างหนัก และมีพายุฝนฟ้าคะนอง ติดต่อกันถึง ๓ วัน ทำให้ยอดเจดีย์หักพังลง มาจนเหลือเพียงซีกเดียวดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน วัดนี้เป็นวัดใหญ่วัดหนึ่งของเชียงใหม่ ของฝ่ายคามวาสี เป็นที่ประทับของมหาสวามีหลายองค์ และมีประวัติเกี่ยวเนื่องกับโบราณวัตถุในวัดอย่างต่อเนื่อง เป็นศูนย์กลางบริหารคณะสงฆ์ ฝ่ายธรรมยุตินิกายภาคเหนือด้วย สิ่งสำคัญภายในวัดคือ
                    เจดีย์หลวง  ครั้งสุดท้ายได้บูรณะโดยกรมศิลปากร ก่อนที่ทางวัดจะมาบูรณะอีกครั้ง ส่วนฐานเป็นฐานเขียง มีช้างประดับจำนวน ๒๘ เชือก ทั้งสี่ด้านมีบันไดทางขึ้นสู่ลานประทักษิณของเรือนธาตุ ส่วนกลางเป็นเรือนธาตุสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม มี " จระนำ " ประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ทิศ โดยเฉพาะจระนำทิศตะวันออก เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตมาก่อน แต่การที่พระไชยเชษฐาธิราช นำเอาไปหลวงพระบาง เมื่อกลับไปครองราชย์ที่ล้านช้าง อาจจะถือว่าเป็นผลดีก็ได้ เพราะมิฉะนั้น เมื่อเชียงใหม่ตกอยู่ใต้การปกครองของพม่า ตั้งแต่ พ.ศ.๒๑๐๑ พม่าอาจจะนำเอาไปไว้ยังหงษาวดี เราคงไม่มีโอกาสได้กลับคืนมา เพราะเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไปตีได้หงษาวดีนั้น เมืองถูกพวกยะไข่เผาทำลาย และพระเจ้านันทบุเรงก็หนีไปอยู่ตองอูแล้ว จึงเป็นบุญของชาวไทย ที่ทำให้พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้กลับไปครองเมืองล้านช้าง แล้วนำพระแก้วมรกตไปด้วย สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ไปตีเวียงจันทน์จึงอัญเชิญพระแก้วมรกตกลับคืนมาในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี
                    พระวิหาร  เมื่อสร้างเจดีย์หลวงเสร็จแล้ว พระมารดาของพระเจ้าติโลกราช โปรดให้สร้างวิหาร พร้อมทั้งหล่อพระประธานคือ พระอัฎฐารส
                    นอกจากนี้ ในวัดเจดีย์หลวงยังมีเจดีย์ราย ๒ องค์ เสาอินทขิล คือ เสาเมือง มีกลุ่มพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย พระพุทธรูปงาช้าง "ปราบเมืองมา"
                    นาซิ จำปู๋  ผมเคยไปอินโดนิเซียหลายครั้ง ในสมัยที่เป็นผู้ก่อตั้งสมาคมปัญจักสีลัต และเป็นนายสมาคมนี้เป็นคนแรก และเคยไป "บาหลี"  เป็นการส่วนตัวครั้งหนึ่ง คำว่า "นาซิ" แปลว่า "ข้าว" ส่วนคำว่า "จำปู๋" แปลว่า "กับข้าว"  ที่ตั้งของร้านบอกยากมาก ขนาดอดีตผู้ใต้บังคับบัญชาของผม จะมาช่วยขับรถให้ทุกครั้ง ที่ผมไปเชียงใหม่ ยังไม่เคยไปย่านนี้คือ "ย่าน เจ เจ มาร์เกต " ถนนอัษฎาธร ต.ป่าตัน แหล่งเจ เจ มาร์เก็ต กำลังเป็นตลาดเดินเที่ยวในเวลากลางวันได้อีกแห่งหนึ่ง รวมทั้งเป็นแหล่งร้านอาหารแห่งใหม่ ร้านเก๋ ๆ ด้วย เจ เจ กู๊ดเทสต์ มาร์เก็ต เป็นแหล่งสินค้าในโครงการส่วนพระองค์ อยู่ติดกับร้าน นาซิ จำปู๋ เจ เจ ดีไซน์เนอร์ เป็นที่รวมผลงานของนักออกแบบเจ เจ ฮอบบี้ มาร์เก็ต เป็นกาด หรือตลาดรวมของดี ราคาเยา และยังมีร้านกาแฟดอยตุง กาแฟวาวี ฯลฯ ถ้าอาหารฟิวชั่นล้านนา ก็ นาซิ จำปู๋
                    ถนนอัษฎาธร เป็นถนนสายใหม่ของเชียงใหม่ เมื่อสมัยผมอยู่ไม่มี ขอบอกเส้นทางดังนี้ หากมาจากลำพูน ตามถนนไฮเวย์จนมาข้ามแม่น้ำปิง ให้เข้าเส้นทางขนานผ่านตลาดคำเที่ยง ให้สังเกตต้นโพธิ์ใหญ่ ให้เลี้ยวซ้ายที่ต้นไม้ใหญ่นี้ เลี้ยวผ่านด้านข้างของตลาดคำเที่ยง ไปจนถึงสี่แยก ให้เลี้ยวซ้ายไปสัก ๑๐๐ เมตร ร้านนาซิ จำปู๋ จะอยู่ทางขวามือ จอดรถสะดวกเป็นร้านอาหารเล็ก ๆ มีโต๊ะตั้งข้างใน ๔ โต๊ะ ที่ระเบียงอีก ๔ โต๊ะ แต่ตกแต่งร้านเก๋ อย่าบอกใครทีเดียว นั่งภายในร้านเย็นสบายทั้งกายและตา
                    กรอบเสวย ใส่มาในจานใหญ่ มีแก้ว ๒ ใบ ใส่กุ้งสะโร่ง อีกใบเป็นถ้วยมีหูใส่ปอเปี๊ยะแฮมชีส มีอีกจานเล็ก ๆ ใส่ถุงทอง มีถ้วยชาเล็กใส่ใบชะพลูห่อแหนมเสียบไม้
                    ปลาสองอารมณ์  ด้านหนึ่งของจานคือ ปลานึ่งตะไคร้ผ่าซีก กินกับน้ำพริกหนุ่ม อีกด้านหนึ่ง ปลาทอดราดพริกแกง ผัดออกรสหวาน มีผักแนม กล่ำดอก และบร๊อกโคลี่
                    ฮังเลหมู - โรตี โรตีหั่นเป็นชิ้นใส่ชามแก้ว แกงฮังเล โครงหมูอ่อน วางไว้มุมจานเปล รสเยี่ยม ประดับด้วยขิง กระเทียม ผักชี
                    แกงจืดลำไยยัดไส้กุ้ง ลำไยคว้านเม็ดออกยัดไส้กุ้ง หมูสับ เต้าหู้ เห็ดแชมปิยอง แครอต ผักกาดขาว ซดน้ำร้อนๆ อร่อยหลาย ลำไยสดยัดไส้นั้น น่ากินจริง ๆ
                    ขอไม่บรรยายรสอาหาร บอกคำเดียวว่าอร่อยทุกอย่าง ราคาปานกลาง

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์