ปราสาทเมืองสิงห์ (2) ดูเอเซีย.คอม ข้อมูลท่องเที่ยว ทั่วไทย ทริปท่องเที่ยว แผนที่ 77 จังหวัด การเดินทาง จองโรงแรม จองตั๋วเครื่องบิน สถานที่ท่องเที่ยว
ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

ปราสาทเมืองสิงห์ (2)

            คำขวัญของจังหวัดกาญจนบุรี บอกว่า "แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ แหล่งแร่น้ำตก"
            ผมจะเล่าเรื่องแคว้นโบราณ คือเมืองปราสาทเมืองสิงห์ที่สร้างขึ้นในชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ของกาญจนบุรี คือชุมชนที่ตั้งมาร่วมสองพันปีแล้ว และต่อมาตกอยู่ใต้อิทธิพลของขอม
            ปราสาทเมืองสิงห์ อยู่ริมแม่น้ำแควน้อย ที่บ้านปากกิเลน หมู่ ๑ ตำบลัดสิงห์ อำเภอไทรโยค การเดินทางมายังปราสาทเมืองสิงห์ หากมาเส้นตรงโดยไม่ต้องการมาแวะชมพิพิธภัณฑ์บ้านเก่าแล้วก็ให้มาดังนี้
            จากกาญจนบุรี วิ่งผ่านสถานีรถไฟกาญจนบุรี ข้ามทางรถไฟตรงมาถึงสี่แยกให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสาย ๓๒๓ ซึ่งจะไปยังทองผาภูมิ สังขละบุรี และด่านเจดีย์สามองค์ เมื่อวิ่งมาประมาณกิโลเมตร ๑๑.๕ สี่แยกพุเลี๊ยบ ตรงต่อไปอีกประมาณ ๖.๕ กิโลเมตร จะพบป้ายให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนน ๓๔๕๕ วิ่งไปอีก ๙ กิโลเมตร ถึงสามแยก เลี้ยวซ้ายอีกนิด ก็เลี้ยวขวาเข้าถนนสู่ปราสาทเมืองสิงห์
            ส่วนอีกเส้นทางหนึ่ง คือเส้นทางที่ผมไปในวันนี้คือไปซ้ำกับเส้นทางแรก แต่พอมาถึงสี่แยกพุเลี๊ยบก็เลี้ยวซ้าย ผ่านสถาบันโรงเรียนการเมืองของ พล.ต.จำลอง  ศรีเมือง วิ่งต่อไปจนถึงกิโลเมตร ๒๖ คือสามแยกบ้านเก่า ให้เลี้ยวขวาตรงนี้เข้าถนนที่จะไปยังปราสาทเมืองสิงห์ วิ่งไปสัก ๓ กิโลเมตร จะถึงทางแยกซ้ายเข้าพิพิธภัณฑ์บ้านเก่า ผมแวะที่พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าก่อน ด้วยการเลี้ยวซ้ายเข้าไป ซึ่งถนนจะไปผ่านวัดท่าโป๊ะ แล้วถนนนจะไปสุดทางที่พิพิธภัณฑ์ริมแควน้อย จึงชวนไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์บ้านเก่ากันก่อน เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของอำเภอสังขละบุรี บ้านผาผึ้ง อำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยค อำเภอเมืองกาญจนบุรี อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอบ่อพลอย อำเภอเลาขวัญ อำเภอพนมทวน ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะเปิดทุกวันเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์กับวันจันทร์ และวันอังคาร ซึ่งแม้ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์เล็ก ๆ แต่หากชมด้วยความละเอียดถี่ถ้วนแล้วก็จะได้รับความรู้อย่างยิ่ง
            แหล่งโบราณคดีบ้านเก่าหรือกาญจนบุรี แรกเริ่มเดิมทีผู้ค้นพบคนแรก ซึ่งคงจะค้นพบด้วยความบังเอิญ แต่เป็นผู้ที่มีความรู้ในด้านโบราณคดี ท่านผู้นี้เป็นชาวฮอลันดา ซึ่งเป็นเชลยศึกของญี่ปุ่น และต้องมาเป็นแรงงานในการสร้างทางรถไฟสายมรณะ "ดร.แวน ฮิกเกอเรน" นักโบราณคดีชาวฮอลันดาได้ค้นพบเครืองมือ และขวานหินจำนวน ๗ ชิ้น จากบริเวณสถานีรถไฟบ้านเก่าและวังโพ หลังสงครามสงบเขาเป็นผู้หนึ่งที่มีโอกาสรอดชีวิตกลับไป ได้แอบเอาวัตถุโบราณเหล่านี้กลับไปด้วย และได้ไปศึกษาค้นคว้าต่อ สรุปผลว่าเครื่องมือเหล่านี้ทำขึ้นเมื่อประมาณห้าแสนปีมาแล้ว โดยมนุษย์ที่เรียกว่า มนุษย์ชวาหรือมนุษย์ปักกิ่งในยุคน้ำแข็ง และได้ตั้งชื่อเครื่องมือหินที่มีลักษณะและวิธีกะเทาะเช่นนี้ว่า "วัฒนธรรมแฟงน้อย" ซึ่งเพี้ยนมาจากชื่อแม่น้ำแควน้อย
            พ.ศ.๒๕๐๔ - ๒๕๐๕  จึงได้มีการขุดค้นที่บ้านเก่าบริเวณไร่ของราษฎรริมแม่น้ำแควน้อย พบโครงกระดูกสมัยหินใหม่อายุราว ๔,๐๐๐ ปี มากกว่า  ๕๐ โครง กระจัดกระจายกันอยู่ทั่วไปในพื้นที่ประมาณ ๗ ตารางกิโลเมตร ของริมแม่น้ำแควน้อย ซึ่งจะรวมถึงพื้นที่บริเวณที่ตั้งของ
"ปราสาทเมืองสิงห์" เข้าไว้ด้วย กลุ่มคนเหล่านี้คงจะดำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์ รู้จักนำหินกรวดจากแม่น้ำมาทำเป็นอาวุธ นำดินเหนียวมาทำเป็นภาชนะดินเผา รู้จักการทอผ้า การใช้ยารักษาโรค และมีประเพณีการฝังศพ ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้จะศึกษาได้จากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเก่า โครงกระดูกมนุษย์ที่ขุดค้นเจอนั้น ล้วนแต่มีรูปร่างขนาดเดียวกับคนไทยในปัจจุบันนี้ น่าจะเป็นเครื่องพิสูจน์ได้อีกข้อหนึ่งว่า คนไทยในถิ่นไทยในปัจจุบันก็ล้วนอยู่ในพื้นที่นี้มาก่อน ไม่ได้อพยพมาไกล ๆ จากไหนเลย แต่กระจัดกระจายกันอยู่ ยังรวมกันไม่ติดจึงต้องตกอยู่ใต้อิทธิพลของชนชาติอื่นที่มีอำนาจอยู่ในถิ่นนี้ เช่น มอญ ขอม เป็นต้น ตราบจนกระทั่งพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด และพ่อขุนบางกลางท่าว เจ้าเมืองบางยาง ร่วมกันขับไล่อิทธิพลขอมพ้นไปจากกรุงสุโขทัย แล้วตั้งกรุงสุโขทัยขึ้นเป็นราชธานี โดยมีพ่อขุนบางกลางท่าวเป็นปฐมกษัตริย์ทรงพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ไทยจึงเกิดขึ้นอย่างเต็มตัว ส่วนพ่อขุนผาเมืองเมื่อถวายเมืองสุโขทัยให้มหามิตรแล้วก็กลับไปครองเมืองราดตามเดิม
            ดังนั้น ขอมมาสร้างปราสาทเมืองสิงห์เชื่อว่าไม่ได้ยกทัพมาสร้าง คงเกณฑ์เอาแรงงานคนไทยในชุมชนแถบนี้แหละมาเป็นแรงงาน แต่นายช่าง นายงาน ก็คงเป็นพวกขอม สร้างตามศิลปะของขอม
            จากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเก่ากลับออกมาผ่านวัดท่าโป๊ะ หากมีเวลาอยากให้แวะเข้าไปชม แม้จะเป็นวัดสร้างใหม่ก็สร้างได้สวย หน้าบันทุกแห่งสวย มีภาพจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถ กลับออกมาสู่ถนน ๓๔๕๕ อีกครั้งหนึ่ง วิ่งต่อไปอีกประมาณ ๗ กิโลเมตร ก็จะถึงทางแยกซ้ายเข้ายังปราสาทเมืองสิงห์ วิ่งรถเข้าไป ๑ กิโลเมตร ก็จะเข้ายังประตูปราสาท เสียสตางค์ค่าเข้าชมคนละ ๑๐ บาท รถคันละ ๕๐ บาท คนขับฟรี ภายในเมืองโดยทั่วไปมีสระน้ำ ๖ สระ โบราณสถานสำคัญ ๔ แห่ง ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล้อมรอบด้วยคูน้ำคันดิน ๗ ชั้น ด้านหลังคือแควน้อย กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลงสูง ๗ เมตร

            เมื่อเข้าไปในเมืองแล้วควรจะได้วนไปทางซ้ายมือก่อน ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนไปยังลานจอดรถ เรียกว่าขับรถชมเมืองเสียก่อน แล้วไปบรรจบที่ลานจอดรถซึ่งมีพร้อมทั้งร้านขายของที่ระลึก "สุขา" และเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากร ซึ่งวันที่ไปนั้นให้ความสนใจแก่ผู้มาสอบถามน้อยไปหน่อย ไม่เหมือนเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เยี่ยมยอดก็มีอู่ทอง รองลงมาก็ยกให้บ้านเก่านี่แหละ ทั่วบริเวณของพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งปราสาท ฯ ได้รับการบูรณะพัฒนาอย่างดีเยี่ยม แทบจะยกปราสาทโบราณมาตั้งเอาไว้ให้ชมกัน ปลูกต้นไม้ใหม่เริ่มเติบโตแล้ว ต้นไม้ป่าดั้งเดิมก็มีเหลือไม่น้อยทำให้บริเวณร่มรื่นอย่างยิ่ง
            ปราสาทเมืองสิงห์ สันนิษฐานว่าสร้างรุ่นเดียวกับปรางค์สามยอดเมืองละโว้ หรือลพบุรี ซึ่งปรางค์สามยอดของลพบุรีนั้นรักษาไว้ได้เยี่ยมมาก รวมทั้งการบูรณะด้วยจึงโดดเด่นเป็นสง่าในเมืองลพบุรี แต่ปราสาทเมืองสิงห์แม้จะบูรณะได้ไม่สมบูรณ์เต็มที่ แต่ก็สวยงามกลมกลืนกับธรรมชาติดีเหลือเกิน
            กษัตริย์นักสร้างผู้ยิ่งใหญ่อีกพระองค์หนึ่งของขอม คือพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ล่วงเลยมากว่า ๘๐๐ ปีแล้ว ปราสาทเมืองสิงห์เป็นศิลปะเดียวกับนครธม ปราสาทบายนแต่ฝีมือจะหยาบกว่า (ผมจะเล่าปราสาทขอมให้ฟังทีหลัง) ปราสาทบายนในนครธม ส่วนนครวัดนั้นก็อยู่ในเมืองเสียมราฐเช่นกัน แต่สร้างก่อนประมาณ ๒๐๐ ปี โดยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ เราอย่าไปเรียกเสียมเรียบ ตามอย่างเขมรเพราะเขาตีความหมายว่า ไทยเคยมาแพ้เขาเรียบที่เมืองนี้ หรือเรียกว่าเสียมราบ เพราะเขาบอกว่าพ่อขุนรามคำแหงเคยมากราบพระเจ้าแผ่นดินของเขาที่เมืองนี้จึงเรียกเสียมราบ หรือเสียมเรียบแต่ที่แน่ ๆ คือประวัติศาสตร์ไทยบอกว่าเจ้าสามพระยาหรือพระบรมไตรโลกนาถ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เคยยกทัพมาตีได้เสียมเรียบ มีหลักฐานก็คือมีพระพุทธรูปในปราสาทนครวัด ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อบูชาเทพ เพราะสุริยวรมันที่ ๒ นับถือศาสนาพราหมณ์ ส่วนชัยวรมันนับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายาน พราหมณ์ไม่มีพระพุทธรูป แต่ที่แน่ ๆ ยิ่งกว่านั้นคือ เลยเสียมราฐออกไปทางพนมเปญมีเมืองชื่อเมือง "ละแวก" เคยเป็นเมืองหลวงของเขมรมาก่อน ชอบลอบกัดไทยสมัยที่กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าครอบครองครั้งแรก เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประกาศเอกราชแล้ว ว่างศึกจากทางพม่าแล้วก็ยกทัพไปตีได้ละแวก จับตัวพระยาละแวกทำพิธีปฐมกรรม คือตัดศีรษะเอาเลือกล้างพระบาท แล้วเผาเมืองละแวกเสีย ถามไกด์กัมพูชาดู ไกด์บอกว่าเมืองละแวกยังเหลือซากอยู่ แต่โดนพระนเรศวรเผาจนตั้งเป็นเมืองใหม่ไม่ได้ตราบเท่าทุกวันนี้ ผมจึงเรียกเมืองนี้ว่าเสียมราฐ เรียกตามรัฐบาลไทยสมัยเรียกร้องดินแดนคืน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓ เรียกนั่นแหละเพลงปลุกใจร้องว่า "เสียมราฐพระตระบอง บ้านพี่เมืองน้องมาช้านาน ในครั้งโบราณก่อนเก่า ......"
            พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ นักสร้างผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของขอม สร้างเข้ามาในไทยก็หลายแห่งสร้างจนหมดแรงไปเอง พอหลังจากยุคของพระองค์มีกษัตริย์คั่นพระองค์หนึ่ง ต่อจากนั้นก็มาถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๘ องค์นี้กลับไปนับถือพราหมณ์ใหม่ เลยทำลายของท่านปู่ ชัยวรมันไปหลายจุดขอมจึงอ่อนล้าลงเรื่อย ๆ ตรงข้ามกับไทยเข้มแข็งขึ้นเรื่อย ๆ จนสิ้นชาติขอม มีแต่เขมรที่ไม่ใช่ขอมแท้ เหมือนคนอิตาลีที่ไม่ใช่คนโรมัน ฯ

            ปราสาทเมืองสิงห์ โบราณสถานหมายเลข ๑ สันนิษฐานว่า สร้างเพื่ออุทิศถวายพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ในนิกายมหายาน ตัวปราสาทตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางเมือง ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูน ประดับลวดลายปูนปั้น ศิลาแลงนั้นได้มาจากเมืองครุฑ ซึ่งเป็นแหล่งตัดหินริมแม่น้ำน้อย ห่างจากเมืองสิงห์ไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๕ กิโลเมตร ซึ่งการลำเลียงแท่งศิลาแลงมานี้คงจะมาทางน้ำ เช่นเดียวกับการสร้างนครวัด นครธม ที่ลำเลียงมาไกลถึง ๕๐ กิโลเมตร จากแหล่งศิลาแลง แต่ละแท่งหนักร่วมตัน น่าจะใช้ช้างดันลากจูงจนลงแพแล้วลอยมาตามแควนี้ มาชักลากขึ้นฝั่งแล้วใช้ถมดินเอาก้อนศิลาแลงยกขึ้นไป
            ปราสาทเมืองสิงห์จะประกอบด้วย ปรางค์ประธาน ตั้งอยู่ตรงกลางฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส ภายในปรางค์พบรูปของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระนางปรัชญาปารมิตา  พระพุทธรูปนาคปรกหินทราย ล้วนเป็นรูปเคารพในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานทั้งสิ้น แต่องค์ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นองค์จำลอง ส่วนองค์จริงกรมศิลปากรนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่กรุงเทพ ฯ แล้ว
           โคระ (ซุ้มประตู)  และระเบียงคต อยู่ล้อมรอบปรางค์ประธานทั้ง ๔ ทิศ
           บรรณาลัย  สร้างเพื่อเก็บคัมภีร์ทางศาสนา กำแพงแก้ว เป็นกำแพงล้อมรอบตัวปราสาท
           โบราณสถานหมายเลข ๒  ยังมีปรางค์ประธาน มีโคปุระ ๔ ด้าน ฯ
           โบราณสถานหมายเลข ๓  ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้ว
           โบราณสถานหมายเลข ๔  อยู่ใกล้หมายเลข ๓ ยังบูรณะอยู่
           อาคารจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุ  มีภาพถ่ายและเรื่องราวในการบูรณะ และวัสดุหลายชิ้นที่หักพัง
           หลุมขุดค้นทางโบราณคดี ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำ หากเข้าประตูเมืองมาแล้ววนซ้ายตามที่ผมบอกก็จะแวะชมหลุมขุดค้นนี้ได้ก่อน ซึ่งขุดค้นพบทั้งโครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ ภาชนะสำริด ดินเผา เครื่องมือเหล็ก สร้องคอทำด้วยลูกปัดหินและลูกปัดแก้ว ซึ่งชี้ชัดว่าชุมชนเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนที่จะสร้างเมืองสิงห์ เพราะเป็นศพของคนที่ตายมา ๒,๐๐๐ ปีแล้ว คงจะยุคเดียวกับคนในชุมชนบ้านเก่า
            จากปราสาทเมืองสิงห์ ย้อนกลับมาขึ้นถนนใหม่เลี้ยวซ้ายจะไปผ่านสามแยกที่ไปออกถนนใหญ่ได้ คงตรงต่อไป ผ่านรุ่งเรืองสรรพสินค้าทางซ้ายมือ ผ่านวัดหนองปรือ พบป้ายถ้ำกระแซ อำเภอไทรโยค ผ่านวัดสิงห์ไพบูลย์ประชาสรรค์ทางขวา แล้วจะพบสี่แยกน้อย ๆ (หากเลี้ยวขวาไปออกถนนสาย ๓๒๓ ได้ เป็นเส้นทางตรงที่จะมายังทิวน้ำ) ที่สี่แยกนี้จะมีป้ายปักไว้มากมาย ป้ายที่มุมซ้ายบอกว่า "ทิวน้ำรีสอร์ท" ระยะทาง ๕ กิโลเมตร ให้เลี้ยวซ้ายที่สี่แยกนี้ตามป้ายทิวน้ำเรื่อยไป ผมจะพาไปกินอาหารอร่อยมาก ๆ ราคาถูกก็มาก ๆ อีก และยังบรรยากาศดี เพราะอยู่ริมแม่น้ำแควน้อย หรือจะเข้าพักเลยก็ได้ มีที่พักดี ราคาถูก ที่ผมไปนอนพักมาแล้ว เลี้ยวซ้ายมาตามถนนแล้ววิ่งเรื่อยมามุ่งหาภูเขาและแม่น้ำจนข้ามสะพานข้ามแม่น้ำแควน้อย สะพานยางโทน ทิวทัศน์ในแม่น้ำตรงนี้งามนัก น่าลงถ่ายภาพ ข้ามสะพานแล้วเลี้ยวซ้ายทีนี้ไปตามถนนลูกรังบดอัดแน่น ไปอีก ๑.๖ กิโลเมตร จะผ่านยังโทนรีสอร์ท จะมีป้ายนำทางเป็นระยะ ๆ ชี้บอกทางไปจนถึงทิวน้ำรีสอร์ท โทร คุณติ๋ม  ๐๑  ๙๐๑๗๕๓๑ , ๐๒ ๖๙๑๔๑๒๒ - ๔
            บริเวณทิวน้ำกว้างขวางมาก และอยู่ติดแควน้อย ซึ่งหากจะล่องแพที่มีเรือจูงก็จะไปยังปราสาทเมืองสิงห์ได้ คณะของพวกผมที่นัดกันมาชุมนุมที่นี่ในการสังสรรค์ประจำเดือนของ อำนวยศิลป์รุ่นลมหวล ที่ล้วนแต่อายุอานามใกล้ร้อยเข้าไปทุกที วันนี้นัดมาเจอกันไกลถึงกาญจนบุรี แต่ทุกคนกลับกันหมดเว้นผมค้างคืนต่อ เพราะชอบบรรยากาศของเขามาก ร่มรื่นดีเหลือเกิน เงียบสงบ เช้าออกเดินเล่นในรีสอร์ทหรือสาย ๆ จะขับรถออกไปเที่ยว ไทรโยค ไปทองผาภูมิ ไปเจดีย์สามองค์ แล้วกลับมานอนอีกคืนก็ได้ ทิวน้ำรีสอร์ท มีที่พักราคาไม่แพง จัดแพคเกจทัวร์เลี้ยงอาหาร ๓ มื้อ เลยทีเดียว ดูเหมือนจะคิดสตางค์หัวละ ๙๐๐ บาท รวมค่าอาหาร แต่ผมเช่าห้องพัก กินมื้อเที่ยงรวมกับคณะเพื่อนร่วมรุ่น มื้อเย็นมื้อเช้าตามสั่ง และชอบใจบ้านพักของเขาปลูกเรียบง่าย แต่ซ่อนอยู่ในมุมที่อับตา มองมาจากในแม่น้ำก็ไม่ค่อยเห็น จากพื้นดินก็ไม่โดดเด่น รักษาธรรมชาติไว้ได้ดีเยี่ยม
            มื้อเย็น ปลาทับทิมสามรส มีผักรองก้นจาน รสปลานั้นมีครบ ๓ รส เปรี้ยวนำ ตามด้วยหวาน เนื้อปลานุ่ม ประดับให้สวยด้วยเปลือกมาเขือเทศที่เอามาทำเป็นดอกกุหลาบ
            แกงส้มชะอมชุบไข่ทอด มีผักบุ้ง ถั่วฝักยาว และปลายี่สมเนื้อขาวจั๊วะ น่ากินนักใส่ลงมาด้วย
            ปลารากกล้วยคลุกงาทอดกรอบ จานนี้พอเขายกมาให้ ชิมทันทีอย่ารีรอ กินกันตอนร้อน ๆ จะกรอบอร่อยมาก ทิ้งไว้ให้เย็นจะเหนียว หอมกลิ่นงา เคี้ยวสนุก มันอย่าบอกใคร
            จานเด็ด ต้มข่าปลาสลิดใบมะขามอ่อน ต้องสั่ง เสริฟมาในหม้อดินใบน้อย ตั้งไฟร้อน กลิ่นกะทิจากมะพร้าวในสวน ไม่ใช่มะพร้าวถุงจึงหอมนัก ต้มกะทิร้อน น้ำเข้มข้น ซดกันตอนร้อน ๆ หรือจะเอาราดข้าวก็อร่อยไปอีกแบบ เนื้อปลาสลิดเค็มนั้นนุ่มมัน
            ฉู่ฉี่ปลาคัง พริกชี้ฟ้า ใบมะกรูดโรย แต่งด้วยใบโหระพาและพริกไทยดำ เผ็ดนิด ๆ จะคลุกข้าวแล้วเหยาะด้วยน้ำปลาพริกก็เด็ด ส่งเข้าปากแล้วซดต้มข่าตามจะเข้ากันดี
            อีกจานหากท้องยังรับไหว คือปลาแรดทอดกระเทียมพริกไทย กลิ่นหอมฟุ้งมาทีเดียว
            ของหวานเขามีทั้งผลไม้ในสวนของเขา โดยเฉพาะมะละกอ หวานชวนชิม สับปะรด และมีน้ำแข้งไส แล้วราดด้วยน้ำแดง ใส่ลูกชิด ลูกบัว ขนมปัง ผมเคยตั้งชื่อให้ร้านที่แปดริ้วว่า "ปังแดง"

----------------------------------


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์