ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

ไหว้พระดีภาคอีสาน ๒

                   ผมเล่าถึงการไปไหว้พระดีภาคอีสานมาแล้วหนึ่งตอน พระดีที่บุรีรัมย์ต้องขอเล่าของบุรีรัมย์ต่อวนอุทยานเขากระโดง อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองบุรีรัมย์มาตามถนนสายบุรีรัมย์ - อำเภอประโคนชัย มาได้ประมาณ ๖ กิโลเมตร ทางซ้ายมือจะมีป้ายใหญ่บอกไว้ว่า วนอุทยานเขากระโดงให้เลี้ยวซ้ายตรงเข้ามาจนถึงเชิงเขา บริเวณวัดพระพุทธบาทเขากระโดงนั้นอยู่ตรงเชิงเขาและมีรอยพระพุทธบาทจำลอง แต่เราจะขึ้นไปนมัสการพระพุทธรูปองค์ใหญ่สีขาวที่มองเห็นได้แต่ไกลและอยู่บนยอดเขา ให้วิ่งรถขึ้นไปได้จนถึงยอดเขา หรือมั่นใจในกำลังของเราก็อาจจอดรถไว้ที่เชิงเขา แล้วเดินขึ้นบันไดไปก็ได้ ผมเอารถขึ้นไป ถนนดีไม่ชัน ขึ้นไปได้สักครึ่งทาง ทางขวาคือ ปากปล่องภูเขาไฟเดิม ที่ดับสนิทมานานนับหมื่นปีแล้ว แต่ทุกวันนี้ยังมีน้ำอยู่ในปากปล่องภูเขาไฟแห่งนี้  บุรีรัมย์คือดินแดนภูเขาไฟที่ดับแล้ว ชมปากปล่องภูเขาไฟแล้วก็วิ่งรถขึ้นต่อไปจนถึงยอดเขาซึ่งมีลานให้จอดรถ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ พระสุภัทรบพิตร ประทับนั่ง องค์หลวงพ่อสีขาว เมื่อมาจากในเมืองจะมองเห็นแต่ไกล และตรงที่จอดรถจะมีปราสาทเก่าแก่พังลงมาหมดแล้ว บูรณะด้วยวิธีชาวบ้านคือ จับหินยกไปวางซ้อนกัน และตรงไหนที่กลัวจะพังลงมาอีกก็เอาซีเมนต์โบกไว้ เป็นอันจบปราสาทหลังนี้ ในปราสาทมีรอยพระพุทธบาทจำลองที่เก่าแก่ ให้มาเคารพบูชากราบไหว้กัน และบนเขานี้ยังมีต้นไม้เก่าแก่เป็นต้นไม้เด่นของวนอุทยานคือต้น "มะกอกโคก" เขาว่าเหลืออยู่แห่งเดียวที่เขากระโดงแห่งนี้
            จากยอดเขากระโดงนี้จะมองเห็นวิวไปได้ไกล และมองเห็นเมืองบุรีรัมย์อยู่ไม่ไกลจากสายตา กลับเข้าเมืองบุรีรัมย์กันใหม่
            สัญลักษณ์ประจำจังหวัด รูปเทวดารำอยู่บนปราสาทเขาพนมรุ้ง  คำขวัญประจำจังหวัดบุรีรัมย์ เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม
            พระดีของบุรีรัมย์ที่ยกย่องว่าเป็นหนึ่งใน ๑๐๘ วัด คือ พระพุทธรูปวัดเขาอังคาร บุรีรัมย์ยกไว้เพียงวัดเดียว
            แต่ผมว่ายังมีอีกหลายวัดในสายตาของผม  แต่เขายกย่องไว้เพียงวัดเดียว
            สถานที่ท่องเที่ยวแห่งอื่น ๆ.-
            อ่างเก็บน้ำห้วยตลาด  อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๑๐ กิโลเมตร มีทิวทัศน์งดงามบรรยากาศร่มรื่น ริมอ่างห้วยยางตลาดมีสวนนกกระยางขาว
            ในเขตอำเภอปะคำ ได้แก่
            ปราสาทประคำ สร้างด้วยศิลาแลงต่อกันเป็นปราสาท มีประตูทางเข้าเพียงด้านตะวันออกเพียงด้านเดียว อีก ๓ ด้านปิดแน่น (หลายปราสาทสร้างแบบนี้ ประตูจริงประตูเดียว อีก ๓ ประตูสร้างหลอกเอาไว้) กำแพงสร้างด้วยศิลาแลง มีสระน้ำอยู่ทางทิศตะวันออกของปราสาท ห่างกำแพงประมาณ ๕๐ เมตร ปราสาทตั้งอยู่ในเขตบ้านโคกงิ้ว ตำบลปะคำ อำเภอปะคำ ไปตามถนนสายนางรอง - ปะคำ ในช่วงหลักกิโลเมร ๒๐ - ๒๑ อยู่ห่างจากถนนไปประมาณ ๒๐๐ เมตร
            ปราสาทบ้านใหม่เจริญ  ตำบลไทยเจริญ ห่างจากโรงเรียนปะคำไปทางตะวันออก ราว ๔ กิโลเมตร เป็นโคกมีเสาประตูตั้งอยู่ น่าจะเป็นปราสาทอิฐ ศิลปะลพบุรี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖
            ถ้ำเป็ดทอง ในเขตตำบลโคกมะม่วง เป็นถ้าหินคล้ายเรือโป๊ะ เรียงกันที่ห้วยลำมาศ เป็นลาดหิน ช่องหลืบของถ้ำมีอักษรจารึกไว้ ๓ แห่ง เป็นภาษาสันสกฤต อ่านแล้วไดใจ้ความ (ไม่ใช่ผมอ่าน) ว่า "จิตรเสนได้สถาปนาลึงค์นี้ขึ้นด้วยความภักดีต่อพระศัมภุและต้องได้รับอนุญาตจากบิดามารดา"
            ในเขตอำเภอละหารทราย ได้แก่.-
            ปราสาทหนองหงส์  ในเขตตำบลโนนดินแดง สร้างด้วยอิฐมี ๓ องค์ อยู่ในบริเวณเดียวกัน ล้อมรอบด้วยกำแพง ศิลาทับหลังจำหลักเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ รูปพระอินทร์ และรูปช้างเอราวัณ ปรางค์หลังกลางมีชานเด่นยื่นออกไปมีวิหารอีก ๑ หลัง ปราสาทหลังใต้มีรูปจำหลักพระอิศวร  เชื่อว่ามีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗
            ภูเขาไฟพนมรุ้งอยู่ในเขตอำเภอนางรอง อำเภอประโคนชัย และอำเภอละหานทราย ถนนที่ไปราดยาง เป็นภูเขาโดดเดี่ยวล้อมรอบด้วยที่ราบสูง ปากปล่องมีแอ่งปะทุเป็นทางน้ำไหลทำให้เกิดเป็นน้ำตกพนมรุ้งที่งดงาม ซึ่งสามารถจะไปชมน้ำตกได้ในฤดูฝน
            จากจุดนี้สามารถมองเห็นวัดเขาพระอังคารที่มีความงดงามตามธรรมชาติได้ดี
            ภูเขาไฟปลายบัด  ไปทางพนมรุ้ง เคยมีปราสาทตอนนี้เหลือแต่ซากให้รู้ว่าเคยมีปราสาท
            ในเขตอำเภอโนนดินแดง มีอนุสาวรีย์เราสู้ สร้างเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของทหาร ตำรวจ ประชาชนที่เสียชีวิตเนื่องจากการส่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
            เขื่อนลำนางรอง  ห่างจากอนุสาววรีย์เราสู้ไปสัก ๕๐๐ เมตร มีทางแยกขวาเข้าไปอีก ๔ กิโลเมตร เป็นอ่างเก็บน้ำที่กว้างใหญ่มาก เมื่อสัก ๑๕ ปีที่แล้ว สมัยที่ผมยังรับราชการ และทำงานด้านยุทธศาสตร์พัฒนาตามแนวชายแดนแถบนี้ด้วย  เคยได้กินปลานิลตัวโตกว่าชามเปล ที่เขาจับมาขายแล้วเราซื้อมาให้ทหารปรุงแต่งเป็นอาหารให้ ไม่ทราบว่าเดี๋ยวนี้ตัวยังโตเท่าจานเปลอยู่อีกหรือเปล่า เพราะวันที่ไปไม่ได้แวะเข้าไปเยี่ยมและกินอาหารร้านริมเขื่อน ทางริมเขื่อนจะมีร้านอาหารตั้งอยู่จำนวนมาก อาหารปลาเป็นเด็ดนัก ราคาไม่แพง มื้อที่เหมาะคือมื้อกลางวัน
            แถบนี้มีหมู่บ้านที่เคยนำ "บัณฑิตเกษตร" ตามโครงการบัณฑิตเกษตรที่ พล.อ.พิจิตร  กุลละวณิชย์ ได้ริเริ่มเอาไว้ และผมเป็นรองของท่านก็เป็นผู้ดำเนินการในรายละเอียด หมู่บ้านแถบนี้ที่กำลังพัฒนาในขณะนั้นมี ๔ หมู่บ้าน ตั้งชื่อว่าหมู่บ้าน ๑ - ๔ เราได้ส่งบัณฑิตเกษตร คือผู้ที่จบจากเกษตรศาสตร์จากมหาวิทยาลัย หรือวิทยาลัยใดก็ได้ (ผมได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ก็เพราะทำงานส่งเสริมบัณฑิตเกษตรเหล่านี้) นำบัณฑิตเหล่านี้มาอบรมและต้องสัญญากันว่าจะไปสร้างตัว ไม่คิดรับราชการ ไปอยู่ชายแดน แล้วเราก็จัดการให้ทุน ให้เครื่องมือเครื่องใช้ ให้บ้าน ให้ที่ดินทำกินในเขตป่าสงวนเสื่อมโทรม ซึ่งจะขอใช้ได้ให้ไปคนละ ๑๕ ไร่ บัณฑิตเหล่านี้จะไปอยู่กันหมู่บ้านละ ๒ - ๓ คน เมื่อเข้ากับชาวบ้านได้ก็จะสร้างตัวได้ และจะทำตัวเป็นเสมือนเกษตร "หมู่บ้าน" ทางราชการเขามีเกษตรตำบล ของเราถึงรากหญ้าคือมีเกษตรหมู่บ้าน ก็จะช่วยเหลือและให้วิชาแก่เกษตรกร ซึ่งใหม่ ๆ จะเป็นอันตรายกับตัวเอง เพราะพวกพ่อค้าขายปุ๋ยจะเขม่นเอาคิดปองร้ายถึงชีวิตเลยทีเดียว ยกตัวอย่าง ผลไม้ปลูกใหม่ พ่อค้าแนะให้ใช้ปุ๋ยสูตร (สมมุติ) ๑๕ - ๑๕ - ๑๕ แต่บัณฑิตของเราแนะให้ใช้ปุ๋ยยูเรีย (ปัสสาวะแช่น้ำแล้วเอาไปรดยังได้) ซึ่งราคาจะผิดกันมาก พอปลูกไม้แก่ต้องการความหวาน พ่อค้าบอกว่าต้องใช้ปุ๋ยสูตร ๒๑ - ๒๑ - ๒๑ ซึ่งจะแพงมาก เวลานั้นตกกิโลกรัมละ ๓๐ บาท บัณฑิตแนะให้ใช้ปุ๋ยสูตร ๐ - ๐ - ๖๐ หรือ ๐ - ๐ - ๕๐ ราคากิโลกรัมละ ๓ บาท เพราะต้นไม้ออกผลและโตเต็มที่แล้วต้องการความหวาน คือปุ๋ยตัวท้ายได้แก่ "โปแตสเซียม" อีก ๒ ตัวหน้าคือ N, P ไม่ต้องการ จึงไปขัดกับพ่อค้าปุ๋ยที่เคยขายขูดรีดเอากับราษฎรและขายด้วยวิธีเงินเชื่อ เก็บผลได้จึงจะจ่ายสตางค์ก็บวกดอกเบี้ยเข้าไปกับราคาขายอีก แต่เมื่อราษฎรเกษตรกร ได้ผลอย่างที่บัณฑิตแนะนำ เขาก็พอใจและคอยปกป้องพวกลูก ๆ หลาน ๆ น้อง ๆ ชาวบัณฑิตเกษตรที่อยู่กับเขา เวลานี้ผ่านไปร่วม ๑๕ ปีแล้ว บัณฑิตเหล่านี้ส่วนใหญ่ที่นำไปไว้ตามหมู่บ้านต่าง ๆ หลายจังหวัดด้วยกันเติบใหญ่ บางคนเป็นระดับผู้ใหญ่บ้านไปแล้ว มีเป็นกำนันหรือยังไม่ทราบ แต่พวกเขากับผมก็ยังติดต่อกันอยู่เสมอ เช่นพวกบนเขาค้อเป็นต้น ผมรักพวกเขา เขาก็รักผม เรียกผมว่าคุณพ่อ  ที่นำมาเล่าเพราะเสียดายที่พอผมและท่าน พล.อ.พิจิตร  กุลละวณิชย์ (ผมยกให้เป็นนายตลอดกาล) เกษียณอายุราชการกันแล้ว โครงการนี้ก็เลิกไปไม่มีใครทำได้อีก เพราะไม่ใช่แค่ทหารเท่านั้นที่จะทำได้ ต้องประสานกับหลายฝ่ายทางหน่วยราชการพลเรือน จึงจะสำเร็จ  ผู้ประสานต้องมีเครดิตดีให้ฝ่ายพลเรือนเลื่อมใสเชื่อถือ  ผมเล่าถึงที่เที่ยวในอำเภอตั้งใหม่คือ โนนดินแดงนิดเดียว และเล่ากันยาวไปถึงเหล่าบัณฑิตเกษตร ซึ่งเสมือนเป็นอนุสาวรีย์ผลงานของพวกผมเหมือนกัน
            อำเภอบ้านกรวด  อำเภอนี้ก็มาเกี่ยวข้องกับผมอีกนั่นแหละ เมื่อเวลาผมไปเยี่ยมบัณฑิตเกษตรที่โนนดินแดง ก็ถือโอกาสไปเยี่ยมประชาชน ถามทุกข์ ถามสุขเขาด้วย สุขของเขาผมไม่ยุ่ง แต่ทุกข์ของเขา ในฐานะที่ทำงานด้านยุทธศาสตร์พัฒนาตามแนวชายแดน เมื่อทราบทุกข์ของเขาแล้ว ผมก็จะกลับมาระดมหน่วยราชการที่จะแก้ไขทุกข์ของราษฎรละแวกนั้นเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนในครั้งแรก แล้วแก้ปัญหาระยะยาวด้วยการยกขบวนกันไป บางครั้งแห่กันไปตั้ง ๒๒ หน่วยราชการ เอากันให้สำเร็จเป็นรูปธรรม ชาวบ้านจึงรู้จักผมแยะ บางหมู่บ้านผมไป "เที่ยวไป กินไป" ในทุกวันนี้เขาก็ยังจำผมได้ และเรียกผมว่าคุณพ่อ ที่บ้านกรวดผมไปเยี่ยมพิพิธภัณฑ์ที่โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาจัดทำขึ้น และต่อมาเรียกว่า ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบ้านกรวด ครูที่รับผิดชอบได้ขอความช่วยเหลือ ซึ่งผมก็เสนอต่อไปให้ทางกระทรวงศึกษาธิการ (กรมศิลปากร) ให้ช่วยดำเนินการ ที่ศูนย์แห่งนี้ได้รวบรวมเครื่องเคลือบดินเผาโบราณเอาไว้มาก และที่บ้านกรวดคือแผล่งผลิตที่สำคัญในอดีต เดาเผาโบราณที่ได้เปิดแล้วมี ๒ แห่ง เตาเผาที่พบมีอายุนับพันปี ควรไปชมเพราะไม่ไกลจากละหานทราย
            เขื่อนห้วยเมฆา  สร้างเพื่อแผ่นดินอีสานตอนใต้ เป็นแอ่งน้ำในหุบเขาเป็นที่ท่องเที่ยวในบริเวณนี้มีสวนยูคาลิปตัสและสวนป่าห้วยเมฆา มีการพบหินทรายก้อนใหญ่ สันนิษฐานว่าคงจะถูกขุดเพื่อนำไปสร้างปราสาทในเขตอีสานใต้
            อำเภอพุทไธสง  หากจะไปจังหวัดมหาสารคาม โดยไปทางอำเภอปะทาย จะผ่านพุทไธสง แต่หากไปจากบุรีรัมย์ จะต้องเดินทางไปอีก ๗๐ กิโลเมตร โดยจะผ่านอำเภอสตึก ที่อำเภอนี้มี.-
            ปรางค์กู่สวนแตง  ตำบลพุทไธสง ห่างจากตัวอำเภอไปอีกสัก ๔ กิโลเมตร พระปรางค์ศิลปะขอม ๓ องค์เรียงกัน หน้าบันซุ้มประตูสลักภาพนารายณ์บรรทมสินธ์ที่งดงามมาก  แต่เนื่องจากเคยถูกขโมยไปแล้วและเมื่อนำกลับคืนมาได้เลยเอาไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่กรุงเทพ ฯ แล้ว
            พระเจ้าใหญ่วัดหงส์ น่าจะนับเป็นพระดี ๑ ใน ๑๐๘ ของอีสาน เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ปางสมาธิ ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์มาก สร้างด้วยศิลาแลง ศิลปะพื้นเมือง ทิศทางไปค่อนข้างสับสนเพราะชาวบ้านรู้จักดี เลยไม่คำนึงถึงนักท่องเที่ยวที่ทราบว่ามีพระดี แต่ไม่รู้รายละเอียดว่าอยู่ตรงไหน ต้องไปเริ่มที่ตลาดพุทไธสง ถามชาวตลาดดูว่าวัดหงส์อยู่ทางไหนให้เขาชี้ทางให้แล้วค่อยคลำทางไปอีกที ห่างตลาดประมาณ ๑ กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายเข้าไปอีก ๒ กิโลเมตร แต่ถนนดี มีเจดีย์สร้างไว้ข้างอุโบสถ ๑ องค์
            กู่ฤาษี  เป็นศิลาแลงวางเรียงซ้อนกันและวงเป็นกำแพงล้อมตัวกู่ ภายในมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ อยู่ในเขตตำบลทองหลาง
            ของฝากจากบุรีรัมย์ ผ้าไหม ผ้าฝ้ายพุทไธสง ปลาจ่อม กุ้งจ่อมของ อำเภอประโคนชัย กระยาสารทของประโคนชัย และขาหมมูนางรอง
            ที่พัก ผมพักที่โรงแรมเทพนคร ซึ่งปรับปรุงใหม่เรียกว่า สร้างใหม่ไม่เหลือรอยเดิมให้เห็นเลย สะดวกสบาย ราคาไม่แพง อยู่ชานเมืองบุรีรัมย์ โทร. ๐๔๔ ๖๑๓๔๐๐ - ๒
            อาหารมื้อเด็ด  ร้านป้าใหญ่ ถนนปลัดเมือง ๐๔๔ ๖๒๕๕๑๔ ให้เริ่มต้นจากสถานีรถไฟบุรีรัมย์ หันหลังให้สถานีรถไฟแล้วเดินหน้ามา ๓๐ เมตร จะพบกับหอนาฬิกา ให้เลี้ยวขวาผ่านร้านข้าวต้มกุ๊ย (เขาเรียกตัวเขาเอง) ชื่อร้าน เขาทะเล อยู่ทางขวา มาถึงสี่แยกไฟสัญญาณให้เลี้ยวซ้าย ผ่านหน้าร้านข้าวต้มเจ้หมวย ร้านนี้ผมอุดหนุนเขาเป็นประจำ เดี๋ยวนี้ขยายร้าน ดูสะอาดตากว่าเดิมแยะ ผ่านต่อไปจะผ่านปั๊มน้ำมันเชลล์ทางซ้ายมือ ที่ปั้มนี้ตอนช่างฟิตอยู่กลางวันเขามีขนมเทียนแก้วขายอร่อยนัก
            เริ่มอีกที สถานีรถไฟ ๓๐ เมตร ถึงหอนาฬิกาเลี้ยวขวา ถึงสี่แยกมีไฟสัญญาณเลี้ยวซ้าย ตรงเรื่อยไปผ่านปั๊มเชลล์ ถึงร้านข้าวต้มตี๋ภาค ๒ (กลางวันปิดร้านเงียบ) ทางขวาคือธนาคารนครหลวงไทย ให้เลี้ยวขวาเข้าถนนข้างธนาคารนครหลวงไทยทันที เข้าไปสัก ๕๐ เมตร ร้านป้าใหญ่อยู่ซ้ายมือ ร้านสองห้อง เป็นห้องปรับอากาศนั่งเย็นสบาย ตรงข้ามก๋วยเตี๋ยวกระทุ่มแบน
            ซี่โครงมหมู หมูนุ่ม เปื่อย แต่เปื่อยได้เคี้ยว ผักวางข้างคือผักคะน้าลวก จิ้มซ๊อสพริก หรือน้ำจิ้ม ๓ รส
            น้ำพริกลาบปลาดุก ไม่มีกลิ่นของปลาเลย เอาปลาดุกมาสับ ตำกับพริก รสกำลังดีเผ็ดนิดเดียว พอรู้สึกว่าได้กินพริก ผัก ๑ จาน น่ากินทั้งนั้น แตงกวา ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ ผักกาดขาวปลี
            แหนมซี่โครงหมู ทอดมา แนมด้วยขิง ต้นหอม เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ พริกขี้หนูแห้งทอดกรอบ จานนี้หมดในเวลาอันรวดเร็ว รสแหนมดีเหลือเกินไม่เอาแต่เปรี้ยว เคี้ยวสนุก
            ต้มแซ่บ มีขาลาย (เนื้อ) หรือสั่งจะเป็นหมู หรือไก่บ้านก็ได้ เสริฟมาในกะทะทองเหลืองใบน้อยตั้งมาบนเตาน้อย ใช้เตาแก๊ส ซดชื่นใจเหลือประมาณ อาหารน้ำร้านนี้สังเกตโต๊ะอื่นด้วยไม่ว่าจะเป็นต้มยำ ต้มโคล้ง ต้มแซ่บ เขาเสริฟมาในกะทะทองเหลืองใบน้อยแล้วตั้งมาบนเตาแก๊สทั้งสิ้น แต่ละโต๊ะแข่งกันซดสนุกไป

...........................................................


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์