ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| ย้อนกลับ |

เบตง (๒)

            เมื่อสัปดาห์ที่แล้วให้ชื่อเรื่องว่า "เบตง" ปรากฎว่าไปไม่ถึงเพราะผมพาวนอยู่กับเรื่องขบวนการโจรก่อการร้าย ซึ่งหลาย ๆ ท่านทราบว่าผมเคยรับราชการอยู่ภาคใต้เป็นเวลานาน และยังอยู่ในช่วงที่การก่อการร้ายต่าง ๆ ยังอุดมสมบูรณ์ในภาคใต้ และกลับมาคุขึ้นใหม่ในปีที่ผ่านมา และดูจะเจาะจงลงไปที่ตำรวจมากกว่าพวกอื่น ผมได้บอกไว้ว่าพวกก่อการร้ายในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น มีไม่เหมือนใคร ไม่เหมือนภาคใดทั้งสิ้น คือ มีถึง ๔ พวกด้วยกัน พวกแรกคือ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และพวกขบวนการโจรก่อการร้ายที่ผมได้เล่าไปแล้ว พวกที่ ๓ ลัดคิวขึ้นมาก่อน ไม่ต้องเล้ารายละเอียดเดี๋ยวไปไม่ถึงเบตง คือ พวก "โจรห้าร้อย" ทั้งหลายถือว่าเป็นพวกก่อการร้ายอีกพวกหนึ่งที่จะต้องปราบปราม แต่เป็นหน้าที่หลักของตำรวจเลยทีเดียว เว้นพื้นที่นั้นจะมีการประกาศกฎอัยการศึก หรือประกาศภาวะฉุกเฉิน ทหารก็เข้าไปดำเนินการได้ ทำไมตอนทหารรับผิดชอบเต็มพื้นที่ จึงไม่ค่อยมีเหตุการณ์ร้าย ๆ เกิดขึ้น เพราะการหาข่าวนั้นผิดกัน ผมไม่ขอเล่าเพราะทหารยังใช้วิธีเหล่านี้ต่อไป หาข่าวจากชาวบ้านนั้นแหละ ข่าวที่ได้จึงเป็นข่าวทันสมัย และเป็นข่าวกรอง สามารถนำไปแก้สถานการณ์ได้ทัน
            ผมจะเล่าถึงพวกก่อการร้ายพวกที่ ๔ ซึ่งสูญพันธ์ไปเลย ไม่มีแม้แต่คนเดียว เว้นแต่กรมการปกครองจะไปเก็บเรื่อง "ให้สัญชาติไทย" แก่พวกเขา ซึ่ง ครม. ได้อนุมัติให้สัญชาติไทยแก่พวกอดีต "จคม." แล้ว โดยอนุมัติตั้งแต่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๕ นัถึงวันนี้เป็นเวลาปีเศษแล้ว แต่เรื่องยังเก็บอยู่ที่มหาดไทย ที่มีรัฐมนตรีเป็นชาวจังหวัดยะลา ยังไม่ส่งให้ทางตำรวจดำเนินการในขั้นสุดท้ายไป ผมเคยเตือนบ่อย ๆ ว่าอย่าไปจุดไปใต้ขึ้นอีก การจุดนั้นง่ายแต่การปราบนั้นทำยาก เขารอคอยสัญชาติไทยมา ๑๖ ปีแล้ว และปฏิบัติตัวทุกอย่างถูกต้องตามที่ฝ่ายเราต้องการ หรือตามสัญญาของลูกผู้ชายที่ผมกับพวกเขา ได้สัญญากันไว้ เมื่อ ๑๖ ปีที่แล้ว (พ.ศ.๒๕๓๐) แล้วทำไมเราไม่จัดการให้เรียบร้อยเสียที ผมจะเล่าเรื่องเดิมให้ฟัง ฉบับย่อพื่อปูทางสำหรับไปเที่ยวเบตง จังหวัดยะลว
            เมื่อมาเลย์เซียได้เอกราชจากอังกฤษ พลมืองส่วนใหญ่เป็นชาวมาลายู แต่มีชาวจีนร่วมอยู่ด้วยเป็นจำนวนไม่น้อยเช่น ที่เมืองไตปิง ห่างจากชายแดนไทยไม่ถึง ๒๐๐ เมตร เป็นชาวจีนเกือบทั้งเมือง ไปเมืองนี้ตื่นเแต่เช้ามาต้องไปกิน "หมูย่าง" เป็นการย่างหมูตัวโต ๆ ไม่ใช่ขนาดหมูหัน และย่างทั้งตัวก่อนย่างก็ต้องฉีดเครื่องปรุง หรือนำยาเข้าไปก่อน ทำให้เมื่อย่างแล้วหมูตัวเบ้อเร่อนั้นมีรสในตัว ไปซื้อแล้วนั่งกินตามร้านกาแฟได้เลย ตัวโตมากจริง ๆ เท่าคนนั่นแหละ ซึ่งหมูย่างแบบนี้เมืองไทยก็มี แต่ไม่ได้แขวนไว้เต็มต้วอย่างที่เมืองไตปิง เมืองไทยมีที่จังหวัดตรัง และผมเห็นที่อำเภอเมือง ฯ กับอำเภอห้วยยอดเท่านั้น ที่อำเภออื่นไม่เห็นที่จะเอาหมูตัวโต ๆ มาย่างทั้งตัว
            ดังนั้นแม้จะมีชาวจีนก็เป็นพลเมืองส่วนน้อย และทำท่าจะเป็นพลเมืองชั้นสองไป เช่น สิทธิ์ในการครอบครองที่ดินก็ไม่เท่ากัน ผลที่สุดจีนที่เกาะสิงค์โปร์ ก็แยกตัวออกไปตั้งเป็นประเทศสิงค์โปร์ แยกขาดไปจากมาเลย์เซีย ส่วนจีนที่อยู่ตอนเหนือเช่น ไตปิง และเหนือขึ้นมาจนจดชายแดนทางใต้ของไทย ก็พยายามแยกตัว เรียกกลุ่มนี้ว่าโจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายา เพราะต้องรับการช่วยเหลือจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ กำลัง จคม. มีไม่มากนัก และเข้ามาเกาะติดชายแดนไทย ทั้งนี้เพราะถูกกำลังของฝ่ายมาเลย์เซียผลักดันปราบปรามหนักเข้า ก็ออกมาตั้งตัวอยู่ชายแดนไทย และเริ่มรุกล้ำเข้ามามีอิทธิพลในไทย ในปี พ.ศ.๒๕๒๙ ซึ่งเป็นปีที่ผมเข้าไปนำการปราบปรามนั้น พวกนี้เข้ามาอยู่ในแดนไทยแล้วเป็นเวลานานถึง ๒๖ ปีเศษ และมีอิทธิพลในพื้นที่หลายพื้นที่ได้แก่พื้นที่ของบางอำเภอ จังหวัดสงขลา นราธิวาส แหละมาที่สุดในพื้นที่จังหวัดยะลา "เบตง"  อยู่ในอิทธิพลของ จคม. อย่างเต็มที่ เบตงซบเซาไม่ได้ครึกครื้นเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างทุกวันนี้ การเดินทางไปเบตงนั้น หากเริ่มกันก็เริ่มจากหาดใหญ่ ไปปัตตานี ไปยะลา แล้วไปอีกกว่า ๑๔๐ กิโลเมตร ผ่านอำเภอปันนังสตาร์ ธารโตไปจึงจะถึงเบตง ไม่มีใครกล้าเดินทางกลางคืน แม้แต่เวลากลางวันก็ไม่ค่อยกล้าไป เพราะ จคม. หรือโจรจีน จะดักโจมตีหรือเรียกค่าคุ้มครองสวนยางต่าง ๆ ในเขตถูก จคม. เรียกค่าคุ้มครอง ร้านรวงใน อำเภอเบตง ถูกเรียกค่าคุ้มครอง เส้นทางไหนที่เขาไม่ประสงค์ให้เข้าไป เขาเอาป้ายตั้งมีรูปหัวกระโหลกกระดูกไขว้ขวางไว้ ซึ่งรูปป้ายที่ตั้งห้ามเข้านี่แหละ เป็นแรงบันดาลใจให้ผมค้นหาวิธีการที่จะปราบเขา นำพวกเขาออกจากป่าให้ได้ เพราะผมชอบขับรถด้วยตนเอง ขับไปเที่ยว ไปธุระไปได้ทั้งนั้นไปคนเดียวด้วย (รับราชการต่างจังหวัดไม่ได้นำครอบครัวไปด้วย) เมื่อพบป้ายห้ามเข้าในแผ่นดินไทยจึงเกิดความแค้นว่างั้นเถอะ
            พวก จคม. นั้นเมื่อมาเกาะแผ่นดินไทยแล้ว ในโอกาสต่อมาประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๓ พวกนี้เริ่มแตกกัน พวกหนึ่งส่วนน้อยประมาณ ห้าร้อยคนเศษ ยังยึดหมั่นในหลักการเดิมที่จะไม่นำคนท้องถิ่นเข้ามาเป็นพรรคพวก ยังเกาะกลุ่มกันอยู่แต่ในพวกของตัวที่มาจากมาเลย์เซียด้วยกัน กลุ่มนี้เมื่อแตกตัวออกมาแล้ว หันไปรับการช่วยเหลือจากคอมมิวนิสต์รัสเซีย จึงเรียกว่า จคม. สายรัสเซีย อีกกลุ่มหนึ่งมีมากกว่าประมาณพันคนเศษ ชักไม่ยึดมั่นในอุดมการณ์เดิม ชักสบายเข้ากับอาชีพนี้ จึงหันมารับพรรคพวกเป็นคนพื้นเมืองท้องถิ่น มาจากอีสานก็มี เพราะคอมมิวนิสต์ด้วยกันกลุ่มนี้ รับการช่วยเหลือจากจีนเรียกว่า จคม. สายจีน กลุ่มสายรัสเซีย นั้นมีนายจางจงหมิง เป็นหัวหน้า (พึ่งเสียชีวิตเมื่อปลายปี ๒๕๔๖)  ส่วนสายจีนมีนายจีนเป็งเป็นหัวหน้า แบ่งเขตอิทธิพลกันไม่รุกล้ำเขตแดนกัน ฝ่ายเราต้องสูญเสียทางเศรษฐกิจในแต่ละปี ให้แก่คนทั้งสองกลุ่มนี้ไม่น้อยกว่าปีละสองร้อยล้านบาท โดยไม่นับค่าใช้จ่ายของทหาร ตำรวจในการรักษาความปลอดภัย พวก จคม. จะหลีกเลี่ยงการปะทะกับฝ่ายทหาร ตั้งหน้าหารายได้เข้ากระเป๋าเป็นหลัก หากเขามีลูกเขาจะบังคับให้ลูกของเขาไปคลอดกับชาวบ้านแล้วแจ้งเกิดเป็นลูกชาวบ้านไปเลย คือกลายเป็นคนไทยที่ถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่เกิด เพราะไม่ได้คุมการตั้งครรภ์ของประชาชน (ขืนคุมก็สติเสีย)  ส่วนลูกชาวบ้านนั้นเขาก็บังคับเอาอีก ใครมีลูกไม่เกิน ๒ คน ก็เลี้ยงเอาไว้ หากมีคนที่ ๓ ขึ้นไปต้องส่งไปให้พวกเขาเลี้ยง เด็กลูกไทยแท้จึงกลายเป็นโจรไปตั้งแต่เกิด หมดความเป็นไทย แต่เด็กลูก จคม. พอเกิดก็กลายเป็นเด็กไทย
            เมื่อผมไปรับหน้าที่เม่ทัพภาคที่ ๔ ส่วนหน้าตั้งกองบัญชาการอยู่ที่ อำเภหนองจิก จังหวัดปัตตานี ซึ่งขณะนั้นผู้บังคับการจังหวัดทหารบกปัตตานี ก็คือ ท่านแม่ทัพภาคที่ ๔ คนปัจจุบัน (๒๕๔๗) ซึ่งได้เห็น ได้ทราบการปฎิบัติงานของพวกผม เพราะกองบัญชาการกองทัพอาศัยอยู่ในค่ายของจังหวัดทหารบกปัตตานี
            เมื่อวิเคราะห์ดูแล้วเห็นว่าเราจะปราบปรามพวกเขา จะดึงพวกเขาออกมาจากป่าให้ได้ หากเราทำอย่างที่เคยทำทุกปี คือ เข้าตียึดที่หมายได้แล้วก็ถอยลงมา พวกเขาก็รอเวลาเขาก็กลับมายึดใหม่ มีอิทธิพลต่อไปใหม่ พอสิ้นปีงบประมาณทหารที่มาประจำส่วนหน้า ก็ผลัดเปลี่ยนกัน เอาหน่วยอื่นขึ้นมาแทนก็เข้าตี ยึดที่หมาย ถอยกลับมา พวกเขารอเวลาเข้าไปยึดอยู่ใหม่ เป็นเช่นนี้มาตลอด และพวกเขาหลีกเลี่ยงการปะทะ และชำนาญภูมิประเทศมาก ฐานที่มั่นของเขาจะอยู่บนเขาสูง เช่น ที่เทือกเขาน้ำค้าง อำเภอนาทวี ที่เบตง ที่ปันนังสตาร์ เป็นต้น ยากต่อการเข้าตี ยิ่งเข้าตีรวดเร็วเท่าใดฝ่ายเราจะสูญเสียเพราะกับระเบิดที่เขาวางไว้มากขึ้น
            วิธีการของผม ก็ทำแบบเดียวกับการปฎิบัติการต่อพวก ขจก. คือทำากรช่วยเหลือพัฒนาประชาชนตามหมู่บ้านตามแนวยุทธศาสตร์พัฒนาหรือ ยุทธศาสตร์พระราชทาน ให้ชาวบ้าน "อยู่ดี กินดี ไม่มี่โรคภัย" ต่อจากนั้นขอให้ชาวบ้านช่วยกันตัดเสบียง อย่างส่งเสบียงให้ ปลัดอำเภอฝ่ายป้องกันจะทำงานหนักมาก คือ ต้องสำรวจประชากรในแต่ละบ้าน และร้านค้าจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ บ้านนี้มี ๕ คน จะซื้อข้าวสาร ๕ กระสอบไม่ได้ ร้านค้าจะแจ้งฝ่ายปกครองทันที ซื้อมาม่าทีละ ๑๐๐ ถุงไม่ได้ เพราะพวกนี้ซื้อไปแม้จะไม่เต็มใจก็จะถูกบีบบังคับให้ขายต่อให้พวก จคม. และ พวก จคม. ซื้อไปแล้วยังมีฝังหรือกักตุนอาหารไว้เป็นเสบียง ดังนั้น เมื่อทหารเข้าตี เขาก็ถอยออกจากฐานที่มั่นไปยังแหล่งสะสมเสบียงของเขา ทำให้มีอาหารกินจนกว่าทหารจะถอยกลับไป เมื่อเรากวดขันการซื้อหาอาหารอย่างเต็มที่ ราษฎรบอกว่าช่วยเต็มที่แต่อย่าทิ้งเขาต้องทำให้ต่อเนื่องไม่งั้นทหารถอยเมื่อไร หรือผมย้ายเมื่อไรคนใหม่ไม่เอาจริงพวกเขาตายแน่ ส่วนการปฎิบัติการทางทหาร แทนที่จะเข้าตีอย่างรวดเร็ว ผมให้เข้าตีอย่างช้า ๆ ค่อย ๆ กวาดล้างทุ่นระเบิดขึ้นไปลดการสูญเสีย หรือใช้สุนัขสงครามนำหน้าคุ้ยหาวัตถุระเบิดซึ่งได้ผลดี วิธีของผมเป็นที่ขบขันของคนทั่วไป ที่ไม่เข้าใจว่าทำไมผมจึงสั่งแบบนี้ แต่ตัวผมเองกลับออกไปตรวจเยี่ยมหน่วยทหาร ตำรวจในพื้นที่ทุกวัน ทุกพื้นที่จะอยู่ในความจำของผมหมด เช้าขึ้นมาก็ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ หรือรถยนตร์ออกเดินทางจนบ่ายหรือเย็นจึงจะกลับมานั่งโต๊ะทำงาน ไปทุกวัน ด้วยวิธีการที่ลดการใช้กำลังทหารในการเข้าตี ปิดล้อมการส่งเสบียง ลดการสูญเสียทุกปีทหารจะตายไม่น้อยกว่า ๕๐ คน สูญเสีย แขน ขาอีกต่างหาก แต่ปีที่ผมปฎิบัติงานนั้นทั้งปีตายไป ๕ คน และยังประสบความสำเร็จนำพวกเขาออกมาจากป่ากลายเป็นเพื่อนกันไปได้
            การปฎิบัติการนั้น ผมมุ่งเข้าปฎิบัติการต่อกลุ่มเล็กที่มีอยู่ประมาณ ๕๐๐ คนเศษ ส่วนกลุ่มใหญ่ของจีนเป็งนั้น เอาไว้ปีต่อไป ผลจากการบีบกดดันปิดล้อม ทำให้พวก จคม. กลุ่มนี้เริ่มเข้าหาวิธีเจรจา และกลุ่มหนุ่มของพวกเขามองแล้วว่าไม่มีทางชนะ ไม่เห็นทางที่จะกลับไปตั้งตัว หรือแยกเป็นประเทศอย่างสิงคโปร์ได้ กลุ่มหนุ่มจึงบีบผู้นำฝ่ายเขาให้หันมาหาทางเจรจา ซึ่งก็เข้าเป้าหมายที่ผมได้วางเอาไว้คือ ต้องการเจรจาสันติวิธีบีบให้เขาออกมา ไม่แพ้ ไม่ชนะกัน ออกมาเป็นผู้พัฒนาชาติไทย จะเป็นสันติที่ยั่งยืน
            นายอำเภอเบตงในขณะนั้น (หรือผู้ว่าราชการเพชรบูรณ์ในวันนี้ นายดิเรก ถึงฝั่ง)  เป็นด่านแรกในการรับการเจรจาจากพวกเขา และนำเรื่องมาหารือท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ในเวลานั้น คือ นายนิวัตร พิบูลย์ ท่านผู้ว่าก็มาหารือกับผมอีกที เพราะงานพวกนี้จะอยู่ในการอำนวยการของกองทัพทั้งสิ้นผลที่สุด กลุ่มที่อำเภอนาทวี ซึ่งเจรจาผ่านท่านผู้ว่า ฯ สงขลา ก็ออกมารายงานตัวเป็นผู้พัฒนาชาติไทยก่อนเมื่อ ๑๓ มีนาคม ๒๕๓๐ จำนวน ๑๒๒ คน แต่การเตรียมการไม่ดี ทำให้ออกมาแล้วต้องเอาตัวมากักไว้ที่ "พตท.๔๓" อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ส่วนทางผมนัดเจรจากันที่บ้านท่านผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ในเวลาค่ำขอให้เปิดทางให้เขาเดินทางมา ขอให้ทางเรามีผมกับผู้ว่า นิวัตร ฯ เพียง ๒ คน ยอมให้มีล่ามจีนจากสันติบาลได้อีก ๑ คนเท่านั้น ถึงวันเจรจาผมขับรถไปคนเดียว ไปจากปัตตานี ไปที่บ้านผู้ว่า ฯ ผู้ว่า ฯ ต้องให้ตำรวจประจำจวนออกไปให้หมด และผมสั่งให้ทุกด่านเปิดทางให้เขา เขาจะต้องเดินทางจากเบตง มาเจรจากันที่อำเภอเมืองยะลา ผู้ว่าท่านอายุน้อยกว่าผม ท่านเรียกผมว่าพี่ ผมเลยบอกผู้ว่าไว้ล่วงหน้าว่าให้แช่เบียร์ไว้แยะ ๆ  ผู้ว่าก็ใจดีไม่ยักถามว่าแช่ไว้ทำไม ถึงเวลาเขามากัน ๒ - ๓ คน รถกระบะมีอาวุธครบมือ ผมกับผู้ว่าไม่มีแม้แต่มีดสักเล่มมีแต่พระที่ห้อยคออยู่ และคิดเหมือนกันหากเขากลับคำแบบ พวก ผกค. เคยนัดผู้ว่า ฯ เชียงรายและนายทหารตำรวจชั้นผู้ใหญ่ไปเจรจากันแล้วยิงทิ้งเสีย  ซึ่งผมก็บอกผู้ว่า ฯ อย่ากลัวพระเราดี ถ้าถามผมว่าพระอะไร ผมก็มีพระสมเด็จวัดระฆัง และสมเด็จจิตรลดา ที่ได้รับพระราชทานจากพระหัตถ์ตอนที่จะไปรบเวียดนาม ตอนไปรบเวียดนามผมสวมสร้อยคอที่มีพระองค์เดียว คือพระกำลังแผ่นดิน หรือสมเด็จจิตรลดา ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักจิตรลดา ฯ เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๑๒ ไปรบเวียดนาม จนกลับมาไปรบต่ออีกหลายยกมีองค์เดียว มาเพิ่มหลวงพ่อสมเด็จ กับพระรอดมหาวันในภายหลัง
            ฝ่ายเขาเรียกร้องทั้งหมด ๑๗ ข้อ หลายข้อที่จะต้องกราบบังคมทูล ฯ ซึ่งข้อเหล่านั้นผมตัดออกทันทีห้ามนำมาเจรจา พูดกันไม่รู้เรื่องจนประมาณ หกทุ่ม ๑๗ ข้อ ที่เราเรียกร้องยังเหลืออีกหลายข้อที่เราให้ไม่ได้ ผมเลยบอกว่าผู้ว่า ฯ เอาเบียร์ในตู้เย็นของท่านมาเลี้ยงกันดีกว่า ท่านผู้ว่าต้องบริการเอง โดยมีผมกับล่ามลุกขึ้นไปช่วยหาแก้ว หาของกับแกล้ม กินดื่มกันไป พูดไทย ล่ามแปล พูดจีนมา ล่ามแปล สัก ๒ ชั่วโมงผ่านไป ใช้ล่ามน้อยลงดูจะเข้าใจภาษากันมากขึ้น พอตีสี่หัวข้อการเจรจาที่เรียกร้อง ๑๗ ข้อนั้น ลดเหลือ ๓ ข้อ ซึ่ง ๓ ข้อนี้น่าจะทำให้ได้ เช่นต้องให้ที่ทำกิน ปลูกบ้านให้ พร้อมทั้งเครื่องมือทำกิน, และเลี้ยงดูเขาระยะหนึ่งประมาณ ๖ เดือน จนผลผลิตของเขาออกมาจำหน่ายได้ และขอสัญชาติไทย ผมกับผู้ว่า ฯ รับข้อเจรจานั้น ทุกอย่างเป็นไปตามที่เจรจา ผมวิ่งหาเงินสองล้านบาทมาสร้างที่พัก หาเครื่องใช้ไม้สอย เสื้อผ้าและสิ่งจำเป็นต่อการครองชีพให้เขา ของบประมาณก็ยังไม่ได้ บอกว่าต้องให้พวก จคม. ออกจากป่าก่อนจึงจะจัดสรรค์ให้ได้ ผมยอมเป็นหนี้ ผิดนักก็ขายบ้านไปอยู่บ้านหลวงก็แล้วกัน จบการเจรจาเมากันทั้งไทยและจีน หลังจากวันนั้นก็เตรียมการในการออกมามอบตัว ซึ่งต้องละเอียดรอบคอบมาก มิฉะนั้นก่อนที่เขาจะวางอาวุธ เสียงปืนเพียง "ปัง" เดียวจะฆ่ากันอย่างวินาศสันตะโรเลยทีเดียว วันนัดหมายคือวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๓๐ ผมเลือกเอาวันนี้เพราะเป็นวันมหามงคลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ วันครบรอบวันอภิเษกสมรส ฤกษ์ออกจากป่าทุกจุด จะมาถึงที่ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง เวลา ๐๘.๐๐ น. และจะกางเต้นพักที่นี่ระยะหนึ่ง จากนั้นจะแยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือน ซึ่งพวกนี้เก่งมาก เก่งทั้งการก่อสร้างและการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ จะอยู่ตาเนาะแมเราะ ๓ กลุ่ม เป็นหมู่บ้าน ๑, ๒ และ ๓ บ้าน ๔ จะอยู่ที่อำเภอปันนังสตาร์ กลุ่มที่ออกมาครั้งแรกจะไปอยู่ที่ อำเภอนาทวี ที่เทือกเขาน้ำค้าง และผมได้ตั้งชื่อหมู่บ้านของพวกเขาว่า "ปิยมิตรวนคาม" มิตรรักในป่าใหญ่ว่างั้นเถอะ แต่ภายหลังถูกเปลี่ยนเป็นหมู่บ้านปิยะมิตร แต่พวกเขายังยกป้ายว่าปิยะมิตรวนคาม ตามที่ผมตั้งให้และอุโมงค์ต่างๆ ผมมองเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยว เพราะผมเป็นนักท่องเที่ยว นักเขียนเรื่องเที่ยว เรื่องกิน ผมจึงไม่สั่งระเบิดทำลายและแนะให้เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวในโอกาสต่อไป ทั้งที่เทือกเขาน้ำค้างและที่เบตง ซึ่งเมื่อเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้ว มีหลายหน่วยงานแม้แต่พวกชาวบ้าน ๕ เอง ก็อวดอ้างว่าเป็นความคิดของเขาในการเอาอุโมงค์ มาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเก็บสตางค์ผู้เข้าชม แต่หากว่าผมสั่งระเบิดปิดอุโมงค์เสียจะมีโอกาสกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือ หรืออวดรู้ว่าดำเนินการลองให้ผมซักถามความเป็นมาเอาสัก ๕ ข้อ ตอบผมได้ไหม
            ผมขอนำมาบันทึกไว้เป็นประวัติฉบับย่อ จากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับตัวของผมเอง และระยะเวลาที่ผ่านมาแล้ว ๑๖ ปีเต็ม กำลังจะครบรอบวปีที่ ๑๗ วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗ นี้แล้ว ผมกับพวกเขากลายเป็นมิตรกัน ผมไปเยี่ยมเขาแทบทุกปี โดยเฉพาะหัววหน้าคือ คุณจางจงหมิงนั้นรักสนิทสนมสกันมาก จะมาหาผมที่บ้านผมเป็นประจำ มีปัญหาอะไรจะมาปรึกษา หรือส่งลูกชายมา จนตายด้วยความชรา เมื่อปลายปี ๒๕๔๖ นี้เอง และการจัดการศพคุณจาง ผมเป็นเจ้าภาพให้ได้แต่ชื่อเพราะไม่มีโอกาสลงไป มีแต่ชื่อกับพวงหรีดศพคุณจาง ได้รับการยกย่องจากชาวเบตงให้แห่ได้รอบอำเภอ คุณจางรักษาคำพูด เมื่อออกจากป่าแล้วไม่รังแกราษฎรอีกเลย ตายอย่างคนจน ๆ คนหนึ่ง เบตงเจริญพุ่งพรวด กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ แม้จะเล็กกว่าหาดใหญ่ แต่ชาวมาเลย์เซีย ชาวสิงค์โปร์ ก็หลั่งไหลเข้ามาเที่ยว เข้ามากินอาหารกัน เบตงวันนี้เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๐ นั้น แตกต่างกันชนิดที่เรียกว่า หน้ามือเป็นหลังมือ ผมจึงขอบันทึกไว้ในหน้าหนังสือบางกอก "เที่ยว" ของสัปดาห์นี้ คือการไปเที่ยว อำเภอเบตง ไปแล้วไปเที่ยวบ่อน้ำร้อนในเส้นทางที่จะเข้าไปยังหมู่บ้าน จคม. ไปสวนสุดสยามวัดพุทธาวาส พระมหาธาตุเจดีย์ พระพุทธประกาศ ไปไหว้พระพุทธธรรมกายมงคลปยูรเกศานนท์สุพพิธาน ไปดูตู้ไปรษณีย์กลางอำเภอ เป็นตู้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และไปเที่ยวสวนดอกไม้เมืองหนาว ตามโครงการของ สมเด็จพระเทพรัตน์ ฯ ที่หมู่บ้านปิยมิตร ๒  ไปกิน อาหารเบตง มีหลายร้าน ผมพักที่โรงแรมเบตง เมอร์ลิน ถนนฉายาชวลิท ๐ ๗๓๒๓ ๐๒๒๒ ติดกันคือร้านอาหารอร่อยของเบตง ระดับภัตตาคาร คือเชียงการีลา ซึ่งที่ภัตตาคารนี้มีของอร่อยคือ ไก่เบตง (ต้องสั่งเมื่อไปกินข้าวใน อำเภอเบตง) เคาหยก ผักน้ำผัด กระเพาะปลา ปลิงทะเล กุ้งอบชุบแป้งทอด กบเบตงทอดกระเทียมพริกไทย
            หากเข้าไปเที่ยวที่หมู่บ้านปิยมิตรซึ่งน่าเที่ยวมาก ไปบ่อน้ำร้อนแล้วเลยเข้าไปยังหมู่บ้าน ทางสะดวก ไปกินอาหารเบตงขนานแท้ที่ร้านริมธาร ซึ่งเป็นร้านของหมู่บ้านปิยมิตร ฝีมืออาหารของอดีต จคม.ทำอาหารเก่งนัก อาหารพื้นบ้านเบตงคือ ไก่สับเบตง เคาหยก ผัดผักน้ำ (ปลูกได้ที่เบตงแห่งเดียว)  ปลาจีนนึ่งซีอิ๊ว (เลี้ยงที่เบตง)  กบเบตงทอดกระเทียมพริกไทย ยังกับกินไก่ ตัวโตกว่ากบแม่ฮ่องสอน ที่เรียกว่า เขียดแรว  แกงจืดยูนาน เต้าหู้ยูนาน และ"ขาหมู ๓ รส" คืออาหารพื้นบ้านเบตงที่ร้านริมธาร
            จบการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์หรือการเล่าประวัติศาสตร์ที่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงล่วงเลยมาแล้ว ๑๗ ปี ยังไม่มีใครบันทึกไว้ละเอียด และเท่าที่อ่านพบก็ไม่ตรงกับความจริง  เพราะคนบันทึก ไม่ได้ไปเสี่ยงชีวิตแบบผมที่กำลังเขียนอยู่นี้ และผมเล่าโกหกแสดงความเก่งของตัวเองก็ไม่ได้ เพราะที่ร่วมรบกับผมในครั้งนั้นยังมีชีวิตอยู่และมีไม่น้อยที่ยังรับราชการในพื้นที่ กองทัพภาคที่ ๔ หรืออย่างน้อยก็มีแม่ทัพภาคที่ ๔ ท่านที่เป็นอยู่ในวันที่ผมเขียน (๒๕๔๗) ท่านหนึ่งที่ทราบเรื่อง ทราบวิธีการปฏิบัติดี เขาย้ายท่านไปเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า สุดท้ายต้องย้ายท่านกลับมาเป็นแม่ทัพภาคที่ ๔
            ท่านอ่านจบแล้วคงอยากจะกินอาหารเบตงขึ้นมาทันทีก็ได้  ผมขอแนะนำอาหารเบตงในกรุงเทพ ฯ นี่เอง และเป็นอาหารเบตงขนานแท้แน่นอน ไม่ได้แยกสาขามา แต่เป็นอดีต จคม.ที่มาตั้งหลักตั้งฐานอยู่ในกรุงเทพ ฯ และเป็นคนไทยมาตั้งแต่เกิดนั่นแหละวัตถุดิบบางอย่าง เช่น ไก่ กบ (ถ้ามี)  ผักน้ำ ผักขม จะส่งมาจากเบตงแทบทุกวัน จึงได้กินอาหารเบตงแท้ ราคาถูก ไม่ต้องเดินทางรีบร้อนไปเบตง  ส่วนผมเขียนจบแล้วพอดีกับท่านอาจจะกำลังอ่านผมก็ล่องใต้ไปเบตง แต่ปีใหม่จะล่องใต้ไปแค่เกาะพยาม จังหวัด ระนองก่อนแล้วจะกลับเอามาเล่าให้ท่านฟัง เขาบอกว่าปลาชุมนัก จะไปตกปลาดูว่าจะทำบาปขึ้นไหม
            ร้านข้าวมันไก่เบตง ชื่ออย่างนี้ไม่มีป้าย มีแต่ผ้าใบขึงเอาไว้หน้าร้านที่ริมถนน เขียนไว้ที่ป้ายจำไม่ได้ว่ามีคำว่า เที่ยวไป กินไป
หรือเปล่า เพราะเคยเขียนให้เขา ผมสนับสนุนการหากินของพวกอดีต จคม.ทุกวิถีทางที่ถูกกฎหมายและไม่ไปเอาเปรียบคนท้องถิ่น
            ร้านข้าวมันไก่ ไปตามถนนเพชรเกษม เลยบางแค ไปจนเกือบถึงทางแยกเข้าพุทธมณฑลสาย ๓  ทางซ้ายมือดูหมายเลขซอยเอาไว้ "เพชรเกษม ซอย ๖๙" เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ ๗๐๐ เมตร ตรงเข้ามา อย่าเลี้ยวไหน จนถึงสี่แยกมีไฟสัญญาณ มีธนาคารไทยพาณิชย์อยู่มุมซ้ายมือ ให้เลี้ยวขวาข้ามสะพานไปสัก ๑๐๐ เมตร ร้านจะอยู่ทางขวามือ ที่จอดรถพอหาจอดริมถนน ร้านเปิดตั้งแต่เช้าไปยันบ่าย ๆ
            อาหารที่ต้องสั่ง คือำเภอ-
            ไก่สับ จะให้เขาวางมาบนข้าวมันหรือไก่สับจานมาก็ได้ ไก่เนื้อนุ่มสีขาวน่ากินนัก น้ำจิ้มจะอร่อยมาก ขาหมู ๓ รส แบบ เบตงแท้ ถ้ามีคากิหรือเรียกให้ถนัดปากว่า อุ้งตีนหมู ต้องสั่งเพราะกรุบ ๆ อร่อยเหลือ เอาน้ำพะโล้ราดข้าว กินคากิ ตามด้วยกระเทียม และพริกสด อย่าบอกใครเชียว
            เคาหยก ใช้เผือกนึ่งรองก้นจาน หมู ๓ ชั้น นึ่งด้วยกรรมวิธีของเขา บอกไม่ถูก บอกถูกแต่ว่าอร่อย
            ผัดผักน้ำ ต้องสั่งเช่นกัน ปลูกในน้ำ ปลูกขึ้นแต่ที่เบตง แปลกดี ต้องน้ำไม่มากและน้ำไหลด้วยจึงจะปลูกได้
            ผัดผักขม ก็ผัดได้อร่อยเช่นกัน
            เต้าหู้ยัดไส้ อาหารอร่อยอีกอย่างของร้านเบตง
            นอกจากนี้ยังมีอาหารใหม่ ไม่ใช่เบตง ลองสั่งดูคือก้อนญาคู เอามาแกงจืดหรือต้มยำ อร่อยแปลกดี
            ที่ร้านข้าวมันไก่เบตงนี้ เขานำสมุนไพรจากเบตงมาจำหน่ายด้วย เดิมต้องต้มดื่มเป็นน้ำชา ต่อมาได้แนะให้เขาบรรจุแคปซูล สมุนไพรตัวนี้บำรุงไตเด็ดนัก ลดน้ำตาลและคอเลสตอรอล ที่ร้านเขามีขาย เป็นพืชที่ขึ้นอยู่บนเขาที่เบตง แต่ผมลองเอามาปลูกที่บ้านกรุงเทพ ฯ  ขึ้นดีเหมือนกัน เป็นไม้เลื้อยหัวโตเหมือนมันแกว ชื่อ"หมู่ เจ่า หม่าถี" ดูเหมือนจะสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้หากซื้อหลายขวด และบำรุงพลังด้วย (รากจอมพลัง)  ไปร้านไม่ถูกหรือสั่งซื้อสมุนไพร ๐๒ - ๘๐๗ ๗๕๒๒, ๐๑ - ๓๓๑๘๐๑๗ หรือใครจะสั่งเขาทางไปรษณีย์ เขาก็ส่งให้ ๔/๙๔ หมู่ ๑๓ แขวงหนองแขม กรุงเทพ ฯ ๑๐๑๖๐

....................................................................................



| บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์