ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > รวมประวัติศาสรตร์ / Nongkhai
.

ประวัติศาสตร์จังหวัดหนองคาย

สมัยกรุงธนบุรี

            ปี พ.. ๒๓๑๔ ในรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี พระวอ (พระวรราชภักดี) อุปราชแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต และพระตา เสนาบดี เกิดขัดใจกันกับพระเจ้าศิริบุญสาร กษัตริย์แห่งเวียงจันทน์ ในครั้งนั้น พระวอพระตาเป็นนายกองอยู่บ้านหินโงม จึงรวบรวมไพร่พลไปสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณหนองบัวลำภู(จังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน) ใช้ชื่อเมืองใหม่ว่า "เมืองนครเขื่อนขันธ์ กาบแก้วบัวบาน" (ในพระราชวิจารณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี เรียกว่า เมืองจำปา นครขวางกาบแก้วบัวบาน)

          พระเจ้าศิริบุญสารได้ยกกองทัพมาปราบแต่ไม่สำเร็จ ต่อมาพระวอพระตาเกรงจะถูกรุกรานอีก จึงไปขออ่อนน้อมต่อพม่าเพื่อขอกำลังมาโจมตีเวียงจันทน์ เมื่อทางเวียงจันทน์ทราบเรื่องก็ส่งทูตไปขออ่อนน้อมต่อพม่าบ้าง แล้วยกกองทัพเข้าตีเมืองหนองบัวลำภูแตก พระตาตายในที่รบ พระวอจึงอพยพหนีไปตั้งมั่นอยู่ที่ตำบลหนองมดแดง (อยู่ในเขตอุบลราชธานีในปัจจุบัน) แล้วแต่งเครื่องบรรณาการไปขอเป็นเมืองขึ้นต่อกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินยอมรับเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย

          ปี พ.. ๒๓๑๘   (.. ๑๗๗๖)   พระเจ้าศิริบุญสารได้ยกกองทัพมาโจมตีพระวอที่ดอนมดแดง กองทัพเวียงจันทน์ได้จับตัวพระวอฆ่าตาย พรรคพวกของพระวอจึงถือสาส์นไปยังเมืองนครราชสีมาเพื่อขอกำลังพระเจ้าตากสินไปช่วย พระเจ้าตากสินโปรดให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกและพระยาสุรสีห์เป็นแม่ทัพยกไปตีเวียงจันทน์ กองทัพไทยยกไปทางนครจำปาศักดิ์ แต่กองทัพเวียงจันทน์ถอยกลับไปแล้วเจ้าไชยกุมาร ผู้ครองนครจำปาศักดิ์ได้ยอมอ่อนข้อแต่โดยดี จากนั้นกองทัพไทยได้ยกไปตีเวียงจันทน์ล้อมอยู่นานถึงสี่เดือนจึงตีเมืองเวียงจันทน์ได้   และการตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งนั้น   ทางหลวงพระบางได้ยกทัพมาช่วยไทยตีเมืองเวียงจันทน์ด้วย เมื่อไทยยึดได้เวียงจันทน์ หลวงพระบางก็ยอมอ่อนน้อมเป็นเมืองขึ้นต่อไทยกองทัพไทยได้กวาดต้อนผู้คนชาวลาวและทรัพย์สิน พร้อมทั้งได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเวียงจันทน์  และพระบางจากหลวงพระบางลงมากรุงเทพฯ    (ภายหลังได้คืนพระบางให้หลวงพระบางตามเดิม เพราะเชื่อมั่นว่าถ้าพระบางและพระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในเมืองเดียวกัน เมืองนั้นจะเกิดวิบัติขึ้น)

 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

          ปี พ.. ๒๓๓๘ (.. ๑๘๙๕) ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้าศิริบุญสาร ได้กลับมาที่เวียงจันทน์ ได้จับพระยาสุโภซึ่งรั้งเมืองเวียงจันทน์ฆ่าเสีย แล้วตั้งมั่นอยู่ในเวียงจันทน์ต่อมาเจ้านันทเสนได้ครองเวียงจันทน์      แต่อ่อนแอจึงถูกถอดออกจากราชสมบัติ   แล้วโปรดเกล้าฯ   ให้เจ้าอินทวงศ์ เป็นกษัตริย์แทน เมื่อสิ้นเจ้าอินทวงศ์แล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอนุวงศ์อุปราชเป็นกษัตริย์ครองเวียงจันทน์แทน

           เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ

ในสมัยรัชกาลที่ ๒ เจ้าอนุวงศ์ยังคงแสดงความจงรักภักดีดังเดิม เช่นเมื่อคราวเกิดกบฏโดยพวกข่าก่อความวุ่นวายขึ้นที่เมืองจำปาศักดิ์   ใน พ.. ๒๓๖๒    เรียกว่า  "กบฏไอ้สาเขียดโง้ง" เจ้าอนุวงศ์รับอาสาไปปราบจนได้ชัยชนะ แล้วขอให้เจ้าราชบุตร (โย้) ไปเป็นเจ้าเมืองจำปาศักดิ์ รัชกาลที่ ๒ ก็ทรงอนุญาต

          ครั้นรัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.. ๒๓๖๗ ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพฯ กับ

เวียงจันทน์ก็ค่อยห่างเหินไปในรัชกาลที่ ๓

          .. ๒๓๖๘ เจ้าอนุวงศ์มาถวายบังคมพระบรมศพรัชกาลที่ ๒ แล้วกราบทูลขอละคร

ผู้หญิงในวังไปแสดงที่เวียงจันทน์ สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ไม่ทรงอนุญาตตามที่ขอ เจ้าอนุวงศ์ก็ไม่พอใจ นอกจากนี้เจ้าอนุวงศ์ได้กราบทูลขอพระบรมราชานุญาต พาชาวเวียงจันทน์ที่ถูกกวาดต้อนมาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีกลับบ้านเมืองเดิม ก็ไม่ทรงโปรดอนุญาต เป็นเหตุให้เจ้าอนุวงศ์รู้สึกอัปยศอดสูและขัดเคืองเป็นอย่างยิ่ง

          ขณะนั้น เป็นเวลาที่ญวนกำลังแย่งอำนาจเข้าครอบครองเขมร และคิดจะยึดเอาหัวเมืองลาวไว้ในอำนาจของตนด้วย จึงส่งคนมาเกลี้ยกล่อมเจ้าอนุวงศ์ เจ้าอนุวงศ์จึงได้โอกาสหันไปฝักใฝ่กับญวน โดยหวังให้ญวนหนุนหลังตน และเป็นระยะเวลาที่ไทยขัดใจกับอังกฤษเรื่องเมืองไทรบุรี ครั้นเจ้าอนุวงศ์สืบทราบว่าไทยมีผู้ชำนาญศึกเหลือน้อยลง เหลือแต่เจ้านายรุ่นหนุ่ม ๆอ่อนอาวุโส เจ้าอนุวงศ์จึงตั้งแข็งเมืองและเป็นกบฏขึ้น

          .. ๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ ยกกองทัพผ่านหัวเมืองรายทางมาจนถึงนครราชสีมาทางกรุงเทพฯ   ได้โปรดให้พระยาราชสุภาวดี   (ภายหลังได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาบดินทร์เดชา "สิ่งห์สิงหเสนี") เป็นแม่ทัพมาปราบ โดยมีท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) ยกทัพมาจากเมืองยโสธร และพระยาเอียงสา มาช่วยเป็นกำลังสำคัญ ในที่สุดสามารถจับตัวเจ้าอนุวงศ์ลงไปกรุงเทพฯ สำเร็จ และได้พระราชทานบำเหน็จทุกถ้วนหน้า แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสุวอธรรมาเลือกทำเลที่จะสร้างเมือง ๔ เมือง คือ

          . เมืองพานพร้าว อยู่ตรงข้ามกับเวียงจันทน์ (ปัจจุบันคืออำเภอศรีเชียงใหม่)

          . เมืองเวียงคุก

          . เมืองปะโค

          . บ้านไผ่ (บ้านบึงค่าย)

          .. ๒๓๗๐ ท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) ได้เลือกเอาบ้านไผ่สร้างขึ้นเป็นเมืองหนองคายโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) เป็นพระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองหนองคายคนแรก และให้เมืองเวียงจันทน์ขึ้นตรงต่อเมืองหนองคาย

          .. ๒๔๓๔ ภายหลังกบฏฮ่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นสมุหเทศาภิบาลประจำมณฑลลาวพวนตั้งที่ทำการมณฑลอยู่ที่เมืองหนองคาย (ต่อมาเป็นมณฑลฝ่ายเหนือและมณฑลอุดร)

          .. ๒๔๓๖ (เหตุการณ์ ร.. ๑๑๒) ไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้แกฝรั่งเศสและระบุในสัญญาว่า   "ห้ามมิให้ไทยตั้งหรือนำกองทัพทหารอยู่ในเขต ๒๕ กิโลเมตร จากชายแดน" กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมจึงได้ย้ายที่ทำการมณฑลไปอยู่บริเวณบ้านเดื่อหมากแข้ง และตั้งเป็นมณฑลอุดรมาจนถึงรัชกาลที่ ๖

          ในปี พ.. ๒๔๔๓ ได้มีการแก้ไขการปกครองมณฑลที่มีอยู่ก่อน พ.. ๒๔๓๖ ให้เป็นลักษณะเทศาภิบาลขึ้น รวมหัวเมืองเข้าเป็นบริเวณมีฐานะเท่าจังหวัดเดี๋ยวนี้ มณฑลอุดรได้รวมหัวเมืองเป็นบริเวณ ๕ บริเวณ คือ

          . บริเวณหมากแข้ง ตั้งที่ทำการที่บ้านหมากแข้ง คือ จังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน

          . บริเวณธาตุพนม ตั้งที่ทำการที่เมืองนครพนม

          . บริเวณน้ำเหือง ตั้งที่ทำการที่เมืองเลย

          . บริเวณพาชี ตั้งที่ทำการที่เมืองขอนแก่น

          . บริเวณสกลนคร ตั้งที่ทำการที่เมืองสกลนคร

          ส่วนเมืองหนองคายซึ่งเคยเป็นที่ตั้งบัญชาการมณฑลอุดรมาแต่ก่อนนั้นไม่มีรายชื่อ บริเวณซึ่งได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.. ๒๔๔๓ แต่การปฏิบัติราชการของเมืองนั้นก็ยังคงดำเนินมาในฐานะเสมือนเมืองหรือบริเวณหนึ่ง ดังนั้นในวันที่ ๑ เมษายน พ.. ๒๔๕๘ จึงโปรดให้ประกาศตั้งเมืองหนองคายขึ้นเป็นเมือง โดยมีข้าหลวงคนแรกชื่อว่าพระยาสมุทรศักดารักษ์ (เจิม วิเศษรัตน์)

          .. ๒๔๕๗ ในรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ขึ้น โดยให้ยกเลิกระบอบเจ้าปกครองนคร (เจ้าเมือง) ทั่วประเทศ พ.. ๒๔๕๙ เปลี่ยนคำเรียกชื่อ "เมือง" มาเป็น "จังหวัด" มีข้าหลวงปกครอง (ต่อมาเรียก "ผู้ว่าราชการจังหวัด")

 การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล

          หลังจากจัดหน่วยราชการบริหารส่วนกลาง โดยมีกระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศและควบคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้ว การจัดระเบียบการปกครองต่อมาก็มีการจัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงหมาดไทยขึ้น อันได้แก่ การจัดรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบอบการปกครองอันสำคัญยิ่ง ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนำมาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในสมัยนั้น การปกครองแบบเทศาภิบาลเป็นระบอบการปกครองส่วนภูมิภาคชนิดหนึ่งที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการจากส่วนกลางออกไปบริหารราชการในท้องที่ต่างๆ ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นระบบการปกครองที่รวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางอย่างมีระเบียบเรียบร้อย และเปลี่ยนระบบการปกครองจากประเพณีดั้งเดิมของไทย คือระบบกินเมืองให้หมดไป

          การปกครองหัวเมืองก่อนวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๕ นั้น อำนาจปกครองบังคับบัญชามีความหมายแตกต่างกันออกไปตามความใกล้ไกลของท้องถิ่น หัวเมืองหรือประเทศราชยิ่งไกลไปจากกรุงเทพฯ เท่าใด ก็ยิ่งมีอิสระในการปกครองตนเองมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้ เนื่องจากทางคมนาคมไปมาหาสู่ลำบากหัวเมืองที่รัฐบาลปกครองบังคับบัญชาได้โดยตรงก็มีแต่หัวเมืองจัตวาใกล้ๆ ส่วนหัวเมือง

อื่นๆ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมือง และมีอำนาจอย่างกว้างขวาง ในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดี พระองค์ได้จัดให้อำนาจการปกครองเข้ามารวมอยู่ยังจุดเดียวกันโดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงซึ่งหมายความว่า    รัฐบาลมิให้การบังคับบัญชาหัวเมืองไปอยู่ที่เจ้าเมือง    ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลเริ่มจัดตั้งแต่ พ.. ๒๔๓๗ จนถึง พ.. ๒๔๕๘ จึงสำเร็จและเพื่อความเข้าใจเรื่องนี้เสียก่อนในเบื้องต้น จึงจะขอนำคำจำกัดความของ "การเทศาภิบาล" ซึ่งพระยาราชเสนา (สิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยตีพิมพ์ไว้ ซึ่งมีความว่า

          "การเทศาภิบาล คือ การปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยบริหารราชการอันประกอบด้วยตำแหน่งข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณของพระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์ รับแบ่งภาระของรัฐบาลกลาง ซึ่งประจำแต่เฉพาะในราชธานีนั้นออกไปดำเนินงานในส่วนภูมิภาค อันเป็นที่ใกล้ชิดติดต่ออาณาประชากร เพื่อให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและความเจริญทั่วถึงกัน โดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ราชอาณาจักรด้วย ฯลฯ จึงได้แบ่งส่วนการปกครองโดยขนาดลดหลั่นกันเป็นขั้นอันดับดังนี้คือ ส่วนใหญ่เป็นมณฑล รองถัดลงไปเป็นเมือง คือจังหวัดรองไปอีกเป็นอำเภอ    ตำบลและหมู่บ้าน     จัดแบ่งหน้าที่ราชการเป็นส่วนสัดแผนกงานให้สอดคล้องกับทำนองการของกระทรวงทบวงกรมในราชธานี และจัดสรรข้าราชการที่มีความรู้สติปัญญา ความประพฤติดี ให้ไปประจำทำงานตามตำแหน่งหน้าที่มิให้มีการก้าวก่ายสับสนกันดังที่เป็นมาแต่ก่อน เพื่อนำมาซึ่งความเจริญเรียบร้อย รวดเร็วแก่ราชการและธุรกิจของประชาชน ซึ่งต้องอาศัยทางราชการเป็นที่พึ่งด้วย

          จากคำจำกัดความดังกล่าวข้างต้น ควรทำความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาลดังนี้

          การเทศาภิบาล นั้น หมายความว่า เป็น "ระบบ" การปกครองอาณาเขตชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า "การปกครองส่วนภูมิภาค" ส่วน "มณฑลเทศาภิบาล" นั้น คือส่วนหนึ่งของการปกครองชนิดนี้และยังหมายความอีกว่า ระบบเทศาภิบาลเป็นระบบที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลางไปบริหารราชการในท้องที่ต่างๆ แทนที่ส่วนภูมิภาคจะจัดปกครองกันเองเช่นที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิม อันเป็นระบบกินเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลจึงเป็นระบบการปกครองซึ่งรวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางและริดรอนอำนาจของเจ้าเมืองตามระบบกินเมืองลงอย่างสิ้นเชิง

          นอกจากนี้ มีข้อที่ควรทำความเข้าใจอีกประการหนึ่ง คือ ก่อนการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาลนั้น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก่อนปฏิรูปการปกครองก็มีการรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลเหมือนกัน แต่มณฑลสมัยนั้นหาใช่มณฑลเทศาภิบาลไม่ ดังจะอธิบายโดยย่อดังนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ทรงพระราชดำริจะจัดการปกครองพระราชอาณาเขตให้มั่นคงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทรงเห็นว่าหัวเมืองอันมีมาแต่เดิมแยกกันขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยบ้าง กระทรวงกลาโหมบ้าง และกรมท่าบ้าง การบังคับบัญชาหัวเมืองในสมัยนั้นแยกกันอยู่ ๓ แห่ง ยากที่จะจัดระเบียบเรียบร้อยเหมือนกันได้ทั่วราชอาณาจักร   ทรงพระราชดำริว่า ควรจะรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงให้ขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียว จึงได้มีพระบรมราชโองการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงกลาโหมเสียใหม่ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.. ๒๔๓๕ เมื่อได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปกครองหัวเมืองทั้งปวงแล้ว จึงได้รวบรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลมีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ปกครอง การจัดตั้งมณฑลในครั้งนั้นมีอยู่ทั้งสิ้น ๖ มณฑล คือ มณฑลลาวเฉียงหรือมณฑลพายัพ มณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดร มณฑลลาวกาวหรือมณฑลอีสาน มณฑลเขมรหรือมณฑลบูรพา และมณฑลนครราชสีมา ส่วนหัวเมืองทางฝั่งทะเลตะวันตกบัญชาการอยู่ที่เมืองภูเก็ต

          การจัดรวบรวมหัวเมืองเข้าเป็น ๖ มณฑลดังกล่าวนี้ ยังมิได้มีฐานะเหมือนมณฑลเทศาภิบาลการจัดระบบการปกครองมณฑลเทศาภิบาลได้เริ่มอย่างแท้จริงเมื่อ พ.. ๒๔๓๗ เป็นต้นมา และก็มิได้ดำเนินการจัดตั้งพร้อมกันทีเดียวทั่วราชอาณาจักร แต่ได้จัดตั้งเป็นลำดับ ดังนี้

          .. ๒๔๓๗ เป็นปีแรก ที่ได้วางแผนงาน จัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จกระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น ๓ มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรีมณฑลนครราชสีมา ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากสภาพมณฑลแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่ และในตอนปลายนี้ เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้โอนหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเคยขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการต่างประเทศมาขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียวแล้ว จึงได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง

          .. ๒๔๓๘ ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก ๓ มณฑล คือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือ ตั้งเป็นมณฑลภูเก็ต ให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง

          .. ๒๔๓๙ ได้รวมหัวเมืองมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก ๒ มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลชุมพร

          .. ๒๔๔๐ ได้รวมหัวเมืองมลายูตะวันตกเป็นมณฑลไทรบุรี และในปี พ.. ๒๔๔๒ ได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง

          .. ๒๔๔๓ ได้เปลี่ยนแปลงสภาพของมณฑลเก่าๆ ที่เหลืออยู่อีก ๓ มณฑล คือ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล

          .. ๒๔๔๗ ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพราะเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

          .. ๒๔๔๙ จัดตั้งมณฑลปัตตานีและมณฑลจันทบุรี มีเมืองจันทบุรี ระยองและตราด

          .. ๒๔๕๐ ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

          .. ๒๔๕๑ จำนวนมณฑลลดลง เพราะไทยต้องยอมยกมณฑลไทรบุรีให้แก่อังกฤษ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการแก้ไขสัญญาค้าขาย และเพื่อจะกู้ยืมเงินอังกฤษมาสร้างทางรถไฟสายใต้

          .. ๒๔๕๕ ได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น ๒ มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ด

          .. ๒๔๕๘ จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑลพายัพ

 การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน

          การปรังปรุงระเบียบการปกครองหัวเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น   ปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. ๒๔๗๖ จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง   นอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว  ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. ๒๔๗๖ จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย เหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องจาก

          ) การคมนาคมสื่อสารสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง

          ) เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง

          ) เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวง เป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น

          ) รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้นและการที่ยุบมณฑลก็เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง

          ต่อมาในปี พ.. ๒๔๙๕ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดมีหลักการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนี้

          ) จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. ๒๔๗๖ หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่

          ) อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่คณะกรมการจังหวัดนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด

          ) ในฐานะของคณะกรมการจังหวัด     ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด

          ต่อมา ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๑๕ โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น

          ) จังหวัด

          ) อำเภอ

          จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การจัดตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น

 

ที่มา : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดหนองคาย. ธนสัมพันธ์,๒๕๒๙

 

   

dooasia

รวมประวัติศาสตร์ 76 จังหวัด (อย่างละเอียด) /Information

 
รวมประวิติศาสตร์ไทย 76 จังหวัด โดยละเอียด
     
 
   
 
 
 
 
รวมแสดงความคิดเห็นค่ะ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจมหาสารคาม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์