ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > รวมประวัติศาสรตร์ / Pissanulok
.

ประวัติศาสตร์จังหวัดพิษณุโลก

           พิษณุโลกเป็นเมืองที่มีประวัติอันยาวนานควบคู่มากับประวัติศาสตร์ของไทย โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในศิลาจารึก ตำนาน นิทาน และพงศาวดาร เช่น สองแคว สระหลวง สองแควทวิสาขะ ไทยวนที อกแตก การเปลี่ยนชื่อเป็น “พิษณุโลก” มาเปลี่ยนในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

 สมัยก่อนกรุงสุโขทัย

          ก่อนที่ราชวงศ์พระร่วงซึ่งมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นต้นราชวงศ์ ขึ้นครองกรุงสุโขทัย เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ นั้น ราชวงศ์ที่มีอำนาจครอบคลุมดินแดนแถบนี้ คือ ราชวงศ์ศรีนาวนำถม  พ่อขุนศรีนาวนำถมเสวยราชเมืองเชลียงตั้งแต่ราว พ.. ๑๗๖๒ พระองค์มีพระโอรส ๒ พระองค์ คือ  พ่อขุนผาเมืองครองเมืองราด  และพระยาคำแหงพระราม  ครองเมืองพิษณุโลก  ภายหลังจากที่พ่อขุน-ศรีนาวนำถมสิ้นพระชนม์ ขอมสมาดโขลณลำพง เข้ายึดเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยไว้ได้ พ่อขุนผาเมืองและพระสหาย คือพ่อขุนบางกลางหาว ร่วมกันปราบปรามจนได้ชัยชนะ พ่อขุนผาเมืองจึงยกเมืองสุโขทัยให้ขุนบางกลางหาว ตั้งราชวงศ์พระร่วงครองเมืองสุโขทัย  และได้เฉลิมพระนามเป็นพ่อขุนศรี อินทราทิตย์

 สมัยกรุงสุโขทัย

          เมืองสองแคว (พิษณุโลก) อยู่ในอำนาจของราชวงศ์ผาเมืองจนกระทั่งในรัชกาลพ่อขุนราม-คำแหงมหาราช  จึงได้ยึดเป็นสองแคว  เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย  ครั้นสมัยพระมหา-ธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ได้เสด็จมาประทับที่เมืองสองแคว พระองค์ท่านได้เอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงความเจริญ เป็นอย่างยิ่ง เช่น การสร้างเหมืองฝายสนับสนุนให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก สร้างทางคมนาคมจากเมืองพิษณุโลก ไปสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศาสดา เพื่อประดิษฐานไว้ในพระวิหารพระศรีรัตนมหาธาตุ

          ความเจริญรุ่งเรืองของเมืองพิษณุโลก ในช่วงที่พระเจ้าลิไทเสด็จมาประทับเท่าที่หลักฐานเหลืออยู่ น่าจะชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของพิษณุโลกในช่วงนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นศูนย์กลางการติดต่อที่สำคัญของลุ่มแม่น้ำน่าน

          พิษณุโลกในช่วงรัชกาลพระเจ้าศรีสุริยวงศ์บรมปาลไม่พบหลักฐานว่าได้มีบทบาทนอกเหนือไปจากเมืองหลวงของรัฐกันชนเล็ก ๆ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พระองค์ทรงสร้างไว้สำหรับเป็นอนุสาวรีย์ ซึ่งยังคงอยู่ทุกวันนี้ คือ การสร้างรอยพระพุทธบาทคู่พร้อมกับศิลาจารึก ไว้ที่เมืองพิษณุโลก เมื่อปี พ.. ๑๙๗๐ พระองค์สิ้นพระชนม์ในปี พ.. ๑๙๘๑ ที่เมืองพิษณุโลก พระยาอุธิษเฐียรโอรสของพระยารามได้ครองราชย์ที่เมืองพิษณุโลก ต่อมาระหว่าง พ.. ๑๙๘๑ - ๑๙๙๔ จึงเอาใจออกห่างเป็นกบฏ พาพลเมืองไปร่วมกับพระเจ้าเชียงใหม่ ทางอยุธยาจึงส่งเจ้านายขึ้นมาปกครองเมืองพิษณุโลก แล้วผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา

 สมัยกรุงศรีอยุธยา

          พิษณุโลกสมัยอยุธยามีความสำคัญยิ่งทางด้านการเมือง การปกครองยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจ ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม พิษณุโลกเป็นราชธานีในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตั้งแต่ พ.. ๒๐๐๖–๒๐๓๑ รวมเวลา ๒๕ ปี นับว่าระยะนี้เป็นยุคทองของพิษณุโลก ในรัชสมัยของสมเด็จ-พระนเรศวรมหาราช ครั้งดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช ณ เมืองพิษณุโลก ระหว่าง พ.. ๒๑๑๒–๒๑๓๓ ได้ทรงปลุกสำนึกให้ชาวพิษณุโลกเป็นนักรบกอบกู้เอกราชเพื่อชาติไทย ทรงสถาปนาพิษณุโลกเป็นเมืองเอก เป็นการสานต่อความเจริญรุ่งเรืองจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน

ในด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากพิษณุโลกตั้งอยู่บนเส้นทางระหว่างรัฐทางเหนือคือ ล้านนาและกรุงศรีอยุธยาทางใต้ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐทั้งสองบางครั้งเป็นไมตรีกันบางครั้งขัดแย้งกันทำสงครามต่อกัน มีผลให้พิษณุโลกได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมประเพณีจากทั้ง ๒ รัฐ โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ พิษณุโลกเป็นเส้นทางผ่านสินค้าของป่า และผลิตผลทางเกษตร รวมทั้งเครื่องถ้วย โดยอาศัยการคมนาคมผ่านลำน้ำน่านสู่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งขณะนั้นเป็นศูนย์กลางของการค้านานาชาติแห่งหนึ่ง ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในปัจจุบันที่พิษณุโลกมีหลักฐานชัดเจนว่าเป็นแหล่งผลิตเครื่องถ้วยคุณภาพดี ซึ่งมีอยู่ทั่วไปตามบริเวณฝั่งแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อย โดยเฉพาะที่วัดตาปะขาวหาย พบเตาเผาเครื่องถ้วยเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งเครื่องถ้วยจำพวกโอ่ง อ่าง ไห ฯลฯ เครื่องถ้วยเหล่านี้  นอกจากจะใช้ในท้องถิ่นแล้วยังเป็นสินค้าส่งออกไปขายต่างประเทศด้วย  วินิจฉัยว่าน่าจะเป็นแหล่ง   อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นับว่าพิษณุโลกมีความสำคัญยิ่งทางเศรษฐกิจ คือ เป็นแหล่งทรัพยากรของกรุงศรีอยุธยา

ด้านการปกครอง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่จัดระเบียบการปกครองที่เรียกว่า จตุสดมภ์ ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา มีอัครเสนาบดีเป็นผู้ช่วยในการบริหารงาน  คือ สมุหกลาโหม และสมุหนายก แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๓ ฝ่าย คือ หัวเมืองฝ่ายเหนือ  อยู่ในความดูแลของสมุหนายก หัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความดูแลของสมุหกลาโหม และหัวเมืองชายทะเลอยู่ในความดูแลของกรมท่า

ด้านศาสนานั้น แม้ว่าเมืองพิษณุโลก  จะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในสงครามระหว่างอาณาจักรล้านนา-อยุธยา และพม่า-กรุงศรีอยุธยา มาโดยตลอดแต่การพระศาสนาก็มิได้ถูกละเลย ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณวัตถุสถาน ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าพระพุทธรูป และวัดที่ปรากฏในปัจจุบัน เช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดา วัดพระรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) วัดจุฬามณี วัดอรัญญิก วัดนางพญา และวัดเจดีย์ยอดทอง เป็นต้น ล้วนแต่เป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยา หรือมิฉะนั้นก็ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ของเดิมที่มีมาครั้งกรุงสุโขทัย แสดงว่าด้านพระศาสนาได้มีการทำนุบำรุงมาโดยตลอด

ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารวัดจุฬามณีขึ้นใน พ.. ๒๐๐๗ และพระองค์ได้ทรงสละราชสมบัติออกผนวช ณ วัดจุฬามณี อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี พ.. ๒๐๐๘ เป็นเวลา ๘ เดือน ๑๕ วัน มีข้าราชบริพารตามเสด็จออกบวชถึง ๒,๓๔๘ รูป และในปี พ.. ๒๐๒๕ ทรงมีพระบรมราชโองการให้บูรณะพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหา-วิหาร และให้มีการสมโภชน์ถึง ๑๕ วัน พร้อมกันนั้นก็โปรดฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวง จบ ๑๓ กัณฑ์บริบูรณ์ด้วย ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงสร้าง รอยพระพุทธบาทจำลอง เมื่อ พ.. ๒๒๒๒ และโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ ณ วัดจุฬามณี พร้อมทั้งจารึกเหตุกาณ์สำคัญทางศาสนาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถไว้บนแผ่นศิลาด้วย

ด้านวรรณกรรม หนังสือมหาชาติคำหลวง   ได้รับการยกย่องจากวงวรรณกรรมว่าเป็น   วรรณคดีโบราณชั้นเยี่ยม นอกจากนี้ยังมีวรรณคดีสำคัญที่นักปราชญ์เชื่อว่านิพนธ์ขึ้นใน รัชสมัยสมเด็จ-พระบรมไตรโลกนาถ เช่น ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ โคลงทวาทศมาศและกำศรวลศรีปราชญ์ เป็นต้น

เมืองพิษณุโลกในสมัยอยุธยาเคยเป็นทั้งเมืองราชธานี เมืองลูกหลวงและเมืองเอก ฉะนั้นจึงได้รับความอุปถัมภ์ทนุบำรุงในทุก ๆ ด้านสืบต่อกันมา นอกจากบางระยะเวลาที่พิษณุโลกอยู่ในภาวะสงคราม โดยเฉพาะสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาทั้ง ๒ ครั้ง ความรุ่งเรืองที่เคยปรากฏก็ถดถอยลงบ้าง แต่ในที่สุดก็หล่อหลอมเป็นวัฒนธรรมของชาวไทยมาจนถึงปัจจุบันนี้

 สมัยกรุงธนบุรี

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงเห็นว่าพิษณุโลกเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญควรมีผู้ที่เข้ม-แข็งที่มีความสามารถเป็นเจ้าเมืองจึงทรงแต่งตั้งพระยายมราช (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) เป็น “เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช” สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก โดยขึ้นต่อกรุงธนบุรี เมื่อได้ทรงแต่งตั้งผู้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือจนครบถ้วนแล้ว จึงเสด็จกลับไปยังกรุงธนบุรี

.. ๒๓๑๘ อะแซหวุ่นกี้แม่ทัพพม่าผู้ชำนาญการรบ ได้วางแผนยกทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทยตีได้เมืองตาก เมืองสวรรคโลก บ้านกงธานี และมาพักกองทัพอยู่ที่กรุงสุโขทัย ขณะนั้นเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ กำลังยกกองทัพขึ้นไปตีเชียงแสน เมื่อทราบข่าวศึกจึงรีบยกทัพกลับมารับทัพพม่าที่เมืองพิษณุโลก ก่อนที่อะแซหวุ่นกี้ยกทัพมาตั้งค่ายรายล้อมเมืองพิษณุโลก กองทัพพม่าพยายามเข้าตีค่ายไทยหลายครั้ง แต่เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ ได้ช่วยป้องกันเมืองเป็นสามารถ ทั้ง ๆ ที่มีทหารน้อยกว่า แต่ไม่สามารถจะชนะกันได้ อะแซหวุ่นกี้ถึงกับยกย่องแม่ทัพฝ่ายไทยและขอให้ทั้งสองฝ่ายหยุดรบกัน ๑ วัน ทหารทั้งสองฝ่ายรับประทานอาหารร่วมกันด้วย เมื่อแม่ทัพไทยและแม่ทัพพม่ายืนม้าเจรจากันในสนามรบ อะแซหวุ่นกี้เห็นรูปร่างลักษณะของเจ้าพระยาจักรี แล้วจึงได้กล่าวสรรเสริญว่า “…ท่านนี้รูปงาม ฝีมือก็เข้มแข็ง อาจสู้รบกับเราผู้เป็นผู้เฒ่าได้ จงอุตส่าห์รักษาตัวไว้ภายหน้าจะได้เป็นกษัตริย์…” และบอกเจ้าพระยาจักรีว่า “…จงรักษาเมืองไว้ให้มั่นคงเถิดเราจะตีเอาเมืองพิษณุโลกให้จงได้ในครั้งนี้”

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อทราบข่าวอะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพใหญ่มาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย พระองค์จึงยกทัพใหญ่ขึ้นไปช่วยหัวเมืองฝ่ายเหนือทันที

ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้ ทราบว่ากองทัพไทยมาตั้งค่ายเพื่อช่วยเหลือเมืองพิษณุโลก จึงแบ่งกำลังพลไปตั้งมั่นที่วัดจุฬามณีทางฝั่งตะวันตก อะแซหวุ่นกี้เห็นว่าถ้าชักช้าไม่ทันการณ์ จึงสั่งให้ทัพพม่าที่กรุงสุโขทัยไปตีเมืองกำแพงเพชร กองทัพเมืองกำแพงเพชรยกไปตีเมืองนครสวรรค์ และสั่งให้กองทัพพม่าอีกกองหนึ่งยกไปตีกรุงธนบุรี การวางแผนของอะแซหวุ่นกี้เช่นนี้เป็นการตัดกำลังฝ่ายไทย ไม่ให้ช่วยเมืองพิษณุโลก และต้องการให้กองทัพไทยระส่ำระสาย

ในที่สุดสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีพระราชดำริ เห็นว่าไทยเสียเปรียบเพราะมีกำลังทหารน้อยกว่า จึงควรถอยทัพกลับไปตั้งมั่นรับทัพพม่าที่กรุงธนบุรี เจ้าพระยาจักรีเห็นว่าไทยขาดเสบียงอาหารและใกล้จะหมดทางสู้ จึงตัดสินใจพาไพร่พลและประชาชนชายหญิงทั้งหมด ตีหักค่ายพม่าออกจากเมืองพิษณุโลกไปทางทิศตะวันออกได้สำเร็จพาทัพผ่านบ้านมุง บ้านดงชมพู ข้ามเขาบรรทัด ไปตั้งรวมรี้พลอยู่ที่เมืองเพชรบูรณ์

พม่าล้อมเมืองพิษณุโลกอยู่นานถึง ๔ เดือน เมื่อเข้าเมืองได้ก็พบแต่เมืองร้าง อะแซหวุ่นกี้จึงสั่งเผาผลาญทำลายบ้านเมืองพิษณุโลกพินาศจนหมดสิ้น คงเหลือเฉพาะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเท่านั้น

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น ตั้งแต่ช่วงของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจนถึงก่อนการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังคงจัดระเบียบการปกครองออกเป็นจตุสดมภ์ แต่ในส่วนภูมิภาค มีการแบ่งเขตการปกครองเป็นหัวเมืองชั้นใน       หัวเมืองชั้นนอก และเมืองประเทศราช

เมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองเอก ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในหัวเมืองฝ่ายเหนือของประเทศไทย มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ ๑๕,๐๐๐ คน ซึ่งเป็นชาวจีนประมาณ ๑,๑๑๒ คน และมีเมืองต่าง ๆ อยู่ในอำนาจการปกครองดูแลหลายหัวเมืองด้วยกันคือ เมืองนครไทย ไทยบุรี ศรีภิรมย์ พรหมพิราม ชุมสอนสำแดง ชุมแสงสงครามพิบูล พิพัฒน์ นครชุม ทศการ นครพามาก เมืองการ เมืองคำ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพสำคัญ คือ ทำนา ทำไร่ หาของป่า ทำไม้ และการเกณฑ์แรงงานไพร่ พ.. ๒๔๐๙ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระอุตสาหะเสด็จประพาสเมืองเหนืออีกครั้งหนึ่ง โดยเสด็จทางเรือพระทั่นั่งอรรคราชวรเดชและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนั้นกำลังทรงผนวชเป็นสามเณรก็ได้ตามเสด็จมาด้วย เมื่อเสด็จถึงเมืองพิษณุโลกได้ทรงประทับและทรงสมโภชพระพุทธชินราชอยู่ ๒ วัน จึงเสด็จกลับ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ รัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ (เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช) ได้เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก ทุกพระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องราวต่าง ๆ ที่พระองค์ได้เสด็จไปทอดพระเนตรในระหว่างเสด็จ-ประพาส เช่น เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช และเรื่องลิลิตพายัพ เป็นต้น เอกสารดังกล่าวนี้ ปัจจุบันมีคุณค่าอย่างยิ่งทางด้านประวัติศาสตร์ ส่วนรัชกาลที่ ๕ นั้นพระองค์ทรงประทับใจในความศักดิ์สิทธิ์และความสวยงามขององค์พระพุทธชินราช ถึงกับโปรดให้จำลองพระพุทธรูปพระพุทธชินราชไปเป็นประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นในสมัยนั้น

 

ที่มา : ประวัติการบริหารการปกครองจังหวัดพิษณุโลก . พิษณุโลก : สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก, ๒๕๓๗ .

   

dooasia

รวมประวัติศาสตร์ 76 จังหวัด (อย่างละเอียด) /Information

 
รวมประวิติศาสตร์ไทย 76 จังหวัด โดยละเอียด
     
 
   
 
 
 
 
รวมแสดงความคิดเห็นค่ะ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจมหาสารคาม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์