ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดพังงา >อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง/Mu Ko Ra - Ko Phra Thong National Park 

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง/ Mu Ko Ra - Ko Phra Thong National Park

 

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ–เกาะพระทอง เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลอยู่ในระหว่างการดำเนินการเพื่อประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามกฎหมาย มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอคุระบุรี และอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ประกอบไปด้วยเกาะต่างๆ ที่อยู่ติดทะเลอันดามัน ได้แก่ เกาะระ เกาะคอเขา เกาะพระทอง เกาะปลิง–เกาะพ่อตา เกาะลูกตุ้ม เกาะทุ่งนางดำ และมีเกาะขนาดเล็กต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ป่าชายเลนจำนวน 37 เกาะ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 401,250 ไร่ หรือ 642 ตารางกิโลเมตร

ความเป็นมา : ในปี พ.ศ. 2531 มีข่าวว่านายทุนกำลังติดต่อขอเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่บริเวณเกาะระ-พระทอง จังหวัดพังงา นายดิษฐพงศ์ โชคคณาพิทักษ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ในขณะนั้น จึงได้มีหนังสืออุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ด่วนมาก ที่ กช 0713 (มส) /116 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2531 เสนอให้กองอุทยานแห่งชาติแจ้งกรมป่าไม้ระงับไม่ให้มีการเช่าพื้นที่บริเวณเกาะระ และมีความเห็นให้สงวนไว้เพื่ออุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จะได้ดำเนินการสำรวจผนวกให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ต่อมาอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ได้มีหนังสือเสนอกรมป่าไม้ เห็นควรสำรวจพื้นที่บริเวณเกาะระ-เกาะพระทอง พื้นที่ป่าชายเลนใกล้เคียง และพื้นที่อื่นๆ ที่เห็นว่ามีศักยภาพเหมาะสมที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ

กรมป่าไม้โดย ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ อนุมัติลงวันที่ 28 มีนาคม 2543 ท้ายหนังสือสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ กษ 0712.5/981 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2543 ให้ นายธนพงศ์ อภัยโส นักวิชาการป่าไม้ 6 ซึ่งปฏิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ดำเนินการสำรวจเบื้องต้นบริเวณเกาะพื้นที่เกาะระ เกาะพระทอง พื้นที่ป่าชายเลนใกล้เคียง ท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอ.ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ผลการสำรวจเบื้องต้นปรากฏว่า พื้นที่บริเวณที่ดำเนินการสำรวจครอบคลุมพื้นที่ 401,250 ไร่ เป็นพื้นน้ำ 185,180 ไร่ ที่เหลือเป็นพื้นที่บก 206,080 ไร่ มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ทั้งพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ มีความหลากหลายทางชีวภาพเหมาะสมที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1868/2543 ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2543 ให้ นายธนพงศ์ อภัยโส นักวิชาการป่าไม้ 5 ไปดำเนินการสำรวจจัดตั้งพื้นที่บริเวณเกาะระ- เกาะพระทอง และพื้นที่ป่าชายเลน ใกล้เคียงในท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติ

จากการดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ ทำให้แกนนำบางคนในท้องถิ่นเสียผลประโยชน์ จึงได้ยุยงให้ชาวบ้านประท้วงคัดค้านการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ โดยอ้างปัญหาการประมงพื้นบ้านเป็นประเด็นหลัก ทำให้มีการชุมนุมประท้วง ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2543 บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอคุระบุรี เพื่อคัดค้านการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ โดยมีแกนนำผู้คัดค้านผลัดเปลี่ยนกันขึ้นเวทีปราศรัยโจมตีการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ สำหรับทางฝ่ายราชการมีนายมานิต วัฒนเสน รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา นายยอด คีรีรัตน์ ป่าไม้เขตนครศรีธรรมราช และนายธนพงศ์ อภัยโส หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง ชี้แจงข้อเท็จจริงและทำความเข้าใจ ผลการชุมนุมประท้วงในวันนั้น ผู้ชุมนุมประท้วงได้ลงลายมือชื่อคัดค้าน และยื่นข้อเสนอต่อจังหวัดพังงาให้ยุติการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ ซึ่งทางจังหวัดพังงารับเรื่องไว้เสนอต่อกรมป่าไม้ ผู้ชุมนุมประท้วงจึงแยกย้ายสลายกลุ่มไป

การดำเนินการสำรวจจัดตั้งยังคงดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ 16 พฤษภาคม 2544 ได้มีชาวบ้านประมาณ 300 คน ได้บุกรุกเข้ารื้อถอนที่ทำการชั่วคราวของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง บริเวณอ่าวเส็ง ท้องที่หมู่ 3 ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และบังคับให้เจ้าหน้าที่ขนย้ายวัสดุขึ้นมาจากเกาะระ ในช่วงเวลาดังกล่าวกรมป่าไม้ได้มีการโยกย้ายข้าราชการโดยแต่งตั้ง นายยุทธนา สัจกุล เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ไปทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ–เกาะพระทอง ต่อไป โดยดำเนินการประสานงานนายอำเภอท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และหัวหน้าหน่วยงานราชการเกี่ยวข้องดำเนินการ ตั้งที่ทำการชั่วคราว ณ จุดเดิมที่ถูกรื้อถอนไปอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2544 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

พื้นที่ที่ดำเนินการสำรวจทั้งหมดเป็นป่าสงวนแห่งชาติ 11 ป่า ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าเกาะเกาะ ป่าสงวนแห่งชาติป่าทุ่งนางดำและป่าควนปากเตรียม ป่าสงวนแห่งชาติเกาะระ ป่าสงวนแห่งชาติทุ่งทุ ป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนโครงการกิ่งอำเภอคุระบุรีแปลงที่ 1 ป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนโครงการกิ่งอำเภอคุระบุรีแปลงที่ 3 ป่าสงวนแห่งชาติเขาบ่อไทร ป่าสงวนแห่งชาติเขาพระพิชัย ป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนอำเภอตะกั่วป่าและป่าบางนายสี ป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนโครงการอำเภอคุระบุรี ป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนคลองบางปอ

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ–เกาะพระทอง ตั้งอยู่ท้องที่อำเภอคุระบุรี และอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา โดยด้านทิศตะวันออกเป็นป่าชายเลนติดกับแผ่นดินใหญ่ มีเนื้อที่รวม 642 ตารางกิโลเมตร ด้านทิศเหนือจดอุทยานแห่งชาติแหลมสนและทะเลอันดามัน ทิศใต้จดทางหลวงหมายเลข 4 อำเภอตะกั่วป่า ทิศตะวันออกจดทางหลวงหมายเลข 4 เทือกเขาแม่นางขาว อุทยานแห่งชาติศรีพังงา ทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน ประกอบไปด้วยเกาะต่างๆ ที่อยู่ติดทะเลอันดามัน ได้แก่

เกาะระ มีพื้นที่ 19.5 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะที่วางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความลาดชันสูงมียอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 235 เมตร ด้านทิศตะวันตกมีหาดทรายเป็นแนวยาวด้านทิศเหนือและทิศใต้เป็นแหล่งที่มีแนวปะการังน้ำตื้นที่สมบูรณ์ เกาะพระทอง มีพื้นที่ 102 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะที่มีพื้นที่ราบและเคยผ่านการทำเหมืองแร่มาก่อนทำให้ดินเป็นทรายไม่เหมาะทำการเกษตรกรรม ด้านตะวันออกของเกาะพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะเป็นป่าชายเลนมีลำคลองผ่ากลางพื้นที่ในแนวเหนือ-ใต้ เป็นเกาะที่มีเต่าขึ้นมาวางไข่มากบริเวณชายหาดด้านทิศตะวันตก ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนธันวาคม เกาะปลิง–เกาะพ่อตา เป็นเกาะขนาดเล็กเนื้อที่ประมาณ 0.08 ตารางกิโลเมตร มีแนวปะการังด้านทิศตะวันออกของเกาะระ ระดับน้ำเมื่อลงต่ำสุดจะสามารถเดินข้ามไปยังเกาะได้

เกาะคอเขา มีพื้นที่ 60 ตารางกิโลเมตร เป็นที่ราบสลับกับภูเขา ด้านทิศตะวันออกเป็นป่าชายเลนพื้นที่บางส่วนเคยผ่านการทำเหมืองแร่ มียอดเขาสูงที่สุด 175 เมตรจากระดับน้ำทะเล ด้านทิศตะวันตก มีชายหาดทอดตัวยาวจากทิศเหนือจดทางด้านทิศใต้ของตัวเกาะ เกาะลูกตุ้ม เป็นเกาะที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะระ มีลักษณะเป็นภูเขาหินขนาดเล็ก เกาะทุ่งนางดำ มีเนื้อที่ประมาณ 3.56 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะที่อยู่เหนือสุดของอุทยานแห่งชาติ ด้านทิศตะวันตกมีหาดทรายขาววางตัวยาวมีทิวทัศน์ที่สวยงามเหมาะแก่การพักผ่อน ด้านทิศตะวันตกเป็นแหล่งหญ้าทะเลซึ่งมีราษฏรพบเห็นพะยูนในพื้นที่ดังกล่าวบ่อยครั้ง และมีเกาะขนาดเล็กต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ป่าชายเลนจำนวน 37 เกาะ ได้แก่ เกาะยาว เกาะจง เกาะนกฮูก เกาะสิบสี่ เกาะปากทุ่งรักใหญ่ เกาะทุ่งทุ เกาะขาด เกาะปากทุ่งรัก เกาะถ้วย เกาะพนันเมีย เกาะกลาง เกาะหอย เกาะชาด เกาะกลอย เกาะปอ เกาะเต่า เกาะห้าง เกาะอำพัน เกาะหินถาก และเกาะน้อย



ลักษณะภูมิประเทศเป็นชายฝั่งทะเลยุบตัว ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของภาคใต้ท้องที่จังหวัดพังงา ลักษณะโดยรวมของพื้นที่เป็นหาดโคลนปากแม่น้ำมีลำคลองหลายสายไหลลงมาบริเวณดังกล่าว เป็นคลองยาวมีสาขามากมายก่อนเปิดออกสู่ทะเลมีความสมบูรณ์ของธาตุอาหารในตะกอนดิน และได้รับอิทธิพลจากการขึ้น-ลงของน้ำทะเล มีภูเขาสูงชันและเกาะต่างๆ วางในแนวเหนือใต้ ได้แก่ เกาะระพื้นที่เป็นเขาสูงและชัน สูงจากระดับน้ำทะเล 235 เมตร เกาะพระทองพื้นที่เป็นที่ราบ เกาะคอเขาพื้นที่เป็นที่ราบส่วนใหญ่มีภูเขาสลับ สูงจากระดับน้ำทะเล 310 เมตร และจากเกาะบริวารเล็กๆ อีก เช่น เกาะปลิง เกาะตาชัย และเขาบ่อไทรที่มียอดเขาสูงที่สุดคือ 450 เมตรจากระดับน้ำทะเล

จากการศึกษาแผนที่ทางธรณีวิทยาจังหวัดภูเก็ต บริเวณเกาะระ เกาะพระทอง และบริเวณใกล้เคียง มีสภาพทางธรณีแบ่งได้เป็น 3 ชั้นอายุ คือ หินยุคควาเทอร์นารี หินยุคนี้จะเป็นทรายที่มีการพัดพามาสะสม ประกอบด้วย ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันบ่งได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ ตะกอนชายหาด มีองค์ประกอบคือ ทราย ทรายแป้ง และเศษเปลือกหอยซึ่งจะพบได้บริเวณชายหาดทั่วไป และตะกอนน้ำพา มีองค์ประกอบคือ กรวด ทราย ทรายแป้ง และดิน พบเป็นบริเวณกว้างบริเวณปากแม่น้ำ ที่ราบ สันดอนทราย หินยุคควาเทอร์นารีชุดย่อย Pleistocene เป็นตะกอนตะพักลุ่มน้ำและตะกอนเชิงเขา มีกรวด ทราย ทรายแป้ง และดินเป็นองค์ประกอบ พบตามเชิงเขาถัดจากหินยุคควาเทอร์นารีเข้ามา และ หินยุคเพอร์เมียน-คาร์บอนิเฟอรัส ประกอบด้วย Pedly mudstone, Laminated mudstone, Sandstone และ Congioneratic sandstone ซึ่งจะพบตามภูเขาเช่น เกาะระ เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ
พื้นที่เกาะระ เกาะพระทอง และพื้นที่ใกล้เคียง มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีฝนตกชุกเกือบทั้งปี เพราะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และลมมรสะมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งแบ่งได้ 2 ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤศจิกายน โดยมีฝนตกชุกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,125 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนมีปริมาณน้ำฝนมากที่สุด คือ 366 มิลลิเมตร และฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม-มีนาคมโดยมีฝนตกในช่วงนี้บ้าง อุณหภูมิสูงสุด 38 องศาเซลเซียส อยู่ในเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 29 องศาเซลเซียส

พื
ชพรรณและสัตว์ป่า
จากการสำรวจพื้นที่อุทยานแห่งชาติสามารถจำแนกสัมคมพืชออกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่
ป่าดิบชื้น พบว่าขึ้นปกคลุมบริเวณที่เป็นเขา เช่น เกาะระ บริเวณลาดเขาและสันเขาพันธุ์ไม้ที่เป็นไม้เด่น เช่น ยางยุง ยางปราย ขันทอง ไม้เรือนยอดรองลงมา เช่น มะปริง มะส้าน เลือดกวาง มะไฟป่า ไม้พื้นล่าง เช่น หวาย กะพ้อ และเตย เป็นต้น
ป่าชายเลน พบขึ้นบริเวณชายฝั่ง ตามอ่าวของเกาะ เนื่องจารับอิทธิพลจากลำธาร แม่น้ำลำคลองกลายสายและการขึ้นลงของน้ำทะเล ดินเป็นเลนปนทรายหากมองจากภาพถ่ายทางอากาศ ป่าชายเลนจะเป็นผืนยาวติดต่อกันตั้งแต่ตอนเหนือจากบ้านทุ่งนางดำ ไปทางใต้จนถึงเกาะคอเขา ในพื้นที่อำเภอ ตะกั่วป่า พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ตะปูนขาว ถั่วดำ ฝาดอกแดง แสมขาว แสมดำ และไม้วงศ์ปาล์ม เช่น จาก เป้งทะเล หลาวชะโอน ไม้พื้นที่ล่างเช่น กระเพาะปลา และเหงือกปลาหมอ เป็นต้น
ป่าชายหาด พบตามชายหาด ตามอ่าวที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึง บริเวณเกาะระและเกาะพระทองพันธุ์ไม้ที่พบอาทิ เช่น สนทะเล ชมพู่ป่า โพทะเล มะส้าน เตยทะเล ไม้พื้นล่าง เช่น ผักบุ้งทะเล

สังคมพืชทดแทน จากการทำเหมืองแร่ดีบุกบริเวณเกาะพระทอง ซึ่งเป็นพื้นที่ราบสภาพดินขาดแร่ธาตุ ไม้เด่นในพื้นที่จะเป็นไม้เสม็ดขาว ขึ้นเป็นกลุ่มบริเวณแอ่งน้ำ และพื้นที่โล่งกว้าง ไม้เสม็ดขึ้นอยู่ห่างกัน

แหล่งหญ้าทะเล จากการสำรวจการแพร่กระจายและพื้นที่ปกคลุมของหญ้าทะเลชนิดต่างๆ บริเวณหาดทุ่งนางดำพบว่ามีการแพร่กระจายสูง หาดดังกล่าวเป็นพื้นที่ขายหาดฝั่งปากคลองคุระ ความขุ่นใสค่อนข้างน้อย แม่น้ำต่อเนื่องไปบริเวณหาดทุ่งนางดำระหว่างเนินทรายและชายฝั่งเกิดมีลักษณะคล้ายแอ่งน้ำขนาดใหญ่เป็นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหญ้าทะเล ซึ่งพบหญ้าทะเลบริเวณนี้ 8 ชนิด โดยมีพื้นที่แพร่กระจายรวม 1.38 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ Cymodocea serrulata, Halodule uninervis, Syringodium isoetipolium, Enhalus acoroides, Halophila ovalis และ H. minor นอกจากนี้ยังพบการแพร่กระจายของหญ้าทะเลบริเวณทิศตะวันออกของเกาะระ

 

จากการสำรวจบนเกาะทุกเกาะตามถิ่นที่อยู่อาศัยประเภทต่างๆ โดยทำการจำแนกและบันทึกสัตว์ป่า ที่พบตัวจริงโดยใช้กล้องส่องทางไกลสำรวจร่องรอยของสัตว์ป่า และจากการสอบถามราษฎรที่อยู่ในท้องถิ่นได้ผลดังนี้
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จากการสำรวจเบื้องต้นพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น กวางป่า หมูป่า ค่างแว่นถิ่นใต้ ลิงแสม อีเห็นธรรมดา นากใหญ่ขนเรียบ นิ่ม กระรอกท้องแดง กระรอกปลายหางดำ ค้างคาวแม่ไก่เกาะ บ่าง และหนูเกาะ เป็นต้น จากการสำรวจทางอากาศของประชากรพะยูนของฝั่งอันดามันโดยสำรวจในบริเวณแหล่งหญ้าทะเลพื้นที่ประมาณ 100-200 ตร.กม จำนวน 8 แห่ง ในจังหวัดพังงา กระบี่ สตูล ระหว่างวันที่ 31 มกราคม 2540 ถึงวันที่ 10 เมษายน 2540 พบพะยูนระหว่าง 1-6 ตัว ใน 5 พื้นที่ในจังหวัดพังงาที่บ้านทุ่งนางดำ อำเภอคุระบุรี และข้อมูลเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2541 มีราษฎรพบเห็นพะยูนติดโป๊ะบริเวณด้านทิศตะวันออกของเกาะระ และอ่าวทุ่งนางดำบ่อยครั้งจึงเป็นหลักฐานยืนยันว่ายังพบพะยูนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
นก ที่พบเห็น เช่น นกตะกรุม นกพญาปากกว้างท้องแดง นกเงือกกรามช้าง นกเงือกหัวงอน และจากการรายงานการสำรวจนกในพื้นที่เกาะระและเกาะพระทองของนักวิชาการจากต่างประเทศที่เข้าไปพักในสุดขอบฟ้ารีสอร์ทในช่วงระยะเวลา 1 ปี พบว่า มีนกถึง 106 ชนิด
สัตว์เลื้อยคลาน จากการสำรวจพบสัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ ตะกวด เหี้ย งูเหลือม งูพังกา งูลายสอใหญ่ จิ้งเหลนบ้าน เต่าหับ เต่าดำ เป็นต้น ปัจจุบันมีนักวิจัยชาวต่างประเทศได้เข้ามาทำการศึกษาวิจัยเต่าทะเล พบว่าบริเวณเกาะระและเกาะพระทองด้านทางทิศตะวันตกมีการพบเห็นเต่าทะเล โดยพบเห็นเต่าทะเลถึง 3 ชนิดด้วยกัน คือเต่ามะเฟือง เต่าหญ้า และเต่าตะนุ นอกจากนี้บริเวณชายหาดยังเป็นพื้นที่ที่เต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคมของทุกปี
ปลา เนื่องจากพื้นที่ทำการสำรวจเป็นพื้นที่สำคัญ ดังนั้นจะพบปลาที่สำคัญทางเศรษฐกิจ จากการสอบถามราษฎรและชาวประมงในพื้นที่ พบว่าในพื้นที่ป่าชายเลนมีปลาหลายชนิด เช่น ปลาสีเสียด ปลากะพงข้างปาน ปลาตะกรับ ปลากะตัก ปลาปักเป้า ปลากระทุงเหวปากแดง ปลากระพงแดง ปลากดทะเล ปลาสีกุน เป็นต้น ปลาในแนวปะการัง เช่น ปลาสิงโต ปลากะรังลายขวางจุดน้ำเงิน ปลากระพง ปลาผีเสื้อ ปลาสลิดหิน ปลาการ์ตูนส้มขาว ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า และปลาปักเป้า เป็นต้น

 เกาะระ
เป็นเกาะที่มีความลาดชันสูง ที่ราบจะพบบางแห่งใกล้กับชายหาด ประกอบไปด้วยป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ สามารถทำเส้นทางเดินป่าและเส้นทางศึกษาธรรมชาติได้ ชายหาดที่กว้างและยาวทางด้านทิศตะวันตกและด้านทิศเหนือของเกาะเหมาะแก่การเล่นน้ำ อาบแดด หรือชมดวงอาทิตย์ตก ใช้เวลาเดินทางประมาณ 60 นาที

 เกาะพระทอง
เป็นเกาะที่มีพื้นที่กว้างและเป็นที่ราบไม่มีภูเขา ด้านทิศตะวันออกพื้นที่เป็นป่าชายเลนติดต่อกัน ส่วนพื้นที่ราบทางด้านทิศตะวันตกสภาพเป็นป่าทดแทนที่ไม้เสม็ดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ โล่งกว้างสามารถนำรถไปวิ่งได้ มีความสวยงาม เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์ เช่น กวางป่า หมูป่า เป็นต้น สามารถทำกิจกรรมได้หลายอย่าง เช่น ตั้งแค็มป์ ปั่นจักรยาน อีกทั้งชายหาดที่วางตัวทิศเหนือไปถึงทิศใต้ของตัวเกาะเดินป่า หรือการเข้าไปศึกษาธรรมชาติของสัตว์บกตอนกลางคืน เนื่องจากมีกวางประมาณ 60 ตัว ซึ่งพบเห็นได้บ่อยครั้ง เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดีใช้เวลาในการเดินทางโดยเรือ 50 นาที

เกาะคอเขา
สภาพเป็นเขาสลับกันเป็นพื้นที่ราบ ในเขตอำเภอคุระบุรีกับอำเภอตะกั่วป่า มีความสวยงามของชายหาดยาวตลอดความยาวเกาะ ปัจจุบันมีส่วนมะพร้าวและหมู่บ้าน ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 30 นาที

เกาะปลิง – เกาะพ่อตา
อยู่ชิดกันบริเวณด้านตะวันตกมีแนวปะการังหลากหลายแต่แนวปะการังที่ไม่กว้างมาก สามารถดูปะการังได้ กิจกรรมที่สามารถทำได้ในพื้นที่ชายเลนตามลำคลองต่างๆ ได้แก่ พายเรือคายัค ดูนก ศึกษาสภาพป่า

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
ต.เกาะพระทอง อ. คุระบุรี จ. พังงา 82150
โทรศัพท์ 0 7649 1378 

การเดินทาง
รถยนต์
การเดินทางสามารถเดินทางโดยรถยนต์จากกรุงเทพฯ โดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมาย 4 ถึงอำเภอคุระบุรีและเดินทางต่อไปยังท่าเทียบเรือเพื่อไปยังเกาะต่างๆ

เรือ

การเดินทางท่องเที่ยวโดยทางเรือ สามารถติดต่อเรือนำเที่ยวได้ที่บริเวณท่าเรือต่างๆ โดยจ้างเหมาลำ ท่าเรือที่สะดวกแก่การเดินทาง ได้แก่
• ท่าเทียบเรือนางย่อน อยู่บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
• ท่าเทียบเรือบ้านน้ำเค็ม อำเภอตะกั่วป่า สามารถเดินทางไปยังเกาะคอเขาใช้เวลาประมาณ 30 นาที
• ท่าเทียบเรือบ้านทุ่งละออง ซึ่งสามารถเดินทางจากบ้านทุ่งละอองโดยเรือพาดหางไปยังด้านใต้ของเกาะพระทองภายในเวลา 20 นาทีและเกาะคอเขาด้านเหนือ ใช้เวลา 20 นาที


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
Mu Ko Ra - Ko Phra Thong National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
Mu Ko Ra - Ko Phra Thong National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
Mu Ko Ra - Ko Phra Thong National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
Mu Ko Ra - Ko Phra Thong National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
Mu Ko Ra - Ko Phra Thong National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
Mu Ko Ra - Ko Phra Thong National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
Mu Ko Ra - Ko Phra Thong National Park
เกาะพระทอง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
Mu Ko Ra - Ko Phra Thong National Park
เกาะระ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
Mu Ko Ra - Ko Phra Thong National Park
 
แผนที่จังหวัดอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง/map of Mu Ko Ra - Ko Phra Thong National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง

เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข

เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

 
พังงา/Information of PHANG-NGA

 

General Information
There was a rumor in 1998 that some capitalists trying to ask permission for using the areas in Ra Island and Phra Thong Island for their own benefit. The head of Surin Island National Park at that time, Mr. Dittaphong Chokkanapitak, issued an urgent letter, Khor Chor 0713 (Mor Sor) /116 in August 16, 1998, of Surin Island National Park Office to ask National Park Division to request the Royal Forest Department to prohibit renting the areas around Ra Island and to conserve the areas for being the parts of Surin Island National Park.

After that, Surin Island National Park Office issued a letter to Royal Forest Department to propose that the area of Ra Island and Phra Thong Island and nearby is appropriate for being a national park. Therefore, in March 28, 2000, Dr Plodprasop Suraswadee, Minister of Royal Forest Department, signed on a document KhorSor 0712.5/981/March 15, 2000 of the National Park Division to appoint Mr. Thanapong Apai-so, Forestry Academic Officer 6 of Surin National Park Office, to initially survey the area around Ra Island, Phra Thong Island, and in mangrove forest nearby in Khura Buri District and Takuapar District, Phangnga Province.

The initial survey resulted that the surveyed area, covered 642 sq.km with 296.2 sq.km on water and 329.7 sq.kme on land, consisted of productively natural resources including plants, animals and varied types of geography appropriate for declaring a national park. Thus, the Royal Forest Department then issued a document, No 1868/2543 in September 25, 2000, to inform Mr. Thanapong Apai-so to survey and declare the areas in Ra Island, Phra Thong Island and the mangrove forest nearby in Khura Buri District and Takuapar District, Phangnga Province, to be a national park.

As a result, it made some leaderships in the local area lose their benefit, so in November 23, 2000, they led local people in holding demonstration against the declaration of the national park by claiming the problem of local fishery to be the main propose. The event took place in front of Khura Buri Municipal Office, and had some leaderships take one turn on stage to address against the declaration of the national park.

The government’s officers, Mr. Manit Wattanasen, Vice Governor of Phangnga Province, Mr. Yod Khirirat, Royal Forest Department Officer of Nakhon Si Thamarat Province, and Mr. Thanapong Apai-so, Head of Khao Ra and Khao Phra Thong National Park, explained the fact to the people to come to an understanding. After that, the protesters signed their names on the proposals to file to Phangnga Province’s authority to stop the declaration of the national park, in which the province authority accepted for sending to the Royal Forest Department, and the protesters ended the demonstration.

The survey had been continued ever since. Until May 16, 2001, about 300 local people stormed to blow up the temporary office of Khao Ra and Khao Phra Thong National Park in Seng Bay, Village No 3, Khao Phra Thong Sub-district, Khura Buri District, Phangnga Province, and forced its officers to move the ruin away from the island. After that time, on the season of changing position, the Royal Forest Department has appointed Mr. Yudthana Sattakul, Forestry Officer 5, to be the head of Khao Ra and Khao Phra Thong National Park. Mr. Yudthana, then, coordinated with District Chief Officers, heads of local people, and heads of local government service concerned to establish a new temporary office, which has still been there ever since, at the same place in July 19, 2001.

Topography
In general, the area, located the west of Phangnga Province, consists of sinking seashore and productive mud-beaches on estuaries of many long rivers. The area is influenced by ebb and high tide of the sea. There are high mountains and islands lie north and south such as, Ra Island with the mountains about 235 meters above sea level, Phra Island with plain area, Kho Khao Island with high mountain about 310 meters above sea level, and many small islands such as Pling Island, Tachai Island and Bosai Island which has the highest mountain about 450 meters above sea level.

Climate
Ra Island and Phra Thong Island are situated close to each other. The area is in tropical climate. It has heavy rain all the year round because of being influenced by southeastern monsoon and northeastern monsoon. There are two seasons; rainy season starts from April to November with 2,125 mm. of rain all the year round and the highest rain in September with 366 mm. of rain; and summer starts from December to March, which also has some rain, with the highest temperature is 38 ๐C in April and approximated temperature is 29 ๐C

Flora and Fauna
Plants
There are five types of forest follows a survey.
Rain Forest: There is rain forest covered mountainous areas in Ra Island, foothill, and on th ridge which has its noted plants such as Yang, Suregada multiflorum Baill, the lower plants such as Mapring (a type of Anacardiaceae), Masan (a type of Dilleniaceae), Knema linifolia Warb, and shrub such as Licuala paludosa Griff, ratten, Pandanus etc.

Mangrove Forest : There is mangrove forest along the seashores and in the bays which have been influenced by rivers and the ebb and high tide of the sea. When seeing aerial photograph, the mangrove forest is very long from Thung Nangdam Village southward to Khor Khao Island, Takuapa District. Plants found are small-leaf and big-leaf mangrove swamp, Samare Khao and Samare Dam (a type of Myrsinaceae), palmae such as Mangrove Date Palm and Oncosperma horrida Scheff, and shrub such as Finlaysonia maritima Back and Sea Holly.

Beach Forest : There are beach forests in the areas that have never been covered by sea water in Ra Island and Phra Thong Island. Plants found are pine, tabebuia, Portia tree, Masan (a type of Dilleniaceae), Pandanus, and shrub such as beach morning glory.

Replacing Plants : The tin mine in Phrathong Island makes the area unproductive. Plants found are paper bark tree clustered near ponds and scattered in plain area.

Sea Grass : There is widespread sea grass in Thung Nang Dam Beach, from Visual Estimation Survey. The area is in the beach of Khura Estuary, in which the water is quite clear, extended to Nang Dam Beach. Between the beach and the seashore is a big pond suitable for sea grass so there have eight types of sea grass growing in the area about 1.38 squares kilometers, such as, by descending order, Cymodocea serrulata, Halodule uninervis H. ovalis, Syringodium isoetipolium, Enhalus acoroides, Halophrii and H. minor.

More over, there is sea grass growing in the east of Ra Island. Sea grass is very useful for example; it is the habitat, feeding area, breeding area and shelter of many kinds of sea animals such as shrimp, crab and fish, and of bigger animals such as sea turtle and dugong.

Now, sea grass is being deteriorated. Because there has been being fished by using some types of fishing devices and in the water has more sediment caused by the development of the land nearby. Therefore, that harms the sea grass and affects the sea animals. The best way to conserve the environment along the beaches is the government service should come up for strictly controlling using this area.

Wild Animals
From the exploration of all the islands in the area, the explorer divides the animals by their habitat and records the animals found by using binocular and asking information from local people as follows.

Mammals : From the elementary survey, the mammals found in this area are wild deer, wild boar, spectacled langur, crab-eating macaque, palm civet, smooth-coated otter, pangolin, plantain squirrel, gray-bellied squirrel, island flying fox, Malayan flying lemur, and island rat for examples.

In addition, from the interview of local people and the survey of Polaris Plane, a slow speed airplane that flies only about 70-80 km. per hour and 200-1,000 feet high, in 100-200 squares kilometers of 8 areas in Phangnga Province, Krabi Province and Satun Province, between January 31, 1997 and April 10, 1997 shows that. There were 1-6 dugongs in Thung Nang Dam Village, Khura Buri District, Phangnga Province. And in July 23, 1998, local people had often seen dugongs trapped in fish stakes east of Ra Island and Thung Nang Dam Bay. That means there still are dugongs in the area.

Now, dugong has rarely been found in the sea of Thailand because it is a sea-grass-feeding animal and an animal-for-food of fishermen. The more fishing boats are efficiency and bought, the more dugongs are caught. So it might have become extinct in Thailand not very far from now. Dugong is an important animal in sea grass area in which has been urgently needed to be conserved for continuously being there forever.

Bird : Birds found are lesser adjutant, black and red broadbill, and wreathed hornbill for examples. Also, there is a bird exploration’s report in Ra Island and Phra Thong Island, reported by forign academic who had been staying there for a year, says that there are 106 types of bird in the area.

Reptile : From a survey, there are reptiles such as land monitor, monitor lizard, python, Colubridae, skink, fresh water turtle for examples. There are foreign researchers come to study sea turtle and found that; in the east of Ra Island and Phra Thong Island, there are leatherback turtle, olive ridley turtle and green turtle. The turtles also come to lay their eggs on the beaches in the area between November and January every year. Now the life expectancy rate of the turtle is sharply dropped because the fishermen in the area use some types of fishing devices such as trawl that makes the number of adult turtle also dropped. Therefore, the area needs a good way to deal with sea turtle both to conservation and to protection.

Fish : The surveyed area is on the sea so that there are economically valuable fish especially in mangrove forest, as asking from local people, for examples, barred tiger-fish, sea catfish, red snapper, anchovy, blowfish, needlefish, and trevally. And in coral reefs are, for examples, lionfish, coral cod, snapper, butterflyfish, rabbitfish, tomato anemonefish, surgeonfish, and blowfish.

 Ra Island
It is a very steep island, most of the land will be closed to the shore. Visitors can walk and study the nature with long and wide beach in the north and west of the island. It is suited for swimming, sunbathing, or seeing the sunset. It can be reach only 60 minutes.

 Phra Thong Island
There is wide land with no mountains. On the east of the island is forest can be able to drive there. It is an area for wide lives such as deer and boar. There are many kinds of activities such as camping and cycling. Besides the long and wide beach from north to south is also good for studying animals because there are 60 deers. It is good for visitors and can be reach by boat for 50 minutes.

Kho Khao Island
It is the land and mountain in Kuburi and Takuapah district. It is very beautiful and has long beach along the shore. Currently, there are coconut fields and villages. It can be reach within 30 minutes.

Pling Island and Phota Island
It is closed to each other. There are many coral reefs on the west but not so wide. Visitors can walk or seeing birds. Because of the different of the plants, this area is good for many activities such and sailing the kayak, or cycling. It is also good for eco-tourist.

Contact Address
Mu Ko Ra - Ko Phra Thong National Park
Ko Phra Thong Sub-district, Amphur Khuraburi Phang Nga Thailand 82150
Tel. 0 7649 1378 

How to go?
By Car
Be able to go there by cars, from Bangkok by using a superhighway number 4 as far as Kuburi District then going to the piers for traveling to other islands.

By Ship
There are many piers such as Nang Yon Pier; nearby Visitor Center of Mu Ko Surin Nayional Park, Ban Nam Khem Pier in Takuapa District where can go to Ko Kho-Khao for only 30 minutes, Ban Tung La-ong Pier where can go by a long-tail boat to the south of Ko Phrathong for 20 minutes and to the north of Ko Kho-Khao for 20 minutes.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ
เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข
เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

พังงา แผนที่จังหวัดพังงา เขาตะปู เขาพิงกัน อ่าวพังงา
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอคุระบุรี
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอกะปง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอตะกั่วทุ่ง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอตะกั่วป่า
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอทับปุด
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอท้ายเมือง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเกาะยาว


แหลมหาด

Laem Hat
(พังงา)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง


ถ้ำซ้ำ

Sam Cave
(พังงา)
แผนที่จังหวัดพังงา/map of PHANG-NGA
โรงแรมจังหวัดพังงา/Hotel of PHANG-NGA

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์