ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดพังงา >อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน/Mu Ko Similan National Park 

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน/ Mu Ko Similan National Park

 

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
ข้อมูลทั่วไป
หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะกลางทะเลอันดามันที่เป็นเลิศในความงามของปะการังแห่งหนึ่งของโลก “สิมิลัน” เป็นภาษายาวีหรือมลายู แปลว่า “เก้า” ชาวประมงบางคนจึงเรียกว่า หมู่เกาะเก้า ประกอบด้วย เกาะใหญ่น้อย 9 เกาะด้วยกัน เรียงตัวตามแนวทิศเหนือไปทิศใต้ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันประกอบด้วย เกาะบอน เกาะบางู เกาะสิมิลัน เกาะปายู เกาะห้า เกาะเมียง เกาะปาหยัน เกาะปายัง และเกาะหูยง หมู่เกาะสิมิลัน เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2525 ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และในปี 2541 ได้ผนวกรวมเกาะตาชัย ทำให้มีพื้นที่ทั้งหมด 140 ตารางกิโลเมตร

ในปี พ.ศ. 2524 คณะสำรวจหมู่เกาะสิมิลันซึ่งประกอบด้วย Mr. Jeferey A. Sayer ผู้เชี่ยวชาญด้านอุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่าของ FAO (ขณะนั้นช่วยงานด้านอุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่า กรมป่าไม้) ดร.เต็ม สมิตินันท์ ผู้เชี่ยวชาญกรมป่าไม้ นายสุวัช สิงหพันธุ์ เจ้าหน้าที่กองอุทยานแห่งชาติ และคณะสำรวจของนายประพันธ์ ผลเสวก แห่งนิตยสารเพื่อนเดินทาง ได้เสนอความคิดเห็นต่อกองอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2524 ว่า บริเวณหมู่เกาะสิมิลันมีสภาพธรรมชาติและทิวทัศน์ทางทะเลสวยงามยิ่ง สภาพแวดล้อมบนเกาะต่างๆ สมบูรณ์ มีพรรณพืชและสัตว์ที่น่าสนใจหลายชนิด สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยหน้าผา โขดหินรูปร่างแปลกตา มีหาดทรายขาวบริสุทธิ์ และใต้ท้องทะเลอุดมสมบูรณ์ด้วยปะการังหลากสีหลายชนิดและอยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด เหมาะสมที่จะสงวนรักษาไว้เป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2524 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2524 เห็นสมควรให้จัดบริเวณหมู่เกาะเก้าหรือหมู่เกาะสิมิลันเป็นอุทยานแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยให้ชื่อว่า “หมู่เกาะสิมิลัน” ในการประชุมเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2525 โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหมู่เกาะสิมิลัน ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เนื้อที่ประมาณ 80,000 หรือ 128 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติภายใต้ชื่อว่า “ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ” โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 123 ลงวันที่ 1 กันยายน 2525 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 43 ของประเทศไทย

ต่อมาได้ผนวกพื้นที่เกาะตาชัย เนื้อที่ 12 ตารางกิโลเมตรเข้าเป็นอุทยานแห่งชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 65ก ลงวันที่ 25 กันยายน 2541 รวมพื้นที่อุทยานแห่งชาติทั้งสิ้น 87,500 ไร่ หรือ 140 ตารางกิโลเมตร

 

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ประกอบด้วยพื้นดินที่เป็นเกาะต่างๆ เขาหินแกรนิตสูงชัน หาดทราย โขดหิน ลักษณะรูปร่างต่างๆ ชายฝั่งของเกาะต่างๆ มีลักษณะเว้าแหว่งไม่เป็นระเบียบ เนื่องจากตั้งอยู่ในส่วนทะเลนอก ได้รับอิทธิพลจากการกัดเซาะของคลื่นทะเลโดยตรง เรียงตัวตามแนวทิศเหนือใต้ พื้นน้ำเป็นส่วนหนึ่งของทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดียตะวันออก บริเวณไหล่ทวีปติดชายฝั่งตะวันตกของจังหวัดพังงาและประเทศพม่า คู่ขนานกับแนวเกาะนิโคบาร์ ที่เป็นไหล่ทวีปของประเทศอินเดีย ตามชายหาดหรือสันทรายจะไม่มีดินเลนให้เห็นจึงเป็นชายหาดที่ขาวสะอาด สวยงาม อนุภาค ทรายมีขนาดเล็กละเอียด ส่วนที่เป็นยอดเขาจะเป็นเขาโดดสูงชัน ยอดเขาสูงสุดมีความสูง 244 เมตร จากระดับน้ำทะเล บางเกาะมีลักษณะแบนราบล้อมรอบด้วยเนินทรายและแนวปะการัง

ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ในเกณฑ์สูงเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 83 % ปริมาณน้ำฝนแต่ละปีเฉลี่ย 3,560 มิลลิเมตร ปริมาณการระเหยของน้ำแต่ละปีเฉลี่ย 1,708 มิลลิเมตร ช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากจะทำให้ฝนตกหนักแล้ว ท้องทะเลยังมีคลื่นลมแรง ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันในช่วงนี้ไม่ปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว ทางอุทยานฯ จึงกำหนดปิด-เปิดฤดูการท่องเที่ยวประจำปี ดังนี้

ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม - 14 พฤศจิกายน ของทุกปี
เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน - 15 พฤษภาคม ของทุกปี

พืชพรรณและสัตว์ป่า
พืชพรรณ สามารถจำแนกออกได้ เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ป่าชายหาด มีลักษณะโปร่งพบพันธุ์ไม้กระจัดกระจายมีความสูงไม่เกิน 15 เมตร ได้แก่ หูกวาง จิกเล สารภีทะเล ไม้ยืนต้นขนาดเล็กและไม้พุ่มขนาดใหญ่ ความสูงไม่เกิน 10 เมตร เช่น ตะบัน หงอนไก่ทะเล ปอทะเล เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีไม้พุ่มขนาดเล็ก เช่น ชิงชี่ ก้างปลาทะเล เตยทะเล เป็นต้น พืชคลุมดินที่พบ เช่น พืชตระกูลถั่ว พวกถั่วผี ผักราด หญ้าที่พบตามชายหาด เช่น หญ้าหวาย หญ้าขุย ไม้ไผ่ พืชอาศัย ได้แก่ นมพิจิตร ข้าหลวงหลังลาย เป็นต้น
2. ป่าละเมาะ เป็นสังคมของไม้พุ่มที่เจริญเติบโตได้บนดินที่มีความลึกของชั้นดินไม่เกิน 30 เซนติเมตร พรรณไม้ที่พบไม่หนาแน่นนัก เช่น กระบองเพชร จันทน์ผา ไม้พุ่มขนาดเล็กที่พบทั่วไป ได้แก่ พลอง นกนอน เป็นต้น
3. ป่าดงดิบ ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ความสูง 20 เมตรขึ้นไป ได้แก่ ยางปาย ยูง สะยา ไม้ยืนต้นขนาดรองลงมา ความสูง 15-20 เมตร ได้แก่ ขนุนนก เม่า โมกป่า ไม้ยืนต้นขนาดกลางความสูง 10-15 เมตร ที่พบ เช่น กระเบา รักป่า เนียน เป็นต้น มักพบ ไผ่ป่า หวาย ปาล์ม ขึ้นปะปน ไม้เลื้อย ไม้เถาว์ที่พบ เช่น พลูฉีก เสี้ยวเครือ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบกล้วยไม้และกาฝากเกาะตามกิ่งก้านไม้ขนาดใหญ่

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญหาพบได้ยาก ได้แก่ ละมุดป่า และงวงช้างทะเล พบเฉพาะเกาะใหญ่ในทะเลอันดามัน พืชที่กินผลหรือใบอ่อนได้ เช่น ละมุดป่า มะปริง มะหวด เนียง ผักหวาน และชิงชี่ เป็นต้น
สัตว์ป่า จากการสำรวจสามารถจำแนกได้ดังนี้
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็ก เช่น ค้างคาวแม่ไก่เกาะ ค้างคาวปีกถุงเคราดำ พญากระรอกดำ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ เช่น โลมาหัวขวด เป็นต้น
สัตว์เลื้อยคลาน ประกอบด้วย เต่าทะเลที่สำคัญได้แก่ เต่ามะเฟือง เต่ากระ นอกจากนี้ยังพบพวกเหี้ย แลน กระรอก เป็นจำนวนมาก ส่วนจำพวกงู ไม่เคยพบงูที่มีพิษ งูที่พบมากได้แก่ งูเหลือม
นก ที่พบได้บ่อยในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ มีดังนี้
1. นกที่มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทย และไม่อพยพย้ายถิ่น เช่น เหยี่ยวแดง นกกวัก เป็นต้น
2. นกที่จัดเป็นนกอพยพ เข้ามาในประเทศไทยบางฤดูกาล เช่น นกปากซ่อมหางเข็ม นกเด้าลมหลังเทา
3. นกประจำถิ่นและบางครั้งมีการอพยพย้ายถิ่น ได้แก่ นกนางแอ่นบ้าน นกยางควาย นกอีลุ้ม และนกนางนวลแกลบสีกุหลาบ เป็นต้น
ปลา ที่สำคัญที่พบเป็นพวกปลาทะเล ได้แก่ ปลาฉลาม ปลากระโทงเทง ปลากระเบน ปลาบิน ปักเป้าทะเล รวมตลอดถึงปลาที่ชอบอาศัยอยู่ในแหล่งปะการังอีกหลายชนิด เช่น ปลาผีเสื้อ ปลานางฟ้า และปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอีกหลายชนิด

สัตว์ประเภทอื่นที่สำคัญ สำหรับพันธุ์สัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่สำคัญที่สุด ได้แก่ ปะการัง และแมงกระพรุน ซึ่งปะการังโดยรอบหมู่เกาะสิมิลัน ส่วนใหญ่เป็นปะการังน้ำลึก เท่าที่สำรวจพบ ได้แก่ ปะการังใบไม้ ปะการังแปรงล้างขวด ปะการังรูพรุน นอกจากนี้ยังมีปะการังที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และปะการังพรุนแบบฟองน้ำอีกหลายชนิด ทั้งยังพบพวกกัลปังหาอีกเป็นจำนวนมากด้วย

หมู่เกาะสิมิลัน เป็นหมู่เกาะที่ได้รับการยกย่องจากนิตยสารสกินไดวิ่งของอเมริกาว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงามทั้งบนบกและใต้น้ำ ซึ่งติดอันดับ ความงาม เป็น 1 ใน 10 ของโลก ซึ่งมีช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวมากที่สุดคือ ระยะปลายเดือนธันวาคมถึงกลางเดือนเมษายน ในเดือนมีนาคมจะเป็นช่วงที่อากาศดีที่สุด น้ำใส และไม่มีมรสุม

เกาะหูยง
เกาะหูยง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะหนึ่ง เป็นเกาะที่มีหาดทรายขาวสะอาด และยาวมากที่สุดในบรรดาเกาะทั้งหมด ซึ่งหาดของเกาะนี้เป็นที่วางไข่ของเต่าทะเลหลายชนิด หากจะไปท่องเที่ยวที่เกาะแห่งนี้ ควรติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติก่อน
กิจกรรม -ดำน้ำลึก

เกาะปายัง
เกาะปายัง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะสอง เป็นเกาะที่มีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาหิน รอบเกาะเป็นหน้าผา และโขดหิน ไม่มีหาดทราย
กิจกรรม -ดำน้ำตื้น - ดำน้ำลึก

เกาะปาหยัน
เกาะปาหยัน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะสาม มีสภาพทั่วไปของเกาะเป็นหิน ลักษณะเป็นหน้าผา ไม่มีหาดทราย แต่เป็นแหล่งดำน้ำลึกที่นักดำน้ำลึกนิยมอีกแห่งหนึ่ง มีการขนานนามบริเวณนี้ว่า สันฉลาม บ้างก็ขนานนามว่า กำแพงเมืองจีน ซึ่งเรียกตามลักษณะกำแพงหินธรรมชาติใต้น้ำที่มีความโอฬารมาก บริเวณนี้จะพบฝูงปลาจำนวนมากที่แวะเวียนมาหากินอยู่ข้างๆ กำแพงหินธรรมชาติใต้น้ำ เช่น ฝูงปลาสาก และยังมีกัลปังหาที่มีสีสันสวยงามอีกเป็นจำนวนมาก
กิจกรรม -ดำน้ำลึก

เกาะเมียง
เกาะเมียง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะสี่ เป็นเกาะที่มีขนาดพื้นที่รองจากเกาะสิมิลัน เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ (บนเกาะ) ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร บ้านพักนักท่องเที่ยว และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เกาะนี้มีแนวหาดทราย 2 หาด สามารถเดินถึงกันได้โดยใช้เวลาในการเดินประมาณ 20 นาที

หาดหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เป็นหาดทราย ยาวประมาณ 400 เมตร ทรายขาวละเอียดและสวยมากที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทย น้ำทะเลสีฟ้า เหมาะสำหรับลงเล่นน้ำได้ มีปะการังกระจายอยู่เป็นกลุ่ม ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของหาดมีแนวปะการังต่อเนื่องไปถึงแนวหินยาว ทำให้บริเวณนี้เป็นจุดดำตื้นได้อย่างสบายๆ เพราะไม่ต้องเดินหรือว่ายน้ำจากหาดหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

หาดเล็ก เป็นหาดอยู่ทางด้านตะวันออกของเกาะ สามารถเดินจากหาดหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ตามทางเดินเท้าประมาณ 300 เมตร ทางเดินเท้าจะผ่านป่าดิบชื้นสมบูรณ์ เหมาะสำหรับเดินศึกษาธรรมชาติ ที่สำคัญ คือ เป็นจุดชมปูไก่ ที่หาดูได้ยาก บริเวณหาดเล็ก มีทรายที่ขาวสะอาด น้ำทะเลสวยใส มีแนวปะการังขนาดเล็กกระจายเป็นหย่อมๆ เหมาะสำหรับดำน้ำตื้นเช่นกัน
กิจกรรม -ดำน้ำตื้น - ดำน้ำลึก - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - ส่องสัตว์ - กิจกรรมชายหาด - ชมทิวทัศน์

เกาะห้า
เป็นเกาะเล็กๆ แต่เป็นจุดดำน้ำที่น่าสนใจ และงดงาม มีเอกลักษณ์ของเกาะ คือ ปลาไหลสีขาวเทา ที่ชอบโผล่หัวชูคอขึ้นมาจากรู จนได้ชื่อว่า สวนปลาไหล บริเวณนี้ยังเต็มไปด้วยปะการังอ่อน ปะการังแข็งที่มีอยู่มากมาย
กิจกรรม -ดำน้ำลึก

เกาะปายู
เกาะปายู หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะหก มีลักษณะของเกาะเป็นภูเขาหิน เป็นหน้าผา มีชายหาดด้านตะวันออก แนวปะการังบริเวณนี้กว้างประมาณ 150-200 เมตร ด้านตะวันตกเป็นหน้าผาสูงชัน ไม่มีแนวปะการังที่ชัดเจน แต่มีกองหินและปะการังขึ้นกระจาย มีปะการังก้อนขนาดใหญ่อยู่บ้างในความลึก 20 เมตร ด้านเหนือเป็นแหลมเล็กๆ ด้านใต้เป็นแนวหิน
กิจกรรม -ดำน้ำลึก

เกาะหินปูซาร์
เกาะหินปูซาร์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะเจ็ด มีลักษณะเป็นหินโผล่ กว้างประมาณ 30 เมตร มีผาหิน สามารถว่ายน้ำลัดเลาะไปมา ตามหน้าผาพบปะการังอ่อน มีทัศนวิสัยในการดำน้ำลึกดีมาก สามารถมองเห็นได้กว้างไกล รอบด้านเป็นกองหินความลึกประมาณ 20-50 เมตร มีหุบเหวใต้น้ำ บริเวณนี้มีปลาหลายชนิด เช่น ปลาสลิดหินสามจุด ลูกปลานกขุนทอง และปลาฉลาม ออกจากแนวกองหินไปทางด้านใต้ มีกัลปังหาขึ้นอยู่บนลานกระจายที่ความลึก 30 เมตร ลงไปเรื่อย ๆ อาจพบเต่าทะเลและกระเบนราหู
กิจกรรม -ดำน้ำลึก

เกาะสิมิลัน
เกาะสิมิลัน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะแปด เป็นเกาะที่มีพื้นที่มากที่สุด ประมาณ 5 ตารางกิโลเมตร และยอดสูงสุดของภูเขา 244 เมตร จากระดับน้ำทะเล เกาะสิมิลันมีอ่าวเล็กๆ อยู่ทางทิศเหนือของเกาะ อ่าวนี้มีลักษณะโค้งจึงได้ชื่อว่า อ่าวเกือกม้า ใต้ท้องทะเลอุดมสมบูรณ์ด้วยกองหินและแนวปะการัง ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาเล็กปลาน้อยมากมาย สภาพหาดสวยงามสะอาดและน้ำทะเลใสมาก สามารถลงเล่นน้ำได้ เหมาะสำหรับการดำน้ำดูปลาและปะการัง

ทางด้านทิศตะวันออกของอ่าวเป็นเกาะแก่งเล็กๆ ใต้น้ำอุดมไปด้วยปะการังเขากวางและปะการังดอกเห็ดขนาดใหญ่ ทางด้านตะวันตกของอ่าว ภายใต้ท้องทะเลเป็นโขดหินสลับกับแนวปะการังไปเป็นระยะตลอดแนวอ่าว ทางด้านทิศตะวันออกของอ่าว มีก้อนหินขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายรองเท้าบู๊ต เต่ายักษ์ และหินใบ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของเกาะ กองหินใต้น้ำซึ่งเป็นจุดดำน้ำลึกที่ขึ้นชื่อ คือ กองหินแฟนตาซี
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - ดำน้ำตื้น - ดำน้ำลึก - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - แค็มป์ปิ้ง

เกาะบางู
เกาะบางู หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะเก้า สภาพของเกาะเป็นหิน หน้าผา ทางด้านทิศตะวันออกของเกาะ มีหินโผล่น้ำ ซึ่งเป็นแหล่งปะการังที่สวยงามมากแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในหมู่นักดำน้ำลึกว่า "คริสต์มัสพอยต์"
กิจกรรม -ดำน้ำลึก

เกาะบอน
เกาะบอน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะทะลุ เป็นเกาะเป็นแหล่งที่อยู่ของปลาที่ชุกชุมมาก จุดเด่นคือ สะพานหิน ที่เกิดจากหินที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนเป็นโพรงมองคล้ายสะพานโค้งข้ามแม่น้ำ เป็นเกาะที่นักดำน้ำสามารถทักทายกับเจ้ายักษ์ใหญ่แห่งท้องทะเล นั่นคือ เจ้ากระเบนราหู ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถพบได้ง่ายกว่าแหล่งท่องเที่ยวแหล่งอื่น
กิจกรรม -ดำน้ำลึก

เกาะตาชัย
เป็นเกาะที่เพิ่งประกาศให้อยู่ในความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2541 โดยมีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันในท้องที่ ต.เกาะพระทอง อ.คุระบุรี เป็นเกาะที่ยังคงรักษาสภาพธรรมชาติได้เป็นอย่างดี

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
93 ม.5 บ้านทับละมุ ถ.เพชรเกษม ต.ลำแก่น อ. ท้ายเหมือง จ. พังงา 82210
โทรศัพท์ 0 7659 5045, 0 7642 1365 โทรสาร 0 7659 5210 

การเดินทาง
รถยนต์
จากกรุงเทพฯ-จังหวัดพังงา ระยะทางประมาณ 788 กิโลเมตร อัตรค่าโดยสารขึ้นอยู่กับประเภทรถโดยสาร ระหว่าง 357-685 บาท จากพังงามาที่อำเภอทับละมุ ระยะทาง 65 กิโลเมตร รถยนต์โดยสารราคา 35 บาท จากนั้นต่อมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ไปยังท่าเรือทับละมุ ราคา 30 บาท (ระยะทาง 5 กิโลเมตร)

เครื่องบิน
จากท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ถึงท่าอากาศยานภูเก็ต ราคา 2,300 บาท เดินทางสู่จังหวัดพังงา โดยรถโดยสารประจำทาง ถึงท่าเทียบเรือทับละมุ และจ้างเหมาเรือไปอุทยานแหงชาติหมู่เกาะ สิมิลัน

เรือ
จากท่าเรือทับละมุเดินทางไปยังเกาะเมี่ยง (เกาะสี่) ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร มีเรือโดยสารของภาคเอกชนให้บริการทุกวันตลอดฤดูกาลท่องเที่ยว เรือโดยสารทุกลำจะออกจากท่าเรือพร้อมกัน โดยขาไปออกเวลา 08.00 น. และขากลับออกเวลา 14.00 น. ของทุกวันๆ ละ 1 เที่ยว (เก็บตั๋วเรือเอาไว้แสดงตอนกลับด้วย) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3.5 - 4 ชั่วโมง อัตราค่าโดยสารขึ้นอยู่กับชนิดของเรือและการบริการดังนี้

เรือโดยสารทั่วไป อัตรา 1,500 บาทต่อคน เป็นการเดินทางไป-กลับ (กลับวันไหนก็ได้) สำหรับอัตรา 2,300 บาทต่อคน เป็นการเดินทางไป-กลับ มีอาหาร เครื่องดื่มและพาเที่ยวรอบๆ เกาะ เป็นการพาเที่ยวภายใน 1 วัน หรือจะจ้างเหมาลำก็ได้มีอัตราค่าจ้างเหมา คือ เรือขนาด 35 - 40 คน ราคาประมาณ 12,000 บาทต่อวัน เรือขนาด 50 - 60 คน ราคาประมาณ 15,000 บาทต่อวัน ขึ้นอยู่กับการตกลงราคา และเมื่อเดินทางถึงอุทยานแห่งชาติ จะมีเรือหางยาวให้บริการกับนักท่องเที่ยว ไปตามเกาะต่างๆ ดังนี้

เกาะสี่–เกาะหก ระยะทาง 3 กิโลเมตร อัตราค่าบริการ ราคา 150 บาทต่อคน
เกาะสี่-เกาะแปด ระยะทาง 11.5 กิโลเมตร อัตราค่าบริการ ราคา 200 บาทต่อคน
เกาะสี่-เกาะเก้า ระยะทาง 13.5 กิโลเมตร อัตราค่าบริการ ราคา 300 บาทต่อคน
รอบเกาะแปด และเกาะเก้า อัตราค่าบริการ ราคา 300 บาท/คน

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
มีพื้นที่กางเต็นท์บริเวณเรือนแถว ขนาด 2.5 ไร่ มีห้องน้ำ-ห้องสุขารวม และ พื้นที่กางเต็นท์บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติที่ มส.2 (เกาะแปด) มีพื้นที่ขนาด 6 ไร่ มีห้องน้ำ-ห้องสุขารวม

ท่าเรือ/ท่าเทียบเรือ
ท่าเทียบเรือ จำนวน 1 แห่ง บริเวณ บ้านทับละมุ (ท่าเทียบเรือทับละมุ)

แหล่งดำน้ำลึก จำนวน 10 จุด ได้แก่
คริสมาส พอยท์ ระยะทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 66 กิโลเมตร
อ่าวเรือจม (หินตาแก่) ระยะทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 64 กิโลเมตร
แฟนตาซี รีฟ ระยะทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 6.1 กิโลเมตร
อิเลฟเฟน ร๊อค (Elephant Rock) ระยะทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 64 กิโลเมตร
หินเบคอน ระยะทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 64 กิโลเมตร
หินสามก้อน ระยะทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 65.4 กิโลเมตร
หินคอนโด (East of Eden) ระยะทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 64 กิโลเมตร
หัวแหลม ระยะทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 65.7 กิโลเมตร
สวนปลาไหล ระยะทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 64.1 กิโลเมตร
หินแพและสันฉลาม ระยะทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 64 กิโลเมตร


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
เกาะห้า
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park

เกาะเมียง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park

เกาะหูยง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park
เกาะตาชัย
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park
เกาะบอน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park
เกาะบางู
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park
เกาะปายัง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park
เกาะปายู
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park
เกาะปาหยัน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park
เกาะหินปูซาร์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
Mu Ko Similan National Park



 
แผนที่จังหวัดอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน/map of Mu Ko Similan National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข

เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

 
พังงา/Information of PHANG-NGA

 

Mu Ko Similan National Park
General Information
Mu Ko Similan National Park has been rated first by the U. S. publication Skin Diving of the top ten dive sites in the world. The Similan Islands in the heart of the Andaman Sea are indeed unparelled in their exotic beauty. If planning a visit, keep in mind that anytime between December to April is recommended, with the best month being March, because the monsoons are over and the water is clear.

The national park is established in 1982 and located in Ko Phrathong Sub-distreict, Khuraburi District, Phang-nga Province and covers 128 square kilometers, 80,000 rais, of area, 14 square kilometers of which is land composed of all the islands put together. Located along the western coastline of the Andaman Sea and in the Indian Ocean, rest these nine exotic granite islands created by upwellings of hot magma during the Teritiary-Cretaceous Period some 65 million years ago, then smoothed by glacial ice and the wave action of the sea.

Similan is really the Malaysian word for nine, as there are nine islands in the Similan group: Ko Bangu, Ko Similan, Hin Huwagralok, Ko Payu, Ko Ha, Ko Hok, Ko Miang, Ko Payan, Ko Payang, and Ko Huyong.

In 1998, the park boundary was expanded to cover Ko Tachai which is located further north of Ko Bon and the Similan group. Then the park area becomes 140 square kilometers.

Consists of numerous islands with high and steep granite mountain, beaches and rocks formation of many shapes. The shoreline of each islands are of inconsistent curves since they are situated in the outer part of the sea and are worn away directly by waves. Part of the water lies in the Andaman Sea and eastern side of the Indian Ocean while the shoulder of the continent borders the western shoreline of Phang Nga province and Union of Myanmar, paralleling the Nikobar Islands of India. There is no mud at all along the beaches, so the sands are very clean, white and very fine. Some islands do have hills in the area, which are usually quite tall with the highest top of 244 meters above mean sea level, while some islands are of flat area surrounded by sand dunes and coral reefs.

Climate
Summer begins in mid February and ends in May. Rainy season starts from mid May till October with North - Western wind. Average annual temperature is 27๐c with average of approximately 83% humidity all year round. Average annual rainfall is measured at 3,560 millimeters with evaporation rate of 1,708 millimeters per year. In rainy season, the park will be closed during 16 May - 14 November every year for visitors safety.

Flora and Fauna
Types of forests can be divided into 3 main characteristics

Beach Forest –open forest with scattered plants at approximate height of not over 15 meters such as Terminalia catappa, Barringtonia asiatica, Callophyllum inophyllum. Small perennials and large shrub not exceeding 10 meters in height found are Xylocarpus gaugeticus, Herltiera littoralis, Hibiscus tiliaceus which is a smaller shrub found are Capparis micracautha, Breynia vitris-idaea Fischer, Pandanus odoratissimus. Grounds covering plants common in the area are beans, Vigna sp., Spilanthes sp., Ischaemum barbatum, Lophatherum gracile, Hoya parasittrica, Asplenium nidus.

Scrub Forest – habitat for shrubs which can develop on grounds with soil depth of not exceeding 30 centimeters. A few cacti can be found while more common shrubs found are Cercus spp., Dracaena spp., Memecylon caeruleum, Cleistanhus polyphyllus.

Primary Forest – habitation for perennials at a height of 20 meters or above such as Dipterocarpus costatus, Dipterocarpus boudii, Shores spp.,. Lower perennials at 15-20 meters in height are palaquium obovatum, Eugenia denaiflora, Wrightia sp., 10-15 meters in height are Hydnocarpus ilicifolius, Semecarpus curtisii, Diospyros wallichii. Bambusa sp., Calamus longisetus, Plam, Amydrium medium and Bauhinia glauca are also found with other creepers and parasites such as betel pepper, bauhinia and orchid.

The most unique vegetation found only on Ko Yai in the Andaman sea are sapodilla and Nguang Chang Talay while edible plants are Manilkara sp., Toumefotia argentia, Bouea oppositifolio, Lepisanthes rubiginosa, Diospyros wallichii, Neang and Copparis micracantha.

Marine and Wildlife:
Beneath the sea at Mu Ko Similan National Park lies a complex ecosystem commonly called the rainforest of the sea: the coral reef. The major residents of the reef are coral and the closely related sea anemones; of the Phylum Cnidaria, Class Anthozoa, which contains all radially symmetrical invertebrate animals. Corals and sea anemones exist as individual polyps living in either solitary or mostly colonial forms. The polyps of hard corals construct communal limestone homes which are built up into a multitude of shapes and sizes eventually giving rise to a coral reef. Soft corals have soft bodies made of large numbers of identical polyps connected by fleshy tissue (Zooxanthallae). These soft corals contain small algae within their tissues which are able to convert the sun's energy into food. This cooperative relationship is known as symbiosis and also exists in hard corals, clams and other marine organisms. There are several factors that support good environment for the reef i.e. temperature, salinity, light, wave and tide, sedimentation and nutrient. Therefore, healthy coral reef can be found easily in the Andaman Sea comparing to the Gulf of Thailand. In Andaman Sea, coral reefs are able to classified as deep water and medium water. For the deep water coral reef grow down to 30 m. Of course, in this case water allows enough light for the algae. This reef type is mostly found in Similan and Surin islands. For the rest area, medium water coral reef grow between 8-15 m beneath the surface.

Coral can also be classified to fall into these structural categories: massive, columnar, encrusting, branching, foliceaous, laminar and free-living coral. The hard corals found in Mu Ko Similian National Park are deep water species of mostly staghorn coral types (Acropora echinata) and the smaller cauliflower shaped types (Seriatopora histrix). Many other species of marine life co-exist within the coral reef: Gorgonian sea fans, flower-like soft coral, several species of crabs, spiny painted lobsters, squid, sponges, sea cucumbers and giant clams.

Above the sea surrounding each island lies Beach forest, which steadily becomes Tropical forest further inland. Important tree species include Manilkara sp. Cordia subcordia, and Tournefotia argentia. A survey conducted in 1992 revealed that 39 species of birds can be found on the nine islands. Resident species include the Brahminy Kite, and the White-breasted Waterhen, while migratory species include the Pintail Snipe, and Grey Wagtail. Temporary migratory species include the Barn Swallow, Cattle Egret, Watercock, and the Roseate Tern. The most commonly seen species include the Pacific Reef-Egret, Nicobar Pigeon, Pied Imperial Pigeon, White-bellied Sea-Eagle, and the Collared Kingfisher.

The environment of Mu Ko Similian National Park is obviously that of a small island, wherever you go, you are not far from the sea. Natural fresh water reserves are few, and as a result, large mammal species cannot exist. Surveys have revealed that 27 species of small mammals exist within the park, including 16 species of bats namely: the black-bearded tomb bat, the lesser false vampire bat, the intermediate horseshoe bat, the lesser bent-winged bat, and the hairless bat. 3 species of squirrels can be found including the gray-cheeked flying squirrel. 4 species of rats: the yellow Rajah rat, the ricefield rat, roof rat and noisy rat can be seen scurrying around as well. Finally, the more unusal but fairly common residents include the bush tailed porcupine, common palm civet, flying lemur and the bottlenosed dolphin. 22 species of reptiles and amphibians can be found in the park including the banded krait, reticulated python, white-lipped pit viper, common pit viper, garden blue lizard, hawksbill turtle, leather turtle, bengal monitor lizard, common water monitor lizard, ornate froglet, common asiatic frog, marsh frog, and the common bush frog. Finally, another most interesting species located in the Similans island is called the hairy leg mountain land crab. This crab is found in such large numbers you will be sure to see many just by walking around a bit. No matter where you are on the island, seeing this creature will be a reminder you are never far from water.

Ko Huyong (Huyong Island)
Huyong Island or Island 1 is the closest to Phuket with the longest clean white sandy beach of all the islands, making it an inviting place for turtles to come lay their eggs. Huyong Island has the easiest dived at a depth of 10 to 15 meters. With hard and soft corals and an abundance of sea fans. The shallowness of the area allows sunlight to penetrate to the bottom resulting in a region teeming with marine life.

Ko Miang (Miang Island)
Miang Island or Island 4 is the next largest island in size to Similan Island and is the site for the headquarters of the park. Here are two white powdered beached, the large beach, in front of the island and the small beach, which is about 20 minutes walk away through evergreen forest.

This is the best site for viewing wildlife and for an overnight stay in Mu Ko Similan National Park. By venturing further inland from the beach you may catch a glimpse of the Nicobar Pigeon or the hairy leg mountain land crab (Pu Kai in Thai, because it makes noise like a baby chicken). If all you want to do is snorkelling, try viewing off the beaches of Miang Island, in the channel between Miang Island and Payu Island, and also off Similan Island.
Activities - Snorkelling Diving - Scuba Diving - Nature trail study - Animal Watching - Activities on Beach 

Ko Ha (Ha Island)
Ha Island or Island 5, It's a small island but interesting location for diving. The main attractions and uniqueness for this island is Garden Eels (white and grey eels) can be seen stretching their necks from holes in the sandy floor. There are so many of the place called “Suan Pla Lai”. Moreover, the area is also full of soft coral and stony coral.
Activities - Scuba Diving

Ko Payu (Payu Island)
Payu Island or Island 6 has a very stunning snorkelling and scuba diving site on the eastern shore. Many divers prefer this site to any other because there are both hard and soft corals, sea fan and many species of schoolling fish. A minore site is found to the west, and another to the north has rocks covered with sea fans. The island has no beach.
Activities - Scuba Diving

Ko Hin Pousar
Hin Pousar Island or Island 7 or Hin Huwagralok is the rock with the elephant head shaped-rock outcrop. Beneath this curious rock structure you will find caves, swim through and unique underwater formations to delight your eyes.

This island is a rock of approximately 30 metres in width with piles of rock around it at a depth of 20-50 metres. Soft corals can be found along the cliffs and there are many types of fish around such as rabbit fish and wrasse. Further away from the piles of rock to the south, there are many sea fans scattering around at 30 metres. Manta rays and sea tortoises can also be found a little deeper.

Ko Similan (Similan Island)
Similan Island or Island 8 is the largest island in the chain. The average depth of the waters around Similan is about 25 meters. Ko Similan has a very small bay on the western side where spiny lobsters rest in crevices and sea fans, plume worms and soft corals sway to the current. Above the sea, lies the huge symbolic rock of Ko Similan and its worth the hike to the top to enjoy a sweeping view of the sea.

Fantasy Rocks are another scuba diving site consisting of several large rocks totally covered with solf corals, sea fans, and many species of fish. They are located to the west of Ko Similan, and are one of the most popular diving sites.
Activities - View - Snorkelling Diving - Scuba Diving - Nature trail study - Camping

Ko Bangu (Bangu Island)
Bangu Island or Island 9, is known for good scuba diving at the northwestern tip between some rock outcrops known to local divers as Christmas point. The water depth is between 10 and 35 meters and one can find many pelagic fish amongst the rock formations.
Activities - Scuba Diving

Ko Bon (Bon Island)
Bon Island or Talu Island, there is a beautiful white powered beach on this island but no accomodation. The waters are suitable for scuba diving, and Whale Shark is often found here.

Ko Tachai (Tachai Island)
Tachai Island is located at the northern most tip of the park. There is a beautiful white powdered beach on the island but no accommodation. The water are suitable for SCUBA diving, and Whale Shark is often found here.

Contact Address
Mu Ko Similan National Park
93, Mu 5, Ban Thaplamu, Phetkasem rd, Lamkaen Sub-district, Amphur Thai Muang Phang Nga Thailand 82210
Tel. 0 7659 5045, 0 7642 1365 Fax 0 7659 5210 

How to go?
By Car
There are daily bus services from Bangkok to Phang Nga (approximately 788 kilometres)

Standard bus fee is 357 Baht, air-conditioned bus fee is 459 Baht, and VIP air-conditioned bus fee is 685 Baht.Then another 65 kilometres from Phang Nga to Thap Lamu District, it cost 35 Baht. for Motorbike can then be taken to continue on to Thap Lamu Pier (another 5 kilometres) at 30 Baht.

By Airplane
Flights from Bangkok-Phuket operate daily at 2,300 Baht. From Phuket, take a bus to Thap Lamu Pier, Phang Nga province then take a ferry to Mu Ko Similan National Park.

By Ship
Thap Lamu Port to Mu Ko Similan National Park, you can take a private tour boat which controlled by the national park and serves tourists everyday. The cost for round trip is 1,500 - 2,300 baht per person. This tour boat departs from Thap Lamu Port at 08.00 am. in everyday. From the port to this islands is about 70 kilometers which takes about 3.5 - 4 hours of journey. The return boat from Mu Ko Similan National Park to Thap Lamu Port departs at 14.00 pm. in everyday. However, this service would be closed at May 16 every year because entering of raining season. Once reached Ko Similan, motorboats are available for tourist to get to different islands per the following fare
Ko 4 to Ko 6 – distance 3 kilometres a 150 Baht/person
Ko 4 to Ko 8 – distance 11.5 kilometres a 200 Baht/person
Ko 4 to Ko 9 – distance 13.5 kilometres a 300 Baht/person
Around Ko 8 and Ko 9 a 300 Baht/person

 


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ
เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข
เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

พังงา แผนที่จังหวัดพังงา เขาตะปู เขาพิงกัน อ่าวพังงา
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอคุระบุรี
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอกะปง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอตะกั่วทุ่ง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอตะกั่วป่า
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอทับปุด
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอท้ายเมือง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเกาะยาว


แหลมหาด

Laem Hat
(พังงา)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง


ถ้ำซ้ำ

Sam Cave
(พังงา)
แผนที่จังหวัดพังงา/map of PHANG-NGA
โรงแรมจังหวัดพังงา/Hotel of PHANG-NGA

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์