ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดสตูล > อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา/Mu Ko Phetra National Park 

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา/ Mu Ko Phetra National Park

 

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
ข้อมูลทั่วไป
เมื่อปี 2525 ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ได้เห็นว่า สภาพธรรมชาติที่เป็นเกาะแก่ง หาดทรายชายทะเล ในบริเวณชองแคบมะละกา เขตจังหวัดสตูล ยังมีความบริสุทธิ์สมบูรณ์อยู่มาก น่าจะได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสตูลด้วย กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งที่ให้เจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจหาข้อมูลบริเวณหมู่เกาะเภตรา ปรากฏว่า มีสภาพเป็นเกาะใหญ่น้อยหลายเกาะ โดยมีเกาะขนาดใหญ่อยู่ 2 เกาะ คือ เกาะเภตรา และเกาะเขาใหญ่ สภาพป่าสมบูรณ์ ทิวทัศน์ทางทะเลสวยงาม มีปะการัง หาดทรายขาวสะอาด มีโขดหิน หน้าผา ถ้ำ และเขาหินปูนรูปร่างแปลกตา ทั้งเป็นที่วางไข่และอยู่อาศัยของเต่าทะเลหลายชนิด เหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้

กองอุทยานแห่งชาติได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2526 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเกาะเภตรา เกาะเขาใหญ่ และหมู่เกาะใกล้เคียงในพื้นที่ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ตำบลตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า ตำบลแหลมสน และตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 101 ตอนที่ 200 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2527 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 49 ของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ 494.38 ตารางกิโลเมตร

นิทานพื้นบ้าน

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเตรา มีตำนานเกาะเภตราซึ่งตัวเกาะเภตราตั้งอยู่ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง มองจากที่ไกลๆ คล้ายกับเรือสำเภากำลังอับปาง ดังมีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาถึงการเกิดเป็นหมู่เกาะเภตราว่า มีครอบครัวๆ หนึ่ง มีตาพุดกับยายทองและลูกชายอีกหนึ่งคน นับถืศาสนาพุทธ ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านพระม่วง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง อยู่มาวันหนึ่งมีเรือสำเภาของพ่อค้าชาวไทรบุรีได้นำสินค้าเข้ามาค้าขายที่ท่าเรือกันตัง ฝ่ายลูกชายของตายายก็ได้มาชมสินค้าในเรือเหมือนกับคนอื่นๆ เมื่อพ่อค้าเห็นเข้าก็เกิดความรักความเอ็นดู จึงเอ่ยปากชวนไปอยู่ที่เมืองไทรบุรีด้วย และได้ช่วยพ่อค้าทำงานอย่างขยันขันแข็ง อยู่มาวันหนึ่งเจ้าพระยาเมืองไทรบุรีได้มาเห็นเด็กชาย็เกิดความรักความเอ็นดู จึงขอเด็กชายจากพ่อค้าไปเลี้ยงดูเป็นบุตรบุญธรรมโโยให้เข้านับถือศาสนาอิสลาม เจ้าพระยาได้เลี้ยงดูเป็นอย่างดี ทำให้เด็กชายหลงระเริงลืมตนว่าเป็นใคร ครั้นมีอายุสมควรแก่การมีเหย้ามีเรือน เจ้าพระยาก็ให้แต่งงานกับลูกสาวของตน หลังจากแต่งงานฝ่ายหญิงก็คิดที่จะไปเยี่ยมพ่อแม่ของสามีและคอยรบเร้าจนสามีต้องยอม จึงได้ตกแต่งเรือสำเภาขนาดใหญ่ และให้คนเดินทางล่วงหน้าไปก่อนเพื่อแจ้งข่าวให้กับตายาย

ตายายเมื่อรู้ข่าวว่าลูกชายลูกสะใภ้จะมาเยือนก็ดีใจยิ่งนัก จึงได้จัดเตรียมข้าวของมากมายไว้คอยต้อนรับโดยเฉพาะหมูย่าง เพราะคิดว่าลูกชายยังคงอยากกินเหมือนสมัยที่เคยอยู่กับตน ครั้นถึงวันกำหนดสองสามีภรรยาก็แล่นเรือมาถึงปากน้ำกันตัง ลูกชายเมื่อเห็นสภาพของพ่อแม่ก็เกิดความอับอายไม่ยอมรับว่าเป็นพ่อแม่ของตน สองตายายเกิดความเสียใจเป็นอันมากจึงเอาหมูย่างไปวางที่กัวเรือแล้วอธิษฐานว่า ถ้าหากเป็นลุกชายของตนจริงขอให้มีอันเป็นไป ออกจากท่าเรือไม่ได้ พอสิ้นคำสาปแช่งก็เกิดพายุอย่างหนัก ได้พัดเรือของลูกชายลูกสะใภ้อับปางลง สมบัติพัสฐานข้าวของต่างๆ ก็ล่องลอยกลายเป็นเกาะต่างๆ ในน่านน้ำแห่งนี้ เช่น หมูย่างกลายเป็นเกาะสุกร เรือสำเภากลายเป็นเกาะเภตรา นอกนั้นมีเกาะไข่ เกาะกล้วย เกาะเขาหินตา เกาะเขาหินยาย เกาะไก่ เป็นต้น

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ส่วนใหญ่เป็นเกาะเขาหินปูนที่มีความลาดชันสูง มีที่ราบเพียงเล็กน้อยในบริเวณที่เป็นหุบเขาและชายหาด ประกอบด้วยเกาะมากกว่า 22 เกาะ กลางท้องทะเลอันดามัน ที่เรียงรายกระจัดกระจายตั้งแต่เขตอำเภอละงู อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล เรื่อยไปจนจรดอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลและเกาะน้อยใหญ่ โดยมีเกาะที่สำคัญเรียงจากเหนือไปใต้คือ เกาะเหลาเหลียงเหนือ เกาะเหลาเหลียงใต้ เกาะเบ็ง เกาะตากใบ เกาะกล้วย เกาะตุงกู เกาะละมะ เกาะบุโหลนขี้นก เกาะบุโหลนใหญ่ เกาะบุโหลนไม้ไผ่ เกาะเขาใหญ่ และเกาะลิดี มีพื้นที่รวมประมาณ 494.38 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ำประมาณ 94.7 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่บางส่วนกันออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ เช่น หมู่บ้านบ่อเจ็ดลุก และบางส่วนทางราชการโดยกองทัพเรือขออนุญาตใช้พื้นที่

ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ตั้งอยู่ในเขตโชนร้อน ลักษณะลมฟ้าอากาศคล้ายคลึงกันตลอดปีความแตกต่างระหว่างฤดูกาลไม่เด่นชัด มีฤดูฝนอันยาวนานจนกล่าวได้ว่ามีฝนกระจายตลอดทั้งปี แต่ระยะที่มีฝนหนักจริงๆ จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมต่อกันไปจนถึงเดือนตุลาคม สิ้นเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคมปริมาณฝนจะลดลงสำหรับฤดูร้อนจะปรากฏเป็นช่วงสั้น ๆ ในเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นระยะการเปลี่ยนแปลงฤดูมรสุม จากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนช่วงการเปลี่ยนแปลงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เป็นมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในเดือนตุลาคมนั้นทำให้สภาพภูมิอากาศของพื้นที่แตกต่างกันไปบ้างแต่ไม่เด่นชัดนัก

พืชพรรณและสัตว์ป่า
ลักษณะพันธุ์พืชตามธรรมชาติประกอบด้วย ป่าดงดิบ ซึ่งลักษณะโดยทั่วไปเป็นป่ารกทึบทั้งในเรือนยอดไม้ใหญ่และพืชพื้นล่าง พบกระจายอยู่ตามเกาะต่างๆ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนหิน ตะเคียนทราย ยาง สาวดำ ตะแบก ไฉน มะม่วงป่า พะยอม ศรีตรัง แคฝอย อินทนิล กระโดน ส้มเสี้ยว ฯลฯ และพืชพื้นล่าง เช่น หวาย เฟิน มอส ขิง ข่า ไผ่ เป็นต้น ป่าชายหาด มีปรากฏเฉพาะหาดทรายที่เป็นที่ราบตามอ่าวของเกาะต่างๆ ซึ่งมีอยู่ไม่กว้างนัก สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าโปร่ง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สนทะเล กระทิง ปอทะเล โพทะเล หูกวาง กาหยี จิกเล พืชพื้นล่างเป็นพวกเตยทะเลหรือลำเจียก และ ป่าชายเลน พบขึ้นอยู่ในดินเลนบริเวณริมทะเลและตามปากคลอง ซึ่งน้ำทะเลท่วมถึง พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก โปรง ตะบูน ถั่วดำ ถั่วขาว ฯลฯ

เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา มีสภาพเป็นเกาะที่มีขนาดเล็ก ความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์จึงมีไม่มาก สามารถจำแนกออกได้เป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ พะยูน นางอายหรือลิงลม ค่างแว่นถิ่นใต้ กระจง หมูป่า อีเห็น พญากระรอก และค้างคาวชนิดต่างๆฯลฯ นก ประกอบด้วย นกยางทะเล นกออก เหยี่ยวแดง เหยี่ยวรุ้ง นกชาปีไหน นกเงือกกรามช้าง นกแก๊ก นกกาฮัง นกกะเต็น นกขมิ้นน้อย นกเขียวคราม นกแอ่นกินรัง นกแอ่นหางสี่เหลี่ยม นกนางแอ่นแปซิฟิก ฯลฯ สัตว์เลื้อยคลาน ประกอบด้วย งูเหลือม และตะกวด ฯลฯ นอกจากนี้ในบริเวณเกาะต่างๆ เหล่านี้ยังมีแนวปะการังใต้น้ำที่สวยงามและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเล ที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ ปักเป้าทะเล ปลากระทงแดง ปลาไหลทะเล ปลากระบอก ปลากะพง ปลาจะละเม็ดดำ ปลาอินทรี ปลาโอ ปลาสินสมุทร ปลานกแก้ว ปลาสาก ปลาสิงโต ปลาโนรี ปลาผีเสื้อ ม้าน้ำ กุ้ง ปู หอย ปลิงทะเล และดาวทะเล เป็นต้น

แหล่งท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา อยู่ในท้องที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง และอำเภอทุ่งหว้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอินเดียบริเวณช่องแคบมะละกา ทางฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ประกอบด้วยเกาะสำคัญ คือ เกาะเภตรา เกาะเขาใหญ่ และเกาะบริวารต่างๆ แต่ละเกาะมีหาดทรายขาวสะอาด มีถ้ำที่สวยงาม บางเกาะเป็นที่วางไข่ของเต่าทะเล และภายใต้ท้องทะเลมีปะการังที่สวยงามมากมาย มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่

 เกาะลิดี
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 5 กิโลเมตร และห่างจากท่าเรือปากบารา 7 กิโลเมตร มีหน้าผาและถ้ำ เป็นที่อาศัยของนกนางแอ่น เกาะลิดีมีเนื้อที่ประมาณ 2 ตารางกิโลเมตร มีหาดทรายขาวและมีเวิ้งอ่าวยื่นเข้าไปในตัวเกาะ ความลึก 3-5 เมตร เหมาะสำหรับเล่นน้ำทะเล เป็นมุมสงบที่น่าพักผ่อนของเกาะลิดี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภต.2 (เกาะลิดี)

 เกาะเขาใหญ่
เกาะเขาใหญ่เป็นปฏิมากรรมของธรรมชาติที่คล้ายกับปราสาทหิน มีสะพานธรรมชาติยื่นโค้งเข้าไปในทะเล เมื่อน้ำลดสามารถพายเรือลอดเข้าไปได้ บนเกาะมีอ่าว ชื่อ อ่าวก้ามปู ภายในอ่าวมีน้ำตกไหลมาเป็นลำธารเล็กๆ เป็นอ่าวที่สงบปราศจากคลื่นลมตลอดปีเวลาน้ำลดระดับต่ำสุด แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลจะปรากฎให้เห็นตลอดแนวชายฝั่ง นอกจากนี้บริเวณอ่าวก้ามปูจะมีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่อีกด้วย

 หมู่เกาะบุโหลน
หมู่เกาะบุโหลน ประกอบไปด้วย เกาะบุโหลนใหญ่ เกาะบุโหลนขี้นก เกาะบุโหลนไม้ไผ่ เกาะตุกนแพ เกาะละมะ และเกาะตุงกู มีเกาะบุโหลนใหญ่ หรือเกาะบุโหลนเล มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ห่างจากท่าเรือปากบารา ประมาณ 22 กิโลเมตร เป็นเกาะที่มีหาดทรายขาว น้ำใส สามารถมองเห็นปะการังใต้น้ำ

เกาะเหลาเหลียง
อยู่ในท้องที่อำเภอปะเหลียน ห่างจากแหลมตะเสะ จังหวัดตรัง ประมาณ 18 กิโลเมตร สามารถลงเรือได้จากอำเภอปะเหลียนหรือที่อำเภอกันตังก็ได้ทั้งสองทาง ใช้เวลาเดินทางโดยเรือประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที หาดทรายของเกาะหันหน้าสู่ด้านตะวันออก ตามหน้าหาดจะมีปะการังน้ำตื้นบางส่วนโผล่พ้นน้ำขึ้นมาอวดความงามยามเมื่อน้ำลง ด้วยเหตุที่เกาะเหล่านี้อยู่ใกล้ปากอ่าวจึงได้รับอิทธิพลของตะกอนจากปากน้ำกันตังและปะเหลียน ทำให้น้ำทะเลไม่ใสนัก ไม่เหมาะสำหรับการดำน้ำ คงมีแต่เพียงการเดินเล่นชายหาด ถ่ายรูป ชมปะการังน้ำตื้น

หาดราไวย์
เป็นชายหาดซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหมู่ที่ 2 และ 4 ตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ห่างจากที่ทำการอำเภอทุ่งหว้า 26 กิโลเมตร ไปตามถนนสายละงู-ทุ่งหว้า แยกตรงบ้านวังตง ตามชายหาดเป็นแนวต้นสน เหมาะสำหรับเป็นที่ตั้งแค็มป์พักแรม

เกาะเภตรา
อยู่ทางทิศใต้ของแหลมตะเสะ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที ระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร อยู่ในเขตจังหวัดสตูล เป็นที่อาศัยของนกนางแอ่น เป็นเขตสัมปทานเก็บรังนก

ทางเดินศึกษาธรรมชาติ
ทางเดินศึกษาธรรมชาติ ประกอบด้วย
• ทางเดินป่า จำนวน 2 เส้นได้แก่ ทางเดินป่าอ่าวลำพู-จุดชมวิวแหลมหว้าหิน ระยะทาง 400 เมตร และทางเดินป่าอ่าวลำพู–อ่าวมะพร้าว ระยะทาง 600 เมตร
• ทางเดินศึกษาธรรมชาติ จำนวน 2 เส้น ได้แก่ เส้นทางจุดชมวิวผากล้วยไม้ อยู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ–จุดชมวิวแหลมหินคน ระยะทาง 570 เมตรและเส้นทางศึกษาธรรมชาติจุดชมวิวเขาโต้ะหงาย อยู่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ–หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ เขาโต๊ะหงาย ระยะทาง 200 เมตร
• เส้นทางดำน้ำตื้น จำนวน 3 เส้น ได้แก่ เส้นทางดำน้ำบุโหลนไม้ไผ่ อยู่ที่เกาะบุโหลนไม้ไผ่ ระยะทาง 22 กิโลเมตร เส้นทางดำน้ำหินขาว อยู่ที่เกาะลูกหิน ระยะทาง 26 กิโลเมตร และเส้นทางดำน้ำเกาะเภตรา ที่เกาะเภตรา ระยะทาง 29 กิโลเมตร

อ่าวนุ่น
อ่าวนุ่น อยู่ห่างจากอำเภอละงูประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นเวิ้งอ่าวธรรมชาติที่น่าท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว บ้านพัก ศาลาอเนกประสงค์สำหรับใช้ในกิจกรรมต่างๆ นอกจากนี้ยังมีสะพานไม้เลียบเชิงเขาเพื่อไปชมธรรมชาติ และเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะทาง 400 เมตร เพื่อชมสภาพธรรมชาติ

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
298 หมู่ 4 บ้านตะโละใส ต.ปากน้ำ อ. ละงู จ. สตูล 91110
โทรศัพท์ 0 7478 3074, 0 7478 3504 โทรสาร 0 7478 3504 

การเดินทาง
รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร จากนั้นใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ผ่านเข้าจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง จากพัทลุงไปอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ให้ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 406 ถึงจังหวัดสตูล

จากจังหวัดสตูลใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 416 (สตูล-ตรัง) ถึงอำเภอละงูเลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4052 (ละงู-ปากบารา) ประมาณ 12 กิโลเมตร จะถึงท่าเรือปากบารา ที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติอยู่ก่อนถึงท่าเรือปากบาราประมาณ 3 กิโลเมตรโดยห่างจากตัวอำเภอละงู จังหวัดสตูล 7 กิโลเมตร

เครื่องบิน
ไม่มีเที่ยวบินตรงไปจังหวัดสตูล แต่สามารถใช้บริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ–หาดใหญ่ แล้วต่อรถแท็กซี่หรือรถโดยสารประจำทางจากตัวอำเภอหาดใหญ่ ไปท่าเรือปากบารา

รถไฟ
สามารถเดินทางไปกับขบวนรถกรุงเทพฯ–ยะลา หรือกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ ได้ โดยลงที่สถานีหาดใหญ่ จากนั้นนั่งรถแท็กซี่ รถจอดที่ใต้สะพานลอย หน้าที่ทำการไปรษณีย์ สาขารัถการ หรือรถตู้โดยสารประจำทางจังหวัดสตูล ระยะทาง 97 กิโลเมตร รถจอดที่บ้านพักรถไฟ มีบริการทุกวัน และรถจะออกทุกๆ 1 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น.-16.00 น.หรือรถโดยสารธรรมดา หาดใหญ่-ปากบารา-สตูล รถจอดที่หอนาฬิกาหาดใหญ่ มีบริการทุกวัน วันละ 3 เที่ยว เริ่มตั้งแต่ 07.00 น. และ 15.00 น.

รถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดสตูล เดินทางโดยรถยนต์โดยสารปรับอากาศ และรถโดยสารประจำทางเส้นตรัง-สตูล ถึงอำเภอละงูขึ้นรถสองแถวมายังท่าเทียบเรือปากบารา

ที่พักแรม/บ้านพัก
อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมบ้านพักไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว
บริเวณนุ่น ที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ จำนวน 5 หลัง

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
มีพื้นที่กางเต็นท์ พร้อมห้องน้ำ-ห้องสุขารวม สำหรับรองรับนักท่องเที่ยว 2 แห่ง
บริเวณอ่าวนุ่น ที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ขนาดประมาณ 50 ตารางเมตร
บริเวณเกาะลิดี ที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ภต.2 (เกาะกุฎี) ขนาดประมาณ 1,500 ตารางเมตร

บริการอาหาร
มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว
บริเวณอ่าวนุ่น ที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

ท่าเรือ/ท่าเทียบเรือ
อุทยานแห่งชาติมีท่าเรือไว้บริการนักท่องเที่ยว 2 แห่ง คือ
บริเวณอ่าวนุ่น ที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
บริเวณเกาะกุฎี ที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ภต.2 (เกาะกุฎี)

ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก http://www.laoliangisland.com
ต้องการเที่ยวเกาะแห่งนี้ติดต่อได้ที่เว็บไซต์นี้เลยครับ
ความเป็นมา เกาะเหลาเหลียง

ตั้งแต่โบราณมาได้มีนิทานพื้นบ้านเล่าถึงประวัติความเป็นมาของชื่อเกาะเหลาเหลียง
ว่าได้มีเรือซึ่งพ่วงติดกันมา 2 ลำ มีชื่อว่า เหลาเหลียงพี่ และ เหลาเหลียงน้อง
เดินทางรอนแรมค้าขายมาจากทางประเทศจีน
วันหนึ่งเมื่อเดินทางมาถึงบริเวณเกาะแห่งหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า เกาะเภตรา ก็ได้เกิดอาเภทให้มีคลื่นขนาดยักษ์ ด้วยความไม่รู้ของคนในเรือจึงเผลอกล่าวสบสวาจาขึ้น เหตุนั้นเองทำให้พระเจ้าไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงลงโทษ โดยการสาบเรือทั้งสองลำนั้นให้กลายเป็นหิน จึงเกิดเป็นตำนานความเชื่อของชาวเลว่า
เวลาออกทะเลห้ามมิให้กล่าวทักถึงปรากฎการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างผิดปกติเพราะมัน
อาจนำภัยพิบัติมาถึงตัวได้ อุปมาดังคำโบราณว่า เข้าป่าอย่ากล่าวถึงเสือ

 

เหลาเหลียง หรือ หลาวเหลียง หรือ เหล่าเหลียง ตั้งอยู่ในตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง เป็นหนึ่งในหมู่เกาะเภตรา ซึ่งเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงามของภูเขาหินปูนตามธรรมชาติสูงเสียดฟ้า หมู่เกาะเภตรา ประกอบไปด้วยเกาะเภตรา เกาะเหลาเหลียง (หรือเกาะหลาวเหลียง) เกาะทะลุ เกาะตาใบ เกาะตะลุ้ยน้อย เกาะตะลุ้ยใหญ่ และเกาะตะเกียง หมู่เกาะดังกล่าวอยู่ในเขตสัมปทานรังนกอีแอ่น จังหวัดตรัง ทำให้หมู่เกาะเภตรา กลายเป็นพื้นที่ปิดมานานนับสิบปี สภาพของธรรมชาติบนเกาะและในทะเล จึงยังคงความสมบูรณ์สวยงามเป็นธรรมชาติ ทั้งหาดทรายขาว น้ำทะเลใส ความอุดมสมบูรณ์ของปะการังอ่อน และปะการังแข็ง กัลปังหา ปลาทะเลสวยงามและสิ่งมีชีวิตใต้น้ำมากมาย รอการมาสัมผัสจากนักท่องเที่ยวที่รักธรรมชาติ เกาะเหลาเหลียง ประกอบไปด้วยเกาะสองเกาะ คือ เหลาเหลียงน้อง (เหนือ) และ เหลาเหลียงพี่ (ใต้)


 

 

 
กาะเหลาเหลียงน้อง

เกาะเหลาเหลียงน้องหรือเกาะหลาวเหลียงน้องเป็นเกาะขนาดเล็กในทะเลอันดามัน ห่างจากท่าเรือหาดยาวในจังหวัดตรัง ประมาณ 22 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง โดยเรือเร็ว ประมาณ 35-40 นาที และโดยเรือทัวร์ประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที เหลาเหลียงน้องมีลักษณะเป็นภูเขาหินปูน มีหน้าผาสูงกว่าร้อยเมตรโดยรอบ ซึ่งเหมาะสำหรับกีฬาปีนหน้าผา และเป็นกำบังภัยธรรมชาติอย่างดี มีหาดทรายขาวสะอาดและน้ำทะเลใสบริสุทธิ์ รวมไปถึงแนวปะการังที่สวยงามสมบูรณ์ทอดตัวอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ที่เหลาเหลียงน้องนั้น ใต้น้ำเต็มไปด้วยกอดอกไม้ทะเลและฝูงปลาการ์ตูนหลากพันธ์และปลาสวยงามอื่นๆ มีปะการังอ่อนเจ็ดสีที่ขึ้นชื่อของจังหวัดตรัง มีกัลปังหาหลากสีที่ยังสมบูรณ์และหาดูได้ยาก เหมาะอย่างยิ่งสำหรับดำน้ำตื้นด้วยท่อหายใจ

บนเหลาเหลียงน้องนี้เองที่ทางเรา X-site จะพาท่านไปสัมผัสธรรมชาติกับที่พักแบบ Sea Camping ซึ่งเป็นเต็นท์ขนาดใหญ่ (3x5x2.2m) ภายในแบ่งเป็นสองห้อง ห้องนอนด้านในเตรียมใว้ให้คุณพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่นเตียง หมอน ผ้าห่ม พัดลมไฟฟ้า และโคมไฟหัวเตียง ส่วนห้องนั่งเล่นด้านนอกเอาให้คุณรับแขก หรือนั่งพักผ่อนบนหมอนสามเหลี่ยมชมความสวยงามของธรรมชาติริมทะเลผ่านหน้าต่างรอบด้านกับคนที่รู้ใจของคุณ

บนเหลาเหลียงน้องเรายังได้จัดเตรียมกิจกรรมต่างๆ ให้คุณได้สนุกสนานกับเพื่อนๆ และคนรู้ใจ เช่น พายเรือคายัครอบเกาะเหลาเหลียง ลอดอุโมงค์ทะเลเวลาน้ำลง เที่ยวชมเกาะด้วยเส้นทางเดินเท้าไต่หน้าผา ชมทะเลจากมุมสูง ดำน้ำ ทั้งแบบ Skin และ Scuba ปีนผาและโรยตัวด้วยอุปกรณ์มาตรฐาน ตกปลายามเย็น ดูปูแม่ไก่ตอนหัวค่ำ และที่พลาดไม่ได้คือชมถ้ำรังนกซึ่งจะมองเห็นได้เฉพาะในเวลาน้ำลดเท่านั้น

 


 

เกาะเหลาเหลียงพี่

เกาะเหลาเหลียงพี่หรือเกาะหลาวเหลียงพี่ ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของเกาะเหลาเหลียงน้อง ระยะห่างประมาณ 300 เมตร เหลาเหลียงพี่เป็นเกาะที่มีชายหาดทรายขาวที่สวยงามมากแห่งหนึ่ง เพียง 5 นาทีจากเหลาเหลียงน้องท่านก็จะพบกับหาดทรายขาวสะอาด ฝูงปลาสวยงามหลากชนิดและปะการังที่ยังอุดมสมบูรณ์ บนเหลาเหลียงพี่นี้จะมีชาวประมงมาอาศัยชั่วคราวอยู่มากกว่า 70 หลังคาเรือน โดยชาวประมงจะใช้เกาะเหลาเหลียงพี่เป็นที่พักชั่วคราวสำหรับหลบลมและพักอาศัยเวลาออกทะเลหาปลาหาปู ซึ่งพร้อมให้ท่านเลือดซื้อปู้ม้าสดๆที่หาไม่ได้จากในเมือง บริเวณเกาะเหลาเหลาเหลียงพี่เป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นทั้งสองเหลาเหลียง คือเกาะเหลาเหลียงพี่ตระหง่านเคียงคู่กับเกาะเหลาเหลียงน้อง
 

ระหว่างเหลาเหลียงพี่และเหลาเหลียงน้องจะเป็นร่องน้ำ ซึ่งที่หัวเกาะเหลาเหลียงพี่นี่เองจะเป็นที่อยู่ของปะการังอ่อนเจ็ดสี ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วปะการังอ่อนนั้นจะขึ้นอยู่เฉพาะที่ระดับน้ำลึกและเชี่ยว แต่ธรรมชาติที่นี่จะมีความพิเศษกว่าที่อื่นตรงที่ ปะการังอ่อนเหล่านี้จะอาศัยอยู่ที่ระดับความลึกไม่มาก เมื่อบวกกับจังหวะน้ำขึ้น-ลงที่เหมาะสมจะเป็นโอกาส ให้ท่านได้ชมปะการังอ่อนเจ็ดสีเหล่านี้โดยอาศัยเพียงแค่หน้ากากและท่อหายใจเท่านั้น แม้แต่คนที่ว่ายน้ำไม่เป็น เราก็มีไกด์คอยดูแลและชูชีพมาตรฐานให้สวมใส่ก็สามารถเพลิดเพลินไปกับความสวยงามของธรรมชาติที่เหลาเหลียงนี้ได้

 

 

 
เกาะตะเกียง

เกาะตะเกียง เป็นเกาะเล็กๆในหมู่เกาะเภตราที่มีความสวยงามตามธรรมชาติเป็นอย่างยิ่ง มีหาดทรายขาวยาวประมาณ 100 เมตร มีแนวปะการังแข็ง ที่สวยงามทั้งยังค่อนข้างสมบูรณ์ อาทิ เช่น ปะการังเขากวาง ปะการังก้อน ปะการังโต๊ะ ซึ่งเป็นที่หลบภัยของปลาสวยงามหลากชนิด น้ำทะเลในบริเวณนี้จะใสมากเพราะตัวเกาะอยู่ห่างจากฝั่งกว่าเกาะอื่นๆ บวกกับฝูงปลาสวยงามมากมายทำให้เกาะตะเกียง เป็นจุดสำหรับการดำน้ำดูปะการังแบบ Snorkeling ที่ดีที่สุดในท้องทะเลตรัง ที่ตั้งของเกาะตะเกียงห่างจากเกาะเหลาเหลียงน้องหรือเกาะหลาวเหลียงน้องประมาณ 4 กิโลเมตรไปทางด้านทิศตะวันตก ใช้เวลาเดินทางโดยเรือพาดหางหรือเรือทัวร์ประมาณ 15-20 นาทีเท่านั้น ถ้าท่านมาเที่ยวเกาะเหลาเหลียงแล้ว ก็ไม่ควรพลาดที่จะแวะมาที่เกาะตะเกียงแห่งนี้ สำหรับลูกค้าทุกท่านที่ซื้อแพคเกจทัวร์ของเกาะเหลาเหลียง เราจะพาท่านไปเยี่ยมเยือนที่เกาะตะเกียงนี้ด้วย

 
Sea Camping (Gallery เต็นท์)


เป็นที่พักแนวใหม่ที่ผสานการอยู่ร่วมกับธรรมชาติโดยไม่ละทิ้ง
ความสะดวกสบายภายในเต็นท์ขนาดใหญ่ 10 คนนอน (3 x 5 x 2.2 เมตร) ที่ถูกออกแบบใหม่ เพื่อให้นอนเพียงสองท่าน
เท่านั้น มีการแบ่งสัดส่วนเป็นสองห้อง
ในห้องนอนเตรียมพร้อมด้วยที่นอนหนานุ่มอย่างดี หมอน ผ้าห่ม ตกแต่ง
อย่างสวยงาม และมีห้องนั่งเล่น พร้อมหมอนอิงและโต๊ะญี่ปุ่น อีกทั้งยังบริการด้วยพัดลมไฟฟ้า 24 ชม. ให้ท่านได้สัมผัสกับความงามของ
ธรรมชาติโดยไม่ต้องแลกมา ซึ่งความลำบาก ให้คุณนอนมองทะเลเขียวใส ผ่านหน้าต่างห้าบาน และเพียงเปิดเต็นท์ คุณก็จะสัมผัสความงาม ของชายหาดและน้ำทะเลใสที่พร้อมให้คุณ แหวกว่ายดำน้ำ ดูปะการังอ่อน
เจ็ดสี
ได้ทันที
 

 

ดำน้

ดำน้ำนับเป็นกีฬาทางทะเลที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็น ดำน้ำลึก หรือดำน้ำตื้น เกาะเหลาเหลียง ซึ่งอยู่ในหมู่เกาะเภตราท้องทะเลตรัง แห่งทะเลอันดามันใต้ก็มีมนเสน่ห์ในตัวของมันเอง ลองมาสัมผัสกับแหล่งดำน้ำแห่งใหม่ ที่ยังไม่ถูกค้นพบหรือบรรจุอยู่ในคู่มือดำน้ำเล่มไหนๆ ไม่เคยมีนักดำน้ำท่านใดได้สัมผัสธรรมชาตินี้มาก่อนเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ธรรมชาติที่สวยงามสร้างตัวเป็นเวลานาน โดยไม่ถูกรบกวน จากนักท่องเที่ยวนับพันจึงยังคงความสวยงามไว้ได้อย่างสมบูรณ์เพื่อรอการมาเยือนของท่าน

 

 
ดำน้ำตื้น

ดำน้ำตื้นที่เกาะเหลาเหลียง มีลักษณะเด่นที่ไม่เหมือนที่อื่นคือ ปะการังอ่อนเจ็ดสี ที่ขึ้นชื่อของทะเลตรัง ความสวยงามที่ปกติถูกสงวนไว้ให้เฉพาะคนที่ดำน้ำลึกแบบใช้ถังอากาศเท่านั้น ก็รอให้ท่านเพลิดเพลินได้ที่น้ำตื้นเพียงแค่สองถึงสามเมตร และไม่เพียงปะการังอ่อนเท่านั้น ปะการังแข็งเช่นเขากวาง ดอกไม้ทะเล ฝูงปลาสวยงามและสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลหลากหลายไม่ว่าจะเป็น ปลาไหลมอเรย์ตัวเล็กตัวใหญ่ ทากเปลือยหลากสี ปลาปักเป้าหนามทุเรียนตัวยาวเกือบเมตร ปลาการ์ตูนขนาดเกือบสามนิ้ว ปลาเก๋า ปลากะมง กุ้งมังกร ปูทะเล ธรรมชาติเหล่านี้ กำลังรอคอยให้ท่านมาสัมผัสและเรียนรู้มัน เพื่อจะเข้าใจในเหตุผลว่า ทำไมเราจึงควรเที่ยวอย่างอนุรักษ์ และดูแลเก็บสิ่งสวยงามเหล่านี้ให้ลูกหลานดู

 
จุดดำน้ำ เกาะเหลาเหลียงน้อง  
  เกาะเหลาเหลียงพี่  
  เกาะตะเกียง  
    คลิกเพื่อชมรูปใน Gallery

 




 
ดำน้ำลึก

ดำน้ำลึกที่เกาะเหลาเหลียง นับเป็นการพักผ่อนที่น่าประทับใจ ในระดับความลึกไม่เกิน 15 เมตร ท่านก็สามารถเพลิดเพลินกับปะการังอ่อนเจ็ดสี ถ้ำน้ำหลากหลาย กัลปังหา ฝูงปลาสาก ปลาปักเป้าหลากชนิด ปลาไหลมอเรย์ ปลากะมงทั้งฝูงและโทน ปลากระเบนจุดฟ้า Bat Fish ทากเปลือยต่างๆ ปลาหิน กุ้งมังกร ฝูงปลาสิงโต ปลาเก๋า ประกระพง ปูแต่งตัว หอยมือเสือ และในบางครั้งท่านอาจได้พบกับ ม้าน้ำ เต่าทะเลหรือแม้กระทั่งปลานกแก้วหัวโหนกและสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลอื่นๆอีกมากมาย


 
จุดดำน้ำ เกาะเหลาเหลียงน้อง  
  เกาะเหลาเหลียงพี่  
  หินแดง-หินม่วง  

 



Discover SCUBA
สำหรับท่านที่เคยแต่ดำน้ำตื้น บนเกาะเรามีหลักสูตร Discover Scuba ให้ท่าน ได้ทดลองเรียนดำน้ำลึก โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูงๆ โดยท่านจะเรียนการใช้อุปกรณ์ดำน้ำ และทดลองดำน้ำจริงคู่ไปกับครูผู้ฝึกสอนในระดับความลึกสองสามเมตร ท่านจะได้เปิดมุมมองใหม่ ได้ชมดูปะการังน้ำตื้นอย่างใกล้ชิดที่ท้องน้ำโดยไม่ต้องกลั้นหายใจดำขึ้นดำลง เวลากว่าชั่วโมงที่ใต้ผิวน้ำ กับธรรมชาติที่สวยงาม ในระยะประชิดอาจทำให้ท่านประทับใจไม่รู้ลืม
>> อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


Open Water Diver Course
หลักสูตรเบื้องต้นที่จะพาคุณไปสู่การเป็นนักดำน้ำแบบ Scuba Diving ที่ได้รับรองจากสถาบัน PADI ซึ่งเป็นที่ยอมรับและเป็นกุญแจพาคุณไปดำน้ำได้ทั่วโลก พบกับประสบการณ์ใหม่กับธรรมชาติใต้ท้องทะเล ภายใต้การฝึกสอนที่มีความปลอดภัยของทีมงานจากสถาบัน PADI และพบกับเพื่อนใหม่ๆ ที่รักการผจญภัยใต้ทะเลร่วมกัน

 
  คลิกเพื่อชมรูปใน Gallery

 


 

พายเรือคายัค

สำหรับท่านที่ชื่นชอบการพายคายัค ต้องไม่พลาดที่จะเพลิดเพลินกับกิจกรรมพายเรือคายัค บริเวณรอบๆ เกาะเหลาเหลียงพี่ และเกาะเหลาเหลียงน้อง เกาะทั้งสองอยู่ห่างกันในระยะที่พอดีๆ รอให้ท่านมาออกแรงยามเช้าบนผืนน้ำทะเลใสใต้ท้องฟ้าสีคราม

นอกจากออกกำลังกายแล้ว การพายคายัคยังทำให้ท่านได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ท่านสามารถที่จะเดินทาง โดยคายัค ด้วยตนเอง ไปยังจุดดำน้ำดูปะการังใกล้ๆ หรือถ้าต้องการท้าทายตัวเอง เส้นทางจากเกาะเหลาเหลียงน้องไปกลับเกาะตะเกียงกว่า 8 กิโลเมตร ก็รอให้ท่านมาพิสูจน์ จะพายกันเป็นครอบครัว หรือพายเดี่ยวๆก็สนุกไม่แพ้กัน สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยพายเรือคายัคทางเราม ีStaff ที่จะช่วยสอนการพายเรือคายัค และช่วยท่านพายเรือนำเที่ยวรอบเกาะเหลาเหลียงได้อย่างปลอดภัย

 
  คลิกเพื่อชมรูปใน Gallery

 




 

ปีนผา

สำหรับท่านที่ชอบความท้าทายในที่สูงๆ เชิญสนุกสนานและตื่นเต้นกับกีฬาการปีนหน้าผา ซึ่งในปัจจุบัน ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกาะเหลาเหลียงน้อง

เนื่องจากมีลักษณะเป็นภูผาหินปูนที่มีความสวยงามไม่แพ้หาดไร่เลย์จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นแหล่งปีนผา ที่มีชื่อเสียงติด 1 ใน 10 ของโลก ขณะเดียวกัน ก็จะได้บรรยากาศ อันเป็นธรรมชาติ และความเป็นส่วนตัว โดยจะมีทั้งการ ทดลองปีนผาซึ่งได้รวมอยู่ในแพ็คเกจแล้ว สำหรับผู้ที่สนใจก็สามารถเรียนปีนหน้าผาในเส้นทางง่ายๆโดยการดูแลอย่างใกล้ชิดจากครูผู้ฝึกสอน สำหรับมืออาชีพเรามีเส้นทางให้เลือกมากกว่า 50 เส้นทาง ตั้งแต่ระดับ 4c-7c+ รอคุณมาพิชิต โดยจุดปีนผานั้น จะกระจายอยู่ รอบเกาะ เหลาเหลียงน้อง ซึ่งแต่ละเส้นทางได้รับการบุกเบิกจากนักปีนผาระดับโลกซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับที่ได้บุกเบิกเส้นทางที่ ไร่เลย์

Disvover Rock Climbing
หากเพื่อนๆคนใดสนใจในกีฬาปีนผาก็สามารถที่จะเรียนรู้ถึง เทคนิคในการปีนผา วิธีการใช้อุปกรณ์ และการบีเลย์ เพื่อสามารถปีนผากับบัดดี้ของคุณได้อย่างปลอดภัย โดยโปรแกรมนี้จะอยู่ภายใต้การดูแลของครูผู้สอนอย่างใกล้ชิด

 
  คลิกเพื่อชมรูปใน Gallery

 




 

ตกปลา

เกาะเหลาเหลียงเป็นแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยปลานานาชนิดดังนั้นท่านสามารถที่จะตกปลาเล็กๆ เช่นปลาเก๋า ปลาตะมะ ปลากะพง ได้บริเวณหน้าหาด หรือถ้าต้องการ ปลากะมง ปลาน้ำดอกไม้ ปลาสาก ก็สามารถนั่งเรือออกไปตกรอบๆเกาะเหลาเหลียงได้

 
  คลิกเพื่อชมรูปใน Gallery


 




 

 
ดูปูแม่ไก่

ปูแม่ไก่หรือปูไก่เป็นสัตว์อนุรักษ์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ปูแม่ไก่เป็นปูภูเขาในตอนกลางวันจะใช้ชีวิตอยู่บนภูเขาหรือหน้าผาที่สูงชัน พอพลบค่ำปูแม่ไก่จะลงมาหากินบริเวณริมหน้ผาท่านสามารถที่จะใช้ไฟฉายส่องดูได้ ปัจจุบันสามารถพบได้เพียงไม่กี่เกาะในประเทศไทย

สาเหตุที่เรียกว่าปูแม่ไก่เพราะว่าขนาดของตัวที่ใหญ่ และในตอนรุ่งเช้าท่านก็สามารถที่ได้ยินเสียงร้องมันดัง " จิ๊บ จิ๊บ" จึงเป็นที่มาของชื่อปูไก่หรือปูแม่ไก่

 
  คลิกเพื่อชมรูปใน Gallery

 




 
ระบำไฟ

ทาง"เอ็กซ์ไซท์ จัดกิจกรรม"ระบำไฟ"ที่สวยงามและหวาดเสียวไม่แพ้กัน โดยมีการเล่น"กระบองไฟ โซ่ไฟ และ"ห่วงไฟ โดยน้องๆสต๊าฟบนเกาะ ถึงไม่ใช่มืออาชีพ แต่ประทับใจนักท่องเที่ยวทุกท่านอย่างแน่นอน

 
  คลิกเพื่อชมรูปใน Gallery


 




 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
Mu Ko Phetra National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
Mu Ko Phetra National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
Mu Ko Phetra National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
Mu Ko Phetra National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
Mu Ko Phetra National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
Mu Ko Phetra National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
Mu Ko Phetra National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
Mu Ko Phetra National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
Mu Ko Phetra National Park
หมู่เกาะบุโหลน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
Mu Ko Phetra National Park
หาดราไวย์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
Mu Ko Phetra National Park
เกาะลิดี
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
Mu Ko Phetra National Park
เกาะเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
Mu Ko Phetra National Park
เกาะเหลาเหลียง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
Mu Ko Phetra National Park
 
แผนที่จังหวัดอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา/map of Mu Ko Phetra National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา

เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข

เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

 
สตูล/Information of SATUN

 

General Information
The park is situated on the Andaman sea coast in Satun and Trang provinces. It consists of an area of coastline and over 30 islands. The park has many diverse habitats including; open water, coral fringed islands, sandy beaches, forest covered islands to sheer rocky islands which rise steeply out of the sea. There are also a few patches of mangrove forest, beach forest and tropical forest. The islands within the park are small the largest being Khao Yai Island which is about 4.7 sq.km in area. The sea area of the park includes many important fishing grounds for this reason many of the islands act as temporary refuges for fishing boats during monsoon storms.

The park was established by royal decree on the 31st December 1984. The park covers a total area of 494.38 km2, of which 468.38 sq.km or 94.74% is open water. Mu Ko Phetra is the third protected area in Satun province and is the 14th Marine park in Thailand.

Topography
The topography of the park is dominated by Limestone rocks which were deposited in a shallow sea around 470 million years ago, during the Ordovician period. This rock unit was laid down over a very long period of time and as a result in places it is over 2,750m thick. Limestone rock is impermeable but is soluble in water. Thus over a long period of time water seepage through natural fissures results in the fissures enlarging to form a variety of structures and eventually caves. This process results in some fantastic landforms being observed at Phetra National Park.

Climate
Mu Ko Phetra National Park is located in the Tropic Zone with rather constant temperature and rainfall all year round. The rainy season, therefore, may seem quite lengthy but the months with most heavy rainfall are May through October. From the end of November until March, the rainfall will start to decrease, shifting into a short period of Summer from March to April which is also the period of transition for the Monsoon season (from Northeast Monsoon to Southwest Monsoon). As for the transition from the Southwest Monsoon to the Northeast Monsoon in October, although such transition can cause some variation in climate, no major differences can be detected.

Flora and Fauna
Types of vegetation on the Mu Ko Phetra National Park can be divided into 4 categories

Rain Forest scatters around the islands. Common vegetations found are Hopea ferrea , Ironwood and Kradon. Grounds covering plants found are fern, rattan, moss and ginger/galangal species

Open Forest found along the beach and common vegetations are Casuarina equisetifolia , Calophyllum inophyllum, Hibiscus tiliaceus , Thespesia populneoides, Terminolia catappa, Dialium cochinchinense and Barringtonia asiatica. Grounds covering plants found are Pandanus odoratissimus.

Mangrove Forest found in the muddy area by the sea and mouth of the canal. Common vegetations are Rhizophora mucronata (Red Mangroves) , Rhizophora apiculata, Brownlowia peltata , Xylocarpus moluccensis , Xylocarpus granatum, Bruguiera parciflora and Bruguiera cylindrica.

Aquatic life such as seaweeds and planktons can also be found.

Wildlife
Prominent birds found are Haliacetus leucogaster, Haliastur indus (Brahminy kite) and Spilornis cheela (Crested).

Common mammals in the area are Nycticebus coucang, Presbytis Cristata (Silvered langur), Trangulus javanicus, Sus Scrofa (wild pig) and bats.

Reptiles found are Python reticulatus (Regal Python) and Varanus nebulosus (Indian Monitor) and etc.

Marine Life, The waters around the park are clear and thus support an abundant marine fauna. Most of the islands have coral reefs those found around the outer islands being especially diverse. Coral types commonly seen include Brain coral, Staghorn coral, Soft coral, Plate coral and Mushroom coral. The sea is also rich in economic marine species, and many fish, crabs, lobster and squid are caught from the waters surrounding the park.

 Lidi island
The total area of Lidi Island is 2 sq.km with cliffs and caves which are habitats for swallows. The area is suitable for swimming and is also quiet and tranquilizing. Tent area is also available on this island and is also the location for Ranger Station 2 (Ko Lidi).

Khao Yai Island
Khao Yai Island is essentially a sculptural work of nature, similar to rock castle which has a natural bridge protruding into the sea, whereby, during the low tide, boats can be rowed through. There is also a bay on this island called Kam Pu Bay with small falls and creeks. Kam Pu Bay is rather calm with no waves all year round and during the lowest tide, coral reefs and marine life will be very visible along the coastline. Moreover, sea turtles often come ashore and lay their eggs around Kam Pu Bay as well.

 Bulon archipelago
Bu Lon archipelago is situated 22kms from Pak Bara port on the coast of Satun province. The archipelago has many beautiful sandy beaches and clear water, this makes it a popular tourist spot, very good for snorkling. The water is very clear making the viewing of corals easy

 Ra Wai Beach
This is the most beautiful beach on the mainland of Satun province. The beach is located near Khon Klan village in Tung Wa district. It is about 26km from Tung Wa town on the road to Langu, with the turn off for the beach at Wangtong village.

The beach is of clean white sand and stretches for about 3.5 kms. Being so long it can be very peaceful here and it is therefore the ideal spot for a quiet picnic. To escape from the heat you can shelter under the shade provided by Casuarina trees which extend for the whole length of the beach.

Phetra Island
This island is the main island of a group and is situated in Trang province, almost 40 kms north of park headquaters. These islands can be reached by boat from Palian district, which is about 20kms away. The islands vary in size, with some being little more than rocks rising steeply out of the sea.

Phetra island is the biggest with the summit reaching 380m, this island is said to look like a boat when observed from the coast. The islands have good potential for visitors with coral reefs and small sandy beaches, but remain undisturbed due to their remoteness. Some of the islands have caves which contain nests of the edible nest swiftlet.

Two trekking routes:
• Ao Lam Phu- Wa Hin Observation Point route. Total distance of 400 meters
• Ao Lam Phu- Ao Ma Phrao route. Total distance of 600 meters

Two Nature Trails routes:
• Pha Kluai Mai Nature Trail – 570 meters from the National Park Headquarters to Laem Hin Khon Observation point.
• Khao To Ngai Nature Trail – 200 meters from the National Park Headquarters to Khao To Ngai Ranger Station .

Three shallow under water:
• Bulon Mai Phai under water (22 kilometres) – Ko Bu Lon Mai Phai
• Hin Khao under water (26 kilometres) – Ko Luk Hin
• Ko Phetra (29 kilometres) – Ko Phetra

Nun Bay
3km from Pak Bara port. It is located in a small bay which is locally called Nun Bay, the mouth of the bay is about 800m across. Located at the headquaters is a visitors centre, accomodation, rest houses, toilets, conference room, restaurant and an attractive boardwalk, which extends nearly to the mouth of the bay. A walk to the end of the boardwalk gives pictureesque views back across the bay towards the headquaters.

Contact Address
Mu Ko Phetra National Park
298, Mu 4, Ban Talo Sai, Paknam Sub-district, Amphur Langu Satun Thailand 91110
Tel. 0 7478 3074, 0 7478 3504 Fax 0 7478 3504 

How to go?
By Car
From Bangkok, take Highway No. 4 past Prachuap Khiri Khan and Chumphon then take Highway No. 41 to Nakhon Si Thammarat and Phatthalung. From Phatthalung, drive on to Rattaphum District, Songkhla then take Highway No. 4 and turn right to Highway No. 406. It is 973 kilometres from Bangkok.

By Airplane
There is no direct flight to Satun. The trip by air can be made via Hat Yai Airport then taking a taxi or public bus to Satun for 97 kilometres.

By Train
Visitors can take a Bangkok-Ya La or Bangkok-Hat Yai train and get off at the Hat Yai Train Station, then take a taxi from Ratthakan Post Office to Satun. It is 97 kilometres from Hat Yai to Satun. Vans and public buses are also available. Transportation from Hat Yai Train Station is operating daily, departing every hour starting from 6:00 a.m. – 4:00 p.m. Normal buses (Hat Yai –Pakbara–Satun route) from Hat Yai Clock Tower are also operating 3 times daily starting from 7:00 a.m. – 3:00 p.m.

By Bus
The distance from Bangkok to Satun is 980 kilometres. The cost for standard bus is 450 Baht and 580 Baht for air-conditioned bus.
The distance from Satun to Phetra Islands National Park is 60 kilometres. The cost for standard bus is 33 Baht and 50 Baht for taxis.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ
เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข
เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

สตูล แผนที่จังหวัดสตูล เกาะตะลุเตา
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอควนกาหลง


ถ้ำลอดปูยู

Tham Lod Puyu
(สตูล)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอทุ่งหว้า
 
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง



มัสยิดกลางจังหวัดสตูล
Central Mosque
(สตูล)

แผนที่จังหวัดสตูล/map of SATUN
โรงแรมจังหวัดสตูล/Hotel of SATUN

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์