ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดสตูล >อุทยานแห่งชาติทะเลบัน/Thale Ban National Park 

อุทยานแห่งชาติทะเลบัน/ Thale Ban National Park

 

อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
ข้อมูลทั่วไป
พื้นที่ป่าทางด้านทิศใต้ของจังหวัดสตูล บริเวณชายแดนของประเทศกับรัฐเปอร์ลิส ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย เป็นพื้นที่ป่าที่มีความสวยงามและอุดมสมบูรณ์ตลอดแนวชายแดนประกอบด้วยความแตกต่างของสภาพโครงสร้างทางภูมิศาสตร์ ชนิดของป่าและสัตว์ป่านานาชนิด มีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เล่าขานกันมาว่า พื้นที่ป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งเพาะปลูกและที่อยู่อาศัยของชาวบ้านวังประจัน บริเวณรอยต่อระหว่างเขามดแดง ซึ่งมีสภาพเป็นภูเขาหินปูนกับเขาจีนซึ่งมีสภาพเป็นภูเขาหินแกรนิตได้เกิดยุบตัวลงเกิดเป็นหนองน้ำจืดขนาดใหญ่ เรียกภาษาท้องถิ่นว่า “เลิดเรอบัน” และได้เพี้ยนเป็น“ทะเลบัน” ในเวลาต่อมา

ในปี 2519 นายอารีย์ วงศ์อารยะ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลในขณะนั้น ได้เล็งเห็นความสำคัญของพื้นที่ป่าบริเวณนี้จึงได้เสนอกรมป่าไม้ให้ดำเนินการสำรวจและจัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการสำรวจพื้นที่ป่าบริเวณหนองน้ำทะเลบัน และพื้นที่ป่าใกล้เคียงซึ่งมีความสวยงามและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากมาย เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารอีกด้วย เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติและได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าหัวกะหมิง ป่ากุปัง ป่าปุโล้ต ท้องที่ตำบลควนสตอ กิ่งอำเภอควนโดน และตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2523 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 97 ตอนที่ 165 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2523 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 20 ของประเทศโดยครอบคลุมพื้นที่ 101.68 ตารางกิโลเมตร

ต่อมาได้มีการสำรวจพื้นที่บริเวณรอยแยกต่อของป่ากุบัง-ปุโล้ต ในท้องที่ตำบลเกตรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ว่ายังมีพื้นที่ป่าที่มีความสวยงามและอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ไปจนถึงชายทะเลบริเวณตำบลปูยู อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เห็นสมควรประกาศผนวกเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่ง จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติประกาศพื้นที่ดังกล่าวรวมกับพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติทะเลบัน โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 127 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 ฉบับพิเศษ หน้า 37-39 พื้นที่ของอุทยานแห่งชาติทะเลบัน ในปัจจุบันจึงครอบคลุมพื้นที่ป่าหัวกะหมิง ป่ากุปัง ป่าปุโล้ต และป่าควนบ่อน้ำ ท้องที่ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน และตำบลเกตรี ตำบลบ้านควน ตำบลปูยู อำเภอเมือง จังหวัดสตูล รวมพื้นที่ 196 ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน ตั้งอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทยระหว่างเส้นรุ้งที่ 6 องศา 25 ลิบดา – 6 องศา 48 ลิบดา เหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศา 05 ลิบดา – 100 องศา 13 ลิบดา ตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้างทางทิศเหนือ ทิศตะวันออกจดอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ทิศใต้จดรัฐเปอร์ลิส ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย และทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย

พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติทะเลบันเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วย เขาวังช้าง เขาหินร้อง เขาวังพะเนียด เขาจีน เขามดแดง เขาหาบเคย เขากวงใหญ่ เขากวงเล็ก เขาวังหมู เขาวังกลวง เขากายัง เขากล่ำ เขาปูยู และเขาวังกูนอง มียอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ในเทือกเขาจีน สูงประมาณ 756 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เทือกเขาทางด้านอำเภอเมืองหรือด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติมีลักษณะเป็นเทือกเขาหินปูนในยุคออร์โดวิเชียน (500-435 ล้านปีมาแล้ว) หินดินดาน และหินควอร์ตไซต์ ซึ่งมีการกัดเซาะตามธรรมชาติจึงเกิดเป็นถ้ำขนาดใหญ่อยู่หลายแห่งเช่น ถ้ำโตนดิน ถ้ำผาเดี่ยว และถ้ำลอดปูยู เป็นต้น ส่วนทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอควนโดนจะเป็นหินแกรนิตในยุคครีเทเชียส (141-65 ล้านปีมาแล้ว) และหินแกรโนไดโอไรต์ นอกจากนี้อุทยานแห่งชาติทะเลบันยังได้รวมพื้นที่อีก 1 เกาะ ซึ่งติดแนวเขตประเทศ คือ เกาะปรัสมานา

เทือกเขาจีนเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่ประกอบด้วยลำธารย่อยๆ มากมายที่สำคัญคือ คลองกลางบ้าน คลองยาโรย คลองตูโย้ะ มีน้ำตกที่สวยงาม 2 แห่ง ได้แก่ น้ำตกยาโรย และน้ำตกโตนปลิว ส่วนทางด้านทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติบริเวณเขาบ่อน้ำมีคลองท่าส้ม และบริเวณแนวเขตของอุทยานแห่งชาติทางทิศตะวันตก เป็นลำธารน้ำกร่อยและน้ำเค็มในพื้นที่ป่าชายเลนตลอดแนวตะวันตก

ลักษณะภูมิอากาศ
จังหวัดสตูลได้รับอิทธิพลเต็มที่จากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย ในเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ในระยะที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อ่อนกำลังลงก็จะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนพัดเข้ามาแทนที่ แต่เนื่องจากจังหวัดสตูลอยู่ทางด้านตะวันตกของฝั่งทะเล จึงไม่ค่อยได้รับอิทธิพลมากนักจากมรสุมนี้ อย่างไรก็ตามในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ก็ยังมีฝนตกชุกอยู่หลังจากนี้ไปฝนจะเริ่มน้อยลงตามลำดับ ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมเป็นช่วงที่มีอากาศแห้งแล้ง เนื่องจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาแทนที่ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นในระยะนี้ โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 2,281 มิลลิเมตร ฝนจะตกมากที่สุดในเดือนกันยายน 378 มิลลิเมตร และตกน้อยที่สุดในเดือนมกราคม 7 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 28oC โดยอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน 39oC และต่ำสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 17oC ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 79 % ความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดเฉลี่ยจะเกิดในเดือนกันยายนและตุลาคมซึ่งสูงถึง 95% ส่วนความชื้นสัมพัทธ์ต่ำสุดเฉลี่ยจะเกิดขึ้นจะเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมีเพียง 48%

พืชพรรณและสัตว์ป่า
พืชพรรณของอุทยานแห่งชาติทะเลบัน สามารถจำแนกออกได้เป็น
ป่าดงดิบ เป็นป่าผืนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติทะเลบันประกอบด้วยป่าดิบชื้นในพื้นที่ต่ำและป่าดิบชื้นเชิงเขา มีพืชพันธุ์ไม้หลายชนิดขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น เช่น ยางปาย ยางแดง ตะเคียนทอง พะยอม ไข่เขียว กระบาก สยา มะคะ มะหาดรุม ทุ้งฟ้า มะม่วงป่า จวง แซะ เต่าร้าง หมากพน ไม้เถาและพืชชั้นล่างประกอบด้วย หวายเล็ก หวายกำพวน และเฟินแผง เป็นต้น

พื้นป่าดงดิบของอุทยานแห่งชาติทะเลบัน เป็นที่อยู่ของซาไกหรือเงาะป่า เจ้าของสมญา “ราชันย์แห่งพงไพร”เผ่าพันธุ์มนุษย์ซึ่งสัมผัสและรู้จักผืนป่าทุกตารางนิ้ว ชำนาญการใช้พื้นป่าในการดำรงชีวิตและรู้จักใช้ประโยชน์จากพืชในลักษณะของยารักษาโรค และอาหารเหนือเผ่าพันธุ์มนุษย์เผ่าใด ๆ การดำรงชีพจะอาศัยผลไม้พืชผักที่มีอยู่ในป่าเป็นอาหารไม่รู้จักการเพาะปลูก นิยมการล่าสัตว์โดยการใช้กระบอกตุดหรือบอเลาคู่กับลูกดอกอาบยางน่องหรือบิลา ชอบอาศัยอยู่ในป่าลึกมีอุปนิสัยชอบเร่ร่อนและรักสงบทำที่พักจากใบไม้ในป่าที่พักเรียกว่าทับ เมื่อใบไม้ที่มาทำทับเหี่ยวก็จะเร่ร่อนหาแหล่งที่อยู่ใหม่ต่อไป

ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทะเลบัน มีซาไกอยู่กลุ่มเดียวมีสมาชิกจำนวน 9 คน ปัจจุบันวิธีชีวิตของซาไกได้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเนื่องจากการได้สัมผัสกับสังคมของคนเมืองมากขึ้นและส่วนหนึ่งจากการดำรงชีวิตในป่าเริ่มฝืดเคืองขึ้น เนื่องจากป่าถูกบุกรุกและถูกทำลาย แต่อย่างไรก็ตามซาไกก็ยังเป็นชนเผ่าดั้งเดิมเผ่าสุดท้ายที่มีอยู่ในป่าทะเลบัน

ป่ารุ่นหรือป่าเหล่า อยู่บริเวณตอนกลางเขตอุทยานแห่งชาติทะเลบันแถบทุ่งหญ้าวังประ มีสภาพเป็นป่าโปร่งและมีหญ้าคาขึ้นอยู่หนาแน่น มีไม้เบิกนำขึ้นผสมกับพันธุ์ไม้ป่าดงดิบ พันธุ์พืชที่สำคัญได้แก่ กระโดน ตะแบก เปล้า ส้าน ปออีเก้ง โมกมัน มังตาน ผ่าเสี้ยน ยางมันหมู เสม็ดชุน กล้วยไม้ป่าชนิดต่างๆ และพืชชั้นล่าง เช่นไผ่ไร่ ไผ่หลอด และหญ้าชนิดต่างๆ เป็นต้น
ป่าชายเลน พบบริเวณชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติทะเลบัน พันธุ์พืชที่พบได้แก่ โกงกาง ประสัก แสม โปรงขาว ตาตุ่มทะเล ถั่วขาว ตีนเป็ดทะเล เป้งทะเล ปรงทะเล และเหงือกปลาหมอ เป็นต้น ในบึงน้ำจืดทะเลบันพรรณไม้ที่พบส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุกได้แก่ เทียนนา บอน บากง ผักบุ้ง ขี้เหล็กย่าน บัวสาย กกกอ หญ้าคมบาง กูดขม แขม และสาคู เป็นต้น

จากการสำรวจชนิดสัตว์ในเขตอุทยานแห่งชาติทะเลบัน รวมทั้งสิ้น 406 ชนิด จำแนกเป็น
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม 64 ชนิด ได้แก่ แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เลียงผา เก้ง กระจงควาย หมูป่า เสือโคร่ง แมวดาว ค่างแว่นถิ่นใต้ ลิงกัง ชะนีมือขาว หมีคน กระรอกข้างลายท้องแดง ค้างคาวมงกุฎ ฯลฯ
นก 282 ชนิด เช่น นกหว้า ไก่จุก นกยางกรอกพันธุ์จีน นกกระปูดเล็ก นกบั้งรอกเล็กท้องแดง นกขุนแผนอกสีส้ม นกเงือก (มีถึง 8 ชนิดใน 12 ชนิดของประเทศไทย) นกแซงแซวหางปลา นกขุนทอง นกหัวขวานใหญ่สีดำ ฯลฯ
สัตว์เลื้อยคลาน 40 ชนิด เช่น เต่าจักร เต่าหกดำ ตะพาบน้ำ ตุ๊กแกป่าใต้ กิ้งก่าบินหัวสีฟ้า เห่าช้าง งูเหลือม งูจงอาง ฯลฯ
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 20 ชนิด เช่น อึ่งกรายหัวแหลม จงโคร่ง เขียดว้าก กบทูด ปาดบ้าน และคางคกแคระ ฯลฯ
ปลา ในบึงทะเลบันมีปลาน้ำจืดมากมายหลากชนิด เช่น ปลายี่สก ปลานิล ปลาช่อน ปลาดุก ปลาเลียหินหรือปลาติดดิน ปลาไส้ขม ปลาเนื้ออ่อน และปลาในสกุลปลาตะเพียน
หมาน้ำ หรือ เขียดว้าก

หมาน้ำหรือเขียดว้าก (Rana glandulosa) เป็นสัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์และเสน่ห์แห่งหนองน้ำทะเลบัน ควบคู่กับต้นบากง เขียดว้ากชอบอาศัยอยู่ตามป่าบากง รอบๆ หนองน้ำทะเลบัน ลำตัวสีเทาเข้ม มีแต้มจุดสีเทาเข้มถึงดำ หัวค่อนข้างแบนเรียบ ตัวผู้มีถุงขยายเสียงมองเห็นได้จากภายนอก 1 คู่ จะส่งเสียงร้องคล้ายเสียงลูกสุนัขในยามค่ำคืนที่สงบ นี่เองคือที่มาคำว่า “หมาน้ำ” และในฤดูผสมพันธุ์จะร้อง “ว้ากๆๆ”

แหล่งท่องเที่ยว
พื้นที่ป่าทางด้านทิศใต้ของจังหวัดสตูลบริเวณชายแดนของประเทศกับรัฐเปอร์ลิสประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย เป็นพื้นที่ป่าที่มีความสวยงามและอุดมสมบูรณ์ตลอดแนวชายแดนประกอบด้วยความแตกต่างของสภาพโครงสร้างทางภูมิศาสตร์ ชนิดของป่าและสัตว์ป่านานาชนิด มีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เล่าขานกันมาว่า พื้นที่ป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งเพาะปลูกและที่อยู่อาศัยของชาวบ้านวังประจัน บริเวณรอยต่อระหว่างเขามดแดงซึ่งมีสภาพเป็นภูเขาหินปูนกับเขาจีนซึ่งเป็นภูเขาหินแกรนิตได้เกิดยุบตัวลงเกิดเป็นหนองน้ำจืดขนาดใหญ่ เรียกภาษาท้องถิ่นว่า “เลอ โอ๊ด กะบัน” หมายถึง แผ่นดินยุบ และได้เพี้ยนเป็น “ทะเลบัน” ในเวลาต่อมา อุทยานแห่งชาติทะเลบันมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่

ถ้ำโตนดิน
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 1.5 กิโลเมตร ความลึกของถ้ำประมาณ 700 เมตร ภายในพบหินงอกหินย้อย มีลำธารไหลผ่าน ปลาน้ำจืดชนิดต่างๆ และยังมีเครื่องมือขุดแร่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หลงเหลืออยู่

 ถ้ำลอดปูยู
เป็นถ้ำลอดคล้ายถ้ำลอดของอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อยู่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติบริเวณเขากายัง ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อย สองฝั่งลำคลองเป็นป่าโกงกาง การเดินทางไปถ้ำลอดปูยูต้องลงเรือที่ท่าเรือตำมะลัง ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดสตูล ประมาณ 9 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 58 กิโลเมตร

ทุ่งหญ้าวังประ
เป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ระหว่างภูเขาทางทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น สมเสร็จ เม่น กระจง ไก่ป่า ฯลฯ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศเหนือ ประมาณ 8 กิโลเมตร และแยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร

น้ำตกยาโรย
ต้นน้ำเกิดจากป่าหัวกะหมิง เทือกเขาจีน มีน้ำตก 9 ชั้น อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 6.7 กิโลเมตร แยกเข้าไปอีก 700 เมตร ชั้นที่ 4 เป็นชั้นสูงสุด สายน้ำไหลเป็นทางยาว 20 เมตร ลงสู่แอ่งน้ำ ส่วนชั้นบนสุดเป็นชั้นที่งดงามที่สุด สายน้ำพุ่งเป็นสองสายตกลงมาจากผาหิน สูง 10 เมตร

 บึงทะเลบัน
เป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ซึ่งเกิดจากการยุบตัวของแผ่นดินตั้งอยู่กลางหุบเขาขนาบด้วยเทือกเขาจีนและเขาวังประ เนื้อที่ประมาณ 125 ไร่ มีปลาน้ำจืดและหอยชุกชุม รอบบึงมีต้นบากงขึ้นอยู่หนาแน่นและเป็นที่อยู่ของเขียดว๊าก บางครั้งจะเห็นสมเสร็จลงมากินน้ำในบึง

ทางเดินเพื่อศึกษาธรรมชาติ
จำนวน 2 เส้น อยู่บริเวณอุทยานแห่งชาติทะเลบัน ระยะทาง 1.3 กิโลเมตร และ 600 เมตร ทางเดินป่า จำนวน 1 เส้น ได้แก่ เส้นทางที่ทำการอุทยานแห่งชาติทะเลบัน ถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ทบ.2 (น้ำตกยาโรย) ระยะทาง 14 กิโลเมตร

น้ำตกโตนปลิว
ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาจีน เป็นน้ำตกที่สวยงามที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติ มีน้ำไหลตลอดปี อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศเหนือ 10 กิโลเมตร แยกเข้าไปตามถนน ลูกรังอีกประมาณ 3 กิโลเมตร

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
หมู่ 4 ถนนสมันกรัฐบุรินทร์ ต.วังประจัน อ. ควนโดน จ. สตูล 91160
โทรศัพท์ 0 7472 2736-7 โทรสาร 0 7472 2730

รถยนต์
โดยใช้เส้นทางหลวงสายเพชรเกษมจนถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (สายเอเชีย) ถึง อ.รัตภูมิ จ.สงขลา แยกขวาเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 406 เข้าสู่ อ.ควนโดน ถึงทางแยกเข้า ต.วังประจัน ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4184 (ถนนสายชายแดนไทย-มาเลเซีย)

สำหรับการเดินทางไปถ้ำลอดปูยู ต้องเดินทางจากจังหวัดสตูลไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4183 (สตูล-ตำมะลัง) ไปประมาณ 9 กิโลเมตร ถึงท่าเรือตำมะลัง แล้วนั่งเรือรับจ้างไปถ้ำลอดปูยู ใช้เวลา 45 นาที

เครื่องบิน
จากท่าอากาศยานดอนเมือง-หาดใหญ่ จากนั้นต่อรถมายัง จ.สตูล ด้วย รถตู้หาดใหญ่-สตูล มาลงสามแยกควนสตอ รถออกทุกๆ 1 ชั่วโมง เที่ยวแรก จากหาดใหญ่ เวลา 06.00 น. เที่ยวสุดท้าย 19.00 น. ราคา 60 บาท/คน และรถประจำทาง หาดใหญ่-สตูล มาลงสามแยก ควนสตอ รถออกทุกๆ 15 นาที จากหาดใหญ่ เที่ยวแรก 06.00 น. เที่ยวสุดท้าย 18.30 น. ราคารถเมล์ ปรับอากาศ 38 บาท/คน ธรรมดา 35 บาท/คน

รถไฟ
จากสถานีรถไฟกรุงเทพมาลงที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ จากนั้นต่อรถมายัง จ.สตูล ด้วย รถตู้หาดใหญ่-สตูล มาลงสามแยกควนสตอ รถออกทุกๆ 1 ชั่วโมง เที่ยวแรก จากหาดใหญ่ เวลา 06.00 น. เที่ยวสุดท้าย 19.00 น. ราคา 60 บาท/คน และรถประจำทาง หาดใหญ่-สตูล มาลงสามแยก ควนสตอ รถออกทุกๆ 15 นาที จากหาดใหญ่ เที่ยวแรก 06.00 น. เที่ยวสุดท้าย 18.30 น. ราคารถเมล์ ปรับอากาศ 38 บาท/คน ธรรมดา 35 บาท/คน

รถโดยสารประจำทาง
จากสถานีขนส่งสายใต้ มีรถประจำทางปรับอากาศเดินทางไปจังหวัดสตูลทุกวัน ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 11 ชั่วโมง ระยะทาง 973 กิโลเมตร อัตราค่าบริการ 556 บาท


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติทะเลบัน
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
Thale Ban National Park
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
Thale Ban National Park
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
Thale Ban National Park
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
Thale Ban National Park
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
Thale Ban National Park
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
Thale Ban National Park
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
Thale Ban National Park
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
Thale Ban National Park
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
Thale Ban National Park
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
Thale Ban National Park
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
Thale Ban National Park
ถ้ำลอดปูยู
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
Thale Ban National Park
ทุ่งหญ้าวังประ
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
Thale Ban National Park
น้ำตกยาโรย
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
Thale Ban National Park
บึงทะเลบัน
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
Thale Ban National Park
 
แผนที่จังหวัดอุทยานแห่งชาติทะเลบัน/map of Thale Ban National Park
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน

เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข

เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

 
สตูล/Information of SATUN

 

General Information
Thaleban National Park was declared as the 20th National Park in Thailand on 27th October 1980. The park encompasses a total area of 196km2. Thaleban is approximately 1,000 km south of Bangkok, in the province of Satun. The park covers the mountainous border area between Satun province, Thailand and Perlis state, Malaysia.

The park headquaters are located in a valley which runs through the mountains, and is situated only 2kms from the border. This valley is a historic link between the two countries and this has influenced the development of the area by mixing Malaysian with the original Thai culture. The names of many park locations are actually Malaysian in origin.

The name Thaleban is thought to be derived from the Malay words "Leur aud ga ban" which describes a low lying area of marshland. Local folklore describes the valley as once being fertile agricultural land. Then around 300 years ago an event occured which changed the face of the valley. According to a local folkstory the land rumbled and shook for many days, when this had ceased the lake appeared. The earthquake which is suggested by this story probably triggered a landslide which blocked the valley, thus damming the stream to form a lake. It is possible that an earthquake did occur as the remains of many large trees have been recovered from the bottom of the lake, showing it was forested in the recent past. Samples of logs recovered from the lake can be viewed in the visitors centre.

Topography
Most of the area is mountainous with lush forest. Existing lime stone hills which are constantly washed by the underground water results in large cavity or even a large cave such as Toan Din Cave, Pah Deo Cave and Pooyoo Cave. Moreover, the dissolved underground lime stone burrow also result in the sea swamps in the area. The highest mountain in this area is Chin mountain, 756 meters from the average sea water level.

Climate
Satun province is normally affected directly by the South-Westerly wind from the Indian Ocean in May through to October and just when the South-Westerly wind is weakening North-Easterly wind from China will move in. However, since Satun province is situated on the west side of the shore line no direct impact from the North-Easterly wind is found, though, during October through to November, there could be certain amount of rainfall which will start decrease accordingly. During December to March, the weather can be quite dry due to the South-Easterly wind which will cause an increase in temperature during these months.

Average temperature in the area is 27.5 degree Celsius, highest average temperature is 38.9 degree Celsius in April and the lowest average temperature is 17 degree Celsius in February.

Average annual rainfall is 2,280.9 millimeters, with January being the month with lowest rainfall at 7.2 millimeters and September being the month with highest rainfall at 377.8 millimeters.

Flora and Fauna
The National Park contains 3 terrestrial habitats these are;
Tropical evergreen forest occurs in the section of the park to the northeast of the valley. This forest covers the hills which rise to over 700m, here the rainfall is high and the granite bedrock retains adequate moisture in the soil all year round. This forest also occurs as gallery forests along the waterways in the drier parts of the park. This forest type is very diverse and in places species diversity is greater than 200 tree species per square kilometer. In certain places this forest has a highly specialised canopy structure often with several layers and the tallest emergent trees being over 60m tall.

Open Forest and grass fields- most of the grass fields are covered with lalang grass while other common vegetations are Kradoan, Tabak, Croton and Saan.

Mangroves Forest Vegetation found in Mangrove forest (along the west region of the National Park) are Mangroves, Proang and Sea Jelutongs.

The forests support a wide range of medium and small sized animals including, Tapir, Serow, Wild pig, Barking deer, Macaques, Langurs, Gibbon, Fishing cats, several Civet and Squirrel species. In the trees around headquaters Squrrels can be seen almost everday, Flying lizards, Skinks and Tree-snakes are also encountered. In the forest around headquaters; Wild pig, civets, langurs and gibbons can be heard and occasionally seen.

Down by the lake Macaques can be seen most days, especially early in the morning, this is also the best time to see the rare frog, Rana glandulosa. Sightings of this frog are rare but few visitors come here and fail to hear its distinctive dog like call. This call leads to its Thai name of "Mah Nham" or "Water dog". In the meadows of Wangprahchan different species are more likely to be seen, Pangolin, Mouse deer, Barking deer and Malayan sunbear are all reported. The meadows are also good for wildflowers, birdwatching, trekking and camping.

In 1994 a wildlife survey team were very fortunate to flush a pair of Asian Golden cats out of some long grass only 300m from the park substation. The team watched them dissappear into a patch of scrub forest, their guide was shocked as he had walked along the trail almost every day and never encountered the cats before.

Surveys indicated
Mammals are found 64 types, 3 of which are conserved wildlife - Pardofelis marmorata, Tapirus indicus and Capricornis sumatraensis. One mammals never before found in the country – horseshoe bat – is also found.

Birds are found 282 types, most of them are protected wildlife (under Wildlife Conservation and Protection Act B.E.2535) such as roulrouls, white-crowned hornbills, black hornbills, white-bellied woodpeckers.

Reptiles are found 40 types, for example, spiny terrapins, black tortoises, cobras, king cobras, flying geckos.

Amphibians in the frogs and toads species are found 20 types.

Numerous types of fishes, for example, stonerollers and eels are found due to the fact there is a large swamps in the National Park.

Special Features;
Thaleban is a popular destination for birdwatchers with year round attraction. The park boasts a bird list of 282 recorded species and offers the opportunity of observing forest species more typical of Malaysia than Thailand. The park list currently includes 8 species of hornbill. this is more species than for any other protected area in Thailand, including such places as Khao Yai National Park which is famous for its wildlife and is over 10 times the size. The species of hornbill recorded at Thaleban are; Rhinocerous hornbill (Buceros rhinoceros), Great hornbill (B. bicornis), Helmeted hornbill (Rhinoplax vigil), Black hornbill (Anthracoceros malayanus), Wreathed hornbill (Rhyticeros undulatus), Bushy creasted hornbill (Anorrhinus galeritus), White crowned hornbill (Berenicornis comatus) and Wrinkled hornbill (Rhyticeros corrugatus).

Of these species Great, Wreathed, White crowned and Bushy creasted are the most commonly encountered. Sightings of Helmeted and Black hornbill are occasional, and records of Wrinkled and Rhinoceros hornbill are very rare. The chances of seeing Hornbills varies throughout the year with the period just after nesting when the young first leave the nest being the best time to see them, at this time of year some birds form massive roosting flocks. One such flock of Great hornbills included over 130 birds which came to roost in the trees overlooking the lake.

Another attraction is the seasonal migration of Raptors which fly over the park. In October and March each year. The flocks of raptors follow the valley as they migrate between north and south. The migrations only last a few days and vary depending upon weather conditions, but at its peak over 1,000 birds pass over the headquaters in 24 hours.

Ton Din Cave
Ton Din Cave is 1.5 kilometres away from the National Park Headquarters. The depth of the cave is approximately 700 metres with stalactites, stalagmites and small creek within. Many types of fresh water fish and mining equipment left over from the World War 2 can also be found.

Lot Poo You Cave
Lot Poo You is a cave similar to a cave in Ao Phangnga National Park. Located in the southern part of the national park near Khao Kayang Mountain and surrounded with mangrove forest. Within the cave, there are stalactites and stalagmites. Transportation to Lot Poo You Cave has to be via boat at Tammalang Pier, approximately 9 kilometres away from Satun and 58 kilometres from the National Park Headquarters.

 Wangpra Grassland
Large grass fields located in between the mountains in the western part of the National Park where a number of wildlife such as mouse deers, porcupines red jungle fowls and Asian tapirs inhabit. From the National Park Headquarters to this grassland, it is 8 kilometres to the North then take left road for another 10 kilometres.

 Ya Roy Waterfall
This waterfall with a series of nive falls is located 6.7km north of headquaters. It is signposted from the road and the falls are reached along a track after about 700m. The bottom pools can be busy but the highest fall is the best for swimming. A unit of the park protection force resides here.

There is also a forest Trek from Yaroy waterfalls back to headquaters, this trail leads through some very dense forest and requires a guide. The route is 20km and it has been walked in a single day but as it takes 11 hours to complete 2 days is advised, with 1 night spent camping in the forest.

Thaleban Swamps
A large swamps in the middle of the valley, against Khao Chin mountain range and Wangpra mountain. The total area of this swamp is approximately 0.2 sq.km. Freshwater fish and shellfish are very common. Bakong trees are also very concentrated around the swamps where frogs inhabit. Asin Tapirs can occasionally be seen drinking from the swamp.

Nature Trails
Two Nature’s Attraction Trekking Routes –One is 1.3 kilometres and the other is 600 metres. One Trekking Route – Thaleban National Park to Namtok Yaroi Ranger Station. The distance is 14 kilometres.

Ton Piew Waterfall
The most beautiful waterfall in the park with a good year round water supply. The falls are 10 km north of headquaters, signposted from the road a track leads a further 3km to the waterfalls. These falls are much quieter and usually a secluded pool can be found even on a busy day.

Contact Address
Thale Ban National Park
Mu 4, Samankarat Burin rd, Wangprachan Sub-district, Amphur Khuan Don Satun Thailand 91160
Tel. 0 7472 2736-7 Fax 0 7472 2730 

How to go?
By Car
From Bangkok, take Petchakasem Highway to Suratthani then take Highway No. 4 to Rattaphum District, Songkhla province then take Highway No.406 to Kuan Doan District then take the Thai-Malaysian Border Road No. 4184.

By Airplane
There is no direct flight to Satun. The trip by air can be made via Hat Yai Airport then taking a Hat Yai – Satun van to Kuoan Sator junction. The van leaves every hour from 6:00 a.m – 7.00 p.m. at 60 Baht/person. Buses from Hat Yai – Satun leaves every 15 minutes from 6:00 a.m. – 6:30 p.m. at 38 Baht/person for air-conditioned bus and 35 Baht/person for standard bus.

By Train
Visitors can take a Bangkok-Hat Yai train and get off at the Hat Yai Train Station, continue on to the National Park as by Car

By Bus
There are buses from Bangkok to Satun daily and the distance from Bangkok to Satun is 973 kilometres or approximately 11hours. The cost for standard bus is 556 Baht.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ
เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข
เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

สตูล แผนที่จังหวัดสตูล เกาะตะลุเตา
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอควนกาหลง


ถ้ำลอดปูยู

Tham Lod Puyu
(สตูล)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอทุ่งหว้า
 
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง



มัสยิดกลางจังหวัดสตูล
Central Mosque
(สตูล)

แผนที่จังหวัดสตูล/map of SATUN
โรงแรมจังหวัดสตูล/Hotel of SATUN

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์